ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 March 2006 - 06:52 PM

ใครอ่านจนจบ จะรู้ว่าบรรดานักคิด ทั้งหลาย ยิ่งคิดก็ยิ่งมีคำถามค้างใจ ไม่รู้จบ
แต่ถ้าใจสงบ หยุด นิ่ง สบายๆ แม้ไม่คิด ก็รู้คำตอบ โดยไม่ต้องมีคำถาม

คอลัมน์ - ความทรงจำนอกมิติ / นสพ.ไทยโพสต์

เมื่อไม่กี่วันก่อนได้ไปพูดที่ มหาวิทยาลัยสงฆ์เรื่องจิตวิญญาณ ในแง่วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์
ให้นักศึกษาปริญญาโทที่ส่วนมากเป็นพระ ตั้งแต่เปรียญ 4 ประโยคกระทั่งเปรียญ 9 ประโยคฟัง
มีฆราวาสราวๆ หนึ่งในสี่ร่วมเสวนาอยู่ด้วย

ได้พูดถึงจักรวาลวิทยาใหม่กับแควนตัมฟิสิกส์เท่าที่พอจะรู้
มีคำถามของพระสองคำถามที่เป็นคำถามที่คนทั่วไปมักถามที่ ตอบได้ยากมากๆ หรือตอบแล้วก่อคำถามต่อจึงตอบได้ไม่หมด หรือไม่มีทางหมดเลย ทำให้ทุกคนเข้าใจเหมือนกันไม่ได้

คำถามแรกถามว่า
จิตวิญญาณกับจิตใจและสมองมีความสัมพันธ์ต่อกัน หรือเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน และกันอย่างไร?

คำถามที่สองพระอีกรูปถามว่า รูป นามและวิญญาณใน ทางวิทยาศาสตร์แยกกันอย่างไร?


พระผู้ถามคำถามที่สองนี้ได้ให้ข้อมูลความ เห็นเพิ่มเติมแล้วถามบนข้อมูลที่ให้ใหม่ว่า

ในทางพุทธศาสนาถือว่าแสงหรือ รังสีที่แผ่ไปกระทบวัตถุและสะท้อนจากวัตถุหรือสิ่งของมากระทบกับตา
ทำให้ตา “เห็น” เป็นรูปนั้น แสงหรือรังสีนั้นเองก็จัดเป็นรูปด้วย เฉพาะแต่ สิ่งที่เกิดจากจิตรู้ทำให้เรารู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชอบหรือไม่ชอบถึงจะเป็นนาม

ดังนั้น ถ้าหากว่าวิทยาศาสตร์แควนตัมบอกว่า ในระดับที่ละเอียดนั้น ความจริงมันให้ความเป็นได้ทั้งเป็นสสาร
ที่เรียกว่าอนุภาคซึ่งก็คือรูป อย่างหนึ่ง กับเป็นคลื่นที่รวมแสงรังสีเสียงที่บอกว่าเป็นนามอีกอย่างหนึ่ง ความรู้วิทยาศาสตร์จะไม่ขัดหรือค้านกับพุทธปรัชญาหรือ?

อีกประการหนึ่งที่ วิทยาศาสตร์ใหม่บอกว่า
จิตไม่ได้เป็นผลตามหลังของสมองหรือของกายตามที่วิทยาศาสตร์กายภาพบอกให้เชื่อ
วิทยาศาสตร์ใหม่จะจัดเรื่องของวิญญาณ หรือจิตวิญญาณในทางศาสนา กับเรื่องของนาม กับเรื่องของรูปเอาไว้ตรง ไหนอย่างไร?

นั่นไม่ใช่คำถามธรรมดา บางทีผู้ถามที่เรียนปริยัติทางศาสนา อาจมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากกว่านักศึกษาวิทยาศาสตร์เสียด้วยซ้ำ คำถามสองคำถามนั้นต่างกัน แต่คาบเกี่ยวกัน และจริงๆ แล้วเชื่อว่าเป็นคำถาม ที่ค้างคาใจของคนช่างคิดทุกคนในโลก เพราะคำตอบตอบไม่ได้ทั้งหมด แถมที่ตอบได้บ้างนั้นก็เช่นที่กล่าวไปแล้ว แม้แต่คนฟังแต่ละคนที่รับฟังคำ
ตอบด้วยกันพร้อมๆ กัน ก็ยังเข้าใจไม่เหมือนกัน

นั่นก็เพราะว่าเรื่องของจิต เรื่องของวิญญาณมันมีแต่คำถามๆๆ แต่ไม่มีคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์สุดท้าย ได้สมบูรณ์ทั้งหมด เพราะจิตมันไม่มีสัญญาอะไรที่จะบ่งบอกว่ามันเป็นจิต และก็ไม่มีอะไรมาค้ำจุนให้จิตมันตั้งอยู่ได้
ดังนั้นเองนักวิทยาศาสตร์ที่มองอะไรเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์อยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าจิตไม่มีอยู่จริง หรือไม่

หากจะคงเอาไว้ก็พยายามอธิบายจิตให้เป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ให้ได้ รถไฟรถยนต์วิ่งได้คงไม่ใช่เพราะใครเอาม้าไปซ่อนไว้ข้างใน หรือมีผีอยู่ในเครื่องจักรนั้น หากแต่เมื่อกระบวนการพัฒนาวิวัฒนาการมันซับซ้อนถึงจุดหนึ่ง มันก็สามารถทำงานได้เอง

เมื่อสมองมีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นสมองของคน จิตก็เกิดขึ้นมาเอง
เราเลยคิดจะสร้างจิตเทียมด้วยคอมพิวเตอร์แม้กระทั่งทุกวันนี้
แต่จิตกลับเป็นความจริงแท้ในทางศาสนา และปรัชญาที่ บอกกับเราเช่นนั้นนับเป็นพันๆ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ว่ามองไม่เห็นหรือไม่มี สัญญาแล้วแปลว่าไม่มี หรือว่าอะไรที่ไม่มีสิ่งใดค้ำเอาไว้ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ดังที่กล่าวเอาไว้เป็นพุทธปรัชญาว่า
อนิทัสสนามัง วิญญานามัง...อับติทิษ ฐามัง วิญญานามัง

ที่ใครก็สามารถรู้ได้ว่ามีจริง เมื่อเราเป็นอิสระจากสิ่งลวงตามายาทั้งหลายสามารถขยายสติให้ละเอียดถึงที่สุด...
จะวิมุตตามัง...คือ ความอิสระนั้น

เพียงแต่ความจริงเช่นนั้นเป็นประสบการณ์ของแต่ละคนด้วยตนเองเป็นปัจเจก เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพธิ วิญญูหิติ
เป็นญาณทัสนะที่ได้ มาจากสมาธิภาวนา และต้องเป็นสมาธิภาวนาที่วิมุตติอย่างว่าจริงๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าได้มาครึ่งๆ กลางๆ
แล้วก็มาคิดว่ารู้หมดแล้ว ต่างเถียงกันหน้าดำ หน้าแดงจนสาธารณชนทั่วไปสับสนกันไปหมด

บทความวันนี้จึงเป็นความพยายามที่จะตอบคำถามสองข้อนั้น ซึ่งอาจตอบรวมกันได้
เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับใจกับสมองนั้น ไม่มีข้อ พิสูจน์เด็ดขาด หรือแม้ว่าใกล้เคียงเด็ดขาด หรือให้ความเป็นเอกฉันท์ได้

ระหว่างนักวิทยาศาสตร์แท้ๆ ด้วยกัน เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ จิตให้เป็นรูปธรรมได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนมาก และวิทยาศาสตร์ก็ทำสมอง ให้เป็นนามธรรมไม่ได้อยู่แล้ว สมองอาจทำได้เพียงจิตในระดับที่ต่ำสุด เช่น
การตอบสนองของระบบประสาท การบริหารข้อมูลและการใช้ข้อมูล (จำ - ระลึก - คิดและเรียบเรียงหรือคอมพิวต์)
ที่เป็นเรื่องของตรรกะ เช่น ภาษา หรือคณิตศาสตร์
หรือจะกล่าวได้ว่า สมองสามารถบริหารที่สมองเองได้ เพียงการกระทำตามคำสั่ง (intentional)
ด้วยกายวจีและใจที่เกี่ยวกับการคิดคำนวณ สมองไม่สามารถรู้ได้ รู้ว่าเป็นฉันเองที่รู้ และรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบ
กระทั่งรู้ว่าอยากได้ และฉันต้องได้มันมาให้ได้ ในกระบวนการทั้งหมดของ
จิตที่สมองอาจทำได้ก็แค่บางส่วนของเวทนากับสัญญา
ส่วนที่เหลือรวมทั้ง เรื่องของสังขารหรือเจตนา (volition-intentionality)
รวมทั้งและโดยเฉพาะวิญญาณ (ในที่นี้แปลว่าจิตที่รู้ว่าตัวเองรู้) นั้นสมองอาจไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย


ดังที่ เซอร์จอห์น เอ็คเคิลส์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล บอกว่า จิตรู้ หรือจิตตั้งใจ (intention) อยู่นอกมิติของที่ว่างและเวลาเป็นสากลในทุกหน แห่งเข้ามาอยู่ในสมองมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์แม่
(John Eccles, The Wonder of Being Human, 1985)

สมองเป็นเพียงเปียโน ที่รอการเคาะการเล่น หรือเป็นผู้แปลโค้ด
แม้ตรงนี้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่เด็ดขาด หรือมีบ้างก็มักจะเหลื่อมล้ำหรือซ้อนทับกัน
จนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ กันเองก็ตกลงกันไม่ได้

เอากันง่ายๆ ระหว่างนักฟิสิกส์ยุคใหม่ส่วนมากที่ เป็นนักปรัชญาไปแล้ว กับนักชีววิทยาและนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ส่วนใหญ่ (ที่ล้วนเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์หรือประสาทสรีรวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์วัตถุนิยม) ต่างก็เหมือนอยู่กันคนละโลก

นักชีววิทยาที่รู้เรื่องชีวิตทั้งหมด จากทฤษฎีของดาร์วิน จึงหงุดหงิดใจที่ตัวเองให้คำตอบเรื่องจิตที่เป็นส่วนของชีวิตไม่ได้ นักจิตวิทยาแบบเก่าลูกศิษย์ลูกหาของฟลอยด์ที่ศึกษาจิตแท้ๆ ก็หงุดหงิดใจที่ตอบอะไรในเรื่องของจิตไม่ได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนมาก มันจะตอบได้อย่างไรในเมื่อนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้พยายามทำเรื่องที่ไม่ใช่สสาร เรื่องที่ไม่อยู่ในมิติสามมิติของสสารที่ต่อเนื่องกับอีกหนึ่งมิติของเวลา ย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
ไม่ว่าจะพยายามอย่างไร ทั้งๆ ที่ได้พยายาม มากว่าสองร้อยปีแล้ว


อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์ทางจิตทางประสาท และสมองในทุกสาขาส่วนหนึ่งที่สำคัญ ได้ยอมรับร่วมกันว่า
จิตมีอยู่จริงๆ โดยธรรมชาติและเรื่องของจิตที่ทุกวันนี้เรียกว่าวิทยาศาสตร์ทางจิตนั้น ไม่ว่าสาขาใดก็มีความสำคัญและถูกต้องในขอบเขตที่จำกัดนั้นๆ

ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์พวกนี้จึงหันมาทำงานร่วมกัน ค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่าง จิตกับสมองที่อาจจะสรุปอย่างหยาบที่สุดได้เป็นสามประเด็นใหญ่ คือ

(1) จิตเป็นผลผลิตของกายวิภาคและสรีรภาพของสมองหรือกาย ตามกระบวน วิวัฒนาการชีววิทยา (epiphenomenon)

ในกรณีนี้คำว่าจิตก็คือกาย นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้พยายามพิสูจน์ให้จิตเป็นเรื่องของสมองให้ได้ทั้งหมด สมองก็คือสารเคมีหรือคอมพิวเตอร์ทำด้วยเลือดเนื้อ สมองจึงเป็นทั้งหมด คือเป็นทั้งตัวรู้ว่าเป็นตัวฉันที่รู้ และรู้ว่ารูปนั้นเป็นอะไร หรือรู้ว่าฉันกำลัง กระทำอะไรในขณะนั้นๆ

(2) จิตกับสมองแยกจากกัน (dualism) จิตเป็นนาม สมองเป็นรูป การทำงานของจิตผ่านสมองมีตัวกลาง
ตัวรู้ที่รู้ว่า เป็นฉันที่รู้ เป็นเรื่องของจิต (res-cogitan) ของเดส์การ์ตส์ ส่วนรูปที่ฉันเห็น หรือการกระทำที่ฉันกำลังกระทำ อยู่เป็นเรื่องของกายของสมอง (res-extensa) (3) จิตกับสมองมีที่มาดั้งเดิมเดียวกัน เช่นที่มาของสรรพสิ่งทั้งหมดของจักรวาล
ซึ่งเคลื่อนไหวเชื่อมโยง เป็นองค์รวมเป็นนิรันดร “ที่มา” นี้คือพลังงานจิตที่เป็นพื้นฐานของจักรวาล ที่ เดวิด โบห์ม คิดว่าอยู่ในรูป ของสนามเหนือแควนตัม (เหนือนามสภาพความเป็นคลื่น wave-function field) สนามที่ม้วนซ่อนสสาร พลังงานและความหมาย
ในที่นี้ความหมาย คือตัวรู้ตัวที่ทำให้เรารู้ว่าดำรงอยู่ (being) คือจิต ผู้สร้างจักรวาลและสรรพ สิ่งกระทั่งเป็นนามรูปเป็นใจกายของเราก็คือสภาวะหนึ่งของ “ที่มา” สนามที่ไม่หยุดนิ่งตัวนี้

(3) ข้อนี้กำลังมาแรง กรณีนี้จึงเป็นจิตของมนุษย์ที่มาจาก
“ที่มา” ตัวนี้ที่สร้างพระเจ้าเทวดาขึ้นมา สร้างโลก สร้างดวงดาว สร้างกาแล็กซีขึ้นมา
ถ้าหากไม่มีจิตรู้ที่เข้ามาอยู่ในตัวมนุษย์ในตัวเรา จักรวาลและสรรพสิ่งจะมีขึ้นมาได้อย่างไร?
พระเจ้าเทวดามาได้อย่างไร?


จิตเรานั้นแหละที่สร้างทั้งหมดขึ้นมา เราจึงสร้างเทพธิดา เทวดาหรือพระเจ้า ให้มีรูปร่างเหมือนกับเรา
ถ้าแบบไทยก็ใส่ชฎาไม่ใส่เสื้อ เพราะเทวดาก็ร้อน เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์
เทวดาฝรั่งจะมีปีกและสวมเสื้อคลุมยาว แต่จิตที่เข้า มาอยู่ในชีวิตนั้นเองก็มีหลายระนาบระดับ
และมีขั้นตอนที่วิวัฒนาการไปตาม วิวัฒนาการของชีวิตของกาย

นั่นคือวิวัฒนาการของจิตและของกายที่ตามมาทีหลังตามขั้น ตอนที่เป็นธรรมชาติ
จิตที่เป็นตัวรู้ที่เรียกว่าวิญญาณหรือจิตวิญญานจึงเป็นสากล เป็นทั้งหมด และอยู่ในทุกหนทุกแห่งไม่มีตำแหน่งแหล่งที่ (non-local)

ที่ วิลเดอร์ เพ็นฟิลด์ บอกว่า ไม่อยู่ในคอร์เท็กซ์สมองแน่นอน
และเซอร์จอห์น เอ็คเคิลส์ บอกว่า ไม่อยู่ในสมอง แต่มีสมองเป็นตัวผ่านเป็นที่ทำงาน


ที่ โรเจอร์ เพ็นโรส บอกว่า เป็นคลื่นอนุภาคจากข้างนอกที่วิ่ง เข้ามาทำงานในรูปแบบแควนตัมในไมโครทุบูล์ของเซลล์สมอง


ที่ จุง เรียกว่าจิตไร้สำนึกโบราณ (Jung’s archetype) รู้ผ่านตัวฉันและผ่านสมองของฉัน - ที่เห็นเป็นรูปอะไรหรือรู้ว่ากำลังกระทำอะไร ผ่านกล้ามเนื้อหรือเป็น ภาษาพูดในการสื่อกับภายนอก หรือเป็นการคิดหรือคอมพิวต์ที่ภายในด้าน ภาษาของสมอง


นั่นคือความสัมพันธ์ของจิตหรือจิตวิญญาณ กับจิตใจหรือนาม กับสมองหรือรูป นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณ - นาม - รูปที่อยู่ในคำถามทั้งสองคำถาม

ในความเข้าใจนั้น คลื่นหรืออนุภาคที่เป็นอิสระในธรรมชาติ คือนามรูปที่ต้องไปด้วยกันตลอดเวลาไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง อนัตตา จึงไม่ใช่นามหรือรูปที่แยกกันโดดๆ แต่เป็นธรรมชาติสภาวธรรมตามกฎของ ไฮเซ็นเบิร์ก (uncertainty) และของ นีลส์ บอห์ร (complimentarity) แต่หากคลื่นกับอนุภาคแยกจากกันมาทำงานทั้งสองจะมีลักษณะและมีหน้าที่เฉพาะ

ดังนั้น ที่พุทธศาสนาจัดเป็นรูปจึงถูกต้องและไม่ขัดกัน แต่ในธรรมชาติคลื่นกับอนุภาคเป็นสองสภาวะที่ร่วมกันเสริมกันและกัน
เช่นเดียว กับนามรูปที่เป็นสภาวธรรมร่วมกันในความหมายเมื่อไม่ได้แยกจากกัน

นามรูปไม่ใช่นามหรือรูป

ไม่ใช่คลื่นที่แยกออกมาโดดๆ เช่นแสงแดดหรือแสงเทียน

ซึ่งผู้ถามในฐานะเป็นผู้ศึกษาพุทธศาสนาจบเปรียญ 9 ประโยค ผ่านการวิตกวิจารณ์มายาวนาน อาจเทียบเคียงเพื่อความเข้าใจได้ว่า ที่มาของสรรพสิ่งของสสารวัตถุ ของกาย ของจิตอันเป็นธรรมธาตุหรือธรรมฐิติ
หรือพื้นฐานของจักรวาลที่เป็นความจริงแท้นั้น เป็นรูปแบบหนึ่ง ของพลังงานที่ม้วนซ่อนอยู่ในสนามของความเป็นหนึ่งที่บริสุทธิ์ยิ่ง

หนึ่ง ที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนึ่งที่เป็นดวงๆ เช่นดวงแก้วดวงใหญ่ดวงเดียว แต่เป็นหนึ่งเช่นเป็นเยื่อใยร่างแหผืนเดียวที่เป็นพื้นฐานของทั้งหมด
พลังงาน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันในความหมายนี้คือร่างแหจิต
(พลังงานในรูปแบบอื่นคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ คือสสาร คือที่ว่างเวลา และก็คือข้อมูล)

สนามจิตบริสุทธิ์หรือหนึ่งดั้งเดิมนี้อาจเทียบได้กับพุทธะหรือจิตหนึ่งหรือ
ธรรมชาติที่สุดของธรรมชาติตามที่ท่านพุทธทาสเรียก และสภาวะของความ บริสุทธิ์นี้คือสภาวะที่เป็นนิพพานด้วย

ทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้โดยความบริสุทธิ์ หรือต่างกันก็ได้โดยลักษณะ
จิตพุทธะเป็นเนื้อหาที่นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งหลากหลายไม่สิ้นสุด เป็นอนันตัง ดังที่มีกล่าวว่า
อนิทัสสนามัง วิญญานามัง อนันตามัง สัพโตปภามัง

เมื่อสิ้น อิสระเมื่อก่อประกอบเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนุภาคก็คือ ปฐมามังอุปปัญโญ
ที่ที่ จะเป็นที่มาของนามหรือรูปที่แยกกันออกไป ที่เป็นนามจะมีวิวัฒนาการไป ตามขั้นตอนของนาม สอดคล้องกับด้านที่วิวัฒนาการไปเป็นรูปกาย ที่เป็นนามคือจิตระดับต่างๆ ของชีวิตที่หลากหลาย
กระทั่งเป็นจิตของมนุษย์ที่ จะยังต้องวิวัฒนาการต่อไปอีก

ส่วนที่เป็นรูป ก็คือรูปร่างอันหลากหลาย ของมวลชีวิต ทั้งสองกระบวนธรรมชาติที่เป็นไปเองตามหลักการและขั้นตอนของสังสารวัฏ นั่นคือเส้นทางขามา

ส่วนนิพพานนั้นเป็นสภาวะจิตที่ บริสุทธิ์ที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้อีก อันเป็นเส้นทางขากลับ

ซึ่งสำหรับพุทธ ปรัชญาแล้วไม่จำเป็นว่าจะต้องไปรวมกัน
เช่นศาสนาพราหมณ์ที่สุดท้าย อาตมันรวมกับปรมาตมันหรือพรหมมัน ความบริสุทธิ์ของหลักสำคัญสูงสุด ทั้งสองประการ

คือ จิตหนึ่งหรือพุทธะด้านหนึ่ง

กับนิพพานอีกด้านหนึ่ง

จะมีคุณสมบัติและความบริสุทธิ์เป็นเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่บริบทที่มิติและ มีเส้นทางที่ต่างกันออกไป

เปรียบได้กับจักรวาลวิทยาว่าด้วยการเกิดของ จักรวาลที่เป็นขามาหลังบิ๊ก-แบง กับจักรวาลที่เป็นขากลับ
(ซึ่งความเห็นยัง ไม่ยุติระหว่างจักรวาลปิดหรือจักรวาลเปิด)

แต่ไม่ว่าจะเป็นบิ๊ก-ครันช์ของจักรวาลปิด หรือจุดกลางของหลุมดำของจักรวาลเปิด ต่างก็มีแต่การเกิดๆ ดับๆ ที่ไม่สิ้นสุดในวิชาจักรวาลวิทยาใหม่ ที่ก็ไม่ได้ต่างกันกับจักรวาลวิทยาในทางพุทธศาสตร์
ความเป็นขามาและขากลับไปของวิวัตตา – สังวิวัตตาตลอดไป.

ใครอ่านจนจบ จะรู้ว่าบรรดานักคิด ทั้งหลาย ยิ่งคิดก็ยิ่งมีคำถามค้างใจ ไม่รู้จบ
แต่ถ้าใจสงบ หยุด นิ่ง สบายๆ แม้ไม่คิด ก็รู้คำตอบ โดยไม่ต้องมีคำถาม

ไฟล์แนบ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 March 2006 - 02:41 AM

QUOTE
ที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนึ่งที่เป็นดวงๆ เช่นดวงแก้วดวงใหญ่ดวงเดียว แต่เป็นหนึ่งเช่นเป็นเยื่อใยร่างแหผืนเดียวที่เป็นพื้นฐานของทั้งหมด พลังงาน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันในความหมายนี้คือร่างแหจิต (พลังงานในรูปแบบอื่นคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ คือสสาร คือที่ว่างเวลา และก็คือข้อมูล)


QUOTE
สนามจิตบริสุทธิ์หรือหนึ่งดั้งเดิมนี้อาจเทียบได้กับพุทธะหรือจิตหนึ่งหรือ
ธรรมชาติที่สุดของธรรมชาติตามที่ท่านพุทธทาสเรียก และสภาวะของความ บริสุทธิ์นี้คือสภาวะที่เป็นนิพพานด้วย

จากบทความข้อนี้ บ่งชี้ชัดว่ามีชาวพุทธหรือคนที่ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำมาเทียบเคียงคิดเดาด้วยสมองตนเองอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว ถามว่าการคิดเดานั้นมีใครเคยเห็นสนามจิตบริสุทธิ์ที่เป็นเหมือนตาข่ายบ้าง ถึงได้ทราบว่าจิตเป็นสนามตาข่าย

พระพุทธเจ้าเราท่านทรงเป็นสัพพัญญูทั้งรู้จริงทั้งเห็นจริงหมดข้อกังขา เป็นความรู้ที่ยิ่งกว่าการคิดเดาของนักปราชนักคิดสมัยใดๆ




หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 laity

laity
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 09:51 PM

ได้เคยฟังหลวงพี่ฐานะ (พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ) ในเทปเรื่อง สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องสมาธิ http://www.kalyanami..._thana/t007.asf และ http://www.kalyanami..._thana/t006.asf

ท่านตอบเรื่องสมอง จิต ร่างกาย วิญญาณ ได้ดีกว่านี้นะครับ และท่านยังอธิบายโดยใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ ได้เห็นภาพ เข้าใจง่ายกว่านี้มาก
อย่าให้อุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางในชีวิตการสร้างบารมี และ
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา

โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

#4 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 10 March 2006 - 05:36 AM

I agree with khun laity ," พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ, ได้ดีกว่านี้ และท่านยังอธิบายโดยใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ ได้เห็นภาพ เข้าใจง่ายกว่านี้มาก "

คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#5 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 04:55 PM

ขอเป็นกำลังใจให้พี่คนเขียนกระทู้ดีกว่านะคะ
เขียนหลายกระทู้ละ
ยาวมากๆๆๆๆด้วย
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง

#6 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 17 October 2006 - 09:01 PM

รู้สึกมาจากหนังสือ DOU เลย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#7 usr31058

usr31058
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 September 2009 - 09:23 PM


**การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสรรพสิ่ง** (สัจธรรม)
ครุ่นคิดเมื่อตอนหัวรุ่ง ได้ความว่า "สรรพสิ่งในโลก มีส่วนประกอบจาก ธาตุ(พลังงาน)ทั้ง 5 ดังนี้ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ พลังงานจิต (คลื่นไฟฟ้า,จิตใจ) เป็นแกนกลางและจะแฝงอยู่กับทุกโมเลกุลของร่างกาย (คล้ายเมนเฟรมของคอมพิวเตอร์) โดยมี กรรมเป็นตัวกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งกรรมมี 2 กรรม คือ
1.กรรมที่เกิดจากการกระทำเมื่อชาติก่อน
2.กรรมที่เกิดจากการกระทำในปัจจุบัน
กรรมคือการกระทำ ผลของกรรม คือผลของการกระทำ นั้นเอง (กรรมดี,กรรมไม่ดี)
และมีขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตัวเร่งให้เกิดการกระทำ(กระทำหรือไม่กระทำ)การกระทำทุกการกระทำ จะมีผลของการกระทำวกกลับมายังผู้กระทำเสมอ ผ่านระบบของกฎแห่งกรรม 2 ทาง คือ
1.ทางหยาบ กระทำเสร็จมีผลตามมาทันที
2.ทางละเอียด กระทำเสร็จผลจะถูกส่งผ่านระบบโมเลกุลเป็นทอด ๆ แล้วจะวกกลับมายังผู้กระทำ
การกระทำทุกการกระทำจะถูกบันทึกในรูปแบบของพลังงานจิตโดยอัตโนมัติ(ในส่วนลึกของจิต) เมื่อตายลงส่วนประกอบจากธาตุ(พลังงาน)ทั้ง 5 จะแปรสภาพในระดับโมเลกุล(หรือละเอียดกว่า) กลับไปสู่ค่าเดิม ตามกฎที่ว่า พลังงานไม่สูญหายไปไหนเพียงแต่แปรสภาพไปสู่พลังงานอื่น เช่นจากพลังงานกล เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีกรรมที่กระทำมาเป็นตัวกำหนดว่าโมเลกุลที่ย่อยสลายของเราจะไปรวมตัวก่อเกิดเป็นสิ่งใด โดยมีจิตจะเป็นตัวรับรู้
เมื่อตายลง มี 2 อย่างเกิดขึ้น
1.ร่างกายย่อยสลายกลับสู่ธาตุทั้ง 4
- ดิน ได้แก่ เนื้อ กระดูก เส้นขน
- น้ำ ได้แก่ เลือด เหงื่อไคล น้ำมูก เสมหะ หนอง
- ลม ย่อยสลายผ่านระบบหายใจ ทุกวินาทีอยู่แล้ว
- ไฟ ย่อยสลายผ่านระบบปรับอุณหภูมิในร่างกาย (ผ่านทางน้ำ)
2.พลังงานจิตจะยังไม่ดับลง แม้ร่างกายจะย่อยสลายหมด โดยจิตจะรับรู้ผลที่เกิดกับทุกโมเลกุลของร่างกายที่ย่อยสลายไปก่อเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ โดยมีกรรมเป็นตัวกำหนด
เช่น เนื้อ – ดิน – ต้นไม้,พืช- สัตว์มากินพืช-สัตว์กินสัตว์-สัตว์ถูกฆ่า (ทุกขั้นตอนจิตรับรู้)
เนื้อ – ดิน – ต้นไม้,พืช – หนอนกินพืช-ไก่กินหนอน-ไก่ถูกฆ่าเชือดคอ ลวกน้ำร้อน ความเจ็บปวดที่เกิดกับไก่ จิตรับรู้ เจ็บปวดด้วยทรมานด้วย (ทุกครั้งที่แปรสภาพของพลังงาน นั้นคือการเกิดใหม่ทุกครั้ง ทั้งเป็นหนอน,เป็นไก่ ฯลฯ เรียกว่า ภพ,ชาติ,ชาติก่อน,อดีตชาติ)
คนที่กระทำกับไก่กระทำเพราะ 2 เหตุ คือ
1.กรรมเก่าที่เราก่อมันโดยมีเขาเป็นคนถ่ายทอดผ่านกระบวนการดังที่ว่า วกกลับมาหาเรา
2.กรรมใหม่ ที่เขาก่อขึ้น แล้วมันก็จะวกกลับไปหาเขาผ่านทางเราเหมือนกัน
พุทธเจ้าเรียกว่า กงกำกงเกวียน วัฏสงสาร วนไปวนมา ทำอย่างไรถึงจะสิ้นสุด มีคำตอบในบทต่อไป


** ตอบที่ท่านสงสัยว่าทำไมสัตว์ มันไม่มีสมองแล้วมันเกิดมาก็ทำโน้นทำนี่เองได้เลย ? **


- เพราะมันเป็นแค่ตัวถ่ายทอดกรรมเท่านั้น เป็นตัวสนองกรรมให้จิตทุกดวงที่มารวมกันขึ้นเป็นตัวมัน ได้รับรู้ผลของการกระทำโดยมีสัตว์เป็นตัวถ่ายทอด (ไก่ 1 ตัว เกิดจากโมเลกุลหลายโมเลกุลมารวมตัวกัน และมีหลายจิตที่มาคอยรับการถ่ายทอดผลของกรรม)
- ต่างจากคนที่ใน 100 % ของโมเลกุลที่มารวมตัวกันเป็น 1 คน จะมาจากกรรมเก่าถ่ายทอดมากจาก ฝั่ง พ่อ 25 % จากฝั่ง แม่ 25 % และตัวเราเองกำหนดขึ้นเอง 50 % (กรรมเก่าที่เคยทำมา 25 % และกำลังจะทำขึ้นใหม่ 25 %)
- กรรม 50 % นี่แหละที่ทำให้เราต่างจากสัตว์ เพราะเรากำหนดเอง ว่าจะให้มันเป็นกรรมแบบไหน(กรรมดี,กรรมไม่ดี) ซึ่งมันจะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของตัวเราต่อไป ตามที่กล่าวมาข้างต้น วนไปวนมา
- ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม” หรือ เป็นไปตาม “กระบวนการวัฏสงสาร”

#8 usr31058

usr31058
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 September 2009 - 04:11 PM


*การดำเนินไปของกระบวนการสัจธรรม (กระบวนการวัฎสงสาร)*
กระบวนการวัฏสงสาร (กงกำกงเกวียน, กระบวนการทางธรรมชาติ หรือ กระบวนการสัจธรรม)เป็นกระบวนการดำเนินไปของสรรพสิ่งทั้งในโลก และนอกโลก (ระบบจักรวาล)
(ธรรมมะ หรือ ธรรมชาติ)
1.มี พลังงาน(ธาตุ)ทั้ง 5 (ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,จิต(คลื่นไฟฟ้า) เป็นสารตั้งต้น
2.มี ขันธ์ 5 (รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ) เป็นตัวเร่งกระบวนการ ,กิเลศ เป็นตัวเสริม
3.มี กฎทาง คณิต,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ เป็นกฎควบคุมการดำเนินกระบวนการให้ทั้ง 4 ข้อ ดำเนินไปภายใต้กฎนี้
4. มีกรรม(การกระทำ,ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนและแผนงานในการดำเนินกระบวนการทั้งหมด
เมื่อข้อ 1- 4 เริ่มดำเนินกระบวนการ จะไม่มีคำว่า “ปาฎิหาริย์” หรือ “อภินิหาร” สิ่งเหนือธรรมชาติดังที่เราเชื่อและสอนกันมา มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
ทุกครั้งเมื่อมีสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น จะมีเหตุมาจาก ข้อ 1-4 ทั้งสิ้น เรามักจะอ้างทุกครั้งที่เราไม่รู้ หรือไม่สามารถหาคำตอบให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือปาฎิหาริย์บ้าง,อภินิหารบ้าง,สิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าง มาเป็นคำตอบให้กับสิ่งนั้น
เพราะมี อวิชชา(ความไม่รู้) มาครอบงำจิตเรา(จิต คือความรู้สึกที่สามารถรับรู้ผ่านทาง “อายตนะ” เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5(วิญญาณ) ประกอบด้วย ความรับรู้ ทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
ยกตัวอย่าง ความไม่รู้ทางตา เช่น เมื่อเราดูนักมายากล เล่นกล เสกโน้นหาย,เสกสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น ทำเหรียญหายไป เสกดอกไม้ในมือ ล้วนแต่ไม่ใช่เรื่องปาฎิหาริย์ หรือนักมายากลมีอิทธิฤทธิ์แต่ประการใด ถ้าเราศึกษาเราจะรู้วิธีการของมัน แต่ถ้าเมื่อใดเราไม่รู้(อวิชชาครอบงำ) มันจะบอกเราว่าสิ่งที่นักมายากลทำนั้นคือปาฎิหาริย์ นั่นเอง
อย่ามัวแต่หาคำตอบว่า พระพุทธเจ้ามีตัวตนจริงหรือไม่ สร้างปาฎิหาริย์อะไรบ้าง มีอิทธิฤทธิ์จริงหรือเปล่า แต่ควรมุ่งหาคำตอบว่า คำสอนที่บอกกล่าวมานั้น มันเป็นความจริง พิสูจน์แล้วเห็นจริง หรือมีอยู่จริง ตามที่บอก ที่ สอนมาหรือไม่มากกว่า
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเดียวที่สอนให้เห็นแจ้งรู้จริง,เข้าใจ,และรู้วิธีจัดระบบการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการวัตตะสงสารที่ดำเนินอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติ (ธรรมมะ คือ ธรรมชาติ)
** ทำไมต้องเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติ (สัจธรรม) ? **
เพราะธรรมชาติ ก็คือ พลังงาน(ธาตุ) ทั้ง 5 ที่เป็นตัวก่อให้เกิดสรรพสิ่งบนโลกนี้ ประกอบด้วย ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,พลังจิต(คลื่นไฟฟ้า) ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่จริง มันมีของมันอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม มันก็คงมีของมันอยู่อย่างนั้นเสมอ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดสรรพสิ่งบนโลก และในระบบจักรวาล โดยมีเราเป็นส่วนหนึ่งของมันอย่างแยกไม่ออก

**มีหลักการ หรือ สูตรในการที่จะเรียนรู้ ธรรมชาติ (สัจธรรม) บ้างหรือไม่ อย่างไร ?**
มี อริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ) ซึ่งมีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4 ใช้เป็นหลักในการเรียนรู้ และเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติ นั่นเอง ได้แก่
ทุกข์ – ผลของการเกิดธาตุทั้ง 5 ที่ส่งผล ทั้ง ทุกข์และสุข ให้เรา [ ผ่านการรับรู้ทางขันธ์ 5 รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ (รูป-ตา) ,(รส-ลิ้น), (กลิ่น-จมูก), (เสียง-หู),( สัมผัส-กาย+ใจ ) ]
สมุทัย – เหตุที่ก่อให้เกิดผล (เกิดทุกข์-สุข)
นิโรธ – การรู้ทันเหตุและผล ที่เกิด(รู้ว่าทุกข์-สุข ที่มี เกิดมาจากเหตุอันใด โดยใช้ สติ+ปัญญา ในการพิจารณาสิ่งที่เกิดให้รู้ทันอยู่เสมอ)
มรรค – ทางแห่งการเรียนรู้เพื่อให้รู้ทันเหตุและผล ,เข้าใจในเหตุและผลที่เกิดกับเรา และเรียนรู้,ยอมรับ และหาทางจัดการอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่าง เช่น
นาย ก.เป็นทุกข์เพราะยากได้รถจักรยายนต์คันใหม่ ๆ สวย ๆ จำแนกดังนี้
ทุกข์ – คือความร้อนใจ กระวนกระวาย ยากได้รถ หมกมุ่นครุ่นคิดหาวิธีที่จะให้ได้มาซึ่ง รถ
สมุทัย – เพราะเห็นรถสวย(หลงในรูป) เกิดความยากได้ เพื่อนำไปสนองกิเลศ เช่นพาไปรับส่งแฟน,ขับไปเที่ยว,ฯลฯ
นิโรธ – รู้ทันว่ากิเลศกำลังครอบงำตัวเรา ความยากกำลังเร่งให้เรากระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้รถมา
มรรค – เมื่อรู้ทันเหตุและผล เราก็มาเรียนรู้และหาทางจัดการกับทุกข์ที่เกิดอย่างเป็นระบบ คือเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังทุกข์เพราะความอยากได้รถ(กิเลศ) เราก็ตัดความอยาก ความหลงใน รูปสวย,รสอร่อยถูกใจ,กลิ่นหอมชื่นใจ,เสียงไพเราะเสนาะหู,สัมผัสที่ถูกใจ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วน เป็นตัวเร่งให้เกิดการกระทำ ทั้งด้าน ดี และไม่ดี ของเราทั้งสิ้น ตัดความอยากทิ้งไป หรือ ควบคุมมันให้ได้ เมื่อตัดหรือควบคุมได้เราก็จะกำหนดการกระทำของเราต่อไป คือ กำหนดว่าจะกระทำด้านใดด้านหนึ่ง ดังนี้
กระทำด้านดี-เมื่ออยากได้รถ ก็ต้องพยายามทำความดี ทำงานสุจริตหาเงินซื้อรถเอง ทำสิ่งที่เป็นความดี โดยไม่กระทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งรถที่เราต้องการ ไม่ไปสนองกรรมให้ พ่อ-แม่ ด้วยการ ไปขอเงิน ทำร้าย บีบคั้น ขโมยเงิน โกหกพ่อแม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรถที่ต้องการ
กระทำด้านไม่ดี – เมื่อยากได้รถ ก็ขโมย ลักทรัพย์ทำร้ายเจ้าของรถ ฆ่าเจ้าของรถตาย ซึ่งผลของการกระทำทั้ง 2 ด้านนี้ จะไปเข้าระบบกฎแห่งกรรมและจะส่งผลกลับมาที่เราต่อไป ดังที่เคยกล่าวไว้แล้ว
“สิ่งนั้นมีสิ่งนั้นจึงมี”
“สิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นจึงเกิด”
มันเป็นเหตุและผลของมันอยู่อย่างนั้น
และด้วยเหตุทั้งหมดนี้ มันจะมีผลกระทบต่อบุคคลอื่น หรือสรรพสิ่งอื่น ๆ เป็น ผลกระทบแบบลูกโซ่ (วัฏสงสาร,กงกำกงเกวียน) ที่มีความซับซ้อนละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
พระพุทธเจ้าทรงสามารถไล่ย้อนลูกโซ่กลับหลัง (ผ่านจิต,เมมโมรี่) ไปได้อย่างแม่นยำ เราเรียกว่า ระลึกชาติ (ในประวัติเคยเล่าไว้บ้าง) เรียกว่า มีโคตรภูญานก่อนแล้วนำไปสู่ ปุพเพนิวาสญาณ (รู้อดีต)
ถ้าไล่ไปข้างหน้า(คำนวณโดยใช้หลัก ความน่าจะเป็นควบคู่ไปด้วย) เราเรียกว่า รู้อนาคต เรียกว่า มีโคตรภูญานก่อนแล้วนำไปสู่ จุตูปปาตญาณ (รู้อนาคต)
อ้างอิงบทความที่สอดคล้องกัน
โยม ถาม ที่ว่า ทุกข์เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์เกิดจากอวิชชา ทุกข์จะดับต้องดับอวิชชา เพราะเหตุใดจึงมี ๒ นัย
หลวงพ่อสรวง ปริสุทโธ
ตอบ นัยหนึ่งนัยหยาบ นัยหนึ่งนัยละเอียด ต้นเหตุของทุกข์อยู่ที่อวิชชา เพราะความรู้ไม่จริง เพราะความรู้ไม่จริงมาครอบงำ ทำให้เราขาดสติสัมปชัญญะ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเป็นอายตนะภายใน ที่ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เพราะมันเป็นทางเข้าแห่งอารมณ์ ในเมื่อตนเห็นรูป รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลงสมมติบัญญัติว่า รูปนี้สวย รูปนี้งาม เพราะอวิชชาเป็นเจ้าการ เป็นตัวตั้งตัวตี สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ แต่ต้นแห่งทุกข์อยู่ที่อวิชชา มันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน อวิชชามันแสดงออกมาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ในปฏิจจสมุปบาท ท่านกล่าวไว้ เพราะมันเป็นพื้นฐาน อวิชชาก็คือตัวโมหะ มันเป็นอกุศลมูล เมื่อรู้ไม่จริงมันก็หลงในสิ่งนั้นๆ ทำให้เราเผลอไป ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ทำบุญบ้าง ทีนี้อย่างบางทีก็ไปหลงทำบาปหนักๆ เข้าไปก็เพราะอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยวิชชาเป็นเค้า
**** การฝึกปุพเพนิวาสญาณ และจุตูปปาตญาณ ****
บทบัญญัติที่ ๕
การฝึกปุพเพนิวาสญาณ และจุตูปปาตญาณ
ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เป็นรูปฌานและอรูปฌาน เดินสมาบัติพร้อมกับตรวจดูชาติของตน (เวลาเดินสมาบัติ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ)นิ่งอยู่ในศูนย์กลางกาย ดูความเป็นอยู่ตั้งแต่ปัจจุบันนี้ ถอยออกไปถึงเมื่อวานนี้ เมื่อวานซืน ฯลฯ
และถอยออกไปเป็นลำดับ จนถึงเวลาออกจากครรภ์มารดา ก่อนออกจากครรภ์ จนถึงเวลาที่ยังเป็นกะละรูปอยู่ ก่อนเข้าท้องมารดา ก่อนเข้ามาอยู่ในกายของบิดา ถอยออกไปจนถึงชาติก่อน ดูถอยออกไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ จนถึงแรกได้ปฐมวิญญาณ แล้วถอยกลับมา (แบบเวลาเข้าไป) จนถึงปัจจุบัน แล้วดูต่อไปในชาติข้างหน้าอีก ดูชาติของตนให้เห็นตลอด เช่นนี้เรียกว่า “ปุพเพนิวาสญาณ”
ดูของตนเห็นตลอดแล้วเช่นไร เวลาจะดูของคนอื่น ก็เอาธรรมที่ทำให้เป็นกายของผู้นั้นประกอบเป็นสมาบัติ เดินสมาบัติตรวจดู แบบเดียวกับที่ดูของตนเองให้ตลอด เช่นนี้เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ"”