พระไปเที่ยว คาเฟ่ ร้องคาราโอเกะ พอตอนเช้าปลงอาบัติ ทำได้หรือครับ
#1
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 11:40 AM
#2
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 12:46 PM
ก็อาบัตินะสิ
#3
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 12:57 PM
#4
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 02:31 PM
#5
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 03:42 PM

เ พี ย ง พ บ พ า น . . . _ เ พื่ อ ผ่ า น ภ พ
Passing by to meet you.
#6
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 03:42 PM
ไม่ทราบว่าเป็นวัดทางเหนือรึเปล่า ได้ยินมาบ่อยครับเรื่องแบบนี้
ถ้าจำเพลงชีวิตสมณะได้จะมีท่อนหนึ่งร้องว่า
"ฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ"
ทนหิวก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสมณะไงครับ
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#7
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 03:57 PM
พระขับรถได้เหรอคะเคยเห็นมาสองหนละ สองวัดค่ะ ก็เลยงงงงอ่ะค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 04:04 PM

............................................................
มหาวิภังค์ ภาค ๒
หน้าที่ ๖๘๖.
วรรคที่ ๕ กพฬวรรค
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๘๔๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง ย่อมอ้าช่องปากไว้ท่า ...
พระบัญญัติ
๑๘๖. ๔๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เมื่อคำข้าวยังไม่นำมาถึง เราจักไม่อ้า-
*ช่องปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหาร เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก ไม่พึงอ้าช่องปากไว้ท่า ภิกษุใดอาศัยความ
ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังนำมาไม่ถึงปาก อ้าช่องปากไว้ท่า ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๔๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ...
พระบัญญัติ
๑๘๗. ๔๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราฉันอยู่ จักไม่สอดมือทั้งนั้นเข้าในปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุกำลังฉันอาหารอยู่ ไม่พึงสอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าในปาก ภิกษุใดอาศัยความไม่
เอื้อเฟื้อ กำลังฉันอยู่ สอดนิ้วมือทั้งหมดเข้าในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๘๗.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เจรจาทั้งๆ ที่ในปากยังมีคำข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๘๘. ๔๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า ปากยังมีคำข้าว เราจักไม่พูด.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงพูดด้วยทั้งปากยังมีคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ พูดด้วย
ทั้งปากยังมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๔๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโยนคำข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๘๙. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเดาะคำข้าว.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเดาะคำข้าว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันอาหารที่แข้น ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑
มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๔๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารกัดคำข้าว ...
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๘๘.
พระบัญญัติ
๑๙๐. ๔๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันกัดคำข้าว ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารกัดคำข้าว
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันขนมที่แข้นแข็ง ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑
ฉันกับแกง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๔๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ...
พระบัญญัติ
๑๙๑. ๔๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำให้ตุ่ย.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุฉันอาหารไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหาร
ทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ยข้างเดียวก็ดี ทั้งสองข้างก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันผลไม้น้อยใหญ่ ๑ มีอันตราย ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๘๙.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๔๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารสลัดมือ ...
พระบัญญัติ
๑๙๒. ๔๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันสลัดมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารสลัดมือ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ สลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๑ มีอันตราย ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๔๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหาร โปรยเมล็ดข้าว ...
พระบัญญัติ
๑๙๓. ๔๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเมล็ดข้าวตก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเมล็ดข้าว
ให้ร่วง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ทิ้งผงข้าวเมล็ดข้าวติดไปด้วย ๑ มีอันตราย ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๙๐.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๔๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารแลบลิ้น ...
พระบัญญัติ
๑๙๔. ๔๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงแลบลิ้น ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารแลบลิ้น
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารดังจับๆ ...
พระบัญญัติ
๑๙๕. ๕๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุฉันอาหารไม่พึงฉันทำเสียงดังจับๆ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหาร
ดังจับๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
วรรคที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๘๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร
โกสัมพี. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงปานะน้ำนมถวายพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังชูดๆ
ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้อันความเย็นรบกวน
แล้ว. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้พูด
ปรารภพระสงฆ์เล่นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอได้พูดปรารภพระสงฆ์
เล่น จริงหรือ?
ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้พูดปรารภสงฆ์เล่น
เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใด
ฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ครั้นทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๙๒.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันดังซูดๆ. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำเสียง
ดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๕๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียมือ ...
พระบัญญัติ
๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียมือ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๕๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร ...
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ ๖๙๓.
พระบัญญัติ
๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันขอดบาตร. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารขอด
บาตร ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ข้าวสุกเหลือน้อยกวาดขอดรวมกันเข้าแล้ว
ฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๕๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ...
พระบัญญัติ
๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลีย
ริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
#9
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 05:02 PM
ผมว่าในพระวินัยน่าจะห้ามนะ ท่านใดมีข้อมูลขอหน่อยนะครับ
#10
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 05:59 PM
*******************************
คุณมองอย่างแมวพูดถูกต้องแล้วครับ..
หิว ไม่ อา บัติ..
แต่ ฉัน ซิ อา บัติ..
5555
คิด ได้ ไง..เนี้ย..
********************************
แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป
แต่..
เ ป้ า ห ม า ย ไ ม่ เ ป ลี่ ย น แ ป ร
#11
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 08:25 PM
คิดได้ยังไงครับ
#12
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 10:11 PM
#13
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 10:37 PM
ส่วนเรื่องไปเที่ยว ร้องเพลง ต่อให้ปลงแล้ว ก็ยังมีบาปอยู่ดี
ส่วนเรื่องของผลบาปนั้น เคยอ่านในหนังสือ พระปาฏิโมกข์ น่ากลัวทีเดียวครับ
#14
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 10:53 PM
#15
โพสต์เมื่อ 15 August 2006 - 11:41 PM
ถึงป่วยก็ฉันยามวิกาลไม่ได้นะคะ
ต้องฉันปานะค่ะ
ปานะที่ฉันอิ่มก็มี นม น้ำมัน น้ำอ้อย ฯลฯ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#16
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:06 AM
ผิด ชอบ ชั่ว ดี
ผิด กับ ชอบ คือไม่รู้แล้วทำไป
ชั่ว กับ ดี นี่คือทั้งรู้แล้วตั้งใจทำไป
ผมว่า ปลงอาบัติมันน่าจะสำหรับการทำผิด คือเผลอทำไปนะครับ แล้วสำนึกได้เลยปลงอาบัติกับพระผู้มีภันเตสูงกว่า
แต่ไม่ใช่การทำชั่ว แบบตั้งใจ เสร็จแล้วก็มาปลงอาบัติ ฟังแล้วแปลกๆ ดีครับ
#17
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:09 AM
จนกระทั่งเพื่อน ที่ชวนมาเข้าวัด ได้แก้ความคลางแคลง สงสัย จนถึงเสื่อม ตรงนี้ว่า
"คนเราทั่วไป ควรถือ ศีลให้ครบ แค่ 5 ข้อ ยังถือกันไม่ได้ พระสงฆ์ มีศีลตั้ง 200 กว่าข้อ ถึงจะทำผิดศีลไป สัก 10-20 ข้อ ต่อให้ผิด 100 ข้อ ก็ยังคงเหลือศีลที่ท่านยังถือ ได้มากกว่า คนทั่วไปอยู่ดี แล้วเราจะทำใจ เคารพท่านต่อไปไม่ได้เลยหรือ" ก็ o.k. ถ้าคิดอย่างนี้ก็หยวนๆน่า สบายใจกว่า จะมานั่งคอยจับตาดูว่า พระรูปไหน ผิดศีลอะไร เพราะอย่างน้อย ท่านก็ยังถือศีลได้มากกว่าเราอยู่ดี (ฮิ ฮิ แต่บางทีก็อดคิดบ้างไม่ได้เหมือนกันนะคะว่า ถ้าข้อง่ายๆ ยังผิดได้ แล้ว ที่เหลือ อีกมากมาย จะถือไหวเร้อ" ขออภัยนะคะ ถ้าที่โพสต์ไป ไม่เหมาะ แต่ตอนนี้ กำลังปรับความเห็นให้ตรง ให้ชอบและคิดแต่ในสิ่งที่ดีอยู่ และทำได้มากขึ้น ทุกวันทุกวันค่ะ เพราะถึงอย่างไร ท่านก็เป็นเนื้อนาบุญของเรา ใช่มั๊ยคะ
ถ้าท่านจะฉันมื้อดึก หรือจะขับรถ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็ปล่อยๆไปเถอะค่ะ อย่าคิดมาก เพราะท่านก็ผิดแค่ข้อเดียว เหลืออีกตั้งเยอะ ที่ท่านทำได้ดีแล้ว จะได้ไม่ต้องคิดตำหนิท่านในใจ ให้ขุ่นไงคะ เดี๋ยวใจจะหมอง ซะเปล่าๆ
แล้วตกลงที่ koonpatt พยายามคิดแบบนี้เนี่ย (คือ พยายามคิดว่า ผิดไม่กี่ข้อก็ช่างเถอะ อย่าคิดมาก) ถูกต้องมั๊ยคะ ควรมั๊ยคะ รบกวนท่านผู้รู้ ช่วยตอบด้วยนะคะ
ปล. แต่ไม่เคยคิดที่จะสนับสนุนให้พระผิดศีลแม้แต่สักข้อเดียวนะคะ เพียงแต่ถ้าเห็นก็พยายามไม่คิดต่อ หรือคิดตำหนิเท่านั้นเองค่ะ
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ
#18
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:48 AM
หากยังอยากจะทำเช่นนั้น ก็ไม่ควรอยู่ในสถานะของพระแล้วค่ะ
ส่วนถ้าพระท่านกำลังป่วยต้องฉันยาจริงๆ ก็ถวายข้าวต้มที่เพียงพอแก่การช่วยย่อยยา
แต่ถ้าไม่ป่วย นี่ยังไงก็ไม่ถูกต้อง เห็นด้วยกับน้องOmena ว่าให้ฉันปานะแทนค่ะ
และที่คุณ... ยกเอาเพลงชีวิตสมณะ "ฝีกตนทนหิว บำเพ็ญตบะ.....
อันนี้เป็นสิ่งที่พระท่านต้องฝึกจริงๆค่ะ
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#19
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 06:52 AM
#20
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 08:28 AM
ขอบคุณคุณหัดฝันค่ะที่ขยายความให้เข้าใจ...มีความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

