
นั่งสมาธิแล้วตัวสั่นครับ
#1
โพสต์เมื่อ 14 December 2007 - 08:36 PM
#2
โพสต์เมื่อ 14 December 2007 - 11:40 PM
ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า แต่ยิ่งนั่งยิ่งสั่นมากขึ้น-มากขึ้นคะ
#3
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 12:18 AM
ลุกนั่งใหม่ เอาแบบ เบา ๆ สบาย ๆ ปล่อยวาง ทำตัวอ่อน ลองดู
#4
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 06:03 AM
#5
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 09:44 AM
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#6
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 10:18 AM
แต่เขาก็ว่านั่งสมาธิเพื่อสันติภาพโลกเหมือนกันนะ
#7
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 10:40 AM
#8
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 11:54 AM



#9
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 12:19 PM
นั่งเรื่อยๆผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้แล้วจะไม่เป็นอีกเลย
#11
โพสต์เมื่อ 15 December 2007 - 05:25 PM
๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เรื่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า ใช้ดินมาทำเป็นดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือ ดวงกสิณนี้หมายความว่า ต้องเพ่งดวงกสิณ ไม่ให้จิตใจไปคิดอะไรอื่น ถ้าไปคิด
อะไรอื่นก็หมายความว่ามี ถีนมิทธะ คือจิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง คลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่ง เป็นจิตที่ตกไปจากดวงกสิณแล้ว ต้องยกจิตให้กลับมาสู่ดวงกสิณใหม่ คือให้เพ่งดวงกสิณอีก จนไม่คลาด
ไปจากดวงกสิณเลยเช่นนี้ เป็นอันว่ามีวิตกโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตมีวิตกอยู่เฉพาะดวงกสิณ ก็ได้ว่าชื่อว่าเผาหรือข่ม
ถีนมิทธะ ได้แล้ว เพราะจิตใจไม่ท้อถอยคลาดคลายไปจากดวงกสิณเลย
๒. วิจาร คือการประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคอง
ไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ไม่ไห้มีการลังเลใจว่า เพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น ก็จะหน่ายใน
การประคองจิต จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ความลังเลใจเช่นนี้ก็คือ วิจิกิจฉา เมื่อประคองจิตไม่ตกไปจาก
อารมณ์ที่เพ่งโดยปราศจากความลังเลใจ ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์ เผาหรือข่มวิจิกิจฉาได้แล้ว
๓. ปีติ คือความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบใจในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ประคองจิตให้มั่นอยู่ใน
อารมณ์ โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในการกระทำเช่นนั้น
ขณะที่จิตมีปีติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่ ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งมาดจะทำร้ายขุ่นเคืองใคร
จึงได้ชื่อว่าปีตินี้ เผาหรือข่มพยาบาทนิวรณ์ได้แล้ว
ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจนี้มีถึง ๕ ประการ คือ
ก. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
ข. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
ค. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจ ถึงกับตัวโยกตัวโคลง
หน้า ๕๘
ง. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนตัวลอย
จ. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มอาบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ
ปีติที่เป็นองค์ฌาน สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่
๔. สุข ในองค์ฌานนี้หมายถึงความสุขใจ คือ โสมนัสเวทนานั้นเอง เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตจนตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ ถึงกับเกิดปีติเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นสุขใจยิ่งนัก ความสุขก็คือความสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นธรรมดา จึงได้ชื่อว่าสุขนี้เผาหรือข่ม อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ได้แล้ว
๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งดังที่กล่าวมาเป็น
ลำดับเช่นนี้แล้ว ขณะนั้นจิตใจก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย หมายความว่าขณะนั้นไม่ได้คำนึงถึง รูป เสียง
กลิ่น รส หรือการสัมผัสถูกต้องแต่ประการใดๆ ทั้งสิ้น แน่วแน่แต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า
เอกัคคตา นี้เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ได้แล้ว
ประเภทแห่งฌาน ๕
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทแห่งฌาน ( คือฌานเภท ) ว่ามี ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌาน ๕ นี้ได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคตตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคตตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคตตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคตตา
มีข้อที่ควรสังเกตว่า จตุตตถฌานก็มีองค์ฌาน ๒ และปัญจมฌานก็มีองค์ฌาน ๒ ซึ่งจำนวนนั้นเท่ากัน แต่ว่าชนิดขององค์ฌานนั้นไม่เหมือนกัน
๑. ปฐมฌาน ต้องมีองค์ฌานครบทั้ง ๕ เพื่อเป็นเครื่องทำลาย เครื่องประหาร เครื่องเผา เครื่องข่ม ปฏิปักษ์ธรรม คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนั้น ปฐมฌานกุศลจิตจึงจะเกิดได้
อนึ่ง ในขณะที่ปฐมฌานจิตเกิดนั้น เกิดพร้อมกับองค์ฌานทั้ง ๕ นี้ ในขณะเดียวกันด้วย
หน้า ๕๙
และในขณะนั้นเอง องค์ฌานทั้ง ๕ ก็เผาหรือข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ไปพร้อมกันในขณะเดียวกันนั้นอีกด้วย หาใช่ว่าองค์ฌานเกิดทีละองค์ เผานิวรณ์ทีละอย่างไม่ แม้ในฌานจิตชั้นอื่นๆ ก็เป็นเช่นที่กล่าวนี้
๒. ทุติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๔ โดยละ วิตก ซึ่งเป็นองค์ฌานองค์แรกได้ ที่ละวิตกเสียได้เพราะ
ปฐมฌานลาภีบุคคล คือผู้ที่ได้ปฐมฌาน จะต้องหัดเข้าปฐมฌานจนชำนิชำนาญแคล่วคล่องว่องไวถึง ๕ ประการ ที่เรียกว่ามี วสี ๕ แล้ว จึงจะเริ่มทำทุติยฌานได้ เมื่อจะขึ้นทุติยฌานนั้น เห็นว่าวิตกที่เป็นองค์ฌานนี้มีสภาพ
ที่หยาบกว่าองค์ฌานอีก ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงละเสีย แล้วเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลย
ทีเดียว เพ่งปฏิภาคนิมิตตามวิธีการจนทุติยฌานเกิด
วสี ๕ และวิธีการเจริญสมถภาวนาจนฌานจิตเกิดนั้น มีแสดงอยู่ในปริเฉทที่ ๙ จึงของดไม่กล่าวในที่นี้
อนึ่ง การละวิตกเพราะว่าเป็นของหยาบตามหลักที่กล่าวแล้วนั้น ยังเห็นว่าน่าจะเป็นดังต่อไปนี้ด้วย
ก. เพราะความชำนาญ มีวสีในปฐมฌานนั้นเอง จึงเริ่มทำทุติยฌานด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตเลยทีเดียว ไม่ต้องเพ่งดวงกสิณเหมือนเมื่อเริ่มทำปฐมฌาน นี่ก็หมายความว่า ไม่ต้องใช้วิตกยกจิตขึ้นเพ่งดวงกสิณ ถ้าจะเปรียบก็เห็นจะเปรียบได้ว่า เหมือนเด็กที่เริ่มเรียนเลขบวกว่า ๔ กับ ๓ บวกกันได้เท่าใด ซึ่งอาจจะต้องทำพิธีคิด คือยกมือซ้ายชูขึ้น ๔ นิ้ว ยกมือขวาชูขึ้นอีก ๓ นิ้ว แล้วนับจึงจะตอบได้ว่าเป็น ๗ นี่แปลว่าต้องมีพิธีในการคิด คือมีวิตก ถ้าหากว่าเรียนมาคล่องแคล่วชำนาญแล้ว ก็ตอบได้ในทันทีที่ถาม ว่าเป็น ๗ โดยไม่ต้องชูนิ้ว ไม่ต้องนับ เท่ากับว่าไม่ต้องคิด ไม่ต้องใช้วิตก
ข. ผู้เข้าปฐมฌานจนถึงมีวสีแล้ว ย่อมไม่มีความหดหู่ท้อถอย ไม่หย่อนคลายความใส่ใจเป็นอันดีต่อ
อารมณ์นั้นแล้ว คือปราศจากถีนมิทธะแล้ว จึงไม่ต้องอาศัยวิตกหรือไม่ต้องใช้วิตกมาเผา มาข่มถีนมิทธะอีก
เพราะปฐมฌานได้ข่มถีนมิทธะจนอยู่มือแล้ว
๓. ตติยฌาน มีองค์ฌานเพียง ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา โดยละวิจาร ซึ่งเป็นองค์ฌานองค์ที่ ๒ ได้อีกองค์ ที่ละวิจารได้อีก เพราะ
ทุติยฌานลาภีบุคคล จะต้องมีวสีในทุติยฌานนั้นแล้ว จึงจะเริ่มทำตติยฌานได้ เมื่อจะ
หน้า ๖0
ขึ้นตติยฌาน ก็เห็นโทษของวิจารว่ามีสภาพที่หยาบกว่า ปีติ สุข เอกัคคตา จึงละวิจารอันเป็น องค์ฌานที่มีสภาพหยาบนั้นเสีย ให้สมกับตติยฌานอันเป็นฌานที่ประณีตกว่าทุติยฌาน จึงเริ่มต้นด้วยการเพ่งปฏิภาคนิมิตจนกว่าตติยฌานจิตจะเกิด
ที่ตติยฌานละวิจารได้ นอกจากหลักที่กล่าวแล้วข้างบนนี้ น่าจะเป็นดังนี้ด้วยคือ ปฐมฌานได้เผาได้ข่ม
ความลังเลใจคือวิจิกิจฉามาแล้ว และทุติยฌานก็ได้เผาได้ข่มซ้ำอีกต่อหนึ่งด้วย ข่มวิจิกิจฉาเสียจนอยู่มือแล้ว
ในการทำตติยฌานจึงไม่ต้องอาศัยวิจารมาเผาข่มวิจิกิจฉานิวรณ์นี้อีก
๔. จตุตถฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่านั้น โดยละ ปีติ ได้อีก คงเหลือแต่ สุข กับ เอกัคคตา
ตติยฌานลาภีบุคคลผู้มีวสีในตติยฌานแล้ว ก็พิจารณาเห็นว่าปีติที่เป็นองค์ฌานองค์หนึ่งนั้น
เป็นความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจจนซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจนี้ มีอาการโน้มเอียงไปในทางที่มีความลิง
โลดใจอยู่ นับได้ว่ามีสภาพเป็นของหยาบอยู่ เมื่อต้องการฌานที่ประณีตขึ้นไปอีกก็ไม่ควรที่จะติดใจในของ
หยาบเช่นนี้ในเวลาที่เจริญเพื่อขึ้นจตุตถฌาน จึงละปีติเสีย ดังนั้น เมื่อจตุตถฌานจิตเกิด จึงเหลือองค์ฌาน
เพียง ๒ องค์ คือ สุขกับเอกัคคตา
๕. ปัญจมฌาน มีองค์ฌานเพียง ๒ เท่ากันกับจตุตถฌาน แต่ไม่เหมือกันกับจตุตถฌาน กล่าวคือ จตุตถฌานมีสุขกับเอกัคคตาเป็นองค์ฌาน ส่วนปัญจมฌานนี้มีอุเบกขากับเอกัคคตาเป็นองค์ฌาน
สุขที่เป็นองค์ฌานนี้ หมายถึงสุขใจ คือ โสมนัสเวทนานั่นเอง ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าโสมนัสเวทนา
ในฌานเป็นของหยาบกว่า มีอานิสงส์น้อยกว่าอุเบกขาเวทนาในฌาน เมื่อจตุตถฌานลาภีบุคคลมีวสีใน
จตุตถฌานแล้ว พิจารณาเห็นว่าปัญจมฌานเป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน จึงได้ละสุขเสีย มาตั้งอยู่ใน
ความวางเฉยต่อความสุข คืออุเบกขา ดังนั้นขณะที่เกิดปัญจมฌานจิตจึงพร้อมด้วยองค์ฌาน ๒ คือ
อุเบกขากับเอกัคคตา
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ประเภทแห่งฌาน ๕ หรือ รูปาวจรจิตมี ๕ ฌานนั้นแตกต่างกันที่องค์ฌานแต่ละฌานแต่ละชั้น ซึ่งมีจำนวนมากน้อยลดหลั่นกันเป็นข้อสำคัญ ส่วนอารมณ์นั้นอาจจะเป็นอารมณ์อย่างเดียวกัน ไม่แตกต่างกันก็ได้
ที่มา http://www.geocities.../1page57-63.htm
อาจจะเป็นอาการปีติ
แต่ไม่ต้องไปห่วงว่าเป็น ฌาณ ไหนนะครับ เมื่อได้จะรู้เอง
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สาธุ...
(เพิ่มเติม)
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตร จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
น้อยกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรม ๑ ฌาน โดยทุติยฌาน ละได้ทั้งวิตกและวิจารพร้อมกันเลย เท่ากับ
รวมทุติยฌานกับตติยฌาน ทางปัญจกนัย ๒ ฌาน รวมกันเป็นฌานเดียว ซึ่งทางจตุกนัยจัดเป็นทุติยฌาน
เท่านั้นเอง ฌานอื่นๆ นอกนั้นก็ทำนองเดียวกัน
ส่วนทางพระอภิธรรมที่จำแนกฌานเป็นปัญจกนัย ก็เพื่อให้ตรงตามสภาวะ ตรงตามประเภทจิต และตรง
ตามจำนวนของจิตที่มีอยู่ และที่ทุติยฌานละได้แต่เพียงวิตกอย่างเดียว ต่อเมื่อตติยฌานจึงจะละวิจารได้อีกนั้น
ก็เพราะเป็น มันทบุคคล คือผู้รู้ช้า จึงละได้เพียงฌานละหนึ่งองค์ฌานเท่านั้น แต่ถ้าเป็น ติกขบุคคล คือผู้รู้เร็ว
ก็ละได้ทีเดียวทั้งวิตก วิจาร เหมือนกัน
หน้า ๖๒
เหตุนี้ทางพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๘ และเมื่อกล่าวถึงการเข้า
ฌานสมาบัติจึง กล่าวว่าสมาบัติ ๘
ทางพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๙ สมาบัติ ๙
ที่มา : http://www.geocities.../1page57-63.htm
ส่วนเพิ่มเติม
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สาธุ....
