ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ตกลงถูกหรือผิด


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 kalyanamit

kalyanamit
  • Members
  • 70 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 November 2008 - 10:19 PM

สวัสดีครับมีใครเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบ้างรึเปล่าครับคือว่าหลังเพลไปแล้วพระภิกษุห้ามรับอาหารทุกอย่าง

ถึงแม้จะไม่ได้กินในขณะนั้นแต่รอถึงเช้าค่อยฉันก็ถือว่าผิดเป็นอาบัติผู้ที่ถวายก็จะบาปด้วยเช่นกันแล้วก็อีกเรื่องนึงคือ

หลังจากพระฉันอาหารเสร็จแล้วท่านต้องบอกกล่าวด้วยว่าอาหารนี้เราไม่ต้องการแล้วมอบให้ญาติไปกินต่อถ้าพระไม่บอกกล่าวก็ยังถือว่าเป็นของสงฆ์อยู่ญาติโยมที่เอาไปก็ถือว่าขโมยของสงฆ์ถือว่าผิดเป็นบาปด้วย บางวัดก็ทำตามแบบนี้บางวัดอีกเยอะก็ไม่ผมสงสัยว่าตกลงมันผิดถูกยังไงครับจะบาปจริงรึเปล่ารบกวนผู้รู้ให้ความกระจ่างหน่อยครับ

ขอบคุณครับ เอ้ออีกเรื่องนึงคืออยากรู้ว่ากรานกฐินแปลว่าอะไรครับได้ยินในทีวีแต่ไม่รู้แปลว่าอะไรหน่ะครับ



#2 Doramon

Doramon
  • Members
  • 468 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 12:03 AM

ขอตอบแบบผู้มีความรู้น้อยนิดน่ะครับ จากประสบการณ์
ที่เคยได้ไปถือศีล แบบวัดป่า นะครับ เช้า ต้องรอให้พระอาทิตย์ แตะขอบฟ้าก่อน ท่านถึงจะฉันได้ คือ น้ำ

พระท่าน ฉัน มือเดียว แล้วแต่ว่าท่านจะตั้งเวลาฉันท์กี่โมง แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 9.30 น. ท่านก็จะเริ่มฉัน
นั่นคือ ประมาณ 8.00 น,ก็จะเริ่มประเคนอาหาร ไปเรื่อยๆ จนครบทุกอย่างที่โยมนำมาถวาย โดยการตักใส่บาตร รวมกัน


หลังจาก ฉันเสร็จช่วงบ่าย ก็จะมีน้ำปานะ คือ
1.กาแฟไม่ใส่ครีม ใส่แต่น้ำตาล ไม่ใส่นม เครื่องดืมเช่น น้ำอัดลม ถ้าเป็นน้ำผลไม้จะได้ใช้ผ้าขาวบาง กรองไม่ต่ำกว่า 7 ครั้งหรือจนกว่าจะไม่มีกากต้องเป็นน้ำใสๆๆครับ
2. มะขามป้อม เมล็ดทานตะวัน อีกผลไม้ชนิดหนึ่งจำชื่อไม่ได้
3. ปรมัต คล้ายๆ กับเมียงคำ ประกอบไปด้วย พริก เกลือ น้ำตาลทราย กระเทียม เนย(ที่นำไปเคียวแล้ว) และผัก (จำชื่อไม่ได้) ครับ อันนี้เคยได้ ชิมหลังพระฉันท์เสร็จแล้ว อร่อยมาก
4. เยลลี่(เป็นลูกกลมๆ) ลูกอม เช่น โกปิโก้รสกาแฟ ลูกอมที่จะไม่มีส่วนประกอบที่มีถัวหรือมีไส้อยู่ภายในครับ

อันนี้ก็คือ ที่ผมเคยได้ไปฝึก นุ่งขาวห่มขาวมาครับ จากประสบกาณ์จริง

ใครมีแบบไหน เอาความรู้มาแบ่งปันกันนะครับ

#3 Doramon

Doramon
  • Members
  • 468 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 12:09 AM

อันนี้ขอบตอบอีกรอบ คือว่าหลังเพลไปแล้วพระภิกษุห้ามรับอาหารทุกอย่าง

ถึงแม้จะไม่ได้กินในขณะนั้นแต่รอถึงเช้าค่อยฉันก็ถือว่าผิดเป็นอาบัติผู้ที่ถวายก็จะบาปด้วยเช่นกันแล้วก็อีกเรื่องนึงคือ


อันนี้ คิดว่าแล้วแต่ท่านะปวารณา นะครับ เพราะ ที่ผมเห็นพระท่านก็จะ ตั้งสัจจะของท่านเอง เผื่อเป็นการบำเพ็ญเพียรของท่าน อย่างพระอาจารย์ที่เจอ ท่านก็จะตั้งความปรารถนา ว่าท่านจะไม่ฉันท์อาหาร เลย 9 วัน ภายใน 9 วันนี้ ทานก็จะฉันท์แต่น้ำปานะเท่านั้น ครับ และท่านก็จะไม่นอน คือจะใช้แค่ 2 อย่างคือ เดิน นั่ง ไม่นอน ครับ

ก็คงจะแล้วแต่วัดแล้วแต่พระท่าน ที่จะบำเพ็ญเพียรอย่างไรนะครับ

#4 เด็กผู้น้อย

เด็กผู้น้อย
  • Members
  • 436 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 08:42 AM

มันก็เป็นวินัยของสงฆ์นะครับ ว่าหลังเพลแล้วไม่รับประเคนอาหาร ยกเว้นปานะ (สมัยพุทธกาลมีตัวอย่างคือ ท่านอณาฑบิณฑิกเศรษฐี ถ้าท่านไปหลังเพลท่านจะเอาไปเฉพาะปานะไปถวาย) แม้กระทั้งธรรมเนียมการถวายสังฆทาน ก็ไม่นิยมถวายหลังเพล ถ้าถวายหลังเพลต้องเป็นของแห้งหรือไม่ใช่อาหาร (ของแห้งคงอนุโลม) แต่เรื่องฉันหลังเพลแล้วฉันไม่ได้แน่นอนครับ เรื่องอาหารหลังพระฉันแล้วถ้าไม่บอกมีคนเอาไปกินย่อมบาปนั้น ก็จริงนะครับ แต่ทุกวัดมันเป็นการรู้กันอยู่แล้ว กล่าวคือ เป็นกริยาที่อนุญาตไปในตัวอยู่แล้วก็คือ อาหารที่พระฉันไม่หมด แล้วลูกศิษย์เอาไปกิน ก็ไม่ผิดครับ นอกจาก สิ่งของที่มีโยมถวายเช่น ปัจจัย อุปกรณ์หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารที่ฉันเวลานั้นแล้วยกเอาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ถือว่าบาปมหันต์ครับ

ส่วนเรื่องกรานกฐิน เป็นพิธีของพระสงฆ์ที่ได้รับผ้าไตร ในการถวายกฐินของโยมแล้ว นำไปเข้าพิธีในโบสถ์ เพื่อทำพิธี ประมาณนี้ครับ รอผู้รู้ท่านอื่นมาเสริมนะครับ

#5 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 10:15 AM

ยังไม่มีใครเข้ามาช่วยตอบ ก็ขอเข้ามาแจมไม่ให้เงียบเหงากันก่อนนะครับ ระหว่างรอผู้รู้

QUOTE
หลังเพลไปแล้วพระภิกษุห้ามรับอาหารทุกอย่าง

อันนี้ จริงครับ เพื่อป้องกันการผิดวินัยที่จะตามมา ห้ามฉันอยู่แล้ว จะรับไว้ทำไม แต่ถ้ามีเจ้าหน้าที่หรือไวยาวัตจักรมารับไปจัดการแทนก็ได้นะครับ โดยเฉพาะวัดที่มีโรงครัว พระสามารถรับถวายอาหารแห้งได้ โดยเก็บเข้าโรงครัวทั้งหมด อาหารสดที่เก็บรอพรุ่งนี้เช้าไม่ได้ต้องคืนญาติโยมไป

QUOTE
ถึงแม้จะไม่ได้กินในขณะนั้นแต่รอถึงเช้าค่อยฉันก็ถือว่าผิดเป็นอาบัติผู้ที่ถวายก็จะบาปด้วยเช่นกัน

แยกเป็น
QUOTE
ถึงแม้จะไม่ได้กินในขณะนั้นแต่รอถึงเช้าค่อยฉันก็ถือว่าผิดเป็นอาบัติ

เพื่อให้สงฆ์เป็นผู้อยู่ง่าย จึงมีพุทธบัญญัติห้ามพระภิกษุถือครองอาหารหรือปานะข้ามคืน(ยกเว้นโอสถ) จะได้ไม่เกิดการกักตุน แถมยังเป็นภาระหาที่เก็บ หาวิธีเก็บไม่ให้เสีย สารพัด เมื่อกักตุนก็จะขี้เกียจไม่ออกปฏิบัติกิจสงฆ์คือบิณฑบาตร ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาได้

QUOTE
ผู้ที่ถวายก็จะบาปด้วยเช่นกัน

อันนี้ไม่บาปหรอกครับ แต่ถือว่าไม่ควรทำครับ การถวายอาหารหลังเพลไปแล้ว(ต้องไม่รู้ว่าถวายไม่ได้ด้วย) ไม่บาปแต่เป็นการสร้างวิบากกรรมให้กับตัวเราเองครับ ทำให้หนทางสร้างบารมีเราไม่ราบรื่นครับ ส่วนพระที่รับถวายหลังเพลก็ต้องอาบัติครับเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่พระต้องรู้ว่าไม่ควรทำ จะอ้างไม่รู้ไม่ได้

QUOTE
หลังจากพระฉันอาหารเสร็จแล้วท่านต้องบอกกล่าวด้วยว่าอาหารนี้เราไม่ต้องการแล้วมอบให้ญาติไปกินต่อถ้าพระไม่บอกกล่าวก็ยังถือว่าเป็นของสงฆ์อยู่ญาติโยมที่เอาไปก็ถือว่าขโมยของสงฆ์ถือว่าผิดเป็นบาปด้วย บางวัดก็ทำตามแบบนี้บางวัดอีกเยอะก็ไม่ผมสงสัยว่าตกลงมันผิดถูกยังไงครับจะบาปจริงรึเปล่ารบกวนผู้รู้ให้ความกระจ่างหน่อยครับ

เรื่องนี้ ผมเคยอ่านในพระนิพนธ์ของเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งนานมากแล้ว น่าจะเป็นข้อบัญญัติของพระฝ่ายธรรมยุตนะครับถ้าจำไม่ผิด ประมาณว่า พระอาจารย์ระดับพระผู้ใหญ่ก็กลัวลูกศิษย์ไม่มีกับข้าวรับทาน(ภาษาไทย ไม่มีคำว่าทาน(เฉยๆ)ที่ใช้แทนคำว่ากินครับ)ก็เลยเหลือกับข้าวไว้เยอะ ลูกศิษย์ก็นึกว่าพระอาจารย์จะเหลือไว้ฉันเพลก็ไม่กล้าแตะ สรุปอาหารบูดเน่าเสียหลายมื้อ จนต้องไต่ถามกัน ก็เลยเกิดบัญญัตินี้ขึ้นมา บางตำราก็อ้างที่ป้องกันความ "อยาก"ของพระ ให้ท่านหัดตัดใจจากการติดรสชาติอาหาร มื้อนี้ให้จบไป มื้อหน้ามีอะไรก็ฉันอย่างนั้น

ส่วนที่ว่าถ้าเป็นของเหลือจากพระไม่บาปครับ แต่ถ้าเป็นของที่พระท่านยังใช้ประโยชน์ได้อยู่ในวันนั้น อย่างเช่น น้ำผลไม้กระป๋องที่ท่านยังไม่เปิดฉัน ซึ่งสามารถเก็บไว้ถวายหลังเพลได้ แล้วเราไปเอามารับทานก็ถือว่าไม่เหมาะไม่ควรครับ บาปด้วย แม้ท่านจะกล่าวยกให้แล้วก็ไม่เหมาะไม่ควรครับ

QUOTE
จากประสบการณ์
ที่เคยได้ไปถือศีล แบบวัดป่า นะครับ เช้า ต้องรอให้พระอาทิตย์ แตะขอบฟ้าก่อน ท่านถึงจะฉันได้ คือ น้ำ

ปกติก็มีพุทธบัญญัติอยู่แล้วครับ เมื่อก่อนจะใช้วิธียื่นฝ่ามือออกไปข้างหน้าให้สุดแขน แล้วมองดูถ้าเห็นเส้นลายมือชัดเจนก็ถือว่าอรุณแล้วครับ ส่วนเรื่องน้ำไม่เห็นมีบัญญัติไว้นะครับ ของพระธุดงค์นั้นน่าจะมาจากสาเหตุ ถ้าฉันน้ำมากก็จะรบกวนเวลาปฏิบัติธรรมมากกว่า ต้องลุกออกไปบ่อยๆ ค่ำมืดจะยิ่งเป็นอันตรายครับ แถมยังมองไม่เห็นสัตว์เล็กๆที่อยู่ในน้ำด้วย จะอาบัติเอาง่ายๆ

QUOTE
พระท่าน ฉัน มือเดียว แล้วแต่ว่าท่านจะตั้งเวลาฉันท์กี่โมง แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 9.30 น. ท่านก็จะเริ่มฉัน
นั่นคือ ประมาณ 8.00 น,ก็จะเริ่มประเคนอาหาร ไปเรื่อยๆ จนครบทุกอย่างที่โยมนำมาถวาย โดยการตักใส่บาตร รวมกัน

พระท่านฝึกความเป็นผู้อยู่ง่ายครับ ไม่ต้องเตรียมต้องเก็บต้องหา ฉันแล้วก็จบกันไปเลย ไว้ว่ากันใหม่พรุ่งนี้ เอาเวลาไปปฏิบัติธรรม อันนี้แล้วแต่วิสัยครับ แต่บางครั้งพระหนุ่มเณรน้อยก็ควรระวังไว้บ้างครับ สังขารยังไงก็ต้องการการบำรุงครับ เพราะเป็นเครื่องมือในการสร้างบุญสร้างบารมีครับ

QUOTE
2. มะขามป้อม เมล็ดทานตะวัน อีกผลไม้ชนิดหนึ่งจำชื่อไม่ได้

เมล็ดทานตะวันนี่ไม่แน่ใจนะครับ ว่าจะถูกพุทธบัญญัติหรือเปล่า แต่ถ้าฉันมื้อเดียวก็ถือว่าเหมาะสมทางโลกครับ เพราะมีกากใยสูงช่วยขับถ่าย กับวิตามินเกลือแร่ที่เหมาะสมครับ(ฟอสเฟต ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการนั่งนิ่งๆนานๆได้ครับ) คนทั่วไปก็ควรทานบ้างนะครับ มีประโยชน์มากทีเดียว
ส่วนผลไม้อีกชนิดถ้าให้ทาย ก็คงเป็นลูกสมอครับ ยาวๆรีเหมือนลูกรักบี้ กากใยสูงมากจับไขมันจากอาหารในลำใส้ พร้อมทั้งผลักดันกากอาหารให้ออกมา ทำให้ลำใส้สะอาด ลดอัตราเสียงการเป็นมะเร็งลำใส้ได้ดีครับ ผลสดมีรสเปรี้ยวฝาด ขับปัสสาวะลดการเกิดนิ่วได้ครับ

QUOTE
3. ปรมัต คล้ายๆ กับเมียงคำ ประกอบไปด้วย พริก เกลือ น้ำตาลทราย กระเทียม เนย(ที่นำไปเคียวแล้ว) และผัก (จำชื่อไม่ได้) ครับ อันนี้เคยได้ ชิมหลังพระฉันท์เสร็จแล้ว อร่อยมาก

อันนี้ไม่มีความรู้เลยครับ

ส่วนเยลลี่นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ครับ เพราะปกติปานะจะใช้เพื่อการดับอาการโหยกระหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง จากที่เคยได้รับจากอาหารมื้อเย็น เมื่อร่างกายยังไม่ชินก็ยังหิวอยู่ พระท่านจึงมีน้ำปานะมาทำให้หายหิวไปได้ด้วยน้ำปานะ เมื่อนานเข้าร่างกายชินแล้ว ก็จะไม่มีอาหารหิวอีก ปานะก็ไม่จำเป็นอีก

แต่เยลลี่นั้น ทำให้รู้สึกอิ่มด้วยครับ ถึงตัวเยลลี่จะไม่มีสารอาหารใดๆ แต่ด้วยคุณสมบัติที่ทำให้อิ่มนี่แหละที่เป็นปัญหา ว่าเหมาะสมกับพระหรือเปล่า คงอยู่ที่มุมมอง วิธีกับปริมาณมั้งครับที่จะเป็นตัวตัดสิน

เอาไว้ให้ผู้ที่รู้จริงเข้ามาตอบดีกว่าครับ

อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#6 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 06:12 PM

QUOTE
เพื่อให้สงฆ์เป็นผู้อยู่ง่าย จึงมีพุทธบัญญัติห้ามพระภิกษุถือครองอาหารหรือปานะข้ามคืน(ยกเว้นโอสถ) จะได้ไม่เกิดการกักตุน


QUOTE
ปกติก็มีพุทธบัญญัติอยู่แล้วครับ เมื่อก่อนจะใช้วิธียื่นฝ่ามือออกไปข้างหน้าให้สุดแขน แล้วมองดูถ้าเห็นเส้นลายมือชัดเจนก็ถือว่าอรุณแล้วครับ ส่วนเรื่องน้ำไม่เห็นมีบัญญัติไว้นะครับ


ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ นรอ.ทัพพีในหม้อ ได้ตอบไว้ดีแล้ว

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 07 November 2008 - 08:06 PM

อนุโมทนา การสนทนาธรรมและคำตอบที่ดีแล้วของทุกท่าน โดยเฉพาะคุณ ทัพพีในหม้อ ครับ
แนบไฟล์  Sa_Dhu_Anumonatami.gif   22.04K   75 ดาวน์โหลด

เท่าที่อ่านดู เห็นว่า่ ที่เจ้าของกระทู้ถามและคุณDoramon เล่าให้ฟังนั้น

มีทั้งเรื่อง

วินัยสงฆ์ ตามพุทธบัญญัติ

วัตร ส่วนบุคคล-หมู่คณะ เช่น สงฆ์ฝ่ายธรมยุติ , พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ ที่เรียกกันว่า สายพระป่้า

ความรอบคอบของภิกษุ ที่เคร่งครัดในพระวินัย ในกรณีวินิจฉัยยาก จึงเคร่งครัด รอบคอบไว้ก่อน
รวมถึงท่านไม่อยากให้ฆราวาส เช่น เด็กวัด อุปัฎฐาก มีเศษวิบากกรรม
จากการบริโภค อุปโภค ของสงฆ์โดยถือวิสาสะ ครับ

ซึ่งทุกท่านตอบไว้ดีแล้วครับ

ขอเพิ่มอีกมุมมองให้พิจารณาครับ

ในเรื่องวินัยสงฆ์
สามารถวินิจฉัยได้ตามดุลพินิจ ของพระวินัยธรผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญในด้านพระวินัยสงฆ์ ครับ

ส่วนเรื่องการเคร่งครัดและวัตรปฏิบัติส่วนบุคคล-หมู่คณะ ในสิ่งที่นอกเหนือวินัยสงฆ์เดิม

โดยส่วนตัว ผมมองว่า เป็นเรื่อง นานาจิตตัง
ตามแต่อัธยาศัยของบุคคลและวัตรของบางหมู่คณะ ครับ

เพราะ วัตรเพื่อการขัดเกลาตนเองของแต่ละท่าน กฎย่อยของแต่หมู่คณะ
เหมาะกับมนุษย์ที่มีอัธยาศัย ต่างกันครับ
ซึ่งก็น่าสรรเสริญ ใหการเพียร บำเพ็ญตบะ ของท่านนะครับ

ข้อคิดอีกอย่าง คือ
ในพุทธันดรนี้ มีวินัยสงฆ์ ในศีลปาติโมกข์มากถึง ๒๒๗ ข้อ มี ๓๑๑ ข้อในภิกษุณีสงฆ์
แต่ในบางพุทธันดร มีวินัยของสงฆ์ ไม่มากเท่านี้
ก็พอเพียงให้สามารถบรรลุธรรม มรรค ผล นิพพาน แล้วครับ

แม้ในพุทธกาลที่ผ่าน
เคยมีภิกษุ ที่ท้อในสมณะเพศ เพราะ มีศีลมากมายต้องระวังรักษา
พระบรมศาสดาจึงให้กุศโลบาย รักษาศีลเพียงข้อเดียว โดยความหมาย คือ
รักษาใจตน ให้สะอาด บริสุทธิ์
ซึ่งภิกษุรูปนั้น สามารถบรรลุธรรมภิสมัย ในที่สุดครับ

ส่วนเรื่องกรานกฐิน ลองแวะไปที่กระทู้
*** ความรู้ กฐิน : อริยประเพณีและอานิสงส์ *** โดย คุณ สาธุธรรม
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18185

มีคำตอบครับ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม