ศีล 5 ความหมายของศีล 5

ศีล 5 คำแปล ความหมาย คำอาราธนา ศีล 5 พร้อมคำแปล วัตถุประสงค์ของการรักษาศีล https://dmc.tv/a17245

บทความธรรมะ Dhamma Articles > บทสวดมนต์
[ 10 ม.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]

ศีล 5
คำแปล ความหมาย
 
 

ศีล 5

คำว่า ศีล นั้น มีคำแปล และความหมายหลายนัย ดังต่อไปนี้ คือ

      1. ศีล มาจากคำว่า ”สิระŽ” ซึ่งแปลว่า ศีรษะ หรือ ยอด เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดคนนั้น แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่การมีทรัพย์สิน อำนาจ ความรู้ หรือความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น หากแต่อยู่ที่ความบริสุทธิ์ของศีล ซึ่งเป็นที่ยอมรับยกย่องของเหล่าบัณฑิตว่า ผู้มีศีลย่อมประเสริฐที่สุด

     2. ศีล มาจากคำว่า “ สีละŽ” ซึ่งแปลว่า ปกติ เพราะปกติของคนเรานั้นย่อมรักชีวิตของตน และเห็นคุณค่าชีวิตของคนอื่น เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้ จึงยินดีในการรักษาศีล เพราะไม่ปรารถนาจะเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน การรักษาศีลจึงเป็นการนำไปสู่ความเป็นคนที่ปกติสมบูรณ์

      3. ศีล มาจากคำว่า “ สีตะละŽ” ซึ่งแปลว่า เย็น เพราะผู้ที่รักษาศีล จะมีความเย็นกาย เย็นใจ ดุจดัง บุคคลผู้อาบน้ำชำระกายหมดจดดีแล้ว นั่งพักอยู่ ณ ร่มไม้ใหญ่ ความสงบเยือกเย็นนี้ แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ ก็จะรู้สึกปลอดภัย เย็นใจไปด้วย

     4. ศีล มาจากคำว่า “ สิวะŽ” ซึ่งแปลว่า ปลอดโปร่ง เพราะผู้ที่รักษาศีลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะนึกถึงการกระทำของตนเรื่องใด ก็ไม่มีสิ่งใดเป็นโทษ ไม่มีสิ่งใดเดือดร้อนกังวลใจ จึงมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง โล่งใจ และปลอดจากเวรภัยทั้งหลาย

      ดังนั้น ศีล จึงเป็นคุณธรรม ที่ทำให้เข้าถึงความเป็นยอดคน เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ มีความเป็นปกติ เป็นผู้ที่เย็นกาย เย็นใจ และมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ปลอดภัยอยู่เสมอ
      สำหรับความหมายที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวไว้ว่า

     ศีล คือ “ เจตนาŽ” ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากกายทุจริต 3 (ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติ ผิดในกาม) และวจีทุจริต 4 (ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดเพ้อเจ้อ)

     ศีล คือ “ เจตสิกŽ” หมายถึงการงดเว้นจากมโนทุจริต 3 (ความโลภอยากได้ของผู้อื่น, มีจิตคิดพยาบาท, มีความเห็นผิด)

     ศีล คือ ความสำรวมระวังŽ ปิดกั้นความชั่ว

     ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้ามŽ

แม้ศีลจะมีหลายความหมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เจตนา ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า

     ศีล คือ ความตั้งใจ ที่จะงดเว้นจากความชั่ว ความทุจริต สิ่งที่ไม่ดีทุกประการ

     การรักษาศีล จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุ คือวิธีการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่เราตั้งใจงดเว้นจาก ความชั่ว ตั้งใจที่จะไม่เบียดเบียนใคร ย่อมจะเกิดกระแสแห่งความดี เกิดความเมตตาขึ้นมาในใจ ที่เราเรียกว่า กระแสบุญ อันเป็นเครื่องชำระจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ การรักษาศีลจึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และจิตใจให้บริสุทธิ์ดีงามยิ่งขึ้น

     นอกจากนี้ ศีลยังเป็นคุณธรรมอันงามด้วยคุณลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นคุณธรรมที่รักษา กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นคุณธรรมอันจะนำไปสู่กุศลธรรมเบื้องสูง คือ สมาธิ และปัญญา ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการรักษาศีล

     หากเราเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องรักษา ก็จะทำให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างถูกต้อง รักษาแล้วเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ที่แท้จริงของศีล ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรักษาแบบทำตามกันมา หรือว่ารักษาไปอย่างนั้น ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย

     การรักษาศีล มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

     1. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติปัจจุบัน ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

     2. เพื่อให้เกิดความสุข ความดีงาม ในการดำเนินชีวิต

     3. เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความดีงามแก่ครอบครัว และสังคม

     4. เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตของเราในภพชาติต่อไป ไม่ให้ต้องพบกับความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

     5. เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรมที่สูงขึ้นไป ได้แก่ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้

     วัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 เป็นวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุข ไม่ต้อง ประสบพบเจอกับความทุกข์ ความเดือดร้อน หรือความเสื่อมเสีย ในภพชาติปัจจุบัน เพราะผู้ที่ไม่รักษาศีล มักเบียดเบียน หรือทำความเดือดร้อนให้กับตนเอง หรือผู้อื่น และเมื่อทำแล้ว ความเดือดร้อนที่เป็นผลจาก การกระทำนั้น ย่อมย้อนกลับมาหาตัวเอง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ทุติยสังคามวัตถุสูตร4) ว่า

“ ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมได้ รับการด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้งเคียดตอบ ฉะนั้น เพราะความหมุนกลับแห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขาแย่งชิงŽ”


     หากแต่ละคนในสังคมรักษาศีล ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ครอบครัวหรือสังคมนั้นย่อมมีความ สงบสุขเรียบร้อย ไม่เกิดความวุ่นวาย การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมอย่างนี้

     วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เป็นวัตถุประสงค์สำหรับป้องกันความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้น ในภพชาติเบื้องหน้า เพราะการไม่รักษาศีล ย่อมเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ และหากเกิดมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็จะมีอายุสั้น เป็นผู้ที่ไม่สมประกอบ ร่างกายพิกลพิการ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ล้วน นำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสิ้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อป้องกันความทุกข์ในภพชาติเบื้องหน้าอย่างนี้

     วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 การรักษาศีล เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณธรรม คือสมาธิและปัญญา โดย สมาธิจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยศีลที่บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน หากไม่มีศีล สมาธิก็เกิดไม่ได้ เพราะศีลเป็นเครื่อง ช่วยควบคุมกายกับวาจา ในขณะที่สมาธิเป็นเครื่องช่วยควบคุมใจ ดังนั้น เมื่อกายกับวาจาไม่สงบ ใจก็ยากที่จะสงบได้ เมื่อใจไม่สงบแล้ว สมาธิก็ยากที่จะเกิด และเมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญารู้แจ้งในเรื่องความจริงของ ชีวิตก็ย่อมไม่เกิดขึ้นไปด้วย เมื่อไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถกำจัดกิเลสอาสวะเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เมื่อไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ต้องประสบกับความทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร อยู่ร่ำไป แต่เมื่อรักษาศีลได้เป็นอย่างดี สมาธิก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และเมื่อสมาธิเกิด ปัญญาก็เกิดตามมา เมื่อปัญญาเกิด ก็สามารถจะกำจัดกิเลสอาสวะ และบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ดังนั้น การรักษาศีลจึงเป็นไปเพื่อ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพานอย่างนี้
 
ศีล5มีวิธีสมาทาน 3 แบบด้วยกัน

ศีล 5 ได้แก่

1. เว้นจากการฆ่าสัตว์

2. เว้นจากการลักทรัพย์

3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

4. เว้นจากการพูดเท็จ

5. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
 

ศีล คือ ปกติของความเป็นมนุษย์

      ศีล แปลว่า ปกติ ผู้ที่มีศีลจึงหมายถึงผู้ที่เป็นคนปกติ เป็นมนุษย์ที่ปกติ ความปกตินั้นเป็น พื้นฐานของความสงบเรียบร้อยของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต แต่เมื่อใดเกิดความไม่ปกติ ขึ้น ความยุ่งยาก ความเดือดร้อนหรือเสียหายย่อมเกิดขึ้นตามมา เช่น ดวงอาทิตย์ปกติจะส่องสว่าง ในเวลากลางวันเป็นปกติ ถ้าตราบใดที่พระอาทิตย์ยังส่องแสงเป็นปกติอยู่อย่างนี้ เราทั้งหลายก็ยังมีชีวิต ที่สงบสุขอยู่ตราบนั้น แต่หากวันใดพระอาทิตย์เกิดความผิดปกติขึ้นมา คือไม่ส่องแสงในเวลากลางวันดังที่ เคยเป็นมา การงานย่อมเสียหาย ความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้น เพียงการเกิดสุริยุปราคา การงานก็เสียหาย ไม่น้อย หรือฤดูฝนปกติฝนจะต้องตก การทำเกษตรจึงสามารถทำไปได้อย่างเต็มที่ แต่หากปีใดที่ถึงฤดูฝน แล้วฝนกลับไม่ตก ปีนั้นก็กลายเป็นปีที่ผิดปกติไป และสิ่งที่เกิดตามมาคือข้าวยากหมากแพง พืชผลทาง การเกษตรก็เสียหายคนเราก็เช่นกัน ถ้ามีความเป็นปกติ การดำเนินชีวิตก็มีแต่ความสงบสุข สังคมก็อยู่อย่างปกติ เรียบร้อย แต่วันใดที่คนปกติกลายเป็นคนไม่ปกติไป เมื่อนั้นความทุกข์ ความเดือดร้อนย่อมเกิดขึ้น ทั้งต่อตนเองและบุคคลที่อยู่รอบข้างด้วย อะไรคือความเป็นปกติของมนุษย์ และอะไรคือความผิดปกติของมนุษย์ ศีล 5 คือปกติของความเป็นมนุษย์ หรือมนุษยธรรม คือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ผู้ที่ผิด ศีลก็ชื่อว่า เป็นคนที่ผิดปกติไป

ศีล 5 เป็นคุณธรรมพื้นฐาน

      ศีล 5 เป็นคุณธรรมพื้นฐาน เป็นเครื่องช่วยควบคุมกายวาจาของมนุษย์ให้เรียบร้อย เพื่อ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขพอสมควร หากมีผู้ใดทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อแล้ว ก็จะแสดงพฤติกรรม หรือการกระทำที่ผิดปกติของมนุษย์ออกมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายเกิด ความเดือดร้อนทั้งต่อตนเอง หมู่คณะ และสังคมส่วนรวม
 
 

ศีล 5 เกิดขึ้นจากสามัญสำนึกของมนุษย์

    ศีล 5 เกิดขึ้นจากสามัญสำนึกของมนุษย์ ที่ปรารถนาจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข ปลอดภัย โดยไม่ต้องหวาดระแวงหรือกลัวอันตราย หรือกลัวว่าจะถูกเบียดเบียนทำร้าย ไม่ว่าจากใคร หรือด้วยวิธีใดก็ตาม

ศีล เป็นมหาทาน

      การรักษาศีล ไม่เพียงเป็นการรักษาความเป็นปกติของความเป็นมนุษย์ หรือเพื่อรักษากฎเกณฑ์ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมเอาไว้เท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ทานที่มีคุณค่ายิ่งกว่าการให้วัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เพราะในขณะที่ใครคนหนึ่งรักษาศีล ทุกชีวิตจะได้รับประโยชน์อันมหาศาล นั่นคือได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทันที กล่าวคือ
 
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 1 คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ย่อมได้ชื่อว่า ให้ชีวิต ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิต ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นการให้สิ่งที่สูงค่ายิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ
 
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 2 คือ ไม่ลักทรัพย์ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นการให้ฐานะความเป็นอยู่อันมั่นคง
 
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 3 คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความสุข ให้ความปลอดภัย แก่บุตร ธิดา ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการให้ความคุ้มครองแก่สถาบันครอบครัวอย่างดีที่สุด
 
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 4 คือ ไม่กล่าวคำเท็จ ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทำให้เกิดความสบายใจในการดำเนินชีวิต โดยไม่ต้องหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
 
เมื่อเรารักษาศีลข้อที่ 5 คือ ไม่ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง เพราะคนที่ประมาทขาดสตินั้น สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือพูดเท็จก็ทำได้ทั้งสิ้น

      การรักษาศีล จึงเป็นบุญอันพิเศษอย่างยิ่ง เพราะได้ทั้งบุญจากการบำเพ็ญมหาทาน และบุญจากการรักษาศีล และนี่เป็นเพียงศีล 5 อันเป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากรักษาศีลในข้อที่สูงยิ่งขึ้นไป ย่อมเป็น มหาทานอันยิ่งใหญ่ เป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่างสุดที่จะประมาณได้

 
 
 
 


http://goo.gl/BvN6H7


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำอธิษฐานจิตถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      คำกล่าวถวายผ้าอาบน้ำฝนผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      โอวาทปาฏิโมกขาทิปาโฐ
      转法轮经 (บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ภาษาจีน)
      Dhammacakkappavattana Sutta
      รวมบทสวดมนต์ข้ามปี
      คำกล่าวถวายเครื่องกันหนาว
      คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา
      บทสวดมนต์พาหุงมหากา พร้อมคำแปล
      คําอธิษฐานจิตปล่อยปลา
      คำกล่าวถวายร่มเป็นสังฆทาน
      บทสวดธรรมกายานุสติกถา
      อานิสงส์ของการรักษาศีล 5




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related