อนุโมทนา สาธุ ในความดีที่เจ้าของกระทู้ ขยันสั่งสม ทาน ศีล เจริญภาวนา , กุศลกรรมบถ 10 ด้วยครับ
สิ่งที่เจ้าของกระทู้ทำความดีนั้นถูกต้องแล้วครับ ซึ่งเป็นทั้งการแก้ไขและปรับปรุง พัฒนาตนเอง ไปในตัว
เพียงแต่ต้องทำบ่อย ๆ ทำสม่ำเสมอ เดี๋ยวความรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง ก็จะค่อย ๆ บรรเทา เบางบาง ไปเองครับ
เชิญเข้าไปที่กระทู้นี้สิครับ อาจได้ความรู้เพิ่มเติม เยอะเลย
จะลืมอกุศลกรรม (หนัก ๆ ) ที่เคยก่อไว้ได้อย่างไร
http://www.dmc.tv/fo...?showtopi...��าสำหรับการละความโกรธ นั้น วิธีแก้ไขโดยตรง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าททรงแนะนำพุทธสาวก
ให้รักษาศีล ดังที่คุณ
WISH กล่าวมาแล้ว
โลภะ แก้ด้วย ทาน การให้
โทสะ แก้ด้วย การไม่ทำร้าย เบียดเบียน คือ ศีล
โมหะ แก้ด้วย ปัญญา สัมมาทิฎฐิ การเจริญภาวนา
และยังมีอีกวิธีที่ เปรียบเสมือน ธรรมโอสถ ที่บรรเทา โกรธะ โทสะ อาฆาต พยาบาท ได้ คือ
การเจริญเมตตาภาวนาและขอคัดลอกเนื้อความมาบางส่วนเกี่ยวกับ อานิสงส์การแผ่เมตตา ๑๑ ประการ
จากกระทู้ ขณะที่จะออกจากสมาธิจะแผ่เมตตาให้ทำยังดีครับ
เมตตาสูตร
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ
๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ
ย่อมหลับเป็นสุข ๑
ย่อมตื่นเป็นสุข ๑
ย่อมไม่ฝันลามก ๑
ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ๑
ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย ๑
เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา ๑
ไฟ ยาพิษหรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้ ๑
จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว ๑
สีหน้าย่อมผ่องใส ๑
เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ ๑
เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา ( แปลขยายความ )
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีอังคุตตรนิกายว่า ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ
ย่อมได้รับ อานิสงส์ ๑๑ ประการ ดังนี้
๑.หลับเป็นสุข คือ หลับสบาย หลับสนิท
๒.ตื่นเป็นสุข คือเมื่อตื่นขึ้นมาก็สบายตัว สบายใจ หายอ่อนเพลีย ไม่มีอาการง่วงติดต่ออีก
๓.ไม่ฝันร้าย คือ จะไม่ฝันเห็นสิ่งเลวร้ายทำให้สะดุ้งตื่นกลางคัน หรือไม่ฝันหวาดเสียวต่าง ๆ
๔.เป็นที่รักของคนทั่วไป คือ จะเป็นคนมีเสน่ห์ ไปที่ใดก็ปราศจากศรัตรูผู้คิดร้าย
แม้ผู้ไม่ชอบใจก็จะกลับมาชอบได้
๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั่วไป คือแม้สัตว์ต่าง ๆ ก็รักผู้แผ่เมตตา ไม่ขบกัด ไม่ทำร้าย
ทำให้ปลอดภัยจากเขี้ยวงาทุกชนิด
๖.เทวดารักษาคุ้มครอง คือ จะเดินทางไปไหนมาไหนเทวดาจะคุ้มครองให้ความปลอดภัยตลอดเวลา จะไม่ประสบอุปัทวภัยต่าง ๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
๗.ไฟ ศาสตรา ยาพิษ ไม่แผ้วพาน คือสิ่งเหล่านี้จะทำอันตรายมิได้ จะปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้
๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว คือ ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ถ้าทำสมาธิ จิตจะสงบนิ่งได้เร็ว
หรือจะอ่านหนังสือ จะทำงานอันใดก็ตาม จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตั้งใจได้เร็ว ทำงานนั้นสำเร็จสมประสงค์
๙.หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส คือผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำ หน้าตาและผิวพรรณจะมีน้ำมีนวลมีเสน่ห
์เรียก ความสนใจได้ จะดูอิ่มเอิบตลอดเวลา แม้จะมีอายุมาก แม้รูปร่างจะไม่สวยงาม
แม้จะไม่ได้รับการแต่งเติมด้วย เครื่องสำอางใด ๆ หน้าตาผิวพรรณก็ผ่องใสน่าดูน่าชมได้เสมอ
๑๐. ไม่หลงเวลาตาย คือเวลาใกล้ตาย จะไม่หลงเพ้อ ละเมอ หรือโวยวายอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ดิ้นทุรนทุรายเป็นที่น่าเวทนาของผู้พบเห็น จะสิ้นใจอย่างสงบเหมือนนอนหลับไป ฉะนั้น
๑๑.เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมชั้นสูง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก คือ
ผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำ แม้ไม่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงขึ้นไปกว่านี้
ก็ย่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกอันเป็นที่เกิดของผู้ได้ฌาน
QUOTE
๔. โอกขาสูตร
[๖๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง
ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น ผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค
การสั่งสมเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจะสั่งสมการหลุดพ้นทางใจ(จากพยาบาท)เพราะความรัก(ความรัก ความอ่อนโยน คือ เมตตา)
กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
ศึกษาเรื่องเมตตาสูตร ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://www.84000.org...pitaka_seek.php