อยากรู้ว่าพระยูไลที่มีในหนังจีนมีจริงรึเปล่าครับเป็นพระพุทธเจ้าในยุคไหนครับคนจีนมักจะนับถือมากกว่าพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

พระยูไล
เริ่มโดย kalyanamit, May 11 2008 09:29 PM
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 11 May 2008 - 09:29 PM
#2
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:58 AM
ถ้าดูตามนั้นสันนิษฐานว่าก็คือพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเท่านั้นเอง
#3
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 09:22 AM
พระยูไล มาจากภาษาจีนว่า "หรูหลาย 如來" ซึ่งจีนแปลมาจากภาษาสันสกฤตคำว่า Tathāgata
"หรูหลาย 如來" แปลว่า "ตถาคต" หรือ "พระตถาคต"
คำนี้ใช้เรียกแทน พระนามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งไม่เจาะจงว่าเป็นองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ
คำว่า "ตถาคต" มีความหมายลึกซึ้งที่มุ่งหมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนธรรมกาย ไม่ใช่รูปกายภายนอก
เวลาพระพุทธองค์ตรัสเรียกพระองค์เอง จะใช้คำว่า "ตถาคต"
http://www.dhammakay...tures_th_13.php
"หรูหลาย 如來" แปลว่า "ตถาคต" หรือ "พระตถาคต"
คำนี้ใช้เรียกแทน พระนามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งไม่เจาะจงว่าเป็นองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ
คำว่า "ตถาคต" มีความหมายลึกซึ้งที่มุ่งหมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนธรรมกาย ไม่ใช่รูปกายภายนอก
เวลาพระพุทธองค์ตรัสเรียกพระองค์เอง จะใช้คำว่า "ตถาคต"
http://www.dhammakay...tures_th_13.php
....อนุบาลฝันในฝันวิทยา แหล่งความรู้ที่ล้ำหน้ากว่าฮาร์วาร์ด....
#4
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 09:33 AM
เห็นในไซอิ๋วก็มี
#5
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 10:22 AM
ผมว่าเป็นการเอามาผสมปนเปกันไปมาระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าหรือตำนานนั่นแหละครับ เพื่อต้องการให้เรื่องนั้นๆดูยิ่งใหญ่และเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่นับถือต่างๆกันทุกกลุ่ม
ประมาณว่า เธอเชื่ออย่างนั้น แต่ฉันต้องการให้เธอมาเชื่ออย่างฉันด้วย ฉันก็หาเหตุเอาความเชื่อของเธอมารวมกับความเชื่อของฉัน ให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน ค่อยๆปรับค่อยๆเปลี่ยน ไปๆมาๆ เดี๋ยวก็จับต้นชนปลายไม่ถูกแล้ว ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย เชื่อๆกันไป เหมือนเห้งเจีย เหมือนเจ้าแม่กวนอิม อะไรทำนองนี้แหละ
ค่อยๆพิจารณากันไปนะครับ เรามีพระไตรปิฎกเป็นหลักเป็นฐานอยู่(เป็นหลักให้เกาะ เป็นฐานให้ยืน ไม่ให้โอนเอน ล้มลง จะได้ยืนมองเรื่องราวต่างๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
ประมาณว่า เธอเชื่ออย่างนั้น แต่ฉันต้องการให้เธอมาเชื่ออย่างฉันด้วย ฉันก็หาเหตุเอาความเชื่อของเธอมารวมกับความเชื่อของฉัน ให้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน ค่อยๆปรับค่อยๆเปลี่ยน ไปๆมาๆ เดี๋ยวก็จับต้นชนปลายไม่ถูกแล้ว ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย เชื่อๆกันไป เหมือนเห้งเจีย เหมือนเจ้าแม่กวนอิม อะไรทำนองนี้แหละ
ค่อยๆพิจารณากันไปนะครับ เรามีพระไตรปิฎกเป็นหลักเป็นฐานอยู่(เป็นหลักให้เกาะ เป็นฐานให้ยืน ไม่ให้โอนเอน ล้มลง จะได้ยืนมองเรื่องราวต่างๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ .....
ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน .....
ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ .....
อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 12:16 PM
QUOTE
อยากรู้ว่าพระยูไลที่มีในหนังจีนมีจริงรึเปล่าครับ
ถ้าคำว่ายูไล คนจีนใช้เป็นนามเรียกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วล่ะก็ มีจริงครับ ซึ่งก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่จำกัดว่าพระองค์ไหน
หากคำว่ายูไล คนจีนหมายถึง พระโพธิสัตว์ ก็มีจริงอีกเช่นกัน เพราะพระโพธิสัตว์คือผู้ที่มีจิตมุ่งหวังเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้าครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#7
โพสต์เมื่อ 13 May 2008 - 07:24 AM
ผมมีความเห็นต่างกันครับ
แม้ความหมายของ ยูไล จะแปลว่า ตถาคต แต่ผม ผมกลับมีความเห็นต่างกันครับ ว่า ชาวจีนไม่น่าจะนับถือพระยูไล เป็นตัวแทนของการนับถือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ชาวจีนเขาจะนับถือพุทธศาสนา แบบนับถือเทพเจ้าน่ะครับ พุทธศาสนามหายานจะว่าไปก็คล้ายๆ เป็นศาสนาประเภท เทวนิยม เพราะพุทธศาสนามหายานก่อนเข้ามาในจีน ก็ได้รับอิทธิพลเทวนิยมของศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่อินเดียมาก่อนแล้ว และเมื่อเข้ามาในจีนก็ยังได้อิทธิพลของการไหว้เทพเจ้าซึ่งเป็นอิทธิพลของจีนเองอีกด้วย
ดังนั้นในจีนจึงเกิดมีธรรมบาล พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้ามากมายให้คนจีนเซ่นไหว้
ชื่อพระยูไล ถ้าตามคำแปล ก็แปลว่าตถาคต แต่ชาวจีนไม่ได้นับถือเหมือนนับถือพระพุทธเจ้าทั่วไป แต่นับถือเหมือนกับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับนับถือ พระศรีอารย์ พระอมิตตภะ พระศากยมุนีฯลฯ ครับ
แม้ความหมายของ ยูไล จะแปลว่า ตถาคต แต่ผม ผมกลับมีความเห็นต่างกันครับ ว่า ชาวจีนไม่น่าจะนับถือพระยูไล เป็นตัวแทนของการนับถือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ชาวจีนเขาจะนับถือพุทธศาสนา แบบนับถือเทพเจ้าน่ะครับ พุทธศาสนามหายานจะว่าไปก็คล้ายๆ เป็นศาสนาประเภท เทวนิยม เพราะพุทธศาสนามหายานก่อนเข้ามาในจีน ก็ได้รับอิทธิพลเทวนิยมของศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่อินเดียมาก่อนแล้ว และเมื่อเข้ามาในจีนก็ยังได้อิทธิพลของการไหว้เทพเจ้าซึ่งเป็นอิทธิพลของจีนเองอีกด้วย
ดังนั้นในจีนจึงเกิดมีธรรมบาล พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้ามากมายให้คนจีนเซ่นไหว้
ชื่อพระยูไล ถ้าตามคำแปล ก็แปลว่าตถาคต แต่ชาวจีนไม่ได้นับถือเหมือนนับถือพระพุทธเจ้าทั่วไป แต่นับถือเหมือนกับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับนับถือ พระศรีอารย์ พระอมิตตภะ พระศากยมุนีฯลฯ ครับ
#8
โพสต์เมื่อ 13 May 2008 - 07:36 AM
ต่อ...ครับ
สำหรับที่มา และความหมายของคำ แสดงให้เห็นว่า เป็นพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ แต่พอกาลเวลาผ่านไป กลับกลายเป็นว่าการนับถือพระยูไล จะเป็นเสมือนการนับถือพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ที่มีชื่อว่าพระยูไล
เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ผมจะขอยกตัวอย่าง ที่เห็นภาพชัด ๆ ในปัจจุบันสักตัวอย่างน่ะครับ
พระธรรมกายของเรา ซึ่งเราก็ทราบกันโดยทั่วๆไปว่า ท่านไม่ได้หมายเอาว่าเป็นกายของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน แต่ลักษณะของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
แต่พบว่าชาวจีนหลายท่าน เมื่อได้มาบูชาสักการะพระธรรมกาย ก็ได้เข้าใจว่า พระธรรมกายนี่คือพระพุทธเจ้าอีกพระองค์นึง ที่มีชื่อว่า พระพุทธเจ้าธรรมกาย (如來佛)ที่คนไทยนับถือ คล้าย ๆ กับที่เรานับถือ พระศากยมุนี( 釋迦佛)หรือ พระพุทธเจ้าพรหมสี่หน้า (四面佛)
เราเลยต้องรีบอธิบายให้เข้าใจว่า จริงๆแล้วพระธรรมกายไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็มีลักษณะมหาบุรุษเช่นเดียวกัน ส่วนพระพรหมสี่หน้านั้น ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า และไม่ได้เป็นของชาวพุทธเราด้วย
สำหรับที่มา และความหมายของคำ แสดงให้เห็นว่า เป็นพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ แต่พอกาลเวลาผ่านไป กลับกลายเป็นว่าการนับถือพระยูไล จะเป็นเสมือนการนับถือพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ที่มีชื่อว่าพระยูไล
เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ผมจะขอยกตัวอย่าง ที่เห็นภาพชัด ๆ ในปัจจุบันสักตัวอย่างน่ะครับ
พระธรรมกายของเรา ซึ่งเราก็ทราบกันโดยทั่วๆไปว่า ท่านไม่ได้หมายเอาว่าเป็นกายของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน แต่ลักษณะของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
แต่พบว่าชาวจีนหลายท่าน เมื่อได้มาบูชาสักการะพระธรรมกาย ก็ได้เข้าใจว่า พระธรรมกายนี่คือพระพุทธเจ้าอีกพระองค์นึง ที่มีชื่อว่า พระพุทธเจ้าธรรมกาย (如來佛)ที่คนไทยนับถือ คล้าย ๆ กับที่เรานับถือ พระศากยมุนี( 釋迦佛)หรือ พระพุทธเจ้าพรหมสี่หน้า (四面佛)
เราเลยต้องรีบอธิบายให้เข้าใจว่า จริงๆแล้วพระธรรมกายไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็มีลักษณะมหาบุรุษเช่นเดียวกัน ส่วนพระพรหมสี่หน้านั้น ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า และไม่ได้เป็นของชาวพุทธเราด้วย