ศรัทธากับปัญญา
#1
โพสต์เมื่อ 17 May 2006 - 08:02 PM
แต่เพราะความศรัทธานี่จึงกลายเป็นงมงายหรือ ความหลงโมหะได้
แต่ลองพิจารณาดู สาวกบางองค์ แค่เห็นพระบรมศาสดาก็เกิดศรัทธาเสียก่อนแล้ว
จากนั้นจึงศึกษาธรรมะและเกิดปัญญาตามมา ผลสุดท้ายได้บรรลุธรรม เช่น ปัจจะวัคคีย์เห็นพุทธองค์ทรมานตน
ตั้งใจบำเพ็ญเพียร และก็เพราะศรัทธานี่แหละ พระสงฆ์บางองค์จึงหลงทางเพราะเห็นเทวฑัตเคร่งกว่า
ถ้าหากปัญญาเกิดก่อนบางทีศรัทธาอาจจะไม่เกิดตามก็ได้ ผลคือเสีย
โอกาศในการบรรลุธรรม เพราะเกิดการลังเลสงสัยทำให้ ความสำเร็จไม่เกิดตามมา
เช่นถ้าเราศึกษาพระไตรปิฏกมัวแต่สงสัยอยู่นั่นเอง
พระที่เชื่อตามครูบาอาจาร์ยสามารถบรรลุมรรคผลเร็วกว่าพระที่ชอบศึกษาค้นคว้า
ฉะนั้นเราควรจะศรัทธาหรือใช้ปัญญาก่อนดี ก่อนลงมือปฏิบัติแบบถูกทาง
#2
โพสต์เมื่อ 17 May 2006 - 08:24 PM
#3
โพสต์เมื่อ 17 May 2006 - 08:51 PM
ทรงหาทางพ้นทุกข์โดยใช้ทุกขกริยา และตั้งใจบำเพ็ญเพียร แต่เมื่อพระศาสดาเลิกบำเพ็ญ
ทุกขกริยามาใช้ทางสายกลาง ปัจจะวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็เลิกปรนนิบัติ เพราะเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
สุดท้ายเพราะความเลื่อมใสศรัทธา พระบรมศาสดาจึงตามมาโปรดจนบรรลุอรหันต์ผลทั้ง ๕
จะเห็นได้ว่า ปัญญาของปัจจวัคคีย์ทั้ง ๕ ยังไม่สมบูรณ์จึงอาจจะเห็นผิดเป็นถูกไปได้
ดังนั้นการใช้ปัญญาที่ยังไม่ใช่ปัญญาที่เกิดจากฌาณ จึงยังไม่ควรใช้เพราะอาจจะหลง
ทางได้ แต่หากพยายามทำใจให้เลื่อมใสศรัทธาและลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้วย่อมจะเห็น
เองว่าทางที่ถูกนั้นเป็นอย่างไร เพราะความศรัทธานี้ที่แท้จริงเป็นสิ่งที่ดี ศรัทธานี้คือศรัทธา
ในทางกุศลว่าเป็นทางพ้นทุกข์
#4
โพสต์เมื่อ 17 May 2006 - 09:09 PM
ครับ ผมก็ยังไม่แน่ใจครับว่าปัญญากับศรัทธาอันไหนควรเกิดก่อน
#5
โพสต์เมื่อ 17 May 2006 - 09:40 PM
ถ้าเขียนเป้นสมการทางคณิตศาสตร์ประมารว่า
ศรัทธา = X
ปัญญา = y
ถ้า ตัวแปร X และ Y ปฎิสัมพันธ์กันแบบใดก็แล้วแต่ออกมาเป็นบุญกุศลแล้วไม่เป็นพิษภัยกับใครก็ได้บุญครับ..
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#6
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 03:29 AM
โมทนาสาธุการด้วยครับสาธุ เห็นด้วยเลยครับ
***********************************************************
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
ที่มา : http://84000.org/tip...9&A=5056&Z=5063
การเจริญอินทรีย์ ๕ ก็อุปมาเหมือนการมีร่างกายที่สมประกอบนั่นเองครับจะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดเสียไม่ได้
ศรัทธา คือ ความมั่นใจ เชื่อใจ ไม่โลเล ไม่หวั่นไหว
วิริยะ คือ มีพละกำลังทำงานอย่างไม่ย่อท้อ รวมถึงพลังใจด้วย
สติ คือ ความจำ ไม่หลงลืม นึกได้ระลึกได้ หมั่นพิจารณาทบทวน
สมาธิ คือ การจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่วอกแวก
ปัญญา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวงที่อวิชชาปิดบังไว้อยู่ เช่น ความรู้แจ้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ความรู้แจ้งในมูลเหตุต่างๆ ที่มาของอวิชชา ที่มาของภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ
มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
****************************************************************************************
การเจริญสมาธิภาวนานั้นครูใหญ่เราก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอรหันต์โดยชอบ ท่านได้วางแบบแผน
ธรรมะปฏิบัติวางไว้ให้สาวกของท่านแล้วครับ สมมุติสงฆ์เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดคำสอนถ้าเราปรารถนาจะเข้าถึง
คำสอนหลักๆ ของพระพุทธองค์เราก็ต้องปล่อยวางความเชื่อทุกชนิดที่ยึดติดในตัวบุคคลเราเขา อาจารย์เรา
อาจารย์เขา โดยยึดธรรมะของพระพุทธองค์เป็นที่ตั้งครับ
อินทรีย์จะแก่กล้าได้นั้นจะมีเพียงปัญญา และศรัทธาไม่พอครับ ต้องครบองค์ 5 เพราะถ้าขาดวิริยะ สติ สมาธิ การบรรลุธรรมแม้เพียง
ปฐมฌานก็ไม่มีผลเช่นกันครับ
(ศรัทธา)คือจุดเริ่มต้นเพื่อก้าวไปสู่การแสวงหา(วิริยะ)ยิ่งต้องพิจารณาระลึกและทบทวนมาก(สติ)ย่อมต้องเพ่งความสนใจ
จดจ่อในสิ่งที่ค้นคว้า(สมาธิ) เพื่อเข้าถึงความรู้แจ้งเห็นจริงในที่สุด(ปัญญา)
#7
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 05:25 AM
จดจ่อในสิ่งที่ค้นคว้า(สมาธิ) เพื่อเข้าถึงความรู้แจ้งเห็นจริงในที่สุด(ปัญญา)
ใช่แล้วครับ คุณ XLmen ความเห็นนี้ย่อมแสดงว่าศรัทธานั้นนำมาให้เกิดปัญญาได้ ดังนั้นจะเห็นกระบวนการว่ามีศรัทธาเกิดก่อน
แล้วจึงผ่านขั้นตอนไปถึงปัญญา ซึ่งบางทีอาจจะเห็นว่าเกิดพร้อมกันแต่ว่ามันเกิดต่างเวลากันชั่วขณะจิต
ความหมายของคำว่าศรัทธานั้น เป็นฝ่ายกุศล คือแสวงหาบุญ กุศลธรรม และทางพ้นทุกข์
การไปกราบไหว้ ต้นตะเคียนพันปี ต้นมะพร้าวสี่ยอด จิ้งจกสองหัวอะไรนั่น ไม่ใช่ศรัทธา นะครับ เพราะเป็น
ลักษณะของพวกราคะจริต คือ พวกชอบแสวงหาเหมือนกันแต่แสวงหาในกามคุณ ( อ้างจากจริต ๖ )
โดยทั่วไปมนุษย์มีจริตต่าง ๆ กัน ๖ ประเภท ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต และ พุทธิจริต
ปัจจุบันนี้ ลักษณะพุทธิจริตมีน้อยเพราะมีกิเลสกล้า จึงไม่สามารถใช้ปัญญาได้ดี บางครั้งเป็นพวกราคะจริตปัญญาพวกนี้
จึงหนักไปทางแสวงหากามคุณก่อนนำมาใช้ไม่ได้
#8
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 09:27 AM
ศรัทธานำหน้าเป็นหลักเลยนั้น ในความเห็นผม จะได้ดีต่อมาได้ครูบาอาจารย์ที่ดี มีคุณธรรม และสอนตรงต่อพระรัตนตรัยน่ะครับ เมื่อได้ครูบาอาจารย์เช่นนี้ ท่านย่อมถ่ายทอดแต่สิ่งดีๆ และทำให้คนมีศรัทธา ไปต่อได้ง่าย เพราะนิสัยศรัทธา จะเชื่อในคำพูดครูอยู่แล้ว
แต่ถ้าไปพบครูที่ไม่ดี การมีศรัทธานำหน้า ก็จะทำให้เกิดผลร้ายกับตนเองได้น่ะครับ ดังเช่น เรื่องราวของพระเจ้าอชาติศตรู ที่มีบุญขนาดจะได้เป็นพระโสดาบันโดยการฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้าแม้เพียงครั้งเดียวเชียวนะครับ
แต่ไปได้ครูที่ไม่ดีคือ พระเทวทัต ซึ่งแสดงฤทธ์ทางโลกีย์ จนทำให้พระเจ้าอชาติศตรู เกิดศรัทธา พอศรัทธาแล้ว ก็เชื่อพระเทวทัตทุกอย่าง พระ เทวทัตสั่งให้ยึดราชสมบัติจากพ่อก็ยึด ต่อมาพ่อจับได้ จึงมอบราชสมบัติให้ พระเทวทัตก็ยุอีกว่า อย่าวางใจ เดี๋ยวพ่อเปลี่ยนใจได้ ให้จับพ่อไปขัง พระเจ้าอชาติศัตรู ก็เชื่อ และทำตามนั้น สุดท้ายก็ให้พ่ออดข้าวอดน้ำ และทำให้พ่อตายในคุก
ด้วยวิบากกรรมนี้ ถึงกับทำลายอนาคตของพระเจ้าอชาติศัตรูให้ย่อยยับทีเดียว ต้องตกอเวจีมหานรก เพราะศรัทธาครูผิดคนในตอนแรก มาศรัทธาครูถูกคนในตอนหลัง คือ พระพุทธเจ้าก็สายไปเสียแล้ว
ดังนั้น การทำตนให้เป็นคนที่เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปนั้น สิ่งสำคัญเบื้องต้น ก็คือ ครูก่อนน่ะครับ ถ้าเราได้ครูดี เราจะใช้ศรัทธา หรือปัญญานำหน้า หรือพร้อมๆ กันก็ตาม ผมว่า เราเจริญขึ้นแน่ครับ
หลักธรรมแห่งความเจริญขึ้นอย่างเดียว โดยไม่เสื่อม พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า คุรุธรรม 4 คือ
1. แสวงหาครูดี ข้อนี้สำคัญที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นทีเดียว ถ้าครูไม่ดี นี่จบเลย ดังเช่น นอกจากเรื่องของพระเจ้าอชาติศัตรูแล้ว ก็มีอีกเรื่องหนึ่ง คือ พระอคุลีมาล ที่ได้ครูไม่ดีในตอนต้น แนะอุบายให้อคุลีมาลฆ่าคนพันคน ดีว่า ได้ครูดี คือ พระพุทธเจ้ามาช่วยได้ในตอนท้ายจึงรอดได้
2. ฟังคำครู แสวงได้มาแล้ว ก็ต้องฟังท่านนะครับ ถ้าไม่ฟังท่านก็ไร้ประโยชน์อันใด
3. ตรองตามคำครู แล้วก็นำมาคิดตาม ว่าดีอย่างไร ถ้าทำตามท่าน
4. ทำตามคำครู เมื่อตรองเรียบร้อยแล้ว ก็ปฏิบัติตามท่านเลย
ทำได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชีวิตจะมีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อมครับ (ไม่ว่าจะใช้ ศรัทธา หรือ ปัญญา นำหน้าก็ตาม : ท่อนนี้ผมเติมให้)
#9
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 10:03 AM
โอกาศในการบรรลุธรรม เพราะเกิดการลังเลสงสัยทำให้ ความสำเร็จไม่เกิดตามมา
เช่นถ้าเราศึกษาพระไตรปิฏกมัวแต่สงสัยอยู่นั่นเอง
พระที่เชื่อตามครูบาอาจาร์ยสามารถบรรลุมรรคผลเร็วกว่าพระที่ชอบศึกษาค้นคว้า
ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปหรอกครับ เพราะการใช้ปัญญาในการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาของผู้ที่ไปบังเกิดในสมัยพุทธกาลนั้น เป็นปัญญาของผู้ที่มีบารมีมากแบบจวนจะบรรลุธรรมแล้ว เหมือนคะแนนเต็ม ๑o เนี่ย ท่านได้ ๙.๕ อีก o.๕ รอให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นผู้เติมเต็มให้เท่านั้นเอง แล้วปัญญาของผู้ที่พร้อมจะถึงภูมิธรรมขั้นต้น อาทิ "โสดาปัตติผล" น่ะ เป็นปัญญาที่ไม่มีวิจิกิจฉามาเจือปนหรอกครับ เพราะถ้ามีกิเลสตัวนี้มาขวางเสียแล้วจะได้ชื่อว่า "เป็นผู้เข้าสู่กระแสแห่งธรรม" เหรอครับ แต่ถ้าเป็นปัญญาของปุถุชนเช่นเราท่านทั้งหลายนั้น ยังเป็นปัญญาที่ไม่สมบูรณ์ และสามารถทำให้เกิดผลเสียได้ดังที่พี่ว่ามานั่นแหละ แต่ใช่ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว พระพุทธองค์จะทรงตรัสสอนเรื่องกาลามสูตร ๑o ประการให้แก่พุทธสาวกของพระองค์ไปทำไมกัน และการที่พระองค์ทรงตรัสสอนก็ด้วยพุทธประสงค์เพื่อต้องการให้พุทธบริษัท ๔ ของพระองค์เชื่อ (ศรัทธา) โดยอาศัยหลักของเหตุและผลมิใช่หรือ?
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#10
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 10:50 AM
ส่วนปัญญาทางโลก ก็เช่น พระเทวทัต แม้พระพุทธเจ้ามาเทศน์จนบวชพระแล้ว ปัญญาทางธรรมก็ยังไม่แตกฉาน แต่ปัญญาทางโลกที่วางแผนคิดการใหญ่ของท่านนี่สิ สุดท้ายทำให้ท่านต้องชีช้ำ ด้วยปัญญา(ทางโลก) ของตัวเองแท้ๆ
#11
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 11:04 AM
ที่ว่า คุณ ขุนศึกผู้พิชิต ฯ ( เอ๊ะ เท่ห์ดีเหมือนกันครับ ) ชื่อใหม่ พูดถึงเรื่องกาลามสูตร ๑๐
ประการนั้น กำลังเป็นประเด็นที่ผมสงสัยอยู่เหมือนกัน
- อย่าปลงใจเชื่อ
- ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร
ข้อนี้จึงสงสัยนิดหนึ่งครับ คือการอย่าเชื่อคิดตรองตามแนวเหตุผล ๑
อย่าเชื่อตามความเข้ากันได้กับทฤษฏีของตน ๑ นั้น
นั้นคือการใช้ปัญญาของเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายจะมีลักษณะของปัญญา
เป็นเช่นนี้ คือตรองตามแนวเหตุผล และ ทฤษฏีที่ตั้งไว้ในใจตนเอง เท่านั้น
ถ้าเกินจากนี้น่าจะเป็น การใช้ปัญญาขั้นที่เข้าถึงฌาณหรือไม่
#12
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 11:37 AM
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร
ข้อนี้จึงสงสัยนิดหนึ่งครับ คือการอย่าเชื่อคิดตรองตามแนวเหตุผล ๑
อย่าเชื่อตามความเข้ากันได้กับทฤษฏีของตน ๑ นั้น
นั้นคือการใช้ปัญญาของเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายจะมีลักษณะของปัญญา
เป็นเช่นนี้ คือตรองตามแนวเหตุผล และ ทฤษฏีที่ตั้งไว้ในใจตนเอง เท่านั้น
ถ้าเกินจากนี้น่าจะเป็น การใช้ปัญญาขั้นที่เข้าถึงฌาณหรือไม่?

ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#13
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 11:54 AM
อุปมาเหมือน ชาวประมง ผู้ยืนอยู่ริมทะเล อยากจะรู้ว่า จากชาดหาดลงไปในทะเลลึกขนาดไหน เขาสามารถหาข้อมูลได้จากหลายวิธี เช่น ถามปู่ย่าตายาย หรือ มองไปที่ชาดหาด แล้วใช้ปัญญาของเขาขบคิดดูว่า มันน่าจะลึกขนาดไหน
การใช้ปัญญาขบคิด โดยไม่ทดลองเช่นนี้แหละครับ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสว่า อย่าเพิ่งไปเชื่อ ภาษาวิทยาศาสตร์ เรียกการใช้ปัญญาเช่นนี้ว่า การตั้งสมมุติฐานนั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์ จะยังไม่สรุปผลจากเพียงแค่สมมุติฐาน แต่จะลงมือทดลอง จนได้ผลการทดลอง แล้วจึงสรุปผลการทดลองว่า ตรงกับ สมมุติฐานหรือไม่น่ะครับ
ดังนั้นวิธีการหาความลึกจากชายหาด ลงไปในทะเล ที่พระพุทธเจ้า ทรงสรรเสริญคือ การใช้ปัญญาจากการทดลองจริงน่ะครับ เช่น หาไม้มาลองจุ่มไปแต่ละตำแหน่งดูว่าลึกเท่าไหร่ ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ ก็เปรียบได้กับดำเนินการทดลอง จนเกิดผลการทดลอง และเกิดปัญญารู้ได้จากสรุปผลการทดลองไงล่ะครับ
ทีนี้ ถ้าน้ำตื้น ใช้ไม้ธรรมดาๆ ก็วัดได้แล้ว เหมือนเรื่องง่ายๆ ใช้ปัญญาธรรมดาๆ ทดลอง (ไม่ใช่แค่คิดแต่ไม่ทดลอง) ก็รู้ได้แล้ว แต่เรื่องลึกซึ้ง ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ เปรียบเสมือนปัญญาทางธรรมนั่นเอง
#14
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 12:35 PM
ตอบแก้ได้ดีแล้ว
#15
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 01:52 PM
คุณหัดฝันจำมาผิดหรือป่าวครับ รบกวนอ้างอิงที่มาในพระไตรปิฏกหน่อยสิครับว่ามีตอนไหนที่ระบุว่าพระเจ้าอาชาตศัตรู
ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันหละครับ ที่ผมจำได้คือพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพ่อนะครับที่ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะปกติผู้ที่ได้เป็นโสดาบันบุคคลแล้วจะละสังโยชน์ 3 ได้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ปิดอบายทุคติแล้วนะครับ พระโสดาบันจะมีความเห็นที่ถูกต้องในพระรัตนตรัย หมดสงสัยในพระพุทธเจ้า ไม่ละเมิดสิกขาบทคือศีล รบกวนช่วยชี้แจงด้วยนะครับ
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#16
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 04:05 PM
คือ หลังจากที่พระเจ้าอชาติศัตรูฆ่าพ่อไปแล้ว พระองค์ก็ไม่สบายใจลึกๆ วันหนึ่ง พระองค์ก็ถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า ใจพระองค์ไม่สบายใจ ควรจะไปสนทนากับสมณพราหมณ์ท่านใดดี เหล่าอำมาตย์จึงแนะนำสมณพราหมณ์ ที่ตนนับถือให้ฟัง แต่พระเจ้าอชาติศัตรูไปคุยมาหมดแล้ว ไม่เห็นได้เรื่องเลย ทำนองนี้นะครับ แต่หมอชีวิก เท่านั้นที่ยังเงียบอยู่
พระเจ้าอชาติศัตรูจึงถามหมอชีวกว่า ท่านไม่แนะนำใครบ้างหรือ หมอชีวกจึงแนะนำ พระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาติศัตรูจึงให้หมอพาไป พอไปถึงวัด บรรยากาศเงียบมาก จนพระเจ้าอชาติศัตรูคิดว่า หมอลวงตนมาฆ่าทิ้ง (ธรรมดาของผู้ทำความผิดไว้ ย่อมระแวง) จึงหันไปถามหมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี่จริงๆ เหรอ หมอบอกว่า เข้าไปเถิด
แล้วเมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูมาพบพระพุทธเจ้า และเหล่าสาวกจำนวนมากอยู่ในวัดก็ประทับใจ เพราะอยู่กันมาก แต่ก็ยังเงียบ จากนั้น พระเจ้าอชาติศัตรูก็ถาม คุณของการบวช ว่ามีอะไรบ้าง พระพุทธเจ้า ตอบให้ฟัง พระเจ้าอชาติศัตรูฟังแล้ว ประทับใจ ประกาศตนขอมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต หลังจากนั้นก็กลับไป
แล้วพระพุทธเจ้า ก็พูดกับพระภิกษุสงฆ์ว่า ถ้าพระเจ้าอชาติศัตรูไม่ได้ฆ่าพ่อมาก่อนล่ะก็ เพียงแค่ฟังธรรมครั้งนี้ พระองค์จะบรรลุเป็นพระโสดาบันเลยทีเดียว แต่เพราะทำกรรมหนักมา จึงไม่อาจบรรลุธรรมน่ะครับ
คิดว่า link นี้พอใช้ได้นะครับ บอกมากกว่าผมอีกว่า จะได้ดวงตาเห็นธรรม ขจัดธุลีในใจทีเดียว
http://www.tv5.co.th...tripitok/s1.htm
เอ้านี่จากพระไตรปิฎกเลยล่ะครับ อย่างไรก็ตามผมก็กล่าวไม่ถูกต้องเหมือนกันว่า ท่านจะไปบรรลุเป็นพระโสดาบัน แต่ในความจริง ท่านจะมีธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลธินเลยทีเดียว (ซึ่งก็หมายถึง เป็นพระอรหันต์นั่นเอง)
http://84000.org/tip...919&pagebreak=0
#17
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 06:46 PM
"หากพระราชาพระองค์นี้ ไม่ประทุษร้ายพระราชบิดาผู้ดำรงธรรม จักษุอันปราศจากธุลี (ดวงตาเห็นธรรม) จักพึงบังเกิดมีแก่พระองค์ ณ ที่แห่งนี้ทีเดียว"
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#18
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 07:56 PM
สาธุๆ ค่ะ
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"

#19
โพสต์เมื่อ 18 May 2006 - 10:17 PM
2.ฟังคำครู.....
3 ตรองคำครู
4. ทำตามครู..
..................
แล้วจะรู้ว่าอะไรมาก่อน หลัง ด้วยตนเอง ครับ สาธุ...
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#20
โพสต์เมื่อ 21 May 2006 - 12:34 AM
ยกตัวอย่างเช่น คนสามารถ บินได้เหมือนนก ถ้าเชื่อมั่นอย่างนั้น ในระดับต้น ๆ ก็นึกถึง เครื่องร่อน เครื่องบิน ที่ทำให้ คนสามารถอยู่ในอากาศ ได้ ในระยะเวลา หนึ่ง อันนี้เป็นต้นเหตุในการพัฒนาเทคโนโลยี ถ้าถามว่าทำไมคนอยู่บน เครื่องร่อน และเครื่องบิน ทำไมถึงบินได้เหมือนนก พวกนึงก็บอกว่า ก็เห็นอยู่กับตา ว่า บินได้ แต่ถ้าคนที่มีปัญญา เข้าใจเหตุผลกลไกทางวิทยาศาสตร์ ก็จะมาอธิบายว่า ทำไมเครื่องบิน ถึงบินได้ เรื่องaerodynamics เป็นอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
ถามว่าคนที่เชื่อว่า คนขึ้นเครื่องบินแล้วบินได้เหมือนนก มีศรัทธาเรื่องนี้ไหม มี ถามว่ามีปัญญา จะอธิบายว่าทำไมถึงบินได้ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเข้าใจว่าทำไมบินได้หรือเปล่า
แต่คนที่เห็นอยู่ว่าคนขึ้นเครื่องบินแล้ว บินได้เหมือนนก แต่ไม่ยอมรับซิ ต้องขอตอบว่า คงเป็นพวกดื้อ ไม่มีศรัทธาในเรื่องนี้แล้วก็ไม่ยอมรับอีก
ในส่วนที่จะมีปัญญาเกิดก่อน ไม่มั่นใจ ศรัทธาย่อม นำไปสู่ปัญญาในที่สุดอยู่แล้ว ไม่น่าเป็นไปได้
พระที่เชื่อตามครูบาอาจารย์ ย่อมทำได้เหมือนสิ่งที่ครูบาอาจารย์ทำได้ การศึกษาค้นคว้าเองย่อมเสียเวลามากกว่าอยู่แล้ว เป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อถึงจุดนึง การศึกษาค้นคว้า ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพีอสอนคนรุ่นหลังสืบไป
เรื่อง ของพระเจ้าอชาติศัตรู มีบุญพอจะเป็น พระโสดาบัน นั้น เป็นจริงในสามัญผลสูตร พระพุทธเจ้าทรง พยากรณ์ไว้ว่า ถ้าหากไม่ได้ทำอนันตริยกรรม แล้ว จะได้เป็นพระโสดาบัน หลังจากฟัง พระธรรมเทศนานั้นเสร็จ
#21
โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 09:29 AM
...................................................................
....ด้วยความคิด ด้วยสมอง และด้วยปัญญาอันน้อยนิด
ผมนั่งคิด นั่งตรึกนั่งตรองมองดูสิ่งที่เป็นไป
แล้วก็ปล่อยวาง วางแล้วเบาใจ
ก็คิดนึกขึ้นมาตามคำสั่งคำสอนของคุณครูบาอาจารย์
ว่าสิ่งต่างๆในโลกนั้นล้วนมายา
มายาฉาบทาด้วยของเหล่าเหม็น
ปรุงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
ที่เผาผลาญตัวเองอยู่ทุกขณะจิต..
ชีวิตมักเต็มไปด้วยความทุกข์
หลวงปู่ชาบอกว่า ชีวิตมีแต่ความทุกข์
แต่ที่มันสุขที่จริง มันไม่สุขหรอกมันแค่ทุกข์บางลงไป
ในแต่ละวันเคยนั่งลองตามดูใจตัวเองมั้ยว่า
ทุกข์สักกี่ครั้ง
ถ้าดูดีๆแล้วบอกได้คำเดียวว่านับไม่ถ้วน..
ผมไม่เชื่อที่ใครบอกว่า
วันนี้มีความสุข ช่วงนี้มีความสุข ...
ผมว่ามันไม่ใช่ความสุขหรอกครับมันทุกข์ ...
แต่เป็นทุกข์แบบละเอียด
พอความทุกข์เกิดมันก็มีอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆนาๆ
มีทุกหนัก ทุกข์เบาบาง ทุกข์แบบละเอียด(หรือว่าที่ทั่วไปเรียกว่าสุข)
มันแปรเปลี่ยนน่ะครับ ตัวทุกข์ตัวนี้ มันไม่ได้ทุกข์หนักๆ ตลอดไป
มันมีอาการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว
แล้วจากนั้นเราก็มาดูว่าความทุกข์มันเกิดมาจากไหน
จากใจตัวเดียวเลยครับ มีคำพูดหนึ่งซึ่งผมชอบมาก
ทุกข์เกิดที่ใจ
ก็ดับที่ใจผมว่ามันจริงน่ะ มันเกิดที่ใจล้วนๆเลยครับ
ใจนี้มันสำคัญกว่าร่างกาย หรือว่าอาจพูดว่า
จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว
อย่างนี้ถูกต้องครับ คำพูดนี้ถูกต้องที่สุด
แล้วมีคำถามว่าแล้วจะจัดการกับใจยังงัย
ผมก็บอกตามที่ผมพอจะรู้..
คือฝึกใจซึ่งคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
3 อย่างนี้เองครับ
ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งถ้าเปรียบกิเลสเป็นหญ้าคา
ศีลเป็นการกำจัดหญ้าคาแบบฟัน
สักพักมันก็งอกขึ้นมาใหม่
ถ้าใช้สมาธิก็เปรียบเสมือนเอาก้อนหินไปวางทับหญ้าคา
ระหว่างที่ก้อนหินทับอยู่นั้นหญ้าคามันงอกขึ้นไม่ได้
ก็เสมือนกิเลสไม่ฟุ้งขึ้นมาเพราอำนาจของสมาธิ
แต่พอออกจากสมาธิกิเลสมันก็หาช่องเข้ามาอีก
เหมือนกับเอาก้อนหินออก หญ้าคาก็งอกขึ้นใหม่ครับ
แต่ตัวสุดท้ายนี้เด็ดสุดเป็นปัญญาคือความรู้แจ้ง
เปรียบเหมือนจอบที่ขุดทั้งรากหญ้าคาออกมา
มันไม่สามารถงอกขึ้นมาได้อีกน่ะครับ
อันนี้เด็ดจริงๆ....
เมื่อปัญญาพร้อม ก็มีสมาธิพร้อม ศีลก็พร้อมโดยทันที อัตโนมัติ
พูดมาตั้งยาว ทุกสิ่งที่พูดมานั้น
คือแนวทางในการกำจัดซึ่งทุกข์ทั้งปวง
ไหนๆก็พูดแล้วก็ลองปฎิบัติให้เห็นตามข้อสมมุติฐาน
หรือว่าคำสอนของผู้ปฎิบัติดีแล้วนั้น
ให้เห็นแจ้งบ้าง ตามคำที่บอกว่า
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพธิ วิญญูหิ ซึ่งแปลได้ว่า
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ก็เลยถือโอกาสนี้เริ่มปฎิบัติธรรมเพื่อถึงความหลุดพ้นตั้งแต่วันนี้
#22
โพสต์เมื่อ 05 June 2006 - 03:17 PM
เพราะปุถุชนคนปกติธรรมดา ยังมีปัญญานับว่าไม่มาก
การที่มีศรัทธาในบุคคลที่ควรบูชา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
ผู้นั้นย่อมเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเคารพท่าน เกิดกุศลศรัทธาในพระศาสดา ปุถุชนนั้นก็ได้บุญสะสมในตัว
ผู้นั้นย่อมเชื่อฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเชื่อฟังท่าน ก็จะทำตามคำสอนของท่าน ทำให้ไม่ต้องตกนรก ได้มีโอกาสสร้างบุญ
เมื่อมีบุญสะสมเข้าๆ ผู้นั้นย่อมมีใจใฝ่รู้ใฝ่อยากเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญาก็จะค่อยๆเกิดขึ้นมา
การที่มีปัญญา ย่อมเลือกบูชาบุคคลได้ถูกต้อง ย่อมเลือกเชื่อฟังคำสอนที่ดี ที่ถูกต้อง ก็คือพระพุทธศาสนา
คนที่หย่อนปัญญา ย่อมไม่รับเหตุผล ไม่ยอมรับความจริงที่ปรากฏแก่ใจของตน ไม่อยากสนใจความรู้ของชีวิต
คนที่มีปัญญา ใช้ปัญญาไตร่ตรองศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะยิ่งเข้าใจ ยิ่งชิมรสพระธรรมลึกซึ้งลงไปตามลำดับๆ
ก็จะยิ่งรู้ว่าขณะนี้ความรู้ของตนมิอาจเทียบได้แม้สักเสี้ยวนึงของพระธรรม แต่ก็อาจทำความเข้าใจ ให้รู้ตามไปได้
ความรู้บางอย่างที่นอกเหนือความสามารถตนเช่น อภิญญา การรู้ใจคนอื่น เป็นต้น และความรู้ต่างๆ นั้นไกลเกินกว่าตนเองไปมาก
ศึกษาๆไปๆ อย่างนี้ก็จะเกิด ศรัทธา
เมื่อเกิดศรัทธาในพระศาสนา อย่างนี้ ก็เป็นบุญ
เมื่อเกิดปัญญาในพระศาสนา อย่างนี้ ก็เป็นบุญ
ผู้สะสมบารมี ย่อมสะสมทั้งศรัทธา และปัญญา (รวมถึงอย่างอื่นด้วย อย่างน้อยตามบารมี10ทัศ) เพราะต้องบำเพ็ญไปอีก มากๆ
เหมือนมีด มีทั้งด้านโลหะแหลมคม และด้ามจับที่เป็นไม้ ใครจะเลือกเอาอย่างเดียว คนนึงเลือกด้าม คนนึงเลือกใบมีด แล้วจะไปใช้ได้ยังไง?
#23
โพสต์เมื่อ 06 January 2007 - 08:53 PM
ยิ่งกว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อไรมากระทบ อย่าให้สะเทือนถึงใจ
ตะวันธรรม
#24
โพสต์เมื่อ 06 January 2007 - 09:35 PM