
ผมนั่งสมาธิ เลย 45 นาทีขาจะปวด และชาไปเลยครับ แต่ผมก็ทนไปจนครบ 1 ชม. แต่ปรากฏว่า
#1
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 08:32 PM
ขาขยับไม่ได้เลยครับตอนออกจากสมาธิ ต้องค่อยๆ ขยับจนมันมีเลือดไปกลับที่เดิมนะครับ
ถามว่า
1. ทำอย่างไรไรให้นั่งสมาธิได้นานๆ โดยไม่ทำให้ขาขวา ปวดและชา หรือต้องขยับ หรือว่าออกจากสมาธิไปเลย
2. ถ้าขาชาแล้ว (ผมจะชาเพียงขาขวาเท่านั้นนะครับขาซ้ายที่โดนทับกลับไม่ชา งงมาก) เราควรลุกไปเดินจงกลมแล้ว ภาวนะ สัมมาอรหัง ได้ไหมครับ
3. ขอคำแนะนำด้วยครับ (ผมเป็นออกกำลังกายน้อยนะครับ เพราะทำงานตลอด ) ลืมบอกไปก่อนที่ผมจะนั่งสมาธิ ผมจะนั่งพับเพียบสวดมนต์ก่อน 1 ชม. เสมอครับ
msn : [email protected]
#2
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 09:00 PM
แต่ก็ไม่สนใจ อยากชา ชาไป นั่งเรื่อยไป ไม่สน อิอิ 555^^
---------------------------
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#3
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 09:00 PM
แต่ถ้านั่งบ่อยๆอาการปวดจะน้อยลงนะ
#4
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 09:42 PM
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง
สุนทรพ่อ
มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ
#5
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 09:55 PM
2.การนั่งเราต้องนั่งให้ถูกท่าครับเราต้องนั่งที่ท่าสบายๆไม่ขัดต่อร่างกาย และไม่ฝืนด้วย
3.นั่งสมาธินะครับอย่าเอาใจออกนอกตัวให้เอาใจจรดอยู่ที่ฐานที่7 แล้วอย่าคิดอะไรให้เราปล่อยใจเบาๆๆสบาย ถ้าให้ดีนะครับเปิดนำนั่งหลวงพ่อด้วยยิ่งดีครับ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#6
โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 11:06 PM
1) การนั่งสมาธิให้ได้นาน ( ไม่รวมถึงนั่งแล้วใจนิ่ง นะครับ) นั่งให้ทน หรือทนนั่งให้ได้นานนั้น
กรณีนี้ ต้องฝึกความอดทนทางร่างกาย ก็เหมือนการออกกำลังกาย เช่น
การวิ่งให้ได้นาน ใครที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่อวิ่งครั้งแรกๆ ย่อมเหนื่อยไว
วิ่งได้ระยะทางไม่มากก็หอบแฮ่ก ๆแล้ว
แต่วิ่งครั้งต่อๆไป อย่างสม่ำเสมอ อาจจะทุกวัน หรือวันเว้นวัน ผ่านไปสัก 1 เดือน
ก็จะรู้สึกด้วยตัวเองว่า เราเหนื่อยช้าลง สามารถวิ่งได้นานขึ้น วิ่งได้ระยะทางไกลมากขึ้น
เช่นกันครับ การนั่งขัดสมาธิ ใครไม่คุ้นเคย นานๆนั่งสักที ทีละไม่นาน
ก็ย่อมเกิดอาการทางกาย เช่น เมื่อยขา ชาที่ขา เจ็บแข้ง เป็นธรรมดาครับ
หากต้องการนั่งสมาธิให้ได้นาน เมื่อยขาช้า เมื่อยนิดๆ ก็ต้องค่อยๆฝึกเพิ่มระยะเวลานั่งเป็นช่วงๆครับ