#12
โพสต์เมื่อ 16 December 2007 - 05:13 PM
แหะๆ อ๋อ รู้ละ สงสัย คงต้อง หรี่ ที่ใจ อ่ะ เน๊อะ

#13
โพสต์เมื่อ 17 December 2007 - 12:28 PM
เขาอยากนั่งสมาธิ แต่ภาวะตอนนั้นเขาอาจคุมไม่ได้ จึงสั่น
กลายเป็นว่า โดนกล่าวหาว่าเขาไม่ปกติ โดนหัวเราะบ้าง
คนที่หัวเราะ หรือไปล้อเลียนเขาจะโดนวิบากกรรมนะครับ
เคยได้ฟังเคส ถึงการนั่งสมาธิแล้วชอบหลับ นั่งทีไรก็หลับทุกครั้ง
คุณครูไม่ใหญ่ก็ฝันแล้วมาเล่าให้ฟังว่า อดีตชอบล้อเลียนคนนั่งสมาธิแล้วหลับ ทำให้เขาได้รับความอับอาย
ทางแก้ไขคือ ให้ตั้งใจนั่งสมาธิต่อไปแล้วคุมสติให้มั่น
ก็ไม่รู้ว่าการนั่งแล้วตัวสั่น อาจจะเกิดจากการที่ไปล้อเลียนมาก่อนหรือเปล่านะครับ
#14
โพสต์เมื่อ 18 December 2007 - 10:40 AM
ขออนุญาตแนะวิธีที่ทำให้ตัวเองผ่านพ้นมาได้นะคะ
หยุดเป็นตัวสำเร็จค่ะ (ขออนุญาตยืมคำค่ะหลวงปู่)
ให้เกาะใจไว้ที่ 072 ไปเรื่อยๆ สบายๆ
ต้องควบคุมใจไว้ให้มั่น(แต่ไม่ใช้กำลัง) คงที่ ที่ ศูนย์กลางกาย
บอกตัวเอง เบาๆ ว่า ไม่ต้องกลัว ไม่มีอะไรน่ากลัว
ไม่มีใครตายเพราะนั่งสมาธิ ไม่มีใครเป็นบ้าเพราะนั่งสมาธิ (คนที่เป็นเพราะวิบากเขาเอง ให้เราตีขุมไว้ก่อนว่า เราไม่มี ไม่ต้องกังวล กังวลแค่นี้ตัดไม่ได้ จะไปถึงที่สุดแห่งธรรมได้อย่างไร)
แล้วถ้ามันจะตาย แล้วเป็นไง ก็ปล่อยมันตายไปสิ (จริงๆ รู้ว่า มันไม่ตายหรอก แต่ถ้าจะตายก็ช่างมัน
จึงได้ชื่อว่า เอาชีวิตเป็นประกัน )
ตอนที่ตัวสั่นเพราะใจเรา มันกำลังพยศ เพราะมันถูกบังคับ ให้อยู่นิ่งๆ เฉยๆ มันกำลังจะนิ่งค่ะ แต่ก่อนนิ่ง ขอมันพยศหน่อยก่อน
เมื่อเราจับเชือกไว้นิ่งๆ เบาๆ แต่ให้ตายอย่างไรก็ไม่มีวันปล่อย เดี๋ยว..ใจที่มันพยศ มันก็จะหมดแรงไปเอง
กลายเป็น ใจที่ฝึกดีแล้ว ควรแก่การงาน ค่ะ
อย่าท้อ อย่ากร่าง อย่าดีใจเกินไป อย่าตื่นเต้นเกินไป อย่าเสียใจ
สิ่งต่างๆ ที่เป็นอารมณ์ที่รุนแรงนี้ ล้วนเป็นเครื่องกางกั้น ทำให้เราเจริญภาวนาไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรค่ะ
ขอเอาใจช่วยนะคะ
หากนั่งต่อไปทุกวัน ไม่ย่อท้อ ต้องเข้าถึงธรรมแน่นอนค่ะ
สาธุ ขอหลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย ดูแลชี้ทางออกนะคะ
นี่จากประสบการณ์นะคะ รวมกับไตร่ตรองคำครูบาอาจารย์มาฝึกตนเองค่ะ
ไม่มีเจตนาที่จะอวดอ้างอะไรค่ะ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