

ภาคชีวประวัติ และการศึกษา
มีบิดาชื่อว่า “เจ้าชายสิทธัตถะ” มารดาชื่อ “พระนางยโสธรา(พิมพา)” พระบิดาเสด็จออกบวชในวันที่ท่านเกิดนั้นเอง
ท่านเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงเมืองกบิลพัสดุ์ เพียง ๗ วัน โดย ท่านเข้าไปทูลขอราชสมบัติจาก พระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบิดา ตามคำแนะนำของ พระนางยโสธราพิมพา พระมารดา พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้ พระสารีบุตรเถระ เป็น พระอุปัชฌาย์ โดยบวชแบบ "ติสรณคมนูปสัมปทา" เพราะ การให้ อริยทรัพย์ เป็นสิ่งประเสริฐ และยั่งยืนถาวร
เมื่อท่านบวชแล้ว เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษามาก ครั้งหนึ่งท่านลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วกอบเอาทรายเต็มกำมือแล้วตั้งจิตปรารถนาว่า ขอให้ได้รับคำแนะนำพร่ำสอนมากเท่ากับเม็ดทรายจากพระพุทธเจ้า และจากอุปัชฌาย์อาจารย์ ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมและฟังธรรมจากพระพุทธองค์ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
พระราหุลเถระ เป็น พระสาวกรูปแรก ที่บวชแต่อายุเพิ่ง 7 ขวบ จึงเป็น “บิดา” แห่งสามเณรทั้งหลาย
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จนิวัติไปโปรดพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์นั้น พระมารดาของท่าน (พระนางยโสธราพิมพา) ได้บอกกับพระราหุลกุมารว่า ตั้งแต่พระราชบิดาเสด็จออกผนวช ขุมทรัพย์ที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับการประสตูของพระองค์ได้หายไป ขอให้ราหุลกุมารไปทูลขอขุมทรัพย์นั้น ขณะที่พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จำนวนมากเสด็จออกมาบิณฑบาตอยู่ในเมือง ราหุลกุมารก็ติดตามพระบิดาไปพลางร้องว่า “สมณะ ขอขุมทรัพย์ๆ” พระพุทธองค์มิได้ตรัสตอบ คงเสด็จดำเนินไปเรื่อย จนกระทั่งไปถึงนิโครธาราม สถานที่ประทับชั่วคราวอยู่นอกเมือง ราหุลกุมารเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธองค์ มีความรู้สึกสงบและร่มเย็นอย่างประหลาด จนถึงกับอุทานออกมาว่า “สมณะ ร่มเงาของท่านสบายจริงๆ” (สุขา เต สมณ ฉายา)
พระพุทธองค์ ทรงดำริว่า อันทรัพย์สมบัตินั้นๆ ในโลกย่อไม่จีรังยั่งยืน อย่าให้กระนั้นเลย เราจะให้อริยทรัพย์แก่ราหุลดีกว่า แล้ว พระองค์จึงมีพุทธบัญชา ให้ พระสารีบุตร บวชให้ ราหุลกุมาร
เนื่องจากไม่เคยมีเด็กบวชมาก่อน พระเถระจึงกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้บวชด้วยการเปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์ การบวชของราหุล จึงมีชื่อว่า ติรสรณคมนูสัมปทา การอุปสมบทด้วย การระลึกถึงสรณะสาม ต่อมาการบวชแบบนี้ ได้ใช้สำหรับ การบวชสามเณรเท่านั้น บวชแล้ว สามเณรราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษามาก ว่ากันว่าในทุกๆ เช้าสามเณรน้อยจะลงมากอบทรายเต็มกำมือ แล้ว อธิษฐานดังๆ ว่า “วันนี้ขอให้เราได้ฟังโอวาทจากพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์มากมาย ดุจเมล็ดทรายในกำมือเรานี้” พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา
สามเณรราหุล ไม่เคยถือตนว่าเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า ท่านเป็นคนว่าง่าย และมีความเคารพในพระสงฆ์ ครั้งหนึ่งพระจากชนบทจำนวนหนึ่งมาพักที่พระเชตวัน เนื่องจากพระวินัยห้ามภิกษุนอนในที่เดียวกับอนุปสัมบัน จึงไล่ให้สามเณรราหุลไปข้างนอก โดยไม่คำนึงถึงว่าสามเณรน้อยจะไปอยู่ที่ไหน
สามเณรราหุลไม่มีที่อยู่ จึงเข้าไปพักอยู่ที่ วัจกุฏี (ส้วม) ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เสด็จไปพบเข้ากลางดึก จึงนำท่านกลับมาพักที่ พระคันธกุฎี ของ พระองค์
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น พระองค์จึงทรงลดหย่อนผ่อนสิกขาบทข้อที่ว่าด้วยห้ามภิกษุอยู่ในที่มุงบังเดียวกับอนุปสัมบันเกินหนึ่งคืน ขยายเวลาออกเป็นสามคืน
ท่านได้ฟังพระพุทธโอวาทหลายครั้ง พระโอวาทองค์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ผมว่าน่าสนใจมากก็เพราะทรงสอนโดยใช้สื่อเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเหมาะแก่อุปนิสัยของเด็กเป็นอย่างยิ่ง นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โทษของการพูดเท็จ
พระพุทธองค์ทรงจับขันน้ำล้างพระบาทขึ้น แล้วทรงเทลงหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า
“ราหุล เห็นไหม น้ำที่เราเทลงหน่อยนี้”
“เห็นพระเจ้าข้า” สามเณรน้อยกราบทูล
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อม เทคุณความดีออกจากคนทีละนิด เหมือนเทน้ำออกจากขั้นนี้”
“เห็น พระเจ้าข้า”
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อม เทคุณความดีออกหมด เหมือนน้ำที่เราเทออกหมดนี้”
เสร็จแล้วทรงคว่ำขันลง ตรัสถามว่า
“ราหุลเห็นไหม ขันที่เราคว่ำลงนี้”
“เห็นพระเจ้าข้า”
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมคว่ำคุณธรรมออกหมด เหมือนขันคว่ำนี้”
เสร็จแล้วทรงหงายขันเปล่าขึ้น แล้วตรัสถามว่า
“ราหุล เห็นไหม ขันเปล่าที่เราหงายขึ้นนี้ ไม่มีน้ำเหลือเลย”
“เห็น พระเจ้าข้า”
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อม ไม่มีคุณความดีเหลืออยู่เลย ดุจขันเปล่านี้”
ทรงสอนโดย ใช้สื่อประกอบเป็นขั้นตอน ซึ่งทำให้เด็กน้อยได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง คำว่า “คุณความดี” คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ เทออกจากตนนี้ ท่านใช้ศัพท์ว่า สามญญ แปล ว่าความเป็นสมณะ หรือ ความเป็นพระ นั่นแหละครับ (เท คุณความดี ออกที่ละ นิดๆ)
คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อม เทความเป็นพระออกทีละนิดๆ จนไม่มีเหลือ กลายเป็น “คนโกหกหลอกลวง” หรือ อลัชชี ในที่สุดนั้นแล
ครั้งสุดท้ายท่านได้ฟัง จุฬราหุโลวาทสูตรที่ 2 เนื้อหาว่าด้วย ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็น อนัตตา
ท้ายพระสูตรได้บันทึกไว้ว่า ท่านได้บรรลุพระอรหันต์จากกการฟังพระโอวาทนี้ ไม่ได้บอกว่าท่านบรรลุพระอรหัตเมื่ออายุเท่าไหร่ คาดว่าคงจะอายุประมาณ 18 ปี และเมื่อท่านอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ (เข้าใจว่า พระสารีบุตรอัครสาวก คงจะเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม)
พระราหุล มีสมญานามที่ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เรียกขานอีกอย่างหนึ่งว่า ราหุลภัททะ แปลว่า ราหุลผู้โชคดี หรือ ราหุลผู้ดีงาม พระราหุลเถระยอมรับว่าคำพูดนั้นเป็นความจริง เพราะท่านนับว่ามีโชคดีถึงสองชั้น โชคชั้นหนึ่ง ได้เป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โชคชั้นที่สอง ได้เป็นโอรสในทางธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระราหุลเถระนิพพานเมื่ออายุเท่าไร ไม่มีบันทึกไว้ที่ไหน ทราบแต่ว่าท่านนิพพานก่อนพระอุปปัชฌาย์ และก่อนพุทธปรินิพพาน ถ้าเช่นนั้นท่านก็คงนิพพานเมื่ออายุไม่มากนัก สถานที่นิพพานของท่าน คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภาคการปฏิบัติ-ภาคการประกาศพระศาสนา
ไม่มีกล่าวไว้ชัดเจนว่าท่านมีบทบาทอย่างไรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แต่ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เลื่องลือมากอีก ๒ ประการ คือ
๑.) ทรงเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๒.) เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดา
ข้อควรจำ
ท่านเป็น สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งบวชด้วยวิธี "ไตรสรณคมน์" โดยพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย และมีความกตัญญูกตเวทีเป็นยอด
ท่านนิพพาน ใน สวรรค์ชั้นดาวดึง ก่อน พระพุทธเจ้า และพระสารีบุตร
หมายเหตุ ข้าพเจ้าต้อง ขออนุญาต แก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจมากขึ้น นะครับ
ดังจะเห็นได้ว่าพระบรมราโชวาท และคำขวัญ ในวันเด็กแห่งชาติล้วนเป็นการเสนอแนะแนวทางให้เด็กสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคำขวัญวันเด็กปี ๒๕๕๐ นี้ สอดคล้องกับสภาพสังคมเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม เด็กๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์เล็กๆ จะแข็งแกร่งเป็นต้นกล้าที่เติบโตพร้อมจะแผ่กิ่งก้านสาขาไปช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ในวันนี้ จะต้องหมั่นดูแลให้ความรัก ความเอาใจใส่ และ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้เด็ก ได้กลายเป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ข้อสำคัญ ผู้ใหญ่จะต้อง “ ต้นแบบที่ดี ” พร้อมจะเป็นหลักให้เด็กได้ยึดถือ เพื่อก้าวย่างไปสู่อนาคตของชาติร่วมกัน อย่างมั่นคง และมั่นใจ
ข้าพเจ้าใคร่ขอ ขอบคุณ ท่านผู้จัดทำข้อมูลข้างต้น ทุกๆท่าน อย่างยิ่ง สำหรับ ข้อมูลต่างๆ ที่ข้าพเจ้าได้นำมาแสดงไว้ในกระทู้นี้ และกระนั้น ข้าพเจ้าขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ทุกๆท่าน ด้วยนะครับ



สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



