
วัตถุมงคล ไม่มีในมงคลของพระพุทธเจ้า!!
#1
โพสต์เมื่อ 14 June 2007 - 10:34 AM
วัตถุมงคลนั้นไม่มี ในมงคล ๓๘ ของพระพุทธเจ้าไม่มีสิ่งอะไรที่เป็นวัตถุว่าเป็นมงคล มีแต่เรื่องการไม่ปฏิบัติธรรมเท่านั้นที่เป็นอัปมงคล และมีเรื่องการปฏิบัติตามหลักธรรมเท่านั้นที่ชื่อว่าเป็นมงคล ไม่มีสิ่งวัตถุอันใดที่เป็นมงคลเลยตามหลักพระพุทธศาสนา เช่นเราจะถือว่าใบไม้นั้นเป็นมงคล หญ้านี้เป็นมงคลหรือว่าอะไรๆที่เป็นมงคลตามที่เราเข้าใจกันอยู่นั้น มันเป็นมงคลภายนอกพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มงคลตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
มงคลในพระพุทธศาสนานั้น มีความหมายว่า เหตุอันให้เกิดความสุขความเจริญในชีวิต ก็เหตุที่จะให้เกิดความสุขความเจริญในชีวิตของเรานั้น ย่อมเป็นเหตุภายในไม่ใช่เหตุภายนอก เหตุภายในก็คือการปรับปรุงจิตใจของเราให้เข้าทางธรรมะให้ได้ ใช้หลักธรรมะเป็นแนวทางชีวิต จะปฏิบัติอะไรก็ให้เรียกว่าปฏิบัติตรงตามแนวธรรมะ นั้นแหละเป็นอุดมมงคล เป็นมงคลสูงสุดตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
วัตถุที่เป็นมงคลนั้น หาเป็นมงคลที่แท้จริงไม่เป็นเรื่องหลอกตัวเราเท่านั้นเอง คือหลอกให้หลงให้เพลินไปกับวัตถุนั้นชั่วครั้งชั่วคราว ตราบเท่าที่เรายังมีอวิชชา คือความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องนั้นตามที่เป็นจริง เราก็หลงใหลเรื่อยไป มัวเมาอยู่ในสิ่งนั้นเรื่อยไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น ไม่คิดช่วยตัวเองในการปฏิบัติ แต่ไปนึกว่าวัตถุนั้นจะช่วยตนให้พ้นจากภัยจากอันตรายด้วยประการต่างๆ อันนี้คือความหลงผิด ไม่ตรงกับคำสอนในทางพระพุทธศาสนา และในสมัยนี้กำลังมีมากขึ้น แพร่หลายขึ้น ในการที่จะจูงคนเหล่านั้นให้เอาวัตถุเหล่านั้นมาเป็นที่พึ่ง ยึดมั่นถือมั่นในวัตถุนั้นว่า ช่วยตนให้พ้นภัยอย่างนั้นอย่างนี้เป็นต้น อันนี้คือการไม่ถูกต้อง แต่ว่าทำกันอยู่มาก เพราะอะไร เพราะว่าเป็นทางเจริญแห่งลาภสักการะ เป็นทางได้มาแห่งวัตถุอีกเหมือนกัน วัตถุที่ได้มานั้นก็คือเงินทองนั้นเอง เงินได้มาจากวัตถุก็เอาไปสร้างวัตถุต่อไป คนก็ติดในวัตถุต่อไป ไม่ได้เข้าถึงธรรมะอันเป็นตัวการปฏิบัติซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระรัตนตรัย เราก็ติดอยู่แต่เพียงวัตถุ
ในสมัยนี้ ควรจะได้มีการแกะเอาสิ่งที่เป็นวัตถุนั้นออกไปเสียบ้าง เพื่อจะได้เข้าถึงตัวธรรมะอันเป็นตัวข้อปฏิบัติ จึงได้พูดกับญาติโยมให้เข้าใจในความหมายของสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะให้เราได้รู้จักใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นคุณเป็นประโยชน์ คือใช้เพียงเพื่อเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจให้เราได้นึกถึงคุณธรรมต่อไป