เทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ

ถามว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างร็วดเร็วอย่างนี้แล้ว ส่งผลต่อคุณภาพใจ และก็การดำเนินชีวิตของเราเอง สังคมของเราเองยังไงบ้าง https://dmc.tv/a15150

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 9 ก.พ. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]
ทันโลก ทันธรรม
 
เทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ
 
โดย : พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ M.D.,Ph.D. 
 
เทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ 
 
        วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปเร็วมาก ๆ เลย ถ้าในแง่ของเทคโนโลยีการสื่อสารเนี่ยนะ เมื่อสัก 20 ปีที่แล้วมือถือในประเทศไทยมีไม่กี่เครื่องเอง ตัวเครื่องเบ้อเริ่มเล แทบจะต้องแบกเลยทีเดียวเนี่ย แต่เดี๋ยวนี้เนี่ย ตัวเล็กนิดเดียว แล้วก็เร็วขึ้นเรื่อย ๆ และทำงานได้มากมายหลายอย่าง พัฒนาไปตลอดเวลา จากยุค 1G อนาลอค เป็น ดิจิตอล เป็น 2G มา 3G และก็ในบางประเทศจะเป็นยุค 4G ญี่ปุ่นกำลังทดลอง 4G กันแล้ว คือมันจะเร็วไปเรื่อย ๆ เลย ส่งทั้งภาพทั้งเสียงทุกอย่างเนี่ย หรือว่า อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เองก็พัฒนาตลอดเวลา จากคอมพิวเตอร์ธรรมดา อินเตอร์เน็ตธรรมดาก็กลายเป็น hi-speed ขึ้นมา ความเร็วเนี่ย จากแต่สมัยก่อนมีโมเดมนี่ 25 กิโลไบต์ ก็ถือว่าเยอะแล้ว ต่อมาทีนี้ก็เป็น 1 เมก ในญี่ปุ่นตอนนี้เนี่ย อินเตอร์เน็ต hi-speed นี่ Home use ตามบ้านนี่นะ ความเร็วตั้ง 100 เมก น่ะ เรียกว่าดู วีดีโอ ดูหนังอะไรต่าง ๆ กัน อินเตอร์เน็ตเนี่ยสบายเลย จะดูถ่ายทอดสด DMC ทางอินเตอร์เน็ต ภาพไม่มีกระตุกแล้วเพราะว่า ความจุความเร็วเนี่ยมันตั้ง 100 เมกต่อ วินาทีน่ะ เร็วมาก ๆ
 
       ถามว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างร็วดเร็วอย่างนี้แล้วเนี่ย ส่งผลต่อคุณภาพใจ และก็การดำเนินชีวิตของเราเอง สังคมของเราเองยังไงบ้าง มีอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่อยากให้พวกเราเองสังเกตและก็ลองตรองดู คือ ตัวเราแต่ละคนเนี่ย สามารถส่งข่าวสารจากตัวของเราไปถึงผู้คนทั้งหลายรอบตัว จนถึงทั่วประเทศและทั่วโลกได้เนี่ย อย่างกว้างขวางแล้วก็รวดเร็ว โดยที่หลาย ๆ กรณี สามารถปิดบังตัวตนของผู้ส่งข่าวสารได้ด้วยนะ อย่างเช่นว่า พอมีข่าวในหนังสือพิมพ์เราจะเห็นใช่ไหม ก็จะมีพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น บางข่าวมีคนมาดูเป็นแสนคน มีคนมาเขียนความเห็นเป็นพัน เป็นหมื่นเลยเนี่ย โดยที่คนเขียนความเห็นเขาก็ใช้นามแฝง เขียนไปแล้วคนอื่นเขาก็อ่าน ๆ ไปเนี่ย บางทีก็ไม่รู้ว่าคนเขียนเป็นใคร ถามว่าการส่งข่าวสารไปถึงคนจำนวนมากโดยที่สามารถปิดบังตัวตนที่แท้จริงของผู้ส่งข่าวสารได้เนี่ยมันเกิดผลยังไงบ้าง ตรงนี้เนี่ยมีทั้งบวกทั้งลบ
 
เทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ 
 
        ขอยกกรณีในด้านบวกก่อนก็แล้วกัน คือบางครั้งถ้าเกิดต้องแสดงตัวตนออกมา บางทีเราก็ไม่ค่อยกล้าแสดงออกกลัวว่าจะเกิดผลกระทบด้านลบกับเรานะ ความรู้สึกจริง ๆ ความเห็นจริง ๆ เราเองเนี่ยถ้าในชีวิตจริงบางทีเราไม่ค่อยกล้าพูด กลัวจะเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัย และความมั่นคงในชีวิต แต่ถ้าเกิดเสนอความเห็นอยู่ในสังคม ไซเบอร์ สเปส เสนอไปแล้วไม่รู้ว่าใครเป็นคนเสนอ แล้วคนอื่นก็เสนอเข้ามาด้วย มันกลายเป็นชุมชนที่ปิดบังตัวตนของเราเองไว้ได้อีกชั้นหนึ่ง ไม่ถึงกับสาวไม่ได้ จะสาวจริง ๆ ก็พอสาวได้แต่มันลำบาก ในโลกจริงเนี่ยเยอะ โลกจริงจะพูดปั๊บต้องเห็นตัวเห็นหน้าตาเราจะๆ เลยเนี่ย ในไซเบอร์ สเปส ะสาวมันยาก มันมีฉากกั้นอยู่หลายชั้น พออย่างนี้เนี่ย สังคม สามารถนำเสนอความเห็นสังคมได้ แม้ในภาวะแวดล้อมที่ไม่ค่อยเอื้อนัก
 
       ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน เร็ว ๆ นี้เอง เพิ่งเกิดกรณีว่ามีหญิงคนหนึ่ง เป็นหญิงทำงานในโรงแรมเนี่ยนะ เสร็จแล้วเขาก็มีบริการพิเศษเยอะ ก็มีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจเนี่ย มาพักในโรงแรม แล้วหญิงคนนี้ก็ทำหน้าที่ในการล้างเท้าให้ ขัดเล็บ ตัดเล็บให้นะ ปรากฏว่า ถูกเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจลวนลาม แล้วจะฉุดเข้าไปในห้อง หญิงคนนี้ก็สู้ เอามีดเนี่ย แทงซะเจ้าหน้าที่ตายเลยนะ เสร็จแล้ว หลังจากนั้นก็ไปมอบตัวตำรวจ ถ้าปกติอย่างนี้ต้องบอกว่าไม่รอดเลย แทงคนตายนะ ถึงแม้ว่าจะอ้างว่าถูกลวนลาม ถือว่าทำเกินกว่าเหตุ และยิ่งเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจด้วย มีพรรคพวกด้วยเนี่ย หญิงคนนี้ต้องถูกลงโทษแน่นอน แต่ปรากฏว่าพอข่าวนี้ออกไปในอินเตอร์เน็ตแล้วเนี่ย ก็มีชาวเน็ตเนี่ยนะ มาให้ความเห็นกันอย่างสนั่นหวั่นไหว เป็นกระแสเลยว่า ยกว่า หญิงคนนี้คือ วีระสตรีผู้หาญกล้า สู้กับความอยุติธรรม การข่มเหงรังแกของเจ้าหน้าที่รัฐ กลายเป็น วีระสตรีไปเลยนะ Hero ฝ่ายหญิงไปเนี่ย ผลคือ ศาล เพิ่งตัดสินพิพากษาว่า หญิงคนนี้เนี่ย ไม่มีความผิด ปล่อยตัวเลย เพราะกระแสสังคมที่กดดัน ชาวเน็ตเป็นสิบ ๆ ร้อย ๆ ล้านคน พอเป็นกระแสสังคม ทุกคนเห็นว่าหญิงคนนี้ถูกๆ ดี เจ้าหน้าที่รัฐมารังแก สุดท้ายส่งผลแม้กระทั่งต่อการตัดสินของศาลว่า ถึงแม้การกระทำถึงขนาดแทงตายจะแรงไปนิดหนึ่งนะ เกินกว่าเหตุไปหน่อย แต่ก็มามอบตัวด้วยตัวเอง แสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ แล้วเจ้าหน้าที่รัฐก็ทำเกินเลยไป เสียศีลธรรม จรรยาบรรณของความเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ฉะนั้นพิพากษาว่า ยกโทษให้กับจำเลย ปล่อยตัวไม่มีความผิดเลย ไม่ถูกลงโทษเลยเนี่ย
 
       นี่คือเห็นว่า กระแสความเห็นของสังคมใน ไซเบอร์ สเปส ในอินเตอร์เน็ตเนี่ย ส่งผลอย่างมหาศาล ถ้าหากเป็นปกติแล้วละก็ คนจะมาชุมนุมกันเป็นหมื่นเป็นแสนในจีนเนี่ยนะ ที่ระบบการปกครองยังถือว่า ยังปกครองในระบบที่ค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับความมั่นคงในประเทศสูงเนี่ย การจะมาชุมนุมประท้วงนั้นคงเป็นไปได้ยาก แต่พอเป็นกระแสความเห็นใน ไซเบอร์ สเปส ที่สามารถปิดบังตัวตนผู้เสนอความเห็นได้ระดับหนึ่งเนี่ย มันสามารถก่อกระแสสังคมและส่งผล ต่อทิศทางความเป็นไปของเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมได้อย่างที่ว่ามา อันนี้ก็เป็นข้อดีทางหนึ่ง เป็นช่องทางในการแสดงความคิดเห็น โดยมีความปลอดภัยต่อผู้แสดงความเห็นในระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกัน ทุกอย่างมีบวกมีลบ ผลกระทบด้านลบก็มีเหมือนกัน เพราะพอปิดบังตัวตนได้เป็นไงเอ่ยต้องบอกว่า กิเลสดิบ ๆ ในใจแต่ละคน ก็สามารถแสดงได้แบบไม่ต้องยับยั้งชั่งใจเท่าไหร่เหมือนกัน
 
เทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ 
 
       ฉะนั้นเราจะเห็นว่า ในการให้ความเห็นท้ายข่าวต่าง ๆ  ในอินเตอร์เน็ต บางทีสำนวนที่ใช้ ภาษาที่ใช้ก็ค่อนข้างจะแรง เป็นคำหยาบ ๆ ว่ากันแรง ๆ เสีย ๆ หาย ๆ ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงจะไม่ค่อยมีใครพูดกันอย่างงั้น เพราะขื้นไปว่าเขาแรง ๆ อย่างนั้นเป็นไงเอ่ย หนึ่ง ทุกคนจะมองว่า คน คนนี้เป็นคนใช้ไม่ได้ เป็นคนหยาบคาย ไม่มีมารยาท เสียภาพลักษณ์ไปหนึ่งแล้ว สอง อีกฝ่ายเขาอาจจะโกรธ ชกหน้าเอาก็ได้ หรือไปฟ้องตำรวจจำหมิ่นประมาทต่าง ๆ ก็ได้เนี่ย คนก็จะไม่กล้าเพราะว่า เมื่อแสดงออกยังไงไปแล้วตัวเองต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ คนก็จะรู้สึกต้องระวัง ความรับผิดชอบต่อสังคม ผลกระทบจะเกิดกับตัวเอง แต่พออยู่ใน ไซเบอร์ สเปส เป็นไง ให้ความเห็นไปแล้วเนี่ย คนให้ความเห็นเยอะแยะเป็นร้อยเป็นพัน ไม่มีใครเขามาตามหาหลอกว่าใครเป็นคนให้ความเห็นเนี่ย ถ้าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงจริง ๆ เพราะฉะนั้นว่าไปเลย อยากจะพูดยังไงพูดไปเลย ด่าไปเลยเสีย ๆ หาย ๆ ใช้คำหยาบ ๆ คาย ๆ เนี่ย จะจิกหัวว่ายังไง ๆ ก็ได้เนี่ย มันทำให้คุณภาพใจของผู้ให้ความเห็นอย่างงั้นเนี่ยมันตกต่ำลงโดยไม่รู้ตัว แล้วส่งผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ที่มาอ่านด้วย ถ้าเยาวชนมาอ่านการให้ความเห็นนี้มาก ๆ เข้า อีกหน่อยก็ติดนิสัยที่เสีย ๆ หาย ๆ อย่างนี้ ใช้คำแรง ๆ หยาบ ๆ คาย ๆ อย่างนี้ไปโดยไม่รู้ตัว อันนี้ก็เป็นข้อเสีย
 
       คนเราเนี่ยปกติ สิ่งที่จะยับยั้งชั่งใจจากการกระทำความชั่วเนี่ย อันที่ 1 คือ เรื่องของแรงกดดันจากสังคม ทำไปแล้วเดี๋ยวจะถูกลงโทษ ถ้าเกิดทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนะ ไม่ว่าจะเป็นว่า สังคมไม่ยอมรับ หรือว่าต้องรับผลตามกฎหมายก็ตาม อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งที่สำคัญ อีกอันหนึ่งก็คือ เรื่องของศีลธรรม หิริโอตัปปะ ความอายบาป กลัวบาป ถ้าทำไปแล้วเดี๋ยวมันบาปนะ เดี๋ยวต้องรับวิบากกรรมต่อไปข้างหน้า นี่คือ แรงดึง แรงฉุด ยับยั้งชั่งใจ จากพลังทางด้านศาสนา พลังทางศีลธรรม ถ้าขาหยั่งทางด้านของสังคมหายไปเนี่ย ก็จะเหลือแต่ขาหยั่งทางด้านศีลธรรม ทางด้าน หิริโอตัปปะ 
 
       เพราะฉะนั้นต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันเนี่ยที่เราเองเราจะไปดึงเทคโนโลยีกลับมามันเป็นไปไม่ได้หรอก ดังนั้น จึงแทบจะไม่มียุคใด สมัยใดเลยที่ศีลธรรมมีความสำคัญต่อความสงบสุขของตัวเราและสังคมเนี่ยเท่ากับสมัยนี้ พวกเราทุกคนจึงต้องมีการฝึกปฏิบัติเพื่อตอกย้ำพลังทางศีลธรรมในตัวเราเองให้มากขึ้นเนี่ย ไม่งั้นละก็เราจะเดือดร้อน เดือดร้อนในที่นี้ อย่าไปคิดแต่เพียงว่า ก็เพื่อให้เราเองจะได้ให้ความเห็นเพราะ ๆ ดี ๆ มีมารยาท ใช้คำสำนวนดี ๆ สังคมจะได้ไม่เสียหายใช่ไหม นั่นแค่ส่วนเดียวนะ แต่หัวใจหลักที่สุด คือ ตัวของเราเองนั่นแหละ อย่าลืมว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาไปรวดเร็วมากขึ้นทุกอย่างสะดวกคล่องแคล่วว่องไวมากขึ้นเนี่ย มันนำมาอีกหลาย ๆ อย่างเลย การที่ปิดบังตัวตนไว้ได้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตัวเองแบบจะ ๆ แจ้ง ๆ เนี่ย มีผลอีกหลายเรื่องเช่นว่า ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครอยากจะดูสื่อไม่เข้าท่า เอาสื่อ สมมุติว่าเป็นสื่อ วีดีโอ โป๊ ๆ เปลือย ๆ เป็นไงเอ่ย จะไปหาหนังสือโป๊ วีดีโอโป๊ ๆ เปลือย ๆ เข้าเนี่ย ก็จะกลัวเอ๊ะ จะมีคนรู้จักเห็นหรือเปล่า เดี๋ยวจะยังงั้นอย่างงี้ ไม่ค่อยกล้าทำเท่าไหร่ แต่ยุคปัจจุบันจะเข้าเว็ปไซด์ เนี่ย มันมีเว็ปสาระพัดอย่างที่ไม่มีใครรู้ว่ามีใครเข้าดู เอาอินเตอร์เน็ตเข้าไปนั่งดูอยู่ในห้องนอนก็ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่รู้เนี่ยว่าลูกไปดูอะไรยังไงอยู่เนี่ย ผลคือ เยาวชนเนี่ยก็มีโอกาสจะไปยุ่งกับเว็ปเสีย ๆ หาย ๆ ได้ มาก เพราะไปยุ่งแล้วไม่มีใครรู้ สามารถปิดบังตัวตนของตัวเองได้ระดับหนึ่ง เห็นไหมเนี่ยว่า ผลเสียมันเกิดขึ้นมามหาศาล จะแก้ได้จริง ๆ นะ จะเอาโปรแกรมมาช่วยอะไรต่าง ๆ แต่มันก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง เดี๋ยวก็มีทางแหวกออกไปได้เนี่ย
 
หิริโอตัปปะ 
 
       แต่หัวใจจริง ๆ ก็คือว่า จะต้องสร้าง หิริโอตัปปะ ความอายบาป กลัวบาปให้เกิดขึ้นในใจของทุกคนจริง ๆ แต่ละคนจะต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจจริง ๆ ว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ เพราะพลังจากสังคมมาช่วยเราในหลาย ๆ กรณีเนี่ยมันช่วยมาไม่ถึง เป็นเรื่องของตัวเราเองล้วน ๆ เลยว่า จะทำหรือไม่ทำ ยุคนี้ เป็นยุคที่ศีลธรรมมีความจำเป็นต่อโลกอย่างยิ่งยวด แต่ถ้าเกิดเราเองปลูกฝังศีลธรรมในตัวเราเองเกิดขึ้นมาได้แล้วละก็ ก็จะมีประโยชน์เกิดขึ้นมาอย่างยิ่งยวดเหมือนกันเพราะว่า ความเห็นที่ดี ๆ ของเราถ้ามีเกิดขึ้นนะ เราจะสามารถผลักดันสิ่งนั้นออกไปสู่โลกได้อย่างกว้างขวาง เว็ปบล๊อกบางเว็ปที่เจ้าตัวทำดี ๆ ให้ความเห็นดี ๆ ขึ้นมาปั๊บ มีคนมาดูวันหนึ่งเนี่ยหลายแสนคน ถ้าเป็นสมัยก่อนเราเองจะพูดแล้วมีคนฟังสัก 10 คนเนี่ยก็ไม่ง่ายแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ถ้าทำดี ๆ นะ มีคนมาดูได้วันหนึ่งเป็นแสน ๆ เป็นล้าน ๆ คน วีดีโอ บางอันที่ดี ๆ ไปใส่อยู่ใน You tube  มีคนมาดูวันเดียวเนี่ยเป็นสิบ ๆ ล้านคนก็มี
 
        เพราะฉะนั้นเนี่ยตัวของเราสามารถส่งอิทธิพลต่อโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะส่งสาสน์ที่เป็นบวกหรือเป็นลบเท่านั้นเอง ปลูกฝังศีลธรรมให้หนักแน่นขึ้นในตน คุ้มครองตัวเราเองได้ รักษาคุณภาพใจของเราได้ ในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แล้วช่วยเป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลดี ๆ เพื่อนำสันติสุขและสันติภาพให้เกิดขึ้นกับโลกในยุคนี้กันเถิด
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีกับคุณภาพของใจ
 

http://goo.gl/Fy6v0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related