บทแผ่เมตตา บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น

บทแผ่เมตตา บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเอง ให้ผู้อื่น ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย บทสวดแผ่ส่วนกุศล คำแผ่เมตตาแบบทั่วไป วิธีการแผ่เมตตา ผู้ประสงค์เป็นที่รักเป็นที่นับถือของผู้อื่นจึงควรได้แผ่เมตตากันดูเถิด https://dmc.tv/a12051

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 6 ก.พ. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18296 ]
 
บทแผ่เมตตา คำกรวดน้ำตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไรบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นบทแผ่เมตตา อัปปมัญญาศีล 5ศีล 8 คำอาราธนาศีล 8 พร้อมคำแปล
 
วิธีการแผ่เมตตา  /  คำแผ่เมตตาสำหรับตนเอง  /  คำแผ่เมตตาไปสู่ผู่อื่น  / คำกรวดน้ำ  /   คำอฐิษฐานจิตประจำวัน
 
บทแผ่เมตตา บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น
 
        บทแผ่เมตตา บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเอง ให้ผู้อื่น ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย บทสวดแผ่ส่วนกุศล คำแผ่เมตตาแบบทั่วไป วิธีการแผ่เมตตา ผู้ประสงค์เป็นที่รักเป็นที่นับถือของผู้อื่นจึงควรได้แผ่เมตตากันดูเถิด
 
บทแผ่เมตตามีทั้งแผ่เมตตาให้ตนเอง ให้ผู้อื่น ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
 
 การแผ่เมตตา เป็นสิ่งที่โบราณบัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติต่อกันมาตามลำดับ

การแผ่เมตตา

ความหมายและคุณค่าของการแผ่เมตตา

      เมตตา หมายถึงความรัก ความปรารถนาดี ต้องการให้มีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยปราศจากความอิจฉาริษยา และหมายถึงความมีไมตรีจิตต่อกันด้วยความจริงใจฐานมิตร ดังนั้น การแผ่เมตตาจึงได้แก่การส่งกระแสจิตของตนไปสู่ผู้อื่นทั้งที่เป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์ด้วยความหวังดีที่จะให้เขามีความสุข ได้รับความสมหวังในชีวิต เป็นการแสดงออกซึ่งน้ำใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมของผู้แผ่เมตตา

    การแผ่เมตตา เป็นสิ่งที่โบราณบัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติต่อ กันมาตามลำดับ เพราะเห็นประโยชน์ว่า การแผ่เมตตานี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นประจำมีจิตใจอ่อนโยน เยือกเย็นลงได้ และทำให้มองเห็นว่าการที่มนุษย์หวังดีต่อกันนั้นเป็นทางนำให้โลกเกิดสันติ สุขได้ และเมื่อตัวเองได้รับความสุขแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องการให้เพื่อนร่วมโลกได้ รับความสุขอย่างนั้นบ้าง จึงได้แผ่กระแสจิตอันเยือกเย็นและอ่อนโยนนั้นไปยังผู้อื่น ผู้ได้รับเมตตาจิตนั้นแล้วก็จะพลอยมีจิตอ่อนโยน เยือกเย็น และได้พบกับความสุขทางใจไปด้วย ด้วยเหตุแห่งการแผ่เมตตาไปยังเพื่อนมนุษย์เช่นนี้จึงทำให้มนุษย์และสัตว์ อยู่กันด้วยความมีน้ำใจดีต่อกัน รักใคร่กันฉันพี่น้อง และหันหน้าเข้าหากันด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้อยู่กันด้วยความอบอุ่นไว้วางใจกัน ปราศจากความระแวกันและกัน เป็นเหตุให้ไม่เบียดเบียนกันแต่จะอุดหนุนเกื้อกูลกันและกันด้วยน้ำใสใจจริง
 
 
บทแผ่เมตตา
บทแผ่เมตตา

 วิธีการแผ่เมตตา

   
      การแผ่เมตตานั้นควรแผ่ให้ตนเองก่อน คือต้องปรารถนาความสุขให้แก่ตัวเองเสียก่อนโดยวิธีสร้างความรักตัวเองในทาง ที่ถูกที่ควร คือไม่ทรมานตัวเองด้วยการกระทำ ด้วยความคิดที่ผิด ๆ ทำตัวเองให้มีอำนาจทางจิตด้วยความดีเสียก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายวงเมตตาออกไปยังผู้อื่น สัตว์อื่น ตามลำดับ แม้ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ตนไม่ชอบหรือเป็นศัตรูกันก็ตาม เพราะถ้าหากสามารถแผ่เมตตาไปให้แก่ผู้ไม่ถูกกันได้ นั่นแสดงว่าผู้นั้นได้ยกระดับจิตให้พ้นจากอำนาจความโกรธเคืองหรือความอิจฉา ริษยาได้แล้วด้วยเมตตา เพราะเมตตานี้เป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือ โกธะ

     ความโกรธ โทสะ ความประทุษร้าย อรติ ความไม่ชอบใจด้วยอำนาจของความอิจฉาริษยาเสียได้ ต่อไปตัวเองก็จะประสบความสุขความสงบทางใจ ไม่มีความเดือดร้อนใจ ไม่มีความกระวนกระวายใจอะไรต่อไปอีก เพราะปล่อยวางความโกรธความไม่พอใจเสียได้แล้ว ซึ่งผิดกับตอนที่ยังโกรธอยู่ ยังอิจฉาริษยาเขาอยู่ ในตอนนั้นจิตใจจะมีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มอก กระวนกระวายใจ และไม่เป็นอันกินอันนอนอย่างเห็นได้ชัด

     เราควรแผ่เมตตาทุกวัน อย่างน้อยก็ก่อนนอนทุกคืน ถ้าสามารถทำให้มากครั้งต่อวันได้ก็ยิ่งจะเป็นกำไรชีวิต เช่น นึกแผ่เมตตาทุกอิริยาบถ ขณะเดินไปตามถนนหนทาง ขณะนั่งรถไปทำงาน ขณะเดินทางไปต่างจังหวัด หรือขณะนั่งพักผ่อน ณ ที่ใดที่หนึ่งหลังจากว่างงาน เพราะในขณะนั้นจิตใจจะปลอดโปร่งเหมาะที่จะนึกแผ่เมตตาอย่างยิ่ง และในขณะนั้นเท่ากับว่าได้ทำกรรมฐานไปในตัวด้วย เพราะการแผ่เมตตานี้จัดเป็นกรรมฐานประการหนึ่ง ที่จะทำให้ใจสงบเย็นลงได้ และจะคอยควบคุมจิตใจให้นึกคิดไปในทางที่ถูกที่ควรได้รวดเร็ว ฉะนั้น แม้ว่าผู้แผ่เมตตาจะทำได้เพียงวันละเล็กวันละน้อย แต่ทำทุกวันจนติดเป็นนิสัย ก็จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลอย่างหนึ่งเป็นแน่แท้
 
การแผ่เมตตาควรมีใจที่ผ่องใส
 
หากมีจิตมากไปด้วย โลภ โกรธ หลง จะทำให้พลังที่แผ่เมตตามีกระแสน้อยไม่ได้ผลเต็มที่


คำแผ่เมตตา

     ผู้ต้องการจะแผ่เมตตา ให้นึกถึงคำภาวนาต่อไปนี้แล้วนึกภาวนาไป ๆ จะกี่เที่ยวก็ตามต้องการยิ่งมากเที่ยวก็จะยิ่งทำให้จิตใจสงบยิ่งขึ้น ทำให้จิตมีอานุภาพมีพลังมากขึ้น

บทแผ่เมตตา แบบที่หนึ่ง

คำแผ่เมตตาสำหรับตนเอง


อหํ สุขิโต โหมิ นิทฺทุกฺโข อเวโร อพฺยาปชฺโฌ อนีโฆ สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ ฯ
 
ขอข้าพเจ้าจงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ
จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด ฯ
 
 

คำแผ่เมตตาไปสู่ผู่อื่น
 

สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ นิทฺทุกฺขา อเวรา อพฺยาปชฺฌา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ฯ

ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มี ความคับแค้นใจ จงมีความสุขการสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด ฯ

บทแผ่เมตตา แบบที่สอง

      คำแผ่เมตตาแบบทั่วไป
 
          สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
          อะเวรา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
          สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
          อัพยาปัชฌา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
          สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
          อะนีฆา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
          สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น
          สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งสิ้นเถิด ฯ


     การแผ่เมตตาทั้งสองแบบนี้ จะใช้เพียงแบบใดแบบหนึ่งตามถนัดก็ได้หรือจะนึกภาวนาเฉพาะภาษาไทยหรือภาษา บาลีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือทั้งสองอย่างก็ได้ ฯ
 

วิธีกรวดน้ำ


       เมื่อจะกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ นิยมทำกันดังนี้ คือ เริ่มต้นเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะไว้พอสมควร จะเป็นคณโฑขนาดเล็ก แก้วน้ำ หรือขันก็ได้ พอพระสงฆ์เริ่มสวดอนุโมทนาบุญขึ้นต้นด้วย ยะถา.... ก็เริ่มกรวดน้ำ จบด้วย ยะถา ฯ เราต้องหลั่งน้ำให้หมดในภาชนะ และการหลั่งน้ำกรวดนั้น ถ้าเป็นพื้นดินควรหลั่งลงในที่สะอาด ถ้าอยู่บนสถานที่ที่ไม่ใช่พื้นดิน ต้องหาถาดหรือขันรองน้ำกรวดไว้  เสร็จแล้วจึงนำไปเทลงดินตรงที่สะอาด อย่างใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับเป็นอันขาด เพราะน้ำที่กรวดเป็นสักขีพยานในการทำบุญของตนว่าทำด้วยใจสะอาดจริงๆ
 
     คำกรวดน้ำที่นิยมว่ากันในเวลากรวดทั่วๆ ไป มีอยู่หลายแบบคือ แบบสั้น แบบย่อ และแบบยาว ว่าเฉพาะคำบาลีแบบสั้น คือ

คำกรวดน้ำแบบสั้น
 
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ
สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขๆ เถิดฯ
 

 
 
การแผ่เมตตาให้ผู้อื่น เช่นญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
 
การแผ่เมตตาให้ผู้อื่น เช่น แผ่เมตตาให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

อานิสงส์ของการแผ่เมตตา


      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีอังคุตตรนิกายว่า ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ย่อมได้รับ

อานิสงส์ 11 ประการ ดังนี้

     1.  หลับเป็นสุข คือ หลับสบาย หลับสนิท

     2.  ตื่นเป็นสุข คือเมื่อตื่นขึ้นมาก็สบายตัว สบายใจ หายอ่อนเพลีย ไม่มีอาการง่วงติดต่ออีก

     3.  ไม่ฝันร้าย คือ จะไม่ฝันเห็นสิ่งเลวร้ายทำให้สะดุ้งตื่นกลางคัน หรือไม่ฝันหวาดเสียวต่าง ๆ

     4.  เป็นที่รักของคนทั่วไป คือ จะเป็นคนมีเสน่ห์ ไปที่ใดก็ปราศจากศัตรูผู้คิดร้ายแม้ผู้ไม่ชอบใจก็จะกลับมาชอบได้

     5.  เป็นที่รักของอมนุษย์ทั่วไป คือแม้สัตว์ต่าง ๆ ก็รักผู้แผ่เมตตา ไม่ขบกัด ไม่ทำร้ายทำให้ปลอดภัยจากเขี้ยวงาทุกชนิด

     6.  เทวดารักษาคุ้มครอง คือ จะเดินทางไปไหนมาไหนเทวดาจะคุ้มครองให้ความปลอดภัยตลอดเวลา จะไม่ประสบอุปัทวภัยต่าง ๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

     7.  ไฟ ศาสตรา ยาพิษ ไม่แผ้วพาน คือสิ่งเหล่านี้จะทำอันตรายมิได้ จะปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้

     8.  จิตเป็นสมาธิเร็ว คือ ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ถ้าทำสมาธิ จิตจะสงบนิ่งได้เร็ว หรือจะอ่านหนังสือจะทำงานอันใดก็ตาม จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตั้งใจได้เร็ว ทำงานนั้นสำเร็จสมประสงค์

      9.  หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส คือผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำ หน้าตาและผิวพรรณจะมีน้ำมีนวลมีเสน่ห์เรียกความสนใจได้ จะดูอิ่มเอิบตลอดเวลา แม้จะมีอายุมาก แม้รูปร่างจะไม่สวยงาม แม้จะไม่ได้รับการแต่งเติมด้วยเครื่องสำอางใด ๆ หน้าตาผิวพรรณก็ผ่องใสน่าดูน่าชมได้เสมอ

     10. ไม่หลงเวลาตาย คือเวลาใกล้ตาย จะไม่หลงเพ้อ ละเมอ หรือโวยวายอย่างนั้นอย่างนี้หรือไม่ดิ้นทุรนทุรายเป็นที่น่าเวทนาของผู้พบ เห็น จะสิ้นใจอย่างสงบเหมือนนอนหลับไป ฉะนั้น

     11.  เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมชั้นสูง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก คือ ผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำแม้ไม่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงขึ้นไปกว่านี้ ก็ย่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกอันเป็นที่เกิดของผู้ได้ฌาน

     เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์เป็นที่รักเป็นที่นับถือของผู้อื่น หรือหวังความสุขความสงบความเยือกเย็นแห่งจิตใจจึงควรได้แผ่เมตตากันดูเถิด สร้างเมตตาธรรมไว้ในใจดีกว่าจะมานั่งเดือดร้อนใจด้วยไฟโกรธไฟริษยาอาฆาต และดีกว่าจะมาเสียเวลาหานะหาเมตตามหานิยม นะหน้าทอง เพื่อเพิ่มเสน่ห์ให้แก่ตัวเอง เพราะวิธีปลูกต้นเมตตานี้ ไม่ทำให้หนักตัวเพราะพกพาไป ไม่ต้องกลัวหาย และไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย เพราะมีติดตัวติดใจประจำอยู่ตลอดเวลา
 
คำอฐิษฐานจิตประจำวัน


       บุญใด ที่ข้าพเจ้าใด้ทำในบัดนี้ เพราะบุญนั้น และการอุทิศแผ่ส่วนบุญนั้น ขอให้ข้าพเจ้า ทำให้แจ้ง โลกุตตระธรรม 9 ในทันที ข้าพเจ้า เป็นผู้อาภัพอยู่ ยังต้องท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสาร

       ขอให้ข้าพเจ้า เป็นเหมือนพระโพธิสัตว์ ผู้เที่ยงแท้ ได้รับพยากรณ์ แต่พระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ถึงฐานะ แห่งความอาภัพ 18 ประการ

      ขอให้ข้าพเจ้า พึงเว้นจากเวรทั้ง 5 พึงยินดีในการรักษาศีล ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้ง 5 พึงเว้นจากเปลือกตมดังกล่าว คือ กามคุณ

     ขอให้ข้าพเจ้า ไม่พึงประกอบด้วย ทิฏฐิชั่ว พึงประกอบด้วย ทิฏฐิที่ดีงาม ไม่พึงคบมิตรชั่ว พึงคบแต่บัณฑิตทุกเมื่อ

       ขอให้ข้าพเจ้า เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หริ โอตัปปะ ความเพียร และขันติ พึงเป็นผู้ที่ ศัตรูครอบงำไม่ได้ ไม่เป็นคนเขลา คนหลงงมงาย

      ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แห่งความเสื่อม และความเจริญ เป็นผู้เฉียบแหลม ในอรรถและธรรม ขอให้ญาณของข้าพเจ้า เป็นไปไม่ข้องขัด ในธรรมะที่ควรรู้ ประดุจลมพัดไปในอากาศฉะนั้น

     ความปราถนาใดๆ ของข้าพเจ้า ที่เป็นกุศล ขอให้สำเร็จ โดยง่ายทุกเมื่อ คุณที่ข้าพเจ้า กล่าวมาแล้วทั้งปวงนี้ จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ทุกภพทุกชาติ

     เมื่อใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสดงธรรมเครื่องพ้นทุกข์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เมื่อนั้น ขอให้ข้าพเจ้า พ้นจากกรรมอันชั่วช้าทั้งหลาย เป็นผู้ได้โอกาส แห่งการบรรลุธรรม

      ขอให้ข้าพเจ้า พึงได้ความเป็นมนุษย์ ได้เพศบริสุทธิ์ ได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว เป็นคนรักศีล มีศีล ทรงไว้ซึ่งพระศาสนา ของพระบรมศาสดา

      ขอใด้เป็นผู้มีการปฏิบัติธรรมได้ โดยสะดวก ตรัสรู้ได้พลัน กระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตผลอันเลิศ อันประกอบด้วยธรรมะ มีวิชชา เป็นต้น

     ถ้าหากพระพุทธเจ้า ไม่บังเกิดขึ้น แต่กุศลธรรม ของข้าพเจ้า เต็มเปี่ยมแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ขอให้ข้าพเจ้า พึงได้ญาณ เป็นเครื่องรู้เฉพาะตน อันสูงสุดเทอญฯ

นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ

*****************************************************************

 
รับชมวิดีโอแผ่เมตตาประจำวัน โดยพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)
 

 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง


 
บทแผ่เมตตา เพลงอัปปมัญญา

 
 
บทแผ่เมตตาไม่มีประมาณ ( แผ่เมตตาอัปปมัญญา )
 
คำสวด พร้อมคำแปล

อะหัง อะเวโร โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากเวร )

อัพยาปัชโฌ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีโฆ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

มะมะ มาตาปิตุ ( ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า )

อาจาริยา จะ ญาติมิตตา ( จะ ครูอาจารย์ และญาติมิตร )

สะพราหมะจาริโน จะ ( ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยคิโน ขอให้ท่านโยคี ( ผู้ทรงสมาธิ) ทั้งปวงในเขตนี้ )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขู ( ขอพระภิกษทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในเขตนี้ )

สามะเณรา จะ ( และสามเณร )

อุปาสะกา อุปาสิกายา จะ ( ทั้งอุบาสกและ อุบาสิกา )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง จะตุปัจจายะทายะกา ( ขอทายกทายิกา ผู้ให้ปัจจัย๔ แก่พวกเราทั้งหลาย )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง อารักขา เทวาตา ( ขอเทวดาผู้อารักขาเราทั้งหลาย )

อิมัสมิง วิหาเร ( ในวิหารแห่งนี้ )

อิมัสมิง อาวาเส ( ในอาวาสแห่งนี้ )

อิมัสมิง อาราเม ( ในอารามแห่งนี้ )

อารักขา เทวาตา ( ขอเทวาผู้รักษาสถานที่เหล่านี้ )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )

สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )

สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )

สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )

สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ เทวา ( ขอเทวาทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย ทั้งปวง )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน)

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )

ยถา ลัทธาสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )

กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )

ปุรถิมายะ ทิสายะ ( ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ( ทิศตะวันออก )

ปัจฉิมายะ ทิสายะ ( ในทิศปัจฉิม ( ทิศตะวันตก )

อุตตรายะ ทิสายะ ( ในทิศอุดร ( ทิศเหนือ )

ทักขิณายะ ทิสายะ ( ในทิศทักษิณ ( ทิศใต้ )

ปุรถิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศอาคเนย์ ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )

ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศพายัพ ( ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )

อุตตระ อนุทิสายะ ( ในทิศอิสาน ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )

ทักขิณายะ อนุทิสายะ ( ในทิศหรดี ( ตะวันตกเฉียงใต้ )

เหฎฐิมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องล่าง )

อุปาริมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องบน )

สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย )

สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )

สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )

สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )

สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )

สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย )

สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย )

สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย )

สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย )

สัพเพ เทวา ( ขอเทวา ทั้งหลาย )

สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย )

สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย )

อะเวรา โหนตุ ( อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย )

อะนีฆา โหนตุ ( อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( จงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )

ยถา ลัทธา สัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )

กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( และสัตว์ที่อยู่สูงขึ้นไปจนถึงภวัคคภูมิ )

อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์ที่อยู่เบื้องล่างจนถึงอเวจีมหานรก )

สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )

เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ และอุปัทวันตราย )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ที่อยูสูงขึ้นไปถึงภวัคคภูมิ )

อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์อยู่เบื้องล่างในอเวจีมหานรก )

สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )

เย สัตตา อุทักเขจารา ( ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูเบื้องบนคือภวัคคภูมิลงมา )

อโธ ยาวะ อวิจิโต ( ตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป )

สมันตา จักกะวาเฬสุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลโดยรอบๆ )

เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย ทั้งสิ้นเทอญฯ )

 
บทแผ่เมตตา คำกรวดน้ำ ตายแล้วไปไหน ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไรบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทแผ่เมตตา อัปปมัญญา
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับบทแผ่เมตตา บทสวดแผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น

http://goo.gl/n0Qb3


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