เช่น นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย ครั้งละ 15 นาทีแล้วค่อยสลับขา
เอาขาซ้ายมาทับขาขวาบ้างสัก 15 นาที สลับไปมาหลายรอบก็ได้
ครั้งต่อมาก็เพิ่มเวลาเป็นครั้งละ 20 นาที , 25 นาที , 30 นาที , 35 นาที ,40 นาทีจึงค่อยสลับขา
หรือเปลี่ยนมานั่งพับเพียบบ้าง
ถ้าทำได้ต่อเนื่อง สัก 1 เดือนก็นั่งสมาธิได้นานขึ้น
จนสามารถนั่งได้คราวละ 60 นาที , 90 นาที หรือมากกว่านี้ก็ได้
*** มีข้อคิดเรื่องการทนนั่งท่าใดท่าหนึ่งนานๆ อีกมุมครับ
สิ่งที่ดี ของการทนนั่งท่าใดท่าหนึ่งนานๆ คือ
ได้ความอดทนทางกาย
การนั่งได้ทน เมื่อยขาช้า ขาชาช้า ก็เอือเฟื้อให้ใจสงบ เข้าถึงความสงบสุขใจได้ง่าย
เพราะใจไม่พะวงกับอาการปวดเมื่อยของกาย
ส่วนผลเสีย คือ
ถ้าปวดเมื่อยจนใจไม่สงบ แม้นั่งได้นานแต่ยากที่เข้าเข้าถึงความสงบสุขภายใน
เว้นแต่ผู้ที่มีอัธยาศัย ปฏิบัติแบบลำบากกาย คือ
ปวดเมื่อยกายสุดๆ ใจจึงทิ้งสิ่งนอกตัว มุ่งสู่ความสงบภายใน ก็มี
ซึ่งก็ไม่รู้ว่า คุณมีอัธยาศัยแบบนี้หรือเปล่า ถ้าใช่
ก็ลุยโลดเลยครับ ทนนั่งให้ปวดเมื่อยสุดๆแล้วใจตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรคไปเลย
ครั้งที่ผมฝึกนั่งสมาธิใหม่ๆ อบรมธรรมทายาท สมัยก่อนก็ถูกฝึกให้นั่งทน ทนนั่งมาเหมือนกันครับ
นั่งก็ขาชา ทั้งปวด เมื่อยใจไม่สงบ
ธรรมทายาทนั่งในมุ้งยักษ์ ( เต็นท์แจ่มจันทร์ในปัจจุบันจุได้เกือบพันคน + เต็นท์แจ่มตะวันอีกส่วนหนึ่ง )
ยุงก็เยอะ ตัวก็ใหญ่ จะตบก็ผิดศีล ได้แต่ลืมตาดูยุงกัด นับไปมากัด 15 ตัว
แต่ละปากที่ทิ่มแทง จนสะดุ้งเหมือนโดนเข็มแทงจริงๆ
จึงสังเกตว่า เมื่อนังยุงตัวเมียดูดเลือดเราจนเต็มพุงแล้ว ที่ก้นเธอจะระบายหยดน้ำใสๆออกมา
ได้ความรู้เรื่องนี้ก็ตอนนั้นแหละครับ
บางครั้งดูเพลินจนลืมเจ็บ ลืมเมื่อยก็มี
นี่ถ้าพระอาจารย์ให้นึกนิมิตเป็นยุงท้องโตที่เต็มด้วยหยาดเลือดของเรากับหยดน้ำใสๆที่เธอพ่นออกมา
ผมว่า ยังนึกง่ายกว่าดวงแก้วหน้าพระประธานอีกครับ
บางคราวทนนั่งไปจน หลุดพ้นจากจุดความเจ็บปวดได้แล้วใจนิ่ง แต่ก็นานๆครั้ง
บางครั้งได้แต่นั่งแผ่เมตตาให้ยุง นึกว่าบริจาคโลหิตช่วยชีวิตยุงบ้าง ก็มีรสมีชาติอีกแบบ
ในเสียก็มีได้ คือ
บางครั้งทนนั่งได้แต่ความทนทาน ทนทายาด ส่วนใจไม่สงบเลย ขอบอก
แต่ได้ก็ความรู้เรื่องยุงพ่นน้ำใสทางก้นได้ด้วย
และนึกเข้าข้างตัวเองว่าได้สร้างทานอุปบารมีกับยุง 1 ถึง 15 ชีวิตต่อการนั่ง 1 รอบเชียวนะครับ
หึ หึ คงได้บุญอักโข เอาบุญบริจาคโลหิต ช่วยชีวิตสัตว์โลก มาฝากย้อนหลังนะครับ สาธุ
กลับมาเข้าเรื่องขาชาต่อนะครับ
