สงสัยอีกแล้ว
#1
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 09:45 AM
สงสัยม้าก..มากครับ สงสัยมานานแล้ว ช่วยไขให้กระจ่างที
ขออนุโมทนาล่วงหน้าคร้าบ
#2
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 10:35 AM

แต่เพื่อเป็นการป้องกันวิบากกรรมที่เกิดจากการวิพากวิจารณ์ พระสงฆ์และสามเณร(เนื่องจากเราเป็นฆราวาสแล้วท่านถือศีลมากกว่าเรา) ก็ให้เราวางอุเบกขา (ในเรื่องความคิดเห็นส่วนตัวหรือคิดสงสัยในพระธรรมวินัย)....แล้วทำใจใสๆ ให้ปลื้มในบุญแล้วใส่บาตรไปตามปกติ.....อ้อแล้วอย่าลืมอุทิศส่วนกุศลด้วยนะคะ
เพราะยังงัยซะ บุญก็เป็นของเราอย่างแน่นอนที่สุด....อิๆ
สาธุ๊
#3
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 11:54 AM
ยกตัวอย่าง สมัยก่อนพระท่านต้องเดินเท้าเปล่าไปบิณฑบาตร แต่ในยุคปัจจุบัน ตามพื้นบางครั้งมักมีเศษแก้ว หรือสารเคมีหกเรี่ยราดอยู่ ซึ่งพระท่านที่บิณฑบาตรผ่านหน้าหอพักที่ผมเคยพักอยู่ มักจะถูกเศษแก้วตำเท้าเป็นระยะๆ แต่ท่านก็ยังคงพยายามเดินด้วยเท้าเปล่าอยู่
ผมว่า ในอนาคต ก็น่าจะมีการผ่อนปรนให้พระท่านสวมรองเท้าเดินได้ ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายเป็นต้นครับ
ต่อมาก็เรื่องเงินเรื่องทอง สมัยก่อนแทบไม่จำเป็น พระท่านอยากไปไหน ก็เดินไป หรือโดยสารเกวียนสินค้าไป อยากใช้น้ำก็ไปตักน้ำที่แม่น้ำข้างหมู่บ้าน อยากใช้ไฟก็จุดเทียนกันไป แต่สมัยนี้ อยากไปไหนไกลก็ต้องมีค่ารถ อยากใช้น้ำก็ต้องเสียค่าน้ำ อยากใช้ไฟก็ต้องเสียค่าไฟฟ้า ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเช่นนี้ ก็ควรอนุโลมไปตามยุคน่ะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 03:09 PM
การยืน ไม่ใช่บาบ นะคะ
อาจดูไม่งาม เช่น ยุคโบราณ
อาจจเป็นเช่นนี้ ก็ได้ ว่า
คนแถบนั้น นิมนต์ให้ท่านมาโปรด --- เช่น แถว รร. อยากใส่บาตร ถ้าท่านไม่มายืนตรงนั้น เราก็อดทำบุญ ทุกเช้า
สมัยโบราณ พระอรหันต์ ยังมายืนคอยที่บ้านพราหมณ์ นิ่งๆ ทุกเช้า เป็นเวลา ๕ ปี - เพื่อ เปิดใจพราหมณ์ เลย
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
#5
*sky noi*
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 05:31 PM
คนสมัยนี้คงไม่มีเวลาที่จะรอ ก็คงจะไม่ได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญ
ต้องถือว่าพระท่านเมตตาเรามากนะคะ
เคยตั้งใจจะใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาตรเหมือนกันค่ะ อยากใส่พระเดินบ้าง
เตรียมของอย่างดีเลย แต่แล้วก็ไม่มีพระผ่านมาเลย เกือบจะเสียความตั้งใจ
หลับตาอธิษฐานขอให้มีพระมาโปรดเราบ้างเถอะ แล้วก็มีจริงๆด้วย ว้าวๆปลื้มๆ
#6
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 07:22 PM
#7
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 07:27 PM
"บิณฑบาต" ไม่มี "ร" ครับ.
#8
โพสต์เมื่อ 28 January 2009 - 08:02 AM
#9
โพสต์เมื่อ 28 January 2009 - 09:03 AM
#10
โพสต์เมื่อ 28 January 2009 - 09:51 PM
#11
โพสต์เมื่อ 29 January 2009 - 08:54 AM
#12
โพสต์เมื่อ 29 January 2009 - 09:42 PM
ทำไมพระสงฆ์ไม่สวมรองเท้าเวลาบิณฑบาต
เคยฟังผู้รู้เขาอธิบายว่า
ในสมัยนั้น ปกติชาวบ้านไม่ใส่รองเท้า
จะมีพวกที่ใส่รองเท้าได้แก่พวก พระราชา อำมาตย์ เศรษฐี
พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็สั่งสอนธรรม สันโดษ มุ่งปฏิบัติธรรม โดยอาศัยชาวบ้านเลี้ยงดู ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องอาหาร
ตอนที่พระทั้งหลายออกไปบิณฑบาต
บางองค์ก็เท้าเปล่า เพราะมาจากชาวบ้าน
บางองค์ก็ใส่รองเท้าเพราะมาจากคนที่เคยให้
ชาวบ้านก็นินทาว่า ยังไม่ละทิ้งเรื่องความสุขสบาย
ออกมาบวชกันทำไม เรื่องนี้ก็เลยป็นเหตุให้พระไม่ใส่รองเท้า...
ในพระวินัยบางแห่ง พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าหน... ในขณะที่เดินทางในถิ่นทุรกันดาร
**ใส่รองเท้าเป็นอาบัติหรือไม่
ตามพระไตรปิฏกมีบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร
พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด... ไม่พึงสวมรองเท้าหุ้มแข้ง ไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า
ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทา ไม่พึงสวมรองเท้า
ที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแกะ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขา... ไม่พึงสวม
รองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ไม่พึงสวม
รองเท้าที่อันวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว ไม่พึงสวมรองเท้า
ขลิบด้วยหนังค่าง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษเมื่อมีเท้าแตก หรืออาพาธมีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้
ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
ภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับใช้สวมเดิน ๓ ชนิด
คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่
สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.
นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไมพระภิกษุจึงไม่สวมรองเท้า
**ถนนปัจจุบันนี้ไม่เหมือนในสมัยพุทธกาล พระเวลาบิณฑบาต ใส่รองเท้าเป็นอาบัติหรือไม่
ถ้าศึกษาตามพระไตรปิฏกจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ให้สวมได้เฉพาะเมื่อมีเหตุจำเป็นเช่นเท้าเจ็บ แต่ปกติเดินในที่โล่งแจ้งห้ามภิกษุที่ไม่ไ... จึงคิดว่าถ้ายึดตามกฏโดยเคร่งครัดพระสวมรองเท้า ยกเว้นว่าเป็นพระชรา เจ็บป่วยหรือมีการเดินลงไปในที่ลำบากจะมีกัดกร่อน แต่โดยทั่วไปภิกษุก็ควรไม่สวมรองเท้า บัญญัติไว้รวมทั้งการบิณฑบาตด้วยครับ
