ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อะไรเอ่ย คือ พุทธานุวัตร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 12 January 2006 - 11:57 PM

คัดลอกมา


พุทธานุวัตร

พระบรมราชกระแสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ


..... หนังสือ พุทธานุวัตร เป็นออทอริตี ข้างเหนือมาก และเป็นหนังสือนอกจากนิกายมาก แต่วิธีเรียบเรียงน่าชม
แลมีความพอใจที่ได้ฟังธรรมของศาสนาฝ่ายเหนือ ถึงลักษณะที่จะแสดงออกแปลกกันบ้าง น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียวคือเค็มฉันใด
พุทธภาษิต หรือพุทธานุวัตรภาษิต ข้างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ย่อมมีธรรมอันเดียวกันเป็นรสเดียว จึงมีความพอใจเป็นนอันมาก .....

ความปรารภของผู้สร้าง


..... ถึงแม้ว่าผู้ที่ได้รวบรวม เรียบเรียงหนังสือ พุทธานุวัตร เล่มนี้ขึ้นนั้น เป็นนักปราชญ์ฝ่ายประเทศยุโรปก็ดี
และถึงแม้ว่าข้อความในหนังสือพุทธานุวัตรนี้ จะผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไปจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกบ้างก็ดี
แต่เป็นใจความแนะนำอันดีทั้งสิ้น.....

คำนำโดย เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ กรุงลอนดอน ค.ศ. 1891

..... การที่มิสเตอร์ เอ็มโบวเด็น ได้คัดเลือกสุภาษิตต่าง ๆ ของฝ่ายพุทธศาสนามารวบรวมร้อยกรองขึ้นไว้

..... สำหรับไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญา สอนใจแก่สาธุชนให้บังเกิดปัญญา ความสามัคคีและความรักซึ่งกันและกัน
ผู้เรียบเรียงได้เสาะแสวงหา เลือกคัด ล้วนแต่ข้อความที่ชอบที่ดีมาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ของฝ่ายพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
หอสมุด และพิพิธภัณฑสถานต่าง ๆ ในบูรพประเทศ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์ในชมพูทวีป
ได้เคยเผยแผ่พระมหากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง.....

พุทธโอวาท และพุทธภาษิตอีกเป็นเอนกประการที่มีอยู่ในชมพูทวีปนั้น
ถ้าผู้มีสติปัญญาใด ๆ ได้ลูบไล้อาบทาเข้าแล้ว รัศมี กลิ่น รส ของกถาต่าง ๆ ในพุทธภาษิตนั้น ก็จะส่องสว่างฟุ้งออกมาให้ปรากฎ.....


คำนำ โดย เออร์เน็สต์ เอ็มโบว์เด็น

..... ความมุ่งหมายของข้าพเจ้านั้นเห็นว่า ควรใช้คำสอนของฝ่ายพุทธศาสนา เป็นธรรมจริยาสำหรับมหาชนทั่วไปอย่างเดียว
เพราะเห็นว่าเป็นทางประพฤติที่ชอบที่ดีที่สุด ซึ่งบุคคลควรประพฤติด้วยในธรรมวินัยของฝ่ายพุทธศาสนานั้น
มีแก่นความในคำสอนอันวิเศษ.....

เพราะความแนะนำและความสอนในคำภีร์ของฝ่ายพุทธศาสนานั้น คิดเฉลี่ยโดยทั่วไปตามสมควรแก่เหตุของธรรมดา
คือให้แผ่ความโอบอ้อมอารี และความเมตตากรุณาแก่สัตว์มีชีวิตทั่วไป.....

วิธีชำระอรรถกถาต่าง ๆ ในการรจนาหนังสือพุทธานุวัตรขึ้นนี้ ได้ใช้คัมภีร์ของฝ่ายพุทธศาสนา
และหนังสือที่ได้แปลมาจากคัมภีร์ของฝ่ายพุทธศาสนา ซึ่งมีอยุ่ในภาษาต่าง ๆ เป็นอันมาก ไม่ต่ำกว่าสิบภาษา.....
คัมภีร์และหนังสือเหล่านั้นโดยมาก มีอายุแก่กว่าคริสตศก ประมาณถึงสามร้อยกว่าปีเป็นอย่างต่ำ.....

อนึ่งข้อความต่าง ๆ ในคัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนานั้น ย่อมสอนให้ถือเอาแต่ใจความเป็นที่ตั้ง และให้วินิจฉัยดูในโอวาท
ที่จะยึดถือเป็นความสั่งสอน..... คัมภีร์และหนังสือทั้งปวงมีรวมทั้งสิ้น 49 เล่ม ที่ได้ออกนามไว้
สัตว์ทั้งปวงย่อมปราถนาความสุข เพราะเหตุนั้นจงแผ่ความเมตตาของท่าน แก่สัตว์ทั้งปวง
คัมภีร์มหาวงษ์ บท 12
All being desire happiness; Therefore to all extend your benevolence.
Mahavamsa (ch. 12)


บุคคลใด มีความเอ็นดูกรุณาแก่สัตว์มีชีวิต ทุกชาติทุกชนิด บุคคลนั้นได้มีชื่อเรียกว่าผู้บริสุทธิ์
ธรรมบท ข้อ 270
Because he has pity upon every living creature, therefore is a man called "Holy" (Ariya)
Dhammapada (V. 270)


ทุก ๆ คน ควรแผ่ความรักไปในสรรพสัตว์ อันหากำหนดเขตที่สุดมิได้ (ในอนันตจักรวาล) เหมือนกับมารดาระวังดูบุตรที่รักของตน
เมตตสูตร ข้อ 7
Like a mother at the risk of her life watch over her....only child,
So also let every one cullivate towards all beings a boundless (friendly) mind.
Metta- sutta (v. 7)


อย่ากระทำสัตว์ทั้งหลายอื่นๆ ให้เจ็บปวด ความเจ็บปวดจึงจะไม่มีแก่ตน
อุทานวรรค บท 5, ข้อ 18
Hurt not others with that which pains yourself
Udanavarga (ch. 5, v. 18)


จงเปรียบเทียบตนเองว่า เหมือนกันกับสัตว์อื่นๆ (คือรู้ทุกข์ และสุขเสมอกัน)
นาลกสูตร ข้อ 27
Identifying himself with others
Nalaga - Sutta (v.27)


พระมหากษัตริย์ เป็นเหมือนพระปิตุเรศของเรา
พระองค์ทรงรักเรา เหมือนกับทรงรักพระองค์เราเป็นเหมือนโอรสของพระองค์
คำจารึกที่แผ่นศิลาใหญ่ของพระเจ้าอโศกราช พระราชดำรัส แผนกที่ 2
The king is to us even as a father,
he loves us as he loves himself, We are to the king even as (his) childen.
Rock Inscriptions of Asoka (separate edicts no.2)


เราจะทำแก่ผู้อื่นๆ เหมือนทำแก่ตัวเราเอง ด้วยความคิดในจิตอันบริสุทธิ์และประกอบด้วยความรัก
ลิลิตวิสตาร (หนังสือคัมภีร์ สันสกฤต) บท 5
With pure thoughts and fulness of love , I will do towards others what I do for myself.
Lilita Vistara (ch. 5)


ท่าน (ผู้ประกอบด้วยเมตตากรุณา) มีชีวิตอยู่โดย แต่เพียงจะเป็นผู้อนุเคราะห์แก่ชนอื่นเท่านั้น
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 2 ตอน 30
He lives only to be a help to others
Questions of king Milinda (Book 4, ch.2, Sec.30)


เราจะยึดถือมั่น อยู่ด้วยกายอันต้องรู้แตกทำลายนี้ไปทำไม
ในจักษุของนักปราชญ์ เห็นว่า ความดีแต่อย่างเดียวที่จะทำให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนสัตว์ร่วมโลกด้วยกัน
กถาสริตสาคร บท 28
Why should we cling to this perishable body ? ln the eye of the wise, the only thing it is good
for is to benefit one's fellow - eveatures.
Katha Sarit Sagara (ch.28)


ธรรมดาสิ่งที่เรามี จนที่สุดร่างกายของเราเอง
ก็ไม่เป็นของเราทั้งสิ้น สิ่งของทั้งนั้น เราเก็บไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมิใช่หรือ
นาคานันท (บัญญัติ ที่ 1)
It not all I passess, even to my very body, kept for benefit of others ?
Naganada (act.1)


"ขันตี" คือความอดกลั้น ความโกรธแลโทโสไม่ประทุษร้ายต่อสัตว์อื่น
พระพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้าทรงสอนข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญใหญ่ ด้วยรวมลงในกุศลธรรมทั้งปวง
มหาปรินิพพานสูตร บท 6
Forbearance was our Buddha want want to teach
Maha Parinibbana - sutta (ch.6)


ถึงมีผู้ตัดกายของเราด้วยดาบคมให้เป็นท่อนและเป็นชิ้น อย่าให้มีความโกรธเกิดขึ้น และอย่าใช้ปากพูดวาจาชั่วเลยสักคำ
โพโช หิง ตชัน กิง ข้อ 20,46
Though a man with sharp sword should cut one's body bit by bit, let not angry thought..... arise,
let the mouth speak no ill word.
Fo - sho - hing - tsan - king (v.2, 046)


ผู้ใดเป็นผู้ปองฆ่าท่าน ท่านจงอดโทษให้อภัยแก่ผู้นั้น
ลิลิตวิสตาร บท 23
Them who became thy murderer thou forgevest
Lalita vistara (ch. 13)


จงชนะชั่วด้วยความดี
อุทานวรรค บท 20 ข้อ 18
Overcome evil by good
Vdanavarga (ch. 20, v. 18)


ชนะศัตรูด้วยความข่มขี่ ศัตรูกลับมีกำลังมากขึ้น ชนะด้วยความรัก ไม่มีความเสียใจภายหลัง
โพ โช หิง ตชัน กิง ข้อ 2,241
Conquer your foe by force, and you increase his enity; conquer by Love, and you reap to after -
sorrow Fo - sho - hing tsan king (v.2,241)


แบบแผนเป็นหลักสูตรใหญ่ ให้ทำความดีตอบความชั่ว
สูตร 42 ตอน ตอน 7
This great principle of returning good for evil
Suttra forty - two sections (sec.7)


จงขัดเกลาใจ ให้เสมอกันในนินทาและสรรเสริญ คือไม่ยินดีและไม่ยินร้าย
นาลกสูสตร ข้อ 24
Cullivate equanimity
Nalaka - sutta (v.24)


ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรจะต้องนินทา และนินทาผู้ที่ควรจะต้องสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมสะสมบาปด้วยปากของตน
โกกาลิยสูตร ข้อ 2
He that praises him who should be blamed, or blames him who should be praised,
gathers up sin there by in his mouth
kokaliya - sutta (v.2)

อย่าให้อริยสาวก เป็นผู้อวดอ้างตน
ตุวัฏสูตร ข้อ 16
Let no member of Buddha's order be a boaster
Tuvataka - sutta (v.16)


กลืนกินก้อนเหล็กแดงร้อนดีกว่าผู้ทุศีลไม่ทรมานจิต จักเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยทานของชนในแผ่นดิน
ธรรมบท ข้อ 308
Better would it be to swallow a red - hol iron ball, than that a bad, unrestrained fellow
should live on the charity of the land.
Dhammapada (v.308)


ผู้ใดนับถือมารดาบิดาของตน ผู้นั้นย่อมเป็นสุข
อุทานวรรค บท 30 ข้อ 23
Happy is the man that honours his father : he also that honour his mother is happy
Udanavarga (ch.30 v.23)


ผู้ใดยกตนเอง และดูหมิ่นผู้อื่นเป็นชนต่ำช้าด้วยอติมานะ
คือความหยิ่ง ความถือตัวของตน จงรู้เถิดว่าผู้นั้นเช่นนี้เป็นชาติทรชน
วาเสฏฐสูตร ข้อ 17
Who soever exalts himself and despises, others becoming mean by his pride, let us know
such as a ' base - born ' Vasala - sulla (v.17)


จงเป็นผู้มุ่งหมายในการทำประโยชน์ ให้เป็นคุณแก่เพื่อนสัตว์ในโลกของตน
กถาสริตสาคร บท 72
Intent upon benefiting thy fellow - creatures
Katha Sarit Sagara (ch.72)


พระพุทธเจ้า ย่อมทรงพระกรุณาแก่สัตว์จนชั้นต่ำที่สุด
จุลวรรค ขันธก 5 บท 21
The Buddha has mercy even on the meanest thing
Culla vagga (Khandhakas, ch.21)


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้ใดซึ่งอยากพยาบาลบำรุงเราตถาคต, ให้ผู้นั้นพยาบาลบำรุงคนป่วยไข้
มหาวรรค ขันธก 8 ตอน 26
He that ... would wait upon me, let him wait on the sick.
Mahavagga (Khandhaka 8, ch.26)


พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสรรเสริญทานการบูชาต่อพระองค์เอง แต่ทรงชอบสรรเสริญ
ทานการบูชาต่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ที่เป็นผู้สมควรจะได้รับทานการบูชานั้น
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 6 ตอน 14
The Buddha, O king , magnities not the offering of gifts to himself, but rather to whom soever...
is deserving Questions of king Milinda (Book 4, ch.6, sec.14)


ถ้าท่านปราถนาจะเคารพนับถือพระพุทธเจ้า จงประพฤติตามนิทัศน์ตัวอย่างแห่งความทนทุกข์ช้านานของพระองค์
โพ โช หิง ตซัน กิง ข้อ 2,242
If you desire to honour Buddha, follow the example of his patience and long - suffering.
Fo - sho - hing - tsan - king (v.2,242)


พระองค์มีพระรัศมีอันสว่าง ประกอบด้วยทิพยเมตตา และทิพยมหากรุณา ไม่ได้รู้สูญหายสิ้นสุด
ด้วยการเอาพระทัยใส่ระวังต่อสัตว์โลก เพื่อจะทรงช่วยให้รอด เหมือนบุคคลผู้ช่วยชีวิตมิตรของตนให้รอดฉะนั้น
เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ - ประทีปชมพูทวีป เล่ม 5
Radiant with heavenly pily, lost in care for those he knew not save as fellow lives.
Sir Edwin Arnold (Light of Asia, bk 5)


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 January 2006 - 05:10 PM

พุทธภาษิต และ สาวกภาษิต ห้ามไม่ให้ตั้งใจทำลายชีวิตสัตว์ใดๆ โดยต่ำลงไปถึงตัวกิมิชาติ และตัวมด
มหาวรรค ขันธก 1, บท 78
The member of Buddha 's order--- should not intentionary destroy the life of any being,
down even to worm or an ant
Mahavagga (Khandhaka 1 ch. 78)


ผู้ใดฆ่าด้วยมือตนเอง, หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
หรือแลดูการฆ่าด้วยความชอบใจ ในบัญญัตินี้ ห้ามว่าเป็นโทษเสมอกัน
ช มิ ลุย เยา เลียว
Whether now any man kill with his own hand or command other to kill,
or whether he only see with pleasure the act of killing -
all is equally for bidden by this law, and many other thirgs whick cannot be described one by one
Sha - mi - lu - i - yao lio


การชอบธรรมเป็นกุศล ในเหล่าชนผู้ต่ำต้อยอย่างที่สุด
คือช่วยชีวิตตัวแมลงเล็กๆ ให้รอดด้วยความเอ็นดูกรุณา การนั้นจะให้เกิดผลดี เป็นผลบุญแก่ผู้ทำ
ต' ส โฮ ฮม กิง สูตร 2
My teaching is this, that the slightest act of charity, even in the lowest class of persons such as
saving the light of an insect out of pity, that this act....
shall bring to the order of it consequent bencfit
7' sa- ho - hom - king (sutta 2)


คนผู้ใจบุญนั้น มาเพิกถอนความทุกข์ของสัตว์มีชีวิตทั้งปวง
โฟ โช หิง คชัน กิง บท 35
He came to vemove the sorrows of all living things
Fo - sho - hing - tsan - king (v. 35)


ความมุ่งหมายสูงนักความอุตสาหก็ต้องใหญ่นัก และมากนัก
มิลินทปัญหา เล่ม 4, บท 1,ตอน41
Aims so high, and endeavours so grand
Questions of king Milinda (Book 4, ch.1 sec.41)


เราควรจะแสวงหาธรรมวินัยที่กล้าแข็ง ไม่เหมือนแบบอย่างของโลก
ที่มนุษย์รู้ จะสู้รบต่อความเจ็บ ความแก่ และความตาย ที่ทำอันตรายแก่มนุษย์
โฟ โห หิง ตชัน กิง ข้อ 339
Now (said he) I will seek a noble law,unlike the worldly methods known to men and
will fight against the mischief wronght upon man by sickness, age and death
Fo - sho - hing - tsan - king (v.339)


พระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน เจริญพระชนม์ขึ้นในพระราชวัง มีผู้รักษาและป้องกันทุกอย่าง
ครั้นต่อมา พระองค์สละพระกายของพระองค์ต่อป่าดงมีหนาม เพื่อให้ตรัสรู้อมตธรรมที่ไม่ตาย ซึ่งเป็นธรรมอันล้ำเลิศยิ่งในสากลโลก
(ควรสรรเสริญพระวิริยะ พระอุตสาหะ แลความอดทนของพระองค์)
โฟ โห หิง ตซัน กิง ข้อ 446-7
The prince has grown up in a palace with every care bestowed upon his tender person,
and now he gives his body to the --- throny forest: how shall be bear a life of privalion ?
Fo - sho - hing - tsan - king (w.446-7)


เราจักตกลงในนรก ดีกว่าทำการทุจริต
ชาดก 40
Rather will I fell head long into this hell--- than do a deed that is unworthy.
Fa ta ka 40


คนผู้มีใจเป็นกุศล คนผู้นั้นเป็นสุข การทำความตระหนี่ให้สิ้นไป เป็นความสุข
อุทานวรรค บท 30 ข้อ 26
To make an end of selfishness is happiness
Udanavarga (ch.30,v.26)


ไม่มีความสุขในสิ่งใด เว้นไว้แต่ความชอบธรรม
อัตตนกุลวงษ์ บท 2 ตอน 14
There is no happiness except in righteousness
Attanagalu - vansa (ch.2 sec.4)


จงระวังความคิดของท่าน
ธรรมบท ข้อ 327
Watch your thought
Dhammapada (v.327)


จงบังคับห้ามลิ้นของท่าน (สำรวมวาจา)
ธรรมบท ข้อ 232
Control your tongue
dhammapada (v.232)


จงเป็นผู้บริสุทธิ์ และอยู่ด้วยความบริสุทธิ์
ธรรมจริยาสูตร ข้อ 10
Be pure and live with the pure
dhammacariya - sulta (v.10)


จงมีกาย วาจา และจิตให้บริสุทธิ์
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 4 ตอน 47
Pure in word and deed and heart
Questions of king milinda (Book4 ch.4 sec.43)


ผู้รู้ความบริสุทธิ์ ย่อมประพฤติให้สูงขึ้น ในบรรดาความบริสุทธิ์ และให้ธรรมบริสุทธิ์ทั้งปวงเต็มบริบูรณ์
เตวิชชสูตร บทที่ 1
The higher life maketh he known, in all its purity and in all its perfectness.
Tevijja-sutta (ch.1)


จงมีความรักบริบูรณ์ในจิตต่อสัตว์มีชีวิตทั้งปวง
สัทธัมปุณฑริก บท 3 ข้อ 147
Full of compassion for every living being
Saddhamma - pundarika (ch.3, v.143)


ความรักต่อชนทั้งหลายเหลือเกิน ใจของผู้นั้นย่อมอ่อนละลายไปด้วยความเอ็นดู
คำจารึกที่ถ้ำอชันตคูหา
Exceedingly loving towards the people, and whose hearts melt with pity
Ajanta cave Inscrilption


ความดี คือความห้ามงดเว้นในสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวงได้
ธรรมบท ข้อ 361
Good is restraint in all things
Dhammapada (v.361)


ความไม่ถือตน ความสัตย์ และความบังคับทรมานตนเอง (เป็นความดีเป็นต้น)
ชาดก 31
Unself, true and self - controlled
Fa ta ka 31


ภิกษุในพุทธศาสนา มีความตรึกตรองด้วยปัญญา
เป็นผู้อดทนต่อ หนาว ร้อน หิว และ อยาก กล้าสู้รับความลำบาก และมีความเพียรแข็งแรง
สัพพาสวสูตร ตอน 29
The veligious mendicant, wisely reflecting, is patient under cold and heat,
under hunger and thurs, -- under bodily suffering, under pains however sharp.
Sabbasava-sutta (sec.29)


ถึงแม้ผู้หนึ่ง เป็นผู้รบชนะคนล้านคน แต่ผู้รบชนะตนเอง (ชนะจิตบาป) ยังเป็นผู้ชนะใหญ่กว่า
อุทานวรรค บท 23, ข้อ 3
Though a man conquer a thou and men in battle, a greater conquerer still is he who conquers himself
Udana varga (ch.23 sec.3)


จงถอนความรักของตนเอง
ชาดก 25
Root out the love of self
Fa ta ka 25


ผู้มีเกียรติ ควรประพฤติต่อมิตร ด้วยความอารี ความอ่อนน้อม
ความมีอัชฌาสัยดี และทำแก่มิตรเหมือนอยากให้มิตรทำแก่ตน
ลิงคาโลวาทสูตร
The man of honour should minister to his friend--- by liberality,
courtesy, benevolence, and by doing to them as he would be done bu.
Sigalovada - sutta


อย่าพูดคำผรุสวาทหยาบคายแก่ผู้ใด
ธรรมบท ข้อ 133
Speak not harshly to anybody
Dhammapada (v.133)


ควรพูดโดยใจดี และอ่อนหวานแก่ทุกๆ คน
คำจารึกที่วิหารในนครวัด
May I speak kindly and softly to everyone I chance to meet
Inscript in temple of nakhon vat

แม้ผู้ใดได้โกรธ และท้าทายแก่ตน อย่าให้พูดคำหยาบคายแก่ผู้โกรธ และท้าทายนั้น
สาริบุตตสูตร ข้อ 17
Lef him not, even though irritated, speak harsh words
Sariputta - sutta (v.17)


ถ้อยคำอ่อนหวานและน่ารัก ซึมทราบถึงดวงใจ เป็นที่ชอบ และเป็นที่รักมากแก่คนทั้งหลาย
เตวิชชสูตร บท 2
What ever word is humane--- and lovely reaching to
the heart --- pleasing to the people, beloved of the people -such are the words he speaks
Tevijja - sutta (ch.2)


อย่าให้ตนถูกชักนำเข้าในความเท็จ หรืออย่าให้พอใจทำการทุจริต
ตุวัฏกสูตร ข้อ 17
Lef him neither be let into talsehood, nor conciously do wicked thing
Tu va ta ka - sutta (v.17)


บุคคลควรกล่าวแต่สิ่งที่ชอบธรรม, อย่ากล่าวสิ่งที่ไม่ชอบธรรม
ควรกล่าวแต่สิ่งที่ชอบแก่คน อย่ากล่าวสิ่งที่ไม่ชอบแก่คน ควรกล่าวแต่สิ่งที่จริง อย่ากล่าวสิ่งที่ไม่จริง
สุภาษิต สูตร ข้อ 1
Let a man say that which is right, not that which is unrighteous-- that
which is pleasing, not that which is unpleasing,-- that which is true, not that which is not false
Subbhasita - sutta (v.1)


นักปราชญ์ พึงหลบหลีกความบาป เหมือนผู้รักชีวิต หลีกจากยาพิษ
อุทานวรรค 28, ข้อ 14
As he who love life avoid poison, so let the sage avoid sinfulness
udanavarga (ch.28 v.14)


ผู้เห็นภัย ถึงน้อยที่สุด ก็ควรหลบหลีก
เตวิชชสูตร บท 1
He sees danger in even the lease of those things he should avoid
Tevijja - sutta (ch.1)


ถึงแม้ว่า ความบาปเล็กน้อยที่สุด อย่าพึงคิดกระทำ
หรืออย่าให้เป็นเหตุที่จะต้องกระทำ หรืออย่าคิดตรึกตรองที่จะกระทำ
อัตตนกุลวงษ์ บทที่สุดจบ
May I never do , nor cause to be done, nor contemplale the doing of, even the most trival sin
Attanagalu - vansa (conclusion)


อย่าต้องให้ผู้อื่นขอโทษ จงยกโทษนั้นเสียเอง
มหาวรรค ขันธก 1 บท 27
Let not one who is asked for his pardon withhold it
Mahavagga (Khandhaka 1 ch. 27)


อย่าปราถนาให้ผู้อื่นเป็นอันตราย ด้วยความโกรธและความชัง
เมตตสูตร ข้อ 6
Let none of anger or resentment wish harm to another
Metta - sutta (v.6)


จงอยู่เป็นสุข อย่าชังผู้ที่ชังตน จงอยู่ปราศจากพยาบาท ในท่ามกลางผู้ที่ชังตน
ธรรมบท ข้อ 197
Let us then live happily, not hating those who hate us.
In the midst of those who hate us, let us dwell free from hatred.
Dhammapada (v.5)


ความพยาบาทไม่ได้หยุดด้วย พยาบาทในครั้งใด
ความพยาบาทหยุดสิ้นไปด้วยความรัก ข้อนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอาทิ มาแต่โบราณ
ธรรมบท ข้อที่ 5
For hatred does not cease by hatred at any time, hatred ceases by love, this is an old rule
Dhamapada (v.5)


อย่าเป็นทุกข์เสียใจ ต่อสิ่งที่สูญหายไป
อัตตทัณฑสูตร ข้อ 10
Let him not grieve for that which is lost
Attadanda - sutta (v.10)


ไม่ร้องไห้ หรือไม่เป็นทุกข์เสียใจ จักได้ความสุขเกษมในใจ
สัลลสูตร ข้อ 11
Not from weeping or grieving will any obtain peace of mind
Salla - sutta (v.11)


ถึงมีสิ่งของแต่เล็กน้อย จงให้แก่คนผู้ขอเถิด
อุทานวรรค บท 20 ข้อ 15
Give to him that asketh, even though it be but a little
Udanavarga (ch.20 v.15)


ความล่อลวงและความปราถนามาก ความโลภอยากได้ ไม่ชอบธรรม
ความมานะถือตนและตัณหาความดิ้นรน ไม่มีในบุคคลใด ควรให้และควรกระทำสัการบูชาแก่บุคคลนั้น
มาฆสูตร ข้อ 8
Those in whom there is neither deceit nor arrogance,
who are free from cupidify, selfishness, desire, upon such in due time should people
bestow their offerings.
Magha - sutta (v.8)


ผู้เลื่อมใสในการบริจาคทาน ย่อมให้โดยมากเต็มกำลัง
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 1 ตอน 9
He delights in giving so far as he is able
Question of king Milinda (Book4 ch.1 sec.9)


อย่ารู้เหนื่อยในสิ่งที่คิดจะทำการให้ดี
มหามงคลสูตร ข้อ 7
Not to be weary in well- doing
Mahamangala- sutta (v.7)


ความเมตตากรุณาแก่ทาสและคนใช้ ความนับถือแก่บุคคลที่ควรนับถือ ความบังคับใจตนเอง
ด้วยเห็นแก่สัตว์มีชีวิต การสุจริตเหล่านี้เป็นพิธีในศาสนา ควรต้องกระทำโดยแท้ แต่มิใช่พิธีอย่างนอกศาสนา
คำจารึกที่แผ่นศิลาของพระเจ้าอโศก แผนกที่ 9
(Not superstitutious rites, but) Kindness to slaves and servants, reverance to ward venerable persons,
self control with respect to living creatures--- these and similar (virtuous actions are vites which ought
indeed tobe performed)
Rock Inseriptions of Asoka (edicta)


อย่าทำอันตรายแก่บุคคลหรือสัตว์ใดๆ จงอยู่ในโลกประกอบด้วยความรัก และความเมตตากรุณา
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 3 ตอน 35
Doing no injury to anyone, Dwell in the world full 0f love and kindness
Questions of king Milinda (Book4 ch.3 sec.35)


จงสอนตนเองเนือง ๆ ในธรรมจริยาอย่างสูงสุด
นาคารชุนส์ หนังสือฝากโดยไมตรี ข้อ 53
Instruct yourself (move and more) in the highest movality
Nagarjuna 's Friendly Epistle (v.53)


ต้องมีความรู้สึกอายลึกซึ้งต่อการบาป
เสียว อิ กวาน ตอน 1
They must cultivate a feeling of deep shame for their sin
Siou - chi - kwan (sec.1)


คนบาป ไม่เป็นคนงามเลย
ลิลิตวิสดาร บท 21
The sinner is never beautiful
Lalita Vistara (ch.21)


อย่าใช้เครื่องหอมภายนอก แต่จงใช้เครื่องหอมภายใน (คือให้ประดับด้วยธรรมที่ชอบ)
สยามพุทธศาสนิกสุภาษิต
Use nu perfume but sweetness of thought
Siamese Buddhist Maxim


อย่าแลดูสตรีด้วยจิตไม่สำรวม
สยามพุทธศาสนิกสุภาษิต
Look not upon a woman unchastely
Siamese Buddhist maxim


อย่าถามถึงเผ่าพงศ์พันธุ์ผู้ใด แต่จงถามถึงกิริยาความประพฤติของผู้นั้น
สุนวิกภารัทวาชสูตร ข้อ 9
Ask not of (a person 's) desent, but ask about his conduct
Sundarika bharadaja - Sutta(v.9)


วาเสฏฐมาณพได้กล่าวว่า บุคคลมีใจเป็นกุศล และประกอบด้วยการดี บุคคลนั้นเป็นพราหมณ์ด้วยอย่างนี้
วาเสฏฐสูตร อารัมภกถา ต้นคำนำ
The young man vasettha said: "when one is virtuous and full of (good) works,
is this way he becomes a Brahmana"
Vasettha - sutta (preamble)


ผู้ใดไม่ใช่เป็นชนชาติต่ำด้วย ชาติตระกูลที่เกิด
ผู้ใดไม่ใช่เป็นพราหมณ์ด้วยเกิดในชาติตระกูลสูง ผู้นั้นเป็นชนชาติต่ำด้วยกรรมที่ตนได้กระทำ
วสลสูตร ข้อ 21
Not by birth does one become low easte, not by birth a Brarmana,-
by his deeds he becomes low caste by his deeds he becomes a Brahmana.
Vasala-sutta (v.21)


ชนใด เมื่อถูกถามเป็นพยานย่อมกล่าวคำเท็จ ชนนั้นเป็นชนชาติต่ำ
วสลสูตร ข้อ 7
That man who --speaks falsely when asked as a witness, let us know such as a 'base- born'
Vasala - Sutta (v.7)


ความสัตย์และความชอบธรรมมีในผู้ใด ผู้นั้นย่อมเป็นพราหมณ์มีความสุข
ธรรมบท ข้อ 393
In whom there is truth and righteousness, he is blessed, he is a Brammapada
Dhammapada (v.393)


ผู้ใดไม่ ทำสัตว์มีชีวิตให้เจ็บปวด หรือสัตว์เหล่านั้นตัวสั่นหวั่นไหวอยู่
หรือมีกำลัง แข็งแรงอยู่ก็ดี ก็ยังไม่ฆ่า หรือไม่ทำให้ต้องถูกฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
วาเสฏฐสูตร ข้อ 36
Who so, hurts not ( living ) creatures, whether those that tremble
or those that are strong, nor yet kills nor causes to be killed, him do I call a Brahmana.
Vasetta - sutta (v.36)


ผู้ใด เว้นจากบาปทั้งหมด เราเรียกผุ้นั้นว่าพราหมณ์
อุทานวรรค บท 33 ข้อ 38
Who so is (entirely) divested of sin, as is the heaven of mire and the moon of dust,
him do I call a Brahmana.
Udanavarga (ch.33 v.38)


ผู้ใด ถึงมีโทษผิดด้วยไม่ล่วงความชอบธรรม
ย่อมทนทานต่อคำติเตียน การผูกมัด และการทุบตี เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
ธรรมบท ข้อ 399
Him I call indeed a Brahmana who,
though he be guilty of no offence, patiently endures reproaches, bonds and stripes
Dhammapada (v.399)


