ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เวสารัชชกร​ณธรรม ธรรมที่ทำใ​ห้เกิดความ​กล้าหาญ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 phani

phani
  • Admin_Article_VDO
  • 425 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 04 July 2014 - 02:33 PM

เวสารัชชกร​ณธรรม ธรรมที่ทำใ​ห้เกิดความ​กล้าหาญ
 
แนบไฟล์  Flowers_016.jpg   542.96K   14 ดาวน์โหลด
 
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางหลัก 5 ประการ เรียกว่า เวสารัชชกรณธรรม ธรรมที่ให้เกิดความกล้าหาญเพื่อให้เราสามารถเอาชนะความวิตกกังวลให้ได้ดังนี้
 
1.ศรัทธา มีความเข้าใจในเรื่องของกฎแห่งกรรม โลกนี้โลกหน้า บุญบาป เพราะถ้าหากไม่เข้าใจเรื่องดังกล่าว ความคิดจะคับแคบ คิดได้แต่เรื่องสมมุติที่นำมาซึ่งความวิตกกังวล
 
2.ศีล การรักษาศีลจะทำให้เราเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญในท่ามกลางที่ประชุมชน เพราะไม่มีความผิดบาปอันใดให้ต้องปกปิด ไม่มีความวิตกกังวลว่าใครจะมาล่วงรู้ข้อผิดพลาด เพราะมือที่ไม่มีบาดแผล ย่อมไม่กลัวยาพิษ เราต้องทำตัวให้เป็นคนไม่มีบาดแผล คือรักษาศีลให้ดีสิ่งนี้จะเป็นเกราะคุ้มกันภัยให้กับชีวิต ไม่ให้บาปอกุศลมาตัดรอน เราจะดำเนินชีวิตด้วยความสุขสบายใจ โปร่งใจ ปลอดกังวลแต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่นกล้าหาญ
 
3.พาหุสัจจะ การเป็นผู้ที่มีความรู้มาก จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำเรื่องอะไรก็ตามต้องศึกษาหาความรู้เรื่องนั้นให้แตกฉาน ให้มีความเชี่ยวชาญรู้จริง เมื่อเรารู้จริงแล้วเราก็จะเกิดความเชื่อมั่นและสามารถทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้
 
4.วิริยารัมภะ ความพากเพียรวิริยะอุตสาหะ หนักเอาเบาสู้ เป็นพลังสร้างความเชื่อมั่นได้ เมื่อมีปัญหาเกิดอุปสรรคขึ้นมา อย่าเสียเวลานั่งวิตกกังวลแต่ให้ไตร่ตรองดูปัญหาให้รอบคอบด้วยความไม่ประมาท แล้วจึงเดินหน้าสู้ต่ออย่าอยู่เฉย เพราะถ้าอยู่เฉยก็จะคิดวิตกกังวลหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องนั้นไม่รู้จบ ดังนั้นจงเดินหน้าทำงานเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนั้นหรืออาจทำงานเรื่องใหม่ที่สำคัญยิ่งขึ้นไป เพราะคนเราหาทุ่มเทกับงานใดใจจะไปจดจ่ออยู่กับงาน แล้วความคิดก็จะเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ทำให้ก้าวไปข้างหน้าได้
 
5.ปัญญา การเจริญสมาธิภาวนา ทำให้เกิดปัญญาในระดับภาวนามยปัญญา เพราะเมื่อเรานั่งสมาธิบุญก็หล่อเลี้ยงใจ พลังบุญจะหนุนส่งพลังใจ ให้เราสามารถเอาชนะความกังวลทั้งหลาย แล้วก็ปฏิบัติภารกิจทุกอย่างได้สำเร็จตามที่ตั้งใจทุกประการ
 
    การเอาชนะความวิตกกังวล(ทันโลกทันธรรม)