ไปที่เนื้อหา


ThDk

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 Jan 2006
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Sep 02 2009 12:41 PM
*****

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

ที่นี่มีอะไรดีนักหนา

29 March 2009 - 04:49 PM

ถ. ที่นี่มีอะไรดีนักหนา คนถึงมาไม่หยุดหย่อน
ต. อ๋อเขามากันเพื่อที่จะผ่อน(คลาย) และเก็บเอาบุญไปน่ะซิ

ถ. เขาเก็บกันยังไง ไม่เข้าใจ ที่ฉันเห็น
เขาเพียง นั่งหลับตา ไม่เจรจาไม่ฟังเสียง
ต. ใครว่าเขาหลับตา เขาลืมตา เจ้าไม่เห็น
ตาในใสชัดเจน เห็นประจักษ์ สัจจธรรม.

ถ. ข้าน้อยไม่เข้าใจ ธรรมอันใดที่เขาเห็น
ต. ธรรมพาให้สุขเย็น เพราะได้เห็น อนิจจัง
คือการเกิด และการดับ ไม่อาจนับ หรือประมาณ
ที่สุดแห่งสังขาร ปรากฎผู้ รู้แจ้งธรรม.

ถ. อะไรเกิด อะไรดับ ท่านช่วยจับมาแถลง
ต. อ๋อ รูป นาม มันแสดง อาการแจ้ง ทุกแห่งหน
ดับสิ้นทั้ง ตัวตน เลิกดิ้นรน ก็จบกัน.

ถ. แค่นี้ เองน่ะหรือ " ไม่ยึดถือ ไม่ยึดมั่น " (ในอุปาทานขันธ์ห้า)
ต. ใช่แล้ว ไม่นับมัน ว่าอะไร มีเท่าใด
ทั้งบุญ บาป มันพลิกบท ไม่รู้จบ มันสัดส่าย
ให้เราต้องแพ้พ่าย วิ่งหนีบาป วิ่งหาบุญ
ถ้าอยู่ได้ อย่างเป็นเข็ม ไม่ลำเค็ญ ดอกสหาย
อิสระ ไม่กลับกลาย ไม่หวนมา นั่งหลับตาอีกเลย.

ทำปัญญาของตนดั่งเข็ม คือ
เมล็ดผักกาด (กิเลส ตัณหา อุปาทานในขันธ์ห้า)
ไม่สามารถตั่งอยู่บนเข็ม (จิต) ได้.
มันจะตกและหล่นไปทุกที.

เข็มนั้นจึงว่าง จาก สมุหทัย คือ เหตุอันก่อให้กิด ภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ
ธรรมรักษา ทุกท่าน ผู้ใคร่ในการฟังธรรม พิจารณาธรรม.

ฟังดี ได้ดี

26 March 2009 - 02:50 PM

การได้ฟังธรรม ทำให้ได้พิจารณาธรรม นี่คือการใช้ปัญญา นี่คือการปฎิบัติธรรมในตัวแล้ว.
ถ้าฟังธรรมแล้ว ไม่พิจารณาในธรรมนั้น ปัญญาก็ไม่เกิด การปฎิบติธรรมก็ไม่เกิด ผลจึงไม่เกิด.

ฟังธรรมหนใด ขอให้ตั่งใจในการฟัง ในการพิจารณาในธรรมทั้งปวง.
พิจารณาอะไร ขอตอบว่า พิจารณา ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ และความดับไปในที่สุดของธรรมนั้นๆ
สำคัญมาก การดูให้ถึงที่สุด ถ้าไม่ถึงที่สุด ก็จะไม่เห็น ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา อย่างท่องแท้ในธรรมทั้งปวง.

เมื่อเห็นแล้ว และเห็นจนถึงที่สุดแล้ว แล้วจะรู้ จะเห็นอะไร คำตอบคือ ท่านก็จะเป็น ผู้รู้ ผู้เห็น สิ่งที่เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา.

เปรียบได้กับการขุดหาพลอย เมือ่ขุดขึ้นมา ก็ใช้ปัญญาเลือกเอาก้อนกรวด ทราย ออก ในที่สุดก็เหลือ พลอยตามที่ต้องการ.

ธรรมนี้ พระพุทธองค์สอนให้รู้จัก ก้อนกรวด และ ทราย ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เราได้รู้ ได้ดู ได้เห็น แล้วค่อยๆ เลือก เอาออก จนหมดไม่เหลือก้อนกรวด และ ทรายอีกเลย. ที่เหลือนั่นก็คือ พลอย ( นิพพาน นิจจัง สุขัง อัตตา )

ฟังธรรมดีๆ ก็จะได้ของดี
ลองฟังโอวาทปาฎโมกข์ดู http://www.kanlayana...eb09/mp3_ov.htm

ฟังแล้ว ต้องพิจารณาด้วยปัญญา ถ้าไม่พิจารณาด้วยปัญญา การปฎิบัติธรรมก็ไม่เกิด ผลก็ไม่ได้ ฟังเสียเวลาเปล่า.
ธรรมรักษา

เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์เสียที

22 March 2009 - 02:58 PM

ณ ศาลาพักร้อนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ดับเย็น ( นิพพาน )
สองสหายมาเจอกันโดยมิได้นัดหมาย ( เจอโดยวิถีทางของธรรมชาติ )

สหาย -ต กับ สหาย - ล

สหาย-ต เอ้าเพื่อนเป็นไง ไม่ได้เจอกันตั้งนาน ทำไมหน้าตาดูไม่ค่อยแฮปปี้เลยง่ะ
สหาย-ล มันเบื่อน่ะ เบื่อเหลือเกิน

สหาย-ต เบื่ออะไรเพื่อนเอ๋ย
สหาย-ล เบื่อชีวิต เบื่อคนที่บ้าน เบื่องาน มันเบื่อไปหมด

สหาย-ต เบื่อก็อย่าไปมีมันซิ มีอะไรแล้วทุกข์ก็อย่าไปมีมัน
สหาย-ล อ้าว พูดอะไรง่ายๆอย่างนั้นล่ะ มันทิ้งกันได้ง่ายๆได้ที่ไหน

สหาย-ต เพื่อนเอ๋ย ฟังให้ดี เราไม่ได้บอกให้เพื่อนทิ้ง แต่เราบอกเพื่อนว่า อย่าไปมีมัน
สหาย-ล ถ้าไม่มีก็ต้องทิ้งนะซิ

สหาย-ต ทิ้งน่ะ ทิ้งแน่ แต่ทิ้งให้ถูก ทิ้งไม่ถูกก็ ไม่พ้นทุกข์
สหาย-ล เอาล่ะๆไม่ต้องพูดมาก เบื่อเหลือเกินแล้ว อะไร อะไร มันไม่เป็นดั่งใจข้าเลย. เพื่อนเอ๋ย ข้าต้องทิ้งอะไร ไม่มีอะไร ช่วยบอกมาเร็วๆด้วย

สหาย-ต ทิ้งความเห็นผิด
สหาย-ล ข้ามีความเห็นผิดหรือ

สหาย-ต ก็ท่านมีทุกข์ มิใช่หรือ. บุคคลที่มีทุกข์ คือ บุคคลที่มีความเห็นผิด. บุคคลที่มีความเห็นถูกต้องตรงตามจริง ย่อมเป็นผู้ไม่มีทุกข์
สหาย-ล ถ้าข้ามีความเห็นถูกข้าจะพ้นทุกข์จริงหรือ

สหาย-ต แน่นอน เพื่อนเอ๋ย
สหาย-ล แล้วข้าจะมีความเห็นถูกได้อย่างไร

สหาย-ต ท่านมีความเห็นอย่างไรใน กายนี้ จิตนี้
สหาย-ล กายนี้ก็ของข้า จิตนี้ก็ของข้า บางทีมันก็สุข บางทีมันก็ทุกข์. มันก็เป็นอย่างนั้นเองแหละเพื่อนเอ๋ย. ใครๆเขาก็เป็นอย่างนี้. ท่านไม่น่าถามเลย.

สหาย-ต ถ้า กายนี้เป็นของท่าน ทำไมท่านไม่บอกกายนี้ว่า เจ้าจงมีสุข ว่างจากทุกข์เถิด.
สหาย-ล ถ้าข้าบอกได้ก็ดีน่ะซิ แต่มันเป็นไปไม่ได้.

สหาย-ต เมื่อมันเป็นไปไม่ได้ แสดงว่ากายนี้ไม่ใช่ของท่าน มิได้อยู๋ใต้อำนาจของท่าน. เอาล่ะ ลองมาดูที่ จิต บ้าง. ท่านว่าจิตนี้เป็นท่าน เป็นของท่าน จากนี้ไป ท่านจงบอกจิตท่านว่า ท่านปราถนาให้มันเป็นสุข ว่างจากทุกข์เถิด.
สหาย-ล ถ้าข้าทำได้ก็ดีน่ะซิ แต่มันเป็นไปไม่ได้.

สหาย-ต นี่แหละ ความจริงของกายนี้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ. นี่แหละ ความจริงของจิตนี้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ. มันเป็นของโลก มันเป็นธรรมชาติ มันเกิดจากากรปรุงแต่ง. ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ปรุงแต่งกันเข้าเป็นกายนี้. เวทนาธาตุ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ วิญญาณธาตุ ปรุงแต่งกันเข้าเป็นจิตนี้.
ถ้าปราศจากการปรุงแต่ง ธาตุดิน อยู่เดี่ยวๆ ธาตุอื่นๆก็อยู่เดี่ยวๆด้วย กายนี้ก็หามีไม่.
ถ้าปราศจากการปรุงแต่ง เวทนาธาตุ อยู่เดี่ยวๆ ไม่รวมกับ สัญญาธาตุ สังขารธาตุ หรือ วิญญาณธาตุ ต่างธาตุ ต่างไม่มารวมประชุมกัน จิตก็หามีไม่.
เปรียบได้กับ ผ้าหนึ่งผืน ที่ปรากฎขึ้น เพราะการนำเอาด้ายแต่ละเส้นมาทอเข้าด้วยกัน แต่ถ้าแยกด้ายแต่ละเส้นออก ผ้าที่เคยปรากฎอยู่ก็จักอันตรธานหายไป ตั้งอยู่มิได้.
หากแยกธาตุทั้งสี่ ออกทีละธาตุ กายนี้ก็ตั้งอยู่มิได้.
หากแยกธาตุทั้งสี่ออก จิตนี้ ก็หามีไม่.
แล้วอะไรเล่าที่เป็นทุกข์ ทั้งหมดเป็นเพียงธรรมธาตุที่มารวมกัน แล้วเกิดอาการของธรรมชาติ ตามสิ่งปรุงแต่ง.

สหาย-ล ข้าเห็นกายแล้ว ข้าเห็นจิตแล้ว ธรรมชาตินี้แจ่มแจ้งแล้ว. การรวมตัวของธาตุต่างๆ เป็นของหนัก เปรียบเสมือนการถือผ้าผืนผนึ่ง.
เมื่อมีการดึงด้ายแต่ละเส้นออก แล้วพิจารณาเพียงด้ายเส้นเดียว เป็นของแบา.
การวางด้ายลง เป็นความว่าง เพราะไม่เห็นผิดว่า ด้ายนี้เป็นเรา ผ้านี้เป็นเรา.
ผ้าเป็นธรรมชาติ ที่เกิดจากการรวมตัวของด้ายที่ทอ. ข้าเห็นผ้า ข้าเห็นด้าย. ข้าเห็นความหนักของผ้า ข้าเห็นความเสื่อมของด้ายแต่ละเส้น ข้าเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนอันแท้จริง ของผ้า และเส้นด้าย. นี่เอง ที่เรียกว่าทุกข์.

สหาย-ต ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้ใดเห็นสัจจธรรม ( ความจริงของรูปธรรม - นามธรรม ) ผู้นั้นเห็น ตถาคต.
ทุกข์ มีเพื่อดู เพื่อรู้. รู้จริงจึงวางจริง วางจริงก็ว่างจริง ว่างจริงก็ไม่มีทุกข์จริงๆ มันเป็นอย่างนี้เอง ดับไม่เหลือ. อย่าเข้าใจว่าต้องขว้างทิ้ง หรือ หนี โลก คน สัตว์ สิ่งของ ขอเพียงเห็นถูกต้องตรงตามเป็นจริง ของธรรมชาติเขา เราก็ว่างจากทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

เวลาที่เหลือก็ใช้ผ้าที่มี อยู่่เช็ดเอาความเห็นผิดออกจากจิตของเพื่อนมนุษย์ เพื่อจะได้ไม่หลงเข้ามาสู่โลก ไม่หลงไปนรก ไม่หลงไปสวรรค์ ตราบใดที่ยังวนเวียนในสังสารวัฎ ตราบนั้นก็ยังไม่พ้นทุกข์.

การเห็นองค์พระพุทธะ โดยวิธีนี้มิต้องอาศัยการนั่งหลับตา เป็นการเห็นด้วยวิปัสนาญาณ เห็นได้ในทุกอริยาบถ เห็นธรรม(กาย-จิต)แล้ว มองให้ลึกลงอีก จนเห็นสัจจธรรม(ไตรลักษณ์ที่อิงแอบในธรรมทั้งสอง) แล้วมองให้เห็นที่สุดของสัจจธรรม จนเห็นความดับไปของธรรม(กาย-จิต) เมื่อธรรมทั้งหลายดับ ที่เหลือ คือ นิจจัง สุขัง อัตตา ( สิ่งนี้ไม่มีความเกิด ไม่ม่ความดับ เป็นผู้รู้ ผู้เห็น )

นกน้อยในสังสารวัฎ

14 March 2009 - 04:06 PM

นกที่เป็นอิสระจึงเป็นนกที่มีความสุขที่แท้จริง

สหาย๑ คุณกำลังมองอะไรอยู่หรือครับ
สหาย๒ ผมกำลังมองดู โลก อยู่ครับ

สหาย๑ คุณมองดูโลกแล้วคุณเห็นอะไรหรือครับ
สหาย๒ ผมเห็นบ้านเรือนมากมายครับ ( บ้านเรือนเหล่านั้นเข้าสู่ความเสื่อมโทรมตลอดเวลา ตามกาล )

สหาย๑ คุณเห็นอะไรในบ้านไหมครับ
สหาย๒ ครับ ผมเห็น นาย ๑ คน กับ บ่าว ๑ คน

สหาย๑ นายกำลังทำอะไรอยู่ครับ
สหาย๒ นายกำลังทำตายคำสั่งบ่าวครับ

สหาย๑ บ่าวกำลังทำอะไรอยู่ครับ
สหาย๒ บ่าว กำลังสั่งงาน นาย อยู่ครับ

สหาย๑ อ้าว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นล่ะครับ
สหาย๒ อ๋อ เพราะนายดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับคนหลับใหลครับ

สหาย๑ ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมครับว่า การดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับคนหลับใหลนั้นเป็นอย่างไรครับ
สหาย๒ คือ ปุถุชน เวลาคิดก็เพียงคิด เวลาพูดก็เพียงพูด เวลาทำก็เพียงทำ.

สหาย๑ แล้วมีวิธีไหนบ้างครับ ที่จะทำให้ นายเป็นาย บ่าวเป็นบ่าว
สหาย๒ นาย ต้องดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับ ผู้ที่ตื่นแล้ว ครับ

สหาย๑ การดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับ ผู้ที่ตื่นแล้ว เป็นอย่างไรครับ
สหาย๒ บุคคล คิดก็รู้ว่าคิด ( ไม่ใช่การรู็ถึงสิ่งที่คิด) พูดก็รู้ว่าพูด ( ไม่ใช่การรู้ว่าพูดเรื่องอะไร) ทำก็รู็ว่าทำ ( ไม่ใช่การรู้ว่าทำอะไรลงไป)

สหาย๑ ถ้า นาย ดำเนินชีวิตอย่าง ผู้ที่ตื่นแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรครับ
สหาย๒ นาย ย่อมเป็นอิสระจากากรเป็นทาส เป็นอิสระจากากรที่ต้องทำงานหนัก.
นาย อาศัย บ้าน(กาย)นั้น และ อาศัยบ่าว(จิต)นั้น ยังประโยชน์แก่โลกถึงที่สุด แล้วก็ละ บ้านเก่า และ บ่าวเก่า ไปอย่างไม่มีอาลัย เพราะมีความรู้ถูกต้องเกี่ยวกับบ้าน และบ่าว เห็นทุกข์ โทษ และ ภัย ของบ้านและบ่าวอย่างถึงที่สุด. นาย ไม่หาบ่าวใหม่ หรือ บ้านใหม่.
นายเป็นอยู่เช่นเดียว กับ นกน้อย ที่เป็นอิสระ อิสระจากบ้าน อิสระจากบ่าว อิสระจากการถูกจำขัง อิสระจากการเป็นทาส อิสระจากการทำงานหนัก อิสระจากการเกิด อิสระจากความเศร้าโศรกเสียใจ อิสระจากการพลัดพราก อิสระจากความเร่าร้อนใจ อิสระจากการบีคั้นทางใจ อิสระจากความแก่ อิสระจากความเจ็บ อิสระจากความตาย.....อิสระจากทุกข์ทั้งมวล.

นกน้อยอยู่ในสังสารวัฎด้วย
อาศัย ปีกข้างหนึ่ง คือ ความรู้ ปีกอีกข้าง คือ ความเมตตา.
อาศัย ขาข้างหนึ่ง คือ สติ ขาอีกข้าง คือ ความเพียร.
อาศัย ขนนกแห่งความสุขที่แท้จริง ปกคลุมให้ความอบอุ่นในทุกฤดูกาล ทุกสถานที่.
อาศัย จิตเป็นหนึ่งเดียว คือ รู้ ตื่น เบิกบาน
อาศัย หัวหนึ่ง คือ ปัญญาแห่งสัจจธรรม.

ท่านก็เป็นนกน้อยที่สามารถอยู่ในสังสารวัฎโดยปราศจากทุกข์
ขอเพียงเริ่มต้นด้วยการ ใช้ชีวิตดั่งเช่น นาย
ทำหน้าที่ของนาย อย่างหลงใหลไปทำงานของบ่าว
เมื่อถึงเวลา ก็ลา บ้าน ลา บ่าว ไปอย่าอิสระ......อิสระจากการใช้ชีวิตอย่างวกวน....วนเวียน....น่าเวียนหัว ในสังสารวัฎ.

กลัวบาป ก็ต้องคอยระวังอกุศล,
อยากได้บุญ เรื่องอกุศล ก็ยังคงต้องระวัง อย่าประมาท เพราะจะทำให้ อาศัย บาปเพื่อจะทำบุญ,
อยู่อย่างอิสระและยังประโยชน์ต่อตนและผู้อื่นให้ถึงที่สุดเถิด เพื่อนนกเอ๋ย.

ถ้ามีสติก็ไม่ต้องกลัวว่าจะทำบาป
ถ้ามีสติก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีบุญมาก
การทำแต่บุญโดยขาดสติ น่ากลัวมาก เพราะเป็นการทำบุญโดยอาศัยบาป อกุศล คือ ความโลภ ความหลง.

บุญ เป็นเรื่องของ ความดี ความบริสุทธิ์ ที่อยู่บนฐานของสติ ศีล จิตที่เป็นกุศล และ ปัญญารู้ เห็น ทุกข์ สัจจธรรม.

บินให้สูง บินให้พ้น และ บินจนหลุออกจากสังสารวัฎเถิด เพื่อนนกเอ๋ย.

B & M

www.chigongmeditation.com

Buddha Boy in India

25 November 2008 - 07:53 PM

Watching and reading with your own consious and wisdom.


http://news.bbc.co.u...sia/7722011.stm




Documentary About Buddha Boy (1 of 5) Ram Bahadur Bamjan


The story about a boy in India who do meditation without food and water in 10 months.