หยูกยาน่ารู้
ตอน การนวดหน้าด้วยครีมสมุนไพร

การนวดหน้าด้วยครีมสมุนไพรช่วยให้ผิวสวยหน้าใสได้อย่างไร ?

นวดหน้าเคล็ดลับผิวสวย

การนวดหน้า


การนวดหน้าด้วยครีมสมุนไพรช่วยให้ผิวสวยหน้าใสได้อย่างไร

     วันนี้มีเรื่องราวของสมุนไพรที่จะทำให้สวยงามอยากเป็นธรรมชาติมาฝากกันค่ะ ทุท่านคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างนะคะว่า มีสมุนไพรหลายๆ ชนิดช่วยทำให้ผิวพรรณของเรางดงามขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นมะนาว มะเขือเทศ หรือว่าแตงกวา วันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักวิธีการนวดหน้า ครีมนวดหน้าที่มีส่วนผสมของสมุนไพร

     สมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้บำรุงผิวพรรณ แต่สมุนไพรที่นิยมใช้กับผิวหน้า มักจะหมายถึงพืชธรรมชาติที่นำมาผ่านกรรมวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อผิวหน้า ตัวอย่างสมุนไพรพื้นบ้านเรา ได้แก่  แตงกวา (Cucumis sativas Linn.) กระดังงา (Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson) หรือแม้กระทั่งดอกกุหลาบ (Rosa hybrids) ขึ้นอยู่กับสภาพผิวว่าต้องการสมุนไพรประเภทไหนในการดูแล
 
สมุนไพรนวดหน้า

กระดังงา แตงกวา กุหลาบสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้นวดหน้า

การนวดหน้าด้วยครีมสมุนไพรโดยใช้น้ำมัน

     ก่อนที่จะถึงขั้นตอนการใช้น้ำมันนวด จะต้องผ่านขั้นตอนการใช้ครีมล้างหน้ามาแล้ว ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนเป็นการใช้สมุนไพรทั้งสิ้น เป็นน้ำมันที่สกัดจากพืชธรรมชาติที่ถูกผสมเข้าไปในลักษณะของครีม โลชั่น น้ำ หรือน้ำมัน ส่วนผสมหลักก็คือสมุนไพรด้วยทั้งสิ้น สมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ได้แก่  แตงกวา กระดังงา และดอกกุหลาบ เป็นต้น ส่วนที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศก็จะมี เช่น ลาเวนเดอร์  โรสแมรี่ ซึ่งลาเวนเดอร์ จะมีผลดีมากในการดูแลผิว  พืชตระกูลกุหลาบจะช่วยในการดูแลผิว สมานผิวได้ดี

     โดยทั่วๆ ไป มักจะใช้พืชตระกูลมะนาว ส้ม ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปบำรุงผิวได้ดี เพราะฉะนั้นเมื่อสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นส้ม มะนาว เมื่อถูกผสมไปในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ก็จะช่วยให้สุขภาพข้างในเราดี ผิวพรรณภายนอกของเราก็จะดีตามไปด้วย มะนาวช่วยผลัดเซลล์ผิวทำให้หน้าเราใสขึ้น

ข้อควรระวังในการเลือกใช้สมุนไพรดูแลผิว

     ต้องสังเกตและระมัดระวังในขั้นตอนการผลิตและความสะอาด ถ้าใช้สมุนไพรสด ต้องสังเกตว่ามีการเตรียมอย่างไร สะอาดเพียงพอไหม ถ้าหลังการใช้มีอาการข้างเคียงหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบพบแพทย์

     ครีมนวดหน้าที่เป็นครีมสังเคราะห์และครีมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรจากธรรมชาติมีข้อเสียและข้อดีที่แตกต่างกัน คือ ครีมสังเคราะห์ ต้องมีสารที่ไม่ใช่ธรรมชาติมาเจือปนด้วย ส่วนผสมที่ดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตตว่าจะเลือกส่วนผสมอะไรเข้าไปปนในนั้น และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร บริษัทที่เน้นคุณภาพก็จะเลือกสารสังเคราห์ที่มีคุณภาพจริงๆและสามารถที่จะ เสริมคุณภาพผิวได้ ครีมสังเคราะห์มักเน้นเพื่อความสวยงามโดยตรง (Beaty) โดยเนื้อครีมไม่สามารถที่จะซึมเข้าไปใต้ผิมหนังแน่นอน เพราะโมเลกุลของครมจะใหญ่ 
 
โครงสร้างชั้นผิวหนัง
โครงสร้างชั้นผิวหนัง ซึ่ง
ผิวแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก
 คือ ส่วนของหนังกำพร้า (Epidermis) ส่วนหนังแท้ (Dermis)
และส่วนชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Hypodermis)
 
     หากเราพูดถึงสมุนไพร น้ำมันของพืชธรรมชาติที่ผสมปนเข้าไปอยู่ ซึ่งพืชธรรมชาติ จะมีโมเลกุลที่เล็กมากจึงสามารถที่จะซึมเข้าไปทำงานกับต่อมใต้ผิว ทำให้ผิวของเราดีจากข้างในมาสู่ข้างนอก ในขณะเดียวกันครีมที่ส่วนผสมของสารสังเคราะห์  จะช่วยเหลือจากข้างนอก ดังนั้นถ้าใช้ทั้งสองเสริมซึ่งกันและกัน ก็จะสามารถทำงานได้ทั้งจากภายในสู่ภายนอก และจากภายนอกสู่ภายใน เพื่อให้ดูดีเพิ่มขึ้น ประโยชน์และโทษต้องฝากไว้กับผู้ผลิตที่ต้องเป็นฝ่ายตระหนักให้มาก วิเคราะหฺและวิจัยสารต่างๆให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนนำมาใช้กับผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถสังเกตจากการรับรองผลิตภัณฑ์ของสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย)
 
ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
 

สำนักคณะกรรมการอาหารและยา

       สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการ มีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย  มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม  เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์  โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

        1.  ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

        2.  พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ

        3.  เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ

        4.  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

        5.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้

        6.  พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ  โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ  ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ

        7.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

           จากอำนาจหน้าที่ที่กล่าวมาข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายจำนวน 8 ฉบับ และอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ อีกจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่

กฎหมาย

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2522) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530)
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และแก้ไข้เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2528) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2530) และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2543)
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531
พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543)
 
อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ

The Single Convention on Narcotic Drug 1961
The Convention on Psychotropic Substance 1971
The International Code of Marketing of Breast-milk Substitute 1981
The United Nation Convention Against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances 1988

       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้กฎหมายทั้ง 8 ฉบับนี้ คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่
1. คณะกรรมการอาหาร
2. คณะกรรมการยา
3. คณะกรรมการเครื่องสำอาง
4. คณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
5. คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
6. คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์
7. คณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
 
       นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาด้านยา อาหารและเคมีวัตถุ เป็นกลไกประสานงานกับหน่วยงานอื่น คณะกรรมการดังกล่าว ได้แก่

     คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยา
     คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร
     คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ 
 
     การดำเนินงานควบคุมทางด้านต่างๆ จะต้องดำเนินให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ และมติของ คณะกรรมการตามกฏหมายดังกล่าวข้างต้น และเลขาธิการฯ รองเลขาธิการฯ เจ้าหน้าที่ของกองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกรกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. ที่ อย. ได้มอบให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารตาม พรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อสามารถตรวจสอบดูแลคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด และทำหน้าที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น   

ขอเชิญรับชมวีดิโอเพื่อสุขภาพ ตอน การนวดหน้าด้วยครีมสมุนไพร
จากรายการสุขกายสบายใจ (Body and Mind)
หมวดวาไรตี้

 
[[videodmc==8352]]


บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/สุขภาพนักสร้างบารมี/นวดหน้าด้วยครีมสมุนไพร.html
เมื่อ 19 มีนาคม 2567 12:03
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv