
มาขอความรู้เรื่อง พรหมโลกค่ะ อยากรู้
#1
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:02 PM
#2
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:03 PM
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:09 PM
#4
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:18 PM
ว่าเป็นอย่างไร ทำบุญอะไรถึงจะได้ไป น่ะค่ะ
เเล้วท่านนั่งสมาธิกันตลอดเลยหรือ ไม่คุยกันเลยหรือคะ
#5
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:40 PM
เมตตา ปรารถนาให้ทุกข์ชีวิตมีความสุข แม้เขาจะทำร้ายเราก็ตาม
กรุณา ปรารถนาให้ทุกข์ชีวิตพ้นจากความทุกข์
มุทิตา ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี โดยไม่อิจฉาริษยาแม้แต่น้อย
อุเบกขา ปล่อยวางได้ ใจหนักแน่น เมื่อเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก
ผู้ที่มีคุณธรรมทั้ง 4 หนักแน่นเช่นนี้ได้ จะต้องฝึกสมาธิ จนจิตใจสงบนิ่ง มีอำนาจ มีกำลัง เกิดอำนาจ ฌานสมาธิ ที่เรียกว่า รูปฌาน ตายแล้วไปเกิดเป็นรูปพรหมน่ะครับ
ท่านนั่งสมาธิตลอดหรือเปล่า พูดคุยกันหรือเปล่า
คำตอบ พรหม ไม่ต้องทานอาหารทิพย์ครับ เป็นอยู่ได้ด้วยอำนาจปีติอันเกิดจากระดับสมาธิที่ตนเข้าถึง แต่มีการพูดคุยกันครับ ยกเว้นพรหมชั้นสูงๆ ขึ้นไป จนเข้าใกล้อรูปพรหม เช่น อสัญญีสัตตาพรหม หรือ พรหมลูกฟัก พรหมชนิดนี้อายุยืนมากหลายพันกัป จะนิ่งๆ ไม่พูดคุยเลย ส่วนใหญ่เกิดจากตอนเป็นมนุษย์ฝึกสมาธิแบบตัวแข็งน่ะครับ คือ ใจนิ่งตัดความรู้สึกรับรู้โลกภายนอกทั้งปวง จนตัวแข็งเหมือนรูปปั้น ใครจะจับไปวางยังไงก็ได้ ยกแขนหุ่น เอ้ย ผู้ฝึก ขึ้นลงยังไงก็ได้ เจ้าตัวจะไม่รู้สึกเลย (เคยมีเคส Study ที่เพื่อนเจ้าของเคสท่านหนึ่งฝึกได้ระดับนี้) สมาธิแบบนี้ คุณครูไม่ใหญ่บอกว่า ถ้าตายไปท่าไหน เช่น ตายท่ายืน พอไปเกิดเป็นพรหมลูกฟัก ก็จะยืนนิ่งๆ เหมือนหุ่นอย่างนั้นจนหมดอายุ จิตไม่รับรู้ไม่พูดคุยกับใครน่ะครับ ถ้าตายท่านั่ง ก็จะนั่งนิ่งๆ อย่างนั้นจนหมดอายุเช่นกัน
อรูปพรหมก็เช่นกัน ตัดการรับรู้ทุกอย่างในโลกมนุษย์ ดังนั้น จึงไม่ได้มาชมการเปิดโลกของพระพุทธเจ้า ในวันเปิดโลก (แต่พรหมมาได้) และถือเป็นสัตว์มีบุญมากๆ แต่อาภัพอย่างหนึ่ง เพราะหมดโอกาสบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินั้น
ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ทรงคิดถึงอาจารย์ฤษี อาฬารดาบส กับอุทกดาบส ครั้นทรงตรวจดู พบว่า อาจารย์ไปเกิดเป็นอรูปพรหม ถึงกับทรงอุทานว่า "ฉิบหายใหญ่แล้ว" (หมดโอกาสฟังธรรมจนบรรลุมรรคผลนิพพาน) ทีเดียวน่ะครับ
#6
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:41 PM
ตามปกติหมายถึงรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น (เรียกว่า รูปโลก) ตามลำดับดังนี้
๑. พรหมปาริสัชชา
๒. พรหมปุโรหิตา
๓. มหาพรหมา
๔. ปริตตาภา
๕. อัปปมาณาภา
๖. อาภัสสรา
๗. ปริตตสุภา
๘. อัปปมาณสุภา
๙. สุภกิณหา
๑๐. อสัญญีสัตตา
๑๑. เวหัปผลา
๑๒. อวิหา
๑๓. อตัปปา
๑๔. สุทัสสา
๑๕. สุทัสสี
๑๖. อกนิฏฐา;
นอกจากนี้ยังมีอรูปพรหม ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ชั้น (เรียกว่า อรูปโลก) คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ
๒. วิญญาณัญจายตนะ
๓. อากิญจัญญายตนะ
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
การเข้าสู่พรหม การเจริญ พหรมวิหาร 4 ครับ
#7
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:45 PM
นอกเหนือจากทาน ศีลแล้ว ที่สำคัญคือ ถ้าปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา จนได้ฌานที่มั่นคง ก็คงมีสิทธิได้ไปนะครับ
#8
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:49 PM
#9
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:51 PM
#10
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 04:59 PM
ส่วนพรหมวิหาร ก็ต้องเป็นพรหมวิหารระดับ พรหมวิหารที่เป็นกรรมฐานครับ แค่คำแผ่เมตตา ....ยังไม่พอ
ขอให้เข้าใจว่า เวลาเราพูดว่าเจริญเมตตา ..คำนี้จะมาจากคำว่า "เมตตาภาวนา" ครับ
เมตตา กรุณา มุทิตา เจริญได้จนถึง ฌานที่สาม
อุเบกขา เจริญได้จนถึงฌานที่สี่
เพราะพรหมวิหาร จัดอยู่ในกรรมฐาน 40 ครับ
#11
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 07:58 PM
สาธุมากๆค่ะ สาธุๆๆๆ
#12
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 08:14 PM
รูปาวจรภูมิ ๑๖
(ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
ก. ปฐมฌานภูมิ ๓
(ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
๑) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas ’ attendants)
