ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก usr32632

ค้นพบทั้งสิ้น 3 รายการโดย usr32632 (จำกัดการค้นหาจาก 28-May 23)


#175177 ช่วยตอบทีค่ะ

โพสต์เมื่อ โดย usr32632 บน 20 May 2010 - 01:21 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

พยายามบอกตัวเองว่า เรากำลังใช้วิบากกรรมเก่าอยู่ ช่างมัน เริ่มต้นใหม่ดีกว่า
สมาธิก็ช่วยได้ ถ้าคุณไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิต



#169679 เหตุที่พระพุทธเจ้าเรียก ร่างกายว่า จิต มโน วิญญาณ

โพสต์เมื่อ โดย usr32632 บน 21 February 2010 - 04:43 PM ใน ธรรมกถึก

เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเรียก ร่างกายว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง


มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

.....แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง .....

(.....ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย.....ฯลฯ.....)

ตอบ

ทั้งหมดเป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ตัวต้นคือ สังขาร เป็นปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ, แล้ววิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป และก็ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงภพ ชาติ และก็ชรามรณะ แล้วก็วนกลับมาใหม่ ถ้ายังมีอวิชชาอยู่

1. จะเห็นว่า คำว่าสังขาร ที่สร้างวิญญาณนั้น คือ จิตสังขาร หรือจิตที่คิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเรียก จิตสังขาร ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งต่อเนื่องมาจากสังขาร(จิต) นอกจากนี้ พระพุทธองค์จะเรียก สิ่งที่เป็นนามรูป หรือ ขันธ์ 5 หรือร่ายกายว่า อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ก็ไม่ผิด เพราะเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน

ตัวอย่าง ทุกสรรพสิ่งประกอบด้วยสสาร มีโมเลกุลเป็นสิ่งเล็กสุดที่รับรู้ได้ในยุคหนึ่ง ต่อมาเมื่อพบว่า อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กสุดในสสารหรือโมเลกุล เราจะเรียกสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ได้ เป็น สสาร เป็นโมเลกุล เป็นอะตอม หรือจะแยกแยะออกไปอีกก็ได้ ตามแต่ว่าเราจะสื่ออะไรให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดในสาขาวิชานั้น

สมมุติ เราเรียกโมเลกุลว่าเป็น จิตสังขาร, โมเลกุลในไม้ เราเอามาใช้ทำบ้าน เราจะเรียกบ้านของเราว่า "บ้านไม้" ถ้าเราเอาไม้ไปทำอุปกรณ์ทุกชิ้นในบ้าน เช่น โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้ เราจะเรียกอุปกรณ์เหล่านั้นว่า โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้

หรือเราจะเรียกโมเลกุลของไม้ที่เป็นพื้นฐาน ก็ย่อมได้ จะเรียกเป็นอะตอมก็ได้ แต่คงจะสื่อกันยืดยาวหน่อย เราเลยเรียกเป็นชื่อสิ่งสมมุตินั้นแทน ในกรณีนี้คือ โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้

2. พระพุทธเจ้าบางครั้งก็เรียกสังขาร(จิต) ว่า "โลก" บางครั้งก็เรียกว่า "อุปทาน" บางครั้งก็เรียก "อัตตานุทิฎฐิ" บางครั้งก็เรียก "สังสารวัฏฏ์" ขึ้นอยู่กับจุดประสงฆ์ว่าท่านจะแสดงธรรมระดับไหน

ที่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เทศน์ใน สัมมาทิฏฐิ ๓๔ สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ว่า:

แม้ จิตสังขาร คือสัญญาเวทนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีสัญญามีเวทนา จิตจึงจะคิดนึกตรึกตรอง วิญญาณจึงเกิดขึ้นในเรื่องที่จิตคิดนึกตรึกตรองนั้น ...

องค์สมเด็จพระญาณสังวร จะเรียก จิตว่ากายก็ได้ เพราะตัวกาย(นามรูป)นั้นย่อมต้องมีจิตสังขาร( กายทิพย์, โอปาติกะ, เจตภูต, อทิสมานกาย)อยู่ในกายหรือขันธ์ 5(นามรูป - รูปขันธ์,เวทนาขันธ์,สังขารขันธ์, สัญญาขันธ์, วิญญาณขันธ์) ชีวิตจึงจะมีขึ้นได้



#166309 จิตปภัสสรแตกต่างจากจิคหลุดพ้นอย่างไร?

โพสต์เมื่อ โดย usr32632 บน 10 January 2010 - 01:10 PM ใน ธรรมกถึก

ดับจิต หรือจิตดับ = ดับจิตปภัสสร พอดับจิตปภัสสร (กายทิพย์) ก็จะได้จิตปราศจากปรมาณู = จิตพ้นวิเศษ หรือ จิตพุทธะดวงหนึ่ง (กายธรรม หรือธรรมกาย)