2 ) ถ้าขาชา แสดงว่าคุณไม่ได้เป็นอัมพาต ก็ดีแล้วนี่ครับ
คุณแค่ขาชา ถ้าขาโอเลี้ยง ( ขาดำเห็นเส้นเลือดขอด ) เมื่อไหร่ แสดงว่าแย่แล้วครับ

สิ่งสำคัญ คือ
ก ) การปรับกาย
ปรับท่านั่งสมาธิให้ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์ของกายมหาบุรุษ คือ
ท่านั่งแบบที่พระเดชพระคุณหลวงปู่และหลวงพ่อ สอนไว้ทุกครั้งช่วงเริ่มต้นของการนั่งสมาธิ
แต่เนื่องจากกายของเรายังไม่ได้ลักษณะมหาบุรุษ ก็ทำให้เกิดอาการเมื่อย ปวด ชาที่ขาได้ง่าย
แต่ถ้าปรับกายให้ตรง แนวกระดูกสันหลังตรงแนวดิ่ง ไม่นั่งงอตัว ก็จะเมื่อยช้าลง
และถ้าได้อาสนะหนุนช่วงก้นให้สูงสักหน่อย ( แล้วแต่ชอบสูงน้อย หรือสูงมาก ) ก็จะนั่งได้นานขึ้น
ย้ำนิดว่า เรานั่งเอาธรรม ไม่ได้นั่งเอาท่า
การนั่งสมาธิเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์หลัก คือ
ฝึกใจให้สงบ สงัดจากนิวรณ์ ๕ เป็นหลัก ไม่ใช่เน้นนั่งท่าสวย สง่า นั่งทน หรือนั่งได้ครั้งละนานๆ
ข ) ถ้าขาชามากๆจนใจไม่นิ่ง ฟุ้งซ่านกังวลเรื่องกายแล้ว
ก็สามารถเปลี่ยนท่านั่งได้ตามสะดวก แต่อย่าให้เกิดเสียงรบกวนเพื่อนที่นั่งใกล้กัน
ขณะขยับขา หรือเปลี่ยนสลับขา อย่าลืมรักษาใจไว้กับตัว รักษาอารมณ์ที่นิ่งๆ นุ่มๆ
อย่าทิ้งอารมณ์หรือใจที่กำลังละเอียด
หรือจะลุกไปเดินเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นสาย ทำกายบริหารบางท่าให้คลายเมื่อยก็ดีเหมือนกัน
แต่อย่าลืมรักษาใจไว้กับตัว รักษาอารมณ์ที่นิ่งๆ นุ่มๆ
อย่าทิ้งอารมณ์หรือใจที่กำลังละเอียด
สิ่งที่ต้องรู้อีก คือ
เนื่องจากกายมนุษย์ของเรา ยังไม่ได้ลักษณะมหาบุรุษ เมื่อเราทนนั่งในท่าเดียวกันนาน ๆ
มีผลให้เส้นเอ็นตั้งแต่แนวไหล่ หลังลงไปถึงปลายเท้า ไม่สมดุล เส้นเสีย เส้นติดผิดปกติได้
ทำให้การนั่งสมาธิครั้งต่อๆไป ยิ่งปวดเมื่อยไวเข้าไปอีก ยิ่งนั่งนาน ยิ่งเจ็บ ยิ่งชา
ถ้าท่านใด ใจหยุดนิ่ง ดิ่งเข้าสู่ภายในได้ไว ก็รอดไป
แต่ถ้าใครใจสงบช้า ใจหยุดยากเพราะอยากหยุดเร็ว
อย่างนี้อาจจะเบื่อการนั่งสมาธิ หรือไม่ชอบนั่งนานๆ
เวลามานั่งสมาธิรวมกับหมู่คณะ รอบละ 60 นาที , 9 0 นาที , 120 นาที ฯล
จะกลายเป็นได้ความกังวล พะวงทางกาย มากกว่าความสงบทางใจได้นะครับ
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจสภาพความเป็นจริงของกายมนุษย์หยาบ
โดยเฉพาะผู้สูงวัย หรือมีความเจ็บข้อเข่า ขา
ควรเลือกนั่งในท่าที่สบาย ใจจะได้ไม่พะวงทางกาย ใจจะสงบได้เร็วนะครับ
วิธีแก้
1 ) การปรับอิริยาบถ การนั่ง ลุก ยืน เดิน นอน ก้ม เงย ในชีวิตประจำวันให้สมดุล ตามหลักสรีระศาสตร์
เรื่องนี้เป็นหลักสำคัญ
2 ) หมั่นออกกำลังกาย บริหารกายยืดเส้นสายบ้าง เช่น โยคะ ,ท่าเตะเท้า , แกว่งแขน , คีมขาเดี่ยว ขาคู่ ฯล
3 ) ถ้าอาการหนัก ก็ต้องหาหมอนวดแผนโบราณ จนถึงนักกายภาพบำบัด หรือหมอเชี่ยวชาญเรื่องกระดูก
ป.ล. 1
เวลานั่งพับเพียบนานๆ ตอนสวดมนต์ หรือนั่งฟังธรรม ต้องสลับขาซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายด้วย
อย่าฝืนทนนั่งท่าเดียวเป็น 30 นาที , 60 นาที ฯล
แม้การนั่งสมาธิก็เช่นกันครับ ถ้าทนนั่งเพื่อฝึกความอดทน ก็ดีครับ
แต่ถ้าปวดเมื่อยนัก แสดงว่าร่างกายเริ่งประท้วงแล้ว ต้องสลับเปลี่ยนขา หรือท่านั่งบ้าง
เรื่องนี้อย่าไปอายใครครับ
*** มีเรื่องเล่าว่า
พระอาจารย์ที่อบรมธรรมทายาท หลายรูป เส้นเอ็นแนวขาขวากับขาซ้ายไม่สมดุลกัน
เพราะต้องนั่งพับเพียบ อบรมธรรมทายาทคราวละนานๆ บางที 60 นาทีหรือนานกว่านั้นก็มี
และพระอาจารย์ส่วนมาก มักนั่งพับเพียบอยู่ในท่าเดียว นาน นานจะสลับขาสักครั้ง
จะด้วยต้องการเป็นแบบอย่างความอดทนให้ธรรมทายาท หรือ
จะด้วยความถนัดพับเพียบขาขวามากกว่าขาซ้ายก็มี
พออบรมธรรมทายาทไปสัก 2 โครงการ 3 โครงการ เส้นก็ติด ผิดปกติเสียแล้ว
ป.ล. 2 ต้องขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเพื่อนสมาชิกท่านอื่นแล้วครับ ง่วงนอนแล้วครับ
***** เทคนิคเรียบง่ายที่สุด ในการนั่งสมาธิ คือ นั่งในท่าที่กายสบาย แล้วก็แค่นั่งเฉย ๆ *****
ไฟล์แนบ
#7
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 10:09 AM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#8
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 12:02 PM
#9
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 06:02 PM
นั่งยืดขาแล้วเอามือไปแตะปลายเท้า ทิ้งไว้ 10 วิ ทำสลับไปมา2ข้าง
#10
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 07:21 PM
ให้นั่งตามอย่างองค์พระ กายตรงดำรงค์สติมั่น ที่สำคัญมือที่วางไว้ที่หน้าตัก ต้องนิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ซึ่งหากจดได้ถูกเหมือนองค์พระแล้ว แขนจะนาบข้างลำตัวได้พอดี ช่วงแขนจะคํายันร่างกายไว้อย่างพอดิบพอดีไม่ให้ล้มไปข้างหน้า และจะคําไหล่ไว้ไม่ให้ห่อด้วยครับ หากไม่วางมือไว้บนตักหรือวางมือนิ้วชี้ไม่จรดนิ้วหัวแม่มือ ไหลจะเกิดอาการห่อ แขนจะไม่คำยันร่างกายไว้ จะทำให้ร่างกายส่วนบนเอนมาข้างหน้าเล็กน้อย เป็นเหตุให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่ขาไม่สะดวก ทำให้เป็นเหน็บชาได้ง่าย หากท่านใดที่นั่งพื้นราบไม่มีเบาะหนุนยกก้นให้สูงจากพื้นเล็กน้อย จะยิ่งทำให้ขาชามากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากท่านใดอยากนั่งให้ได้นานกว่าเดิม ผมแนะนำนะครับ