***เวลาใส่บาตร ทำไมต้องถอดรองเท้า?
การทำบุญทำทานโดยทั่วไปมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆคือ ให้เพื่อสงเคราะห์ หรืออนุเคราะห์ กับให้เพื่อบูชาคุณ
ให้เพื่อสงเคราะห์หรือให้เพื่ออนุเคราะห์ การให้กับคนที่ต่ำกว่าเรา(ทางฐานะ) เช่นขอทาน คนพิการ คนชรา คนประสบภัย เป็นต้น คนรับทานพวกนี้เราถือว่าเขาอยู่ในฐานะต่ำกว่า เมื่อเราให้เขาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเคารพ หรือกราบไหว้ตรงกันข้าม ผู้รับควรจะเคารพหรือกราบไหว้เราเสียอีก
ให้เพื่อบูชาคุณ ได้แก่ การให้แก่ พระ เณร พ่อแม่ ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณต่างๆ ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงคุณค่าต่างๆ เราให้ท่านก็เพื่อบูชาคุณของท่าน จึงถือว่าท่านอยู่ในคุณธรรมสูงกว่าเรา เราจึงต้องเคารพท่าน ทั้งก่อนให้ กำลังให้ หรือให้แล้วก็ตาม
ในการตักบาตรให้พระนั้น เราต้องถือว่า พระที่แท้จริงนั้น ท่านต้องสูงทั้งศีลและธรรมกว่าเรา เราจึงต้องเคารพท่าน จะให้อย่างขอทานไม่ได้ เพราะขอทานไม่ใช่เนื้อนาบุญของเรา แต่พระสงฆ์ที่ดีนั้น ท่านจัดว่าเป็น "เนื้อนาบุญ" ของชาวพุทธ เมื่อเราจะทำบุญทำทานแก่ท่าน เราก็ต้องทำด้วยความเคารพทั้งกาย วาจา และ ใจ
การแสดงความเคารพพระสงฆ์นั้น เราจะต้องจัดที่ให้ท่านสูงกว่าเราเสมอ หรืออย่างน้อยก็ต้องเสมอกันจึงจะถือว่า เป็นการให้ความเคารพท่านอย่างถูกต้อง ในการใส่บาตรนั้น พระท่านมาเท้าเปล่า ถ้าผู้ใส่บาตรสวมรองเท้าอยู่ ไม่ว่ารองเท้าประเภทใด ก็ถือว่าเราสูงกว่าพระ จึงจัดว่าขาดความเคารพในพระสงฆ์ผู้รับทาน
แม้การถอดรองเท้า แต่ยังยืนบนรองเท้าก็จะยิ่งถือว่าสูงกว่า เพราะได้เหยียบบนหูรองเท้าอีกทีหนึ่ง ถ้าไม่มีความจำเป็นอย่างอื่นก็ควรจะถอดออก และไม่ควรยืนบนรองเท้าอีก
ข้อยกเว้น ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ในบางครั้งบางโอกาสเช่นเท้าเจ็บ หรือใส่รองเท้าหุ้มส้นถอดยาก เรื่องมาก ไม่สะดวก และรีบร้อนจะไปธุระ ก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ หรือจะสวมรองเท้าก็ได้แต่ควรจัดสถานที่พระ. หรืออยู่สูงกว่าเรา เช่นหาแผ่นกระดานมารองเท้าพระ ให้ยืนสูงกว่าเราก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ
แต่ว่าก็ว่าเถอะ ไหนๆเราจะทำบุญใส่บาตรทั้งที ชั่วเวลาไม่กี่นาที จะกลัวอะไรกับการเปื้อน พระท่านย่ำเท้ามาไกลกว่าเรา และนานกว่าเราด้วย ท่านยังทำได้ ควรจะกลัวกิเลสเปื้อนใจ มากกว่าที่จะกลัวโคลนเปื้อนเท้ามิใช่หรือ
สำหรับบุคคลในเครื่องแบบ ใส่บาตรโดยไม่ถอดรองเท้าก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ อนุโลมได้
ศีล 227 ข้อไม่มีข้อห้ามรับบาตรจากผู้ที่ใส่รองเท้า
แต่ห้ามแสดงธรรมแก่ผู้สวมรองเท้า ซึ่งน่าจะรวมการห้ามให้พร ด้วย
การตักบาตรหรือการใส่บาตรนั้น
ถ้าญาติโยมใส่รองเท้าอยู่ ควรถอดรองเท้าเสียก่อนจึงใส่บาตร เพราะว่าพระภิกษุท่านไม่ได้ใส่รองเท้ามาบิณฑบาต เราก็ไม่ควรที่จะใส่รองเท้าเหมือนกันเพราะ จึงเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุสามเณร
เว้นไว้แต่ข้าราชการทหาร ตำรวจ ที่อยู่ในชุดเครื่องแบบประจำ จึงใส่บาตรได้โดยไม่ต้องถอดรองเท้า
นอกนั้นต้องถอดรองเท้าจึงเป็นการเคารพในพระสงฆ์
โอ ขยายเพลินไปหน่อยครับ จบลงด้วย
#13
โพสต์เมื่อ 31 January 2009 - 09:48 AM