ก็ต้องขอความกรุณาเพื่อน ๆ ช่วยบอกเป็นธรรมทานให้หน่อยครับ บางเรื่องยังสับสนอยู่จะได้เข้าใจได้ถูกต้อง กราบอนุโมทนาบุญครับ
1. ช่วงเวลาของวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนานี่ เขานับเอาตอนไหนครับ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเที่ยงคืนของอีกวัน หรือว่าตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึง 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง
2. ยมโลกหยุดทำการเฉพาะวันพระใหญ่เท่านั้น แต่วันพระธรรมดายมโลกเปิดทำการปกติ ผมเข้าใจถูกไหมครับ
3. เวลาเพื่อน ๆ ทานข้าวของที่วัด แล้วนั่งหลับตาอธิษฐานก่อนทานข้าว เพื่อน ๆ อธิษฐานหรือท่องบทสวดอะไรครับ ผมไม่รู้ ก็เลยได้แต่นั่งนิ่ง ๆ หลับตานึกถึงองค์พระบ้าง นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นบ้าง แล้วก็เริ่มหม่ำข้าว
4. หากหมู่ญาติของเราที่ล่วงลับไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ เราอุทิศแผ่ส่วนกุศลไป เขาไม่สามารถรับบุญได้ ตามหลักที่คุณครูไม่ใหญ่บอก แล้วอย่างนี้ตัวเราจะได้รับอานิสงส์ผลบุญหรือเปล่าครับ
5. ข้อนี้สงสัยเกี่ยวกับตัวเองครับ คือผมเป็นคนที่มักจะโดนเพื่อนแซว (บางทีก็แกมเหน็บแนม) บ่อยมาก และเพื่อนแต่ละคนที่ชอบแซวก็มักจะเลือกเอาช่วงเวลาที่มีคนอยู่กันเยอะ ๆ ให้ได้ขำหรือหัวเราะกันสนุกสนาน (ทีตอนไม่มีคนอยู่ มันก็ไม่แซว) หลายครั้งที่เราไม่ได้ขำตาม กลับรู้สึกรำคาญเสียด้วยซ้ำ อย่างนี้เป็นภาพในอดีตที่เราเคยทำมาหรือเปล่าครับ แต่อัธยาศัยส่วนตัวตั้งแต่เด็ก ๆ มาแล้ว ผมเป็นคนไม่ชอบแซว หรือว่าใครให้เสียหน้านะ

เรื่องที่ผมไม่แน่ใจ แต่เพื่อน ๆ ทราบแล้ว
เริ่มโดย cpj, Jul 16 2008 05:49 AM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 05:49 AM
#2
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 08:01 AM
QUOTE
1. ช่วงเวลาของวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนานี่ เขานับเอาตอนไหนครับ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเที่ยงคืนของอีกวัน หรือว่าตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึง 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง
ผมว่าน่าจะนับตั้งแต่รุ่งอรุณของวันไปจนกระทั่งรุ่งอรุณของอีกวันนะครับ เพราะในสมัยพุทธกาลมั่นใจว่าไม่มีนาฬิกาบอกเวลาแน่นอน ดังนั้น การนับวันของเขาน่าจะนับในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นมากกว่าน่ะครับ ซึ่งรุ่งอรุณในสมัยนั้นเขาจะสังเกตุได้โดยการยืดแขนออกไปข้างหน้าให้สุดหากมองเห็นลายมือของตัวเองเมื่อไหร่นั่นคือเวลารุ่งอรุณของวันใหม่ครับ
QUOTE
2. ยมโลกหยุดทำการเฉพาะวันพระใหญ่เท่านั้น แต่วันพระธรรมดายมโลกเปิดทำการปกติ ผมเข้าใจถูกไหมครับ
เหอๆ อันนี้รอความเห็นเพื่อนๆนะครับ
QUOTE
3. เวลาเพื่อน ๆ ทานข้าวของที่วัด แล้วนั่งหลับตาอธิษฐานก่อนทานข้าว เพื่อน ๆ อธิษฐานหรือท่องบทสวดอะไรครับ ผมไม่รู้ ก็เลยได้แต่นั่งนิ่ง ๆ หลับตานึกถึงองค์พระบ้าง นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นบ้าง แล้วก็เริ่มหม่ำข้าว
อ่า ส่วนใหญ่จะเป็นการกลั่นอาหารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาน่ะครับ เหมือนกับการบูชาข้าวพระอาทิตย์ต้นเดือน จะนั่งหลับตาแล้วน้อมนำอาหารไปกลั่นให้ใสแล้วนึกน้อมถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระธรรมกายภายใน ก่อนลงมือทานก็จะกล่าวลาข่าวพระ เสสังมังคะรังยาจามะ
QUOTE
4. หากหมู่ญาติของเราที่ล่วงลับไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ เราอุทิศแผ่ส่วนกุศลไป เขาไม่สามารถรับบุญได้ ตามหลักที่คุณครูไม่ใหญ่บอก แล้วอย่างนี้ตัวเราจะได้รับอานิสงส์ผลบุญหรือเปล่าครับ
ได้ครับ อุปมาเหมือนกับเราเผื่อแผ่ความรู้ให้ผู้อื่น เช่น สอนการบ้านให้เพื่อน ถามว่าความรู้เราหายไปไหนไหม ก็ไม่หายจริงไหมครับ ตรงกันข้าม เรากลับได้ทบทวนความรู้ ทำให้เราฉลาดขึ้นเสียด้วยซํา เวลาเราแผ่เมตตาหรืออุทิศส่วนกุศลเราต้องนึกทบทวนบุญที่เราทำก่อนจริงไหมครับ แล้วจึงค่อยนึกถึงผู้ที่เราจะอุทิศให้ อานิสงค์ผลบุญจะเพิ่มก็ตรงนี้แหล่ะครับ
QUOTE
5. ข้อนี้สงสัยเกี่ยวกับตัวเองครับ คือผมเป็นคนที่มักจะโดนเพื่อนแซว (บางทีก็แกมเหน็บแนม) บ่อยมาก และเพื่อนแต่ละคนที่ชอบแซวก็มักจะเลือกเอาช่วงเวลาที่มีคนอยู่กันเยอะ ๆ ให้ได้ขำหรือหัวเราะกันสนุกสนาน (ทีตอนไม่มีคนอยู่ มันก็ไม่แซว) หลายครั้งที่เราไม่ได้ขำตาม กลับรู้สึกรำคาญเสียด้วยซ้ำ อย่างนี้เป็นภาพในอดีตที่เราเคยทำมาหรือเปล่าครับ แต่อัธยาศัยส่วนตัวตั้งแต่เด็ก ๆ มาแล้ว ผมเป็นคนไม่ชอบแซว หรือว่าใครให้เสียหน้านะ
อาจเป็นวิบากกรรมในอดีตของคุณที่ล้อเลียนให้เพื่อนคุณขายหน้าท่ามกลางสาธารณะชน ทำเช่นไรได้ผลเช่นนั้นครับ ให้วางอุเบกขา อย่าไปนึกโกรธเพื่อนที่มาล้อเลียนเรา ให้ปฏิบัติตัวเฉกเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิ่งเฉยต่อคำด่าทอท่ามกลางหมู่ชนทั้งเมือง เป็นการฝึกอุเบกขาบารมี ขันติบารมีไปในตัวครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#3
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 09:13 AM
QUOTE
1. ช่วงเวลาของวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนานี่ เขานับเอาตอนไหนครับ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเที่ยงคืนของอีกวัน หรือว่าตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึง 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง
ถ้าตามในคัมภีร์พระวินัย ก็ต้องว่า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพอที่จะเห็นสีของต้นไม้ หรือลายมือตน(จากแสงธรรมชาติ) ก็ถือว่าเป็นการรับวันใหม่ครับ ไม่ใช่ตอนพ้นเที่ยงคืน แต่เนื่องจากว่าแต่ละภูมิภาคในโลก เห็นพระอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ต่างกัน บางที่ก็ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย บางที่เห็นพระอาทิตย์ได้ทั้งวัน จึงต้องอนุโลมตามเวลาสากลครับ
QUOTE
2. ยมโลกหยุดทำการเฉพาะวันพระใหญ่เท่านั้น แต่วันพระธรรมดายมโลกเปิดทำการปกติ ผมเข้าใจถูกไหมครับ
คำว่าวันพระใหญ่โดยทั่วไป จะหมายรวมถึงแรม 14 ค่ำ (เดือนขาด) 15 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำด้วย แต่ถ้าเป็นทางยมโลกก็จะหยุดในวันพระจันทร์เต็มด้วย ก็คือขึ้น 15 ค่ำ
QUOTE
3. เวลาเพื่อน ๆ ทานข้าวของที่วัด แล้วนั่งหลับตาอธิษฐานก่อนทานข้าว เพื่อน ๆ อธิษฐานหรือท่องบทสวดอะไรครับ ผมไม่รู้ ก็เลยได้แต่นั่งนิ่ง ๆ หลับตานึกถึงองค์พระบ้าง นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นบ้าง แล้วก็เริ่มหม่ำข้าว
น่าจะเป็นบทบูชาข้าวพระแบบย่อ (อิมัง สูปะพยัญชนะ สัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ) เป็นการบูชาเป็นพุทธบูชา เพื่อให้ใจผูกพันอยู่กับองค์พระครับ
QUOTE
4. หากหมู่ญาติของเราที่ล่วงลับไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ เราอุทิศแผ่ส่วนกุศลไป เขาไม่สามารถรับบุญได้ ตามหลักที่คุณครูไม่ใหญ่บอก แล้วอย่างนี้ตัวเราจะได้รับอานิสงส์ผลบุญหรือเปล่าครับ
ตัวเราได้บุญอย่างน้อย 2 งบ คือ 1.บุญที่เราทำเอง 2.บุญที่เกิดจากอุทิศกุศล และถ้าระลึกถึงบุญที่ทำก่อนอุทิศกุศล ก็จะเป็นอนุสติในส่วนภาวนามัยเพิ่มไปด้วย เห็นว่ามีแต่ได้กับได้
QUOTE
5. ข้อนี้สงสัยเกี่ยวกับตัวเองครับ คือผมเป็นคนที่มักจะโดนเพื่อนแซว (บางทีก็แกมเหน็บแนม) บ่อยมาก และเพื่อนแต่ละคนที่ชอบแซวก็มักจะเลือกเอาช่วงเวลาที่มีคนอยู่กันเยอะ ๆ ให้ได้ขำหรือหัวเราะกันสนุกสนาน (ทีตอนไม่มีคนอยู่ มันก็ไม่แซว) หลายครั้งที่เราไม่ได้ขำตาม กลับรู้สึกรำคาญเสียด้วยซ้ำ อย่างนี้เป็นภาพในอดีตที่เราเคยทำมาหรือเปล่าครับ แต่อัธยาศัยส่วนตัวตั้งแต่เด็ก ๆ มาแล้ว ผมเป็นคนไม่ชอบแซว หรือว่าใครให้เสียหน้านะ
-กรรมที่เราอาจทำมาในอดีตชาติ แต่เป็นปัจจุบัน ต้องถามตัวเองว่า เคยรู้สึกสะใจ หัึวเราะขบขันกับอาการกิริยาดังกล่าวไหม ไม่ว่าจะเป็นจากการดูอภิปรายการเมือง โต้วาที หรือแสดงตลก หรือขบขันกะการที่ใครซักคนต้องหน้าแตก ต้องเสียท่าจากวาจาเชือดเฉือน เหน็บแนม ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็จะเข้าข่ายอนุโมทนาบาป และมีสิทธิ์ที่จะโดน"หางเลข" อย่างนั้นได้ครับ
#4
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 10:33 AM
QUOTE
3. เวลาเพื่อน ๆ ทานข้าวของที่วัด แล้วนั่งหลับตาอธิษฐานก่อนทานข้าว เพื่อน ๆ อธิษฐานหรือท่องบทสวดอะไรครับ ผมไม่รู้ ก็เลยได้แต่นั่งนิ่ง ๆ หลับตานึกถึงองค์พระบ้าง นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นบ้าง แล้วก็เริ่มหม่ำข้าว
ของผม ก็จะนึกนอมเอาอาหาร กลั่นให้ใสที่ศูนย์กลางกาย เมื่อบริโภคแล้วให้เป็นประโยชน์ต่อการบำเพ็ญบารมี และนึกน้อมให้บุญกุศลที่จะได้ทำ เนื่องมาจากพละกำลังที่ได้จากอาหาร อุทิศให้ ผู้ปลูก ผู้ปรุง ผู้ที่จัดทำอาหาร ตลอดจนสรรพสัตว์ท้งหลายให้ได้ผลบุญนั้น
QUOTE
4. หากหมู่ญาติของเราที่ล่วงลับไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ เราอุทิศแผ่ส่วนกุศลไป เขาไม่สามารถรับบุญได้ ตามหลักที่คุณครูไม่ใหญ่บอก แล้วอย่างนี้ตัวเราจะได้รับอานิสงส์ผลบุญหรือเปล่าครับ
ทำอุทิศให้ท่าน ท่านก็ได้ แต่เราได้เต็มๆ ยิ่งจิตผ่องใส ก็รับ Net Net
#5
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 11:42 AM
QUOTE
1. ช่วงเวลาของวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนานี่ เขานับเอาตอนไหนครับ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงเที่ยงคืนของอีกวัน หรือว่าตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึง 6 โมงเช้าของอีกวันหนึ่ง
- ตามจันทรคติ คือ รุ่งอรุณจะสังเกตุได้โดยการยืดแขนออกไปข้างหน้าให้สุดหากมองเห็นลายมือของตนเองเมื่อใด นั่นคือเวลารุ่งอรุณของวันใหม่QUOTE
2. ยมโลกหยุดทำการเฉพาะวันพระใหญ่เท่านั้น แต่วันพระธรรมดายมโลกเปิดทำการปกติ ผมเข้าใจถูกไหมครับ
- ถูกต้อง...ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก CD "มหัศจรรย์วันพระ"QUOTE
3. เวลาเพื่อน ๆ ทานข้าวของที่วัด แล้วนั่งหลับตาอธิษฐานก่อนทานข้าว เพื่อน ๆ อธิษฐานหรือท่องบทสวดอะไรครับ ผมไม่รู้ ก็เลยได้แต่นั่งนิ่ง ๆ หลับตานึกถึงองค์พระบ้าง นึกถึงบุญที่ทำในวันนั้นบ้าง แล้วก็เริ่มหม่ำข้าว
- โภชเนมัตตัญญุตา บริโภคเพื่อดำรงชีพ เพื่อประโยชน์ต่อขันธ์5 เพื่อสติรู้จักประมาณในการกิน เป็นหลักทั่วไป- อื่นๆก็ภาคละเอียด กลั่นอาหารเครื่องคาวหวาน ให้ละเอียดใส ไว้ที่072 ทับทวีๆๆๆๆนึกน้อมถวายข้าวพระฯ...สมมุติขอถึงให้เป็นอุปนิสัย
QUOTE
4. หากหมู่ญาติของเราที่ล่วงลับไปเกิดใหม่เป็นมนุษย์ เราอุทิศแผ่ส่วนกุศลไป เขาไม่สามารถรับบุญได้ ตามหลักที่คุณครูไม่ใหญ่บอก แล้วอย่างนี้ตัวเราจะได้รับอานิสงส์ผลบุญหรือเปล่าครับ
- จัดเป็นปัตติทานมัยหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10QUOTE
5. ข้อนี้สงสัยเกี่ยวกับตัวเองครับ คือผมเป็นคนที่มักจะโดนเพื่อนแซว (บางทีก็แกมเหน็บแนม) บ่อยมาก และเพื่อนแต่ละคนที่ชอบแซวก็มักจะเลือกเอาช่วงเวลาที่มีคนอยู่กันเยอะ ๆ ให้ได้ขำหรือหัวเราะกันสนุกสนาน (ทีตอนไม่มีคนอยู่ มันก็ไม่แซว) หลายครั้งที่เราไม่ได้ขำตาม กลับรู้สึกรำคาญเสียด้วยซ้ำ อย่างนี้เป็นภาพในอดีตที่เราเคยทำมาหรือเปล่าครับ แต่อัธยาศัยส่วนตัวตั้งแต่เด็ก ๆ มาแล้ว ผมเป็นคนไม่ชอบแซว หรือว่าใครให้เสียหน้านะ
- หากระลึกเหตุปัจจุบันแล้วไม่สามารถอธิบายได้ ก็น่าจะเป็นภาพสะท้อนของอดีต...