๒) พรหมปุโรหิตา
(พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
๓) มหาพรหม
(พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)
ข. ทุติยฌานภูมิ ๓
(ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
๔) ปริตตาภา
(พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
๕) อัปปมาณาภา
(พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
๖) อาภัสสรา
(พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)
ค. ตติยฌานภูมิ ๓
(ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
๗) ปริตตสุภา
(พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
๘) อัปปมาณสุภา
(พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
๙) สุภกิณหา
(พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)
ง. จตุตถฌานภูมิ ๓—๗
(ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
๑๐) เวหัปผลา
(พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
๑๑) อสัญญีสัตว์
(พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)
(*) สุทธาวาส ๕ (
พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes)
คือ
๑๒) อวิหา
(เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน
— realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
๑๓) อตัปปา
(เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร
— realm of Brahmas who are serene)
๑๔) สุทัสสา
(เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา
— realm of Brahmas who are beautiful)
๑๕) สุทัสสี
(เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด
— realm of Brahmas who are clear-sighted)
๑๖) อกนิฏฐา
(เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด
— realm of the highest or supreme Brahmas)
อรูปาวจรภูมิ ๔
(ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
๑) อากาสานัญจายตนภูมิ (
ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
๒) วิญญาณัญจายตนภูมิ
(ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
๓) อากิญจัญญายตนภูมิ
(ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of mothingness)
๔) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
(ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
— realm of neither perception nor non-perception)
ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ;
พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ;
ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น แสดง คติ
(ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence)
ว่ามี ๕ คือ
นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ
(พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ ๒๖
ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด)
จะเห็นว่าภูมิ ๓๑ สงเคราะห์ลงได้ในคติ ๕ ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย
อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ
ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย
จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ ๕ นั้น ๓
คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses)
๒ คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
Comp.137. สังคห.๒๕
ไฟล์แนบ
#13
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 08:26 PM
#14
โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 08:39 PM
#15
โพสต์เมื่อ 27 October 2006 - 07:22 PM
---------
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#16
โพสต์เมื่อ 28 October 2006 - 07:21 AM
รวมทั้งเวลาจะตาย ก้อต้องเข้าฌาณตายครับ ถ้าใจไม่เป็นฌาณเวลาจะตายก้อจะต้องเป็นเทวดาในชั้นกามาวจรแทน
และพรหมก้อค่อนข้างที่จะเบาบางทางด้านกามคุณ เพราะว่าพรหม นั้นไม่มีเพศ ชายหรือหญิง
ถ้าผิดพลาด ไม่ถูกต้องก้อขอขมากับทุกท่าน และพระรัตนตรัยด้วยนะคับ
#17
โพสต์เมื่อ 28 October 2006 - 09:54 AM
สาธุ สาธุ สาธุ
#18
โพสต์เมื่อ 28 October 2006 - 06:21 PM
-------------------------------
ภูเขาศิลาล้วนย่อมตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวเพราะแรงลมฉันใด
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#19
โพสต์เมื่อ 29 October 2006 - 12:15 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#20
โพสต์เมื่อ 30 October 2006 - 06:44 AM
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ
