คำถวายสังฆทาน พิธีการถวายสังฆทาน ลำดับขั้นตอนในการถวายสังฆทาน

พิธีถวายสังฆทาน ลำดับขั้นตอนในการถวายสังฆทาน และคำกล่าวถวายสังฆทาน เป็นอย่างไร https://dmc.tv/a11656

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 23 ก.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18284 ]
ศาสนพิธีของศาสนาพุทธ
ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ
 
คำถวายสังฆทาน พิธีการถวายสังฆทาน
 
พิธีถวายสังฆทาน
 การถวายสังฆทานเป็นการถวายที่มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

คำถวายสังฆทาน 

     พิธีถวายสังฆทาน คือ  การถวายทานวัตถุที่ควรเป็นทานแก่สงฆ์  มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  หากเจาะจงเฉพาะรูป  เรียกว่า  ปาฎิบุคลิกทาน  ไม่ต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย  ส่วนสังฆทานนั้นเป็นการถวายกลางๆ  ให้สงฆ์เฉลี่ยกันใช้สอย  จึงมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  โดยเฉพาะการถวายทานและการอนุโมทนาของสงฆ์
 
     สังฆทานมีแบบแผนมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล  ผู้รับจะเป็นพระภิกษุหรือสามเณร  หรือพระสังฆเถระหรือพระอันดับชนิดไรๆ  เมื่อสงฆ์จัดไปให้  ผู้ถวายต้องตั้งใจต่ออริยสงฆ์  คือ  อุทิศถวายเป็นสงฆ์จริงๆ  ผู้รัรรับในนามของสงฆ์เป็นส่วนรวม  จึงเป็นการถวายสังฆทานด้วยใจที่เป็นกุศล  อิ่มเอิบเบิกบานในการถวายทาน  วัตถุที่ถวายจะมากหรือน้อยอย่างไรตามแต่สมควร  ประกอบด้วยภัตตาหารและบริวาณของใช้ที่เหมาะสมแก่สมณบริโภค  ถวายกี่รูปก็ได้แล้วแต่ศรัทธา  จะถวายที่วัดหรือสถานที่อื่นๆ  เช่น  ที่บ้านหรือสถานที่ประกอบพิธีก็ได้
 
พิธีถวายสังฆทาน ประธานจุดเทียนธูปบุชาพระรัตนตรัย
    
พิธีถวายสังฆทานเริ่มด้วยการจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย
 

พิธีการถวายสังฆทาน

 
     พิธีการถวายสังฆทานนั้น  เริ่มด้วยการจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย (ถ้ามี)  แล้วอาราธนาศีล  และสมาทานศีล  จากนั้นผู้ถวายทานประนมมือ  ตั้งนะโม 3  จบ  กล่าวคำถวายสังฆทาน  เสร็จแล้วประเคนทานวัตถุแด่พระภิกษุสงฆ์
 
     หลังจากประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์แล้ว  เมื่อพระสงฆ์ผู้นำสวดอนุโมทนาด้วยบท  ”ยะถา  วาริวหา...”  ผู้ถวายทานเริ่มกรวดน้ำ  ถึงบทที่พระสงฆ์ผู้นำสวดถึง  “มณีโชติรโส  ยะถา”  ก็ให้หยุดการกรวดน้ำ  แล้วประนมมือรับพรพระต่อไปจนจบ (การกรวดน้ำจะได้กล่าวรายละเอียดในหัวข้อถัดไป)
 
กล่าวคำอาราธนาศีล
 
พิธีถวายสังฆทานกระทำหลังจากประธานจุดเทียนธูปแล้วจะทำการอาราธนาศีล สมาทานศีล
 
การอาราธนาศีลและสมาทานศีล
  
     เบื้องต้นของการบำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชน  ต้องมีพิธีรับสมณคมน์และศีลก่อนจากนั้นจึงอาราธนาพระปริตร  ถ้าบำเพ็ญเกี่ยวกับเทศน์จึงจะอาราธนาธรรม
 
     การที่ขอเบญจศีลก่อนเสมอไปทุกพิธีนั้น  เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์  ให้เป็นผู้มีศีลสมควรแก่การรองรับพระธรรม  สรณคมน์  หมายความว่า  ขอถึงพระพุทธ  ขอถึงพระธรรม  ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งก่อนอาราธนาควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาและบูชาพระก่อนแล้วจึงกล่าวคำอาราธนาตามด้วยการสมาทานศีล
           
     วิธีการอาราธนานั้น  บางแห่งให้ผู้กล่าวอาราธนาแต่ผู้เดียว  บางแห่งอาราธนาพร้อมกันทั้งหมด
 
คำอาราธนาเบญศีลหรือศีล 5
 
     (คำกล่าวก่อน)  บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า  ศีลเป็นเบื้องต้น  เป็นที่ตั้ง  เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย  และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง  บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้ว  จะเป็นเหตุให้เว้นจากความทุจริต  จิตจะร่าเริงแจ่มใส  และเป็นท่าหยั่งลงมหาสมุทร  คือ  นิพพาน
 
     ดังนั้น  ขอเรียนเชิญทุกท่าน  พึงตั้งใจกล่าวคำอาราธนาศีล 5 โดยพร้อมเพรียงกัน (นะครับหรือนะค่ะ)
        
      มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ สะหะ,  ปัญจะ  สีลานิ ยาจามะ,
      ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ,
      ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ  สะหะ,  ปัญจะ สีลานิ  ยาจามะ,
 
คำถวายสังฆทาน
 
พิธีถวายสังฆทาน
  
การถวายสังฆทาน ผู้ให้เครื่องบริโภคนั้นได้ชื่อว่าให้ฐานะห้าประการแก่ปฎิคาหก 
 

คำถวายสังฆทาน

     (บทกล่าวนำ)  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  สัปบุรุษย่อมให้ทานเช่นข้าวและน้ำที่สะอาดประณีตตามกาลสมควรอยู่เป็นนิตย์  แก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์  ซึ่งเป็นบุญเขตอันเยี่ยม  สำหรับผู้ให้เครื่องบริโภคนั้นได้ชื่อว่าให้ฐานะห้าประการแก่ปฎิคาหก  ดังต่อไปนี้คือ  ให้อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  และปฎิภาณ  ผู้ให้ย่อมได้รับฐานะห้าประการนั้นด้วย  ท่านสาธุชนทั้งหลาย  บุญเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของพวกเราทั้งหลาย  ดังนั้นขอเรียนเชิญทุกท่านพึงตั้งใจ  กล่าวคำถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานโดยพร้อมเพรียงกัน (นะครับหรือนะค่ะ)

คำถวายสังฆทานเป็นภาษาบาลีและคำแปล

      (กล่าวนำ-หันทะ มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการังกะโรมะเส.)
             
อิมานิ มะยัง  ภันเต , ภัตตานิ,
สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ,
โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,
อิมานิ, ภัตตานิ, สะปะริวารานิ, ปะฎิคคัณหาตุ, อัมหากัง , ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ,สุขายะ, นิพพานายะ  จะฯ

คำแปล

ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย,ขอน้อมถวาย, ภัตตาหาร, พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้,
แด่พระภิกษุสงฆ์, ขอพระภิกษุสงฆ์,จงรับ,ภัตตาหาร,พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้,ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์,
เพื่อความสุข, เพื่อมรรคผลนิพพาน,
 แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ตลอดกาลนานเทอญ.

คำกล่าวถวายเครื่องไทยธรรม

 
อิมานิ มะยัง  ภันเต, จะตุปัจจะยาทีนิ,
สะปะริวารานิ, ภิกขุสังฆัสสะ,
โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,
อิมานิ, จะตุปัจจะยาทีนิ, สะปะริวารานิ,
ปะฎิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง,หิตายะ, สุขายะ, นิพพานายะ  จะฯ

คำแปล

ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอน้อมถวาย, 
เครื่องไทยธรรม, มีปัจจัยสี่เป็นต้น, พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้,
แด่พระภิกษุสงฆ์,  ขอพระภิกษุสงฆ์, 
จงรับ,    เครื่องไทยธรรม,  มีปัจจัยสี่เป็นต้น, พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้, 
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เพื่อประโยชน์,
เพื่อความสุข,  เพื่อมรรคผลนิพพาน,
แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ตลอดกาลนานเทอญ.

             
     นอกจากนี้ยังมีบทสวดสำคัญที่ควรรู้และจดจำ  เพราะเป็นบทที่ต้องใช้สำหรับอาราธนาก่อนพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ คือ บทอาราธนาพระปริตรและบทอาราธนาธรรม  ซึ่งใช้อาราธนาก่อนพระภิกษุสงฆ์แสดงธรรมหรือสวดอภิธรรม
 
คำอาราธนาพระปริตร
  
วิปัตติปะฎิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ  ปะริตตัง  พรูถะ  มังคลัง
วิปัตติปะฎิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ  ปะริตตัง  พรูถะ  มังคลัง
วิปัตติปะฎิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ  ปะริตตัง  พรูถะ  มังคลัง
 
คำอาราธนาธรรม
  
พรัหมา  จะ  โลกาธิปะติ  สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ
สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ  ธัมมัง  อะนุกัมปิมัง ปะชังฯ
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 
บทความที่เกี่ยวข้องกับคำถวายสังฆทาน พิธีถวายสังฆทาน
 
 

http://goo.gl/iISR5


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