ไม่ใช่เอาวัตถุนั้นเป็นสรณะอย่างแท้จริง เช่นพระพุทธรูปต่างๆ ที่เขาทำให้นั้น เราก็ถือแต่เพียงว่าเป็นวัตถุเตือนใจให้เราได้นึกถึงคุณความดีของท่านแล้วเราได้เอาความดีนั้นมาใส่ไว้ในใจของเรา การเอาคุณงามความดีมาใส่ไว้ในใจนั่นแหละ เราสร้างพระพุทธขึ้นในใจ สร้างพระธรรมขึ้นไว้ในใจ สร้างพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นไว้ในใจของเรา
เมื่อเราสร้างสิ่งนี้ขึ้นไว้ในใจของเรา ใจเราก็เป็นพระ ใจเราเป็นพระเราก็สบาย ไม่มีปัญหาคือความทุกข์ความ เดือดร้อน อันเกิดขึ้นจากความหลงผิดเข้าใจผิดด้วยประการต่างๆ และเราจะไม่ถูกใครชักจูงไปในทางเสื่อม ทางเสีย หรือจะหลอกจะต้มเราด้วยเรื่องอะไรต่างๆได้ เพราะเราไม่ได้สนใจในสิ่งที่เป็นวัตถุเหล่านั้น เราสนใจ ในแง่ของธรรมะ เมื่อเราสนในใจแง่ของธรรมะ วัตถุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีค่าอะไรมากเกินไป แต่เราถือว่าหลักธรรมคำสอน การปฏิบัติตามหลักคำสอนนั้นแหละเป็นสิ่งมีคุณค่าสูงสุดสำหรับชีวิตของเรา ถ้าเราจะถือว่าเป็นมงคลก็หมายความว่าหลักธรรมะหรือข้อปฏิบัตินั้นแหละเป็นมงคลสำหรับตัวเรา จะทำให้เราเกิดความสุขความเจริญด้วยประการต่างๆไม่ใช่เพียงวัตถุนั้นอย่างเดียว วัตถุนั้นเป็นแต่เพียงเครื่องประกอบนิดหน่อย เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ ให้เราได้นึกถึงข้อปฏิบัติและเราจะได้ปฏิบัติในสิ่งนั้นต่อไปเท่านั้นเอง อันนี้เป็นเรื่องที่ควรจะได้เข้าใจไว้
ถ้าเราได้เข้าใจในรูปอย่างนี้แล้ว เราจะมีพระพุทธรูปไว้ในบ้านก็ไม่เป็นไร และไม่ต้องหาว่าของเก่าแก่อย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่จำเป็นจะต้องหาว่าสมัยนั้นสมัยนี้ หรือว่าไม่จำเป็นว่าจะต้องไปปลุกไปเสกให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะเราถือแต่เพียงว่าเป็นภาพเตือนใจให้เราได้นึกถึงพระธรรมเท่านั้นเอง เมื่อเป็นรูปที่เตือนใจได้ก็เป็นใช้ได้ เพราะเป็นเรื่องสมมติขึ้น สมมติว่านี้เป็นรูปแทนคุณความดีของพระพุทธเจ้าที่เป็นเนื้อแท้ ไม่ใช่แทนองค์พระพุทธเจ้าที่เป็นเนื้อเป็นหนัง เพราะว่าพระคุณนั้นเป็นนามธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะหยิบด้วยมือหรือดูด้วยตาได้ แต่เป็นสิ่งที่เราจะสัมผัสได้ด้วยใจ เราจะเข้าถึงสิ่งนั้นได้ด้วยจิตใจของเรา วัตถุนั้นเป็นแต่เพียงเครื่องเตือนใจกันลืมให้เราได้เห็นด้วยตา แล้วเราจะได้นึกถึงไม่หลงไม่ลืมในสิ่งเหล่านั้น ถ้าเราเป็นผู้นับถือพระพุทธรูปถูกแบบ เราจะไม่สนใจในเรื่องความเก่า ไม่สนใจในเรื่องความใหม่ของวัตถุนั้น เพราะเราสนใจแต่เพียงว่า เป็นวัตถุสำหรับเตือนใจ ให้เราได้นึก ถึงพระธรรมคำสอน ให้เราได้สำนึกในความเป็นพุทธบริษัท แล้วจะได้ปฏิบัติตนตามคำสอนเท่านั้น...
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๐)
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 79 มิ.ย. 50 โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
#2
โพสต์เมื่อ 14 June 2007 - 03:25 PM
#3
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 09:04 AM
เห็นหลายๆคน อยากได้อย่างสวย อย่างดีที่สุด ซึ่งมีมูลค่าแตกต่างกันไปจนถึง S ถึง M เหมือนของล่อใจเลยเลยนะคะ (รวมถึงตัว koonpatt ด้วยล่ะค่ะ)
(สงสัยมานาน ก็เห็นเคยบอกว่า การทำบุญ จะบาทเดียว หรือ เป็นล้าน ให้มองที่ความตั้งใจมองที่เจตนา แต่ทำไมพระของขวัญของเราออกมา ความสวยงาม หรือคุณค่าทางด้านวัตถุ แตกต่างกันไปตามจำนวนเงิน เข้าใจค่ะ ว่าการทำมาก คนกลุ่มหนึ่งคือ พยายามมาก ตั้งใจมาก อดออมกันจนเอวกิ่ว หลายๆคนที่เคยตั้งคำถามในบอร์ด ถึงกับต้องไปกู้ยืมเขามา ซึ่งก็ทำให้ผิดหลักวิชาเข้าไปอีก แต่ก็เช่นกัน บางคน 1 M ของเขาก็แค่เศษๆ ที่ยังไม่ได้ค่าสายนาฬิกา หรือ ครึ่งของโทรศัพท์มือถือเลย บางคนทั้งชีวิตยังไม่เคยเห็นเงิน 1 M แต่ก็ทำบุญจนสุดตัว ก็ยังได้พระของขวัญที่ไม่สวยเท่า คนที่เอา 1M ซึ่งเป็นแค่ราคา ล้อรถข้างเดียวมาทำบุญ ในขณะที่ตัวเองขับรถราคาคันละ เป็น 10M)
ขออภัยอีกครั้งค่ะ ถ้าคำถามของ koonpatt ทำให้ท่านใดใจขุ่น แต่ก็แค่ความคิดน่ะค่ะ สงสัยก็ถาม ไม่ได้จะว่าใครนะคะ
อ่านหลายๆ กระทู้ที่พูดถึงเรื่องวัตถุมงคล เลยลองย้อนกลับมาดูตัวเองว่า เอ๋ เราก็เป็นนี่นา วัตถุมงคลจะเต็มกล่องแล้ว
เวลาเอาไปให้คนอื่นที่เค้าไม่ยึดติดกับวัตถุ คนที่เค้าเข้าวัดก่อนเรา และปฏิบัติดีดู เค้าก็ถามเราเหมือนกันว่า ตกลงไปวัดนี่ได้ พระธรรมกลับมาปฏิบัติ หรือ ไปบูชาพระของขวัญมา ก็งง งง ตัวเอง แต่คิดว่า ได้ทำบุญล่ะค่ะ ก็เลยสบายใจ
แต่บางทีก็สงสัยตัวเองว่า แล้วทำไมเวลาคิดถึงจำนวนเงินที่จะทำบุญ จะต้องนึกถึง ว่า จะได้พระของขวัญแบบไหนก่อนด้วยนะ
ตกลงเราอยากได้บุญมาก หรือ อยากได้พระของขวัญสวยๆ กันแน่น๊า เจตนาจะผิดหรือเปล่าเนี่ย กำลังบุญจะหย่อนหรือเปล่านะ
กลัวแต่ความคิดแบบนี้ จะกลายเป็นว่า เราเป็นคนติดแบรนด์ หรือเปล่านะ จ่ายแพงหน่อยเพื่อ โลโก้
แต่ก็เอาเป็นว่า ได้บุญก็แล้วกัน ถ้าคิดแบบนี้ ก็สบายใจไปได้อีกหน่อย แต่สักพักก็ งง งง ตัวเองอีกละ
แล้วตกลง พระของขวัญ กับ วัตถุมงคลนี่ ต่างกันยังไงคะ
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ
#4
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 09:10 AM
ผู้รู้มากกว่าผม ตอบทีนะครับ
#5
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 11:26 AM
โดยความคิดเห็นส่วนตัวของ Kay นะค่ะ คิดว่าพระของขวัญของที่วัดเราเป็นพระรัตนไตรค่ะ คุณครูไม่ใหญ่ท่านจะย้ำกับพวกเราเสมอว่าเป็นขวัญ ไม่ใช่ของขลัง....
และอีกอย่างค่ะ kay ก็เป็นคนหนึ่งที่อยากได้พระของขวัญมาบูชา เพื่อระลึกนึกถึงบุญที่เคยได่ทุ่มเททำกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ หมู่คณะและเพื่อพระศาสนา
Kay:)
#6
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 11:56 AM
หนู Pungpa ทำบุญมาหลายครั้ง ไม่เคยได้พระของขวัญสักครั้ง ยังไม่คิดอะไรเลย (ทั้งๆที่บอกว่าถ้าทำแล้วจะได้รับ) แม้แต่ใบอนุโมทนาบัตร หนู Pungpa ก็ไม่ได้ หนูก็ไม่คิดอะไรด้วยเช่นกัน
แค่เห็นภาพงานบุญที่ถ่ายทอดทาง DMC หรือในเวป DMC ก็นึกถึงบุญได้แล้ว ว่าอย่างน้อยเราก็มีส่วนร่วมในบุญนี้เช่นกัน แค่นึกเท่านนี้ก็ปลื้มสุดใจแล้วละคะ
หยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ
ทั้งทางโลกและทางธรรม สำเร็จหมด
#7
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 12:11 PM
ไง ๆ ก็อยู่ในบุญตลอดเวลานะครับ สาธุ
#8
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 02:38 PM
จัดทำขึ้นเพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับญาติโยมที่ร่วมบุญในวาระต่าง ๆ
เช่น สร้างอาคารโรงเรียนปริยัติ หรืองานบุญอื่นๆของวัดปากน้ำฯ
เพื่อให้ผู้รับพระของขวัญไปนั้นได้ตรึกระลึกนึกถึงบุญที่ตัวเองได้สร้างได้ทำ ในทุกครั้งที่เห็นพระของขวัญ
ส่วนในเรื่องรูปลักษณ์ของพระของขวัญ ที่วัดพระธรรมกายนั้นก็น่าจะเป็นเรื่องของกลยุทธในการประชาสัมพันธ์
ในแง่เชิญชวนให้ร่วมบุญตามปรารถนาของเจ้าภาพญาติโยมทั้งหลายเอง
หากจะพูดไปแล้วก็นับได้ว่าวัดใช้การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งก็ไม่ได้แปลกหรือแตกต่างไปจากการเชิญชวนให้ร่วมสร้างบุญสร้างกุศลขององค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เลย
อีกสักนิดนึง จำนวนปัจจัยที่วัดกำหนดเอาไว้นั้น ขอให้ลองนึกให้เห็นภาพของถาวรวัตถุ ความสะดวกสบายทั้งหลายในวัด
โดยเฉพาะถาวรวัตถุต่างๆ ที่พระเดชพระคุณคุณครูไม่ใหญ่ประสงค์ให้สร้างขึ้น มีความแข็งแรงคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
ไม่ต้องซ่อมแซมกันเป็นรายปี (ในข้อนี้เห็นจะเป็นจุดอ่อนของวัดโดยทั่วประเทศมานาน)
ทีนี้เราๆท่านๆจะร่วมบุญมากหรือน้อยก็ให้เป็นไปตามหลักวิชชาในการทำบุญให้ทาน
ความขุ่นใสของจิตใจ ก่อนทำ-ขณะทำ-หลังทำบุญ รวมทั้งวัตถุทาน(ในที่นี้ก็หมายถึงกะตังค์ที่เราจะร่วมบุญน่ะค่ะ)
ก็ต้องได้มาอย่างบริสุทธิ์ เราก็เป็นเจ้าของบุญนั้นคนเดียวเต็มๆ
แต่ถ้าหยิบยืมของใครมา บุญนั้นก็ไปเป็นของเจ้าของทรัพย์นั้น..แทนที่จะเป็นของเรา
แต่เราก็ได้อยู่บ้างล่ะในฐานะผู้ทำบุญ
ก็ทำบุญตามกำลังทรัพย์ของเราเองนี่ล่ะดีที่สุด
การร่วมปัจจัยทำบุญก็จัดเป็นการให้ทาน การทำทาน เป็น 1 ใน บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
ตานี้เราก็ยังมีอีกตั้ง 9 วิธีที่จะทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการเชียวนะคะ
#9
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 06:44 PM
