เอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพคนตายเปลี่ยนเป็นโค๊กเป็ปซี่ชาเขียวได้ใหม
#1
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 09:05 AM
#2
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 09:29 AM

#3
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 09:35 AM
แต่เป็นธรรมเนียมปฎิบัติมานานแล้ว น้ำมะพร้าวถือว่าเป็นน้ำสะอาด เพราะอยู่ในกะลาที่ไม่เคยโดนสิ่งภายนอก
แต่จะเปลี่ยนจากน้ำมะพร้าวมาเป็นน้ำอัดลมแทนนี่ ญาติๆผู้วายชนม์เขาไม่น่าจะโอเคนะ มันแปลกๆออก
- งานศพที่มีมหรสพก็เอิกเกริกเกินไป หาเรื่องอยากบันเทิง ก็ไม่น่าจะเหมาะสม ผู้ตายก็ไม่ได้อยากดูมหรสพหรอก อยากฟังพระเทศน์ พระสวดมากกว่าเพราะได้บุญ
- ดูหนังละครน่ะไม่ได้บุญ ตายแล้วไม่มีอารมณ์มาดูหนังกันหรอก
- หรือบางคนก็หาเรื่องจะกินเหล้ามากกว่า แต่ถ้าเจ้าภาพงานศพไปจะจัดเหล้าให้คนกินก็ได้บาป
- งานศพควรเป็นวาระที่คนทั้งหลาย โดยเฉพาะญาติพี่น้องคนรู้จักมาปลงว่า คนเรามีเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ตายกันทุกคน จะได้ไม่ยึดติดกับเรื่องทางโลกมากนัก ให้ฝึกปล่อยวาง ให้ใจสงบ ระลึกว่าไม่รู้ตายเมื่อไหร่ ควรรีบทำบุญไว้จะดีกว่า ก่อนจะหมดโอกาสในชาตินี้
- กรณีที่เผาศพแล้วเอาไปลอยอังคาร ลอยน้ำ กับการเก็บไว้ที่บ้าน ก็ไม่เป็นไร เพราะคนตายแล้วก็สละร่างแล้ว ใช้ร่างนี้ไม่ได้แล้ว ก็จะเอาไปลอยน้ำทั้งหมดก็ได้ จะเก็บไว้ทั้งหมดก็ได้ จะไม่เก็บก็ได้ เอาตามความเห็นของลูกๆ หลานๆ
- แต่ถ้าจะเก็บ แล้วเก็บไว้อย่างไม่เคารพ ก็ไม่สมควร เพราะเด็กๆ ก็เห็นๆว่า พ่อแม่ตนทำกับปู่ย่าตายายอย่างไม่เคารพ แล้วพอเด็กโตขึ้นเขาก็ทำอย่างที่เคยเห็นนั่นแหละ
#4
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 10:35 AM

ล้างหน้าศพ
ก่อนล้างต้องพลิกศพ เอาผ้าห่อศพออก เพื่อไฟจะได้ไหม้เร็ว แล้วทุบเอาน้ำมะพร้าวและน้ำอบ น้ำหอมล้างหน้าศพ
ทางคดีโลก ถือว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่ใสสะอาดการล้างก็เพื่อให้ศพสะอาด ปราศจากมลทิน
ทางคดีธรรม ถือว่าสอนคนเป็นให้เอาน้ำคือ สุจริตธรรมชำระล้างใจให้สะอาด โยนผ้าข้ามโลง เมื่อล้างศพแล้วโยนผ้าข้ามโลง 3 ครั้ง แล้วเอาผ้านั้นไปให้พระนั่งสวดมาติกา เสร็จแล้วจะเก็บไปหรือถวายพระก็ได้ ตามตู้หนังสือใบลาน ผ้าห่อหนังสือโดยมากเป็นผ้าวาหรือผ้าซิ่น เพราะคนโบราณชอบถวายผ้าให้เป็นสงฆ์ ถือว่าเป็นการทำบุญให้ผู้ตายอีกโสดหนึ่ง
**ถ้าใช้แป๊บซี่ ชาเขียว อันนี้ สงสัยต้องเป็นความชอบตอนขณะมีชีวิตอยู่ค่ะคุณสาคร**
แถวบ้านบุญโตมีคนเชื่อยิ่งกว่านั้นอีกค่ะ ลูกเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วยังปัสสวะรดที่นอน เวลามีงานศพ ให้ขอน้ำมะพร้าวที่เหลือจากล้างหน้าศพ มาให้ลูกดื่ม บอกว่าดื่มแล้วจะไม่ปัสสวะรดที่นอนอีก ใครเคยได้ยินบ้าง?????
.........................................................................................
มะพร้าวเป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย นับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
คติความเชื่อ...เชื่อกันว่า หญิงมีครรภ์ดิ่มน้ำมะพร้าวอ่อนจะทำให้ทารกในครรภ์แข็งแรง พิธีปลงผมไฟ โกนจุก ทำขวัญนาค ยกเสาเอก ไหว้ครู พิธีบวงสรวง เช่น ไหว้สิ่งศักสิทธิ์ต่าง ๆ ขันหมาก เทศน์มหาชาติ ล้วนแต่มีผลมะพร้าวเข้ามาเกี่ยวข้อง ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนช่วยเมล็ดกล้วยไม้เจริญงอกงามดี สัปเหร่อจะต่อยผลมะพร้าวห้าว (ผลแก่) ล้างหน้าศพ เชื่อว่าเป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ เนื้อมะพร้าวที่ต่อยเอาน้ำล้างหน้าศพแล้ว หากมีเด็กหรือบุคคลใดที่เวลานอนหลับแล้ว กัดฟันเสียงดังกรอด ๆ โบราณถือว่าผู้นั้นกินกระดูกพ่อกระดูกแม่ หากได้เขี้ยวมะพร้าวที่ต่อยล้างหน้าศพแล้ว จะหายจากการนอนกัดฟันได้
........................................................................................
การเผาศพ
เกี่ยวกับการตายนี้ คนโบราณมีข้อห้ามไว้หยุมหยิม จุดประสงค์ของผู้ห้ามก็เพื่อต้องการให้เกิดความสวัสดิมงคล ผู้อยู่ก็ให้สบาย ผู้ตายให้มีสุข ข้อที่คนโบราณห้ามไว้ มีดังนี้
อายุไม่ถึง 10 ปี ตายแล้วห้ามไม่ให้เผา ถ้าเผาจะเกิดความฉิบหายแก่ พ่อแม่ พี่น้อง วงศาคณาญาติ และทรัพย์สินเงินทอง
ตายเพราะโรคลงท้อง (ท้องร่วง) ห้ามไม่ให้เผา
ตกน้ำตาย ตกเรือนตาย ห้ามไม่ให้เผา
ฟกบวมตาย ห้ามไม่ให้เผา
ตายเพราะช้างม้าเหยียบ เสือกัด งูกัด ควายขวิด ตกต้นไม้ตายผีกินเหล่านี้ ห้ามไม่ให้เผา
ตายเพราะมีด หอก ดาบ หลาว แหลม เหล่านี้ ห้ามไม่ให้เผา
ตายเพราะสู้รบกันด้วย หลาว แหลม เหล็ก และโรคลงแดงห้ามไม่ให้เผา ถ้าเผาจักเกิดอันตรายแก่เจ้าบ้าน และพ่อแม่พี่น้อง ถ้าจะเผาให้นำไปเผาที่อื่น ห้ามเผาร่วมป่าช้า ถ้าเผาร่วมป่าช้าจักเข็ดขวางแก่ไพร่เมือง ผู้ตายเช่นนี้ ห้ามมิให้นับถือเป็นด้ำ (ผีเรือนหรือของฮักษา) ถ้านับถือเวลาทำผิดเขาจะมาถามกินวัว ควาย หมู เห็ด เป็ด ไก่ กับเราทุกวัน ถ้าเรายอมให้ก็เสียของ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นปอบเป้าโพงผีมากินเรา
เวลาหามผีลงเรือน ให้หว่านขี้เถ้ารอบเรือน เมื่อผีถึงป่าช้าแล้ว คนที่อยู่บ้านให้เอาเสื้อผ้าพี่น้องผีไปซ่อนไว้เวลากลับจากเผาห้ามเหลียวหลัง มาถึงแล้วให้แสดงอาการกลัวผี ผู้อยู่บ้านให้ปิดประตูเรือน ให้ผู้มาจากเผาผีอาบน้ำให้สะอาดทุกคน แล้วจึงเปิดประตูให้ขึ้นไปบนเรือนผู้หลัก ผู้ใหญ่จึงให้ศีลให้พร ถ้าทำได้ดังกล่าวมาจะปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อยู่เย็นเป็นสุข
เป็นกำเลิดตาย หรือคนป่วยไม่หาย ต้องการจะย้ายไปรักษาในที่อื่น ให้นิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดให้แล้วจึงให้เข้าในเรือน ถ้าตายให้เอาไปที่อื่น ถ้าเผาร่วมป่าช้าจะเข็ดขวางไพร่เมือง
ไม้ล้อเกวียนและตีนเกวียนที่หักแล้ว ห้ามไม่ให้เอาไปรองตีนบันได
ห้ามปลุกผีนั่ง ถ้าทำจักเกิดอันตรายแก่พ่อเรือน แม่เรือน ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ข้าวของเงินทอง (จากหนังสือธรรมสอนโลก)
หมายเหตุ
การฝังศพเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาตลอด เพราะเกจิอาจารย์บางคนว่าควร บางคนว่าไม่ควร โดยอ้างตำรานี่ ตำราที่ห้ามก็ห้ามเพียงว่า คะลำบ้าง จะเป็นอันตรายบ้าง จะพินาศฉิบหายถึงขายตัวบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะแก้ไขอย่างไร
สมมุติว่าห้ามไม่ให้เผา แต่เราจำเป็นต้องเผา เราจะทำอย่างไร? โบราณแนะวิธีทำไว้ดังนี้
- ในที่ที่ซึ่งไม่มีพระสงฆ์เป็นประธาน ถ้าเราจะเผา เราก็จัดการบวงสรวงศพ บอกให้ศพทราบความจำเป็นและร้องขอศพอย่าไปเบียดเบียน
- ในที่ซึ่งมีพระสงฆ์เป็นประธาน ท่านจะสั่งให้เผาก็จัดการไปตามท่าน ถ้าเราทำตามนี้ เรื่องที่ร้ายก็กลายเป็นดีแล
#5
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 12:34 PM
#6
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 12:39 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#7
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 12:46 PM
จากเคส ผมทำกรรมเบียดเบียนสัตว์มามากเสียด้วยสิ
#8
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 01:19 PM


...................................................................................
เอากระดูกไปลอยน้ำที่คุณสาครกล่าวถึงหมายถึง ลอยอังคารหรือปล่าวค่ะ (บุญโตไม่เคยไปร่วมสักที ไม่รู้พิธีกรรมจะเหมือนที่หาเจอในเว็บมาหรือปล่าวนะคะ)
พิธีลอยอังคาร
ความเป็นมา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นลอยอังคารมาในสมัยใด เป็นแต่เพียงสันนิษฐานว่า พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ความมุ่งหมาย ถือคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แม้เกิดในภพใด ๆ ขอให้อยู่เป็นสุข เหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น
เครื่องใช้ในพิธี
สำหรับบูชาแม่ย่านางเรือ
- ดอกไม้สด ๑ กำ หรือพวงมาลัย ๑ พวง
- ธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม
- พานเล็ก ๑ ใบ (ใส่ดอกไม้ - ธูป - เทียน ขณะบูชาแม่ย่านางเรือ)
- เชือก ๑ เส้น (สำหรับมัดธูป - ดอกไม้ ที่เสาหัวเรือ) สำหรับบูชาเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดร
- กระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ กระทง
- ธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม
- พานโตก (ขนาดกลาง) วางกระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ ใบ สำหรับไหว้อังคารบนเรือ
- ลุ้งใส่อังคาร และผ้าขาวสำหรับห่อลุ้ง
- พวงมาลัย ๑ พวง
- ดอกมะลิ - กลีบกุหลาบ หรือดอกไม้อื่น ๆ (สำหรับผู้ร่วมพิธีโรยบนอังคาร)
- น้ำอบไทย ๑ ขวด
- ดอกกุหลาบเท่าจำนวนผู้ร่วมพิธี
- ธูปเทียนเครื่องทองน้อย ๑ ชุด (หรือธูป ๑ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๑ เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน ๑ ชุด)
- สายสิญจน์ ๑ ม้วน
- พานโตกขนาดกลาง (รองลุ้งอังคาร) ๑ ใบ
- พานก้นลึกขนาดเล็ก (ใส่ดอกไม้ต่าง ๆ) ๑ ใบ
- พานก้นตื้น (ใส่เงินเหรียญ) ๑ ใบ
ลำดับพิธี
การบูชาแม่ย่านางเรือ
- คณะญาติมิตรนำอังคารไปสู่ท่าเทียบเรือ
- พิธีกรนำประธานในพิธี (ญาติอาวุโส) ลงเรือก่อน นอกนั้นรอบนท่าเทียบเรือ
- ประธาน นำดอกไม้ ธูปเทียน (ใส่รวมในพาน จุดบูชาแม่ย่านางที่หัวเรือ)
- กล่าวบูชาและขออนุญาตแม่ย่านางเรือ โดยประธานกล่าวเองหรือพิธีกรกล่าวนำ
คำกล่าวบูชาขออนุญาตแม่ย่านางเรือ
นะมัตถุ / นวานิวาสินิยา / เทวะตายะ / อิมินา สักกาเรนะ / นาวานิวาสินิง / ทวะตัง/ ปูเชมิ.
ข้าพเจ้า / ขอน้อมไหว้บูชา / แม่ย่านางเรือ / ผู้คุ้มครองรักษาเรือลำนี้/ด้วยเครื่องสักการะ เหล่านี้
ด้วยข้าพเจ้า / พร้อมด้วยญาติมิตร / ขออนุญาตนำอัฐิและอังคารของ.......... / ลงเรือลำนี้ / ไปลอยในทะเล / ให้ข้าพเจ้าและ
ญาติมิตร / กระทำพิธีลอยอัฐิและอังคารลงเรือได้ / และได้โปรดคุ้มครองรักษา / ให้ข้าพเจ้าและญาติมิตร / กระทำพิธีลอยอัฐิ
และอังคาร / ด้วยความสะดวกและปลอดภัย / โดยประการทั้งปวงเทอญ
- คณะญาติมิตรนำอังคารลงเรือ
- ออกเรือไปยังจุดที่จะลอยอังคาร
ไหว้อังคารบนเรือก่อนทำพิธีลอยลงน้ำ
- เมื่อเรือแล่นถึงจุดหมายแล้วให้หยุดเรือลอยลำ
- พิธีกรเปิดลุ้งอังคารจัดเครื่องไหว้อังคารให้ประธาน
- ประธานจุดธูปเทียนไหว้อังคาร สรงด้วยน้ำอบไทย โรยดอกมะลิ กลีบกุหลาบ ดอกไม้อื่น ๆ
- เมื่อทุกคนไหว้อังคารเสร็จแล้ว พิธีกรห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาว ยาว - กว้าง ๑/๒ เมตร
รวบมัดด้วยสายสิญจน์ทำเป็นจุกข้างบนแล้วสอดสวมพวงมาลัย
- พิธีกรแจกดอกกุหลาบให้คณะญาติมิตร คนละ ๑ ดอก
การบูชาเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดร
- พิธีกรจัดเครื่องบูชาเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดร ให้ประธาน
- ประธานจุดเทียน ๑ เล่ม และธูป ๗ ดอก ที่กระทงดอกไม้ ๗ สี
- กล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดรโดยประธานกล่าวเอง หรือพิธีกรกล่าวนำ
คำกล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดร
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
นะมัตถุ / อิมิสสัง / มะหานะทิยา / อะธิวัตถานัง / สุรักขันตานัง / สัพพะเทวานัง / อิมินา สักกาเรนะ / สัพพะเทเว / ปูเชมะ.
ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมไหว้บูชา / เจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / และเทพยดาทั้งหลาย / ผู้สถิตคุ้มครองรักษาอยู่ / ในทะเลนี้ / ด้วยเครื่องสักการะนี้
ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลาย / ได้ประกอบกุศลกิจ / อุทิศส่วนบุญ / แก่........................../ ผู้วายชนม์ / และบัดนี้ / จักได้ประกอบพิธี / ลอยอัฐิและอังคาร / ของ................................พร้อมกับขอฝากไว้ / ในอภิบาล / ของเจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / เจ้าแม่แห่งทะเล / และเหล่าทวยเทพทั้งปวง
ขอเจ้าแม่นที / ท้าวสีทันดร / แม่ย่านางเรือ / และเทพยดาทั้งหลาย / ได้โปรดอนุโมทนา / ดลบันดาล / ให้ดวงวิญญาณ / ของ....................... / จงเข้าถึงสุคติ / ในสัมปรายภพ / ประสบสุข / ในทิพยวิมาน / ชั่วนิรันดร์กาลเทอญ.
วิธีลอย
- เมื่อกล่าวบูชา / กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที - ท้าวสีทันดร เสร็จแล้วพิธีกรเชิญทุกคนยืนขึ้น ไว้อาลัยประมาณ ๑ นาที
- ประธานโยนเงินเหรียญ (ตามสมควร) ลงทะเล เพื่อซื้อที่ตามธรรมเนียม แล้วลงบันไดเรือ ทางกาบซ้าย ลอยกระทงดอกไม้ ๗ สี โดยใช้มือประคอง ค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ ต่อจากนั้นอุ้มประคองลุ้งอังคาร ค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยให้ผู้ร่วมพิธีทุกคนถือสายสิญจน์ด้วย
- หากกาบเรือสูงจากผิวน้ำมากเกินไป และไม่มีบันไดลงเรือ ให้ใช้สายสิญจน์ทำเป็นสาแหรก ๔ สาย จำนวนสาแหรก คือใส่กระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ สาแหรก และใส่ห่อลุ้งอังคาร ๑ สาแหรก หย่อนลงไป (ห้ามโยนลง)
- เมื่อห่อลุ้งอังคารลงสู่ผิวน้ำแล้ว ให้โรยดอกกุหลาบ ธูปเทียน ตามลงไป และสิ่งของสำหรับไหว้บูชาที่เหลือ ทั้งหมดก็ให้โรยตามลงไปด้วย
- เรือวนซ้าย ๓ รอบ
- เสร็จพิธี
#9
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 01:29 PM
ยินดีต้อนรับกลับสู่เว็บบอร์ด DMC ด้วยคน
เจ็บป่วยขอให้หายไวๆนะคะ
ส่วนคำถามก็อ่านที่คนอื่นช่วยกันตอบนะคะ
แวะมาทักทายน่ะค่ะ
เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน
#10
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 02:17 PM
คุณสาคร ควรไปหาหมอเสียแต่เนิ่นๆ นะคะ ไม่ควรทิ้งไว้
เพราะโครงสร้างร่างกายมนุษย์ที่ไม่สมดุล คือผิดปกติ ปล่อยนานๆไปก็จะเป็นหนักขึ้นๆ มีผลต่อร่างกายส่วนต่างๆ มากขึ้น และจะรักษาได้ยากขึ้นค่ะ
#11
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 03:22 PM
ที่ทำให้ ที่นี่ DMC.tv Webboard เป็น One-Stop Shopping เอ้ย One-Stop Webboard
ใครอยากรู้อะไรก็จะได้คำตอบทั้งนั้นเลยค่ะที่นี่
แมรี่แค่อ่านชื่อกระทู้นี้แล้วอึ้งเลยว่าถามแบบนี้จะตอบกันได้ไหมนี่ แต่ก็ไม่เกินวิชชาของพวกเราจริงๆ
ได้ความรู้ดีค่ะ และขอให้ทุกท่านที่ร่วมแจมกันได้ปัญญาบารมีไปทุกคนนะคะ
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#12
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 03:36 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#13
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 03:56 PM
อนุโมทนาบุญกับห้องสมุดประจำเวปบอร์ด คุณบุญโต ด้วยนะคะ

#14
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 04:37 PM
#15
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 08:22 PM
#16
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 09:19 PM
#17
โพสต์เมื่อ 12 September 2006 - 10:08 PM
#18
โพสต์เมื่อ 13 September 2006 - 05:10 PM