#21
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:56 AM
ส่วนเรื่องการขับรถ เป็นเรื่องของควร หรือไม่ควรซะมากกว่า แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นประเทศไทย การขับรถ เป็นโลกวัชชะครับ คำว่า "โลกวัชชะ" ในที่นี้ไม่ใช่แค่หมายถึงชาวโลกติเตียน (เพราะหาเรื่องติได้เรื่อย) เท่านั้น แต่หมายถึงมีโทษ(อาญา) ทางโลก
#22
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 02:38 PM
เอ่อ..อันนี้เขาไม่ได้เรียกว่า "พระ" มั๊งคะ แค่เอาผ้าเหลืองมาห่ม มีอบายภูมิเป็นที่ไป..
อย่าสับสนนะคะเราต้องแยกให้ออก
แล้วอย่าไปเสียอารมณ์ เสียความรู้สึก
ใช้แค่พฤติกรรมของคนไม่ดีบางคน
มาตัดสินทั้งหมด
พระคุณเจ้าที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบยังมีอีกมาก
ที่เราเรียกท่านว่า "พระแท้" ไงคะ
เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน
#23
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 03:41 PM


#24
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 05:43 PM
หลวงพ่อทัตตะ เคยเทศไว้ค่ะ
แต่ที่ท่านเทศเรื่องพระนั่งเรือหางยาว ถ้าบิณบาท ก็ไม่ควรค่ะ แต่ถ้าพระในวัตป่วย ต้องพาไปโรงพยาบาล ก็สมควรค่ะ
#25
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 08:00 PM
จำได้ว่าหลวงพ่อทัตตะท่านจะบอกว่าจะฉันได้ก็ต่อเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
แล้วมองเห็นลายมือของตนเองชัดเจนถึงจะฉันได้
งง วัดไหนง่ะ
#26
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 10:21 AM
แม่นแล้วค่ะหนูสายน้ำทิพย์

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน
#27
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 10:37 AM
ก็ต้องดูกันไปตามสถานการณ์
ยกตัวอย่าง (จากเรื่องจริง)
พระอาจารย์นั่งรถไปกับอุบาสกท่านหนึ่ง แล้วรถไปติดหล่ม แถวนั้นไม่มีรถผ่านไปมาเท่าไหร่
อุบาสกก็ต้องลุยโคลนลงไปเข็น พระอาจารย์ท่านก็จัดการขึ้นไปใส่เกียร์เหยียบคันเร่ง ขับเองเลย
อย่างนี้ผมว่าถ้าจะมากลัวอาบัติคงไม่ต้องไปไหนกันละครับ
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#28
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 11:43 AM
ที่บ้านสมัยเด็ก ๆ เคยมีเหมือนกันค่ะ...วันนั้นท่านกลับมาเยี่ยมบ้าน ลูกสาวหุงข้าวแบบโบราณ(บ้านนอกสมัยก่อน) เตาถ่านแบบต้องรินน้ำแล้วมีไม้ขัดหม้อ ลูกสาวโดนน้ำร้อนลวกทั้งตัวเลยค่ะ ท่านต้องแบกอุ้มลูกสาวค่ะ...แบบนี้ก็ถือว่าไม่เป็นไรใช่มั๊ยค่ะ

#29
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 05:38 PM
พระอาจารย์นั่งรถไปกับอุบาสกท่านหนึ่ง แล้วรถไปติดหล่ม แถวนั้นไม่มีรถผ่านไปมาเท่าไหร่
อุบาสกก็ต้องลุยโคลนลงไปเข็น พระอาจารย์ท่านก็จัดการขึ้นไปใส่เกียร์เหยียบคันเร่ง ขับเองเลย
อย่างนี้ผมว่าถ้าจะมากลัวอาบัติคงไม่ต้องไปไหนกันละครับ
ถูกต้องนะคร้าบ แยกแยะ ถูก-ผิด ควร-ไม่ควร
พระมาเปลี่ยนชุดบ่อยๆ แล้วมีผู้หญิงมารับ แล้วนั่งรถออกไป แล้วก็มาเปลี่ยนกลับไปใส่จีวรในตอนเย็น ประกอบกับข่าวจากทางเพื่อนที่เป็นตำรวจ บุกจับ CD โป๊ในวัด จับยาเสพติดจากพระ ฯลฯ
ควรแจ้งพระวินัยธรนะครับ ช่วยกันกำจัดโจรในผ้าเหลืองออกไป สงสารครับ เพราะต้องไปอบายภูมิยาวนานมาก
#30
โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 10:02 AM