การทอดกฐิน ประเพณีการทอดกฐิน และอานิสงส์แห่งบุญ

การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ บุญทอดกฐินมีอานิสงส์มหาศาลทั้งผู้รับและผู้ให้ เป็นการนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐิน https://dmc.tv/a14075

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 14 ส.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]

 

การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน


การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน

การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวพุทธ


ประวัติการรับผ้ากฐิน และอานิงสงส์กฐิน



 
     การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
 
        การทอดกฐินเป็นประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2,500 ปี กำเนิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐออกเดินทางไกล เพื่อไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน พระภิกษุเหล่านั้นมีจีวรที่เปรอะเปื้อนเปียกชุ่ม และเปื่อยขาดด้วยความเก่า พระบรมศาสดาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษารับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา เพื่อนำมาผลัดเปลี่ยนผ้าเก่า ประเพณีทอดกฐินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นและสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน

 
การทอดกฐินเป็นบุญที่มีอานิสงส์มหาศาล
 

        บุญจากการทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ ที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ ดังนี้ คือ

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน

การทำบุญทอดกฐิน เป็นบุญที่ถูกจำกัดด้วยไทยธรรม กล่าวคือ ของที่ถวาย
ต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในจำนวนไตรจีวรเท่านั้น

1.) จำกัดด้วยเวลา คือต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา
2.)จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอื่นไม่ได้
3.)จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
4.)จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรับกฐินได้จะต้องจำพรรษาที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
5.)จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น

6.)จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรมอื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อพลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า แต่ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้อนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาต ถวายผ้าอาบน้ำฝน

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน


การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐิน
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่จัดเป็นการทอดกฐิน

แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่น จะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้
 
 
        นอกจากนี้การทอดกฐินยังเป็นทานที่พิเศษ คือ ทั้งพระภิกษุและญาติโยมผู้ทอดกฐินได้อานิสงส์ด้วยกัน การทอดกฐินจึงเป็นบุญใหญ่ ที่ผู้ให้ (คฤหัสถ์) และผู้รับ (พระภิกษุสงฆ์) ต่างก็ได้บุญ
ทั้ง 2 ฝ่าย

อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน

อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

 


การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน


การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน
 
 
    กฐินทาน คือ การถวายผ้าให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ได้ดำรงตนอยู่ในกรอบแห่งศีล สมาธิ และปัญญา ผ่านการอยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ณ อารามใดอารามหนึ่ง นับว่าเป็นกาลทานอันยิ่งใหญ่ ย่อมก่อให้เกิดอานิสงส์มากมายแก่ผู้ทอดถวาย

 

     คำว่า กฐิน แปลว่า สะดึง หมายถึง ไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง มีทั้งรูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม เมื่อขึงผ้าด้วยสะดึงแล้วจะทำให้เย็บผ้าได้ง่ายขึ้น แต่ในอีกความหมายหนึ่งนั้น หมายเอาผ้าจีวรที่ถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่ประจำอารามจนครบพรรษา คำว่า ทอดกฐิน จึงหมายถึง การน้อมนำผ้าจีวรมาวางทอดลง เพื่อถวายแด่ภิกษุสงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใด เทศกาลทอดกฐินจะเรียกอีกแบบ คือ ฤดูกาลเปลี่ยนผ้าใหม่ของพระภิกษุ โดยในอดีตกาล ยุคต้นที่พระพุทธศาสนาเริ่มบังเกิดขึ้น ผ้าที่ภิกษุได้มานั้นเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหรือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพในป่าช้า หรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามกองหยากเยื่อ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะผ้าในยุคนั้นเป็นของมีค่าหาได้ยาก การที่ภิกษุแสวงหาผ้าที่ไม่มีผู้หวงแหน นำมาใช้นุ่งห่ม จึงแสดงถึงความสันโดษมักน้อยของนักบวชผู้มุ่งแสวงหาทางหลุดพ้น
 
     อีกประการหนึ่ง จะได้ไม่เป็นที่หมายปองของพวกโจร จะได้ไม่ถูกขโมยหรือถูกโจรปล้นชิงไป เพราะผู้คนในสมัยนั้น รังเกียจผ้าผุปะหรือผ้าเก่าๆ ถือว่าเป็นผ้าเสนียด จึงไม่มีใครอยากได้ แต่มาภายหลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับผ้าที่คหบดีนำมาถวายได้ เนื่องจากหมอชีวกได้กราบทูลเพื่อที่จะถวายผ้าแด่พระภิกษุ เพราะเห็นว่าพระภิกษุทั้งหลายมีความลำบากในการแสวงหาผ้าเป็นอย่างยิ่ง
 
รูปแบบของจีวร

     รูปแบบของจีวรนั้น เกิดขึ้นจากพระดำริของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงชี้ให้พระอานนท์แลดูคันนาของชาวมคธ และให้ออกแบบตัดเย็บโดยใช้แผ่นผ้าหลายชิ้นนำมาเย็บต่อๆ กันเป็นขันธ์ คล้ายคันนา เพื่อให้เป็นผ้ามีตำหนิไม่มีใครอยากได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้จีวรมีห้าขันธ์ขึ้นไป สำหรับจีวรในปัจจุบันมี 5 ขันธ์นับเฉพาะแนวตั้ง เรียกว่า มณฑล ส่วนขันธ์ย่อยเรียกว่า อัฑฒมณฑล

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน

 

การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน

     จีวรที่พระภิกษุใช้สอยกันในสมัยก่อนนั้น จะต้องวัดแต่ละชิ้นให้ได้สัดส่วน แล้วทำการตัดเย็บและย้อมเองซึ่งเป็นเรื่องยากและลำบากอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุ โดยวัสดุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นำมาย้อมผ้าจีวรได้ คือ

 
1.รากไม้
2.ต้นไม้
3.ใบไม้
4.ดอกไม้
5.เปลือกไม้
6.ผลไม้

สีของจีวรที่นิยมนำมาทำเป็นผ้ากฐิน

     สีที่นิยมใช้ คือ สีเหลืองเจือแดง สีเหลืองหม่น หรือสีกรัก
     ส่วนสีที่ห้ามใช้ได้แก่ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด สีชมพู และสีดำ

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน


การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน

 

     เมื่อเย็บและย้อมเสร็จแล้วก็ต้องอธิษฐานให้เป็นผ้าครองต่อไป แต่ก่อนจะนำมานุ่งห่มก็จะต้องพิจารณาผ้าเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ได้ โดยเมื่อสำเร็จเป็นจีวรแล้ว พระภิกษุจะใช้สอยและเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพราะถือว่าผ้าจีวรนั้นเป็นธงชัยของพระอรหันต์ เมื่อพระภิกษุได้ผ้าจีวรผืนใหม่แล้ว ผ้าผืนเก่าก็จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำมาทำเป็นผ้าดาดเพดาน เมื่อผ้าดาดเพดานเก่าก็จะนำมาทำเป็นผ้าปูที่นอนหรือผ้าปูฟูก ผ้าปูที่นอนผืนนั้นเมื่อเก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าปูพื้น ผ้าปูพื้นที่เก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าเช็ดเท้า ผ้าเช็ดเท้าที่เก่าแล้วก็จะนำมาทำเป็นผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลีที่เก่าแล้วก็จะนำมาโขลกให้แหลกแล้วขยำกับโคลน เพื่อฉาบทาฝากุฏิ

     ดังนั้น ผ้ากฐินที่ได้ถวายพระภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุด จึงก่อให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้ทอดถวายมากมาย

 

ประวัติการรับผ้ากฐิน และอานิสงส์กฐิน (โดยย่อ)

        สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ จำนวน 30 รูป เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน แต่เมื่อถึงเมืองสาเกตุยังไม่ทันถึงกรุงสาวัตถีก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน จึงต้องเข้าจำพรรษาในระหว่างทาง ในระหว่างนั้น ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐมีใจระลึกถึงพระพุทธองค์ว่า “เราแม้อยู่ห่างจากสาวัตถีเพียงหกโยชน์ แต่พวกเรากลับไม่ได้เข้าเฝ้าพระองค์”
 
        ครั้นล่วงสามเดือนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้ทำการปวารณาซึ่งกันและกันในวันมหาปวารณา ในตอนนั้นแม้ออกพรรษาแล้ว แต่ฝนยังตกอยู่ พื้นดินชุ่มไปด้วยน้ำและโคลน ภิกษุเหล่านั้นรีบเร่งเดินทางเพื่อไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้สบงจีวรที่ท่านนุ่งห่มเปียกปอนเปรอะเปื้อนและเปื่อยขาด กว่าจะเดินทางมาถึงวัดพระเชตวันก็ได้รับความลำบากเป็นอย่างมาก ครั้นถึงวัดพระเชตวันแล้ว ยังมิทันได้พักเลย ภิกษุเหล่านั้นก็รีบเข้าไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งจีวรที่ชุ่มไปด้วยน้ำ เปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน

 

การทำบุญทอดกฐินและการถวายผ้ากฐิน สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริขึ้นด้วยพระองค์เอง

        พระพุทธองค์ทรงตรัสถามภิกษุเหล่านั้นในเรื่องความเป็นอยู่และสุขภาพร่างกายว่า “จำพรรษากันผาสุกดีอยู่หรือ ทะเลาะวิวาทกันบ้างหรือไม่ อาหารบิณฑบาตพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ”
 
        ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “จำพรรษาด้วยความผาสุก พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ยังมีความพร้อมเพรียงกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันและไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต”
 
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นจีวรของภิกษุทั้งหลายเก่าและขาด จึงทรงมีพุทธานุญาตให้รับผ้ากฐินได้ แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาสั้นๆ เพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว โดยให้ภิกษุที่ได้รับผ้ากฐินแล้วได้อานิสงส์ 5 ประการ คือ

การทอดกฐินและประเพณีการทอดกฐิน


การทอดกฐิน และประเพณีทอดกฐิน


อานิสงส์กฐินสำหรับพระ
 
1.เที่ยวไปสู่ที่สงัด เพื่อแสวงหาที่ปฏิบัติธรรมได้ตามสะดวก โดยไม่ต้องบอกลา
2.เที่ยวไปได้ โดยไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ
3.ฉันคณะโภชนะได้ คือ ฉันภัตตาหารร่วมโต๊ะหรือร่วมวงฉันด้วยกันได้
4.ทรงอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา คือ รับผ้าจีวรได้มากผืน
5.จีวรที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ คือ หากได้ผ้าจีวรมาเพิ่มอีก ก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่ต้องเข้าส่วนกลาง 


 
ชมวิดีโอ... อานิสงส์กฐิน ผ้าทิพย์ พระเจ้านันทราช ตอนที่ 1
 




ชมวิดีโอ... อานิสงส์กฐิน ผ้าทิพย์ พระเจ้านันทราช ตอนที่ 2




ชมวิดีโอ... อานิสงส์กฐิน นายติณบาล
ทำบุญด้วยทรัพย์น้อยแต่ได้บุญมาก





ชมวิดีโอ...
อานิสงส์กฐิน นางวิสาขา
 บาตรจีวรอันเป็นทิพย์ เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์




 

การทำบุญทอดกฐินกับวัดพระธรรมกายปีนี้

       ทุก ท่านสามารถร่วมบุญเข้ากองเว็บไซต์ DMC ได้  ทุกท่านจะได้รับพระของขวัญ (ถ้ามี) และใบอนุโมทนาบัตรจัดส่งให้ถึงบ้าน ทุกท่านสามารถทำบุญด้วยตนเองที่ห้องรับบริจาควัดพระธรรมกาย รหัสกอง คือ 08-1006-851-6880 หรือทำออนไลน์ได้โดยกดปุ่มด้านล่าง และทำตามขั้นตอนต่างๆ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าด้วยนะคะ

การร่วมบุญกฐิน


อานิสงส์การทำบุญทอดกฐินสำหรับคฤหัสถ์

บทความที่น่าอ่าน..เกี่ยวกับการทอดกฐิน
การทอดกฐิน และประเพณีการทอดกฐิน
มานพหนุ่มผู้ได้ผ้าทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนที่ 1
มานพหนุ่มผู้ได้ผ้าทิพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ ตอนที่ 2
อานิสงส์กฐิน นายติณบาล
อานิสงส์กฐิน-บาตรและจีวรอันเป็นทิพย์ และเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์
อานิสงส์กฐิน - ความหมายของคำว่า ทอดกฐิน

อานิสงส์การทำบุญทอดกฐิน

เพลงกฐิน


 

http://goo.gl/rrIhS


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