วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ

13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม https://dmc.tv/a10324

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 12 เม.ย. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]
วันครอบครัว

14 เมษายน วันครอบครัว
 
 
 
ครอบครัว
 
14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว
 
          13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจบ้านเมือง และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้าน ทำให้เทศกาลสงกรานต์ จึงถือเป็นโอกาส รวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา และรัฐบาลได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ
 
 
ดูแลกันและกัน 
ประเพณีอันดีงานสือต่อกันมาแต่ โปราณกาล
 

ประวัติวันครอบครัว


           เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก
 
          การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว ลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม
 
วันแห่งความสุข 
สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว
 

ความสำคัญของวันครอบครัว


          ครอบครัว คือ  สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้
 
ทำบุญร่วมกัน 
ทำบุญอุทศิส่วนกุศลให้กับบุพการี


ความหมายของสถาบันครอบครัว

 
1. ความหมายทั่วไป
 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า " สถาบัน" และ " ครอบครัว " ไว้ดังนี้          
           สถาบัน หมายถึง สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคมจัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว ฯลฯ
           ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
 
2. ความหมายตามแนวพุทธศาสตร์
 
            ครอบครัวตามแนวพุทธศาสตร์ ไม่มีการกำหนดตายตัว แต่กล่าวถึงลักษณะอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น ในทางพุทธศาสนาจะกล่าวถึงครอบครัวในรูปของสามีภรรยา บิดา มารดา เท่านั้น ซึ่งถือว่า มารดา บิดาก็ดี สามี ภรรยาก็ดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของครอบครัว
 
3. ความหมายในแง่สถาบัน
 
            ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของชายหญิง ในรูปของสามี ภรรยา มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ สมาชิกในครอบครัวมีการแสดงออกทางพฤติกรรมต่อกันและกัน ในรูปของการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทอันเป็นหน้าที่ของสมาชิก
 
ดูแลกันและกัน 
ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัว
 

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน

 


1. ให้ความรัก ความอบอุ่นและความเอื้ออาทรต่อกัน
2. หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
 
3. ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน 
4. ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
5. รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด/ไม่ฟุ่มเฟือย
6. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
7. ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันเช่น การเข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่นครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์
 
วัฒนธรรม 
ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
 
หลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ง่าย ๆ สำหรับครอบครัวคือ ใช้หลัก 5 อ.
 
1. อ. อภัย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดพลาดไปบ้างให้นึกถึงคำว่าอภัยเสมอ และจะไม่นำเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้นมาพูดซ้ำเติมอีก
 
2. อ. เอื้อเฟื้อ สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องของฉันไม่ใช่หน้าที่ของ ฉัน ฉันไม่เกี่ยวเช่น คุณพ่อซักผ้า แม่ถูบ้าน ลูกล้างจาน อย่าคิดว่าเป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง
 
3.  อ. อารมณ์ขัน ฝึกให้มีอารมณ์ขันเสียบ้าง มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างในบางโอกาสอาจเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ เพื่อนและพี่สำหรับลูกก็ได้
 
4.  อ. อดทน อดกลั้น อดออม ชีวิตครอบครัวที่จะต้องมี 3 อ นี้ด้วย อดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ในครอบครัวอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือกิเลสที่มา กระตุ้นเราให้หลุ่มหลง และให้รู้จักอดออมเงินทองที่หามาได้แบ่งไว้ใช้เป็นสัดส่วน ส่วนที่หนึ่ง ใช้จ่ายในครอบครัวส่วนที่สองสำหรับการศึกษาของบุตร สวนที่สามสำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บไข้ ส่วนที่สี่บริจาคทานทำบุญสร้างกุศลไว้เป็นเสบียง เมื่อยามจะจากโลก นี้ไป แล้วอีกส่วนหนึ่ง เก็บออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า
 
5.   อ. อบอุ่น เมื่อเราปฏิบัติได้ 4 อ. ข้างต้นแล้ว อ.ที่ 5 ก็จะตามมาอย่างแน่นอน คือ อบอุ่น เมื่อสมาชิก ทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเองแล้ว ชีวิตครอบครัวก็คงหนีไม่พ้นคำว่า “สุขภาพจิตเริ่มต้นที่บ้าน” ดังคำขวัญที่ว่าไว้อย่างแน่นอน
 
ความสุข 
เข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่น
 
            จากหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำคัญไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะการเสียสละเวลาแก่ครอบครัวเพื่อสร้างความสุขความสัมพันธ์ที่ดีของ สมาชิกในบ้าน เพราะการได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากเท่าใดทุกคนในครอบครัวจะมีโอกาสได้พูด คุยอบรมสั่งสอน รับฟังความคิดเห็น ให้ความช่วยเหลือหรือมีคำแนะนำที่ดีให้แก่กัน สร้างความผูกพัน ความรักใคร่สามัคคีและที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน เมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต วันครอบครัว จึงถือเป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเพราะเป็นวัน ที่รวมความหมายของความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อมอบแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในวันครอบครัวเท่านั้น แต่หมายถึงทุกวันที่มีโอกาสด้วย  
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับวันครอบครัว

 
 


http://goo.gl/aOSfP


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล