พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang ภาพยนตร์ประวัติชีวิตพระถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang เปิดตำนานประวัติบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศจีน พระถังซัมจั๋งคือใคร มีประวัติอย่างไร และติดตามตัวอย่างภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ เรื่องราวของ “พระถังซัมจั๋ง” ซึ่งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป ซึ่งจะออกฉายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ที่จะถึงนี้ https://dmc.tv/a20956

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 7 ม.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18274 ]

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang


พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang

ภาพยนต์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจีน-อินเดีย
ประวัติพระถังซัมจั๋ง การเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
พระถังซำจั๋ง

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang

     ตื่นตาตื่นใจกับภาพยนต์ฟอร์มใหญ่ ประวัติศาสตร์การเดินทางดั้นด้นไปยังชมพูทวีปของภิกษุรูปหนึ่ง เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับสู่ประเทศจีน เรื่องราวจริงแสนจริงจะเป็นอย่างไร ร่วมรำลึกถึงท่านผ่านภาพยนตร์ เรื่อง "Xuanzang" ด้วยความร่วมมือระหว่างจีนกับอินเดีย โดยมีดารานำคือ หวงเสี่ยวหมิง ที่รับบทพระถังซำจั๋ง

     เสวียนจั้ง หรือที่รู้จักในนิยาย ไซอิ๋ว ว่า ถังซัมจั๋ง เป็นพระภิกษุซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน ซึ่งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป และบันทึกการเดินทางเอาไว้ในปี ค.ศ. 646 เพื่อบอกเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครองของแดนแดนที่ห่างไกลจากประเทศจีน ซึ่งต่อมาเรื่องราวของท่านได้ถูกดัดแปลงเพิ่มองค์ประกอบอิทธิปาฏิหาริย์เข้าไปจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อของ ไซอิ๋ว

     Monk Xuanzang เริ่มต้นถ่ายทำกันเมื่อกลางปี พ.ศ.2558 ที่ภูเขาเพลิง อันโด่งดังของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ นอกจากนั้นก็ยังเดินทางไปถ่ายทำในหลายๆ เขตของทั้งอินเดีย และจีนแผ่นดินใหญ่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ ฮั่วเจี่ยนฉี มาเป็นผู้กำกับ และยังมีผู้กำกับคนดังแห่งฮ่องกง หว่องกาไว มานั่งเก้าอี้เป็นผู้อำนวยการสร้าง

     ภาพยนตร์ "ซัมจั๋ง" เข้าฉายครั้งแรกในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559  ต้อนรับตรุษจีนที่ประเทศจีน 

 

ตัวอย่างภาพยนต์  “Xuan Zang” พระถังซำจั๋ง

 

“Xuan Zang” ภาพยนต์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจีน-อินเดีย

     “Xuan Zang” ที่ทำเป็นภาพยนต์ในครั้งนี้ แตกต่างจากที่เราเคยดูมาอย่างสิ้นเชิง ดำเนินเรื่องตามตำนานจริงในประวัติศาสตร์ ในรูปแบบภาพยนตร์ผจญภัย แฝงปรัชญา กับการเดินทางจาริกแสวงบุญ เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ชมพูทวีป(อินเดีย)

     โดยภาพยนตร์เป็นการร่วมทุนระหว่าง China Film Corporation ของประเทศจีน และ Eros International ประเทศอินเดีย ควบคุมงานสร้างโดย หวังเจียเหว่ย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หว่องกาไว กำกับภาพยนตร์โดย Huo Jianqi เขียนบทโดย Zou Jingzhi ผู้ผ่านงานเขียนบทให้กับผู้กำกับชื่อดังอย่าง จางอวี้โหมว ในเรื่อง Coming Home (2014) และกับ หว่องกาไว ในเรื่อง The Grandmaster (2013)  นำแสดงโดย หวงเสี่ยวหมิง ในบท พระเสวียนจั้ง ร่วมด้วย ทังเจิ้นเยี่ย และ นักแสดงอินเดีย Sonu Sood รับบท พระเจ้าหรรษวรรธนะ แห่งราชวงศ์คุปตะ ที่อุปถัมป์ พระเสวียนจั้ง ขณะพำนักอยู่ที่อินเดีย 


พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
โปสเตอร์ภาพยนต์พระถังซำจั๋ง ซึ่งเป็นภาพโปรยกลีบดอกไม้ต้อนรับตลอดเส้นทางอย่างงดงาม

พระถังซัมจั๋ง คือใคร

     สมณะเสวียนจั้ง (Xuanzang) มีชีวิตในช่วงปลายราชวงศ์สุย ต้นราชวงศ์ถัง ออกบวชเมื่ออายุได้ 13 ปี เป็นช่วงที่กระแสการศึกษาวิชาโยคาจารแพร่หลายอย่างกว้างขวาง ประกอบกับท่านมีอุปนิสัยที่เป็นคนชอบขบคิด จึงทำให้ท่านสนใจวิชานี้มากเป็นพิเศษ ภายหลังได้จาริกไปศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงตามเมืองใหญ่ๆ ในประเทศจีน กลับพบว่าอาจารย์แต่ละท่านต่างมีแนวการตีความแตกต่างกัน สาเหตุมาจากคัมภีร์ที่แปลกันหลายฝ่าย และแปลไม่ครบตลอดทั้งฉบับ

     ท่านจึงตัดสินใจจาริกไปชมพูทวีป ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระศีลภัทรศึกษาวิชาโยคาจาร เหตุวิทยา และภาษาสันสกฤตจนแตกฉาน การศึกษาของท่านไม่จำกัดเพียงในมหาวิทยาลัยนาลันทาเท่านั้น ท่านยังได้จาริกไปขอความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิตามแคว้นต่างๆ ทั่วอินเดียทั้ง 5 (ทั้ง 5 ภาคของประเทศอินเดียโบราณ คือ กลาง เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก) จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกทั้งฝ่ายมหายานและสาวกยาน ได้รับสมญานามว่า "มหายานเทวะ" และ "โมกษะเทวะ" จากการโต้วาทีธรรม


พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
โปสเตอร์ภาพยนต์พระถังซำจั๋ง

     ภายหลังจากที่สมณะเสวียนจั้งเดินทางกลับจากประเทศอินเดีย พร้อมอัญเชิญพระไตรปิฏกฉบับภาษาสันสกฤตเป็นจำนวน 657 ปกรณ์ ท่านได้จัดตั้งสนามแปลคัมภีร์ขึ้นภายใต้พระบรมราชูปถัมภืของพระเจ้าถังไท่จง และพระเจ้าถังเกาจง ตลอดเวลากว่า 19 ปี ท่านได้ร่วมกับพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ ทำการแปลคัมภีร์ออกมาเป็นจำนวน 74 ปกรณ์ 1334 ผูก ล้วนเป็นการแปลออกมาตลอดทั้งฉบับ ผลงานการแปลคัมภีร์ของท่าน ได้มีอิทธิพลต่อวงการพระพุทธศาสนาในยุคสมัยของท่าน และยุคต่อๆมา ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวิธีการแปล กระแสการศึกษาวิชาโยคาจารซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาแนวอภิปรัชญา และวิชาเหตุวิทยา จนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "สี่นักแปลผู้ยิ่งใหญ่" (พระกุมารชีพ พระปรมรรถ พระอโมฆวัชระ) เป็นผู้ทำให้มีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศจีนและประเทศอินเดียขึ้น อย่างเป็นทางการ

     งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่ส่งให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปพันกว่าปีแล้วก็คือ บันทึกดินแดนตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง นับตั้งแต่ยุคสมัยศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา บันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี ได้ใช้เป็นเข็มทิศเพื่อนำไปสู่การเปิดโลกของประเทศอินเดียโบราณ และแคว้นต่างๆ ในเอเชียกลาง ในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 11-12

     สมณะเสวียนจั้ง (Xuanzang) มีชีวิตที่ประกอบไปด้วยฉันทะวิริยะในการศึกษาคัมภีร์พระพุทธ ศาสนา มีผลการเรียนดีเด่นทั้งในและต่างประเทศ เป็นแบบอย่างของนักเรียนนอกและนักเรียนทุนในยุคปัจจุบัน เป็นพระธรรมทูตระดับนานาชาติที่สร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่าง ประเทศจีนและประเทศอินเดีย รวมไปถึงดินแดนในเอเชียกลางที่ท่านจาริกไป เป็นนักปฏิบัติโดยการนำความรู้ที่ได้ศึกษากลับไปเผยแพร่ยังบ้านเกิดเมืองนอน ของตน อุทิศชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา ด้วยการศึกษาค้นคว้าแปลพระธรรมคัมภีร์ และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจนกระทั้งมรณภาพ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมจริยาอันงดงามเช่นนี้ สมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาเป็นแบบอย่าง (ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.mcu.ac.th)

 

ประวัติพระถังซัมจั๋ง ในแบบฉบับนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

     จาก รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝัน วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ตอนกล่าวถึงพระถังซัมจั๋ง: 唐三藏 、玄奘)

พระถังซัมจั๋ง มาจากที่ใด  ทำไมท่านมีความตั้งใจอยากบวชตั้งแต่เด็กจนบวชได้ตลอดชีวิต และได้ไปทำหน้าที่อัญเชิญพระไตรปิฎกมาที่เมืองจีน  ปัจจุบันท่านได้ไปอยู่ ณ ที่ใด

     ฝันเป็นตุเป็นตะ ตื่นขึ้นมา หาวหลายที ....

     พระถั๋งซัมจั๋ง ท่านดูเหมือนมีมโนปณิธานคล้าย ๆ กับท่านคุณานันทะ ที่ประเทศศรีลังกา คือท่านได้มาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในยามที่พระพุทธศาสนามีภัยหรือมีความแตกต่าง กันมาก จนแทบจะไม่เหลือร่อยรอยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรให้ไปในทิศทางเดียวกัน ต่างคนต่างก็ปฏิบัติกันไป คิด พูด ทำกันไปคนละทาง ทำให้สับสน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำเนินชีวิต  หรือมีภัยจากการคิดที่จะทำลายล้างพระพุทธศาสนา  พระโพธิสัตว์มักจะมาเกิดในช่วงนี้  คล้ายๆ กันนะ ท่านคุณานันทะท่านบวชตั้งแต่เป็นสามเณร บวชวันเดียวก็เทศน์ทั้งคืนเลย  ไม่ใช่ว่าไม่มีคนฟัง คนฟังมากกว่าพระเทศน์  ล้นศาลากันไปเลย ฟังสามเณรน้อยเทศน์ทั้งคืนได้อย่างไร ทั้งผู้เทศน์และผู้ฟังทำไมไม่มีใครง่วงนอนเลย  ต่างฟังด้วยปีติเบิกบาน ได้ยินได้ฟังก็ปลื้มว่าทำไมสามเณรเก่งจังเลย ไปศึกษามาตั้งแต่ไหน เพราะหายาก  บวชวันเดียวเทศน์วันนั้น เทศน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างแตกฉาน ราวกะว่าศึกษากันมาข้ามชาติ หลายชาติกันมาแล้ว ดูเหมือนสามเณรน้อยเป็นผู้ใหญ่ในร่างเด็ก  เหมือนเป็นพระมหาเถระอยู่ในร่างสามเณร เป็นประดุจท่อน้ำที่ให้ธารธรรมกระแสธาราไหลผ่านมาอย่างพร่างพรูทีเดียว  ใครได้ยินได้ฟังก็มีแต่ความปิติยินดีหายง่วงเลย  อยากฟังต่อแล้วเสียงไม่มีตก ยิ่งพูดยิ่งดัง ๆ ไปเรื่อยๆ นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ทีเดียว ถ้าเราไม่ลืม จะจำได้   ........(กล่าวทบทวนเรื่องของท่านคุณานันทะ)......

     องค์นี้(พระถังฯ) เป็นนิยตโพธิสัตว์เหมือนกัน อยู่ที่ดุสิตบุรี สวรรค์ชั้นที่ 4 อีกวิมานหนึ่ง องค์แรก(ท่านคุณานันทะ)รับอาสา  แต่องค์นี้สมัครใจมา  อยากฟังหรือเปล่า อยากฟัง ฟังเลย..

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
พระถังซำจั๋ง (Xuanzang)


     เป็นปกติของพระโพธิสัตว์ เมื่อเกิดมาสร้างบารมี ก็จะสร้างกันตั้งแต่เยาว์วัย   ท่านก็เป็นนิยตโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ในอดีตที่ผ่านมาก็ไม่กี่พระองค์ ว่าจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต และครั้งล่าสุดที่ได้รับพุทธพยากรณ์ก็เมื่อ 2,500 กว่าปี  แต่ท่านไม่ได้ลงมาเกิดในเมืองมนุษย์  จะอยู่ในช่วงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเสด็จไปที่ดาวดึงส์โปรดพุทธมารดา  เทวดาทั้งหลายก็ลงมาฟังธรรมกัน เทพบุตรจากชั้นดุสิตท่านนี้ก็มาฟังธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็แสดงธรรม พระอภิธรรมปิฎก โปรดพุทธมารดา  ในช่วงนั้นแหล่ะ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ตรัสพยากรณ์เทพบุตรที่มาจากสวรรค์ชั้นดุสิตท่าน หนึ่ง  ว่าจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า  ทรงพระนามว่าอย่างนั้นอย่างนี้ก็ว่ากันไป มีพุทธบิดา พุทธมารดา ชื่อว่าอย่างนั้น จะมีพระอัครสาวกชื่ออะไรก็ว่ากันไปตามพุทธธรรมเนียมอย่างนั้นนะจ๊ะ   ท่านก็มีความปลื้มปิติ  พอถึงเวลาก็กลับไปสวรรค์ชั้นดุสิต ก็มีความปลื้มปิติยินดีในพุทธพยากรณ์นั้น  ก็ตรึกระลึกนึกถึงบุญด้วยความเบิกบานมีปิติสุข  ราวประหนึ่งว่าจะได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้ ก็อยู่บน สวรรค์ชั้นดุสิตเรื่อยมา


     จนกระทั่งเทวดาโจษจัน ในแผ่นดินจีนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และก็อีกพันปี  ฮ่องเต้ฮั่นหมิงตี้ (汉明帝) ก็ได้ส่งทูต 18 คนพร้อมกับม้าขาวไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่มาพร้อมกับภิกษุ 2 รูปซึ่งเป็นชาวเอเชียกลางผสมอินเดีย มาเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองในแผ่นดินจีนมากทีเดียว  ผู้มีบุญก็มาเกิดเยอะ แต่ว่าต่อมา  คือคนที่มาเกิดเป็นมนุษย์มันก็ยังมีกิเลส  บ้านเมืองก็เปลี่ยนแปลงกันไปสารพัด พุทธบริษัท 4 ก็หย่อนยานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การให้ความเคารพกับพระรัตนตรัย เรื่องอะไรต่ออะไรต่าง ๆ กับมีเรื่องของเทวนิยมเข้ามาผสมและเรื่องของความหย่อนยานในการศึกษาในธรรม วินัยเป็นต้น พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อม  การปฏิบัติก็แตกต่าง คำสอนก็แตกต่าง  แตกต่างคือการแตกแยก เพราะงั้น สงฆ์ก็ไม่รวมกัน ผู้ที่มาภายหลังก็ไม่ทราบว่าเอาสิ่งไหนมาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต ก็สับสนกันเรื่อยมา พระพุทธศาสนาก็ดำรงอยู่แค่มีอาภรณ์เท่านั้นเอง  ข้อวัตรปฏิบัติมันแตกต่างกันไปแล้ว 

     ถึงตอนนี้แหละ เทวดาก็โจษจันในทำนองเดียวกันว่าถึงเวลาที่เทวบุตรพระโพธิสัตว์องค์ใดองค์ หนึ่งจะต้องลงมาบังเกิดขึ้น กู้ภัยตรงนี้  แล้วเทวบุตรท่านนี้ ที่ได้รับพยากรณ์ที่ชั้นดาวดึงส์ อาสาลงมาบังเกิดในแผ่นดินจีน  ท่านก็คือพระถังซัมจั๋งนี่แหละ  พอลงมาเกิดแล้ว  ใจท่านฝักใฝ่ในธรรมตั้งแต่เด็ก   สิบสามขวบก็บวช  มีเด็กที่ไหนในโลก อยากจะบวชทั้งๆ ที่ชีวิตครอบครัวก็มีความพร้อม ไม่ใช่เป็นผู้ด้อยโอกาส  แต่เป็นผู้ได้โอกาส มีดวงปัญญาดี ไปเว้าวอน ขอสอบในการเป็นพระแม้อายุยังน้อย  ต้องสอบผ่านและฮ่องเต้อนุญาตจึงจะบวชได้  อายุก็ไม่ครบบวช  ขอเป็นสามเณรก็เอา  หัวหน้าผู้ควบคุมการสอบก็มาถาม ว่าเด็กอะไรทำไมมีความคิด  อยากบวชไปทำไม มีวัตถุประสงค์อะไร  ท่านตอบไปดี ๆ  เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาอะไรต่างๆ อย่างที่เราได้ยินได้ฟังกันมา  เกิด กุศลศรัทธาขึ้นมา เปิดโอกาสให้สอบ  แล้วภารกิจต่าง ๆ ก็เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้นอย่างที่เราได้ทราบที่ผ่านๆ มา  ไปเดินทางเท้าเปล่าข้ามไปอินเดีย ไปอินเดีย 18 ปี  เรียนภาษาสันสกฤต 5 ปี แตกฉานในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต แล้วก็เมื่อพระเจ้าศีลาทิตย์ ใช่มั้ยจ๊ะ ประชุมศาสนาทุกศาสนา แล้วก็มีการแสดงธรรม  มหาวิทยาลัยนาลันทาส่งท่านเป็นภิกษุรูปเดียวไปแสดงธรรม  แล้วก็ประกาศว่าใครจะคัดค้าน โต้แย้งหัวข้อที่ท่านแสดงธรรมไปนั้น ก็ขึ้นมา เปิดโอกาส แต่ 18 วันที่ประกาศไปนั้นก็ไม่มีผู้ใด  เวทีก็ว่างเปล่า แสดงว่าท่านทำลายข้อสงสัยของทุกคน

 

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
พระถังซำจั๋ง (Xuanzang)

     ดวงปัญญาของท่านครอบคลุมดวงปัญญาของนักบวชทั้งหลาย หรือผู้รู้ทั้งหลายในแผ่นดินนั้นทั้งหมดเลย  พระราชาก็อาราธนาให้ท่านอยู่ แต่ท่านไม่ยอมอยู่ เพราะมีมโนปณิธานว่ามาเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎก  ศึกษาให้แตกฉานแล้วก็จะรวบรวมไปแปลที่โน่น  ในที่สุดก็กลับไปแปล ใช้เวลาถึง 19 ปี  เดินทางเมื่ออายุ 26 อยู่อินเดียอีก 18 กลับไปแปลอีก 19  รวมแล้วก็ 60 กว่าปี หลังจากแปลเสร็จ อีกไม่กี่ปีท่านก็มรณภาพ  พอมรณภาพ เมื่อพระศาสนาตั้งในแผ่นดินจีนได้แล้ว

     นับจากปัจจุบันขึ้นไป 1,300 ปี  สังขารของมนุษย์ก็มีข้อจำกัด  ใช้ไปเพื่อการนี้ทั้งหมด  มันก็ถึงเวลาต้องเสื่อมสลาย แตกสลายกันไป  เมื่อท่านมรณภาพแล้วนี่  ขบวนอัญเชิญท่านเทวดาอลังการจากพื้นโลกมนุษย์จนถึงสวรรค์ชั้นดุสิต  กลับวิมานเดิมใหญ่โตโอฬารยิ่งกว่าเดิม บริวารก็เพิ่มขึ้น  อยู่ในวงของนิยตโพธิสัตว์  ที่ได้รับพยากรณ์แล้วว่าต่อไปจะต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตพระองค์ หนึ่ง กำลังปลื้มปิติในผลบุญที่ท่านทำผ่านมา