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#6
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 12:31 PM
โอ้โห คนตอบเยอะแยะเลย นี่ละมั้ง เขาเรียกว่า คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#7
โพสต์เมื่อ 16 July 2008 - 04:20 PM
ท่าน CPJ ๑. ๖ โมงเช้า ถึง ๖ โมงเช้ารุ่งขึ้น
๒. เฉพาะ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ขอ งทุกเดือน ๆ ละครั้ง
๓. บูชาข้าวพระ (อิมัง สูปะฯ)
๕. ทำดีต่อไปให้ปรากฏ เราก็เคยเป็นเช่นนี้ สุดท้ายเราเป็นตัวอย่างที่ดีได้
๒. เฉพาะ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ขอ งทุกเดือน ๆ ละครั้ง
๓. บูชาข้าวพระ (อิมัง สูปะฯ)
๕. ทำดีต่อไปให้ปรากฏ เราก็เคยเป็นเช่นนี้ สุดท้ายเราเป็นตัวอย่างที่ดีได้
#8
โพสต์เมื่อ 17 July 2008 - 12:00 AM
แล้วทำบุญในวันพระได้บุญมากกว่าวันธรรมดาหรือครับ
ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ยายทำ ยายก็ได้ คุณก็ไม่ได้ คุณทำคุณก็ได้ เพราะฉะนั้นก็ทำมากๆ ไว้ก่อน เราทำทุกๆ วัน "ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าวัดตลอดชีวิต"
#9
โพสต์เมื่อ 18 July 2008 - 11:00 AM
ทำบุญในวันพระได้บุญมากกว่าวันธรรมดาหรือเปล่า
การทำบุญจะให้ได้บุญมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับปัจจัย 3 ประการครับ คือ
1. วัตถุบรีสุทธิ์ คือ ทรัพย์สินที่นำมาทำบุญหามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ ไม่คดโกงใครมา
2. ผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ผู้ให้ ให้ทานด้วยความเคารพ ด้วยความศรัทธา ไม่หวังผลแอบแฝง นอกจากมุ่งกำจัดความตระหนี่ในใจ
3. ผู้รับบริสุทธิ์ คือ ผู้รับเป็นเนื้อนาบุญ
หากทำได้ตามนี้วันไหนๆ ก็ได้บุญมากครับ แต่วันพระใหญ่จะมีข้อพิเศษมากกว่าวันธรรมดา คือ เป็นวันหยุดของยมโลก ดังนั้น หากทำบุญแล้วอุทิศบุญในวันพระ หมู่ญาติที่ยมโลกจะได้รับบุญมากกว่าวันธรรมดาน่ะครับ (กรณีทำบุญเหมือนกัน)
การทำบุญจะให้ได้บุญมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับปัจจัย 3 ประการครับ คือ
1. วัตถุบรีสุทธิ์ คือ ทรัพย์สินที่นำมาทำบุญหามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ ไม่คดโกงใครมา
2. ผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ผู้ให้ ให้ทานด้วยความเคารพ ด้วยความศรัทธา ไม่หวังผลแอบแฝง นอกจากมุ่งกำจัดความตระหนี่ในใจ
3. ผู้รับบริสุทธิ์ คือ ผู้รับเป็นเนื้อนาบุญ
หากทำได้ตามนี้วันไหนๆ ก็ได้บุญมากครับ แต่วันพระใหญ่จะมีข้อพิเศษมากกว่าวันธรรมดา คือ เป็นวันหยุดของยมโลก ดังนั้น หากทำบุญแล้วอุทิศบุญในวันพระ หมู่ญาติที่ยมโลกจะได้รับบุญมากกว่าวันธรรมดาน่ะครับ (กรณีทำบุญเหมือนกัน)
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร