ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ความแตกต่าง


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 แม่ยาคูส์

แม่ยาคูส์
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 01:00 PM

รบกวนช่วยตอบหน่อยค่ะ การเข้ากรรมฐานหรือนั่งกรรมฐาน เหมือนกับการนั่งสมาธิหรือเปล่า

#2 กาแฟเย็น

กาแฟเย็น
  • Members
  • 121 โพสต์
  • Location:milan
  • Interests:วาดการ์ตูน เล่นคอมกับโปรแกรมแต่งรูปต่างๆ ชอบถ่ายรูปอยู่เหมือนกัน

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 02:26 PM

เคยมีคำตอบของคำถามแบบนี้อย่างละเอียดอยู่ แต่จำไม่ได้ว่าตัวเต็มๆอยู่ไหนนะ เท่าที่จำได้คือ การเข้ากรรมฐานหรือนั่งกรรมฐานนี่จะเกิดขึ้นเมื่อนั่งสมาธิจนได้ดวงแล้วจึงจะเดินฐานต่างๆได้ ถือเป็นการยกระดับไปอีกเลเว่ลนึง ส่วนการนั่งสมาธิแบบที่ยังมืดตื้อมืดมิดบ้าง สว่างบ้าง สงบบ้าง สบายบ้าง ตัวเบาบ้าง ตัวเเข็งบ้าง ตัวขยายบ้าง ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการนั่งเข้ากรรมฐาน แต่ก็เป็นการนั่งสมาธิ
คือง่ายๆเลย ก็นั่งท่าขัดสมาธิเหมือนกัน แต่ภายในไม่เหมือนกัน การนั่งสมาธิ:ภายนอกหยุดนิ่ง ภายในอาจหยุดบ้างไม่หยุดบ้าง ยังนิ่งไม่สนิท ส่วนการเข้ากรรมฐาน: ภายนอกหยุดนิ่ง ภายในหยุดนิ่งและเคลื่อนไหว
เข้าใจผิดถูกคลาดเคลื่อนอย่างไร ใครรู้ก็แนะนำทีนะครับ

#3 ช้างบ้า

ช้างบ้า
  • Members
  • 58 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 06:22 PM

การดับความทุกข์และความฟุ้งซ่านของจิตด้วย "วิปัสสนากรรมฐาน"

มนุษย์ทุกคนในโลก ล้วนแล้วแต่ชอบคิดถึงอดีตที่ผ่านมาทั้งนั้น หรือคิดไปในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นปกติของจิต ที่มักไหลไปในทางต่ำเสมอ เช่น ไหลไปใน โลภะ-โทษะ-โมหะ พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่อง สติปัฏฐาน 4 เพื่อดับทุกข์แห่งความฟุ้งซ่านนั้น คือมีใจจดจ่อที่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม

ขออธิบายพอสังเขป "สติปัฏฐาน ๔" ที่นิยมกันคือ มีใจจดจ่อที่ "ลมหายใจเข้าออก" ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ...เมื่อมันฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ตามดูจิตที่ฟุ้งซ่านนั้น แล้วพิจารณาว่าจิตที่ไหลไปตามอารมณ์นั้น แล้วจะมองเห็นว่าจิตที่นึกคิดเป็นเพียง "นามธรรม" ที่แยกออกจากกายซึ่งเป็น "รูปธรรม" โดยเด็ดขาด ไม่ได้ปะปนกันจนแยกไม่ได้ เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑ - นามรูปปริจเฉทญาณ" ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" คือมีลักษณะ "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" คือ
- อนิจจัง = มีสภาพ ไม่เที่ยง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
- ทุกข์ขัง = มีสภาพ เป็นทุกข์ คือ ตั้งอยู่ในสภาพเดิมนานๆไม่ได้
- อนัตตา = มีสภาพ ไม่ใช่ตัวตน และ ไม่ใช่ของเรา คือ ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา

...จิตที่ฟุ้งซ่าน มีสภาพเป็น "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" กล่วคือ ความคิดนั้นจะ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" , "ทนอยู่ในสภาพเดิมนานไม่ได้" , "ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา" .....เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" ทุกประการณ์

โปรดสังเกตอาการที่ฟุ้งซ่านนั้น สักพักมันก็หยุดคิดฟุ้งซ่าน เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" จริงๆ ...เมื่อหยุดคิดฟุ้งซ่าน มันจะกลับมานิ่งสงบชั่วครู่ตามเดิม แต่นิ่งได้แป็บเดียวเท่านั้น

จิตที่สงบนิ่งนั้นก็เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มันจะนิ่งอยู่นานไม่ได้ เดี๋ยวมันก็หลงไปใน "โลภะ-โทษะ-โมหะ" เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เช่นเดียวกัน สลับกันไปเช่นนี้ คือ "สงบนิ่งชั่วคราว" สลับกับ ไหลไปใน "โลภะ-โทษะ-โมหะ ชั่วคราว" เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๔ - อุทยัพพยญาณ"

ใช้ปัญญาพิจารณาตามสภาวะความเป็นจริงของจิตเช่นนี้ เรียกว่าการ "ตามดูจิต" ตามดูเฉยๆนะครับ เพียงแค่ตามรู้ว่าจิตที่ฟุ้งซ่าน กับ จิตที่สงบนิ่งเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เท่านั้นเอง ...อย่าไปบังคับให้มันหยุดคิด "เพราะจิตไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา" เราไปสั่งไม่ให้มันคิดไม่ได้ครับ ถ้าไปบังคับจะรู้สึกอึดอัดทันที และการบังคับจิต หรือการข่มจิต จะกลายเป็นสมาถะกรรมฐาน ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐาน นะครับ ต้องแยกแยะให้ดี

เมื่อพิจารณาตามดูจิต แล้วพิจารณาว่าจิตนั้นเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" คือมีลักษณะ "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" จนชำนาญแล้ว ต่อไปเวลามีอารมร์มากระทบจิต เราจะไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์นั้น เมื่ออารมณ์มากระทบจิต อารมณ์นั้นมันจะดับไปเอง เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๑ - สังขารุเบกขาญาณ" โดยที่จิตไม่มีการปรุงแต่งอีกต่อไป เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น การวางเฉยและการปล่อยวางก็จะตามมา เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๒ - อนุโลมญาณ"

เมื่อฝึก "วิปัสสนากรรมฐาน" ไปนานๆ โลภะ-โทษะ-โมหะ ในจิตก็จะเบาบางลง กิเลสเบื้องต้นก็จะค่อยๆละได้ไปเอง เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๖ - ปัจจเวกขณญาณ" สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"

พระอริยะบุคคลประเภทที่ ๑. พระโสดาบันบุคคล คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิป้สสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง ๑๖ ญาณ
เป็นครั้งแรก ทำให้กิเลสต่างๆ เบาบางอย่างมากมายและสามารถละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ๓ ประการ ในสัญโญชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑.๑ สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
๑.๒ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือความสงสัยในสิ่งต่างๆ จนฟุ้งซ่าน
จนควบคุมจิตใจไม่อยู่เป็นบ่อเกิดโรคจิต โรคนอนไม่หลับ โรคหวาดระแวงโดยไร้สาเหตุ โรควิตกกังวัลจนผิดปกติ
รวมความแล้วคือสงสัยลังเลจนเลยเถิด
๑.๓ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง

ทั้งหมดนี้เรียกว่า "วิปัสสนา ญาณ" ...เป็นหนทางแห่งการดับกิเลส และเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

*หมายเหตุ
- วิปัสสนา แปลว่า การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง การตามรู้ตามเห็น การรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
- กรรมฐาน แปลว่า มีฐานเป็นที่ตั้ง เช่น มีฐานอยู่ที่ "ลมหายใจเข้าออก" ทุกขณะจิต
- วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า การมีฐานที่ตั้งโดยมีสติตามรู้กายรู้ใจตามความเป็นจร ิง
- วิปัสสนาญาณ แปลว่า ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์ ๕ (รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ) เป็น "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" คือ เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง "พระไตรลักษณ์" แห่งรูปนาม
--------------------------------------------------------------------------------------
ขยายความโดยละเอียดเรื่อง "วิปัสสนา ญาณ ๑๖" ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"
http://www.palungjit...ead.php?t=44203

* "วิปัสสนา ญาณ" ...อ้างอิงจาก
-พระไตรปิฏก ในเล่ม ๖๘ ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถา หน้าที่ ๕๐ เป็นต้นไป
-พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๐

อ้างอิง
http://larnbuddhism.....php/t-390.html

#4 homer324

homer324
  • Members
  • 522 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 July 2008 - 12:36 PM

ลึกซึ้ง ลึกซึ้ง..

ทราบซึ้งๆ..

ทราบแล้วเปลี่ยน..

#5 สวญ.

สวญ.
  • Members
  • 33 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 July 2008 - 03:02 PM

อ้างอิงวืชาการมาเลย
คนถามคงหายสงสัยประเด็นตามหัวข้อกระทู้ แต่อาจเริ่มงงหรือสงสัยระเด็นใหม่แทน happy.gif

#6 แม่ยาคูส์

แม่ยาคูส์
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2008 - 11:53 AM

ขอบคุณมาก ๆ ในทุก ๆ คำตอบ มากค่ะ