ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทางแห่งความดี โดย อ.วศิน อินทสระ ตอน กิจของตน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 10 November 2006 - 07:47 PM

พระพุทธภาษิต

น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตโน ว อเวกเขยฺย กตานิ อกตานิ จ


คำแปล

บุคคลไม่ควรใส่ใจในคำหยาบของคนอื่น
ไม่ควรเพ่งเล็งกิจที่ทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำของคนอื่น
แต่ควรพิจารณาถึงกิจที่ทำแล้วหรือยังมิได้ทำของตนดีกว่า


อธิบายความ
พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า

"คำหยาบ คือ คำที่ตัดเสียซึ่งความรัก"

คือทำให้คนฟังเกลียดชังคนพูด คำหยาบนั้น มีหลายประเภท เช่น
ประชด กดให้ต่ำ (ด่า) กระทบเปรียบเปรย เป็นต้น

โดยปกติ ใครพูดคำหยาบ ความชั่วก็ตกอยู่แก่คนนั้น คนที่ถูกด่า ถูกประชดหาชั่วไปด้วยไม่
เมื่อไม่รับคำหยาบนั้นก็ตกอยู่แก่ผู้กล่าวแต่ผู้เดียว คำหยาบย่อมมาจากจิตใจที่หยาบ
ท่านจึงสอนมิให้เอาคำหยาบของคนอื่นมาใส่ใจ ใครพูดคำหยาบก็ปล่อยให้เป็นของเขาไป

อนึ่ง หน้าที่ของคนอื่น การงานของคนอื่นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเขา
เขาจะทำหรือไม่ทำก็เป็นเรื่องของเขา อย่าเอามารกสมองรกหัวใจนัก
นอกจากเรามีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ด้วย การสอดส่องนั้นเป็นหน้าที่ของเราจึงต้องทำ

อย่ามัวมองแต่ความสกปรกในบ้านของคนอื่น
จงหมั่นตรวจตราความสกปรกในห้องของตนเอง
และหมั่นทำความสะอาด
หมั่นพิจารณาการงานอันเป็นหน้าที่ของตนว่าได้ทำสมบูรณ์แล้วหรือไม่


ข้อว่า ไม่ควรเพ่งเล็งกิจของคนอื่น นั้น

พระอรรถกถาจารย์อธิบายไปในแง่ธรรมอย่างเดียวว่า

ไม่ควรดูแลกรรมที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า

"อุบาสกคนโน้นไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เคยให้อาหารแม้ข้าวทัพพีเดียว
ไม่เคยถวายจีวร อุบาสิกาโน้นก็เหมือนกัน ภิกษุโน้นไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส
ไม่ทำอุปฌายวัตร์ อาจาริยวัตร์ อาคันตุกวัตร์ เป็นต้น ธุดงค์ก็ไม่มี"
ความอุตสาหะพยายามในภาวนาก็ไม่มี..."


ส่วนข้อว่า พึงพิจารณากิจของตนนั้น

พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้
กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อระลึกถึงพระโอวาทนี้ว่า

"บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่"


ดังนี้แล้ว พึงใส่ใจในกิจของตนว่า

เราอาจหรือไม่ที่จะยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์
คืออนิจจัง ทุกขังอนัตตาแล้วทำตนให้พ้นจากกิเลสทั้งปวง"


พระศาสดาตรัสพระพุทธภาษิตนี้ เพราะทรงปรารภ อาชีวกชื่อ ปาฏิกะ
ซึ่งด่าว่าเสียดสีอุบาสิกานานาประการ มีเรื่องย่อดังนี้

อาชีวกผู้นี้คุ้นเคยอยู่กับสกุลหนึ่ง มีสตรีแม่บ้านผู้หนึ่งอุปถัมภ์บำรุงอยู่เหมือนบุตรของตน
ต่อมานางได้ฟังกถาสรรเสริญพระพุทธเจ้า และพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจากเพื่อนบ้านว่า

พระพุทธเจ้าดีอย่างนั้นๆ พระธรรมเทศนาของพระองค์ไพเราะอย่างนั้นๆ
นางใคร่จะได้ฟังธรรมบ้าง จึงบอกอาชีวก

อาชีวกเกรงว่าหากนางไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนางจักเสื่อม ความรัก
ความนับถือในตนจักไม่บำรุงตนอย่างที่เคย
จึงห้ามไว้ทุกครั้งว่าอย่าไปสำนักของพระสมณโคดมเลย

นางจึงหาวิธีใหม่คืออัญเชิญพระศาสดามาสู่เรือนของตน
จึงให้บุตรชายคนหนึ่งไปทูลอาราธนาพระศาสดาที่วัดเชตะวันเมืองสาวัตถี

บุตรชายไปนิมนต์พระพุทธเจ้า แต่แวะไปหาอาชีวกก่อน
อาชีวกรู้เรื่องแล้วจึงห้ามว่าอย่าไปเลย

"ไม่ได้ แม่จะดุ" เด็กว่า "ผมต้องไป"

