ประเพณียี่เป็ง 2559 ยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่

ประเพณียี่เป็ง 2559 ลอยโคมยี่เป็ง (งานบุญยี่เป็ง แม่โจ้) ทอดกฐินธุดงคสถานล้านนา https://dmc.tv/a5706

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 29 ต.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18261 ]

ประเพณียี่เป็ง 2559

ยี่เป็ง งานลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณียี่เป็ง 2559 ยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา
รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่
ทอดกฐินธุดงคสถานล้านนาและประเพณียี่เป็ง วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559
Yeepeng Lanna International 2016 (Nov 14, 2016)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ธุดงคสถานล้านนา โทรศัพท์ 053-353174
 
กำหนดการทอดกฐินล้านนาสามัคคี สร้างทุกสิ่งถวายเป็ยพุทธบูชา วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ธุดงคสถานล้านนา

13.00 น. ลงทะเบียนเจ้าภาพ
14.00 น. ตั้งริ้วขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน
14.30 น. พิธีทอดกฐิน
18.30 น. พิธีจุดประทีปถวายพุทธบูชา (ไม่มีลอยโคม)
20.30 น. เสร็จพิธี

ประเพณียี่เป็งที่เชียงใหม่
 ประเพณียี่เป็ง ณ ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 
     ประเพณียี่เป็งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส
 
 
ประเพณียี่เป็งสันทราย
 

 
ยี่เป็งล้านนา ลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 บริเวณด้านหน้าของงานประเพณียี่เป็งที่ธุดงคสถานล้านนา
 
     ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์
 
งานยี่เป็งจะมีพิธีทอดกฐินในช่วงบ่าย
 ในงานประเพณียี่เป็งช่วงบ่ายมีพิธีทอดกฐิน

ประเพณียี่เป็งได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ 

     กิจกรรมในงานยี่เป็งนี้จะมีพิธีทอดมหากฐินสามัคคีซึ่งจะจัดขึ้นก่อนในช่วงบ่าย และได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการจุดประทีป และลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าถวายเป็นพุทธบูชา สร้างความสว่างไสว ทำลายความมืดมิดในยามราตรี ดุจดังพระสัจธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่สามารถขจัดความมืด ความไม่รู้ และอวิชชา ให้หมดไปจากใจของชาวโลก เหลือไว้แต่ใจที่สว่างไสวกับร้อยยิ้มอันปิติใจจากพวกเราที่จะได้ไปร่วมงานกัน
 
งานทอดกฐินที่ธุดงคสถานล้านนาในประเพณียี่เป็ง
 เส้นทางสำหรับขบวนอัญเชิญผ้ากฐินสู่ศูนย์กลางพิธี
 
งานทอดกฐินล้านนาในงานประเพณียี่เป็ง
 ศูนย์กลางพิธีทอดกฐินล้านนา
 
     ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ
 
ประเพณียี่เป็ง ณ ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 ยี่เป็งสันทราย ถวายเป็นพุทธบูชา

ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ 

     ในงานบุญยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง
 
โคมประทีปที่ใช้จุดช่วงค่ำในงานยี่เป็ง
 โคมประทีปสำหรับจัดในพิธีช่วงค่ำ
 
     โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง
   
     โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรือนไม่ได้ใช้ลอยโดยโคมที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่น ใส่ประทัด ควันสี เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย วิธีการปล่อยจะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย
 
ภาพงานยี่เป็งเชียงใหม่
 โคมยี่เป็งที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันจุดขึ้นเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณียี่เป็งลอยโคมที่เชียงใหม่ 

      ส่วนโคมลอย ที่ใช้ลอยกลางคืน นิยมใช้กระดาษสีขาว เนื่องจากจะโปร่งแสงเมื่อลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วขนาดก็จะย่อมกว่าโคมลอยกลางวัน วิธีการปล่อยจะใช้เชื้อไฟ หรือขี้ไต้ จุดเพื่อให้ความร้อนส่งโคมลอยขึ้นบนฟ้า จะมีการเพิ่มเติมดอกไม้ไฟน้ำตก ดาวตก ประทัด เพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย กุศโลบายของการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รวมทั้งเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม สร้างความสามัคคี และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบ
 
        งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว 
 
      การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็ง เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น
 
การลอยโคมยี่เป็งบุชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  ทุกคนที่มาร่วมงานยี่เป็งจะปล่อยให้โคมที่ถือไว้ลอยขึ้นท้องฟ้าพร้อมเพรียงกัน
 
      วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรและฟังเทศมหาชาติ โดยเป็นการเทศน์แบบพื้นเมือง ที่พระสงฆ์จะขึ้นไป เทศน์บนธรรมมาสน์บุษบก และในตอนค่ำชาวบ้านจะนำผางผะติ๊ด (ถ้วยประทีป) มาที่วัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และฟังเทศน์ และการจุดผางผะติ้ดนี้ คนล้านนาถือว่าได้บุญมาก เมื่อเสร็จจากการบูชาผางผะติ้ดก็จะเป็นการจุดโคมไฟ หรือลอยโคม และลอยโขมดหรือลอยกระทง พร้อมกับเล่นดอกไม้ไฟ

การปล่อยโคมลอยมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ 


      1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไป

     2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์

      สำหรับการลอยโขมดหรือการลอยกระทงของล้านนา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า ลอยโขมดนั้น เนื่องจากกระทงเมื่อจุดเทียนแล้วปล่อยลงน้ำ จะมีแสงสะท้อนกับเงาน้ำวับแวมดูคล้ายแสงของผีโขมด ชาวล้านนาจะลอยกระทงเล็กๆ กับครอบครัว เพื่อนฝูง ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่ร่วมกันจัดทำ นิยมลอยในวันแรม 1 ค่ำ กระทงเล็กของชาวเชียงใหม่ แต่เดิมใช้กาบมะพร้าว ที่มีลักษณะโค้งงอ เหมือนเรือเป็นกระทง แล้วนำกระดาษแก้วมาตกแต่งเป็นรูปนกวางดอกไม้ และประทีบไว้ภายใน
 
ประเพณียี่เป็ง ลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 นักท่องเที่ยวและช่างภาพมีเวลากดชัตเตอร์กันเพียงช่วงเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นก่อนที่โคมจะลอยไปจนสุดสายตา

ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง 

      ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง ได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาร่วมในประเพณีการลอยโคมยี่เป็งที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลลอยกระทงโดยได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลนครเชียงใหม่
 
     ประเพณีการลอยกระทง และลอยโคมยี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เริ่มต้นกิจกรรมกันที่ริมแม่น้ำปิง และในบริเวณใกล้เคียง มีการจัดงานออกร้านขายของ ขายกระทง การประกวดนางนพมาศ การประกวดขบวนแห่กระทงของหน่วยงานต่าง ๆ  มากมาย พอช่วงค่ำกระทงในลำน้ำปิงก็เริ่มมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ พร้อมกับผู้คนที่หนาแน่นขึ้น ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของพวกเรา ก็เบียดเสียดเยียดยัดหาที่ว่างเพื่อจะไปถ่ายรูปขบวนแห่ และกระทง แต่ในช่วงนั้นเองก็เริ่มเห็นท้องฟ้า เต็มไปด้วยโคมลอยทยอยกันขึ้นมาเรื่อย ๆ จากท้องฟ้าด้านตรงข้ามไกล ๆ และไม่ขาดสาย จึงย้ายสำมะโนครัวตามหาแหล่งที่เป็นจุดกำเนิดของเจ้าพวกโคมลอยพวกนี้
 
