
จริงๆแล้ว คุณพยัคฆ์ร้ายห่างภูไพรไร้ศักดา น่าจะทราบดีอยู่แล้วน๊า จากกระทู้
กรรมนิยาม 5 คืออะไร
http://www.dmc.tv/fo....php/t6249.htmlแต่ก็ขอนำ เวป link เพิ่มเติมมาให้อ่านกันนะคะ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเชียวค่ะ
ศาสนากับวิทยาศาสตร์ โดย คุณสมภาร พรมทา
http://www.electron....i...54&Itemid=5 และขอเพิ่มเติมเรื่อง กรรมนิยามค่ะ
ความแตกต่างของกฏแห่งกรรมและกฏธรรมชาติอื่น กฏแห่งกรรม แม้จะเป็นกฏธรรมชาติเช่นเดียวกับกฏอื่นๆ แต่ก็แตกต่างจากกฏธรรมชาติอื่นๆ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การที่จะเป็นกรรมได้นั้น ก็ต้องเกิดจากการกระทำ และต้องทำด้วยเจตนาเท่านั้น และเราต้องทำเอง ไม่ใช่คนอื่นทำให้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า
“เจตนา วาหัง ภิกขเว กัมมัง วะทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนานั่นแลเป็นกรรม” โปรดอย่าเข้าใจผิด เอากฏแห่งกรรมไปปนกับกฏธรรมชาติอื่นๆ เพราะแยกไม่ออกว่า อย่างไหนคือกฏแห่งกรรม และอย่างไหนคือกฎธรรมชาติอย่างอื่นนะครับ เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดในเรื่องนี้ เราต้องทำความเข้าใจกฏธรรมชาติอย่างอื่นอีก 4 ข้ออันเป็นกฏธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากกฏแห่งกรรมด้วย
ยกตัวอย่าง เช่น สมมติว่า นายดอนเหงื่อออก ถามว่านายดอนเหงื่อออกเพราะอะไร ถ้าหากว่าเป็นเพราะอากาศร้อน ลองวินิจฉัยดูว่าอยู่ในนิยามไหน ถ้าว่าอะไร ๆ เป็นเพราะกรรมหมดแล้ว เป็นกรรมอะไรของนายดอนที่ต้องเหงื่อออก แท้ที่จริงเมื่อเป็นเพราะอากาศร้อน ก็เป็นอุตุนิยาม ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้านายดอนไปทำผิดไว้ พอเข้าที่ประชุม เขาเกิดสอบสวนหาตัวผู้ทำผิด นายแดงมีความกลัวมาก ก็อาจจะกลัวจนเหงื่อออกอย่างนี้ นายดอนเหงื่อออกเพราะอะไร ตรงนี้ ตอบได้ว่าเพราะกรรม ถ้าอย่างนี้ เป็นกรรมนิยาม
อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่า นางสนปลูกต้นไม้ไว้ที่สวนของหล่อน แต่ต้นไม้นั้นออกผลมาเปรี้ยว ก็ไม่ใช่กรรมของนางสน หากแต่เป็นพีชนิยาม คือกฏของพืชต่างหาก แต่ถ้านางสนได้รับประทานผลไม้นั้นเข้า เกิดตายขึ้นมา นั้นก็เป็นกฏแห่งกรรม เพราะแกอาจจะเคยสร้างกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมา จึงเป็นเหตุให้ต้องรับประทานผลไม้นั้นเข้า
เมื่อคนเราตาย ถ้ายังมีกิเลสก็ต้องเกิดในทันที คือ เมื่อจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณก็เกิดในทันที การที่เป็นอย่างนี้เป็นจิตนิยาม ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้าเมื่อตายแล้วไปเกิดในนรกหรือสวรรค์ หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างนี้เป็นกรรมนิยาม เพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตนได้ทำไว้
การที่โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ก็ดี การที่ดวงดาวในจักรวาลต่างๆ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาก็ดี การมีกลางวันและกลางคืนก็ดี การที่ฝนตกหรือแดดออกก็ดี การที่ภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินถล่มก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นธรรมนิยาม - กฏแห่งธรรมะ ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้าใครต้องตาย เมื่อภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินถล่ม นั้นคือกรรมของเขา นี้จัดเป็นกรรมนิยาม
ใครก็ตามที่ยึดถือว่าอะไรๆ ทุกอย่างล้วนเกิดจากผลของกรรมทั้งสิ้น เป็นคนถือผิด แม้ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในคิริมานนทสูตรว่า
“โรคบางอย่างเกิดจากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอก็มี โรคบางอย่างเกิดจากฤดู คือ สภาพแวดล้อมเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากดีเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ประกอบกันก็มี เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานก็มี ”
คือโรคบางอย่างเกิดจากกรรม แต่โรคหลายอย่างเกิดจากอย่างอื่น เช่นเกิดจากฤดู เกิดการแปรปรวนของร่างกาย จากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอ เช่นพักผ่อนน้อยเกินไป หรือออกกำลังมากเกินไป เป็นต้น กฏแห่งกรรมนี้เป็นเพียงเหตุหนึ่งเท่านั้น
ผู้ศึกษาต้องเอาหลักเรื่องนิยาม 5 มาวินิจฉัยด้วย ไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องของกรรมไปเสียทั้งหมด และบางอย่างก็เกิดจากนิยามต่าง ๆ หลายนิยามมาประกอบกัน ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องรู้จักนิยาม 5 ไว้ด้วยจะทำให้หาเหตุผลเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งแท้ที่จริงนิยาม 5 ล้วนสรุปลงในธรรมนิยามนั่นเอง คือ มีลักษณะที่ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยกันทุกสิ่งทุกอย่าง
จากการศึกษานิยาม 5 นี้ ชี้ให้เห็นว่า หลักพุทธธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะกล่าวถึงถึงกฏธรรมชาติว่าด้วยเหตุผล อันเราควรภูมิใจ และยึดมั่นว่าเป็นคำสอนที่ไม่ตาย ยังทันสมัยอยู่เสมอ ทนต่อการพิสูจน์ของนักปราชญ์มาทุกยุคทุกสมัย จนถึงทุกวันนี้ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพุทธจิตวิทยาเพื่อการแก้ปัญหาด้านจิตของมนุษย์ต่อไปโดยคิดอย่างมีเหตุมีผล พร้อมเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่สะทกสะท้าน ผู้ศึกษาคงจะเริ่มมองออกแล้วใช่ไหมครับว่าพุทธจิตวิทยาจะออกมาในลักษณะใด
คัดลอกมาจาก
http://www.vcharkarn.com/vblog/36975 ค่ะ