เคยดู DMC ได้ยินผู้ปฏิบัติแล้วบอกว่า "ใจเปิด" กระผมเลยอยากทราบว่า ใจเปิด มีลักษณะอย่างไรครับ
ต่างกับ เปิดใจ หรือไม่อย่างไรครับ ท่านใดพอทราบความหมายที่แท้จริงช่วยบอกหน่อยครับ
สาธุครับ

ใจเปิด ???
เริ่มโดย อริยสัจ4, Jun 12 2008 01:32 PM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 01:32 PM
#2
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 02:15 PM
ตามความคิดน่ะคะ
เปิดใจ น่าจะใช้กับการพูดคุยเป็นหลัก ทั้งชอบและไม่ชอบ
ส่วนใจเปิด คือ การยอมรับ การน้อมรับสิ่งนั่นมาปฎิบัติคะ
เปิดใจ น่าจะใช้กับการพูดคุยเป็นหลัก ทั้งชอบและไม่ชอบ
ส่วนใจเปิด คือ การยอมรับ การน้อมรับสิ่งนั่นมาปฎิบัติคะ
#3
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 03:34 PM
ที่จริงก็ไม่ต่างกันมาก (ต่างไม่ต่างน่าจะการตีความมากกว่า) ถ้าเอาตรง ๆ อาการของใจเปิด คือ ไม่เชื่อ ไม่ชอบ แต่ลองดู แล้วพอลองดูมันดีก็เลยใจเปิดที่จะรับรู้เรื่องราวต่อ ๆ ไป
ส่วนเปิดใจ อาจเป็นอาการที่เขายอมที่จะลองดูเลย งงมะ งงเนอะ
สรุป คำนิยามก็เหมือนกัน คือ ยอมรับ
ส่วนเปิดใจ อาจเป็นอาการที่เขายอมที่จะลองดูเลย งงมะ งงเนอะ
สรุป คำนิยามก็เหมือนกัน คือ ยอมรับ
#4
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 04:09 PM
ใจเปิด ถ้านับความหมายของภาษาประสบการณ์ภายใน หมายถึงว่า ใจเปิดเข้าสู่หนทางของผู้รู้ภายใน คือ พระธรรมกาย นั่นเองครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#5
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 05:09 PM
จากความเห็นของผมนะ
เปิดใจ เป็นอาการที่เราอยากจะผู้อื่นรับรู้ แบบว่ามีความในใจอยู่ ก็เลยอยากจะเปิดใจพูดออกมา เป็นต้น
ใจเปิด เป็นอาการที่มีสิ่งอื่นภายนอกมากระทบ ทำให้เรายอมรับ หรือ ชื่นชอบ เป็นอาการ ใจเปิด นะครับ
เอ่อมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
เปิดใจ เป็นอาการที่เราอยากจะผู้อื่นรับรู้ แบบว่ามีความในใจอยู่ ก็เลยอยากจะเปิดใจพูดออกมา เป็นต้น
ใจเปิด เป็นอาการที่มีสิ่งอื่นภายนอกมากระทบ ทำให้เรายอมรับ หรือ ชื่นชอบ เป็นอาการ ใจเปิด นะครับ
เอ่อมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 05:58 PM
ใจเปิด ในความหมายที่ใช้ทั่วไป
คือ การที่คนๆหนึ่ง เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องหนึ่งๆ แล้ว มีอาการ..ปิดประตูใจ...
คิดคัดค้านตั้งแต่ต้น โดยไม่ทนรอให้พูดจบประโยคแรก เรียกง่ายๆว่ามีอคติไว้ก่อนว่า สิ่งๆนี้ต้องไม่ดีแน่นอน อย่าไปฟังเลย โดยที่ไม่เคยรับข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเพียงพอมาก่อน ลักษณะชัดเจนคือจะไม่อยากฟังคนที่พยายามอธิบายความจริงให้ฟัง ( ซึ่งก่อนหน้านี้เขาอาจได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากหนังสือพิมพ์ ข่าวทีวี บทความ หรือจากคนอื่นพูดให้ฟัง )
หากมีสักวัน ที่เขาคนนี้ได้เปิดใจ คือเปิดประตูใจ ให้โอกาสตัวเองรับข้อมูลใหม่ที่มีคนเสนอเข้ามา เขาก็จะได้โอกาสไตร่ตรองพิจารณา ได้มาดูของจริง มารับรู้เรื่องราวต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ส่วนที่ตรองดูแล้วกระจ่าง ประตูดวงใจเปิดรับสิ่งดีๆ เปิดรับกระแสแห่งบุญกุศลเข้าไปในใจได้
ดุจดั่งทองแท้ที่ทนต่อการพิสูจน์ก็จะแสดงตนโดนเด่นอยู่ในใจของคนที่มองเห็นทองล้ำค่านั้นเอง
คือ การที่คนๆหนึ่ง เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องหนึ่งๆ แล้ว มีอาการ..ปิดประตูใจ...
คิดคัดค้านตั้งแต่ต้น โดยไม่ทนรอให้พูดจบประโยคแรก เรียกง่ายๆว่ามีอคติไว้ก่อนว่า สิ่งๆนี้ต้องไม่ดีแน่นอน อย่าไปฟังเลย โดยที่ไม่เคยรับข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเพียงพอมาก่อน ลักษณะชัดเจนคือจะไม่อยากฟังคนที่พยายามอธิบายความจริงให้ฟัง ( ซึ่งก่อนหน้านี้เขาอาจได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากหนังสือพิมพ์ ข่าวทีวี บทความ หรือจากคนอื่นพูดให้ฟัง )
หากมีสักวัน ที่เขาคนนี้ได้เปิดใจ คือเปิดประตูใจ ให้โอกาสตัวเองรับข้อมูลใหม่ที่มีคนเสนอเข้ามา เขาก็จะได้โอกาสไตร่ตรองพิจารณา ได้มาดูของจริง มารับรู้เรื่องราวต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ส่วนที่ตรองดูแล้วกระจ่าง ประตูดวงใจเปิดรับสิ่งดีๆ เปิดรับกระแสแห่งบุญกุศลเข้าไปในใจได้
ดุจดั่งทองแท้ที่ทนต่อการพิสูจน์ก็จะแสดงตนโดนเด่นอยู่ในใจของคนที่มองเห็นทองล้ำค่านั้นเอง
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ
#7
โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 09:48 PM
มักใช้กับผู้นำบุญ ที่ใจ (alert) อยากทำบุญ
ทุ่มเต็มที่ครับ ตามความเห็น
ทุ่มเต็มที่ครับ ตามความเห็น
#8
โพสต์เมื่อ 13 June 2008 - 01:38 PM
เปิดใจ=> ตัวเราเปิดใจเราเอง
ใจเปิด=> ใจของเราถูกเปิด มีคนมาเปิดใจให้เรา
ทั้งนี้เพื่อที่จะยอมรับในบางสิ่ง
ใจเปิด=> ใจของเราถูกเปิด มีคนมาเปิดใจให้เรา
ทั้งนี้เพื่อที่จะยอมรับในบางสิ่ง
#9
โพสต์เมื่อ 15 June 2008 - 11:50 PM
ชอบที่คุณ light mint ตอบจัง เข้าใจง่าย
แต่ขอเพิ่มเติมว่า การเปิดใจ น่าจะคือการยอมรับฟัง ยอมศึกษา สิ่งที่ตนเองไม่เห็นด้วย หรือสิ่งที่ตนเอง ไม่ได้เลือกจะกระทำหรือ เห็นดีเห็นงามในขณะนั้น
เป็นวิธีปฏิบัติของผู้ที่มีปัญญา คือมีคุณสมบัดของ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน
ครู อาจารย์ ก็มักจะสอนให้เต็มที่ เป็นพิเศษ ไม่ปิดบัง เลยกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาเหนือผู้อื่น
แต่ขอเพิ่มเติมว่า การเปิดใจ น่าจะคือการยอมรับฟัง ยอมศึกษา สิ่งที่ตนเองไม่เห็นด้วย หรือสิ่งที่ตนเอง ไม่ได้เลือกจะกระทำหรือ เห็นดีเห็นงามในขณะนั้น
เป็นวิธีปฏิบัติของผู้ที่มีปัญญา คือมีคุณสมบัดของ ความอ่อนน้อม ถ่อมตน
ครู อาจารย์ ก็มักจะสอนให้เต็มที่ เป็นพิเศษ ไม่ปิดบัง เลยกลายเป็นผู้ที่มีปัญญาเหนือผู้อื่น
#10
โพสต์เมื่อ 17 June 2008 - 12:37 PM
การให้อภัยคนอื่น คือ กุศลที่ยิ่งใหญ่ประเมิณค่าไม่ได้.......นี่แหล่ะ คือส่วนหนึ่งของใจเปิดล่ะ