ยี่เป็ง งานประจำจังหวัดเชียงใหม่
 การปล่อยโคมจะปล่อยเป็นชุดๆ ไปเพื่อความสวยงาม
 
      ที่ธุดงคสถานล้านนา มีการจัดงานลอยโคม “ยี่เป็งสันทรายถวาย พุทธบูชา” เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของไทย …นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา ธุดงคสถานล้านนา จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยอำเภอสันทราย และสถาบันการศึกษา วัด และหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ได้ร่วมกันสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา และประกอบพิธีจุดประทีป และโคมลอยเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
ประเพณียี่เป็ง
 ผู้มีบุญที่มาร่วมงานรอจังหวะสัญญานในการปล่อยโคมยี่เป็งโดยพร้อมเพรียงกัน
 
      ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่ที่ยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล วิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น เป็นที่ประจักษ์ถึงความงดงามอ่อนช้อย และเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งความงามทั้งหมดนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เป็นเวลายาวนานกว่า 700 ปี

ประเพณียี่เป็ง ภาพรวมงานลอยโคม

 
ประเพณียี่เป็ง ธุดงคสถานล้านนา
 ผู้ที่เดินทางมาร่วมในพิธีปล่อยโคมยี่เป็งนี้จะแต่งกายด้วยชุดสีขาว
 
     คนที่มานิยมนุ่งขาวตามแบบฉบับชาวเหนือร่วมเวียนเทียนตามหลังเหล่าพระสงฆ์ แสงเทียนในมือของเหล่าอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นต่างร้อยรวมกันเป็นสายยาว เหมือนสายน้ำที่ค่อย ๆ ไหลเอื่อยรอบบริเวณปะรำพิธี จากนั้นก็ได้เวลาจุดเชิงเทียน ซึ่งทางสำนักสงฆ์ ฯ ได้นำเชิงเทียนมาปักให้แก่ผู้มาร่วมงาน เป็นพัน ๆ อัน ก่อนที่เราจะจุดโคมก็พระสงฆ์ก็จะสวดให้พร นั่งสมาธิ อธิษฐานขอพร และขอให้สิ่งร้าย ๆ ลอยไปกับโคมยี่เป็ง
 
ลอยโคมยี่เป็งถวายเป็นพุทธบูชา
เมื่อจุดไฟในโคมติดแล้วจะต้องถือเอาไว้จนกว่าอากาศในโคมจะเบาพอที่จะลอยขึ้น

การปล่อยโคมยี่เป็งโดยพร้อมเพรียงกันสร้างภาพที่สวยงามให้บังเกิดขึ้น

งานยี่เป็งล้านนา เชียงใหม่
 เมื่อได้สัญญาณปล่อยสาธุชนจะปล่อยโคมยี่เป็งลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมๆ กัน
 
ยี่เป็งลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 การปล่อยโคมชุดต่อไปจะเริ่มหลังจากชุดแรกลอยขึ้นสู้ท้องฟ้าแล้ว
 
ประเพณียี่เป็งได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก
 ความงดงามยามราตรีที่ทุกท่านร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
 
ลอยโคมยี่เป็งบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 ประเพณีปล่อยโคมลอยที่ธุดงคสถานล้านนาจะจัดขึ้นทุกๆ ปี เรียกว่าประเพณียี่เป็งสันทราย
 
ปล่อยโคมลอย
 “โคมลอย”  เป็นโคมขนาดใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษไข
 
ประเพณียี่เป็ง ในช่วงวันลอยกระทง
 บางพื้นที่ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะร่วมกันทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชา
 
ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
 กิจกรรมการปล่อยโคมจัดขึ้นบริเวณลานกิจกรรมธุดงคสถานล้านนา
 
 
 

ดู ธุดงคสถานล้านนา เชียงใหม่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
     
แผนที่เดินทางสู่งานประเพณียี่เป็งของธุดงคสถานล้านนา สามารถคลิกที่ภาพเพื่อชมแผนที่เพิ่มเติม
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับยี่เป็ง ประเพณียี่เป็ง รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่
 


http://goo.gl/EgDKJ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2566 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2566
      กิจกรรมเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระหว่างกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
      กิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ "เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย จัดกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล และถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
      Be Part of History in the Making