#10
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 06:45 PM
ผมคิดว่า ถ้าวัตถุนั้นสื่อเพื่อให้บูชาถึงบุคคลผู้ควรบูชา เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ พระสงฆ์ วัตถุนั้นก็กลายเป็นวัตถุมงคลครับ เช่น สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูป พระเครื่อง ฯลฯ
แต่ จตุคามฯ ปลัดขิก ตะกรุด ผ้ายันต์ ราหู ภิกขเนศ พระพรหม กวนอิม กุมารทอง รักยม นางกวัก พ่อปู่ต่างๆ อย่างนี้ไม่ใช่วัตถุมงคล
#11
โพสต์เมื่อ 15 June 2007 - 09:17 PM
อารามรุกขฺเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณํมุตฺตมํ
เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
โย จ พุทธญฺจ ธมฺมญจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
ทุกฺขํ ทกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
อริยญฺจฏฐํคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมาคามินํ
เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ
เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
ย่อมยึดเอาภุเขาบ้าง ป่าบ้าง อารามบ้าง ต้นไม้ที่เป็นเจดีย์บ้าง
ว่าเป็นที่พึ่ง นั่นไม่ใช่สรณะอันเกษม นั่นไม่ใช่สรณะอันอุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั้นแล้ว ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ส่วนผู้ใดยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง
เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบของตน
คือ เห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ
ซึ่งยังบุคคลให้ถึงความสงบแห่งทุกข์
สรณะนั่นแลเกษม สรณะนั่นแลอุดม
เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ท้ายที่สุดนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายพึงอาศัยสรณะอันสูงสุดเกษมศานต์อย่างไม่มีอื่นใดยิ่งกว่า เป็นนิยยานิกธรรมนำพาตนเองและหมู่สัตว์ให้ล่วงพ้นจากบ่วงแห่งมาร อีกทั้งเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในสังสาร และพึงเป็นผู้ถึงพร้อมบริบูรณ์ด้วยพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ญาณรัตนะ อันขึ้นตรงต่อธรรมภาคขาวที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินโดยส่วนเดียว ทั้งในภพนี้และตลอดไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญฯ
เสียงอ่านจากหนังสือ "ทางแห่งความดี" ของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ; http://www.palungjit...hread.php?t=202
ปล. ต้องตอกย้ำซ้ำเดิมให้ขึ้นใจ และให้เข้าไปอยู่ในใจของมวลมนุษย์ทุกคน
ไฟล์แนบ
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#12
โพสต์เมื่อ 16 June 2007 - 12:20 PM
#13
โพสต์เมื่อ 16 June 2007 - 11:36 PM
1 ) จริงๆแล้ว ในทางพุทธศาสนา และความเชื่อของมนุษย์
คำว่า มงคล นั้น มีทั้งที่เป็น รูปธรรม และนามธรรม นะครับ เช่น
จักรวาล
ที่เราอาศัยอยู่นี้ เรียกได้ว่า เป็น มงคลจักรวาล
เพราะมีการบังเกิดขึ้นของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
มีพระธรรมคำสอนที่เป็นพุทธวจนะ
และมีภิกษุ สงฆ์บังเกิดขึ้น
พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ
รวมถึงสังเวชนียสถาน ที่เกี่ยวกับ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
และสถานที่ปริพนิพพาน อันเป็นวัตถุธาตุ
นี้เป็นเป็น วัตถุธาตุที่เป็นมงคล ของพุทธศาสนิกชน
ในมงคลสูตร ๓๘
ก็มีทั้งวัตถุ บุคคลและการประพฤติทางกาย วาจา ใจ ว่าเป็น มงคล นะครับ เช่น
บูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลอันสูงสุด
นี้จัดว่า บุคคล เป็น มงคล
การได้อยู่ใน#####เทส เป็นมงคลอันสูงสุด
นี้จัดว่า วัตถุ สิ่งแวดล้อม เป็น มงคล
มีวาจาสุภาษิต มีขันติ ประพฤติพรหมจรรย์
นี้จัดว่าการประพฤติดีทางกาย วาจา ใจ เป็น มงคล
แม้ในทางอาณาจักร ทางโลก วัตถุธาตุ สิ่งของที่เป็นของพระราชา มหากษัตริย์
เช่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ นี้เป็น วัตถุมงคล ของพสกนิกร
2 ) จากเนื้อหาที่เจ้าของกระทู้นำมาโพสต์นั้น
ผมเข้าใจว่าพระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันท ภิกขุ)
ท่านหมายถึง วัตถุเครื่องของขลังต่างๆ ที่คนไทยนิยมยึดถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แบบหวังพึ่งพาพุทธานุภาพ เทวานุภาพ ให้ช่วยปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัย
เป็นกระแสนิยม ความเชื่อของมนุษย์ เป็น fashion ของสังคม
มากกว่าการพึ่งพาตนเอง ( อัตตา หิ อัตโน นาโถ )
มากกว่าการประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรม
มากกว่าการ ละชั่ว ทำดี กลั่นใจให้ใส
ซึ่งได้ผลดีที่ยั่งยืนกว่า
สรุปว่า พระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันท ภิกขุ)
ท่านสอนไม่ให้ยึดถือ ธาตุ ๔ หรือ วัตถุเครื่องของขลังเป็นสรณะอันเกษม
เพราะบุคคลอาศัยวัตถุเครื่องของขลังนั้นแล้ว ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
สมดังพุทธภาษิตที่ท่านไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี นำมาแสดงไว้ครับ
3 ) วัตถุที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น
พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ หรือ พระธาตุของผู้ทรงศีล ทรงธรรม
รวมไปถึงแก้วมณี อัญมณี คต ที่มี สิริ หรือ กายสิทธิ์ลงอาศัยเป็นเรือน
ก็เรียกว่า เป็นวัตถุมงคลได้นะครับ
ทั้งนี้เพราะ เนื่องด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพและเทวานุภาพ
4 ) วัตถุที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ที่ผ่านการแปรรูป พิมพ์หรือผลิตขึ้นโดยมนุษย์
เช่น พระพุทธรูป พระของขวัญ พระเครื่อง หรือ
วัตถุใดๆที่ใครเห็นแล้วดึงดูดใจ ยกใจให้มี พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ
ก็พออนุโลม เรียกว่า เป็นวัตถุมงคลได้นะครับ
ทั้งนี้เพราะ
วัตถุธาตุนั้นๆ เป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจให้เราได้นึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจในการประพฤติธรรม ในการ ละชั่ว ทำดี กลั่นใจให้ใส
พัฒนาตนเองเพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
และอย่างที่เข้าใจกันของนักเรียนอนุบาลฝันในฝัน คือ
วิชาไสยเวทย์ เสกวัตถุ ธาตุตาย ให้กลายเป็น ธาตุเป็น
ทำให้วัตถุธาตุ ที่เป็นสื่อของมนตรา ให้มีฤทธิ์อย่างนั้นอย่างนี้
ของเหล่าวิทยาธร เทพในป่าหิมพานต์ สวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา
โดยผ่านกายมนุษย์ที่เป็นศิษย์ เป็นร่างทรง
นั้นมีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ของยั่งยืน ถาวร
คือ ไม่สามารถกำจัดทุกข์ได้อย่างถาวร
ยึดมั่นถือมั่นแล้ว บรรลุมรรค ผล นิพพาน ไม่ได้
สรุป ผมมองว่า วัตถุธาตุต่างๆเป็นของกลางๆ มีลักษณะทวิลักษณ์ คือ
ไม่ได้เป็นวัตถุมงคล หรือ วัตถุอัปมงคล
และเป็นได้ทั้งวัตถุมงคล หรือ วัตถุอัปมงคล
คือ ถ้าเรามีโยนิโสนมสิการแยบคายพอ
เราก็สามารถนำวัตถุธาตุนั้น มาเป็นประโยชน์ในทางกุศล
มาเป็นแรงบันดาลใจให้เราหมั่นขยันพัฒนาตนเอง เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
วัตถุนั้นก็ น่าจะเรียกได้ว่า เป็น วัตถุมงคล
แต่ถ้าเรามีโยนิโสนมสิการไม่แยบคายพอ
มัวหลงงมงาย หวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
มากกว่าการพึ่งพาตนเอง ( อัตตา หิ อัตโน นาโถ )
มากกว่าการประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรม
มากกว่าการ ละชั่ว ทำดี กลั่นใจให้ใส
วัตถุนั้น ก็ไม่น่าจะเรียกได้ว่า เป็น วัตถุมงคล
5 ) ส่วนเรื่องการบำเพ็ญทาน ที่หวังพระของขวัญรุ่นนั้น รุ่นนี้ที่คุณ koonpatt เสนอมานั้น
โดยส่วนตัวผมมองว่า
5.1 การบำเพ็ญทาน เป็นสิ่งที่ดี ควรทำบ่อยๆ
ถ้าทำถูกหลักวิชา คือ
ก ) เจตนาบริสุทธิ์ คือ เข้าใจถูกว่า เราบริจาค แบ่งปัน ให้ทานเพราะ
เราต้องการกำจัดอกุศล โลภะ เช่น ตระหนี่ หวงของ
ข ) วัตถุบริสุทธิ์ ผู้ให้และผู้รับบริสุทธิ์ด้วยศีลและคุณธรรม
ค ) ก่อนบำเพ็ญทาน ขณะถวายทาน หลังบริจาคทาน มีปีติร่าเริง แช่มชื่น เบิกบานใจ
การบำเพ็ญทานถูกหลักวิชานั้น ย่อมมีผลมาก มีผลอันไพบูลย์
การให้ทรัพย์หรือวัตถุหยาบนั้นๆ ย่อมเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นดวงบุญ ดวงทานบารมี
ที่ติดตามเราข้ามภพข้ามชาติ ส่งผลให้เรามีโลกียทรัพย์และอริยทรัพย์
ไว้เป็นเสบียงระหว่างการเดินทางข้ามสังสารวัฎฎ์ กระทั่งเข้าสู่มหาอมตนฤพานในที่สุด
5.2 แต่ถ้าเราบำเพ็ญทาน แบบอกุศลปน อกุศล คือ
ทำทานแบบกุศลปนโลภะ เพราะอยากมีภาพลักษณ์ดีในสายตาคนอื่น
ทำทานครั้งนี้เพราะ อยากได้พระของขวัญสวยๆ รุ่นนั้น รุ่นนี้
การบำเพ็ญทานแบบนี้ ย่อมได้บุญกุศลไม่เต็มที่ อย่างที่ควรจะเป็น
สำหรับท่านที่ยังต้องอาศัย พระของขวัญเป็นแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการบำเพ็ญทาน
ก็สมควรอนุโมทนาในทานกุศล นั้นๆ เพราะยังดีกว่าไม่ทำทานซะเลย
หรือบำเพ็ญทาน แบบอกุศล ปนโมหะ คือ
เป็นการทำทาน ชนิดคิดลงทุนหวังผล
แบบซื้อหวย ซื้อหุ้น หวังรวยทันใจเพราะการทำทานครั้งนี้
การบำเพ็ญทานแบบนี้ ย่อมได้บุญกุศลไม่เต็มที่
ก็สมควรอนุโมทนาในทานกุศล นั้นๆ เพราะยังดีกว่าไม่ทำทานซะเลย
ข้อคิดเกี่ยวกับพระของขวัญ
โดยส่วนตัว ผมนับถือพระของขวัญ เป็น วัตถุมงคล เพราะเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะเป็นสัญลักษณ์ เป็นสื่อให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
และเป็นแรงบันดาลใจให้เราหมั่นขยันพัฒนาตนเอง เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
วัตถุประสงค์หลักของพระของขวัญ คือ
เพื่อให้เราระลึกนึกถึงบุญที่ตนเคยทำไว้ในบวรพระพุทธศาสนา
ใจเราจะได้เกาะเกี่ยวอยู่ในบุญ ใจจะได้ผ่องใส แช่มชื่น เบิกบานใจ ที่เราได้ทำความดี
คนฉลาดจะหมั่นทบทวนบุญที่เคยทำไว้ ก็ทำให้ดวงบุญ ดวงทานบารมีโตทับทวีมากขึ้น
ถ้ายึดพระของขวัญ เพื่อระลึกนึกถึงบุญที่ตนเคยทำไว้ แบบนี้ก็ได้กุศล net ๆ
ถ้ายึดพระของขวัญ เพื่อระลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นพุทธานุสติ
แบบนี้ก็ได้กุศล net ๆ
ถ้ายึดพระของขวัญ เป็นบริกรรมนิมิต เป็นพุทธานุสติขณะนั่งสมาธิเจริญภาวนา
แบบนี้ก็ได้กุศล net ๆ
แต่ถ้าทำบุญแบบหวังพระของขวัญสวยๆ รุ่นนั้น รุ่นนี้
แบบนี้ก็ได้กุศลปนโลภะ
แต่ถ้าทำบุญแบบหวังพระของขวัญ เพียงแค่เป็นเครื่องประดับ หรือ ไว้อวดคนอื่น
แบบนี้ก็ได้กุศลปนโลภะและโมหะ
แต่ถ้าทำบุญแบบหวังพระของขวัญ ไว้ป้องกันอันตรายแบบเครื่องรางของขลัง คงกระพันชาตรี
แล้วตนเองก็ประมาทในการดำเนินชีวิต แบบนี้ก็ได้กุศลปนโมหะ
ถึงกระนั้นก็ยังควรอนุโมทนา ในทานกุศลนั้นๆครับ
ข้อคิดเกี่ยวกับจะยึดพระของขวัญ เป็นที่พึ่ง หรือ จะยึดบุญ เป็นที่พึ่ง
ที่กล่าวอย่างนี้ มิได้เจตนาลบหลู่คุณของพระของขวัญนะครับ
แต่เสนอว่า
มิใช่ บำเพ็ญทานเพื่ออยากได้พระของขวัญ ให้ครบ collection แบบเป็นของสะสมครับ
เพราะบุญนิธิ ติดตามเราข้ามภพข้ามชาติได้
ส่วนพระของขวัญ อยู่กับเราเพียงชาตินี้
และบางทีส่วนมาก แม้มีพระของขวัญเป็นร้อยองค์
แต่นำมาติดตัวกันไม่ทั้งหมดหรอกครับ
สำหรับแง่มุมเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย
รวมถึงพระของขวัญและของที่ระลึกในงานบุญพิธีต่างๆ
ก็มีประโยชน์มาก สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
ซึ่งอาจเป็นตัวคุณเองในภพชาติใหม่ ในยุคที่ลงมาสร้างบารมีในรอบต่อไป
สรุปว่า
เราเลือกได้ เราออกแบบชีวิตเราได้ ว่า
เราบำเพ็ญทานอย่างไร จึงได้ บุญ net ๆ หรือ
บุญนิด ๆ แบบกุศลปนโลภะ กุศลปนโมหะ ครับ
อย่างไรก็ขอร่วมอนุโมทนา ในการบำเพ็ญทานบารมีของทุกท่านด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
#14
โพสต์เมื่อ 17 June 2007 - 06:45 PM
แค่นี้คงพอเข้าใจนะครับ
#15
โพสต์เมื่อ 26 June 2007 - 02:56 PM