     แต่นั่นคือ 1,300 ปี  แต่นับจากนี้ถอยหลังไป 500 ปี  ก็มีการปลอมพงศาวดาร  โดยเอาเรื่องไซอิ๋ว 《西游记》 มาผสม  ด้วยความตั้งใจดีของท่านอู๋เฉิงเอิน(吴 承恩)ที่ไม่ประสบความสำเร็จของชีวิตทางโลก  ก็เลยมาเอาดีทางการเขียนวรรณกรรมแล้วก็มาผนวกกัน โดยเจตนาดีที่จะให้เป็นบทเรียนที่จะศึกษา แล้วคนก็สนใจศึกษาด้วย  เพราะว่าพระถังซัมจั๋งที่ท่านถ่ายทอดมาน่ะ  มันเป็นวิชาการ คนเค้าไม่ค่อยอ่าน  พอมันผสมไซอิ๋วเข้าไป อ่านกันใหญ่เลย  อ่านไปกระทั่งเลยถือเป็นจริงเป็นจัง  ว่าที่ท่านไปอินเดียน่ะ มีหงอคง (孙悟空) ซัวเจ๋ง (沙和尚) ตือโป๊ยก่าย (猪八戒)ไปกันด้วย ก็เลยไปกันใหญ่  ซึ่งก็ไปบดบังภูมิธรรมภูมิรู้  มโนปณิธาน ความยิ่งใหญ่ของท่านพระถังซัมจั๋ง หมดไปเลย 

     คนเนี่ย รู้จักพระถั๋งซัมจั๋งนิดเดียว แต่รู้จัก 3 อันนั้นมากกว่า  ในที่สุดก็มีเจ้าพ่อเห้งเจีย มีศาลเจ้าพ่อเห้งเจียขึ้นมา แล้วมีคนนับถือเรื่อยๆ กันมาเลย  เพราะฉะนั้น ของควรกับของไม่ควรมันก็ไม่ควร พระถังซัมจั๋งเป็นของควรอยู่ในที่บูชา  เอาของไม่ควรที่เป็นวรรณกรรมไปผสม มันก็ไม่ควร  เพราะงั้นรุ่นนี้ 1,300 ปีมาจนถึงปัจจุบันนี้  จึงมีเรื่องเทพเจ้าเข้ามาผสม  ทำให้ความสำคัญของพระถังซัมจั๋งน้อยลงไป   ที่จริงเราควรยกท่านไว้อยู่บนหิ้งบูชาที่สูงส่ง  เพราะท่านมีคุณูปการต่อประเทศจีนมาก   ต่อชาวพุทธมาก  จำนวนวัดในแผ่นดินจีน ก่อน 60 ปีนี้ มีเป็นแสนวัด  ภิกษุนี่ก็ไม่ต้องพูดถึงว่ามีประมาณเท่าไหร่  มันถึงยุคที่เราจะต้องเทิดทูน  ท่านก็จะได้มองด้วยทิพพจักขุจากสวรรค์ชั้นดุสิตมา ว่าท่านไม่ได้เหนื่อยฟรี ในการที่ได้ลงมาในคราวนั้น บวชตั้งแต่ยังเยาว์วัย  ศึกษาธรรมะอยู่ 5 ปีอยู่ที่วัดต้าเฉิน  อายุ 26 ก็เดินทางด้วยเท้าเปล่า เสี่ยงราชภัยจากการถูกประหารชีวิต  ไปตามลำพัง  แม้พรหมแดนติดกัน แต่การเดินทางมันใกล้ตา แต่ไกล...งั้นแหล่ะ คือมันมองเหมือนใกล้นิดเดียว แต่เดินมันไกล เราควรเทิดท่านไว้ที่สูง  ตอนนี้ท่านก็อยู่ที่ดุสิตบุรี  นี่ก็เป็นนิยายปรัมปรา     สาธุ..

โปสเตอร์ภาพยนตร์พระถังซัมจั๋ง(Xuanzang) ที่เป็นรูปโปรยดอกไม้

  

พระถังซัมจั๋ง Monk Xuanzang
โปสเตอร์ภาพยนต์พระถังซำจั๋ง ซึ่งเป็นภาพโปรยดอกไม้สีเหลืองต้อนรับอย่างอลังการ

 

 

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระถังซัมจั๋ง

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในจีน
สอบถามเรื่องความเชื่อของคนจีน
พระถังซำจั๋ง
พระถังซัมจั๋ง เวลานี้ท่านอยู่ ณ ที่ใด เป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่
อยากทราบความเป็นมาของเจ้าแม่กวนอิม มีจริงหรือไม่?
เทพเจ้ามีจริงหรือไม่
ซุนหงอคง บวชเอาบุญให้พ่อ

บทเพลง บันทึกบนแผ่นศิลาจีน

 





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related