ชายสามโบสถ์
#1
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:32 PM
ถ้าหากเกิดอยากจะบวชอีก เมื่อมีเวลาว่างจากภาระกิจ สัก พรรษา หรือ ๒- ๓ เดือนหรือ
บวชบางรุ่นน่าสนใจอยากบวชอีก อย่างนี้ผิดหลักวิชาหรือเปล่า เพราะว่าบวชแล้วก็ตั้งใจ
เข้าไปปฏิบัติหาความรู้จริง ๆ แต่เคยได้ยินมาว่า การบวช ๓ ครั้ง เขาเรียกว่าชาย สามโบสถ์
โบราณเขาถือว่าไม่ดี อะไรทำนองนั้น ไม่แน่ใจ ผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ
#2
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:45 PM
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#3
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:45 PM
ถ้าอยากบวชยาวก็บวชได้เลย แต่ถ้าติดภาระกิจทางโลก ก็บวชระยะสั้นๆ
เรื่องชายสามโบสถ์ ไม่มีที่มาครับ
เป็นคำอุปมา เกี่ยวกับ การทำอะไรแล้วไม่ตั้งใจจริง คนโลเล เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ทำนองนี้ครับ
ยิ่งบวชยิ่งได้บุญครับ
1ครั้ง ได้ 64 กัป
2ครั้ง ก็บวกไปอีก64 สามครั้งก็บวกเข้าไปอีก
แต่ถ้าบวชไม่สึก จักนับจักประมาณมิได้
พระอาจารย์ว่าไปแบบนั้นครับ
ผิดถูกอะไร รอท่านต่อไปครับ

#4
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:46 PM
"โบราณประนามชายสามโบสถ์ทรามชั่วช้าสามาน ประนามหญิงสามผัวผ่านเป็นคนจัณฑาลไม่หวังพบพา
โธ่เอ๋ยอนิจจาโกนหัวฝากตัวในศาสนา แต่คำเขาว่าให้ช้ำน้ำใจ .....(จำได้แค่นี้แหละ)"
ความหมายโดยรวมก็คือ เหลาะแหละเอาดีไม่ได้(ซักที) ....(ตาย...มาแก้คำผิด น่าเขกหัวตัวเองจริงๆ)
แต่ขอให้มีใจใฝ่ใจในศาสนาเถอะน่า อย่าไปทำอาบัติประเภทปาราชิก ก็ยังสามารถมาบวชได้
ท่านจิตตหัตถ์ ท่านบวชๆ สึกๆ 7 ครั้ง ทุกครั้งก็ต้องรับกรรมฐาน 5 (เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ)
ยังได้อุปนิสัย เห็นภรรยานอนน้ำลายยืด.... เท่านั้นแหละ ครั้งสุดท้ายบวชจนได้เป็นพระอรหันต์เลยครับ
#5
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:48 PM
แต่ ชาย 3 โบสถ์ มีความหมายถึง การเปลี่ยนความเชื่อ หรือสิ่งที่เป็นสรณคือสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น หลายครั้ง
เพราะความหมายหรือเจตนา ของคำนี้ มีนัยว่า เป็นคนมีใจโลเล
คงต้องรอความเห็นจากผู้อื่นอีกนะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 04:57 PM
ตามที่หลายๆท่านด้านบนกล่าวมานั่นแหละค่ะ
ส่วนในทางปฏิบัติ..
ขอให้ได้บวชเถอะ
แม้จะเป็นระยะสั้น(เพราะอาจติดภาระการงานต่างๆ)
หากมีความตั้งใจจริงในการบวชแต่ละครั้ง
จะกี่โบสถ์ก็ดีทั้งนั้น
ถือว่าเป็นผู้ได้โอกาส และใช้โอกาสอย่างคุ้มค่าค่ะ
(ผู้ด้อยโอกาสอย่างเราก็ได้แต่ชะเง้อคอ..คอยอนุโมทนา..

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน
#7
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:05 PM
ชายสามโบสถ์ หมายถึงผู้ที่ นับถือศาสนาหนึ่งอยู่แล้ว ไม่ชอบ บอกว่าศาสนานี้ไม่ดี แล้วเปลี่ยนศาสนาใหม่แล้วก็ว่า ศาสนานี้ก็ไม่ดีอีก ก็เปลี่ยนอีก แล้วก็ว่าไม่ดีอีก เหยียบย่ำศาสนาทุกศาสนา ที่เปลี่ยนไปว่าไม่ดี อย่างนี้แหละเรียกว่าชายสามโบสถ์
ชายสามโบสถ์= ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง 3 หน (ตำหนิว่าไม่น่าคบ) ...ลางตำราท่านหมายถึงคนที่เปลี่ยนศาสนาถึง ๓ ครั้ง ๓ คราก็มี หมายถึงเป็นไม้หลักปักเลน ไม่ซื่อตรงต่อความเชื่อ
วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เรื่องสุทธิกรรมชาดกคำกาพย์เป็นวรรณกรรมที่สันนิษฐานกันว่า ผู้แต่งคือพระอุดมปิฎก เปรียญ 9 ประโยค สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร เรื่องนี้แต่งในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้กาพย์ 3 ชนิด ในการแต่ง คือ กาพย์สุรางคนางค์ 28 กาพย์ยานี 11 และกาพย์ฉบัง 16 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับภูมิปัญญา 3 ประการ คือ การคบมิตร การเลือกคู่ครอง และการเลือกประเทศที่อยู่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มิตรที่ไม่ควรคบคือ ชายสามโบสถ์ และศิษย์ร่ายครู คู่ครองที่ไม่ควรเลือกคือ หญิงหม้ายสามผัวอย่า สาวแสร้ และหญิงแหม่ (หญิงมักมากในกาม) ประเทศที่อยู่ที่ไม่ควรเลือกคือ ประเทศหรือที่อยู่ที่พระราชาไม่มีความยุติธรรม หรือไร้การวิจารณ์ การคบมิตรดี การได้คู่ครองดี และการอยู่ในประเทศที่มีผู้นำดีจะทำให้มีความสุขและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต วรรณกรรมเรื่องสุทธิกรรมชาดกคำกาพย์ เนื้อเรื่องสอดคล้องกับภูริปัญหาชาดก นิบาตชาดก เรื่องที่ 452 และมิตตามิตตชาดก นิบาตชาดก เรื่องที่ 473 ว่าด้วยเรื่องอาการ 16 ของผู้เป็นมิตรและไม่เป็นมิตร ในพระสุตตันตปิฎก และมีเนื้อเรื่องสอดคล้องกับทุกัมมานิกชาดก ชาดกเรื่องที่ 13 ในปัญญาสชาดกด้วย
ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว : สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน "หญิงสามผัว" นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอาอาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก.
รวมๆ แล้วน่าจะเป็นคำที่ใช้เปรียบกับคนที่ โลเล ไม่แน่นอนนะคะ
หรืออาจจะเป็นสำนวนที่เขียนขึ้นเพื่อให้คล้องจองกันก็ได้ค่ะ "ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว" เพื่อให้เห็นว่า เป็นคนไม่หนักแน่น เปลี่ยนใจง่ายค่ะ
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ
#8
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:12 PM
#9
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:19 PM
#10
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:22 PM
#11
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:38 PM
เพลงของพี่ช่างเพาะจริงๆเข้ากับเรื่องเลย
#12
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:39 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#13
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:39 PM
#14
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:44 PM
