ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก อารยาดุสิต

ค้นพบทั้งสิ้น 34 รายการโดย อารยาดุสิต (จำกัดการค้นหาจาก 26-May 23)



#196843 โครงการดีๆ - งานเสวนาความรู้ - "งานวิชาการทางพุทธศาสตร์กับความยั่งยืนของพ...

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 08 March 2016 - 09:49 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง




#196842 คำชี้แจงจากทีมงาน www.dmc.tv

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 08 March 2016 - 09:49 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ




#196520 ที่ผมบวชต่อทางเเม่อยากให้สึกนี่ผมเป็นลูกอกตัญญูรึเปล่าครับ??

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 09 December 2015 - 12:11 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

อนุโมทนาบุญค่ะ  




#196362 ความรู้น้อยๆจากธรรมชาติ

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 21 October 2015 - 12:04 PM ใน การปฏิบัติธรรม-นั่งสมาธิ

ความคิดเห็นส่วนหนึ่งคิดว่า.......

ความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ เชื่อว่า ไฟเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง หากบูชาไฟ เซ่นสรวงให้เทพเจ้าผู้รักษาทรงพอพระทัย เทพเจ้าจะทรงทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข  บางจำพวกพากันบูชาเทพเจ้าแห่งลม เพื่อไม่ให้ลมพัดแรงจนเกินไปและอาจก่อความพิบัติให้กับมนุษย์ได้ ที่มนุษย์เชื่อว่ามีเทพผู้รักษา เข้าใจว่ามนุษย์เองเมื่อเกิดมาย่อมใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นเบื้องต้น และมีการเฝ้าดูธรรมชาติ เกิดคำถามว่า ทำไมฝนจึงตก  ทำไมลมจึงพัดแรง คงจะต้องมีใครที่มีมหิทธานุภาพในการควบคุมธรรมชาติเหล่านี้   

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในแง่ของมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เมื่ออยู่ร่วมกันหมู่มาก ย่อมเอาความเชื่อมาเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง ถ้าเชื่อในเรื่องธรรมชาติ ก็นำความเชื่อเรื่องธรรมชาติเข้ามาปกครอง เช่นกับชนกลุ่มหนึ่งในภาคใต้ของไทยที่สามารถรักษาต้นน้ำไว้ได้ด้วยความเชื่อที่ว่ามีเจ้าพ่อพญาจระเข้เฝ้ารักษาต้นน้ำ และเจ้าพ่อพญาจระเข้ไม่ชอบให้คนเข้าไปตัดไม้บริเวณที่ท่านอยู่   ไม่มีใครเคยเห็นว่ามีพญาจระเข้อยู่จริงหรือไม่ แต่คนในหมู่บ้านนั้นก็ยังมีความเชื่อ ไม่ล่วงละเมิดเข้าไปในส่วนที่เชื่อว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ต้นน้ำแห่งนั้นยังคงรักษาไว้ได้

ในอินเดียครั้งโบราณกาล ความเชื่อก่อให้เกิดการแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ  ความเหลื่อมล้ำทางสังคมวรรณะของอินเดีย ทำให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ความกดดันของสังคมวรรณะทำให้แสวงหาทางออก มีนักปรัชญาหลายสำนักเกิดขึ้น เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต แสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้น  มีทั้งกลุ่มนักคิด นักปรัชญาที่เชื่อในเทพเจ้าและไม่เชื่อเทพเจ้า  พวกที่ทุกขนิยม เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาแล้วมีแต่ความทุกข์จึงต้องทรมานกาย ฝึกจิต ฝึกตน เพื่อให้เทพเจ้าพอใจ ในสุขนิยมเชื่อว่าเมื่อได้เกิดมาแล้วต้องแสวงหาความสุขให้เต็มที่ ชีวิตเกิดมาครั้งเดียวตายครั้งเดียวจึงดื่ม กิน เสพกามกันอย่างเต็มที่ ไม่เชื่อเรื่องนรก สวรรค์   

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเห็น ทุกขนิยม และสุขนิยม  ได้ทรงแสวงหาคำตอบด้วยพระองค์เอง การแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นด้วยทุกรกิริยา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น  ในด้านสุขนิยมสุดขั้ว พระองค์ท่านได้ประสบมาก่อนที่จะทรงออกบวช

ในความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์  มีหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีพยานยืนยันมากมาก และขอยกตัวอย่างของพระเถระ ที่ได้ถวายประทีปแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอานิสงส์ของบุญส่งผลให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ และได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้มาสร้างบารมีจนพบพระนิพพาน อันเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้น  ดังเช่นพระอนุรุทธเถระ  ดังนี้

ในอนุรุทธเถราปทานที่  ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป “...เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธเชฏฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้  องอาจ ผู้นายกของโลก เสด็จหลีกออกเร้นอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้า ผู้นายกของโลก แล้วได้ประคองอัญชลีทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เชฏฐบุรุษของโลก เป็นนระ     ผู้องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีปแก่   พระองค์ผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระสยัมภูผู้ประเสริฐธีรเจ้านั้น ทรงรับคำ   แล้ว เราจึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ประกอบยนต์ในกาลนั้น ได้ถวายไส้ตะเกียง  น้ำมันพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์ของโลก ประทีปโพลงอยู่ตลอด  วันแล้วดับไปเอง ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เรา ละกายมนุษย์แล้ว ได้เข้าถึงวิมาน เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมาน  อันบุญกุศลนิรมิตไว้เรียบร้อย ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้เป็นผลแห่งการถวาย ประทีป เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ครั้ง เวลานั้น เรามองเห็นได้  ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันกลางคืน เราย่อมไพโรจน์ทั่วโยชน์   หนึ่งโดยรอบ ในกาลนั้นย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งการ    ถวายประทีป เราได้เห็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัลป   ใครๆ ย่อมดูหมิ่นเราได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้บรรลุทิพย จักษุ ย่อมมองเห็นได้ด้วยญาณตลอดพันโลก ในศาสนาของพระพุทธเจ้า นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสุเมธ เสด็จอุบัติในสามหมื่นกัลปแต่กัลปนี้ เรามีจิตผ่องใส ได้ถวายประทีปแก่ พระองค์ คุณวิเศษคือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ และอภิญญา เราทำ  ให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

   ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล

   (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่๓๒ ข้อที่ ๖)

ในสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร กล่าวถึงอดีตชาติของนางเปรตตนหนึ่งซึ่งเคยเกิดเป็นมารดาของพระสารีบุตร   นางเปรตตนนี้เคยมีบุพกรรมที่ต้องตกนรก ดังนี้

    พระสารีบุตรเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

    “...ดูกรนางเปรตผู้ผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใครหรือ มายืนอยู่ในที่นี้?

             นางเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติเหล่าอื่น ดิฉันเข้าถึงเปรตวิสัย เพรียบพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำ แล้ว ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งแล้ว และกินมันเหลว แห่งซากศพที่เขาเผาอยู่ที่เชิงตะกอน กินโลหิตของหญิงทั้งหลายที่คลอด บุตรและโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้นของชายหญิง กินหนองและ   และเลือดแห่งปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย

   นอนบนเตียงของผู้ตาย ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทาน  แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แม่บ้าง ไฉนหนอ แม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด.  ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์ ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฎี ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔ แล้วถวายกุฎีเหล่านั้น ข้าวและน้ำแก่สงฆ์ อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา

    ในทันใดนั้นเอง ข้าว น้ำและผ้า ก็บังเกิดเป็นวิบาก นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี  ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ.

       ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่าดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง  ทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษยได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองและมีรัศมีกายสว่างไสว

  ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร...”

  พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ข้อที่ ๙๙ หน้าที่ ๑๓๖

  ในโลกของปัจจุบัน  มักจะกล่าวกันว่า  “ในทางวิทยาศาสตร์  ต้องมีการพิสูจน์  “   นรก สวรรค์  พิสูจน์ไม่ได้ ขาดหลักการในการพิสูจน์  ทั้งที่จริงๆ เรื่องไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องของทางวิทยาศาสตร์ น่าจะพิสูจน์ได้ จับต้องได้ แต่ทำไมเราจึงไม้ได้เห็นกระแสไฟฟ้า ไหลตามสายไฟเมื่อเราเสียบปลั๊กไฟ  แต่เมื่อไฟฟ้ารั่ว เรากลับโดนไฟดูด

    การที่เกิดมาแล้วมีแต่ทุกข์ เข้าใจว่า น่าจะยังไม่เข้าใจของผลของการกระทำในอดีตมากกว่า ดังเช่นเมื่อเราอยากได้ถั่ว เราขุดดิน พรวนดิน โปรยเมล็ดถั่วลงไป  ย่อมได้ถั่ว แต่ระยะเวลาการรอคอยต้องใช้เวลา การปลูกถั่ว ยังต้องรดน้ำ ใส่ปุ๋ย  เมื่อใบอ่อนชำแรกผลิออกจากเมล็ดถั่ว เกิดมีแมลงมากัดแทะและเล็ม  ผู้ปลูกย่อมเกิดความทุกข์ ความกังวล หาหนทางไล่แมลง หรือหาหนทางกำจัด   เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง  หากลงมือปลูกถั่วแล้วไร้แมลง  ใบอ่อนชำแรกออกมาแล้วแข็งแรงผลิดอก ออกฝัก  เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ผู้ปลูกต้องคอยเก็บผลผลิตที่ล้ำค่ากับการรอคอย

   “ตายแล้วขอไปสวรรค์ ไปเสวยสุขผลบุญที่ทำ”      ก่อนตายนั้น เข้าใจว่า หากมีกุศลจิต ย่อมได้เข้าสู่สุคติสวรรค์แน่นอน เพราะใจ สบาย ไร้ความกังวล ประดุจได้เก็บผลผลิต จากการปลูกถั่ว

   ก่อนที่จะโทษอะไร  คงต้องมองดูที่ตัวเองก่อน  สำรวจตรวจให้ละเอียดก่อนจะดีที่สุด  และอาจจะแก้ไขในสิ่งที่ตนเองบกพร่อง 

    สิ่งที่แสวงหานั้น อยู่ภายในตน 

    กราบอนุโมทนาบุญค่ะ 




#196288 ธุดงค์ธรรมชัย - ที่สุดในโลก

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 13 October 2015 - 02:52 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ




#196287 บทความดีๆ - เสาพระเจ้าอโศกมหาราช

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 12 October 2015 - 09:43 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

    ในสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองอินเดียในสมัยนั้น ไม่ได้ทรงเชียวชาญทางด้านสงครามแต่ด้านเดียว  เมื่อทรงรวบรวบแว่นแคว้นต่างๆได้ มีการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์  มีการสร้างระบบชลประทาน สร้างถนนเชื่อมโยงไปยังแว่นแคว้นต่างๆ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าทำให้ประเทศอินเดียมีความเจริญก้าวหน้า  เมื่อรับพระพุทธศาสนาเข้ามาได้ส่งได้ส่งพระธรรมทูตทั้งเก้าสายออกเผยแผ่  ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า  มากกว่าที่จะเจริญในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนาเท่านั้น หากแต่ขยายออกไปในหลายๆแว่นแคว้นทีเดียว 

    ทรงนำหลักธรรมในมงคลสูตร สิคาโลวาทสูตร ประกาศให้ประชาชนต้องปฏิบัติ  ให้กลายเป็นวัฒนธรรม  โดยทรงบอกว่าเป็นเสมือนได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น  ภิกษุใด ภิกษุณีใดก่อเหตุไม่สุจริต ก่อเหตุทะเลาะวิวาทในวัดให้ลาสิกขาและออกจากวัด  ทรงเริ่มขบวนธรรมยาตรา โดยเสด็จเป็นตัวอย่าง ดังปรากฏในศิลาจารึก”...แต่ก่อนนี้ราษฎรทั้งหลาย จะได้ยินแต่เสียงยุทธเภรี เสียงช้าง เสียงม้า เสียงโล่ดั้ง ศาสตาวุธกระทบกัน ครั้นมาบัดนี้ ราษฎรทั้งหลายจักได้ยินแต่เสียงธรรมเภรีแทน มีแต่เสียงธรรม เสียงเชิญชวนให้ปฏิบัติธรรม...” ทรงประกาศห้ามฆ่าสัตว์  สร้างโรงพยาบาลสำหรับคนและสัตว์ ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ สร้างโรงเลี้ยงคนชรา เด็กอนาถา คนทุพพลภาพ  ขุดบ่อน้ำสาธารณะ   ทรงตั้งเจ้าหน้าที่กวดขันการปฏิบัติธรรมเพื่อตรวจสอบความประพฤติของข้าราชการ เมื่อข้าราชการปฏิบัติธรรมจะมีรางวัลพระราชทานให้เป็นกรณีพิเศษและการทรงพระธรรมทูตไปไกลถึงอัฟกานิสถาน ซีเรียโบราณ อียิปต์ กรีก  ในสายของพระโสณะ และพระอุตตระได้เข้ามาเผยแผ่ทางสุวรรณภูมิ  

(เสถียร โพธินันทะ.2514 .ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค1 .มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา หน้าที่88-90)

   “...ราษฎรทั้งหลายจักได้ยินแต่เสียงธรรมเภรีแทน มีแต่เสียงธรรม เสียงเชิญชวนให้ปฏิบัติธรรม..” ประโยคนี้ ยังคงดังก้องมาจนทุกวันนี้   พระเดชพระคุณพระเทพญานมหามุนี ได้ขยายการปฏิบัติธรรม  ศูนย์ปฏิบัติธรรมได้เปิดสาขาต่างๆในต่างประเทศทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อสันติภาพภายในที่แท้จริง 

กราบอนุโมทนาบุญค่ะ  




#196276 บทความดีๆ - เสาพระเจ้าอโศกมหาราช

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 11 October 2015 - 10:51 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकःอังกฤษAshoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ.312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหด####ม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหด####มเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใคร ไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึกมหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41ปี

ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/

การศึกสงครามไม่อาจนำสันติภาพเข้ามาในแว่นแคว้นได้ เมื่อคราที่พระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง  เป็นการแผ่ขยายพระราชอำนาจโดยไม่มีสงคราม เป็นการนำพุทธจักรมาปกครองร่วมกับอาณาจักร   ในสมัยนั้น มีลัทธิอื่นๆที่ยังปรากฏในอินเดีย ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกลัทธิ แต่ทรงนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแบบแผนในการปกครองและแผ่ขยายระหว่างแว่นแคว

สันติภาพที่แท้จริงเป็นสันติภาพภายในยุติสงครามทั้งภายนอกและภายใน 

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ




#196224 กิจกรรมพิเศษ - ประกวดสวดธัมมจักรกัปปวัตนสูตรหมู่ วันครูวิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 19 September 2015 - 09:34 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุค่ะ




#196223 บุญตักบาตร - ตักบาตรพระพม่า-ไทย ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์...

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 19 September 2015 - 09:31 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

   ผลบุญว่าด้วยการถวายข้าวและน้ำ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

    ในกาลครั้งนั้นพระโมคคลานะเถระ ได้ท่องเที่ยวไปในสวรรค์ ท่านได้พบกับเทพบุตรท่านหนึ่ง ที่มีวิมานสว่างไสวดังนี้

จิตตลดาวิมาน ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในจิตตลดาวิมาน

          พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า สวนจิตลดา เป็นสวนประเสริฐสูงสุดของชาวไตรทศ ย่อมสว่างไสวฉันใด วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ย่อมสว่างไสว ลอยอยู่ในอากาศ

ท่านถึงความเป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร?

       เทพบุตรนั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจจึงพยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ เป็นคนขัดสน ไม่มีที่พึ่ง เป็นคนกำพร้า เป็นกรรมกร เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง ท่านผู้มีศีลเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอันไพบูลย์ โดยความเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญนั้น.

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖หน้าที่๑๐๓ ข้อที่๗๕

    อานิสงส์ในการถวายข้าวและน้ำมีปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หลายเรื่อง ขอยกตัวอย่างมาเพียงหนึ่งเรื่อง เพื่อให้เห็นอานิสงส์ ที่เป็นด้านพุทธอภิปรัชญา เมื่อครั้งเทพบุตรยังมีสภาพเป็นมนุษย์ เชื่อมั่นในอานิสงส์ของการถวายข้าวและน้ำให้กับพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ทั้งยังมีชีวิตที่ค่อนข้างขัดสน  แต่มีความศรัทธา เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เมื่อหมดอายุขัยในการเป็นมนุษย์ได้มาบังเกิดเป็นเทพบุตรที่มีวิมานที่สว่างไสว มีฤทธิ์ และมี อานุภาพมาก

   การตักบาตรครั้งนี้เป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่   มีการจัดเตรียมงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ  มองให้เห็นถึงความรักในพระพุทธศาสนาอย่างล้นเหลือ ความปลาบปลื้ม และภาคภูมิใจในการได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ

   กราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ




#196222 บุญพิเศษ - สถาปนาเจดีย์ 5 องค์ เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 19 September 2015 - 09:01 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

    อานิสงส์ของการสร้างเจดีย์ ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ในบุพกรรมของพระมหากัสปปเถระดังนี้

    มหากัสสปเถราปทาน

     ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์ ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระเชฏฐบุรุษของโลก ผู้คงที ผู้เป็นนาถะของโลก นิพพานแล้ว

    ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา หมู่ชน มีจิตร่าเริง เบิกบาน บันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิดความสังเวช ปีติย่อมเกิด แก่เรา เราประชุมญาติและมิตรแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า พระมหาวีรเจ้า ปรินิพพานแล้ว เชิญเรามาทำการบูชากันเถิด พวกเขารับคำว่าสาธุแล้ว   ทำความร่าเริงให้เกิดแก่เราอย่างยิ่งว่า พวกเราจักทำทานก่อสร้างบุญ ใน   พระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก

    เราได้สร้างเจดีย์อันมีค่าทำอย่างเรียบร้อย   สูงร้อยศอก สร้างปราสาทร้อยห้าสิบศอก สูงจรดท้องฟ้า ครั้นสร้างเจดีย์   อันมีค่างดงามด้วยระเบียบอันดีไว้ที่นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส   บูชาเจดีย์อันอุดม ปราสาทย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลงอยู่ในอากาศ เช่น  พระยารังกำลังดอกบาน ย่อมสว่างจ้าทั่วสี่ทิศเหมือนสายฟ้าในอากาศ เรายังจิตให้เลื่อมใสในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศลเป็นอันมาก ระลึก  ถึงกรรมเก่าแล้ว ได้เข้าถึงไตรทศ เราอยู่บนยานทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว

   วิมานของเราสูงตระหง่าน สูงสุดเจ็ดชั้น กูฏาคาร (ปราสาท)พันหนึ่ง สำเร็จด้วยทองคำล้วน ย่อมรุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว  ด้วยเดชของตน

    ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี  มีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้นก็โชติช่วงด้วยรัศมีทั่วสี่ทิศโดยรอบกูฏาคาร อันบังเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม อันบุญกรรมนิรมิตไว้เรียบร้อย สำเร็จด้วย  แก้วมณีโชติช่วงทั่วทิศน้อยทิศใหญ่โดยรอบ โอภาสแห่งกูฏาคารอันโชติช่วง อยู่เหล่านั้น เป็นสิ่งไพบูลย์ เราย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

    เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร   สาครสี่เป็นขอบเขต ในหกหมื่นกัลป์ ในภัทรกัลป์นี้ เราได้เป็นเหมือน อย่างนั้น ๓๓ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีในกรรมของตน  สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ในครั้งนั้น ปราสาทของเราสว่างไสวดังสายฟ้า ด้านยาว ๒๔ โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์  พระนครชื่อรัมมกะ มีกำแพงและค่ายมั่นคงด้านยาว ๕๐๐ โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือนเทพนครของชาวไตรทศ เข็ม ๒๕ เล่ม เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิจ ฉันใด

  แม้นครของเราก็ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้างม้าและรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์ น่ารื่นรมย์ เป็นนครอุดม เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็น เทวดาอีกในภพที่สุด กุศลสมบัติได้มีแล้วแก่เรา เราสมภพในสกุลพราหมณ์  สั่งสมรัตนะมาก ละเงินประมาณ ๘๐ โกฏิ เสียแล้วออกบวช คุณวิเศษ   เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ และอภิญญา เราทำให้แจ้งแล้ว  พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

     ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้แล.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ข้อที่๕ หน้าที่๓๐

พระมหากัสปปะเถระท่านมีความปิติในการสร้างพุทธเจดีย์เพื่อรำลึกถึงพระรัตนตรัย ท่านได้รับอานิสงส์แห่งบุญนั้นมากมาย 

    ขออนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญทุกท่านค่ะ    




#196221 บทสวดธรรมจักร ที่หัวหน้าชั้นพูดในโรงเรียนวันนี้ 11 กันยายน

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 19 September 2015 - 03:59 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ




#196200 พระเจ้าปเสนทิโกศล กับพระเจ้าพิมพิสาร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 15 September 2015 - 07:45 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ




#196069 บุญพิเศษ - สร้างเจดีย์สวรรค์ หมู่บ้านแม่ระอานอก

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 04 August 2015 - 12:50 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

เมื่อไปเปิดพระไตรปิฎกในเรื่องการก่อเจดีย์ทราย และการบูชาพระเจดีย์ทราย   ดังนี้

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ข้อที่๗๖ ๗๗ หน้าที่๗๔

ท่านปุฬินนุปปาทกเถระ ผู้ก่อพระเจดีย์ทรายด้วยความเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงพระพุทธคุณอันประเสริฐ   พระพุทธลักษณะที่เป็นลักษณะมหาปุริสลักษณะ๓๒ ประการ ให้กับศิษย์๘๔,๐๐๐ คน  ดังนี้

.....ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่

ว่าด้วยผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย

 เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อันอมนุษย์ เนรมิตให้ ภูเขานั้น ครั้งนั้นเรามุ่นมวยผมสะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไป ครั้งนั้น ศิษย์ ,๔๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ในป่าใหญ่

เราออกจากอาศรมก่อพระเจดีย์ทรายแล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นแล้ว เข้าไปสู่อาศรม พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วขอจงบอกแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดมียศใหญ่เหล่านั้น.ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่เหล่านั้นเป็นดังฤา.

เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและเหมือนผลมะกล่ำ อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการถือตัว และดูหมิ่น ท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น

ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใครเทียมเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใครๆไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ

.ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตนเชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ทราย ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะ คำรณดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.

เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ที่ใกล้พระสถูปคือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็นศาสดา พระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.

เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนีส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังหนอเจ็บหนัก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวนกันมาคร่ำครวญเมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลายท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและกลางวันท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทรายในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใดเราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัยฉันนั้นเหมือนกัน ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำเอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้..

จากการสร้างเจดีย์ของคนในหมู่บ้าน แสดงถึงศรัทธา ความรักในพระพุทธศาสนา  ในด้านมานุษยวิทยาวัฒนธรรม มีการเชื่อมโยงพุทธวัฒนธรรม จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน มีการเล่าจากรุ่นสู่รุ่น  ถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ความสงบร่มเย็นเป็นสุขของพระพุทธศาสนา และ ความสุขภายในของผู้ที่นับถือ   และพระพุทธศาสนาเป็นบรรทัดฐานของสังคมหมู่บ้าน  ก่อให้เกิดประเพณี และพิธีกรรม ที่ทำให้เกิดความรักความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างบุคคลในหมู่บ้าน ระหว่างบุคลในครอบครัว  และรวมทั้งวัด ซึ่งแต่เดิมป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน

 

กราบอนุโมทนาบุญกับทุกๆท่าน ค่ะ      




#196068 เกี่ยวกับวิชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 03 August 2015 - 11:10 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุ




#196067 ผลของการใช้น้ำมันพรายและยาเสน่ห์

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 03 August 2015 - 11:09 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ทุกๆคำตอบ  อนุโมทนาบุญค่ะ




#195964 โครงการดีๆ - DOU มหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา ระบบทางไกล Dhammakaya Open Universi...

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 20 July 2015 - 11:02 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาาาาธุ




#195963 บุญพิเศษ - หนึ่งบาทปลื้มหนึ่งพันล้าน - สร้างระบบน้ำบุญบันดาล(น้ำบาดาล) วัดบ้า...

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 20 July 2015 - 11:02 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุคะ




#195786 บุญพิเศษ - บุญ “ดอกบัวอุบล อนันต์นิรันดร์กาล ณ เจดีย์สรรค์ วัดบ้านขุน” ซึ่งมี...

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 20 June 2015 - 09:01 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

    การถวายดอกบัวมีปรากฎในพระไตรปิฎกดังนี้ 

    อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมดอกเดียว

     [๓๔๒] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อยู่ในพระนครหงสวดี เราลงสู่สระปทุมเลือกเก็บดอกบัวอยู่ พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงเป็นอุดมบุรุษ ทรงแสวงหาความเจริญแก่เรา จึงเสด็จมาพร้อมด้วยพระขีณาสพตั้งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ บริสุทธิ์ได้อภิญญา เพ่งฌานเราได้เห็นพระสยัมภูผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนายกของโลก จึงเด็ด ดอกบัวที่ก้านแล้วโยนขึ้นไป [บูชา] ในอากาศในขณะนั้น [ด้วยเปล่งวาจา   ว่า] ข้าแต่พระธีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก   ประเสริฐกว่านระ ขอดอกบัวจงไปตั้งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้าเองเถิด พระมหาวีรเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ

    ทรงอธิษฐาน  กุศลกรรมที่เราทำมาแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เราละกายมนุษย์แล้วได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์ ในชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานของเราบุญกรรมสร้างให้ อย่างสวยงาม เรียกชื่อว่า สัตตปัตตะ สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์ เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติ ในเทวโลกพันครั้ง ได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับ มิได้

     เราเสวยกรรมของตนที่ตนทำไว้ดีแล้วในปางก่อน ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนั้นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ได้กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า โคดมให้แจ้งชัดแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพ ขึ้นได้หมดแล้ว เราตัดกิเลสเครื่องผูกขาดเหมือนช้าง ตัดเชือกได้แล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัลปที่แสน  แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒

พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่๑ข้อที่๓๔๒  หน้าที่๓๒๗

พระเดชพระคุณหลวงพ่อ เมตตาให้พวกเราได้บุญจากการได้ถวายดอกบัว นับเป็นสิ่งที่ควรปลื้มในการสร้างสมบารมี   ไปจนกว่าจะได้เดินทางไปสู่ที่สุดแห่งธรรม

จากบุพกรรมพระเถระ ท่านได้รับอานิสงส์จากการถวายดอกบัวเพียงหนึ่งดอก ท่านได้เสวยผลบุญมากมายหลายกัลป์  แต่ท้ายที่สุด สิ่งที่ท่านปรารถนาคือพระนิพพาน...

กราบอนุโมทนาบุญกับนักสร้างบารมีทุกท่านค่ะ




#195694 บุญพิเศษ - ทอดผ้าป่าสร้างหอฉันพระนิสิตสถาบันธรรมชัย

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 09 June 2015 - 07:40 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ร่วมเป็นเจ้าภาพหอฉัน สถาันธรรมชัยด้วยกันนะคะ   อนุโมทนาบุญค่ะ




#195563 มีลมหมุนกลางหน้าฝาก

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 25 May 2015 - 08:13 PM ใน การปฏิบัติธรรม-นั่งสมาธิ

สาธุ




#195542 บูชามหาธรรมกายเจดีย์

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 17 May 2015 - 09:47 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

     ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงการบูชาเจดีย์ ดังนี้

     พระมหากัสสปะเถระ ได้กล่าวถึงบุพกรรมของท่าน

      มหากัสสปเถราปทานที่ ()ว่าด้วยผลแห่งการสร้างพุทธเจดีย์

      ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระเชฏฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นนาถะของโลก นิพพานแล้ว ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา หมู่ชนมีจิตร่าเริง เบิกบาน บันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิดความสังเวช ปีติย่อมเกิดแก่เรา เราประชุมญาติและมิตรแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญเรามาทำการบูชากันเถิด พวกเขารับคำว่าสาธุ    แล้วทำความร่าเริงให้เกิดแก่เราอย่างยิ่งว่า พวกเราจักทำทานก่อสร้างบุญ ในพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก

     เราได้สร้างเจดีย์อันมีค่าทำอย่างเรียบร้อยสูงร้อยศอก สร้างปราสาทร้อยห้าสิบศอก สูงจรดท้องฟ้า ครั้นสร้างเจดีย์อันมีค่างดงามด้วยระเบียบอันดีไว้ที่นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาเจดีย์อันอุดม ปราสาทย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลงอยู่ในอากาศ เช่นพระยารังกำลังดอกบาน ย่อมสว่างจ้าทั่วสี่ทิศเหมือนสายฟ้าในอากาศ

     เรายังจิตให้เลื่อมใสในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศลเป็นอันมาก ระลึก ถึงกรรมเก่าแล้ว ได้เข้าถึงไตรทศ เราอยู่บนยานทิพย์อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมานของเราสูงตระหง่าน สูงสุดเจ็ดชั้น กูฏาคาร (ปราสาท)พันหนึ่ง สำเร็จด้วยทองคำล้วน ย่อมรุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ด้วยเดชของตน ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี มีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้นก็โชติช่วงด้วยรัศมีทั่วสี่ทิศโดยรอบกูฏาคาร   อันบังเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม อันบุญกรรมนิรมิตไว้เรียบร้อย สำเร็จด้วยแก้วมณีโชติช่วงทั่วทิศน้อยทิศใหญ่โดยรอบ โอภาสแห่งกูฏาคารอันโชติช่วง อยู่เหล่านั้น เป็นสิ่งไพบูลย์ เราย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผล แห่งบุญกรรม เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร สาครสี่เป็นขอบเขต ในหกหมื่นกัลป์

     ในภัทรกัลป์นี้ เราได้เป็นเหมือนอย่างนั้น ๓๓ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีในกรรมของตน สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ในครั้งนั้น ปราสาท ของเราสว่างไสวดังสายฟ้า ด้านยาว ๒๔ โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์ พระนครชื่อรัมมกะ มีกำแพงและค่ายมั่นคงด้านยาว ๕๐๐ โยชน์ ด้านกว้าง๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือนเทพนครของชาวไตรทศ เข็ม ๒๕ เล่มเขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิจ ฉันใดแม้นครของเราก็ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้างม้าและรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์น่ารื่นรมย์ เป็นนครอุดม เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็น เทวดาอีกในภพที่สุด

     กุศลสมบัติได้มีแล้วแก่เรา เราสมภพในสกุลพราหมณ์สั่งสมรัตนะมาก ละเงินประมาณ ๘๐ โกฏิ เสียแล้วออกบวช คุณวิเศษ เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ และอภิญญา เราทำให้แจ้งแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ข้อที่๕ หน้าที่ ๓๐ ๓๑

   พระปุฬินุปปาทกเถระ กล่าวถึงบุพกรรมของท่านดังนี้

  ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ ว่าด้วยผลแห่งการก่อเจดีย์ทราย

   เราเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ ที่จงกรมของเราเป็นที่อันอมนุษย์ เนรมิตให้ ภูเขานั้น ครั้งนั้นเรามุ่นมวยผม สะพายคนโทน้ำ เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไป

     ครั้งนั้น ศิษย์ ,๔๐๐๐ คน อุปัฏฐากเรา เขาทั้งหลายขวนขวายเฉพาะกรรมของตนอยู่ในป่าใหญ่

    เราออกจากอาศรมก่อพระเจดีย์ทรายแล้วรวบรวมเอาดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์นั้นแล้ว เข้าไปสู่อาศรม

    พวกศิษย์ได้มาประชุมพร้อมกันทุกคนแล้ว ถามถึงความข้อนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ สถูปที่ท่านนมัสการก่อด้วยทราย แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้ ท่านอันข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วขอจงบอกแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.

    เราตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ มียศใหญ่ ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนต์ของเรามิใช่หรือ เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดมียศใหญ่เหล่านั้น.

    ศิษย์เหล่านั้นได้ถามอีกว่า พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่รู้ไญยธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำโลกเหล่านั้น เป็นเช่นไร มีคุณเป็นอย่างไร มีศีลเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่เหล่านั้นเป็นดังฤา.

    เราได้ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระมหาปุริสลักษณะ๓๒ ประการ มีพระทนต์ครบ ๔๐ ทัศ มีดวงพระเนตรดังตาแห่งโคและเหมือนผลมะกล่ำ

    อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเมื่อเสด็จดำเนินไป ก็ย่อมทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใครๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ

     อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย เมื่อเสด็จดำเนินไป ย่อมไม่รีบร้อนเสด็จดำเนินไป ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

     และพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวาดกลัว เปรียบเหมือนไกรสรมฤคราช ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่ทรงยกพระองค์และไม่ทรงข่มขี่สัตว์ทั้งหลาย ทรงหลุดพ้นจากการถือตัว และดูหมิ่นท่านเป็นผู้มีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง

     พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์ นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และพระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้นพระองค์

    ทรงแสดงแสงสว่าง ทรงประกาศวิการ ๖ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น

    ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆยังฝนให้ตก นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มหานาคเหล่านั้น เป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าผู้มียศใหญ่เหล่านั้น ไม่มีใครเทียมเท่า พระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ใครๆไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ.ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของเรา ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามสติกำลัง พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตนเชื่อฟังถ้อยคำของเรา มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า พากันบูชาพระเจดีย์ทราย

    ในกาลนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากชั้นดุสิต บังเกิดในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เรายืนอยู่ในที่จงกรมไม่ไกลอาศรม ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของเรา ถามว่า แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะ คำรณดุจมฤคราช ร้องดุจจระเข้ จักมีผลเป็นอย่างไร.เราตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดที่เราประกาศ ที่ใกล้พระสถูปคือกองทราย บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีโชค เป็นศาสดา พระองค์นั้น เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว.

    เราแสดงธรรมกถาแก่พวกศิษย์เหล่านั้นแล้ว กล่าวสดุดีพระมหามุนี   ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ ก็เราเป็นผู้สิ้นกำลังหนอเจ็บหนัก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้นเอง ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนพร้อมกันทำเชิงตะกอนแล้ว ยกซากศพของเราขึ้นเชิงตะกอน พวกเขาล้อมเชิงตะกอน ประนมอัญชลีเหนือเศียร อันลูกศรคือ ความโศกครอบงำ ชวนกันมาคร่ำครวญเมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่ เราได้ไปใกล้เชิงตะกอน สั่งสอนพวกเขาว่า เราคืออาจารย์ของท่าน แน่ะท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลายท่านทั้งหลายอย่าได้เศร้าโศกเลย ท่านทั้งหลายควรเป็นผู้ไม่

เกียจคร้าน พยายามในประโยชน์ของตน ทั้งกลางคืนและกลางวันานทั้งหลายอย่าได้ประมาท ควรทำขณะเวลาให้ถึงเฉพาะ เราพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก เราได้อยู่ในเทวโลกถึง๑๘ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง และได้เสวยราชสมบัติในเทวโลกเกินร้อยครั้ง ในกัปที่เหลือ เราได้ท่องเที่ยวไปอย่างสับสน แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการก่อเจดีย์ทรายในเดือนที่ดอกโกมุทบาน ต้นไม้เป็นอันมากต่างก็ออกดอกบานฉันใดเราก็เป็นผู้อันพระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้บานแล้วในสมัยฉันนั้นเหมือนกัน

     ความเพียรของเรานำธุระน้อยใหญ่ไป นำเอาธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมา เราตัดกิเลสเครื่องผูก ดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าใด ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ข้อที่๗๗หน้าที่๗๔-๗๗

   นี่เป็นผลของการบูชาพระเจดีย์  ที่ทำให้ได้มาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในกรณีของพระปุฬินุปปาทกเถระ  ท่านนำทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์เพื่อเป็นเครื่องสักการะให้ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผลของการบูชาพระเจดีย์  แม้ได้เกิดมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ได้ครอบครองรัตนะทั้งเจ็ดประการ  แต่สิ่งสำคัญในประโยชน์สุด คือการได้เข้าถึงธรรมะภายใน อันเป็นรัตนะอันสูงสุด และงดงามที่สุด เป็นเหตุให้พระมหาเถระทั้งสองรูป ละจากรัตนะภายนอกเข้ามาสู่รัตนะภายใน อันเป็นรัตนะอันประเสริฐยิ่งกว่ารัตนะใดๆ




#195515 หินมีพลังจริงหรือไม่

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 10 May 2015 - 11:29 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

   มนุษย์มีความเชื่อที่แตกต่างกันไป  ในยุคก่อนที่มีการเกิดของศาสนา  มนุษย์มีความเชื่อในสิ่งที่คิดว่าเป็นเทพเจ้า บูชาเทพอัคนี  เทพแห่งลม เทพแห่งน้ำ เทพแห่งดิน มีความเชื่อมั่นว่าเมื่อบูชาแล้วจะมีชีวิตที่ปลอดภัย มีความสุข มีความอุดมสมบูรณ์ 

   ในกรณี ความเชื่อเรื่องหินสีต่างๆ  มีมาในหลายๆยุค  นำมาเป็นเครื่องราง  เครื่องประดับ  ยารักษาโรค   บางชนชาติได้นำหินมาประกอบในพิธีกรรมต่างๆ    ดังเช่น  ชาวอียิปต์โบราณ ชาวอินเดียโบราณ  อินเดียนแดงเผ่าต่างๆ

   หินสีบางชนิดมีชื่อเรียกกันต่างๆนานา   แต่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง รัตนะ ที่สามารถนำมาเป็นพุทธบูชาดังนี้ 

      รัตนะที่อยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

     พุทธาปทานที่ 1ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

       พระอานนท์เวเทหมุนี มีอินทรีย์สำรวมแล้วได้ทูลถามพระตถาคตผู้ประทับ  อยู่ พระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีจริงหรือ  เพราะเหตุไรจึงได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์?

     ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า ชนเหล่าใดสร้างสมกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ยังไม่ได้โมกขธรรมใน ศาสนาของพระชินเจ้า ชนเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์โดยมุข คือ การตรัสรู้นั้นแล แม้มีอัธยาศัย มีกำลังมาก มีปัญญาแก่กล้า ย่อมได้บรรลุ  ความเป็นพระสัพพัญญูด้วยเหตุแห่งปัญญา แม้เราเป็นธรรมราชาผู้สมบูรณ์ ด้วยบารมี 30 ทัศ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ นับไม่ถ้วน นมัสการพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยสงฆ์ด้วย นิ้วทั้ง 10 แล้วกราบไหว้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ทั้งหลายด้วยเศียรเกล้า รัตนะทั้งที่มีในอากาศและอยู่ที่พื้นดิน ในพุทธ เขต มีประมาณเท่าใด เราจักนำรัตนะทั้งหมดนั้นมาด้วยใจ

     ณ พื้นที่เป็น รูปิยะนั้น เราได้นิรมิตปราสาทหลายชั้น อันสำเร็จด้วยรัตนะ สูงตระหง่านจรดฟ้า มีเสาอันวิจิตร ได้สัดส่วน จัดไว้ดี ควรค่ามาก มีคันทวยทำด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร พื้นชั้นแรกเป็น แก้วไพฑูรย์ งามปราศจากมลทิน ไม่มีฝ้า เกลื่อนกลาดด้วยดอกบัวหลวง มีพื้นทองคำอย่างดี พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬ เป็นกิ่งน่ารื่นเริง บาง  ชั้นแดงงาม บางชั้นเปล่งรัศมี ดังสีแมลงค่อมทอง บางชั้นสว่างทั่วทิศในปราสาทนั้น มีศาลาสี่หน้ามุข มีประตูหน้าต่างจัดไว้เรียบร้อย มีชุกชีและหลุมตาข่ายสี่แห่ง มีพวงมาลัยหอมน่ารื่นรมย์ใจห้อยอยู่ ยอด ปราสาทนั้นประดับด้วยแก้ว 7ประการ มีสีเขียว เหลือง แดง  ดำล้วน ประกอบด้วยยอดเรือนชั้นเยี่ยม มีสระประทุมชูดอกบานสะพรั่ง  งามด้วยฝูงเนื้อและนก บางชั้นดาดาษด้วยดาวนักษัตร ประดับด้วยรูปดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ปกคลุมด้วยพวงดอกไม้ทอง ดาดาษด้วยตาข่าย   ทองน่ารื่นรมย์ ห้อยย้อยด้วยกระดิ่งทอง เปล่งเสียงด้วยกำลังลม ปราสาทนั้นวิจิตรด้วยธงสีต่างๆ คือ ธงสีชมพู สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีทอง ปักไว้เป็นระเบียบ แผ่นกระดานต่างๆ มากหลายร้อย ทำ ด้วยเงิน ทำด้วยแก้วมณี ทับทิม ทำด้วยแก้วมรกต…”


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ 32พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 24 ขุททกนิกาย อปทาน ภาคหน้าที่ข้อที่1

 

 




#195449 โทษแห่งปาณาติบาต

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 28 April 2015 - 02:13 PM ใน ธรรมกถึก

                           ในสมัยพุทธกาลมีการบูชายัญด้วยชีวิตสัตว์                             

                             กูฏทันตสูตร(พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ข้อที่ ๑๙๙หน้าที่๑๔๕)

                   [๑๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวมคธชื่อขานุมัตต์ ได้ยินว่า สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตต์. สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะอยู่ครองบ้านขานุมัตต์ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติ อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่าพิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย.

                                 มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์

          [๒๐๐] ก็สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ ได้เตรียมมหายัญโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ และแกะ ๗๐๐ ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ.

เป็นบุญของกูฎทันตพราหมณ์ ที่ไม่ต้องทำบาปมหันต์  สัตว์ทั้งปวงไม่ต้องถูกประหารด้วยความเชื่อที่ผิดๆ  เพราะพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะถึงยัญที่ลงทุนน้อยแต่ได้บุญมาก เช่นการนับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ   การทำทาน เจริญภาวนา  รักษาศีล    ทรงตอบคำถามที่ว่าด้วยการบูชามหายัญให้แก่กูฎทันตพราหมณ์  ท้ายที่สุดพราหมณ์ยอมรับพระรัตนตรัยเป็นสรณะ  สัตว์ทั้งปวงก็พ้นจากการสังหารหมู่ในครานั้น

“..ครั้งนั้น พอถึงเวลารุ่งเช้า พราหมณ์กูฏทันตะได้สั่งให้ตบแต่งขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีตในสถานที่บูชายัญของตนแล้ว ใช้คนไปกราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว. ลำดับนั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปสู่สถานที่บูชายัญของพราหมณ์กูฏทันตะแล้ว ประทับนั่ง อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้. ต่อนั้น พราหมณ์กูฏทันตะได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยมือของตนเอง ด้วยขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีต เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรงลดพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว จึงได้ถือเอาอาสนะที่ต่ำแห่งหนึ่งนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาค ทรงยังพราหมณ์กูฏทันตะผู้นั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งนั้นแล ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย

ธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป...”




#195381 บุญตักบาตร - พระ 30 รูป 12 เม.ย. หน้าห้างบิ๊กซีสมุย

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 17 April 2015 - 02:41 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

อนุโมทนาบุญค่ะ




#195326 นิทานสอนใจ "เรื่องคนที่ไม่ถูกนินทา"

โพสต์เมื่อ โดย อารยาดุสิต บน 06 April 2015 - 10:39 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ไปอ่านเจอค่ะ

      “… ผู้ใด ย่อมสรรเสริญผู้ที่ควรนินทา หรือย่อมนินทาผู้ที่ควร

      สรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมค้นหาโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้

      ประสบสุขเพราะโทษนั้น ความพ่ายแพ้การพนันด้วยทรัพย์

      ทั้งหมด พร้อมด้วยตน มีโทษน้อย การที่ยังใจให้

      ประทุษร้ายในท่านผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้แหละ เป็นโทษใหญ่

      กว่า (โทษการพนัน) ผู้ที่ตั้งวาจา และใจอันเป็นบาปไว้

      ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นแสนสามสิบหกนิรัพ

      พุททะ และห้าอัพพุททะ …”

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ข้อที่3 หน้าที่3