ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระโคธิกะทำอัตตวินิบาต(ฆ่าตัวตาย)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 January 2006 - 02:21 PM

โคธิกสูตรที่ ๓
ว่าด้วยพระโคธิกะทำอัตตวินิบาตปรินิพพาน


[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านโคธิกะ อยู่ที่กาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ
[๔๘๙] ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ภายหลังท่านโคธิกะได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๒ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์แม้ในครั้งที่ ๒ ก็ได้เสื่อมจาก เจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๓ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๓ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๔ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๔ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์
นั้น แม้ครั้งที่ ๕ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๕ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๖ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๖ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๗ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีจิตมั่นคงอยู่ ก็ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์อีก ฯ ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เสื่อมจากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ถึง ๖ ครั้งแล้ว ถ้ากระไรเราพึงนำศัสตรามา ฯ
[๔๙๐] ลำดับนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่าน โคธิกะด้วยจิตแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่าข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ มีเพียรใหญ่ มีปัญญามาก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาททั้งคู่
ข้าแต่พระองค์ผู้มีเพียรใหญ่ สาวกของพระองค์อันมรณะครอบงำแล้วย่อมคิดจำนงหวังความตาย ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ขอพระองค์จงห้ามสาวกของพระองค์นั้นเสียเถิด ฯข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์อันตัดเสียซึ่งมานะ ยังเป็นพระ
เสขะอยู่ ไฉนจะพึงกระทำกาลเสียเล่า ฯก็เวลานั้น ท่านโคธิกะได้นำศัสตรามาแล้ว ฯ

[๔๙๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึง ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนี้แล ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต โคธิกะภิกษุ ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก นิพพานแล้ว ฯ
[๔๙๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส ว่า ภิกษุทั้งหลายเรามาไปสู่กาลศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ อันเป็นที่โคธิกกุลบุตร นำศัสตรามาแล้ว ฯ
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุหลายรูปได้เข้าไปยังกาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นโคธิกะมีคออันพลิกแล้ว นอนอยู่ บนเตียงที่ไกลเทียว ก็เวลานั้นแล ควันหรือหมอกพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ ฯ
[๔๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นไหม ควันหรือหมอกนั้นพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศ ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับพระดำรัสแล้วจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาปเที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้วปรินิพพาน
แล้ว ฯ
[๔๙๔] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ
โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ

[๔๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่านักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตรได้ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมารผู้มีความเศร้าโศก ในลำดับนั้น ยักษ์ นั้นมีความโทมนัสหายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ


ที่มา : พระสุตตันตปิฏก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

คำถามทิ้งทวน
1. การฆ่าตัวตายผิดหรือไม่สำหรับบุคคลทั่วไป???
2. เหตุใดการฆ่าตัวตายของพระโคธิกะจึงไม่ตกนรก???
3. การฆ่าใดที่ประเสริฐที่สุด???
4. การฆ่าใดที่ทำให้บุคคลเข้าถึงซึ่งนิพพาน???


#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 07 January 2006 - 05:11 PM

ตอบ
1. ต้องดูที่เจตนาครับ ถ้าเจตนาบูชาคุณพระพุทธเจ้าด้วยชีวิต เช่น พระโพธิสัตว์กระโดดจากเหวให้แม่เสือกินแทนที่มันจะกินลูกตัวเองด้วยความหิว
กระต่ายโพธิสัตว์กระโดดเข้ากองไฟ เพื่ออุทิศตนเองให้เป็นทาน แก่พรามหณ์ (แต่ไม่ตายจริง เพราะพรามหณ์คือพระอินทร์แปลงมาลองใจ) หรือ พระสุมังคลพุทธเจ้า สมัยเป็นพระโพธิสัตว์ เอาตัวเองเป็นไส้เทียนจุดไฟทั่วตัว แล้วเดินบูชาคุณพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งคืน (แต่ไม่ตาย) ซึ่งจะเห็นว่า คนเหล่านี้มีสิ่งที่เหมือนกัน และต่างจากคนที่ผิดหวังแล้วฆ่าตัวตายคือ ทุกท่านล้วนรักชีวิต แต่ยอมสละชีวิตเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า คือ ธรรม ต่างจากผู้ฆ่าตัวตาย เพราะผิดหวังจนไม่รักชีวิตน่ะครับ

ที่นี่ เรื่องราวที่คุณเจ้าของกระทู้ยกมา ก็คล้ายๆ ผิดหวังที่ปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จ จึงไม่รักชีวิต แล้วฆ่าตัวตาย แล้วจะดีได้อย่างไร ก็จะขอยกเรื่องราวของการฆ่าตัวตายแล้วเป็นพระอรหันต์อีกเรื่องหนึ่งมาเทียบนะครับ คือ พระสัปทาส (ไม่แน่ใจคำสะกด)

เรื่องของท่านก็คล้ายๆ พระโคธิกะ ท่านปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จจึงคิดฆ่าตัวตาย โดยเอามือไปแหย่ในหม้องูพิษ แต่งูพิษไม่กัด (เพราะเป็นอดีตทาสที่ซื่อสัตย์ของท่านมาก่อน) ต่อมาท่านหาวิธีใหม่ โดยไปยืนจ่อคอหอยไว้กับปลายไม้โกน กะว่าถ้าหมดแรง คอท่านก็จะล้มไปถูกปลายมีดโกนตาย แต่ระหว่างนั้นเอง ใจท่านสงบได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก่อนเลยไม่ตาย และเลิกคิดฆ่าตัวตาย

แต่เรื่องพระโคธิกะ ผมคิดว่า ก็คล้ายๆ กัน ต่างกันน่าจะเป็นตรงที่ว่า จังหวะในการฆ่าตัวตายของท่านกับจังหวะที่บรรลุธรรม น่าจะพร้อมๆ กันพอดี (ต่างจากพระสัปทาสบรรลุก่อน) จึงทำให้ท่านเป็นพระอรหันต์พร้อมกันกับตายพอดี

ส่วนที่ต้องเป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นวิบากกรรมที่ท่านเคยไปบีบคั้นให้คนฆ่าตัวตาย หรือ เคยฆ่าตัวตายเองมา เพราะชาตินี้ ท่านมีบุญที่จะได้บรรลุธรรม แต่กรรมนั้นก็บีบคั้นให้ท่านต้องคิดเช่นนี้ และฆ่าตัวตาย

ส่วนพระสัปทาส ก็คงทำนองเดียวกัน คือ ในอดีตไปบีบคั้นคนอื่นให้ฆ่าตัวตาย แต่เขาอาจเปลี่ยนใจไม่ฆ่าตัวเอง หรือ ท่านเองคิดฆ่าตัวตายแต่เปลี่ยนใจ จึงทำให้ท่านบรรลุก่อนโดยไม่ฆ่าตัวตายครับ

2. น่าจะเป็นเพราะบรรลุธรรมพอดี กับการตายพอดี จึงไม่ตกนรกครับ

3. การฆ่าใดที่ประเสริฐที่สุด ก็คือ การฆ่ากิเลสในใจตนครับ ประเสริฐที่สุด

4. ก็การฆ่ากิเลสในใจตนนั่นแหละครับ ที่ทำให้ถึงพระนิพพาน เพียงแต่เรื่องนี้อาจจะซ่อน 2 เงื่อน คือ ฆ่าตัวเอง กับฆ่ากิเลส เสร็จในเวลาพร้อมๆ กัน จึงอาจทำให้ดูแล้วไม่เข้าตากรรมการ (คนดู) ได้

ตรงนี้ ถือเป็นความเสี่ยงเหมือนกัน ถ้าท่านฆ่าตัวตายได้ก่อนบรรลุ กรรมนั้นสำเร็จผล ก็อาจต้องไปรับกรรม และเลื่อนเวลาบรรลุไปอีกยาวนานเหมือนกันครับ ดังนั้น อย่าทำบาปแหละครับดีที่สุด จะได้ไม่ต้องมานิพพานโดยเงื่อนไขพิสดาร เช่น นิพพานในปากเสือ นิพพานโดยฆ่าตัวตาย เป็นต้น

แก้ไขโดย หัดฝัน 07 January 2006 - 05:15 PM

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 03:56 AM

โมทนาสาธุการคุณหัดฝันด้วยครับ.....
ยินดีมากครับที่คุณหัดฝันตอบมาครับ แต่น่าเสียดายมากที่ท่านอื่นๆ เกรงใจไม่ร่วมตอบกระทู้มาครับ
เฉลยข้อ 2
ในประวัติท่านพระโคธิกะ ท่านป่วยด้วยโรคร้ายอยู่เสมอๆ เวลาที่ท่านได้ฌาณกำลังดีๆ พอป่วยทีรัยก็ต้องกลับมาฝึกใหม่อุปมาก็เหมือน เวลาคนนั่งสมาธิทำใจนิ่งๆ ได้ดีเห็นองค์พระเข้าพระนิพพานเพลินๆ พอป่วยทีนึงองค์พระก็หายไปซะทุกที ด้วยเหตุนี้ พอครั้งสุดท้ายท่านจึงรำคาญสังขารที่เต็มไปด้วยโรค รังของมารนี้ยิ่งนัก โดยท่านคิดดังนี้ว่า คราวนี้ครั้งที่ 7 ถ้าเราสมาธิดีได้ฌาณ หรือเห็นองค์พระเข้าพระนิพพานได้เราจะเชือดคอตนเองให้สังขารที่อุดมโรคเป็นรังของมารได้ตายไป แล้วเราก็จะเข้าพระนิพพานนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงทราบความคิดของสาวกท่านดีจึงไม่ตำหนิการกระทำของท่านแต่กลับยกย่อง เพราะท่านเจตนาฆ่าคือกิเลสถูกต้องแล้วครับ และพระพุทธเจ้าท่านก็ทราบว่าสาวกของท่านได้เข้าพระนิพพานไปแล้วครับ เพราะจิตขณะตายผ่องใสหยุดนิ่งแน่นเข้าถึงองค์พระจิตปราศจากความยึดถือในสังขารหรือร่างกาย เกาะเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์ท่านจึงได้พระนิพพานเป็นที่หวังครับ

#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 12:14 PM

เสริมความคิดเห็นในข้อมูลของคุณ xlmen นิดนึงนะครับว่า แนวคิดที่ว่าร่างกายเป็นรังของโรค นั้นถูกต้องครับ แต่แนวคิดที่ว่า ต้องกำจัดร่างกายนี้ด้วยตัวเราเอง แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดของพระอรหันต์ครับ แต่เป็นแนวคิดของปุถุชน ซึ่งถ้าท่านได้บรรลุธรรมก่อนที่จะตาย ท่านจะไม่ตายครับ (ดังเช่นพระสัปทาส) เพราะพระอรหันต์ย่อมไม่ฆ่าตัวเองตายด้วยแนวคิวแบบนี้ เพียงแต่จังหวะที่บรรลุธรรมนั้น เป็นจังหวะพร้อมกันกับการตายพอดี จึงออกมาเป็นเช่นนี้แล
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 02:17 PM

QUOTE
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่านักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตรได้ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ

คำถาม
1.อะไรคือการถอนตัณหา?? พร้อมด้วยราก?? รากคืออะไร??
2.อะไรคือการตายก่อนตาย??? ถ้าตายก่อนบรรลุเจโตวิมุตติท่านจะเชือดคอตนเองหรือ???
3.ความเป็นอรหันต์ปุถุชนมีปัญญาพอไหมที่จะบอกได้ว่าท่านนี้เป็นหรือไม่เป็น ถ้าพุทธวจนะตรัสแล้วถือเป็นข้อยุติหรือไม่???
4.อะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ?? และอะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกุตตระ ???
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#6 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 04:10 PM

ตอบคุณ xlmen
ผมเพียงแค่กังวลว่า คนทั่วไปจะเข้าใจว่า พระอรหันต์นั้น ถ้าท่านไหนป่วยเป็นโรคมากทรมาณร่างกายขึ้นมา ท่านก็จะฆ่าตัวตายน่ะครับ
พระอรหันต์ท่านปรารถนาหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดโดยเร็วน่ะจริงครับ แต่ไม่ใช่รีบไปด้วยการเร่งฆ่าตัวตาย แต่ท่านจะปล่อยให้เป็นไปตามกรรม
ผมจึงขยายความเพิ่มเติมเท่านั้นเอง เพราะข้อมูลของคุณถูกต้องแล้ว เพียงแต่นะขณะนั้น ท่านยังเป็นปุถุชนอยู่ครับ มาบรรลุตอนตายพอดี

ถามว่า ผมหยั่งรู้หรือ รู้ได้ไง ผมย่อมไม่รู้หรอกครับ แต่ผมใช้วิธีเทียบเคียง เนื่องจากทราบข้อมูลในเรื่องของพระเจ้าปายาสิ (ผู้ไม่เชื่อนรกสวรรค์ แต่ถูกพระกุมารกัสสัปะอธิบายคลายความเห็นผิดนั้น)

ตอนหนึ่ง พระเจ้าปายาสิ ถามพระกุมารกัสสัปะว่า ถ้าสวรรค์ (นิพพาน) มีจริง ทำไม พระภิกษุ(ซึ่งทำความดีมาตลอดชีวิต) ทำไมไม่รีบฆ่าตัวตายเพื่อให้ได้ไปสวรรค์ (นิพพาน)เร็วๆ ล่ะ จะได้มีความสุข(ในสวรรค์,นิพพาน) เร็วๆ

พระกุมารกัสสปะ ตอบโดยอุปมาว่า สมมุติ มีหญิงนางหนึ่ง กำลังท้องอยู่ สามีบอกนางว่า ถ้าคลอดลูกเป็นชายจะยกสมบัติทั้งหมดให้ หญิงคนนั้น อยากได้สมบัติเร็วๆ จึงให้คนผ่าท้องเอาลูกออกมาทันที จะได้ได้สมบัติ การกระทำของนางเช่นนี้สมควรหรือ

พระเจ้าปายาสิ ตอบว่า ย่อมไม่สมควร เพราะมันยังไม่ถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ความใจร้อนด่วนได้ของนาง ย่อมทำให้นางต้องตาย แทนที่จะได้สมบัติ

พระกุมารกัสสปะ จึงบอกต่อว่า เช่นเดียวกัน ท่านปายาสิ พระท่านก็ย่อมต้องรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม (คือให้ตายเอง ตามกรรม) การใจร้อนด่วนได้ แล้วรีบฆ่าตัวตาย ย่อมต้องไปรับกรรมในอบาย แทนที่จะได้ไปสวรรค์(นิพพาน)

ผมใช้วิธีคิดเทียบเคียงเอาจากตัวอย่างอื่นประกอบน่ะครับ ไม่ได้รู้หรอกว่า ใครบรรลุอรหันต์หรือไม่

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 January 2006 - 10:06 PM

ขอบคุณ คุณหัดฝันมากครับที่เจตนาดีกลัวคนฆ่าตัวตายตาม โมทนาในความปรารถนาดีด้วยครับ
QUOTE(xlmen @ 9/1/2006 14:17) ดูโพสต์

คำถาม
1.อะไรคือการถอนตัณหา?? พร้อมด้วยราก?? รากคืออะไร??
2.อะไรคือการตายก่อนตาย??? ถ้าตายก่อนบรรลุเจโตวิมุตติท่านจะเชือดคอตนเองหรือ???
3.ความเป็นอรหันต์ปุถุชนมีปัญญาพอไหมที่จะบอกได้ว่าท่านนี้เป็นหรือไม่เป็น ถ้าพุทธวจนะตรัสแล้วถือเป็นข้อยุติหรือไม่???
4.อะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ?? และอะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกุตตระ ???