"อย่าไปดีกว่า" อาชีวกพูด
"เมื่อเธอไม่ไป พระพุทธเจ้าไม่มา เราสองคนจักได้กินเครื่องสักการะคาวหวาน
ที่แม่ของเธอเตรียมไว้สำหรับพระพุทธเจ้า"

แต่เด็กยังยืนยันจะไปเพราะกลัวแม่ดุ อาชีวกจึงว่า

"ไปก็ได้ แต่อย่าบอกเรือนและทางที่ไป คราวนี้พระพุทธเจ้าก็ไปไม่ถูก
พรุ่งนี้เราสองคนจักได้กินอาหารที่แม่ของเธอเตรียมไป
เธอก็ไม่มีความผิดเพราะได้ไปนิมนต์แล้ว"

เด็กเชื่อ ไปนิมนต์พระพุทธเจ้าและทำตามที่อาชีวกว่าทุกอย่างง
แล้วกลับมาบอกอาชีวกอีกทีหนึ่ง

วันรุ่งขึ้นอาชีวกไปยังเรือนของอุบาสิกาแต่เช้า
พวกเพื่อนบ้านที่เลื่อมใส พระพุทธเจ้าได้ช่วยกันฉาบทาเรือนด้วยโคมัยสด
โปรยดอกไม้ ปูลาดอาสนะอันควรแก่พระศาสดา
ท่านว่าคนที่ไม่คุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าย่อมปูอาสนะไม่เป็น


รุ่งเช้าพระศาสดาเสด็จไปเรือนของอุบาสิกา อย่างถูกต้อง
เพราะพระองค์ทรงรู้ทางทั้งปวง แม้ทางไปนรกสวรรค์ยังทรงทราบ
จะกล่าวใยถึงทางไปบ้านนั้นนิคมนี้ ย่อมทรงรู้ได้ด้วยญาณ
ทรงรู้แจ้งแทงตลอดตั้งแต่วันที่ได้ตรัสรู้แล้ว อาชีวกรู้จักพระพุทธเจ้าน้อยไป


อุบาสิกา ออกมาต้อนรับ
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐอัญเชิญให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน
เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว นางได้ถวายน้ำทักษิโณทก
แล้วถวายขาทนียโภชนียาหารอันประณีต


เสร็จแล้วพระศาสดาทรงอนุโมนาด้วยพระธรรมและพระสุรเสียงอันไพเราะ
อุบาสิกาฟังธรรมพลางกล่าว
พลางว่า "สาธุ สาธุ"

อาชีวกนั่งอยู่ห้องหลังฟังเสียงอุบาสิกาว่า

"สาธุ สาธุ ไม่อาจทนอยู่ได้ เพราะความริษยา คิดว่า
"นางไม่เป็นของเราเสียแล้ว"

จึงด่าพระศาสดา และอุบาสิกาเป็นอันมาก
มีอาทิว่า "อี กาฬกัณณี มึงเป็นคนฉิบหาย
มึงจงทำสักการะแก่พระสมณโคดมเถิด" ดังนี้แล้วหลีกไป

อุบาสิกา รู้สึกละอายต่อคำอันหยาบคายของอาชีวกนั้นเป็นอย่างยิ่ง
ฟุ้งซ่าน ไม่อาจส่งกระแสจิตไปรับพระธรรมเทศนาได้

พระศาสดาทรงทราบดังนั้นจึงตรัสว่า

"ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำเช่นนั้นของคนเช่นนั้น พึงตรวจดูกิจเฉพาะหน้าของตน"

ดังนี้แล้วตรัสพระพุทธพจน์ว่า

"น ปเรสํ วิโลมานิ" เป็นอาทิ มีนัยดังอธิบายมาแล้วแต่ต้น

อุบาสิกาได้สำเร็จโสดาปัตติผล
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 ฝันที่เป็นจริง

ฝันที่เป็นจริง
  • Members
  • 436 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2006 - 01:38 PM

สาธุครับ
"หยุด เป็น ตัวสำเร็จ"

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต้ อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ


หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดยกโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ



#3 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 02 December 2006 - 12:32 PM

สาธุค่ะ
* ธรรมะที่ควรเจริญ คือ สมถะ + วิปัสสนา
ธรรมะที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ( รู้อริยสัจจ์สี่ ) + วิมมุติ ( ความหลุดพ้น ).

* บุคคลย่อมข้ามห้วงนำ้ได้ด้วย ศรัทธา. ย่อมข้ามมหาสมุทรได้ด้วย ความไม่ประมาท. ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร. ย่อมบริสุทธิ์ไ้ด้วย ปัญญา.

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#4 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 28 March 2007 - 08:24 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ

#5 Heng #37

Heng #37
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 November 2010 - 01:45 AM

อนุโมทนาบุญด้วยครับ
"ธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้
ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม
เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"

#6 บ่าวอุบล

บ่าวอุบล
  • Members
  • 632 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 November 2010 - 10:51 AM

อนุโมทนาบุญกับบทความดีๆครับ