คือผมเห็นที่วัดพระธรรมกายนั้นเป็นวัดที่มีคนมาเลี้ยงพระมาก เพราะฉะนั้นเวลาที่พระวัดเราไปเดินบิณฑบาตรแล้วรับอาหารที่สาธุชนนำมาใส่บาตรแล้ว ผมเห็นว่ามีอาหารเป็นจำนวนมากที่พระท่านไม่ได้ฉัน อาจจะเอาไปให้เด็กวัดกินหรือเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่ ผมรู้สึกว่าถ้าพระฉันอาหารที่เราถวายแล้วนำแรงที่ได้จากการฉันอาหารที่เราถวายนั้นไปบำเพ็ญสมณธรรม เราก็คงได้บุญเต็มที่ จึงมีคำถามว่า
1. ของที่เราใส่บาตรแล้วพระได้ฉันภัตตาหารที่เรานำมาใส่บาตร กับการที่เราใส่บาตรแต่ว่าพระไม่ได้ฉัน จะได้บุญเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่
2. การใส่บาตรเป็นการให้ทานแบบ ปาฏิบุคคลิกทาน(คือแต่ละรูปที่เราใส่บาตร) หรือแบบ สังฆทาน เพราะผมรู้ว่าสังฆทานได้บุญมากกว่าปาฏิบุคลิกทานหรือการให้แบบเฉพาะเจาะจง
ถ้ามีเรื่องนี้กล่าวในพระไตรปิฎกก็ยิ่งดี แต่ถ้าไม่มีก็ขอความเห็นจากท่านทั้งหลายหน่อยครับ

ใส่บาตรแล้วพระได้ฉันกับไม่ได้ฉันได้บุญเท่ากันไหม
เริ่มโดย pumpkin, Nov 15 2007 04:32 PM
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 15 November 2007 - 04:32 PM
#2
โพสต์เมื่อ 15 November 2007 - 04:54 PM
การจะได้บุญมาหรือน้อย ประกอบด้วย
1. ผู้ให้บริสุทธิ์
2. ผู้รับบริสุทธิ์
3. วัตถุบริสุทธิ์
4. เจตนาบริสุทธิ์
จะไม่ต่างกันหากประกอบด้วยเหตุข้างต้น แต่จะต่างกันเพราะเหตุที่คุณคิดสงสัยในทานที่คุณทำ เพราะทำให้คิดได้ว่าใจไม่ผ่องใสเพราะได้ใส่บาตร
การถวายสังฆทานคือการถวายไม่เฉพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง โดยมีตัวแทนสงฆ์จำนวน 4 รูปขึ้นไป หรือรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์มารับแทน ฉะนั้นการใส่บาตรหากเราตั้งใจว่าไม่ว่ารูปใดเดินผ่านมาก็จะนิมนต์มารับบาตร ก็เท่ากับเราได้ถวายสังฆทานแล้ว เพราะเมื่อท่านบิณฑบาตรได้ก็จะเอาไปรวมกันเพื่อแบ่งกันฉันอยู่แล้วสวนที่เหลือท่านจะเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่ท่าน แต่เราได้บุญแล้วตั้งแต่ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ขอให้ทำใจให้ผ่องใสทั้งสามกาลเถอะครับ
1. ผู้ให้บริสุทธิ์
2. ผู้รับบริสุทธิ์
3. วัตถุบริสุทธิ์
4. เจตนาบริสุทธิ์
จะไม่ต่างกันหากประกอบด้วยเหตุข้างต้น แต่จะต่างกันเพราะเหตุที่คุณคิดสงสัยในทานที่คุณทำ เพราะทำให้คิดได้ว่าใจไม่ผ่องใสเพราะได้ใส่บาตร
การถวายสังฆทานคือการถวายไม่เฉพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง โดยมีตัวแทนสงฆ์จำนวน 4 รูปขึ้นไป หรือรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์มารับแทน ฉะนั้นการใส่บาตรหากเราตั้งใจว่าไม่ว่ารูปใดเดินผ่านมาก็จะนิมนต์มารับบาตร ก็เท่ากับเราได้ถวายสังฆทานแล้ว เพราะเมื่อท่านบิณฑบาตรได้ก็จะเอาไปรวมกันเพื่อแบ่งกันฉันอยู่แล้วสวนที่เหลือท่านจะเอาไปทำอะไรก็แล้วแต่ท่าน แต่เราได้บุญแล้วตั้งแต่ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ขอให้ทำใจให้ผ่องใสทั้งสามกาลเถอะครับ
#3
โพสต์เมื่อ 15 November 2007 - 05:16 PM
บุญเกิดขึ้นเมื่อ วัตถุทานนั้นขาดจากใจ และไปถึงมือทักขิไนยบุคคลแล้วครับ หลังจากนั้นท่านจะเอาวัตถุทานนั้นไปไหนก็เป็นสิทธิของท่าน ไม่เกี่ยวกับเรา ส่วนตัวเราก็ได้บุญเต็มๆเนื้อๆเน็ดๆไปแล้ว
#4
โพสต์เมื่อ 15 November 2007 - 06:18 PM
คิดว่าได้บุญไม่เท่ากัน อย่างเช่น อาหารที่นางสุชาดาถวายพระโพธิสัตว์แล้วสำเร็จประโยชน์เพื่อการตรัสรู้ ย่อมเป็นทานที่ไม่ใช่ใครจะทำได้ง่าย ๆ
แต่ผู้ที่ทำแล้วแม้พระท่านไม่ได้ฉัน แต่ก็ไม่ติดใจอะไร ยังคงปีติในบุญนั้น ย่อมได้บุญมากกว่าผู้ที่ค้างคาใจว่าพระไม่ได้ฉันอย่างนับประมาณไม่ได้ ยิ่งถ้าเกิดเสียดายกลายเป็นความเศร้าหมองของใจ ก็ยิ่งกลายเป็นการตัดรอนบุญที่ได้ในขณะก่อนทำและกำลังทำไปโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพระท่านจะฉันหรือไม่ฉัน หากเราสละความหวงแหนไปได้แล้ว ย่อมได้บุญเต็มเม็ดเต็มหน่วยแน่นอน ซึ่งถ้าหากพระท่านฉัน ก็จะได้บุญมากขึ้นไปอีก
และเพราะเหตุนี้ การถวายโดยให้เป็นส่วนกลางแก่คณะสงฆ์ ให้เป็นส่วนกลางแก่พระศาสนา ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องให้แก่พระรูปใด และไม่ได้เจาะจงว่าสิ่งไหนเป็นของเรา เพราะเมื่ออยู่ในกองกลางแล้วก็ถือว่าเป็นอันเดียวกันหมด จึงมีอานิสงส์มากกว่าอย่างนับประมาณไม่ได้ เพราะไม่ว่าพระสงฆ์จะใช้ของสิ่งใดในกองกลางนั้น ก็ชื่อว่าเราได้บุญแล้วเพราะความที่ถวายให้เป็นสังฆทานนั่นเอง เหมือนน้ำที่เราเทรวมกัน ย่อมไม่สามารถแยกได้ว่าอันไหนน้ำของเรา เมื่อถวายทานก็พึงทำใจเช่นนี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด
แต่ผู้ที่ทำแล้วแม้พระท่านไม่ได้ฉัน แต่ก็ไม่ติดใจอะไร ยังคงปีติในบุญนั้น ย่อมได้บุญมากกว่าผู้ที่ค้างคาใจว่าพระไม่ได้ฉันอย่างนับประมาณไม่ได้ ยิ่งถ้าเกิดเสียดายกลายเป็นความเศร้าหมองของใจ ก็ยิ่งกลายเป็นการตัดรอนบุญที่ได้ในขณะก่อนทำและกำลังทำไปโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าพระท่านจะฉันหรือไม่ฉัน หากเราสละความหวงแหนไปได้แล้ว ย่อมได้บุญเต็มเม็ดเต็มหน่วยแน่นอน ซึ่งถ้าหากพระท่านฉัน ก็จะได้บุญมากขึ้นไปอีก
และเพราะเหตุนี้ การถวายโดยให้เป็นส่วนกลางแก่คณะสงฆ์ ให้เป็นส่วนกลางแก่พระศาสนา ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องให้แก่พระรูปใด และไม่ได้เจาะจงว่าสิ่งไหนเป็นของเรา เพราะเมื่ออยู่ในกองกลางแล้วก็ถือว่าเป็นอันเดียวกันหมด จึงมีอานิสงส์มากกว่าอย่างนับประมาณไม่ได้ เพราะไม่ว่าพระสงฆ์จะใช้ของสิ่งใดในกองกลางนั้น ก็ชื่อว่าเราได้บุญแล้วเพราะความที่ถวายให้เป็นสังฆทานนั่นเอง เหมือนน้ำที่เราเทรวมกัน ย่อมไม่สามารถแยกได้ว่าอันไหนน้ำของเรา เมื่อถวายทานก็พึงทำใจเช่นนี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด
#5
โพสต์เมื่อ 15 November 2007 - 08:56 PM
เห็นด้วยกับคุณพักผ่อนครับสาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#6
โพสต์เมื่อ 16 November 2007 - 04:32 AM
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน
เทคนิคผม** ให้คิดว่าเรากำลังถวายกับสงฆ์ทั้งโลก ใจจะขยายสุดๆ (แม้ถวายกับพระรูปเดียว)
เทคนิคผม** ให้คิดว่าเรากำลังถวายกับสงฆ์ทั้งโลก ใจจะขยายสุดๆ (แม้ถวายกับพระรูปเดียว)
#7
โพสต์เมื่อ 16 November 2007 - 01:02 PM
อนุโมทนาบุญกับ ความรู้ดีๆนี้ด้วยน่ะครับ สาธุ
เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"
#8
โพสต์เมื่อ 19 November 2007 - 01:43 AM
ไม่มีอะไรให้ตอบแล้ว T-T
สรุปละกัน เราเอาของไปถวายน่ะ
พอถวายปุ๊บ ก็ได้บุญแล้วอ่ะครับ
สรุปละกัน เราเอาของไปถวายน่ะ
พอถวายปุ๊บ ก็ได้บุญแล้วอ่ะครับ