ในที่สุดชีวิต จิตวิญญาณย่อมไปแต่ผู้เดียว จำเพราะแต่เพียงกรรมเป็นกุศลของเรา เป็นมิตรไปกับเรา
โพ โช หิง ตซัน กิง ข้อ 1,560
At the end of life the soul goes forth alone, where upon only our good deeds betriend us.
Fo - sho - hing - tsan - king (v.1,560)


ผู้เว้นจากความชอบธรรมเป็นผู้ทำผิดเป็นบาปไว้ เมื่อความตายมาถึง ย่อมมีใจเป็นทุกข์หนัก
มหาปรินิพพานสูตร บท 1
The wrongdoer, devoid of rectitude, --- is full of anxiety when death arrives
Mahaparinibbana - sutta (ch.1)


ผู้ทำความชอบธรรมที่ถูกต้องไว้ ย่อมไม่กลัวภัยความตาย
อุทานวรรค บท 28 ข้อ 31
He who has done what is right is free from fear
Udanavarga (ch.28, v.31)


ผู้ใดทำกรรมเป็นบุญหรือกรรมเป็นบาปไว้ กรรมสิ่งใดในสองอย่างนั้น
จะเป็นสำคัญ แต่เล็กน้อยหามิได้ ชนทั้งปวงผู้กระทำกรรมไว้ จะต้องได้รับผลของกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด
อุทานวรรค บท 9 ข้อ 8
What soever a man has done, whether virtuous or sinful deeds,
not one of them is of little importance, they all bear some kind of fruit.
Udanavaraga (ch.9 v.8)


กรรมทั้งหลายของเรา เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ดี ย่อมติดตามเราไป เหมือนเงาตามตน
โพ โห หิง ตซัน กิง ข้อ 1629
Our decds whether good or evil--- follow us as shadows.
Fo - sho - hing -king ( v.1,629)


ทรัพย์สมบัติที่จริง คือ ทาน ศรัทธา (ความเชื่อ กรรมแลผล)
และศีลสำรวมกายสำรวมจิต ทรัพย์สมบัติที่ซ่อนฝังไว้ดังนี้ เป็นที่ไว้ใจได้ ไม่ลี้ลับสูญหายไป
ถึงผู้นั้นละสมบัติในโลกนี้แล้ว ก็จะนำทรัพย์สมบัตินี้ไปกับตนได้ ทรัพย์สมบัตินี้ไม่มีความผิดต่อผู้อื่น และโจรลักไปไม่ได้
นิธีกัณฑสูตร
The (real) treasure is that laid up-- through charity and piety, temperance and self- control---
the treasure thus hid is secure, and passes not away.
Though he leave the fleeting riches of the world,
this a man carries with him - atreasure that no wrong of others and no thief, can steal
Nidhikandn - sutta


บุคคลสูงขึ้นด้วยบุญของตน แต่ต่ำลงด้วยความลดละ
คำจารึกที่ถ้ำอชันตคูหา
Exalted by his virtues, but lowly through modesty
Ajanta cave Inscriptions


ถึงเราไม่เห็นสิ่งไรของเรามีเอง จิตเราสบาย เราย่อมอยู่เป็นสุข
ธรรมบท ข้อ 200
Let us then happily, though we call nothing our own
Dhammapada (v.200)


อย่าลืมกิจหน้าที่ของตน ที่ต้องเห็นแก่ผู้อื่นด้วยใจเอื้อเฟื้อ
ธรรมบท ข้อ 166
Let none be forgetful of his own duty for the sake of another
Dhammapada (v.166)


ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ความผิดของตนเองเห็นยาก
อุทานวรรค บท 27 ข้อ 1
The faults of others are easily seen:--one's own faults are difficult to see
Udanarargo (ch.27 v.1)


การตรวจตราสอบสวนดูตนเอง เป็นการเจ็บปวด (คือเห็นความผิดของตน)
จารึกที่เสาศิลาของพระเจ้าอโศก พระราชดำรัสแผนกที่ 3
Self - Examinalion is painful
Pillar Inscriplion of Asoka (edict 3)


ผู้ผัดความผิดของเพื่อนบ้าน เหมือนผัดแกลบ แต่ซ่อนความผิดของตนเอง เป็นคนสับปลับ
ธรรมบท ข้อ 252
A man winnows his neighbour's faults like chaff : his own he hides,
as a cheat the bad die from the gambler.
Dhammapada (v.252)


ผู้เล่นการพนันไม่ควรเลี้ยงบำรุงภรรยา
สิงคาโลวาทสูตร
A Gambler is not fil to support a wife
Sigalovada - sutta


พระโยคาวจรในพุทธศาสนา เล็งแลดูสัตว์ทั้งปวง
ด้วยความรักอันลึกซึ้ง การนี้เป็นความประพฤติถูกต้องในพระธรรมเจ้า
เตวิชชสูตร บท 3
Even so of all things that have--- life, there is not one that (the Buddhist anchorite) passes over, --
he look upon all with-- deed - felt love. This verily, --is the way to state of union with Gad. (Brahma)
Tevijja - sutta (ch.3)


จงระวังรักษาใจของท่าน
มหาปรินิพพานสูตร บท 3
Keep watch over your hearts
Mahaparinibbana - sutta (ch.3)


อย่าให้ความปราถนาลามก (ปาปิจฉา) อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นภายในใจของท่าน
จุลวรรค ขันธก 7 บท 4
Let nu evil desire whatever arise within you
Cullavagga (Khandhaka 7 ch.4)


ผู้ทำการที่ควรให้เกิดความยินดี ชอบใจแก่ผู้อื่น ผู้นั้นจักประสบความชื่นชมยินดีในโลกอื่นอีก
อุทานวรรค บท 5 ข้อ 26
He who doing what he ought,-- gives pleasure to others, shall find joy in the other word
Udanavagga (ch.5 v.26)


ผู้รักสัตว์นั้นย่อมสำแดงเมตตาแก่สัตว์ ที่มีวิญญาณทุกชนิด
อุทานวรรค บท 31 ข้อ 44
Who showeth mercy to every sentient being
Udanavarga (ch.31 v.44)


พระเจ้าแผ่นดินย่อมทรงทราบกิจ เพื่อให้เกิดความเจริญสุข แก่ฝูงชนเป็นอันมาก
นาลกสูตร ข้อ 15
This (prince) feels for the welfare of the multitute
Nalaka - sutta (v.15)


จงทำการช่วยตนด้วยความเพียรของตนเอง
มหาปรินิพพานสูตร บท 6
Workout your own salvalion with diligence
Mahaparinibbana - sutta (ch.6)


ไม่มีผู้ใด สามารถทำผู้อื่นให้เป็นคนบริสุทธิ์ได้
ธรรมบท ข้อ 165
No man can purity another
Dhammapada (v.165)


ผู้ใดได้ทำความผิดแล้ว ให้ผู้นั้นแสดงความผิดเสีย
ปาติโมกข์
Who soever have incurred a fault, let him deelare it
Pati mokkha


ความไว้ใจได้ในผู้ใด ผู้นั้นนับว่าเป็นญาติมีไมตรีอย่างดีที่สุด
ธรรมบท ข้อ 204
Trust is the best of relalionships
Dhammapada (v.204)


ผู้ซื่อตรง และสมควรเป็นที่ไว้ใจ ย่อมไม่ล่อลวงทำอันตรายแก่มิตร
เตวิชชสูตร บท 2
Faithful and trustworthy, he injures not his fellow man by deceit.
Tevijja - sutta (ch.2)


ผู้มีความชอบธรรม ความรู้สึกต่อชอบและผิด และมีวาจาอ่อนหวาน เป็นผู้สุภาพไม่เย่อหยิ่ง
เมตตสูตร ข้อ 1
Upright, conscientious, and of solf speech, gentle and not proud.
Metta - sutta (v.1)


ถึงแม้ผู้ใดได้กระทำทุจริตสักร้อยหน อย่าให้ผู้นั้นกระทำการทุจริตเช่นนั้นอีกต่อไป
อุทานวรรค บท 28 ข้อ 21
Even if a man have evil a hundred times, him not do it again.
Udanavarga (ch.28 v.21)


เบญจศีลเป็นทางต้นของธรรมบริสุทธิ์ ประเสริฐกว่าราชสมบัติของกษัตริย์ในมนุษย์โลก
และประเสริฐกว่าราชอิสริยยศของบรมจักรพรรดิราช ผู้เป็นใหญ่เหนือโลกทั้งปวง
ธรรมบท ข้อ 178
Better than sovereignty over this earth--- better than lordship over all worlds,
is the recompence of the first step in holiness.
Dhammapada (v.178)


ความชนะย่อมให้เกิดความพยายามชิงชัง
ธรรมบท ข้อ 201
Victory breeds hattred
Dhammapada(v.201)


เพราะเหตุนี้ ผู้ใดที่ผูกพันผู้ที่แตกร้าวต่อกัน ให้กลับเป็นมิตรมีไมตรีแก่กัน
ผู้นั้นเป็นผู้ช่วยอุปถัมภ์มิตร ชอบกล่าวถ้อยคำให้เกิดความสุข และเป็นผู้กระทำความสุขสงบแก่มิตร
เตวิชชสูตร บท 2
Thus he lives as a binder together of those who are devided,
an eneourager of those who are friends a peace - maker,
a lover of peace, im passioned for peace, a speaker of words that make for peace.
Tevijja - sutta (ch.2)


ความเกียจคร้านทำการเป็นเครื่องเศร้าหมอง
อุฏฐานสูตร ข้อ 4
Indolence is defilement
Utthana - sutta (v.4)


มนุษย์เป็นอยู่ด้วยทำการ
วาเสฏฐสูตร ข้อ 61
By work mankind exist
Vasttha - sutta (v.61)


ให้เกียรติยศแก่ผู้สมควรได้เกียรติยศ
มหามงคลสูตร ข้อ 2
To give honour to those who are worthy of honour
Mahamangala - sutta (v.2)


เพราะว่าผู้มีความรักใคร่ในสัตว์นั้น ย่อมกระทำเหมือนวาจาที่ตนกล่าว
วังคีสสูตร ข้อ 15
.... As he said so he acted

ผู้มีใจเป็นบาป แต่วาจาไพเราะ เหมือนหม้อน้ำผึ้งอันเต็มไปด้วยยาพิษ
ลิลิตวิสูตร บท 12
Those who have sin at heart, but are sweet of speech, are like a pitcher smeared with nectar,
but full of poison.
Lalita vistara (ch.12)


ผู้ใดกล่าวถ้อยคำไพเราะดี แต่ไม่ทำตามปากพูด ก็เหมือนดอกไม้สีงาม แต่ไม่มีกลิ่นหอม
ธรรมบท ข้อ 51
Like a... flower that is rich in colour, but has no scent, so are fine...words of him
who does not act accordingly.
Dhammapada (v. 51)


ผู้ทรมานข่มจิตตน (จากบาป) ได้ ผู้นั้นเป็นสุข
อุทานวรรค บท 31 ข้อ 68
He whose mind is subdued and perfectly controlled is happy
Udanavargga (ch.30 v.21)


ถึงแม้มีผู้ใดกล่าวคำท้าทายแก่เรา ก็อย่าโกรธหรือคิดพยาบาท
สุภสูตร
Even when much provocation is given, to be neilher angry... nor malicious.
Subba - sutta


กรรมของเราไม่สูญหาย กรรมเหล่านั้นจะกลับมาอีกโดยแท้
โกกาลิยสูตร ข้อ 10
Our deeds are not lost, they will surely come (back again)
Kokaliya - sutta (v.10)


ถ้าท่านกลัวต่อความลำบาก ไม่อยากทนทุกข์ จงอย่าพยายามทำกรรมทุจริตในที่แจ้งและที่ลับ
อุทานวรรค บท 9 ข้อ 3
If thou art filled with the dread of suffering,
if there is naught agreeable to thce in suffering, do no evil thing openly or even in secret.
Udanavarga (ch.9 v.3)


จงรับสารภาพที่เราทำบาป เพื่อจะงดเสียได้จากบาปในภายหน้า
จุลวรรค ขันธก 5 บท 20
Accept the confession I make of my sin in its sinfulness to the end that in future
I may restrain myself therefrom
Culla vagga (Khandhakas ch.20)


คนพาลรู้สึกต่อว่าเป็นพาลย่อมกลับเป็นคนมีปัญหาในคราวใดๆ
ได้โดยมาก แต่คนพาลผู้ถือธรรมบท ข้อ 63 เป็นผู้มีปัญหา คนพาลนั้นเป็นคนพาลแท้
ธรรมบท ข้อ 63
The fool who knows his fooliness is wise at any time rate so far. But the fool who thinks himself wise,
he is fool indeed.
Dhammapada (v.63)


พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าเหนือชนอื่น ย่อมงดอดกลั้นต่อคนมีกำลังอ่อน
อุทานวรรค บท 20 ข้อ 8
Who, thoung he may be lord over other, is patient with those that are weak.
Udanavarga (ch.20 v.8)


ความมีใจโอบอ้อมอารี มีกิริยาสุภาพเรียบร้อย มีใจเมตตากรุณา และความไม่มีใจตระหนี่ในสรรพเหตุ
ต่อชนทั้งปวง ลักษณะเหล่านี้เป็นคุณอุดหนุนแก่โลก ดุจดังไม้กำอันประกอบค้ำจุนดุมรถให้กลิ้งหมุนไปรอบ
สิงคาโลวาทสูตร
Liberality, courtesy, benevolence, unselfishness,
under all circumstances towards all people,
these qualilies are to the world what the linch - pin is to the rolling chariot.
Sigalovada - sutta


อย่าขืนทำด้วยตั้งใจหมาย จะให้เกิดเหตุแตกร้าวต่อกัน
ปาติโมกข์สังฆาทิเสสาธัมมา ตอน 10
Perist not in calling attention to a matter calculated to cause division
Patimokka (Samghadisesa Dhamma, sec.10)


จงประกอบด้วยความสำรวมจิต และความเอ็นดู จงเป็นผู้มีเมตตากรุณา
เตวิชชสูตร บท 2
Full of modesty any pity,... kind and compassionate to all creatures that have life
Tevijja - sutta (ch.2)


จิตแห่งสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นสุขอยู่ในเมตตากรุณาทั้งวันและทั้งคืน
ธรรมบท ข้อ 300
Day and night the mind of Buddha's disciples always delights in compassion
Dhammapada (v.300)


อย่าให้ผู้ใดคิดดูถูกดูหมิ่นบุญของผู้อื่น
สาริบุตตสูตร ข้อ 19
Let him not think detractingly of others
Sariputta (v.19)


อกุศลทุจริต เป็นสิ่งต่ำช้า ชักให้สัตว์ต่ำลง กุศลสุจริตเป็นสิ่งใหญ่ให้สัตว์เจริญสูงขึ้น
มิลินทปัญหา เล่ม 4 บท 8 ตอน 31
Vice, o king is a mean thing, virtue is great and grand
Questions of king Milinda (Book 4 ch.8 sec.31)


อย่าให้ผู้ใดทำการต่ำช้าลามก
เมตตสูตร ข้อ 3
Let him do nothing mean
Metta - sutta (v.3)


การไม่ชอบธรรม ควรน่าดูหมิ่นติเตียน
มหาวรรค ขันธก 6 บท 31
I deem... unrighteous actions contemptible.
Maha vagga (Khandhaka 6 ch. 31)


ผู้ถือความสุจริต ย่อมครองชีวิตของตนโดยทางอันบริสุทธิ์แท้
เตวิชชสูตร บท 1
He sustains his life by means that are quite pure
Tevijja - sutta (ch.1)


ผู้ทำบาปทุจริตย่อมทนทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า
ธรรมบท ข้อ 17
The evil-doer suffers both in this world and in the next
Dhammapada (v.17)


ท่านทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนเป็นอันมาก ด้วยความเอ็นดูและกรุณาแก่โลก
เพื่อให้ได้ความดี ได้ประโยชน์และได้ความเจริญแก่ชนในโลก
ท่านทั้งหลายจงประกาศโอวาทของศาสนาอันรุ่งเรือง
และจงสอนเรื่องประวัติของวิสุทธิธรรมอันบริบูรณ์บริสุทธิ์หมดจดโดยรอบ
มหาวรรค ขันธก 1 บท 11
Go ye, O Brethren, and wander forth, for the gain of the many,
the welfare of the many, in compassion of the world, for the good, for the gain,
for the welfare of... men...Publish, O Brethren, the doctrine glorious ...
Preach ye a life of holiness perfect and pure
Mahavagga (Khandhaka 1, ch.11)


ผู้ไม่เป็นสาวกของเรา จักต้องพูดคำติเตียนต่อเรา
ผู้เป็นพระพุทธเจ้าหรือติเตียนต่อพระธรรม คำสั่งสอนของเรา หรือต่อหมู่สาวกของเรา
ความติเตียนนั้นไม่ใช่เหตุ คือไม่เป็นปัญญาความคิดเลย ท่านทั้งหลายจะลุอำนาจแก่ความโกรธผู้เหล่านั้นทำไม
พรหมชาลสูตร
Should those who are not with us, O Brethren, speak in dispraise of me or my doctrine,
or of my church, that is no reason why you should give way to anger
Brahma - sutta


ให้ผู้มีปัญญา ป้องกันรักษาจิตของตน เพราะว่าจิตเหล่านั้นมีเล่ห์กลนัก และย่อมโจนไปในที่หนึ่งที่ใดตามใจชอบ
ธรรมบท ข้อ 36
Let the wise man guard his thoughts, for they are... very artful and rush where soever they list
Dhammapada (v.36)


คนผู้บริสุทธิ์ มีจิตสงบเงียบ ไม่มีจิตฟุ้งซ่าน เป็นผู้ไม่มีมลทิน เหมือนดวงจันทร์อันผ่องใสบริสุทธิ์เสมอ
วาเสฏฐสูตร ข้อ 44
Spotless as the moon, pure, serene, and undisturbed
Vasettha - sutta (v.44)


เราจักนิ่งอดทนต่อคำสบประมาท เหมือนกุญชรชาติย่อมอดทนต่อลูกศรที่ข้าศึกยิงมาในการสงคราม
ธรรมบท ข้อ 320
Silently shall I endure abuse, as the elephant in ballle endures the arrow sent from the bow
Dhammapada (v.320)


พระองค์มีพระรัศมีอันสว่าง ประกอบด้วยทิพยเมตตา และทิพยมหากรุณา ไม่ได้รู้สูญหายสิ้นสุด
ด้วยการเอาพระทัยใส่ระวังต่อสัตว์โลก เพื่อจะทรงช่วยให้รอด เหมือนบุคคลผู้ช่วยชีวิตมิตรของตนให้รอดฉะนั้น
เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ - ประทีปชมพูทวีป เล่ม 5
Radiant with heavenly pily, lost in care for those he knew not save as fellow lives.
Sir Edwin Arnold (Light of Asia, bk 5)



*** เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้. ***

#3 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 January 2006 - 01:36 PM

ขอเป็นตอนๆ เถอะค่ะ ยาวแบบนี้ ไม่มีใครอ่านหรอก
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#4 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 02:01 PM

ยาวมาก ๆ เลยครับ กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