ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

หลักในการแสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ วิธี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 09:30 PM

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก ชนชาวชมพูทวีรอคอยศาสดาเช่น พระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริง ๆ จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้นคือ คณาจารย์นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่ การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก

ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้นมีกษัตริย์ระดับมหาราช ๔ ประองค์ คือพระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ (แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป เช่นสักกะ วัชชี มัลละ กุรุ ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมากโดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ วิธีคือ

๑. ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ

๒. ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม เช่นคนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นพระพุทธเจ้าทรง ปฎิเสทตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็น หนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมัน บรมพรม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นิพพานเป็นบรมธรรม เขาสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาป เป็นต้น

๓. ปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโปสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการเจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้นจึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่ คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดงจึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้น ๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น

๔. หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือเรืองนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่นหลักอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน เป็นต้น




#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 10:18 PM

สาธุโมทนาในกุศลเจตนาอีกเช่นเคยครับ
คำถามคือ
QUOTE
ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน

คืออะไรครับ??? ขยายความเสริมหน่อยก็ดีครับ???
QUOTE
คนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข

คนปัจจุบันนี้ก็ยังคงแสวงหาสุขที่เกิดจากกามคุณกันอยู่ครับ
ถามว่าเหตุใดสัตว์ที่เวียนเกิดเวียนตายในภพ 3 จึงมองไม่เห็นโทษของกามคุณ ทั้งๆ ที่รู้ว่ากามคุณสุขน้อยทุกข์มาก
เหตุใดสัปปเหร่อ คนเก็บศพ หมอผ่าตัด เห็นและรู้โทษของกามคุณจึงยังคงมีความกำหนัดในกามคุณอยู่????
อะไรหนอคือเครื่องร้อยรัดสัตว์ให้ติดในสังสารวัฏ????
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 05:05 PM

มีพุทธภาษิตมาฝากครับ

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
กิจโฉ พุทธฺานมุปฺปาโท . . . ฯ ๑๘๒ ฯ

การเกิดเป็นมนุษย์ ได้มาโดยยาก
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ลำบาก
การฟังธรรมของสัตบุรุษ หาได้ยาก
การเกิดขึ้น แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาได้ยาก

Hard is it to be born as a man,
Hard is the life of immortals,
Hard is it to hear the Truth Sublime,
Hard as well is the Buddha's rise.


สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ . . . ฯ ๑๘๓ ฯ

ไม่ทำความชั่วทุกชนิด
ทำแต่ความดี
ทำใจให้ผ่องใส
นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

Abstention from all evil,
Cultivation of the wholesome,
Purification of the heart;
This is the Message of the Buddhas.


ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต . . . ฯ ๑๘๔ ฯ

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด
นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด
ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ

Forbearance is the highest ascetic practice,
'Nibbana is supreme'; say the Buddhas.
He is not a 'gone forth' who harms another.
He is not a recluse who molests another.


อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ . . . ฯ ๑๘๕ ฯ

ไม่ว่าร้ายใคร
ไม่กระทบกระทั่งใคร
ระมัดระวังในปาติโมกข์
บริโภคพอประมาณ
อยู่ในสถานที่สงัด
ฝึกหัดจิตให้สงบ
นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

To speak no ill,
To do no harm,
To observe the Rules,
To be moderate in eating,
To live in a secluded abode,
To devote oneself to meditation -
This is the Message of the Buddhas.


#4 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 06:18 PM

สาธุ

เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#5 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 04:54 PM

สาธุดีแล
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#6 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 11:28 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