
บางพุทธันดร ไม่จำเป็นต้องมีครบ 4 ฝ่ายใช่มั้ยครับ
#1
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 09:28 AM
แต่ผมจำไม่ได้ว่าฝ่ายไหนที่ถูกตัดออกไป ด้วยเหตุผลอะไร
ใครจำได้ รบกวนบอกที่ และมีให้ฟังให้อ่านเองตรงไหนมั้ยครับ เช่นอยู่ในบุญ เดือนไหนอ่ะครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ
#2
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 12:33 PM
แต่ถ้าเป็นบางยุคบางสมัย จะแต่ผู้มีบุญมากๆ มารวมกันอย่างเดียว ซึ่งในยุคเช่นนั้น มนุษย์ก็ไม่ต้องไปทำมาหากิน เพื่อเสาะแสวงหาปัจจัย 4 และก็ไม่มีคนอดอยากอีกด้วย
ดังนั้น หมู่คณะก็จึงไม่จำเป็นต้องมีกองเสบียง และฝ่ายปฏิสันขรณ์(ก่อสร้าง)ต่างๆ ซึ่งก็จะเหลือแต่งานหลัก คือ เผยแผ่ กับทำวิชชา นั้นเองครับ
#3
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 12:46 PM
"ฝ่ายปฏิสันขาร(ก่อสร้าง)"
ต้องเป็น "ฝ่ายปฏิสังขรณ์"
#4
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 12:49 PM
#5
*sky noi*
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 01:17 PM
#6
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 01:22 PM
- แล้วกองเสบียงในชาตินั้น จะทำหน้าที่อะไรเหรอครับ เมื่อใจมันไม่คุ้นกับการเผยแผ่ หรือทำวิชชา
- ถ้ามีชาติที่เป็นอย่างนั้นจริง แล้วเราจะทำบุญต่างๆ กันไปทำไมครับ ทำไมลป. ลพ.ต้องเชื่อมสายสมบัติให้ด้วย ในเมื่อไม่ต้องทำมาหากิน ไม่ต้องมีกองเสบียงมาคอยสนับสนุนปัจจัย ไทยธรรมต่างๆ
อีกทั้งบุญก็เป็นธาตุสำเร็จ เราก็สร้างบารมีด้านอื่นๆ ก็เป็นบุญซึ่งแล้วแต่เราว่าจะปรับบุญไปให้เกิดผลอย่างไรนี่ครับ
#7
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 02:20 PM
กองเสบียงนั้น อย่าว่าแต่ในชาตินั้นเลย แม้กองเสบียงในชาตินี้ ทุกๆคนก็ยังต้องฝึกทำหน้าที่เผยแผ่ไปด้วยเลยล่ะครับ เผยแผ่อย่างไร อ้าว ก็เป็นผู้นำบุญชักชวนให้คนมาวัดมาบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนากันไงล่ะครับ แม้ใจไม่คุ้นกับการเผยแผ่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเผยแผ่ไม่ได้นะครับ อาจจะได้มากหรือน้อย ก็แล้วแต่บุญบารมีที่สั่งสมอบรมกันมาน่ะครับ แต่ก็ OK ว่า ถ้าจะทำวิชชานั้น มันต้องว่ากันไปอีกขั้นหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำไม่ได้นะครับ
เพราะการสอนของหลวงพ่อนั้น ท่านก็ว่าไปตามขั้นตอนเหมือนการสอนของพระพุทธเจ้าไงล่ะครับ คือ
ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม การหลีกออกจากกาม อริยสัจ4
ยุคไหนทานบารมีเรายังไม่พร้อม เราก็ต้องเริ่มตั้งแต่ทานบารมีกันก่อน พอทานบารมีพร้อมหลวงพ่อท่านก็จะเรื่องศีล หากทานศีลได้แล้ว คราวนี้ก็เน้นภาวนา ชัีกชวนคนออกบวชกันล่ะ
ซึ่งหลวงพ่อก็ทำเช่นนั้นมาทุกชาติๆ นั่นแหละครับ ดังนั้น ก็หมายความว่า ทุกคนก็ถูกฝึกด้วยหลักสูตรนี้กันมาทั้งนั้น เพียงแต่จะมากหรือน้อย ขึ้นกับความถนัดของแต่ละคน มันก็เลยแบ่งเป็น 4 ฝ่าย แต่สุดท้ายผมว่า ก็จะเหลือเพียงแค่สองฝ่าย หากบารมีทุกคนมากพอ
อ้าว การทำบุญเชื่อมสายสมบัติ ก็เพื่อต้องการให้มีชาติที่เป็นเช่นนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดไป (ไม่ใช่เกิดขึ้นเป็นบางชาติเท่านั้น) ไงล่ะครับ จะได้สะดวกสบาย บำเพ็ญบารมีที่ยิ่งๆกว่าทานขึ้นไปได้โดยง่ายไงล่ะครับ
#8
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 02:31 PM
แสดงว่าในชาติที่สมบูรณ์นั้นๆ เราก็จะขาดทานบารมีไปน่ะสิครับ
#9
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 02:44 PM
#10
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 02:49 PM
#11
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 04:41 PM
เหมือนอาหารที่เราทานเข้าไป มีใครสามารถบอกได้หรือไม่ว่า อาหารนั้นไปเป็นเนื้อเลือดส่วนแขนกี่เปอร์เซนต์ ส่วนขากี่เปอร์เซนต์ ส่วนลำตัวกี่เปอร์เซนต์ ย่อมไม่มีใครสามารถบอกได้ ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ที่มีเครื่องมือวิเคราะห์ละเอียด สามารถบอกได้แค่ประมาณกว้างๆ เอาเท่านั้น
บุญเป็นธาตุสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ เวลาบุญส่งผลให้ไปเป็นสมบัติทิพย์นั้น บุญจะปรุงให้ได้สมบัติทั้งหมด เช่น บางคนรักษาศีล 5 สิ้นชีวิตไปเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ มีสมบัติทิพย์ทุกอย่าง(แต่มีไม่มาก) บางคนแค่ทำจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า(ภาวนา) สิ้นชีวิตก็ไปเป็นเทพบุตรบนสวรรค์มีสมบัติทิพย์ทุกอย่างเช่นกัน หรือ บางคนทำทานด้วยดอกไม้ดอกเีดียว สิ้นชีวิตไปเป็นเทพธิดามีสมบัติทิพย์ทุกอย่าง เช่น วิมาน ราชรถ เสื้อผ้า รูปร่างคล้ายดอกไม้ที่ตนทำบุญ แต่ก็มีกับเขาเหมือนกัน กรณีนี้ใช่ครับ บุญส่งผลให้ได้สมบัติทิพย์ทุกด้าน
แต่เวลากลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น คนที่รักษาศีลอาจไม่ได้ทรัพย์สมบัตินะครับ คนที่ภาวนาเฉยๆ ก็อาจไม่ได้ทรัพย์สมบัตินะครับ ขึ้นกับกำลังทานในอดีตที่ทำมา เป็นต้น นี่ว่ากันแบบหลักการกว้างๆ แต่ก็มีข้อยกเว้นปลีกย่อยอีกหลายประการ เช่น บางคนรักษาศีล 8 แค่ครึ่งวัน ชาติต่อไปกลายเป็นพระราชา ซึ่งเราเห็นชีวิตเขาเพียงชาติเดียว เราไม่รู้ว่าชาติก่อนหน้าเขาทำทานมาขนาดไหน เป็นต้น
#12
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 08:01 PM
มันเป็นหน้าที่คร่าว ๆ ตามความถนัดของแต่ละบุคคล เพราะว่า งานที่สำคัญ ของแต่ละคนคือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ และสร้างบารมี
#13
โพสต์เมื่อ 31 October 2008 - 08:11 PM
#14
โพสต์เมื่อ 01 November 2008 - 03:22 AM
#15
โพสต์เมื่อ 01 November 2008 - 08:54 AM
ทำบุญกฐิน จะดีกว่า
เลือกเอา ใจใสๆ
#17
โพสต์เมื่อ 03 November 2008 - 06:16 PM