ไปเจออันนี้มาค่ะ ก็เลยเก็บมาฝากกัน เพราะ พอได้อ่านกระทู้ก็เลยสงสัยขึ้นมาเหมือนกันค่ะ
แต่ก็ไม่เคยทราบรายละเอียดของการเกิดรุ้ง นอกจาก เป็นการหักเหของแสง กับ ละอองน้ำ
แล้วก็มี 7 สี
คนที่ยังไม่รู้จะได้รู้ด้วยค่ะ
ถ้าในความเชื่อ เท่าที่ทราบนะคะ รุ้ง เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างสวรรค์ กับโลกมนุษย์ค่ะ
QUOTE
คุณแม่เล่าว่า.. รุ้งมักมาทีละ 2 ตัว.. คือ.. ตัวชัดกับตัวไม่ชัด..
ไม่รู้ตัวชัดเป็นตัวเมีย ตัวไม่ชัดเป็นตัวผู้.. หรือกลับกัน..
รุ้งเป็นผลจากการที่แสงหักเห และสะท้อนออกมาจากเม็ดฝน ในรุ้งปฐมภูมิ (primary rainbow) สีแดงจะอยู่นอกสุด และสีม่วงจะอยู่ในสุดของวง ส่วนรุ้งทุติยภูมิ (secondary rainbow) จะมีสีที่จางกว่า และมักจะเห็นว่ามันอยู่เหนือ (หรือด้านนอก) ของรุ้งปฐมภูมิ ลำแสงในรุ้งทุติยภูมิจะสัมผัสกับเม็ดฝนในมุมที่สูงกว่ารุ้งปฐมภูมิ และมีการสะท้อนถึงสองครั้ง สิ่งนี้เองที่ทำให้สีของรุ้งทุติยภูมิจางกว่า และสีสันจะเรียงกลับกันกับรุ้งปฐมภูมิโดยสีแดงจะอยู่ด้านในสุด และสีม่วงจะอยู่นอกสุดครับ
เมื่อแสงแดดผ่านอากาศที่เต็มไปด้วยหยดน้ำ เม็ดฝน แต่ละอันจะประพฤติตัวเหมือนกับปริซึมจิ๋วที่ทำให้แสงเกิดการหักเห และแยกสีต่างๆ ออกมา แต่แทนที่มันจะให้แสงผ่านออกไปเหมือนกับปริซึม พื้นผิวด้านในของเม็ดฝนจะเป็นตัวสะท้อนสีเหล่านั้นกลับออกมา เมื่อมันจะออกมาจากเม็ดฝน สีจะหักเหอีกครั้ง ผลจากการหักเห และสะท้อนของแสงจึงทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า "รุ้ง" นั่นเอง
สีต่างๆ ของ solar spectrum จะปรากฏขึ้นในรุ้ง แต่เนื่องจากมันเกิดการทับซ้อนกัน คุณอาจจะเห็นสีต่างๆ ไม่ชัดเจนมากนัก สีที่อยู่ด้านนอกสุดหรือด้านบนก็คือสีแดง และสีม่วงจะอยู่ด้านในสุดหรือด้านล่างของรุ้ง ความกว้างของแถบสีนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเม็ดฝนที่ทำให้เกิดรุ้งครับ
สภาวะหนึ่งๆ จะต้องเกิดขึ้นก่อนที่เราจะเห็นรุ้งครับ ดวงอาทิตย์จะต้องอยู่ด้านหลังเรา และต่ำเพียงพอที่จะให้ลำแสงเกิดการสะท้อนในมุมที่เหมาะสมเข้าสู่ตาเรา ฝนต้องอยู่ด้านหน้าของเรา เนื่องจากแสงแดด และฝนเกิดพร้อมกันมากที่สุดในฤดูฝน เราจึงเห็นรุ้งในฤดูนี้มากเป็นพิเศษ
เม็ดฝนทำตัวเหมือนปริซึมขนาดเล็ก และกระจกที่หักเห และแยกแสงแดดให้เป็นแถบสีต่างๆ และสะท้อนแถบสีเหล่านี้กลับเข้าสู่ตาเรากลายเป็นรุ้ง เม็ดฝน แต่ละอันจะสร้างแถบสีหนึ่งขึ้นมา แต่เรามองเห็นเพียงแถบสีที่เข้าสู่ตาเราในมุมหนึ่งเท่านั้น ในรุ้งปฐมภูมิ สีม่วงจะเข้าสู่ตาเราด้วยมุม 40 องศา สีแดงที่ 42 องศา และอีกห้าสีที่เหลือจะอยู่ระหว่างมุมทั้งสองนี้ เนื่องจากสีต่างๆ มีการหักเห และซ้อนทับกัน เราจึงเห็นแถบสีต่างๆ ได้ชัดเจนมากนัก
ในจุดนี้ คุณอาจจะสงสัยว่ารุ้งปรากฏอยู่ได้อย่างไรขณะที่ฝนตก เม็ดฝน แต่ละอันทำให้เกิดสีขึ้นเพียง 1 วินาทีเท่านั้น แต่เมื่อเม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดสีไปแทนที่กันอย่างรวดเร็ว ลำแสงที่สะท้อนออกมา(เข้าสู่ตาเรา)จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นนั่นเอง เราจะไม่เห็นแสงที่สะท้อนจากเม็ดฝนทุกอันในสายฝน แสงที่สะท้อนจากเม็ดฝนที่มุม 40-42 องศาเท่านั้นที่ทำให้เกิดรุ้งปฐมภูมิ
รุ้งทุติยภูมิอยู่ห่างขึ้นไปด้านบนของรุ้งปฐมภูมิเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนัก ลำแสงของมันจะเข้าสู่ตาเราที่มุม 50-54 องศา ความคิดของหลายคนที่ว่ารุ้งทุติยภูมิเป็นการสะท้อนของรุ้งปฐมภูมิถือเป็นความเชื่อที่ผิด เราจะเห็นแถบสีต่างๆ ในรุ้งทุติยภูมิได้ชัดเจนกว่า แต่มันก็มีสีจาง และมีการเรียงตัวของสีที่สลับกับรุ้งปฐมภูมิ สีแดงจะอยู่ด้านใน และสีม่วงจะอยู่ด้านนอก (หรือด้านบน) ของตัวรุ้งทุติยภูมิ แสงที่ทำให้เกิดรุ้งทุติยภูมิจะกระทบกับเม็ดฝนในมุมที่สูงกว่า และจะสะท้อนสองครั้งก่อนออกจากเม็ดฝนไป การสะท้อนสองครั้งนี้ทำให้รุ้งมีสีจางกว่า และมีการเรียงตัวของสีสลับกับรุ้งปฐมภูมิ
คุณอาจจะคิดว่าคุณได้เห็นรุ้งที่สมบูรณ์แล้วในลักษณะที่มันทอดตัวเป็นครึ่งวงกลมจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่คุณคิดผิดถนัด รุ้งสามารถมีเป็นลักษณะเป็นวงกลมได้ครับ ถ้าคุณได้นั่งเครื่องบินอยู่เหนือเทือกเขาสูง และดวงอาทิตย์อยู่ต่ำพอที่จะสร้างรุ้งได้ คุณจะได้เห็นรุ้งที่เป็นวงกลมครับ ผู้โดยสารเครื่องบินหลายคนมักจะพบเห็นเป็นครั้งคราว ถ้าสภาพอากาศเป็นใจ
ในปัจจุบัน มีการพูดถึงรุ้งว่าเกิดจากแสงแดดที่สะท้อนออกมา แต่การศึกษารุ้งอาจจะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้กล่าวถึงแสงจันทร์ที่ทำให้เกิดรุ้งขึ้นได้ในบางครั้งบางครา เนื่องจากแสงจันทร์เมื่อหักเห และสะท้อนออกมาจะให้สีต่างๆ ที่จางมาก เราจึงมองเห็นรุ้งที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม รุ้งที่เกิดจากแสงจันทร์ (lunar rainbow) แตกต่างจากรุ้งจากแสงแดดแค่ความเข้มสีเท่านั้น
ย่อมาจากหนังสือ Young Naturalist ครับ
รุ้งกินน้ำทำไมโค้ง
หลังฝนตกเราต่างรอคอยความงดงามของรุ้งกินน้ำ ชื่นชมกับสีสันทั้ง 7 อันประกอบด้วย สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง ซึ่งแถบสีรุ้งจะปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าในลักษณะโค้งเท่านั้น
ปรากฏการณ์เช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อแสงตกกระทบกับหยดน้ำ จะทำให้เกิดการหักเหหรือโค้งงอ แสงที่ผ่านออกมาทางด้านหลังของหยดน้ำก็จะเกิดการหักเหมากกว่าเดิม ส่วนต่างมุมที่ตกกระทบและผ่านออกไปมีค่าเฉลี่ยประมาณ 42 องศา โดยที่แสงแต่ละสีมีการโค้งงอ หรือเบี่ยงเบนต่างกัน จึงเป็นเหตุให้สามารถเห็นแสงสีรุ้งได้
สำหรับรุ้งกินน้ำที่เห็นบนท้องฟ้านั้น เกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบละอองน้ำฝนจำนวนมากนับล้านๆหยด และผ่านออกมาด้วยค่ามุมเฉลี่ย 42 องศา หากสองคนยืนอยู่ในตำแหน่งห่างกันประมาณ 2-3 ฟุต จะเห็นรุ้งกินน้ำขึ้นในตำแหน่งเดียวกัน แต่รุ้งกินน้ำที่ทั้งสองเห็นนั้นจะไม่ใช้รุ้งกินน้ำเส้นเดียวกัน เพราะรุ้งกินน้ำจะเกิดจากละอองน้ำฝนที่อยู่ต่างตำแหน่งกันนั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่รุ้งกินน้ำโค้งหรือไม่เป็นเส้นตรงเหมือนรูปอื่นๆ นั้นก็เนื่องมาจากละอองน้ำฝนหลายๆละอองนั้น ทำให้แสงเปลี่ยนทิศทางต่างกันคือมีทั้งที่โค้งขึ้นเป็นมุม 42 องศา โค้งลงเป็นมุม 42 องศาและโค้งออกมาทางด้านข้างของละอองน้ำ แต่คนเราจะเห็นเพียงแสงสีรุ้งที่โค้งขึ้นมากกว่า 42 องศาเท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเห็นเส้นรุ้งเป็นรูปโค้ง
เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
http://funscience.gi...ow/rainbow.html