2ครั้ง ก็บวกไปอีก64 สามครั้งก็บวกเข้าไปอีก
แต่ถ้าบวชไม่สึก จักนับจักประมาณมิได้
พระอาจารย์ว่าไปแบบนั้นครับ
ผิดถูกอะไร รอท่านต่อไปครับ
คุณ Diamond YA รบกวนแก้ไขความเข้าใจนิดนึงนะครับ อันนี้คุณครูไม่ใหญ่เคยอธิบายเอาไว้แล้ว
สำหรับบุญการบวชนั้นได้ 64 กัปนะครับ แต่ถ้าสึกแล้วบวชใหม่ยังได้ระยะเวลาที่บุญส่งผลเท่าเดิมคือ 64 กัป แต่จะได้ความเข้มข้นของบุญมากขึ้นแทน
ดังนั้น สำหรับพระที่บวชชั่วคราวกับพระที่บวชตลอดชีวิตได้ระยะเวลาที่บุญส่งผลเท่ากัน คือ 64 กัป แต่ พระทึ่บวชตลอดชีวิตจะมีความเข้มข้นและความแรงของอานิสงส์การบวชยิ่งกว่าพระที่บวชชั่วคราว คิดง่ายๆ ตามหลักความเป็นจริงนะครับ ถ้าบวชพระ 1 ทีได้ 64 กัป อย่างงี้จะมีพระที่ไหนบวชตลอดชีวิตละครับ ก็บวชๆ สึกๆ ดีกว่า เพราะได้บุญ 64 + 64 + 64.... ไปเรื่อยๆ คุ้มกว่าบวชพระตลอดชีวิตจะตาย แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เลย
สำหรับคนที่สนับสนุนการบวชหรือจัดงานบวชก็เช่นเดียวกัน ได้บุญ 32 กัป ถ้าจัดบวชพระภิกษุ แต่ถ้าการบวชมีพระหลายรูป ระยะเวลาก็ยังส่ง 32 กัปเท่าเดิม แต่ความเข้มข้นของบุญจะมากกว่าการบวชพระรูปเดียวนะครับ เพราะมีหลายคนเข้าใจว่า จัดงานบวชทีนึงมีพระบวชเป็นพันรูป คงได้อานิสงส์ 32 x 1,000 = 32,000 กัป ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเลย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้จัดงานบวชจะได้บุญมากกว่าผู้ที่บวชเอง จริงไหมครับ
เห็นด้วยกับคุณkoonpattนะครับ เพราะ ในพระไตรปิฎกยังมีบันทึกถึงพระสมัยพุทธกาลที่บวชๆ สึกๆ หลายครั้ง แต่ก็ได้บรรลุธรรม แม้แต่พระบรมศาสดาเอง ตอนที่เสวยพระชาติเป็น บัณฑิตจอบเหี้ยน ยังบวชๆ สึกๆ ตั้ง 7 ครั้ง กว่าจะตัดใจบวชยาวได้ในครั้งที่ 7
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#15
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 05:51 PM
คำนี้เขามุ่งหมายถึงคนที่ทำอะไรไม่จริงต่างหาก เทียบคำนี้เพราะการบวชสมัยก่อน จะบวชกันตลอดชีวิต มักไม่ค่อยลาสิกขา
แต่ปัจจุบันสภาพการณ์แตกต่างจากสมัยก่อน เดี๋ยวนี้มี บวชปิดเทอมช่วงเรียน ช่วงทำงาน ก็ลามาบวช สังคมเปลี่ยนไป
เมื่อเรามีความตั้งใจบวช เอาบุญดีกว่านะ

#16
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 06:03 PM
เพราะคำพังเพยนี่ล่ะค่ะ คนที่ไม่เข้าใจ เลยไม่อยากให้ลูกให้หลานบวชบ่อยๆ เป็นการตัดโอกาสผู้บวช
ขนาดดิฉันเป็นผู้หญิงเคยไปบวชเป็นอุบาสิกา ไม่ปลงผม ตอนแรกๆคุณแม่ยังไม่อยากให้บวชบ่อยๆเลย ทั้งๆที่บวชครั้งหนึ่งก็ได้อะไรกลับมาเยอะทุกที
#17
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 06:05 PM
-----------------------------
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#18
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 08:02 PM
ลองอ่านดูครับ ชายสามโบสถ์น่าจะเป็นตำนานพื้นบ้านประมาณนั้น ตั้งขึ้นมาเพื่อแสดง
ให้เห็นความโลเล บวชแล้วสึกสึกแล้วบวชอีก แต่ในความเป็นจริงแล้วยิ่งบวชบ่อยยิ่งดี
ถูกไหมครับ แต่ถ้าให้ได้ผลบุญแรงที่สุดต้องบวชตลอดชีวิต
ใจจริงแล้วอยากบวชตลอดชีวิต แต่การบวชตลอดชีวิตต้อง เคลียร์ภาระให้หมดก่อน
หมดกังวลจึงบวชได้ แต่ถ้าบวชระยะสั้นได้บ่อย ๆ ก็ดีครับ รอบวชตลอดชีวิตก็คงอีกนาน
แล้วคนที่สร้างหนัง เรื่องชายสามโบสถ์จะบาปไหมหนอ เพราะว่าทำให้บางคนไม่กล้า
บวชหลาย ๆ ครั้ง เพราะคิดว่ามันไม่ดี
#19
โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 11:30 PM
คำคนประณามชายสามโบสถ์
ทรามชั่วช้าสามานย์
ประณามหญิงสามผัวผ่าน
เป็นคนจันฑาลไม่ขอคบพา
โธ่ เอ๋ย อนิจจา
โกนหัวฝากตัวในศาสนา
แต่คำเขาว่าปวดใจให้คิดทุกที
มีมารผจญสุดแสนจะทนบวชแล้วจำลา
จากเรือนเหมือนเสือหนีป่า
มารเสาะตามมาจองล้างราวี
บวชแล้วสึกทุกทีเป็นเสียอย่างนี้
แหละพี่น้องเอ๋ย
ดังคำเขาเอ่ยบวชเสียผ้าเหลือง
ข้าบวชมาแล้วโบสถ์หนึ่ง
ซาบซึ้งได้แทนคุณแม่ค่าน้ำนมแก
แทนทดหมดเปลืองมารตามทวงหนี้
มีเรื่องต้องแหกผ้าเหลืองสึกมา
มันฟ้องอุปัชฌาย์แค้นข้ากลัดหนอง
คนมองข้าทรามเหยียดหยามหมดดี
ต้องหนีหน้าไป
เกือบเป็นเสือสางเสียใหญ่
ข้าต้องกลับใจไหว้พระคุ้มครอง
บวชซ้ำใหม่ใคร่ปอง
ใจหวังสร้างบุญในโบสถ์ที่สอง
พึ่งธรรมะส่องที่สร้างบาปมา
ข้าเป็นชายสองโบสถ์
หากโบสถ์สามนี้ยังไม่แน่
โลกหมุนปรวนแปรสุดแท้จะพา
กลายเป็นชายชั่วดังว่า
หวังศาสนากลับใจ
แต่แล้วเหตุไฉนเขาไม่อุดหนุน
จึงวอนไหว้วิง
ชายหญิงที่ฟังด้วยน้ำตาคลอ
โปรดจงสงสารขานต่อ
แต่พอข้ามีบาปเคราะห์ก็บุญ
ข้าหวังพึ่งพุทธคุณ
เซแล้วอย่าซ้ำย่ำเหยียบจนซุน
ร่มโพธิ์พระอุ่น
ข้าขอบวชนานจนตาย
#20
โพสต์เมื่อ 06 October 2006 - 06:52 AM
ขอบคุณ คุณI cAn AlwayS MakE U SmilE ครับ
ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้นอีกเยอะเลย สังคมที่นี่มีแต่คนดีๆ ให้ความรู้ทั้งนั้น อนุโมทนาครับ
สาธุ....
ผมเข้าใจว่า เป้าหมายสูงสุดของการบวช คือการทำนิพพานให้แจ้ง ครับ
แต่ยังไม่แจ้งเลย

#21
โพสต์เมื่อ 06 October 2006 - 09:18 AM
อ่านมา...ได้ความว่า...
คนเคยเข้าใจว่าเป็นชายที่บวชพระแล้วสึกสามหน...อย่างนี้ไม่มงคล ไม่ควรคบหา แต่ได้ถามพระอาจารย์หลายท่าน ท่านต่างตอบว่า...
***บวชกี่ครั้งกี่หนไม่เป็นอะไร ขอให้บวชในพระพุทธศาสนา เขาอยากได้ดีถึงมาบวช ที่สึกไปไม่ได้ปาราชิก ไม่ผิดอะไร แต่อาจสึกเพราะมีเหตุจำเป็นต้องสึก***
แต่ที่หมายถึงชายสามโบสถ์นี่ที่แท้คือ
นับถือพุทธไปวัดไปวา บวชเข้าพุทธแล้วสึก หันไปเข้าศาสนาอื่น แล้วเปลี่ยนศาสนา เปลี่ยนนิกาย เปลี่ยนความเชื่อไปเรื่อยๆ หาหลักไม่ได้ อย่างนี้เยกว่าชายสามโบสถ์ คบไม่ได้ มันเป็นคำเปรียบเปรย หมายถึงคนโลเล
ชายสามโบสถ์จึงหมายถึงบุคคลที่ชอบเปลี่ยนศาสนากลับไปมา มีอยู่ ๓ ศาสนาเด่นก็เป็นเสียทั้งหมด เช่น พุทธ อิสลาม คริสต์ เขาห้ามคบเพราะเป็นบุคคลที่ขาดอธิษฐานบารมี สัจจะบารมี เห็นแก่ตัวจนเกินไป เปลี่ยนศาสนาเพื่ออยากจะให้ศาสนาต่างๆนั้นสนองกิเลสของตนเพื่อความสำเร็จในทางโลกเป็นหลัก มิได้ยึดหลักเกณฑ์เพื่อทำให้ตนเองเจริญรุ่งเรืองในการเป็นมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับการบวชหลายครั้งในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
#22
โพสต์เมื่อ 06 October 2006 - 10:59 AM
แล้วเปลี่ยนศาสนาใหม่แล้วก็ว่า ศาสนานี้ก็ไม่ดีอีก ก็เปลี่ยนอีก แล้วก็ว่าไม่ดีอีก
เหยียบย่ำศาสนาทุกศาสนา ที่เปลี่ยนไปว่าไม่ดี อย่างนี้แหละเรียกว่าชายสามโบสถ์
เห็นด้วยกับคุณ koonpatt นะครับ
ลูกพระธรรม
#23
โพสต์เมื่อ 12 October 2006 - 06:18 PM



ไฟล์แนบ
#24
*ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 20 December 2010 - 01:46 AM