1. อันดับแรกท่าพื้นฐาน ตามอย่างพระพุทธรูปที่วัดเลยครับ ที่สำคัญ มือต้องวางที่หน้าตัก นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้ายนะครับ
2. หาระดับความสูงที่พอเหมาะ เพื่อหนุนก้นให้สูงกว่าระดับเท้าเล็กน้อย เพื่อที่เลือดจะได้ไหลไปหล่อเลี้ยงที่เท้าได้สะดวกขึ้น
3. อันนี้สำคัญไม่แพ้กันครับ คือ เบาะที่นั่ง หรือเบาะที่เอามาหนุนยกก้น ต้องไม่นิ่มจนเกินไปหรือแข็งจนเกินไปนะครับ ต้องให้พอดีๆ
เอาแค่3อย่างนี้ก็สามารถยืดเวลาให้ทุกท่านนั่งได้นานขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#11
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 07:35 PM
ระวังไข้เลือดออก กับมาลาเรียนะคะ จากที่นั่งจนเมื่อย มันจะกลายเป็นว่าหมดโอกาสที่จะได้นั่งต่อนานๆ นะคะ
อย่าขนาดนั้นเลยค่ะ ก่อนไปบวช ก็หาซื้อน้ำยาตะไคร้หอมไว้ซักโหลนึง เอาไปใช้สามเดือน ฉีดทาที่ตัวก่อนจะนั่งธรรมะดีกว่านะคะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก..ฟ้าร้าง
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#12
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 08:16 PM
ขอบอกว่ายังไม่แก่นะคะ
#13
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 08:25 PM
Locithisหนูอย่าเลยให้นั่ง10นาทีก็ไม่เอาเดี๋ยวเป็น20หรอก
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#14
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 09:36 PM
เพราะต้องนั่งพับเพียบ อบรมธรรมทายาทคราวละนานๆ บางที 60 นาทีหรือนานกว่านั้นก็มี
และพระอาจารย์ส่วนมาก มักนั่งพับเพียบอยู่ในท่าเดียว นาน นานจะสลับขาสักครั้ง
จะด้วยต้องการเป็นแบบอย่างความอดทนให้ธรรมทายาท หรือ
จะด้วยความถนัดพับเพียบขาขวามากกว่าขาซ้ายก็มี
พออบรมธรรมทายาทไปสัก 2 โครงการ 3 โครงการ เส้นก็ติด ผิดปกติเสียแล้ว
เรียบโร้ยไปแล้วครับ เส้นผมติดและเดี้ยงไปนานแล้วครับ 5555
เดี๋ยวนี้นั่งนานไม่ได้แล้ววววว เพราะเส้นเดี้ยง ไปหาหมอทีก็ดีขึ้นที
แบบว่า เป็นแฟนคุณหมอไปแล้วอ่ะครับ
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#15
โพสต์เมื่อ 18 September 2006 - 11:43 AM
#16
โพสต์เมื่อ 18 September 2006 - 06:59 PM
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#17
โพสต์เมื่อ 18 September 2006 - 08:59 PM
1. ทำฐานให้กว้าง ๆ นะค่ะ (ดูตัวอย่างจากพระพุทธรูป ที่วัดพระธรรมกายนะค่ะ)
2. เสริมก้นให้สูงขี้นนิดนึงนะค่ะ หาอาสนะพับครึ่งมารอง จะช่วยได้ค่ะ
กราบอนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ กับความตั้งใจนั่งธรรรมะค่ะ