เฉลย
1.อะไรคือการถอนตัณหา?? [๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ สิ้นกาลนานเราได้เห็นอริยสัจ ๔ เหล่านั้นแล้ว เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้แล้วมูลแห่งทุกข์เราตัดได้ขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ฯ
(ที่มา: เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฏก ฑีฆนิกาย มหาวรรค)
อธิบายคือ การเห็นอริยสัจ 4 คือการถอนตัณหา รากคือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ (โลภ โกรธ หลง) สังโยชน์ 10

2.อะไรคือการตายก่อนตาย???
[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล เครื่องถือมั่นภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
(ที่มา: เล่มที่ 17 พระสุตตันตปิฏก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค)
อธิบายคือ การละวางความยึดถือในสังขารคลายความยึดมั่นคือการตายก่อนตาย หรือการตายของอุปาทาน ตัณหาความยึดถือดิ้นรนในขันธ์ 5
หรือ การหยุดนิ่ง ดับอยากเข้าไปในกายในกายไปจนถึงกายธรรม นี่แหละคือการตายก่อนตายครับ ละขันธ์ 5 ภายนอกเข้าไปสู่ธรรมขันธ์ ณ ภายใน

4.อะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ?? และอะไรคือเจโตวิมุติอันเป็นโลกุตตระ ???
เจโตวิมุติ คือ การหลุดพ้นด้วยอำนาจใจอันยิ่ง
โลกียะ หมายเอา ขันธ์ 5 แบ่งออกเป็น ขันธ์ 5 กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู
โลกุตตระ หมายเอา กาย-ใจพระอรหันต์ หรือ พระนิพพาน
เหตุที่เป็นเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ เนื่องมาจากพระโคธิกะ ท่านทำใจเข้าถึงกายธรรม ณ ภายในจวนจะถึงกายธรรมอรหันต์ แต่เนื่องจากโรคบีบคั้นรุนแรงมากทำให้ท่านเสื่อมจากเจโตวิมุตติ หรือว่าง่าย ๆ ก็คือ ท่านนั่งสมาธิไป ละตัณหาในกาย ในใจ ของกายมนุษย์หยาบ ไปถึง กายธรรมโคตรภูจนคล่องแล้ว โรคของท่าน ณ ตอนนั้นมรณะคือความตายจะมาเยือนเมื่อไหร่ไม่สามารถทราบได้ ถ้าท่านมรณะภาพในขณะที่เจ็บป่วยหนักช่วงที่จิตเคลื่อนจากสมาธิแล้วจิตมัวหมองโอกาสที่จะหลุดไปทุคติเป็นที่ไปก็จะมาก ด้วยเหตุนี้ท่านจึงตัดสินใจกระทำการดังกล่าว

ในตัวอย่างนี้บอกให้รู้ว่าการตายที่ประเสริฐที่สุดคือ การตายจากอาสวะกิเลสทั้งหลายนั่นเองครับ
สังขารเป็นรังของโรค ผู้ใดดับตัณหา และรากได้ก็จะสามารถเข้าไปสู่ธรรม ณ ภายในได้เหมือนดังเช่นพระโคธิกะเป็นต้น


#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 11:46 AM

สาธุกับข้อมูลนะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 08:29 PM

QUOTE
1. การฆ่าตัวตายผิดหรือไม่สำหรับบุคคลทั่วไป???


เฉลยข้อ 1
ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
[๑๘] ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก.
ที่มา : เล่ม 27 สุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1

สรุป พุทธพจน์นี้กล่าวว่า สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ ในความหมายของท่านหมายเอาสัตว์โลก ดังนั้นเราเองก็ถือเป็นสัตว์ในโลกนี้ การฆ่าตัวตายก็คือการฆ่าสัตว์ ซึ่งไม่ควรกระทำ เพราะธรรมชาติของผู้ที่ฆ่าสัตว์ หรือฆ่าตัวตายจิตย่อมเศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองก็ต้องไปทุคติดังนี้แล


#10 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 01:24 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