ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

คนบางคนคิดว่าการให้เพื่อหวังบุญเป็นกิเลส


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 05:35 PM


มีหลายคนที่ มองว่าการทำบุญเพื่อหวังบุญนั้นเป็นกิเลส ทำบุญแล้วอธิษฐาน เป็นกิเลสไม่ได้บุญ

ต้องให้แบบไม่หวังผลตอบแทนนั้นจึงจะมีอานิสงค์ มากกที่สุด เราจะอธิบายให้เขาเข้าใจอย่างไรดีครับ

เพราะเคยอ่านพระไตรปิฎก ผู้ที่บรรลุธรรมต่าง ๆ ก็ล้วนแต่เคยทำบุญแล้วอธิษฐานให้บรรลุทั้งนั้น ในชาติ

สุดท้ายจึงมาเจอ เนื้อนาบุญและสามารถบรรลุธรรมกัน เปรียบเหมือนเป็นหางเสือเรือบังคับทิศทาง

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#2 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 05:45 PM

ดิฉันว่า....บอกเขาอย่างนี้ค่ะ


" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังเป็นมนุษย์ธรรมดา
ตั้งความปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทำบุญทุกครั้งก็อธิษฐานให้ได้อย่างนี้

เป็นกิเลศหรือไม่ ...." ฉันใดฉันนั้น



อย่าเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ เพราะตรงหรือไม่ตรงกับที่ตนเองคิด
อย่างเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ เพราะ ไม่เคยได้ยิน ได้ฟัง หรือ เคย ได้ยินได้ฟังได้รู้ มา นะจ๊ะ



พระไตรปิฎกมี 84000 พระธรรมขันธ์
เมื่อไม่รู้จะเริ่มตรงไหนจึงไขปริศนาธรรมนี้ได้ นี่จ้า.....

ให้ไป เปิดเรื่อง "บารมี 10 ทัศ ในส่วนของ อธิษฐานบารมี" จ้า



QUOTE
ทำบุญแล้วอธิษฐาน เป็นกิเลสไม่ได้บุญ

ต้องให้แบบไม่หวังผลตอบแทนนั้นจึงจะมีอานิสงค์ มากกที่สุด


ถามว่า reference คือเล่มไหนเอ่ย....คิดเอง หรือ ใครสอนมา
เราไม่สมประมาท ไม่ได้ตำหนิว่าเขา

แต่บอกว่า reference ที่ดีที่สุด คือ " พระไตรปิฎก "







เจริญธรรมเถิด...ค่ะ
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#3 Ray

Ray
  • Members
  • 168 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 06:43 PM

อธิฐานกันเหนียวดีกว่านะ เผื่อ ไว้ กันดีกว่าแก้

#4 บุญเลี้ยง

บุญเลี้ยง
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 07:39 PM

ลองดูวิธีการตอบของ พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D>Ph.D.) จากรายการทันโลก ทันธรรม เรื่องหลักการทำบุญ ค่ะ
http://www.kalyanami...n...2&Itemid=71

#5 ถนัด@สืบสานพุทธ

ถนัด@สืบสานพุทธ
  • Members
  • 107 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 09:06 PM

การอธิษฐานเป็นการกำหนดรูปแบบของผลบุญที่จะกลับมาสู่ตัวผู้กระทำ ต่อให้ไม่หวังผล ผลแห่งบุญก็ต้องเกิด มันเป็นกฎแห่งกรรม

                                        หยุดสงสัย และ ตั้งใจปฏิบัติ                                           


#6 usr20351

usr20351
  • Members
  • 109 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 09:26 PM

อธิษฐาน แปลว่า การตั้งมั่น การตัดสินใจ การตั้งความปรารถนา ในสิ่งที่เรามุ่งหวัง

การอธิษฐาน ถือเป็นบารมี 1 ใน 10 ทัศที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

การอธิษฐานนั้น ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนหางเสือเรือ ที่จะคัดท้ายนาวาชีวิตให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ถ้าปราศจากการอธิษฐานเสียแล้ว ชีวิตก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ได้แต่ลอยตามน้ำ ตามกระแสกิเลส ยากที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ดังนั้นการอธิษฐานที่เรียกว่าเป็นอธิษฐานบารมีคือ การอธิษฐานเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ให้มีสิ่งดีๆ บังเกิดขึ้นในชีวิตเพื่อเกื้อหนุนในการสร้างบารมี สร้างความดี ได้ยิ่งๆ ขึ้นไป

สำหรับข้อดีของการอธิษฐานบารมีก็เหมือนกับที่ผมบอกข้างบน คือ เป็นหางเสือชีวิต เป็นการตั้งผังชีวิตในภพชาติต่อไป ว่าต้องการให้มีชีวิตเป็นอย่างไร หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ การอธิษฐานก็เหมือนกับการตั้งผังชีวิตที่ชัดเจนว่า การเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ เราต้องการให้ชีวิตเราเป็นอย่างไร

แต่สิ่งที่อธิษฐานจะสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งทีเราปรารถนานั้นยิ่งใหญ่เพียงไหน ถ้าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือการบรรลุธรรม ก็ต้องใช้บุญมาก การทำบุญเพียงนิดๆ หน่อยๆ ไม่อาจจะทำให้เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือบรรลุธรรมได้ เราจำเป็นต้องสั่งสมบุญบ่อยๆ แล้วอธิษฐานตอกย้ำในเรื่องเดิม สิ่งที่เราปรารถนาจึงจะสำเร็จ ถ้าชาตินี้ยังไม่สำเร็จ สิ่งทีเราอธิษฐานเอาไว้ก็จะเป็นเชื้อให้ภพชาติต่อไป เมื่อเรามาเกิดสร้างความดี สิ่งที่เราอธิษฐานเอาไว้ในชาติก่อนจะกระตุ้นเตือนให้เราอยากจะสร้างความดีเพิ่มขึ้น แล้วก็มาอธิษฐานในสิ่งที่ยังไม่สมหวังในชาติที่แล้ว

ถ้าจะให้อุปมา บุญเปรียบเสมือนเงิน สิ่งที่เราปรารถนาเปรียบเสมือนสิ่งของที่เราอยากได้ ถ้าสิ่งที่เราอยากได้ราคายิ่งแพง (คำอธิษฐาน) เราก็ต้องยิ่งเก็บเงินมากๆ (มีบุญมากๆ) เพื่อที่จะได้มีเงินไปซื้อของสิ่งนั้น (คำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล)

แต่ผู้ฉลาดในการลงทุน แทนที่เอาแต่เก็บเงินทีละนิดๆ จนมีเงินพอไปซื้อของ ก็จะเอาเงินไปลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ ให้มีทางมาของเงินมากขึ้น จะได้ซื้อของที่อยากได้แต่ราคาแพงได้เร็วขึ้น ถ้าจะให้อุปมาก็เหมือน พอเราทำบุญแล้วเราอธิษฐานให้เราได้มี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม คือ เราอธิษฐานให้บุญที่เรามีส่งผลให้เรามีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป (คือ การลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ) แล้วเราก็นำรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป มาสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าภพชาติก่อน (คือ เรามีทางมาแห่งเงินมากขึ้น เหมือน เปลี่ยนฐานะจากมนุษย์เงินเดือนเป็นเจ้าของกิจการ) แล้วเราก็ตั้งจุดหมายปลายทางให้ชัดเจนว่า ให้มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม (คือ สามารถซื้อสิ่งของราคาแพงทีเราอยากได้)

การอธิษฐานจะเป็นจริงได้เราต้องมีบุญมากพอกับสิ่งนั้นๆ และต้องสร้างเหตุให้ตรงผล จึงมีโอกาสสูงที่จะสำเร็จได้ครับ
และควรอธิษฐานในช่วงที่จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น หรืออธิษฐานในช่วงที่จิตใจกำลังปลื้มปิติในบุญ
คำพูด ความคิดที่ถูกจิตบันทึก ในขณะที่จิตมีสมาธิตั้งมั่น ในขณะที่จิตใจกำลังปลื้มปิติในบุญ
จะมีพลังมาก เมื่อถูกบันทึกลงในจิตใจ โดยผ่านจากการทำบุญบ่อยๆ เมื่อจิตใจได้รับสิ่งเหล่านี้มากเข้า และบ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นผังสำเร็จในใจขึ้นมาจนได้

ดังนั้นคนในยุคปัจจุบันที่บอกว่า ทำบุญแล้วอธิษฐานเป็นการโลภนั้น เค้าไม่เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตในวัฏฏสงสาร แต่ถ้าเราทำบุญแล้วอธิษฐานในสิ่งที่ผิด บุญก็จะบันดาลให้สำเร็จเหมือนกัน แต่จะทำให้ชีวิตแย่ลง เพราะเราจะหลงไปสร้างบาปเพิ่มเติมได้ครับ และควรอธิษฐานในเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นด้วยครับ


#7 somchet

somchet
  • Members
  • 900 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2008 - 11:56 PM

อธิฐานไม่ใช่การขอ ต่างกับการบนบานศาลกล่าวครับ

คิดว่า คนพูดคงสับสน ... บอกให้เขาไปศึกษาความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ก่อนจะดีกว่าครับ

#8 ใสๆ

ใสๆ
  • Members
  • 95 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 05:38 AM

คำที่มักสับสนเช่น "โลภบุญ" (จริงๆแล้วคำนี้ไม่มีในพระไตรปิฏกแนวคิดนี้เป็นการประดิษฐ์คำจากผู้ที่ยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ ผสมกับลัทธิศาสนาอื่นที่มุ่งสะกัดและสร้างความสับสนและไม่มั่นใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ )

"โลภ"แปลว่าอยากได้สมบัติของผู้อื่นมาในทางทุจริต(ไม่ชอบ) จัดเป็นบาปซึ่งตรงข้ามกับบุญ,
แต่ "บุญ" เป็นเครื่องชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ,เป็นเบื้องหลังแห่งความสุขและความสำเร็จทั้งปวง บุคคลใดมีบุญมาก อปสรรค์จะน้อย ถ้าบุญน้อย อุปสรรค์จะมาก .

ดังนั้นการทำบุญอย่างสมำเสมอ และต่อเนื่องหรือขวนขวายในการทำบุญจึงเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์สรรเสริญ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า


ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนำไปไม่ได้

ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้

ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า

อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้
ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น

ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้

มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น

สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ
บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ



#9 usr20663

usr20663
  • Members
  • 65 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 11:01 AM

การอธิษฐานไม่ใช่ความโลภ แต่เป็นสิ่งจำเป็นมากๆๆครับ

เปรียบเหมือนการสร้างอาคารบ้านเรือน ยังต้องมีการออกแบบ จะต้องเป็นแบบพิมพ์เขียวตามที่เราเห็นกันมา เราต้องการอะไรอย่างไร ก็เขียนลงไปในแบบนั้นๆ สิ่งที่เราจะสร้างก็จะออกมาตามที่เราต้องการ

ดังนั้น การอธิษฐานคือการออกแบบผังที่จะทำให้เราสำเร็จตามใจปรารถนา ตามกำลังบุญที่สั่งสมมาดีแล้วครับ



#10 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 12:30 PM

ความจริงที่เขาแนะนำก็มีส่วนถูกอยู่ครับ เพราะในอดีตก็เคยมีเรื่องอธิษฐานขอในด้านกิเลสอย่างเดียว แล้วเกิดปัญหาในภายหลัง

เช่น ในอดีตกาลมีนักมวยท่านหนึ่ง แบกธงขึ้นไปประดับบนยอดเจดีย์ แล้วอธิษฐาน ขอให้เกิดไปทุกชาติ ให้ตนมีรูปหล่อ สาวหลงกันทั้งเมือง ในสมัยพุทธกาลนักมวยท่านนั้น มาเกิดเป็นหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี รูปหล่อ สาวหลง เลยเจ้าชู้ ดีว่าได้พระพุทธเจ้าเทศน์โปรด เลยกลับตัวไปทันน่ะครับ

หรือ ในอดีตกาล มีโสเภณีนางหนึ่ง ทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วอธิษฐานขอให้ได้เป็นโสเภณีอันดับหนึ่งของเมือง พอถึงสมัยพุทธกาล นางก็ได้เป็นเช่นนั้นจริงๆ คือ ได้เป็นเกิดเป้นนางสิริมา โสเภณีอันดับหนึ่งของเมือง

ยังมีอีก ในอดีต มีสามีภรรยาทำบุญแล้ว อธิษฐานว่า ขอให้ได้เป็นสามีภรรยากันทุกชาติ พอมาถึงสมัยพุทธกาล ภรรยาได้มาเกิดเป็น พระนางมัลลิกา ฝ่ายสามีมาเกิดเป็นแพะ แล้วก็มาสมสู่กัน ผิดศีลกาเมกันไป เพราะพระนางมัลลิกาีเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกสน เป็นต้น

การอธิษฐานขอให้ได้แต่กิเลสล้วนๆ ก็้เป็นปัญหาจริงๆ อย่างที่เขาแนะนำนั่นแหละครับ แต่เราต้องอธิบายเขาว่า เราไม่ได้อธิษฐานให้ได้แต่กิเลสล้วนๆ แต่เราอธิษฐานให้ได้สิ่งเหล่านั้น มาเป็นบันไดให้เราเข้าถึงธรรมน่ะครับ

เหมือนบัณฑิตในกาลก่อน ที่เวลาท่านทำบุญ ท่านก็อธิษฐานว่า ขอให้อย่ารู้จักคำว่าไม่มี และขอให้ได้บรรลุธรรมดังที่พระคุณเจ้าบรรลุด้วยเถิด ถ้าอธิษฐานอย่างนี้ไม่มีปัญหาครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#11 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 01:43 PM

- ทำบุญก็คล้ายเติมน้ำมันให้รถวิ่ง...ทำมากน้ำมันก็มาก...วิ่งได้ไกล
- ถ้าไม่มีจุดหมาย หรือ ไม่มีผัง-เส้นทาง...ก็อาจจะไปไม่ถึงจุดหมาย...เผลอๆไม่ได้เติมบุญ-น้ำมันรถก็จะหมดก่อน...เข้าตำรารถตายกลางทางเพราะหมดน้ำมัน-หลงทาง...ต้องหาคนช่วยเหลือ...
- เว้นแต่ได้พบกัลยาณมิตร...ซึ่งทำหน้าที่เป็น Navigator...จึงจะชี้นำหรือบอกทางตรง-ทางลัดเราไปสู่จุดหมาย

QUOTE
สุดท้ายจึงมาเจอ เนื้อนาบุญและสามารถบรรลุธรรมกัน เปรียบเหมือนเป็นหางเสือเรือบังคับทิศทาง
- - อธิษฐานจึงมีความสำคัญฉะนี้ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทาง

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#12 ตำรวจรักบุญ

ตำรวจรักบุญ
  • Members
  • 985 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 03:39 PM

ทำบุญแล้ว อย่างไรก็ได้บุญมากน้อย ต่างกันไป
ส่วนการอธิษฐานนั้น เป็นการตั้งผังว่าจะนำบุญที่ได้สั่งสมไปใช้อย่างไร

ถ้าอธิษฐานให้บุญนั้นส่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ในการทำให้กามคุณ๕ เจริญขึ้น น่าจะเรียกว่าเป็นกิเลสได้นะครับ
แต่หากอธิษฐาน ให้ มีปัจัยต่างๆมาช่วยให้สร้างบุญบารมี หรือช่วยลดละกิเลสในใจ อย่างนี้น่าถุฏหลักวิชชากว่า

#13 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 06 August 2008 - 03:42 PM

ก็ลองถามเขาตอบสิครับ

หากเขาจะสร้างบ้านหรือซื้อบ้านสักหลัง ถ้าเขาไม่ออกแบบไม่เลือกแบบบ้าน เขาจะได้บ้านตามที่เขาต้องการไหม อ่ะ ไม่ต้องวางแผนอะไรเลย บอกช่างก่อสร้าง เอ้า!นายช่างไปสร้างบ้านให้ผมอยู่สักหลังสิ โดยที่ไม่ให้แบบไม่ออกแบบให้ช่างก่อสร้างเขา ถ้าช่างเขาสร้างกระต๋อมเล็กๆให้ ปักเสาสี่ต้น สร้างหลังคาให้อีกสักหน่อย เขาจะอยากไปอยู่ไหม

การอธิฐานเป็นการวางแบบแปลงผังชีวิตในชาติต่อไปของเรา เหมือนกับการวางแปลงบ้านหรือออกแบบบ้านให้ช่างเขาสร้าง ไม่เกี่ยวกับว่าอธิฐานแล้วจะได้บุญหรือไม่ได้บุญแม้แต่น้อยครับ หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน การอธิฐานก็เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวหรือแบบแปลนของบ้าน ส่วนบุญก็เปรียบเสมือนทรัพย์ที่เราเอามาใช้จ่ายในการสร้างบ้านหรือเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้เราสร้างบ้านตามแบบแปลนที่เรากำหนดให้สำเร็จนั่นเอง

เห็นไหมครับ การอธิฐานไม่เกี่ยวกับได้บุญหรือไม่ได้บุญเลยสักนิดจริงไหมครับ ประการสำคัญในบารมี10ทัศก็มี อธิฐานบารมี กำกับไว้อยู่ด้วย หากทำบุญแล้วอธิฐานจะไม่ได้บุญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์คงจะไม่กำหนดให้เป็น1ในบารมีทั้ง10ประการหรอกจริงไหมครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย