ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก Suphatra

ค้นพบทั้งสิ้น 24 รายการโดย Suphatra (จำกัดการค้นหาจาก 30-April 23)


#197763 ทำพรุ่งนี้สำเร็จพรุ่งนี้ บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 02 June 2018 - 11:12 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ทำพรุ่งนี้สำเร็จพรุ่งนี้
ตอน สำเร็จได้ด้วย กฎการทำงาน 2 นาที
 
     เราจะแก้ไขนิสัยที่ขัดขวางการบริหารเวลาอย่างการผัดวันประกันพรุ่งได้อย่างไร มีคนนำเสนอเรื่อง  กฎ 2 นาที โดยมีหัวใจหลัก คือ  อะไรก็ตามที่เรานึกขึ้นได้ว่า เราจะต้องทำ และหากมันเป็นงานที่ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีให้ทำทันที
 
     ในช่วงเวลา 2 นาทีนั้น เพียงเราคิดอะไรเพลินๆ หรือหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแชทก็หมดเวลาแล้ว ดังนั้น หากงานนั้นใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที  ให้ลงมือทำทันที เช่น เราจะติดต่อมอบหมายงานอะไรให้ใครทำ หรือตอบอีเมลลูกค้า ก็คงไม่ใช้เวลานานเกิน 2 นาที ดังนั้น ให้ทำมันเลย
 
     พอทำได้อย่างนี้เราจะพบว่า งานที่เคยคั่งค้างอยู่มันหายไปเพราะความจริงแล้วงานจำนวนมาก ร้องละเก้าสิบที่ค้าง ๆ อยู่นั้นแต่ละงานใช้เวลาไม่มากเลย แต่เรากลับผัดวันประกันพรุ่ง งานเล็ก ๆ เหล่านี้ จึงกองทับถมกันไปเรื่อย ๆ จนทำให้เรารู้สึกว่า มีงานมากจนกลายเป็นภาระหนักในใจ ทั้งที่พอหยิบออกมาดูรายละเอียดจริง ๆ ใช้เวลาสะสางไม่นานก็เสร็จ
 
     มีความจริงเกี่ยวกับการผัดวันประกันพรุ่งซึ่งคนส่วนใหญ่เคยเป็น นักเรียนจะยิ่งเห็นได้ชัด ถ้าเราไม่ผัดวันประกันพรุ่งตั้งแต่เปิดเรียนวันแรก พอกลับมาถึงบ้าน หยิบการบ้านออกมาดูแล้วลงมือทำเลย พรุ่งนี้มีเรียนอะไรก็หยิบออกมาอ่าน เตรียมบทเรียนก่อนล่วงหน้า จัดกระเป๋าทุกอย่างให้เรียบร้อยตั้งแต่ก่อนนอน ก่อนจะไปเรียนในวันพรุ่งนี้ ไม่ว่าจะเรียนวิชาอะไร เนื้อหาคราวที่แล้วเราเนียนถึงไหน เรารู้หมดแล้ว หากนักเรียนมีการเตรียมตัวเตรียมใจที่ดีอย่างนี้รับรองว่า ผลการเรียนดีแน่นอน
 
     นักเรียนบางคนชอบผัดวันประกันพรุ่ง พอเช้าก็ตาลีตาลานมาทำ จะถึงเวลาส่งการบ้านอยู่แล้ว ยังยืมการบ้านเพื่อนมาลอกอยู่เลยทำแค่พอให้ทันส่ง หรือบางคนพอจะสอบ ก็ดูหนังสือจนนาทีสุดท้ายแล้วผลสอบออกมาไม่ค่อยดีเท่าไร
 
     การทำงานต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ผัดวันประกันพรุ่งงานไหนที่ต้องทำก็เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ แล้วลงมือทำให้เสร็จก่อนอย่างนี้ไม่เครียด เพราะทำทุกอย่างสบายๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงการทำอย่างนี้และชอบผัดวันประกันพรุ่ง
 
     คนผัดวันประกันพรุ่งไม่ใช่คนที่ไม่ทำอะไรเลย เช่น เด็กๆ ที่ไม่ทำการบ้าน ไม่ใช่ว่าเขานั่งๆ นอนๆ ทั้งคืน แต่เขามักจะเลี่ยงไปทำอย่างอื่นที่ตนเองอยากทำ เช่น ไปเล่นกีฬา ออกไปเที่ยวเตร่กับเพื่อน เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือนิยายที่ตนเองชื่นชอบ แล้วแต่ว่าใครชอบอะไรเขาจะไปทำสิ่งนั้น แต่งานที่ควรทำกลับเอาไว้ก่อน รอจนไฟลนก้นแล้วค่อยทำ
 
     เชื่อหรือไม่ว่า เด็กที่ชอบอ่านหนังสือนิยาย ถ้าเปลี่ยนมาเรียนวิชาวรรณคดี แล้วอาจารย์เอาหนังสือนิยายมาให้อ่านเป็นการบ้านเขาจะอ้างว่า นิยายเล่มนี้พักไว้ก่อน เขาจะไปทำอย่างอื่นที่อาจารย์ไม่ได้สั่ง
 
     ส่วนอีกคนที่ให้ทำงานอื่นแล้วไม่ทำ นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ไปเรื่อย ถ้าอาจารย์ให้การบ้านว่า ให้ไปอ่านหนังสือพิมพ์แล้วสรุปมาผลคือเขาจะเอาหนังสือพิมพ์ไปเก็บ แล้วลุกไปทำอย่างอื่นแทน
 
     สำหรับคนที่ชอบท่องโลกอินเทอร์เน็ต ดูอะไรไปเรื่องเปื่อยถ้าเขาได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ตเขาจะปิดคอมพิวเตอร์แล้วหันไปทำอย่างอื่นก่อนทันที
เหล่านี้เป็นเรื่องจิตวิทยาของคนผัดวันประกันพรุ่งที่มีความรู้สึกว่า สิ่งที่ถูกบังคับให้ทำ ใจมันไม่ชอบ จึงมักจะเลี่ยงไปทำอย่างอื่นที่ไม่มีใครมาบังคับ แต่ตนเองอยากทำแทน
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197762 ทำพรุ่งนี้สำเร็จพรุ่งนี้ บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 02 June 2018 - 11:00 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ทำพรุ่งนี้ สำเร็จ พรุ่งนี้
ตอน เทคนิคการขจัดนิสัยผิดวันประกันพุ่ง
 
     ไม่ว่าจะทำงานอะไร เรามักจะได้ยินคำว่า  เดี๋ยวก่อน  อยู่เสมอ ทำให้เลื่อนการทำงานออกไปอีก พอใกล้ถึงเวลาส่งงานค่อยกลับมาทำ เป็นไฟลนก้น แล้วจึงเกิดความเครียดขึ้นมา
 
     เทคนิคการขจัดนิสัย  ผัดวันประกันพรุ่ง
 
     สาเหตุที่คนเราชอบผัดวันประกันพรุ่ง
 
     การผัดวันประกันพรุ่งนั้น บางครั้งสำหรับบางคนเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวตามสถานการณ์ แต่สำหรับบางคนเกิดขึ้นเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งมีสาเหตุหลัก 4 สาเหตุ ด้วยกัน
 
     สาเหตุที่ 1 ไม่มีวินัยในการทำงาน  คนลักษณะนี้มักจะขอเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้จักจัดลำดับงานก่อนหลัง เช่น บางคนตอนเรียนหนังสือ ในระหว่างภาคการศึกษายังไม่อยากอ่านหนังสือ ขอผัดวันไปอ่านหนังสือตอนใกล้สอบ อ้างว่าทำให้จดจำทุกอย่างได้ แต่กลับกลายเป็นว่า พอถึงเวลาใกล้สอบ ก็อ่านหนังสือไม่ทันเพราะไฟลนก้น รู้สึกกระวนกระวายไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง ในที่สุดก็อ่านหนังสือไม่ทัน หรืออ่านได้ไม่เท่าที่ตนเองเคยตั้งใจไว้ ปรากฏว่าผลสอบออกมาไม่ดี พอเข้าสู่เทอมใหม่ก็ซ้ำรอยเดิมอีก
 
     สาเหตุที่ 2 มัวแต่ศึกษาค้นคว้า  มีคนประเภทหนึ่งชอบนึกว่าตนเองจะทำงานได้ไม่สำเร็จ จึงขอผลัดการทำงานออกไปก่อนเพื่อศึกษาดูรายละเอียดของงาน พอถึงเวลาไม่ได้ลงมือทำสักทีเพราะมัวแต่ศึกษา เลื่อนการทำงานนั้นออกไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดที่ชัดเจนงานจึงเสร็จไม่ทันเวลา
 
     สาเหตุที่ 3 ไม่ชอบงานที่ทำ  บางคนไม่ชอบงานที่ได้รับมอบหมาย แต่ว่าต้องจำใจทำ เช่น บางคนอาจจะชอบเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่บางครั้งถูกมอบหมายให้ทำงานเอกสารพอตนเองไม่ชอบงานนั้น จึงไม่อยากทำ เกิดอาการผัดวันประกันพรุ่งงานก็ยิ่งคั่งค้างกลายเป็นดินพอกหางหมูไปใหญ่
 
     สาเหตุที่ 4 รอคอยความพร้อม หลายคนอยากให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ แต่สำหรับบางคนกว่างงานจะออกมาสมบูรณ์แบบที่สุดได้นั้น เขามักจะรอให้ความพร้อมทุก ๆ ด้านเกิดขึ้นก่อนจึงลงมือทำ ซึ่งถือว่าเป็นการผัดวันประกันพรุ่งอีกรูปแบบหนึ่ง
 
     จริงๆ แล้วถ้างานยังไม่สมบูรณ์ เราก็ต้องค่อยๆ ลงมือทำไปเรื่อยๆ แล้วแก้ไขไปตามขั้นตอน แต่ถ้ามัวแต่รอความพร้อมทุกๆ ด้าน งานนั้นก็จะไม่เสร็จ ความจริงการรอคอยความพร้อมนี้คือข้ออ้างเพื่อยืดเวลาให้กับสิ่งที่เขาไม่อยากทำ
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197761 รู้หรือไม่ เรื่องเวลา เป็นเรื่องใหญ่ บทที่ 3

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 01 June 2018 - 10:41 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

รู้หรือไม่ เรื่องเวลาเป็นเรื่องใหญ่
ตอน เวลาใด สำคัญที่สุด และใครคือบุคคล สำคัญที่สุด
 
     ในอดีตมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงอยากรู้ว่า เวลาตอนไหนสำคัญที่สุด ใครคือบุคคลสำคัญที่สุด และภารกิจที่พระองค์ควรทำที่สุดคืออะไร
 
     พระราชาป่าวประกาศว่า ถ้าใครตอบคำถามได้จะมีรางวัลให้ประชาชนต่างเข้ามาตอบคำถามพระองค์กันมากมายหลากหลายคำตอบแต่พระราชาก็ยังไม่ถูกใจแม้คำตอบเดียว
 
     พอพระราชาได้ฟังว่า มีฤๅษีตนหนึ่งฉลาดมากอาศัยอยู่ในป่าพระองค์จึงต้องการจะไปถามคำถามนี้กับฤๅษี ขณะที่พระองค์เดินทางไปกับอำมาตย์ราชบริพาร พอถึงเชิงเขาทรงรับสั่งให้ทุกคนรออยู่ข้างล่าง เพื่อไม่ให้ขึ้นไปรบกวนความสงบของท่านฤๅษี
 
     พระราชาแต่งตัวแบบชาวบ้านธรรมดา เสด็จขึ้นเขาไปเพียงพระองค์เดียว พอเห็นฤๅษีกำลังขุดดินอยู่ พระราชาไม่รอช้าทรงตรัสถามคำถามทันที ฤๅษีได้ยินก็ยังขุดดินต่อไป ไม่สนใจพระราชาเลยพระองค์จึงตรัสถามย้ำต่อไปอีกว่า ข้าพเจ้าอยากรู้ว่า เวลาใดสำคัญที่สุด ใครคือบุคคลสำคัญที่สุด และภารกิจใดสำคัญที่สุด  พอพระราชาถามจบ ฤๅษีก็ยังนิ่งไม่พูดอะไรและขุดดินต่อไป
 
     พระราชาเห็นฤๅษีมีอายุมากแล้วจึงตรัสว่า ข้าพเจ้าจะช่วยท่านขุดดินก็แล้วกัน พระองค์ทรงคิดว่า ฤๅษีกำลังกังวลเรื่องขุดดินจึงไม่ตอบคำถามของพระองค์
 
     พระราชาช่วยฤๅษีขุดดินอยู่เป็นชั่วโมง ฤๅษีชอบใจจึงนั่งลงพอพระราชาขุดดินได้มากพอสมควร แล้วจึงเอ่ยถามฤๅษีอีกครั้งว่า  ข้าพเจ้ามาที่นี่เพราะอยากรู้ว่า เวลาใดสำคัญที่สุด ใครคือบุคคลสำคัญที่สุด และภารกิจอะไรสำคัญที่สุด ถ้าท่านตอบไม่ได้ก็ขอให้บอกมาตรงๆ ข้าพเจ้าจะได้กลับ
 
     ฤๅษีไม่ได้ตอบพระราชา แต่กลับพูดขึ้นว่า ได้ยินเสียงฝีเท้าไหน มีคนกำลังวิ่งมาทางนี้  พระราชาตั้งใจฟังเสียงฝีเท้าก็เห็นด้วยไม่ช้าทั้งสองก็เห็นคนหนึ่งวิ่งโซซัดโซเซเข้ามาหา ขาเอามือกุมท้อง มีเลือดไหลซึมตามร่องนิ้วมือ พอเข้ามาใกล้เขาก็ล้มลงไปที่พื้น
 
     พระราชาเข้าไปดูใกล้ ๆ จึงเห็นบาดแผลที่ท้องน้อย รีบนำผ้ามาห้ามเลือด แล้วทำแผลให้จนชายคนนี้รอดตายอย่างหวุดหวิด
 
     พอเขาฟื้นขึ้นมาพบว่า พระราชาเป็นคนช่วยชีวิตตนเองเอาไว้จึงสารภาพว่า พี่ชายของตนเองตายในการรบกับพระราชาเมื่อปีก่อนทรัพย์สมบัติถูกริบไปจนหมดตัว จึงผูกอาฆาตแค้นพระราชามาก พอรู้ข่าวว่า พระราชาจะมาหาฤๅษีบนเขานี้เพียงลำพัง เห็นเป็นโอกาสจึงจะมาดักลอบทำร้ายพระองค์
 
     พอตนเห็นฝ่ายพระราชาอยู่บนเขาเป็นชั่วโมง ไม่ยอมลงไปสักทีจึงคิดจะลุยฝ่าขึ้นมา เจอทหารองครักษ์อยู่ที่เชิงเขาจึงต่อสู้กันจนตนเองถูกอาวุธต้องหนีตายขึ้นมา แต่พระราชากลับมีเมตตาช่วยชีวิตเอาไว้ นับแต่นี้ไปจะไม่ขอถือโทษอาฆาตพยาบาทพระราชาอีกแล้ว แต่จะขอสวามิภักดิ์ถวายความจงรักภักดีตลอดไป
 
     เมื่อพระราชาได้ยินก็ดีใจ จึงให้รางวัลด้วยการคืนทรัพย์สมบัติของชายคนนี้ที่ถูกริบไปคืนให้หมด แล้วเพิ่มทรัพย์สมบัติให้ด้วย จากนั้นพระราชาจึงหันมาถามฤๅษีอีกครั้งว่า แล้วท่านฤๅษีจะตอบคำถามข้าพเจ้าได้หรือไม่ว่า  เวลาใดสำคัญที่สุด ใครสำคัญที่สุด และภารกิจอะไรสำคัญที่สุด
                     
                                        เวลาใดสำคัญที่สุด
                                                                    ใครสำคัญที่สุด
 
ภารกิจอะไรสำคัญที่สุด
 
 
ฤๅษีตอบพระราชาว่า
ตอนที่ข้าพเจ้าขุดดิน เวลาขณะที่ขุดดินอยู่นั้น
คือ เวลาสำคัญที่สุด
และตัวข้าพเจ้า คือ คนสำคัญที่สุดแล้วภารกิจสำคัญที่สุด คือ การขุดดิน
 
แต่เมื่อพระองค์เจอชายคนที่ถูกอาวุธมา 
เวลาขณะนั้น คือ เวลาสำคัญที่สุดแล้ว
และ บุคคลสำคัญที่สุด
คือ คนที่กำลังจะตายเพราะถูกแทงด้วยอาวุธแล้วภารกิจสำคัญที่สุด คือ การช่วยชีวิตเขา
 
     โดยสรุป เวลาปัจจุบัน คือ เวลาสำคัญที่สุด เราอย่ามัวเสียเวลาไประลึกนึกถึงอดีต แล้วมัวพร่ำรำพัน หรือ ฟุ้งฝันถึงอนาคตจนเกินไป เอาตัวเราอยู่กับปัจจุบัน
 
     บุคคลสำคัญที่สุด คือ บุคคลที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย  ถ้าไม่ยุ่งกับใคร โดยมีสติอยู่กับตนเอง แล้วทำงานที่เราทำอย่างดีที่สุด หากจะต้องพูดจาหรือติดต่อสัมพันธ์กับใคร คนนั้น คือคนสำคัญที่สุดกับเราในขณะนั้น จงจดจ่ออยู่กับเขา พอเขาพูดให้ตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูด ไม่ใช่คุยกับคนนี้แต่ใจไปนึกถึงเรื่องอื่น เขาพูดอะไรไม่รู้เหมือนใจฟุ้งซ่านคุยไปเรื่อยเปื่อย แต่เขา คือ บุคคลสำคัญที่สุด ให้จดจ่อฟังอย่างตั้งใจ ปฏิสัมพันธ์ด้วยอย่างตั้งใจและมีสติ
 
ภารกิจสำคัญที่สุด คือ
สิ่งที่เราลังทำอยู่ในขณะนั้น
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197760 รู้หรือไม่ เรื่องเวลา เป็นเรื่องใหญ่ บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 01 June 2018 - 10:03 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

รู้หรือไม่ เรื่องเวลา เป็นเรื่องใหญ่
ตอน หน้าที่หลักที่ควรถูกกำหนด
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดหน้าที่ของพระองค์ไว้ 3 ประการคือ 
 
     โลกัตถจริยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลก
 
     ญาตัตถจริยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่ญาติ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ไม่ทิ้งหมู่ญาติ จึงให้การดูแลเป็นพิเศษ
 
     พุทรัตถจริยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของหมู่สงฆ์ทั้งหลาย
 
     พอกำหนดบทบาทตนเองชัดเจน เราจะสามารถแบ่งเวลาเพื่อทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ เพราะคนแต่ละคนมีหลายบทบาทบางคนทำงานในบริษัทมีหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้าง เป็นหัวหน้าแผนกบ้างหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในแผนกต่างๆ บ้าง ถือว่าเป็นหน้าที่การงานของเราอย่างหนึ่ง
 
     พอกลับมาบ้านแล้ว เรายังมีอีกหนึ่งบทบาท คือ บทบาทของพ่อแม่ พี่น้อง หรือลูกที่เราต้องทำหน้าที่นี้ด้วย บางคนยังมีหน้าที่อื่นๆ ทางสังคมร่วมด้วย เช่น ช่วยงานมูลนิธิ งานการกุศล งานสาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น
 
     เราควรพิจารณาว่า ตนเองมีบทบาทหลักๆ อะไรบ้าง แล้วกำหนดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละบทบาท พร้อมกับแบ่งเวลาให้ดี ถ้าทำได้อย่างนี้ การบริหารเวลาของเราก็จะลงตัว
 
     บทบาทในฐานะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก พระองค์ทรงแบ่งไว้ 5 หน้าที่ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ 
 
     ยามเช้า พระองค์ทรงเสด็จบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกอย่างหนึ่ง
 
     ยามเย็น พระองค์ทรงแสดงธรรมให้มหาชนทั้งหลาย
 
     พลบค่ำ พระองค์ทรงให้โอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ ทำหน้าที่ในฐานะประมุขของสงฆ์ เมื่อมีเหตุอะไรเกิดขึ้นพระองค์ก็จะวางกรอบ วางเกณฑ์ วางกติกา ข้อบัญญัติสิขาบทต่างๆ เพื่อให้หมู่สงฆ์งดงามและมีระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสมถูกต้อง
 
     เที่ยงคืน พระองค์ทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เทวดาอีกอย่างหนึ่ง อย่างมงคลสูตร มงคลชีวิต 38 ประการ พระองค์ทรงแสดงธรรมแก่เทวดา แล้วจึงทรงนำมาเล่าให้พระอานนท์ฟัง ได้สืบทอดมาถึงเราชาวพุทธเป็นมงคลสูตร 38 ประการ
 
     ย่ำรุ่ง คือ เวลาที่ยังมืดแต่จวนจะสว่าง พระองค์ทรงสอดข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลกว่า วันนี้จะเสด็จไปโปรดใคร แล้วพอฟ้าเริ่มสางก็เสด็จไปบิณฑบาตโปรดเขา
 
     กิจวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในแต่ละวันมี 5 หน้าที่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ บางคนอาจจะแปลกใจว่า ทำไมเริ่มด้วยการบิณฑบาต ไม่เริ่มด้วยยามย่ำรุ่ง สอดข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลกก่อนแล้วค่อยไปโปรด นั่นเป็นเพราะว่า วันในทางพระพุทธศาสนาถือตอนพระอาทิตย์ขึ้นแล้วเป็นวันใหม่ ในตอนย่ำรุ่งนั้นพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น
 
     ดังนั้น เวลาเรียงกิจกรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเริ่มที่ยามเช้าเสด็จบิณฑบาตอย่างหนึ่งก่อน แล้วไล่ไปประการสุดท้ายก่อนสร้าง คือ สอดข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลก
 
     ในการโปรดหมู่พระญาติ ยกตัวอย่าง ตอนที่ราษฎรชาวเมืองกบิลพัสดุกับชาวเมืองเทวทหะจะยกพวกรบกันเพื่อแย่งน้ำ เพราะถึงคราวเกิดภัยแล้งน้ำขาดแคลน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปห้ามทัพ แล้วไปโปรดจนกระทั่งทุกคนเข้าใจจึงเลิกแล้วกันไปด้วยดี ถือว่าเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อหมู่พระญาตินั่นเอง
 
     ชีวิตของคนเรามีหลายบทบาท เราจึงต้องจัดการบทบาทของตนเองแต่ละเรื่องให้เรียบร้อย บทบาทหลักที่หนีไม่พ้น คือ บทบาทความเป็นพ่อแม่ลูก หรือหน้าที่การงานที่รับผิดชอบนั้น ก็ต้องทำให้สำเร็จ
 
     ส่วนบทบาทอื่นๆ ที่ตามมา เราจะต้องพิจารณาว่า ควรทำแค่ไหนถึงพอดีสำหรับตนเอง ไม่รับหลายบทบาทแล้วทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดี หรือล้นจนชีวิตรวนไปหมด” ต้องพอดี แล้วจะได้ดี”
 
     อาตมภาพขอฝากเคล็ดลับสำคัญไว้เรื่องหนึ่ง คือ ห้องนอน เชื่อหรือไม่ว่า การแบ่งเวลาที่สำคัญ เริ่มต้นจากเวลานอนถ้าใครนอนหัวค่ำได้ ก็จะตื่นเช้าได้เพราะพักผ่อนเพียงพอ จิตใจสดชื่นและพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจทั้งวันได้อย่างมีประสิทธ์ภาพ
 
     แต่ใครนอนดึกตี 2 ตี 3 พอเช้าก็ไม่อยากตื่น ถึงคราวจะฝืนตื่นก็งัวเงีย จะหยิบจับทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ดีไปตลาดทั้งวัน อารมณ์บูดเพราะนอนไม่พอ เพราะฉะนั้น การแบ่งเวลาที่ดีเริ่มต้นที่การนอน
 
     มีเคล็ดลับอีกว่า หากเราจะควบคุมการนอนหลับของตนเองให้ได้ผล ให้ตรวจดูห้องนอนของเราก่อน ถ้ามีโทรทัศน์อยู่ ก็ให้ยกออกไปไว้นอกห้อง ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ก็ยกไปไว้นอกห้องได้จะดีที่สุด อย่าไปนึกเสียดายว่าห้องเรากว้างขวาง อุตส่าห์เอาโทรทัศน์ดูไปดูทาเรื่อยเปื่อย พอเปิดคอมพิวเตอร์ เดี๋ยวเข้าเรื่องนั้นออกเรื่องนี้เผลอเข้าไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์อีก มันยาวไปเรื่อยเปื่อย ทำให้เราควบคุมเวลานอนไม่ได้
 
     ดังนั้น เอาโทรทัศน์และเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไปไว้นอกห้องนอนจะดีกว่า ถึงเวลาพักผ่อน เข้าห้องนอนปุ๊บให้ตั้งใจสวดมนต์นั่งสมาธิ เสร็จแล้วนอนหลับไปตามเวลาที่กำหนดอย่างเป็นสุข การบริหารเวลาของเราจะลงตัว
 
     อย่าดูเบาเรื่องนี้ เพราะบางทีตนเองยังตามใจตนเองอยู่ เรายังไม่ชนะใจตนเองได้ 100% ถ้ามีสิ่งเร้าสิ่งยั่วยุให้เราเพลินไปกับมันอยู่ในห้องนอน จะทำให้จุดเริ่มต้นในการบริหารเวลาของเราล้มเหลวแล้วทุกอย่างก็ได้แต่คิด แต่ว่าทำไม่ได้
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 
 



#197759 รู้หรือไม่ เรื่องเวลา เป็นเรื่องใหญ่ บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 01 June 2018 - 09:39 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

รู้หรือไม่เรื่องเวลาเป็นเรื่องใหญ่
ตอน How To ชีวิตดีมีแต่ได้เพราะบริหารเวลาเป็น
 
     เรื่องเวลาเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่า มีเรื่องราวรุมล้อมตัวเรามากมายจนกระทั่งชีวิตยุ่งเหยิงไปหมด
 
     สมัยสังคมเกษตร ชีวิตผู้คนยังสบายเพราะมีเวลาว่างในแต่ละวันมาก แม้จะต้องตื่นแต่เช้ามืดไปทำไร่ไถนา แต่พอบ่าย ๆ ก็ว่างแล้วเย็นค่ำหน่อยก็มีเวลาออกมานั่งจับกลุ่มพูดคุยกัน พอสัก 2-3 ทุ่ม ก็เข้านอนกันแล้ว รู้สึกว่า ชีวิตเบาสบาย พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นก็มีช่วงเวลาว่างให้พักผ่อนทำอย่างอื่นอีก
 
     แต่ชีวิคนในปัจจุบันยุ่งเหยิงเหลือเกิน ทำอย่างไรถึงจะบริหารเวลาเพื่อรับมือกับภารกิจที่มากมายหลายรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข นี่คือประเด็นสำคัญ
 
How To ชีวิตดีมีแต่ได้เพราะบริหารเวลาเป็น
 
     มีหนังสือ How To ที่เขียนถึงเรื่องของการบรอหารเวลาเอาไว้มากมาย ซึ่งเขียนไว้ดีๆ ทั้งนั้น แต่เนื้อหานั้นมีมากมายเต็มไปหมด อ่านเสร็จแล้วก็ลืม เอามาใช้ในชีวิตได้บ้างนิด ๆ หน่อยๆ ดังนั้น อาตมภาพจะไม่ฝากหลักการอะไรไว้มากนัก แต่จะขอฝากไว้ 2 ข้อ ขอให้นำไปใช้จริงเท่านั้น แล้วชีวิตเราจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้น
 
     How To ข้อที่ 1 จัดลำดับความสำคัญของงาน เราจะลงมือทำงานทุกอย่างที่เข้ามาทั้งหมดไม่ได้ แต่เราต้องรู้จักเลือกว่า งานใดสำคัญที่สุด งานใดสำคัญรองลงมา บางงานเป็นเรื่องที่ไร้สาระก็มี พอเราคัดเลือกงานแล้ว เราจะได้ทำในสิ่งที่สำคัญก่อน
 
     ดัง กฎ 80/20 คือ เรื่องที่สำคัญให้เราใช้เวลาไปกับมัน 20%ของเวลาทั้งหมดที่มี แต่มันจะส่งผลในชีวิตเรามากถึง 80% ของความสำเร็จทั้งหมดเลยทีเดียว ถ้าเราลงมือทำงานสำคัญนี้เสร็จเรียบร้อย เราจะอุ่นใจได้แล้วว่า เราใช้เวลาแค่ 20% แต่เราสำเร็จไปแล้วถึง 80% งานที่เหลือก็เบาสบาย
 
     ถ้าใครเอาเวลาไปทำในเรื่องที่ใช้เวลามากถึง 80% แต่ให้ผลเพียง 20% ของชีวิต อย่างนี้เหนื่อยเปล่า เพราะเวลาในชีวิตหมดไปแล้วในแต่ละวันถึง 80 % ที่เหลือนี่หืดขึ้นคอเลยที่เดียว ดังนั้น เราต้องทำในสิ่งที่สำคัญก่อนการจัดลำดับความสำคัญของงานจึงสำคัญมาก
 
     How To ข้อที่ 2 การแบ่งเวลา เราต้องรู้จักแบ่งเวลาในแต่ละวันว่าควรทำอะไรบ้าง ไม่ใช่มีงานอะไรเข้ามาก็ทำไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีการวางแผน อย่างนี้ชีวิตสะเปะสะปะออกไปนอกลู่นอกทาง
 
     บางคนนึกว่า ตนเองจะดูโทรทัศน์สักครึ่งชั่วโมง แต่กลับดูเพลินไปถึง 2-3 ชั่วโมง หรือบางคนนึกไว้ว่าจะแล่นวิดีโอเกมผ่อนคลายอารมณ์ความเครียดไม่นาน แต่จริง ๆ เผลอเล่นเกมไปถึงตี 1 ก็มีทำอย่างนี้ระบบชีวิตรวนหมด สุขภาพเสื่อมถอย การงานก็เสียการเรียนก็แย่ เพราะปล่อยให้สิ่งต่างๆ เข้ามาถึงตนเองเรื่อยเปื่อยไม่มีการวางแผนชีวิต ไม่มีการบริหารเวลา หรือแบ่งเวลาไว้ให้ชัดเจน
 
     คนที่จะประสบความสำเร็จในการบริหารเวลาและประสบผลสำเร็จในการทำงานได้ ต้องแบ่งเวลาเป็น  พอบริหารเวลาสำเร็จไปร้อยละ 80 แล้ว ส่วนเทคนิคย่อยจะมีอีกกี่ข้อ ก็นำมาเสริมในส่วนที่เหลือนี้ ชีวิตเราจะไปได้ดีอย่างแน่นอน
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197758 เข้าใกล้ความสำเร็จได้ใน 24 ชั่วโมง บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 02:35 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เข้าใกล้ความสำเร็จได้ใน 24 ชั่วโมง
ตอน 11 เทคนิค บริหารเวลาได้ดีเกินคาด
 
     เทคนิคข้อที่ 1 “ไปถึงที่ทำงานตั้งแต่เช้า” อย่างน้อยๆ ก็ประหยัดเวลาในการเดินทาง เพราะตอนเช้ารถไม่ติด และยังมีเวลาเตรียมเอกสาร เตรียมความคิดต่างๆ ที่จะใช้ในการทำงานของวันนั้นๆ ด้วย ทำให้เรามีสมาธิในการทำงาน และมีเวลาในการทำงานมากขึ้น เพราะในตอนเช้าสมองมักจะปลอดโปร่ง ดังสุภาษิตต่างชาติที่กล่าวไว้ว่า “นกที่ออกหากินแต่เช้า ย่อมได้อาหารดีๆ”
 
     เทคนิคข้อที่ 2 “จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำประจำวัน” เราควรแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลัง แล้วระบุเวลาคร่าวๆ ด้วยว่า เราจะทำกิจกรรมที่ 1 กี่นาทีทำกิจกรรมที่ 2 กี่นาที จากนั้นควรมีการจดบันทึกระหว่างการทำงานว่าในวันนี้เราทำงานอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง พอตอนเย็นก็มาดูว่า วันนี้เราทำงานได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
 
     แต่ถ้าเราไม่ได้วางแผนการทำงาน ได้แต่ทำงานไปเรื่อย ๆ พอหมดวันรู้ตัวอีกทีทำงานไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง เพราะเราขาดจุดมุ่งหมาย ไม่มีจุดประสงค์ในการทำงาน ได้แต่ทำงานไปเรื่อย ๆเท่านั้น
 
     การจดบันทึก นอกจากจะเป็นการบริหารเวลาที่ดีแล้ว ยังทำให้เราจดจำบทเรียนที่ได้บันทึกไว้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ ได้ดีด้วย บางเรื่องบางงานพอเวลาผ่านไปเราอาจจะหลงลืมวิธีการทำงานไปแล้ว แต่ถ้าได้จดบันทึกเพื่อเตือนความจำ เราจะไม่มีโอกาสทำงานบางอย่างผิดพลาดซ้ำเดิมอีก
 
     เทคนิคข้อที่ 3 “จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ” รวมถึงการจัดเอกสารให้เป็นระเบียบด้วย หลายครั้งบางคนจัดเอกสารไม่เป็นระเบียบ กองไว้ พอถึงเวลาจะต้องค้นหาเอกสารบางชิ้นก็หาไม่เจอ ใช้เวลาในการรื้อเอกสารครึ่งชั่วโมงกว่าจะหาเจอ สูญเสียเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าเราเสียเวลาสัก 5 นาที เรียงเอกสารให้เป็นระเบียบ พอถึงเวลาจะหยิบใช้ก็ง่าย “หยิบง่าย หายรู้ ดู ก็งามตา” พอเห็นอะไรที่เป็นระเบียบแล้วจิตใจปลอดโปร่ง ไม่ว่าจะทำอะไรใจก็โปร่งโล่งสบาย
 
     เทคนิคข้อที่ 4 “ลดการประชุดให้น้อยลง”คนทำงานจำนวนมากเสียเวลาไปกับการประชุม เพราะฉะนั้น ควรบริหารจัดการเวลาโดยลดการประชุมให้น้อยลงบ้าง ขณะที่ประชุมก็ขอให้พูดแต่เรื่องที่สำคัญ อย่าพูดนอกเรื่อง โดยเฉพาะประธานในการประชุมควรควบคุมวาระการประชุมทุกครั้ง เพราะอาจจะเผลอพูดนอกเรื่อยงไป
 
     บางทีประชุมกันนานถึง 3 ชั่วโมง แต่ไม่ได้ประโยชน์มากมายนัก สังเกตบริษัทที่ทำงานมีประสิทธิภาพ ทุกบริษัทล้วนมีนโยบายการประชุมที่รวดเร็ว พนักงานจึงมีเวลาเหลือในการทำงานที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผลงานอย่างแท้จริง 
 
     เทคนิคข้อที่ 5 “แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ”เนื้องานบางชิ้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่เราจะทำคนเดียวได้ การแบ่งกระจายงานกันทำแล้วนำมาประกอบรวมกันภายหลังจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ แล้วสำเร็จได้ไวมากขึ้น งานไม่กองอยู่ที่คน ๆ เดียวทำให้งานเสร็จเร็วข้อสำคัญในการแบ่งงาน คือ ต้องแบ่งงานให้ถูกความสามารถของคนด้วย
 
     เทคนิคข้อที่ 6 “เมื่อได้รับมอบหมายงานให้ลงมือทำทันที” เมื่อได้รับมอบหมายงาน อย่ามัวแต่จดๆ จ้องๆ รีรอไม่เริ่มงานสักที เพราะบางครั้งเราอาจจะคิดว่า ตอนนี้ยังไม่พร้อมก็ขอให้คิดใหม่ว่า ไม่มีอะไรที่พร้อม 100% เสมอ พอเราได้เริ่มลงมือทำงาน เราจะได้เรียนรู้งานนั้นไปเรื่อยๆ เอง
 
     ถ้าเรามัวแต่รอแล้วอ้างว่า ขอให้ตนเองได้ศึกษางานให้ครบก่อนค่อยเริ่มทำ เราจะมีความรู้สึกว่า ศึกษาเท่าไรก็ไม่ครบสักที ต้องใช้เวลาในการศึกษานานเกินความจำเป็น แต่ถ้าเราลงมือทำไปด้วยศึกษาเรียนรู้ไปด้วย เราจะค่อยๆ เรียนรู้ ปรับแก้เนื้องานไปเรื่อยๆ งานก็จะสำเร็จเสร็จทันตามกำหนดเวลา
 
เทคนิคข้อที่ 7 “ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยใช้งานสำเร็จ”ในยุคของการแข่งขันที่สูงอย่างนี้ “เก่งไม่กลัว กลัวช้า”ดังนั้น เราต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานด้วย อย่างคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟน เพื่อติดต่องานตามช่องทางต่างๆ ที่ง่ายขึ้น เช่น การติดต่องานอย่างรวดเร็วผ่านอีเมล ไลน์ เป็นต้น
 
     คอมพิวเตอร์ สามารถช่วยให้เราทำงานได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้นเช่น สามารถจัดเก็บข้อมูลโดยไม่ต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นกระดาษ สมัยนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งใช้เวลาที่รวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นเราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
 
    เทคนิคข้อที่ 8 ใช้หูแทนตา ถ้าเราต้องอ่านหนังสือเพื่อหาข้อมูลใหม่ หรือต้องดูโทรทัศน์เพื่อรับข่าวสาร เราอาจจะต้องเสียเวลาไปกับสิ่งเหล่านี้มาก แต่ถ้าเราสามารถฟังวิทยุรับข้อมูลข่าวสารได้ในขณะทำอย่างอื่นไปด้วย ก็จะเป็นการประหยัดเวลามากขึ้นได้
 
     ในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสาร เราควรรับเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของเราเท่านั้น อะไรที่เป็นข่าวไม่ดี ข่าวที่ฟังแล้วจิตใจหดหู่ไม่ต้องไปฟังมาก เพราะเท่ากับเรารับขยะไว้ในใจ
 
     เทคนิคข้อที่ 9 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ในขณะที่เรากำลังรอเพื่อน เพื่อนอาจจะมาสาย ระหว่างนั้นเราอาจจะหาหนังสือสักเล่มมาอ่าน หรือหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์มือถือของเราก็ได้ เราสามารถหาข้อมูลต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเอง ถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่เอาโทรศัพท์มือถือมาแชตอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เกิดประโยชน์ด้วย
 
     ยกตัวอย่างชาวญี่ปุ่นที่มักจะขยันศึกษาหาความรู้ เวลาขึ้นรถไฟฟ้าคนส่วนใหญ่มักจะชอบถือหนังสือเล่มเล็กๆ ขึ้นมาอ่าน ไม่เหมือนคนในบ้านเรา ชอบหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแชทกันมากกว่า
 
เทคนิคข้อที่ 10 จับจ่ายให้เป็น ใช้เวลาให้คุ้มค่า ทุกคนล้วนมีข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว ถ้าเราสามารถซื้อหาเครื่องใช้ต่างๆ ครั้งละมากๆ เพื่อเก็บไว้ใช้ให้ได้ภายในเวลา 1 เดือน ก็จะเป็นการประหยัดเวลามาก
 
     ถ้าเราไม่วางแผนในการไปจับจ่ายซื้อข้าวของที่จำเป็นในแต่ละเดือน ในเดือนหนึ่งต้องวิ่งซื้อของใช้หลายครั้ง อาจจะต้องไปซูเปอร์มาร์เก็ต 5-10 ครั้งต่อเดือน ซึ่งการไปแต่ละครั้งเสือทั้งเวลาในการเดินทาง เสียทั้งเวลาในการจับจ่ายใช้สอย ครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงรวมกันแล้วเดือนหนึ่งอาจจะต้องเสียเวลาไปกับเรื่องนี้ 10-20 ชั่วโมงเลยทีเดียว บางทีเสียเวลามากกว่านั้นอีก เพราะพอได้ชอปปิงแล้ว ก็มักจะเพลินเดินเล่นซื้ออย่างอื่นที่ไม่จำเป็น เสียทั้งเวลาเสียทั้งเงิน
 
     เทคนิคข้อที่ 11 หมั่นสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี กับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย และลูกน้อง เพื่อเราจะได้รับความร่วมมือจากผู้อื่นเมื่อถึงเวลาที่ต้องขอความช่วยเหลือเรื่องงานเพราะงานที่เราได้รับมอบหมาย หลายครั้งไม่สามารถทำคนเดียวได้สำเร็จ ต้องขอร้องให้เพื่อนร่วมงานช่วยเหลือ การทำงานเป็นทีมจะช่วยแบ่งเบาภาระซึ่งกันและกัน แต่ถ้าเราไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานได้ พอจะไปขอร้องให้ใครช่วยเหลือคงได้รับแต่คำปฏิเสธ
 
     เพราะฉะนั้น การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการทำงาน ทำให้เราสามารถทำงานได้ลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนร่วมงานที่ดีถือเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ดีกว่าเทคโนโลยีใดๆ จนมีคำกล่าวที่ว่า มีพรรคมีพวกทำอะไรก็สะดวกสบาย
 
     ในเรื่องของการบริหารเวลานั้น เป็นเทคนิคที่ทุกคนจำเป็นจะต้องเรียนรู้ แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การใช้เวลาอยู่กับปัจจุบัน
 
อนาคตยังมาไม่ถึงจะพะวงมาทำไม
อดีตผ่านไปแล้วคิดคำนึงมากไปใย
ปัจจุบันนั้นไซร้ทำให้จงดี
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197757 เข้าใกล้ ความสำเร็จได้ใน 24 ชั่วโมง บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 01:55 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เข้าใกล้ ความสำเร็จ ได้ใน 24 ชั่วโมง
ตอน เรื่องต้องรู้เพื่อบริหารเวลาให้เข้าใกล้ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
 
     ในแต่ละวันทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชั่วโมง แต่คนเราใช้เวลาต่างกัน บางคนใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการงานได้เรียบร้อย บางคนใช้เวลาไม่เป็น งานเท่ากันแต่ทำได้ไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะการบริหารจัดการเวลาที่ดีหรือไม่ดีนั่นเอง
 
เรื่องต้องรู้เพื่อบริหารเวลาให้ เข้าใกล้ความสำเร็จ ได้ง่ายขึ้น
 
     เทคนิคการบริหารเวลาเพื่อให้มีเวลาเหลือและเข้าใกล้ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ก่อนอื่นเราต้องวิเคราะห์สาเหตุของการที่คนเราใช้เวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ด้วยกัน 5 ข้อ แล้วจึงวิเคราะห์เทคนิคที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใช้เวลาได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
 
5 เหตุที่ทำให้เราบริหารเวลาไม่ได้ 
 
     สาเหตุที่ 1 “ขาดการวางแผนในแต่ละวัน” ถ้าเราไม่ได้วางแผนว่า จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไรแล้ว งานวันนั้นก็จะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจจะใช้เวลาทั้งวันโดยเปล่าประโยชน์เพียงเพราะขาดการวางแผน แล้วงานสำคัญก็จะไม่ถูกสะสางให้เสร็จ
 
     สาเหตุที่ 2 “ผัดวันประกันพรุ่ง” หลายคนอาจจะคิดว่า วันนี้เรายังไม่พร้อมที่จะทำงาน บอกตนเองว่า ขอเลื่อนไปก่อนพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้ค่อยเริ่มทำ วันนี้ขอทำอย่างอื่นก่อน ขอนั่งเล่นเกมหรือท่องอินเทอร์เน็ตก่อน การผัดวันประกันพรุ่งอย่างนี้ ไม่สามารถทำให้งานสำเร็จได้ เป็นการใช้เวลาอย่างเปล่าประโยชน์ เหมือนกับเรารอเวลา แต่เวลาไม่รอเรา
 
     สาเหตุที่ 3 “ทำงานไม่เป็นระบบ” ถ้าทำงานไม่เป็นระบบ ขาดการวางแผน ไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อนหลัง ในที่สุดเราจะใช้เวลามากเกินความเป็นจริง ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในการทำงาน
 
     สาเหตุที่ 4 “มัวแต่คุยเล่นนอกเรื่อง” บางครั้งเราอาจจะต้องโทรศัพท์หาคนรู้จักเพื่อติดต่องานแต่คุยไปคุยมากลับคุยเรื่องส่วนตัวทำให้เสียเวลา แทนที่จะติดต่องานเสร็จภายใน 10 นาที กลับใช้เวลาคุยเล่นเรื่องส่วนตัวไป 1 ชั่วโมง ใช้เวลาอย่างเปล่าประโยชน์ไม่เกิดประสิทธิภาพ
 
     สาเหตุที่ 5 “งานเอกสารที่มากเกินไป” หลายๆ หน่วยงานพนักงานจะต้องกรอบแบบฟอร์ม หรือกรอกใบอนุญาตต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานชิ้นนั้น ๆ ได้ เรื่องนี้เป็นปัญหาที่หลาย ๆ หน่วยงานเจอ คือ งานเอกสารทำให้พนักงานต้องเสียเวลามากเกินความจำเป็น
 
     สาเหตุที่ 5 ข้อนี้ ล้วนทำให้เราบริหารเวลาไม่ได้ และทำให้สูญเสียเวลาไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ แล้วบริหารเวลาไม่ลงตัว จึงควรมีเทคนิคจะทำให้เราบริหารเวลาได้ดี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเช้า
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวุฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197756 เมื่อชีวิตเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ เซ็ง ๆ

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 01:33 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เมื่อชีวิตเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ เซ็ง ๆ
ตอน ภาวะหมดไฟ คือ ภาวะหมดฝัน
 
     คนที่ยังมีความใฝ่ฝันจะยังมีไฟอยู่เสมอ “ภาวะหมดไฟคือ ภาวะหมดความฝัน”คนหมดฝันจะรู้สึกเบื่อหน่อย เซื่องซึมแต่เมื่อใดมีความใฝ่ฝันมุ่งมั่นอยู่ในใจ ไฟจะลุกโชติช่วงในใจเราเป็นไฟนิรันดร์อนันตชัย
 
     ที่สำคัญอย่าลืมซอยเป้าหมายย่อยเข้ามาอีก เช่น ปีนี้ตั้งเป้าว่าเราจะพัฒนาตนเองอย่างไร ด้านไหนบ้าง  หรือเดือนนี้ สัปดาห์นี้พรุ่งนี้กำลังจะใกล้เข้ามา เราจะทำให้เปาหมายใดชัดเจนขึ้นบ้าง แล้วเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลานี้เอง ที่จะเป็นตัวขับเครื่องให้เราพุ่งไปข้างหน้า
 
     เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว ก็ต้องพัฒนาตนเองด้วย พอเรารู้สึกว่าตนเองมีการพัฒนา แต่ละวันเราเก่งขึ้น ดีขึ้น บุญกุศลมากขึ้น ใจเราจะคึกคักเกิดกำลังใจ แต่เมื่อใดที่เรารู้สึกว่า มันจำเจซ้ำซาก ย่ำอยู่กับที่ไปวันๆ ก็จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย
 
     เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำความดีเพิ่มเติม สร้างบุญกุศลเพิ่มเติม ไม่ให้วันแต่ละวันผ่านไปเปล่าแต่ทุกช่วงเวลาต้องผ่านไปพร้อมกับบุญกุศลในตัวเราที่เพิ่มขึ้นด้วยเวลาผ่านไปพร้อมกับประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น ผ่านไปพร้อมกับความรู้สึกความสามารถที่มากขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องเสริมกำลังใจ สร้างไฟในการทำงานได้ดีเยี่ยม
 
     เหมา เจ๋อตุง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ทำให้ประเทศจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบันเข้าใจหลักการนี้ดีว่า ช่วงเวลาที่ยากของกองทัพในการปลดแอกจีน คือ ช่วงที่ถูก เจียง ไคเชก  รุกกระหน่ำและมีกำลังเหนือกว่า จนกระทั่งทหารคอมมิวนิสต์ของ เหมา เจ๋อตุง สู้ไม่ได้ จำเป็นต้องอพยพหลบหนี เรียกว่า “การเดินทัพทางไกลหมื่นลี้” ยกทัพหนีครั้งหนึ่งไกลถึง 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
 
     กองทัพต้องเดินข้ามเขาไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูกท่ามกลางหิมะ เพื่อนทหารข้างๆ ตัวแข็งล้มตายก็มี ต้องเจอทั้งภัยธรรมชาติ ข้ามแม่น้ำเป็นร้อยสาย เครื่องบินถล่มทิ้งระเบิดเกือบทุกวัน มีการศึกน้อยใหญ่หลายร้อยครั้ง ออกเดินทาง 200,000 คน ไปถึงปลายทางเพียง 10,000 – 20,000 คนเท่านั้น ทหารที่ตายไปก็มาก อีกส่วนหนึ่งถูกทิ้งไว้ข้างทาง  เพื่อเพาะเชื้อคอมมิวนิสต์แก่ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ พูดง่ายๆ ว่า สถานการณ์ยากลำบากมาก
 
     เหมา เจ๋อตุง  ปลุกใจทหารคอมมิวนิสต์ของเขาทุกคนว่า เราต้องกู้ชาติ ทหารจึงมีกำลังใจสู้ ลำบากเท่าไรก็สู้ตราบที่ใจยังมีความฝัน ต่อให้กัดก้อนเกลือกินพวกเขาก็ยังสู้
 
     ในขณะเดียวกัน เหมา เจ๋อตุง รู้หลักผลักดันกำลังใจให้ทหารของเขาเป็นอย่างดี พอเครื่องบินทิ้งระเบิดบินผ่านไป ทหารเข้าเคลียร์พื้นที่เสร็จเรียบร้อยก็เดินทัพต่อ โดยให้ทหารเดินเรียงแถวแล้วสอบตัวหนังสือจีนให้พวกเขาทีละตัว ทุกคนใช้หลังเพื่อนเป็นกระดาน ใช้นิ้วเขียนตัวหนังสือจีนบนหลังของคนข้างหน้า ค่อยๆ จดจำกันไปทีละตัว จนสามารถอ่านออกเขียนได้ทุกตัว
 
     ทหารส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนา อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ ตัวหนังสือจีนนั้นใช้หลักการท่องจำเป็นตัวๆ เขาจึงสอนทหารให้ออกเสียง แล้วเขียนตามทีละตัว ๆ พอกองทัพเดินถึงปลายทางทุกคนก็อ่านออกเขียนได้หมด ทหารแต่ละคนจึงมีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้ไปรบอย่างเดียว แต่ละวันนั้นเขาเก่งขึ้นด้วย
 
พอทหารรู้สึกว่า ตนเองเก่งขึ้นทุกวัน ๆ ก็มีเครื่องเสริมกำลังใจเพราะฉะนั้น เราทำงานจะยุ่งเท่าไรก็ตาม อย่าลืมหาความรู้เพิ่มเติมให้ตนเอง เพราะมันจะเป็นเครื่องกระตุ้นให้เราภูมิใจในตนเอง และรู้สึกว่า ตนเองมีการพัฒนา เสริมสร้างไฟในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย
 
     สรุปว่า “ภาวะหมดไฟเกิดจากการขาดเป้าหมายในชีวิต” หรือเป้าหมายไม่ถึงกับไม่มี แต่มันเลือกรางเจือจางไปไม่ชัดเจน “วิธีการแท้ คือ ปักหลักเป้าหมายชีวิต”ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายสุดท้ายข้ามภพข้ามชาติก็ตาม เป้าหมายในชาตินี้ก็ตาม ย่อยมันมาถึงช่วงใกล้ให้ชัดเจน
 
     พร้อมกันนั้น ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญ และไม่ลืมที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพให้ดี จัดการสิ่งแวดล้อมให้ดี ทำงานให้ดี ให้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเสริม แต่หัวใจหลักยังเป็นเป้าหมายชีวิตเป้าหมายในการทำงาน
 
“เมื่อใดมีความฝัน เมื่อนั้นไม่หมดไฟ
แต่ถ้าหมดฝันเมื่อใด
ไฟในการทำงานและกาใช้ชีวิตก็จะหมดลงไปด้วย”
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197755 เมื่อชีวิตเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ เซ็ง ๆ

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 01:18 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เมื่อชีวิตเรื่อย ๆ เฉื่่อย ๆ เซ็ง ๆ
ตอน เป้าหมายต้องชัดเจน ความสำเร็จจึงชัดแจ้ง
 
     เมื่อเห็นประโยชน์ ไฟในการทำงานจึงจะเกิด ไม่ว่าในภาวะยากลำบากเพียงใด หากเป้าหมายในใจเราสูงส่ง คอยังคงตั้งตรงหน้าชิดขึ้นไป ดวงตาจะสุกสกาว เพราะว่าเรามีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน
 
     เป้าหมายนี้มีทั้งระยะใกล้และไกล เป้าหมายระยะไกล คือ “เป้าหมายข้ามภพข้ามชาติ” ซึ่งเป็นเรื่องทางศาสนา เช่นเราชาวพุทธจะต้องปราบกิเลสในตัวให้หมด แล้วไปถึงที่สุดแห่งธรรมให้ได้ ใครจะเอาไปเฉพาะตัว ใครจะไปเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรือใครจะไปรื้อผังเอาชนะให้เด็ดขาดกันไป ก็ขึ้นอยู่กับมโนปณิธานของแต่ละคน
 
     แม้จะเป็นภารกิจที่ยากลำบากเพียงใด ไม่ใช่ลำบากแค่ชาตินี้แต่ต้องทำข้ามภพข้ามชาตินับไม่ถ้วน ก็พร้อมจะสู้ข้ามภพข้ามชาตินับอสงไขยไม่ถ้วน เพราะเป้าหมายในใจสูงส่งเหมือนพระบรมโพธิสัตว์
 
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบารมีมายาวนาน 20 อสงไขยกับแสนมหากัปยังไม่หมดไฟเลย เพราะเป้าหมายของพระองค์ชัดเจนและยิ่งใหญ่  ระหว่างสร้างบารมีบางชาติพลาดท่าไปตกนรกนานเป็นพัน ๆ ล้านปี แต่ก็ยังไม่หมดไฟเพราะหัวใจยังลุกโชติช่วง ขนาดเผลอพลาดท่าไปเจออย่างนี้เข้า ข้างในยังฮึดสู้อยู่ พอพ้นจากวิบากกรรมก็ยังมาสร้างบารมีต่อไปอีก
 
     “ต่อไปนี้ถ้าเราต้องการพันจากภาวะหมดไฟต้องสำรวจเป้าหมายชีวิตของตนเอง” ถ้าได้เข้าวัดแล้วรู้แผนผังความจริงของชีวิตมนุษย์ รู้ว่าเป้าหมายชีวิตเราจริง ๆ คืออะไร พอริอย่างนี้เราจะได้ตั้งใจละชั่ว ทำดี แล้วทำใจให้ผ่องใส ตั้งใจนั่งสมาธิให้ตัวตั้งเลย สั่งสมความดีทุกรูปแบบ บาปกรรมไม่ดีอย่าทำเด็ดขาด อย่างนี้เราจะมีไฟในการทำความดีต่อไป
 
     พอมองเป้าหมายระยะใกล้ คือ “เป้าหมายในชาตินี้”เราจะทำอะไรให้สำเร็จบ้าง ให้วางเป้าหมายในการทำงานก่อนจะเกษียณอายุ ไม่ว่าจะข้าราชการเกษียณ 60 ปี หรือทำงานส่วนตัวที่คิดไว้ว่า จะเกษียณอายุตนเองตอนอายุ 60ปี 70 ปี หรือจะทำงานตลอดชีวิตก็แล้วแต่ ให้เราตั้งเป้าปักธงเลยว่า เราจะทำอะไรบ้าง
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197754 เมื่ิอชีวิตเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ เซ็ง ๆ บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 10:10 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เมื่อชีวิตเรื่อยๆ เฉื่อยๆเซ็งๆ
ตอน เมื่อเห็นประโยชน์จึงมีใจอยากจะทำ
 
     หลายคนคงเคยมีความรู้สึกเรื่อยๆ  เฉื่อย ๆ เซ็งๆ หมดอารมณ์หมดไฟในการทำงาน ถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเพราะอะไร แล้วเราควรจะแก้ไขอย่างไร
 
เมื่อเห็นประโยชน์ จึงมีใจ อยากจะทำ 
 
     ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การจะทำงานให้สำเร็จได้ องค์ประกอบที่สำคัญ คือ “อิทธิบาท 4”ได้แก่”ฉันทะ”ความรักความพอใจที่จะทำงานนั้น”วิริยะ”ความเพียร”จิตตะ”ความมีใจจดจ่อ และ”วิมังสา”ความรู้ความเข้าใจที่สามารถทำได้อย่างถูกวิธีตามลำดับขั้นตอนจนกระทั่งงานสำเร็จ
 
     เรื่องภาวะหมดไฟเกี่ยวข้องกับข้อแรกโดยตรง คือ”ฉันทะ”ความรักความพอใจในการทำงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อ”เห็นประโยชน์จึงมีใจอยากจะทำ”ถ้าไม่เห็นประโยชน์ มันก็หมดไฟ
 
     แล้วทำไมแต่ก่อนเรามีไฟ แต่พอทำงานไปหลายปีถึงเฉื่อยชาจนหมดไฟไปได้ล่ะ ให้ลองสังเกตคนที่ทำงานอยู่ในภาวะกดดันในการทำงานแบบสุดๆ อย่างทหารในสงคราม พลาดนิดเดียวคือบาดเจ็บล้มตาย ต้องเห็นเพื่อนร่วมรบตายไปทีละคน มองไปทางซ่ายเพื่อนก็โดนกระสุนบาดเจ็บ มองไปทางขวาก็ตาย มองไปหน้าหลังก็โดนระเบิดมันรู้สึกกดดันตลอดเวลา
 
     บางสงครามยืดเยื้อหลายปี อย่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่าจะจบกินเวลานานถึง 6 ปี หรือสงครามในประเทศจีน ตอนที่ เหมาเจ๋อตุง (Mao Tse-tung) ต่อสู้กับ เจียง ไคเชก (Chiang Kai-Shek) กินเวลานานเป็นสิบปีเลยทีเดียว การทำงานในสงครามต่างๆ ล้วนใช้เวลานานมาก แล้วทำไมทหารถึงยังมีไฟออกไปสู้รบได้ขนาดนั้น
 
     ถ้าสังเกตจะพบว่า พวกเขามีเป้าหมายและเล็งเห็นประโยชน์พวกเขารู้ว่าเมื่อทำไปแล้วจะได้อะไรกลับมา เช่น ในสงครามระหว่างประเทศ แต่ละคนออกรบเพื่อปกป้องประเทศชาติ ถ้าแพ้ก็ตกเป็นเมืองขึ้น ดังนั้น ทุกคนต้องสู้ถึงตายก็ยอม ศึกหนักหนาสาหัสเท่าไรก็ยอม น้ำไม่ได้อาบ เนื้อตัวเหนียวหนึบ แถมโดนลูกกระสุนได้แผลก็ยังต้องคว้าปืนออกไปรบอีก
 
     บางทียาไม่มี อาหารไม่พอ อากาศหนาว ยุงกัด ทากดูดเลือด เจอสารพัดปัญหาแต่ยังมุ่งมั่นสู้ตลอด เพราะเขาเห็นประโยชน์จากสิ่งที่ตนเองทำว่า “มีคุณค่า”
 
     ทหารได้รับการปลูกฝังว่า หน้าที่ของทหาร คือ “รั้วของชาติ”ถ้าแพ้นั่นหมายถึงครอบครัว ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง และประชาชนร่วมชาติต้องตกที่นั่งลำบากย่ำแย่กันหมด ทุกคนจึงออกไปรบด้วยใจที่ห้าวหาญอดทนและมีไฟตลอดเวลา ไม่ว่าจะลำบากเท่าใดก็ตาม
 
     เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สุขสบาย บางคนนั่งทำงานในห้องแอร์นอนในห้องแอร์ ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ พอเบื่อก็ออกไปชอปปิง แต่บางคนแม้จะอยู่ดีมีสภาวะแวดล้อมที่ดีกว่าทหารมาก แต่กลับอยู่ในภาวะหมดไฟเพราะไม่มีใจจะทำงาน
 
     เราลองมาเปรียบเทียบดูกับการรบอีกครั้ง สหรัฐอเมริกาเข้ารบสงครามโลกครั้งที่ 2 สู้จนชนะทั้งฟากยุโรป เอาชนะ อดอล์ฟฮิตเลอร์(Adolf Hitler)ได้ ในทางเอเชียก็สู้รบชนะญี่ปุ่นได้แต่พอมาเจอสงครามเวียดนาม ทหารอเมริกันมีความพร้อมมากกว่าทั้งอาวุธ ปืนรบ รถถัง ปืนใหญ่ มีสารพัดอาวุธที่ชาวเวียดกงสู้ไม่ได้แต่กลับรบแพ้
 
     เวียดกงแทบจะนุ่งผ้าเตี่ยวคว้าปืนออกรบ มีอาหาร คือ ขนมโก๋ ขนมปัง เพราะเก็บได้หลายวัน แล้วคว้าปืนนุ่งผ้าเตี่ยวออกรบในขณะที่ทหารอเมริกันมีพร้อมทุกอย่าง พอขอกำลังเสริม ก็มีเครื่องบินบี 52 มาทิ้งระเบิด แต่สุดท้ายกลับแพ้สงครามเวียดนามกลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดที่สุดสำหรับสหรัฐอเมริกา เพียงเพราะทหารอเมริกันหมดไฟ
 
     “ภาวะหมดไฟ” สำคัญขนาดที่ทำให้กองทัพเกรียงไกรอันดับหนึ่งของโลกพ่ายแพ้กกองทัพนุ่งผ้าเตี่ยวเวียดกง เพราะกองทัพผ้าเตี่ยวมีไฟเต็มที่ ทุกคนรู้ว่าตนเองกำลังปกป้องประเทศชาติ ต้องเอาเอกราชของชาติคืนมาจากมือของต่างชาติให้ได้
 
     แต่ทหารอเมริกันถูกส่งมารบในขณะที่มีความรู้สึกว่า ไม่ใช่บ้านเมืองของเรา ทำไม่เราต้องมารบกันในบ้านเมืองของเขา เขาไม่ได้อยากให้เรามา มันเป็นเรื่องสงครามภายในประเทศ เมืองเราไปจุ้นจ้านเขา ทหารอเมริกันส่วนใหญ่จึงมีความรู้สึกว่า มารบแบบไร้สาระ มองไม่เห็นประโยชน์ รบไปเพื่ออะไร เพียงมีคำสั่งให้มารบก็มารบเท่านั้น พอรบไปรบมาเห็นเพื่อนข้างๆ บาดเจ็บล้มตายก็เครียดจนเกิดภาวะหมดไฟ
 
     แล้วทหารก็หาทางออกด้วยการใช้ยาเสพติด อาวุธฆ่าศึกที่ร้ายแรงที่สุดที่ทำให้ทหารอเมริกันรบแพ้เวียดนามไม่ใช่กระสุน แต่คือยาเสพติด พอทหารอเมริกันเครียดจึงไปพึ่งยาเสพติด ทำให้สุขภาพกายใจยิ่งแย่ไปใหญ่ สุดท้ายแพ้สงคราม ต้อค่อยๆ ล่าถอยกลับไป
 
     แต่ถ้าเราลองคิดว่า ที่ทหารเวียดกงรบชนะเพราะเขารบเก่งก็ลองเอาทหารเวียดกงไปบุกรบสหรัฐอเมริกา อย่างนี้รับรองว่า แพ้ราบคาบ เพราะคราวนี้ทหารอเมริกันจะรบอย่างมีไฟทันที หากใครบังอาจมาบุกรุกแผ่นดิน ทหารอเมริกันจะลุกพรึบวิ่งเข้าใส่ รบชนะอย่างแน่นอน
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดยพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197753 เดินออกจากภาวะหมดไฟ บทที่ 3

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 09:56 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เดินออกจากภาวะหมดไฟ
ตอน จัดระบบชีวิต ถอดปลั๊ก ตัดความเครียด
 
     เวลาในชีวิตนั้นสำคัญ เพราะฉะนั้น เราควรจัดระเบียบเวลาในชีวิตให้ดีจัดตารางเวลาทั้งหมดของชีวิต เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง ไม่ลืมที่จะรักษาความละอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของของใช้ส่วนตัว รวมทั้งข้าวของในที่ทำงาน
 
     ถ้าสิ่งของรอบตัวไม่เป็นระเบียบจนชาชินกับเรื่องนี้ไปแล้วให้แก้ไขด้วยการถ่ายรูปเอาไว้ แล้วมานั่งวิเคราะห์ว่า สิ่งต่างๆ มันเป็นระเบียบดี หรือจัดวางอย่างถูกต้องแล้วหรืยัง ถ้าเราจัดทุกอย่างให้เป็นระเบียบแล้ว ชีวิตเราจะลงตัว ความสะอาดและความมีระเบียบนั้นมีความสำคัญในชีวิต เพราะข้าวของที่เป็นระเบียบนั้น มีผลต่อสภาพจิตใจที่ทำให้เราเข้าสู่ภาวะหมดไฟได้
  
     คนที่พยายามทำทุกอย่างแล้ว แต่ยังรู้สูกว่าตนเองอ่อนล้าอ่อนแรง ไม่อยากไปทำงาน ต้องหาตัวช่วยโดยลองนำปัญหาของเราไปปรึกษาคนที่จะสามารถตอบคำถามเราได้ ถ้ายังมีอาการ “Burn-out Sgndrome”เราอาจจะลองหาเวลาพักจากทุกอย่าง แล้วไปนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม อยู่กับตนเองบ้าง ผ่านไป 3 วัน 7 วัน เรา อาจจะได้คำตอบอะไรบางอย่างก็ได้
 
     สุดท้ายถ้าปรึกษาใครไม่ได้จริงๆ ก็ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เป็นต้น ซึ่งก็คงเป็นตัวเลือกสุดท้ายหลังจากที่เราได้ลองทำทุกกอย่างแล้ว ซึ่งถึงแม้ว่าภาวะหมดไฟในการทำงานดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่วิธีการแก้ไขนั้นไม่ยากเลย...
 
“เพียงแก้ที่จิตใจของเราเท้านั้น”
 
มาจากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ 
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 
 



#197752 เดินออกจากภาวะหมดไฟ บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 31 May 2018 - 09:37 AM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เดินออกจากภาวะหมดไฟ

ตอน เรากำลังเสี่ยงเป็นโรค Burn-out Sgndrome หรือไม่

 

          ทุกคนที่อยู่ในสังคมเมือง คนในช่วงวัยนักศึกษา โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องทำงานบางอย่างแบบใช้ทั้งแรงกายแรงใจ หรือใช้ศักยภาพค่อนข้างมาก ได้แก่ สายวิชาชีพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ นักกฎหมาย ต่างๆ เหล่านี้ ทั้งหมดมีโอกาสที่จะเกิดโรคนี้ได้ เรียกได้ว่า ทุกคนมีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟ “โดยเฉพาะคนที่ทำใจไม่เป็น แต่ก็ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคนที่เกิดภาวะหมดไฟขึ้นแล้ว คือ ต้องสร้างแรงใจให้ตนเอง แรงใจดีๆ มาจากหลายอย่าง เช่น คำพูด คำคมที่มาจากตนเอง หรือมาจากคนอื่นรอบข้างที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นต้น

          ในสมัยนี้ มักจะมีการจับกลุ่มกันระหว่างคนที่มีความสนใจร่วมกัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ถามตอบข้อสงสัยต่างๆ ร่วมกัน พอเราเข้าไปในกลุ่มลักษณะนี้แล้ว เราควรรู้จักถาม รู้จักตอบเวลามีคนอื่นเห็นต่างก็ให้รู้จักรับฟัง แล้วเปิดกว้างยอมรับมุมมองต่างๆ ทางความคิดเห็นด้วย

          ปัจจุบันเราอยู่ในสังคมที่ต้องใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างมาก สิ่งต่างๆ เหล่านั้นดึงคลื่นรังสีมาสู่ตัวเรา เพราะฉะนั้น เราจะต้องลงไปสัมผัสกับพื้นดินบ้าง ถ้าเรามีอาการ “Burn-out Sgndrome” มีคำแนะนำง่ายๆ คือ ให้เราถอดรองเท้าแล้วไปเดินบนสนามหญ้าในสวนทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง

          ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ตลอดเวลา ปิดโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บ้าง เช่น ช่วงเวลานอนตอนกลางคืนให้ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไปเลย หรือวางอุปกรณ์เหล่านี้ให้ห่างจากตัว คือ ถ้าเราอยู่ชั้นบน ก็วางมันไว้ชั้นล่างของบ้าน รัศมีของคลื่นรังสีต่างๆ จะได้ถูกดึงไปไม่ถึงตัวเรานั่นเอง

          ถ้าเราอยู่ในห้องนอน เราควรถอดปลั๊กโทรทัศน์ออก ไม่ต้องเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่ชาร์จแบตเตอรี่ทิ้งไว้ ไม่ควรไว้ในห้องงนอนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว

          เพราะฉะนั้น หาเวลาที่เป็นธรรมชาติให้ตนเองบ้าง ออกไปสัมผัสต้นไม้ เหยียบพื้นดินพื้นหญ้า สูดอากาศบริสุทธิ์บ้าง แล้วพอถึงเวลานอน ก็ควรนอนแม้จะไม่ง่วง หรือว่ายังมีงานค้างอยู่มากก็ตามทุกอย่างต้องปิดรับให้หมด คือ “ต้องปิดสวิตช์ตนเองให้เป็น

 

มาจากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ

โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ

(สมชาย ฐานวุฑโฒ)

 




#197751 เดินออกจากภาวะหมดไฟ บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 05:03 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

เดินออกจาก ภาวะ หมดไฟ
ตอน Burn-Out Syndrome ภาวะหมดไฟ
 
     ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ ข้าราชการ พนักงานบริษัทหรือพนักงานทั่วไป เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอกับภาวะเบื่องาน รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า หมดแรงกายแรงใจ และไม่อยากไปทำงาน แถมยังมีภาวะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดโมโหง่ายอีกด้วย ถ้าเราต้องประสบกับภาวะเหล่านี้ แสดงว่า นี่เป็นสัญญาณการเผชิญกับ “ภาวะหมดไฟ” เพราะฉะนั้น เรามาดูกันว่า ถ้ากำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟ เราควรป้องกันและแก้ไขภาวะนี้อย่างไร
 
“Burn-out Syndrome” ภาวะหมดไฟ
 
     “ภาวะหมดไฟ” หรือต่างประเทศเรียกว่า “Burn-outSgndrome” แต่ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีศัพท์เฉพาะ อาการที่พบได้บ่อย คือ เกิดภาวะเบื่อ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกเหนื่อยล้าตื่นเช้าขึ้นมาเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่ กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ เวลาทำงานจึงขาดสมาธิ จนบางครั้งทำให้ผลงานลดลงไปด้วย
 
     อาการเหล่านี้ เป็นภาวะที่สามารถเกิดกับคนเราได้ตลอดทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาเรียน ช่วงเวลาทำงานจนกระทั่งช่วงเวลาเกษียณอายุเราก็มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เหมือนกัน เท่ากับว่าอัตราอาการ “Burn-out Sgndrome”เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งเพียงแต่เรายังไม่รู้จักโรคนี้ดีพอเท่านั้น เรียกง่ายๆ ว่า เป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้กับคนทำงานทั่วไป
 
     “ภาวะหมดไฟ”หรือBurn-out Sgndrome”ประกอบไปด้วย”ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์” เราจะรู้สึกเหมือนหมดแรงใจในการทำงาน รู้สึกหมดไฟเอาดื้อ ๆ ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีใจจะทำอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งแรกที่เราจะสามารถสังเกตตนเองได้
     กลุ่มอาการต่อไปอยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ความรู้สึกดีต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อคนที่เราสัมพันธ์ด้วย เหมือนกับว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เริ่มหายไป เรื่องต่างๆที่ดีต่อกันระหว่างบุคคลต่อบุคคลในครอบครัวหายไป เกิดความรู้สึกไม่อยากเอาใจใส่ หรือบางทีอยากจะละเลยเฉยเมยไปดื้อๆ กระทั่งลูกค้าที่เข้ามารับบริการกับเรา ก็ไม่เต็มใจจะให้บริการ กลายเป็นคนแล้วไร้น้ำใจไปเลยก็มี
     สุดท้ายความสูญเสียเกิดขึ้น คือ ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จเพราะเกิดความรู้สึกว่า “ตนเองด้วยประสิทธิภาพ แล้วเริ่มมองตนเองในด้านลบ”
 
     มีการทำสถิติในคนวัยทำงานว่า จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ 15-50% ของคนวัยทำงานทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราทุกคนมีโอกาสเป็นโรคเข้าสู่ภาวะหมดไฟถึงครึ่งเลยทีเดียว
 
     ภาวะหมดไฟ นอกจากส่งผลต่อตนเองและงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้น คือ การสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด และมักจะแสดงสีหน้าไม่อยากเจอใคร ในด้านของความคิดริเริ่มและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ จะไม่เกินขึ้นสุดท้ายอาจจะนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งถ้าถึงจุดนั้นแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานต่อไปได้
 
     บางคนรู้สึกไม่อยากไปทำงาน มีอาการที่เรียกว่า “ป่วยการเมือง”นี่ก็ถือว่าเป็นภาวะ”Burn-out Sgndrome”เช่นกัน คนที่ไม่อยากไปทำงาน ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดภาวะขาดแรงจูงใจ พอถึงจุดหนึ่งจะกระบทความสัมพันธ์ทุกอย่างรอบด้าน ซึ่งไม่มีอะไรดีเลย
 
     ภาวะหมดไฟนั้นอาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ซึ่ง “โรคซึมเศร้า”นั้นมีสาเหตุมาจากเกิดการสูญเสียและความผิดหวังส่วน”โรคเครียด”นั้นมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาอย่างชัดเจน
 
     แต่”ภาวะหมดไฟ”หรือ”Burn-out Sgndrome”เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่เราทำงานมากเกินไป แล้วขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ รวมทั้งไม่สามารถแบ่งเวลาได้เหมาะสม จนเกินภาวะหมกมุ่นอยู่กับงานบางอย่าง หรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากจะทำให้สำเร็จ แล้วหมดไฟเนื่องจากทุ่มเทกับบางอย่างมากเกินไปจนเกิดความเครียดสะสม กระทั่งในที่สุดร่างกายรับไม่ได้ เรียกว่า”โอเวอร์โหลด”นั่นเอง
 
     บางคนยิ่งทำงานหนัก ยิ่งมีไฟ แต่บางคนยิ่งทำ ยิ่งหมดไปสาเหตุหลักที่ทำให้คนเราต่างกัน คือ “การจัดสรรเวลาของตนเอง”รวมทั้งการมองรายละเอียดของงาน คนส่วนใหญ่มักจะแบ่งเวลาไม่เป็น คิดว่าตนเองรับผิดชอบงานนี้แล้ว ก็ต้องทำงานนี้ให้สำเร็จ แล้วเอาเวลาทุ่มลงไปตลอดทั้ง 1 วัน 2 วัน หรือ 1 สัปดาห์พอทำอย่างนี้ผ่านไป 1 เดือน  สภาพร่างกายและจิตใจรับไม่ไหวพอผ่านไป 1 ปี จึงเกิด “ภาวะหมดไฟ”หรือ”Burn-out Sgndrome”เราต้องรู้จักแบ่งเวลา จัดสรรกิจวัตรกิจกรรมให้ชัดเจน และต้องมีตารางชีวิตด้วย
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197750 จงถามตนเองว่าทุกวันนี้ใช้ชีวิตแข่งกับอะไร บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 04:04 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

จงถามตนเองว่าทุกวันนี้ใช้ชีวิตแข่งกับอะไร
ตอน เคล็ดลับการบริหารเวลาของ มหาเศรษฐี
 
แบ่งเวลาในแต่ละวันให้ดี
 
     ในการทำกิจสำคัญต่างๆ ให้เราแบ่งเวลาเป็นกรอบใหญ่ๆ ไว้ก่อน เริ่มต้นด้วยการแบ่งเวลานอน ทุกคนรู้ว่าตนเองควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวันถึงจะพอดี แต่โดยเฉลี่ยแล้ว คนเราควรนอนให้เพียงพอวันละ 8 ชั่วโมง
 
     เพราะฉะนั้น เราควรตีกรอบตนเองไว้ก่อนว่า เราควรจะเข้านอนกี่โมง ตื่นนอนกี่โมงถึงจะไปทำงานทัน ซึ่งการ
ล็อกเวลาให้ดีอย่างนี้เหมือนทำง่าย แต่บางคนมักจะทำพลาด ถ้าเข้านอนช้าไปพอตื่นมาก็งัวเงีย ทำให้รู้สึกลุกลี้ลุกลนตลอดทั้งวัน
 
     เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตในแต่ละวันไม่ใช่เวลาตื่นนอน แต่เป็นเวลาเข้านอน มีโคลงโลกนิติสุภาษิตเก่าแก่แต่โบราณสอนใจว่า
 
“คนตื่นคืนหนึ่งช้า                   จริงเจียว
  มล้าวิถีโยชน์เดียว                 ดุจร้อย 
  สงสารหมู่พาลเทียว              ทางเนิ่น  นานนา
  เพราะบ่เห็นธรรมน้อย            หนึ่งให้เป็นคุณ”
 
     เพียงตื่นช้านิดเดียวจะทำอะไรก็ไม่ทัน กระหืดกระหอบไปหมด การใช้ชีวิตก็ไม่สำเร็จเสร็จสิ้น ถ้ามองลึกลงไปอีกก็เป็นเพราะเรานอนดึกจึงไม่อยากตื่นนอนตอนเช้า แล้วต้องกระหืดกระหอบเพราะไม่ทันเวลา แต่ถ้าเราเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ พอได้นอนเต็มอิ่มแล้ว เช้าก็ตื่นขึ้นได้ทันที ดังนั้น “ความสำเร็จของการบริหารเวลาเริ่มที่การเข้านอน”
 
     จากนั้นให้เราแบ่งเวลาที่นอนเหนือจากเวลานอน คือ แบ่งเวลาทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมง และแบ่งเวลาในการบริหารขันธ์ การเข้าสังคมอีกประมาณ 8 ชั่วโมง เราควรจัดแบ่งกิจกรรมเป็นช่วงเวลากว้าง ๆ ให้ลงล็อกในแต่ละวันว่าวันธรรมดาควรทำอะไรบ้าง วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ควรทำอะไรบ้าง เป็นต้น
 
ผิจารนารายละเอียดในการใช่เวลาแต่ละช่วง
 
     เมื่อเราแบ่งช่วงเวลากว้างๆ ออกเป็น 8/8/8 ชั่วโมงแล้วต้องไม่ลืมพิจารณารายละเอียดในการใช้เวลาแต่ช่วงที่แบ่งไว้แล้วด้วยเช่น ช่วงเวลานอน 8 ชั่วโมง ก็ให้เรามาดูว่า ทำอย่างไรตนเองถึงจะนอนหลับสนิท ไม่หลับๆ ตื่นๆ นอนหลับเต็มอิ่ม เพื่อจะได้ตื่นมาสดชื่นแจ่มใส
 
     หรือช่องเวลาในการบริหารขันธ์ เช่น เวลาอาบน้ำ กินข้าวเดินทางเวลาในการเข้าสังคมและการพักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งเวลาที่ใช่ไปในการเข้าโซเชียลมีเดียต่างๆ เราต้องบริหารจัดการเวลาเหล่านี้ให้พอดี ไม่ปล่อยเวลาไปเรื่อยเปื่อย แต่ควรล็อกเวลาให้ชัดเจนหมดเวลาต้องหยุดแล้วไปทำกิจกรรมอื่นต่อทันที ไม่เล่นเพลินจนไปกินเวลางาน หรือกิจกรรมอื่น ๆ เด็ดขาด
 
     เราต้องพิจารณาก่อนเสมอว่า มีงานอะไรสำคัญและเร่งด่วนที่เราต้องรีบทำให้เสร็จภายในวันนี้ ก็ควรหยิบขึ้นมาทำก่อน งานใดไม่เร่งด่วนนัก อาจจะทำพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ได้ ก็ให้วางแผนบริหารเวลาในสัปดาห์นี้ เดือนนี้ ปีนี้ให้ดี งานใดที่สำคัญหย่อนลงไปไม่เร่งด่วนก็ให้เราขยับเวลาในการสะสางงานนั้นออกไป เป็นต้น
 
     เพราะฉะนั้น เราจะมีแผนงานทั้งงานประจำวัน งานประจำสัปดาห์ งานประจำเดือน และงานประจำปี บางทีอาจจะมีงานประจำ 3 ปี หรืองานประจำ 5 ปี ที่สร้างขึ้นเพื่อวางแผนการฝึกฝนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพหลายๆ ด้านของเราก็ได้ นี่คือการวางแผนการใช้เวลาในแต่ละช่วงที่เราแบ่งไว้แล้วให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
 
     พอแบ่งเวลาออกเป็นกรอบใหญ่ๆ แล้ว ให้เราดูว่า เวลาที่แบ่งไปแล้วนั้น เราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกันเรื่องที่อาจจะทำให้เสียแผนงานได้
 
     เรื่องของการบริหารเวลาที่เราได้วางไว้แล้วย่างดีนั้น จะมีตัวบ่อนทำลายหลักๆ คือ  “อบายมุข” พอไปเมาเมื่อไร แผนงานที่วางไว้เสียหมด พอได้ดื่มน้ำเมา ได้เตร็ดเตร่เฮฮาเที่ยวกลางคืน ถึงเวลานอนไม่ได้นอน ถึงเวลาตื่นไม่ได้ตื่น เวลางานก็รวนหมด
 
     บางคนดูการละเล่นเป็นนิตย์ สมัยนี้การละเล่นมาถึงในมือเราง่ายๆ ทั้งสมาร์ตโฟน ทั้งคอมพิวเตอร์ เช่น ถ้าเราเผลอติดเกมมันก็ดึงเวลาเราเสียหายหมด ดังนั้น ถ้าไม่มีวินัย การบริหารเวลาก็จะรวนหมดทันที
 
     บางคนคบคนชั่วเป็นมิตร เผลอไปคบคนไม่ดีที่คอยจูงเราไปทางเสื่อม ชวนดื่มเหล้าบ้าง ชวนเล่นไพ่บ้าง ชวนเตร็ดเตร่บ้าง จนเราติดอบายมุข เสียการบริหารเวลา เราต้องหมั่นปฏิเสธคนจำพวกนี้ให้ได้ พอเราทำได้อย่างนี้ ความเกียจคร้านในการทำงานจะหายไปโดยปริยาย ทำให้เราสามารถทำตามแผนงานที่วางไว้ได้สำเร็จ
 
ตัวอย่าง 5 กิจวัตรหลัก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
     การบรอหารเวลาที่วางไว้แล้วอย่างดีนั้น เราชาวพุทธมีตัวอย่างที่ดีมาก คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดหากจะเรียงลำดับกิจวัตของพระองค์ให้เข้าใจได้ง่าย พระองค์มีกิจวัตรหลัก 5 เรื่อง ดังนี้
 
     กิจวัตรที่ 1 เวลาเช้ามืด ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นประมาณตี 4-  ตี 5 พระองค์นั่งสมาธิสอดข่ายพระญาณตรวจดูสัตว์โลกว่า วันนี้ใครคือบุคคลที่พระองค์ควรจะไปโปรด
 
     กิจวัตรที่ 2 เสด็จไปโปรดบุคคลนั้น บางครั้งไปโปรดเพียงพระองค์เดียว บางครั้งเสด็จนำหมู่สงฆ์ไปบิณฑบาตโปรดสัตว์
 
     กิจวัตรที่ 3 พระองค์เทศน์สอนญาติโยมเป็นกิจวัตรประจำวันในตอนเย็น พอตกเย็นชาวบ้านเลิกการงาน ก็ถือดอกไม้ธูปเทียนบ้าง ปานะบ้าง เภสัชบ้าน เข้าวัดฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
     กิจวัตรที่ 4 พอยามค่ำญาติโยมเดินทางกลับไปแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประชุมภิกษุสามเณรในวัด แล้วประทานโอวาท
 
     กิจวัตรที่ 5 เวลาเที่ยงคืน พระองค์แสดงธรรม ตอบปัญหาเทวดาที่มาเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลปัญหาเรื่องต่างๆ 
เหล่านี้คือกิจวัตรประจำวัน 5 เรื่อง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบางคนอาจจะสงสัยว่า ตั้งแต่เช้ามืดจนกระทั่งเย็น ค่ำ เที่ยงคืนพระองค์ไปโปรดสัตว์ชัดเจนแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ทรงพักผ่อนใช่หรือไม่ แล้วช่วงกลางวันพระองค์ทำอะไร..
 
     ในช่วงเวลากลางวันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ในการดูแลหมู่คณะ บางคราวพระภิกษุสงฆ์นั่งคุยกับหลังฉัน พระองค์จะเสด็จไปถามไถ่ภิกษุ แล้วภิกษุทั้งหลายจะกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง
 
     จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะระลึกชาติไปดูบ้าง สอดข่ายพระญาณไปดูบ้าง แล้วพระองค์ก็จะเล่าให้พระภิกษุฟังว่า เรื่องนั้น ๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงเกิดเรื่องอย่างนั้นขึ้น เพื่อเป็นคติสอนใจให้กับภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามไถ่ แนะนำและพูดสอน พระภิกษุทั้งหลายก็จะเกิดความอบอุ่นและได้คติข้อคิดจากพระพุทธองค์ เรียกว่า “เป็นการสสอนอย่างไม่เป็นทางการ”
 
     ตอนช่วงค่ำประชุมพระภิกษุพระภิกษุสามเณรทั้งหมดแล้วประทานโอวาทนั้นจึงเป็นทางการ บางทีมีพระภิกษุที่ป่วยไข่ไม่สบาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปเยี่ยมเยียนดูแลและเช็ดตัวให้ แล้วทรงตรัสว่า หากใครประสงค์จะได้บุญในการอุปัฏฐากพระองค์ ขอให้อุปัฏฐากภิกษุเถิด จะได้บุญเหมือนอุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดูแลคณะสงฆ์เป็นอย่างดี บางครั้งมีกิจพิเศษก็จะทรงเสด็จไปที่ต่างๆ  บ้าง พูดง่ายๆ ว่า เวลากลางวันเป็นเวลาอิสระในการทำกิจต่างๆ ที่จำเป็นทั้งในแง่พุทธกิจ ในฐานะเป็นญาติ พระองค์ก็ตั้งใจทำ บางคราวเป็นกิจเพื่อสงเคราะห์โลกพระองค์ก็ตั้งใจทำ โดยใช้เวลากลางวันนี้เอง
 
     เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะบริหารเวลาให้ได้ดี ต้องทำอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ แบ่งเวลาให้เป็นกรองใหญ่ๆ แล้วถึงมาดูรายละเอียดว่า ในช่องเวลานั้นๆ ควรจะทำอะไรและทำอย่างไรบ้างถ้าทำได้อย่างนี้เราจะพบว่า เวลาเรามีเหลือเฟือ ดังนั้น บริหารจัดการเวลาตนเองให้ดี วางแผนแบ่งเวลาให้ดี แล้วใช้เวลาทำกิจให้คุ้มค่า
 
     อาตมภาพขอยกตัวอย่างโยมคุณแม่ท่านหนึ่งซึ่งมีลูก 5 คน แล้ว ท่านเป็นนักธุรกิจ เป็นผู้บริหารที่มีภาระหน้าที่มากมาย แต่ก็ยังสามารถจัดเวลาทำวัตรเช้าเย็น นั่งสมาธิทุกวันจนกระทั่งเข้าถึงธรรมะภายในตัวได้
 
     คุณโยมท่านนี้บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก เขาล้างหน้าแปรงฟันและสวดมนต์ทำวัตรเช้าคลอไปด้วย บ้างสวดอยู่ในใจถ้าตอนไหนที่ปากเป็นอิสระก็ออกเสียงเบาๆ คลอไปด้วย จนกระทั่งคล่องปากขึ้นใจ สวดมนต์ไปใจก็ตรึกนึกถึงองค์พระภายในไปอย่างนี้มีแต่ได้บุญ การตรึกถึงพระรัตนตรัยภายในนั้น ตรึกได้ตลอดเวลา นั่งรถไปก็ “สัมมา อะระหัง”ไปได้นั่นเอง
 
     เมือบริหารเวลาได้อย่างคุ้นค่า ก็ประสบความสำเร็จทั้งชีวิตครอบครัว ลูกๆ ประพฤติปฏิบัติดีทุกคน การงานประสบความสำเร็จ ได้เป็นมหาเศรษฐีใหญ่ พอปฏิบัติธรรม ธรรมะก็ก้าวหน้าจนกระทั่งเข้าถึงองค์พระภายใน เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่ที่ตนเองแล้วว่าเราจะบริหารจัดการเวลาอย่างไร ถ้าทำได้ถูกต้องแล้วจะพบว่า
 
 
“ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก”
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 
 



#197749 จงถามตนเองว่าทุกวันนี้ใช้ชีวิตแข่งกับอะไร บทที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 03:45 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

จงถามตนเองว่า ทุกวันนี้ใช้ชีวิต แข่งกับอะไร
ตอน ทุกวันนี้ใช้ชีวิตแข่งกับอะไร
 
     ปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  โลกเปลี่ยนไปเร็วมากการสื่อสารเป็นไปอย่างกว้างขวางจนกระทั่งคนจำนวนมากมีความรู้สึกว่า  ชีวิตดำเนินไปอย่างกระหืดกระหอบเหลือเกิน ต้องแข่งกับเวลาแข่งกับงาน แข่งกับตนเอง แข่งกับคนอื่นจนไม่มีเวลาเหลือ นอนหลับยังไม่เต็มอิ่มก็ต้องตื่นเช้าไปทำงานอีกแล้ว รู้สึกว่าชีวิตวุ่นวายไปหมดทำอะไรไม่ค่อยจะทัน
 
     หายไปดูวิถีปฏิบัติของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วจะพบว่า เขามักจะทำงานแบบสบายๆ ไม่กระหืดกระหอบ ไม่รีบร้อนลุกลี้ลุกลน โต๊ะทำงานสะอาด ไม่ได้กองสุมกันเป็นพะเนิน ดูแล้วโปร่งเบา เขาทำได้อย่างไรกัน...
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197748 ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก บทที่ 3

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 02:49 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก
ตอน หลักการบริหารเวลาแบบ 8/8/8 ชั่วโมง ในชีวิตจริง
 
     ความจริงคนเราไม่ได้มีแต่เรื่องงาน แต่ยังมีเรื่องชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัวด้วย แล้วเราจะจัดสมดุลเวลาในชีวิตอย่างไรให้ลงตัวล่ะ
 
     ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่านั้น ในวันหนึ่งเราเสีย 8 ชั่วโมงไปแล้วกับการนอนหลับพักผ่อน อีก 8 ชั่วโมงอยู่ที่ทำงาน บางคนอยู่ที่โรงเรียน เพราะฉะนั้น เราจะเลือกเวลาอีก 8 ชั่วโมงเท่านั้นในการทำภารกิจต่างๆ ที่เหลือในชีวิตประจำวัน
 
     8 ชั่วโมงที่เหลือนี้ เราสามารถบริหารจัดการภารกิจในส่วนที่นอกเหนือจากงานหลักประจำวัน เรียกว่า กิจวัตรประจำวันต่างๆ จะถูกจัดการให้เสร็จสิ้นในช่วงเวลานี้ ทั้งเรื่องการเกินทาง การเข้าสังคม กิจกรรมยามว่าง งานอดิเรก ไปจนถึงการบริหารขันธ์ เช่น การออกกำลังกาย อาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น
 
     ข้อดีของหลักการบริหารเวลาแบบ “8/8/8”คือ ความสับสนวุ่นวายในชีวิตคนเราส่วนใหญ่อยู่ที่”การไม่บริหารเวลา”ถ้าเราแบ่งเวลาให้ดีแล้ว บางครั้งเราจะรู้สึกสะท้อนในว่า “คนเราเกิดมาถ้าไม่ได้ทำงานแล้วตายไปชาติหนึ่ง มันก็เหมือนนกกา หรือผักตบชวาที่ล่องลอยไปตามน้ำอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต”
 
     เราเกิดมาเป็นคนได้เพราะความมีจิตสูง ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ ทำจิตของเราให้สูงขึ้น เพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั่นคือ “หมดกิเลส”
 
     เพราะฉะนั้นเราต้องแบ่งเวลาในชีวิตให้ดีว่า 8 ชั่วโมงสุดท้ายที่เหลือจาก 24 ชั่วโมงนั้น เราจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชีวิตได้อย่างแท้จริง
 
     เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิตให้ทุกคนลองตรองกันให้ดี บางคนแม้ตรองอยู่ แต่ก็เผลออยู่เรื่อยเพราะติดโซเชียลมีเดีย ทั้งไลน์ เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเข้ามาทำให้เราเสียเวลา เทคนิคการแก้ไข คือ เราต้องกลับมาย้อนมองตนเองว่า เราพลาดอะไรไปบ้างตอนที่เราติดอยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย ลองพิจารณาเหตุผลสิว่า เราต้องการอะไร จริงๆ แล้วเราเข้าไปเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อหาข้อมูลที่จำเป็นกันแน่
 
     ดังนั้น ให้เรากำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเข้าสู่โลกของโซเชียลมีเดียก่อน รวมทั้งกำหนดเวลาที่จะเลิกด้วย คือ รู้ตัวก่อนแล้วจึงเปิดใช้งาน เวลาที่เหลือเราได้มุ่งไปยังเป้าหมายที่แท้จริงต่อไปมองให้ออกว่าเราใช้มันเพื่ออะไร แล้วใช้มันอย่างมีสติ
 
     สรุปว่า การที่คนเราจะรู้สึกว่า ตนเองมีเวลาหรือไม่มีเวลานั้นขึ้นอยู่กับว่า เราให้ความสำคัญกับอะไร แล้วต้องต้องให้ความสำคัญกับเป้าหมายชีวิตว่า เราตั้งเป้าหมายความสำเร็จในชาตินี้ไว้อย่างไร เราต้องแบ่งเวลาและเตรียมตัวเราให้พร้อมเพื่อการนี้อย่างไร
 
     นอกจากนี้ เราควรตั้งเป้าหมายสูงสุดไว้ด้วย เช่น เราเกิดมาเพื่อทำความดี แสวงบุญ สร้างบารมี ถากถางหนทางไปพระนิพพานถ้าเราตั้งเป้าหมายตรงนี้ แล้วทบทวนเป้าหมายของคนเองทุกวัน ก็มีแนวโน้มว่า เราจะใช้เวลาอย่างมีประโยชน์และประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงหากฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ 
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197747 ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก บทที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 02:35 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก
ตอน กฎของการ “โยนงานใส่กล่อง”
 
     บางครั้งเรารู้สึกว่า ตนเองได้จัดลำดับความสำคัญของงานเรียบร้อยแล้ว แต่มีงานจรจากคนอื่น ที่เขาอาจจะเห็นว่า เราทำได้และเป็นงานเร่งด่วน ซึ่งถ้าไม่ทำภาพรวมของงานอาจจะเสีย จึงฝากให้เราช่วยทำ อย่างนี้ให้เราจัดลำดับความสำคัญของงานด้วยการ “จับใส่กล่อง” เริ่มจากการแบ่งภารกิจทุกอย่างออกเป็น 4 ช่องเหมือนกับเรามีกล่องอยู่ 4 ใบ
 
     “กล่องใบที่ 1”      ให้เราใส่ภารกิจสำคัญและเร่งด่วนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องทำวันนี้และต้องทำเดี๋ยวนี้เท่านั้น
 
     ” กล่องใบที่ 2”       จับงานที่ไม่สำคัญแต่เป็นงานเร่งด้วนใส่ลงไป ซึ่งเป็นงานที่ควรจะทำวันนี้ หมายถึง อาจจะไม่ต้องทำเดี๋ยวนี้ก็ได้ แต่ต้องจัดการให้เสร็จสิ้นภายในวันนี้นั่นเอง
 
     ” กล่องใบที่ 3”        งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน งานเหล่านี้เราควรวางแผนไว้ก่อน เพื่อพรุ่งนี้จะได้ลงมือทำเป็นลำดับถัดไป
 
     ”กล่องใบที่ 4”         คือ   งานที่ไม่สำคัญและไม่ได้เร่งด่วนเราควรจัดไว้ในหมวดหมู่กล่องนี้ว่าเราจะหยิบขึ้นมาทำวันใดก็ได้ที่มี  เวลาว่าง เพราะฉะนั้น ในการจัดลำดับความสำคัญของงานทั้งหมดนี้จะทำให้เราไม่มีงานคั่งค้าง “สิ่งที่ไม่สำคัญ ก็จะไม่สำคัญอยู่อย่างนั้น” พอผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ เราอาจจะลืมไปแล้วหรือยังคงเป็นงานที่ไม่สำคัญอยู่ในกล่องนี้เหมือนเดิม
 
     สิ่งเหล่านี้ คือ การจัดสรรให้เรารู้ว่า อะไรควรอยู่ตรงไหนแล้เราควรทำอะไรก่อนหลัง เป็นเรื่องของการจักกิจการงานที่เข้ามาในแต่ละวัน ซึ่งจะทำให้เราไม่พลาดงานสำคัญและสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้ทันเวลา ต่อไปจะไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา”เกิดขึ้นอีกแล้ว
 
     เราควรตระหนักว่า”งานบางอย่างไม่จำเป็นต้องทำเลย”เพราะทำหรือไม่ทำ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า”ผู้ชนะทำแต่งานสำคัญ ผู้แพ้ทำแต่งานเร่งด่วน”
 
     ที่สำคัญ “จงอย่าแบกโลกไว้คนเดียว” เพราะคนประเภทนี้รวมทุกอย่างไว้ในตนเอง คือ ไม่สามารถจัดสรรงาน หรือมอบหมายภาระความรับผิดชอบให้ผู้อื่นได้ จึงต้องรับไว้เองทั้งหมด
 
     คนประเภทนี้ดูเหมือนยุ่งตลอดเวลา แต่ความจริงไม่ได้สร้างความไวเนื้อเชื่อใจให้ใครเลย และยังไม่ยอมไว้วางใจผู้อื่นให้มากพอที่จะมาช่วยแบ่งเบางานได้ พอทำงานพร้อมกันหลายอย่าง งานก็ยุ่งเหยิงไปหมด ทำให้ผลงานออกมาไม่ดีสักอย่างและยังเสียเวลาอีกด้วย
 
     ความจริงถ้าเราจัดการงานในกล่องทั้ง 4 ช่องให้ดี เลือกทำงานในกล่องช่องที่ 1 ก่อน เสร็จแล้วถึงมาทำงานในกล่องที่ 2 พอมีงานแทรกเข้ามาใหม่ในกล่องช่องที่ 1 ก็ย้ายมาทำงานในกล่องช่องที่ 1 จนเสร็จ จากนั้นจึงกลับมาทำงานในกล่องช่องที่ 2 3 และ 4 ให้เสร็จสิ้นตามลำดับ
 
     ลงมือทำทีละเรื่อง เลือกทำงานเร่งด่วนและสำคัญก่อนเสมอถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลาในชีวิต”เกิดขึ้น เพราะเราได้จัดสรรสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอนแล้ว พอเราทำงานตามลำดับความสำคัญอย่างนี้แล้ว ก็จะไม่มีคนมาตามจี้งานเราจนเกินความกดดัน เพราะเราสามารถทำงานให้เสร็จตรงตามกำหนดเวลาได้
 
     ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการที่เราทำงานหลายอย่างพร้อมกันมากเกินไป ดังนั้น “เลือกทำทีละอย่าง และเลือกทำเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนก่อนเสมอ”
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197746 ไม่มีเวลา ไม่มีในโลก

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 30 May 2018 - 02:20 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

“ไม่มีเวลา”ไม่มี ในโลก
ตอน จงอย่าเอา เวลา ฆ่าความมีค่าในตนเอง
 
     เวลาเป็นทรัพยากรที่ได้มาฟรีๆ แต่ก็มีอยู่อย่างจำกัด ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถเก็บสะสมได้ ไม่สามารถขอยืม หรือซื้อหามาได้ ซึ่งเวลายุติธรรมกับทุกคน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม บางคนมักจะบ่นว่า “...ไม่มีเวลา”
 
จงอย่าเอา “เวลา”ฆ่าความมีคุณค่าในตนเอง
 
     ในโลกเรามีคนอยู่ 2 ประเภท ซึ่งแตกต่างกันมาก คนประเภทหนึ่งมักจะพูดว่า “….มีเวลาว่างมาก ไม่รู้จะทำอะไรดี จนต้องหากิจกรรมทำฆ่าเวลา”ในขณะที่คนอีกประเภทหนึ่งมักจะพูดว่า “....งานยุ่งมาก มีเวลาไม่พอ ทำอย่างไรก็บริหารเวลาไม่ลงตัวสักที”อะไรที่ทำให้คนเหล่านี้แตกต่างกัน
 
     คนที่มักจะพูดว่า “...ฆ่าเวลา”ความจริงเป็นการกระทำที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้เวลาอย่างไม่คุ้นค่าและอาจจะใช้เวลาไปกับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ”อย่าเอาเวลาฆ่าความมีคุณค่าของตนเอง”
 
     ส่วนคำว่า “…ไม่มีเวลา”บางครั้งอาจจะเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อผัดผ่านสิ่งที่ตนเองไม่เห็นความสำคัญ หรือสิ่งที่ยังไม่อยากทำ
 
     ทั้งข้ออ้างว่า ทำเพื่อ ”…ฆ่าเวลา” หรือ ไม่ทำเพราะ“....ไม่มีเวลา”ล้วนเป็นที่บ่งบอกถึงการใช้เวลาอย่างไม่ถูกต้องแล้วอาจจะเกิดผลเสียตามมาได้ทุกระยะ ประการสำคัญ คือ กว่าจะรู้ก็สายเกินไป เช่น “กว่าจะรู้ว่าเวลาเข้างานนั้นสำคัญ ก็ตอนที่โดยใบแจ้งเตือนตัดเงินโบนัสประจำปีไปแล้ว” หรือ “กว่าจะเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ก็ตอนที่เรานอนอยู่บนเตียงผู้ป่วย”ซึ่งสายเกินไปแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้น เราต้องกระตือรือร้นรักษาเวลา และบริหารจัดการเวลาในฐานะเป็นทรัพยากรที่สำคัญ
 
     “เวลาเป็นสิ่งที่ต้องจัดการ ต้องรู้จักบริหารก่อนจะสายเกินแท้” ก่อนอื่นต้องเลิกคิดว่า เรามีเวลาเหลือเยอะแล้วใช้เวลาอย่างฟุ่มเฟือย เรียกว่า อย่าเผาเวลาทิ้งโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ควรวางแผนบริหารจัดการเวลาให้ดีเพื่อใช้เวลาทุกนาทีให้ได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
 
     บางคนอ้างว่า เขามีเรื่องต้องทำสารพัด ทั้งเรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เรื่องกิจการงานต่างๆ เรื่องปัญหาเจ้านายลูกน้องที่ต้องแก้ไขในแต่ละวัน เขาได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าแล้ว แต่เขามีงานมากมายจนไม่รู้ว่าจะจัดสรรเวลาอย่างไรให้ลงตัว
 
     ความจริงแล้วสำคัญที่การจัดสรรเวลาและการเรียงลำดับสิ่งที่จะต้องทำก่อนหลัง ถ้าเราไม่ได้จัดลำดับความสำคัญ เราก็จะมองว่าทุกอย่างสำคัญไปหมด แล้วเลือกทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก่อน หรือเลือกทำสิ่งที่อยากทำก่อน ซึ่งบางครั้งกินเวลาของสิ่งที่ “ต้องทำ”หรือสิ่งที่สำคัญมากกว่าทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า”ไม่มีเวลา”
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197745 มองการเดินทางของเวลาอย่างทะลุปรุโปร่ง ตอนที่ 3

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 03:55 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

มองการเดินทางของเวลาอย่างทะลุปรุโปร่ง
ตอน เวลาในโลกมนุษย์ มีค่ามากที่สุดใน 3 โลก
   
     ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า เวลาในแต่ละภพภูมินั้นไม่เท่ากันเพราะฉะนั้นเวลาที่มีค่าที่สุดน่าจะเป็นเวลาในโลกมนุษย์ใช่หรือไม่
     
     ในสวรรค์เป็นช่วงเวลาเสวยผลบุญ ส่วนนรกเป็นช่วงเวลาเสวยผลบาป หากไปเกิดเป็นสัตว์นรก ก็หมดโอกาสทำบุญ ทำอะไรไม่ได้เพราะโดนเขาจับเฉีอนอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ได้แต่เสวยผลบาปจนกว่าบาปนั้นจะหมดไป
   
      แต่สถานที่ประกอบเหตุ คือ โลกมนุษย์ เสมือนตลาดกลางค้าบุญค้าบาป เกิดมาเป็นมนุษย์หยาบนั้นมีค่ามาก พอมีกายหยาบแล้วจะทำอะไรมันจะส่งผลแรง
     
     กายเทวดา หรือกายสัตว์นรกนั้นเป็นกายละเอียด เป็นกายที่ใช้เพื่อเสวยผล แต่มนุษย์ได้กายหยาบเพื่อไปประกอบบุญ อานิสงส์ ผลบุญเกิดเป็นล้านเท่า แต่ถ้านำกายหยาบไปทำบาป ผิดศีลผิดธรรมผลบาปก็เกิดตามมาเป็นล้านเท่าเช่นเดียวกัน
   
      ดังที่เราเคยได้ฟังคำเปรียบว่า "หากไปฆ่าวัวตัวหนึ่งจะต้องเกิดเป็นวัว ถูกเขาฆ่านับจำนวนชาติด้วยเส้นขน"...เคยได้ยินไหม ความจริงมันยิ่งกว่านั้นมากนัก เพราะพอตกมหานรกแล้ว ต้องโดนฆ่ามากยิ่งกว่าจำนวนเส้นขนอีกเป็นล้านเท่า
     
     ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ได้กายหยาบ มิหนำซ้ำยังได้มาเกิดในยุคที่มีพระพุทธศาสนา ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธด้วยแล้ว ถ้าใครพลาดไปทำบาปตายไปตกนรกแล้วจะยิ่งรู้สึกช้ำใจมากขึ้นไปอีกว่า"...เราหนอเรา อุตส่าห์เกิดเป็นคน ได้มาพบพระพุทธศาสนาทำไมเราไม่ใช้โอกาสทำความดีให้ได้บุญมหาศาล รู้ทั้งรู้เรายังไปทำบาปอย่างนี้น่าเสียใจมาก"
     
     ส่วนใครได้ทำบุญทำกุศลก็จะรู้สึกชื่นใจ เอาบุญต่อบุญ พอทำบุญทำกุศล ก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดานางฟ้า ระหว่างที่ยังไม่หมดกิเลสด้วยบุญนั้นพอจะลงมาเกิดอีก ก็จะลงมาเกิดในยุคที่มีพระพุทธศาสนาอยู่
     
     ต่อไปนี้ให้อธิษฐานเลยว่า ขอให้เกิดมาแล้วมีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนาอีก มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมคำสอน และเป็นคนดีได้สร้างบุญสร้างกุศล ได้เอาบุญต่อบุญอีก เราก็จะได้สร้างบุญมากขึ้นๆ มีอุปกรณ์ในการสร้างบารมีที่พร้อมขึ้น มีชาติตระกูลดี มีร่างกายแข็งแรง หน้าตาดี อุปนิสัยดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด เพื่อนฝูงหมู่ญาติดีหมด อย่างนี้แล้วเราก็มีโอกาสได้ทำบุญมากขึ้นๆ กิเลสจะค่อยๆ หลุดออกจากใจ เหลือน้อยลงตามลำดับ
   
      ดังนั้น เมื่อมีโอกาสวิเศษสุดอยู่กับตนเองอย่างนี้แล้ว ไม่ควรพลาด บาปกรรมอกุศลเราต้องไม่ทำเด็ดขาด ตั้งใจทำความดีทุกชนิดอย่างเต็มที่ แล้วตั้งใจเจริญสมาธิภาวนา สรุปคือ "ละชั่ว ทำดีทำใจให้ผ่องใส"นี้คือหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นหัวใจหลักในการดำเนินชีวิตของเราทุกคน
   
      ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของมิติและภพภูมิต่างๆ มากมายทีเดียว ที่สำคัญยังตอกย้ำได้อีกว่า ยิ่งวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งต่างๆ มากมายในปัจจุบัน ก็ยิ่งพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่า สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสนั้นเป็นจริงตลอดกาลเรียกว่าธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น "อกาลิโก"
 
คือ "ทันสมัยตลอดกาล"
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 
 



#197744 มองการเดินทางของเวลาอย่างทะลุปรุโปร่ง ตอนที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 03:37 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

 มองการเดินทางของเวลาอย่างทะลุปรุโปร่ง
หลักธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า VS หลักการของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
   
 เรื่องราวของมิติที่ 4 ก็คือเวลาในแต่ละโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นพันปีแล้วในทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีสัมพันธภาพพบว่า เวลาของแต่ละที่ไม่เหมือนกัน สถานที่ใดมีมวลสารที่มีความหนาแน่นสูง สถานที่นั้นเวลาจะเคลื่อนที่ช้า
   
 พอเราตรวจดูโครงสร้างของโลก สวรรค์ และนรก ตำแหน่งของนรกอยู่แถวๆ หลุมดำตรงกลางกาแล็กซีพอดี อย่างสุริยะจักรวาลค่อยไปทางด้านล่าง ก็มีหลุมดำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง แล้วมีหลุมย่อย ๆ ออกไป ซึ่งเกือบจะซ้อนกับลักษณะของนรก แล้วในหลุมดำยังมีมวลสารที่มีความหนาแน่นมาก ขนาดแสงหลุดผ่านออกมาไม่ได้
 
     ดังนั้น เวลาในนั้นจึงเคลื่อนที่ช้ามาก ซึ่งสอดคล้องกับเวลาในมหานรกที่เคลื่อนที่ช้ามากเช่นเดียวกัน แต่นี่เป็นการอธิบายพอให้เข้าใจเท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วยังมีภพซ้อนภพ มีมิติต่างๆ ที่ยิ่งกว่ามิติที่4 ซ้อนอยู่อีก เราอย่าไปคิดอะไรแบบ3มิติ ตามความคุ้นเคยเดิมของเราเท่านั้น
   
 เป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า ยิ่งวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น ก็นิ่งพิสูจน์ความถูกต้องของพุทธศาสตร์ได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก เพียงแต่การพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น ยังเปรียบเสมือนเด็กอนุบาลที่ก้าวเดินเตาะแตะ คือ ยังไม่ค่อยรู้อะไรชัดเจนมากนัก ในขณะที่ทางด้านพุทธศาสตร์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งไปเรียบร้อยแล้ว
 
   ดังนั้น ถ้าใครอยากทันสมัย ก็ต้องหันมาศึกษาพุทธศาสตร์ตั้งใจเจริญภาวน ได้ไปรู้ไปเห็นด้วยตนเองเมื่อใด เราก็จะแจ่มแจ้งเอง
   
 พวกเรามีบุญมาก เพราะได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ ได้นับถือพระพุทธศาสนา เราจึงต้องตั้งใจหมั่นศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลงมือปฏิบัติให้คุ้มกับความมีบุญของเราทุกคน
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197743 มองการเดินทางของเวลาอย่างทะลุปรุโปร่ง ตอนที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 03:22 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

มองการเดินทางของเวลาอย่าง ทะลุปรุโปร่ง
 ตอน เวลาในแต่ละโลก
 
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งที่ยากแก่การเข้าใจของคนโดยทั่วไปมี 3 ประการ คือ "จิต เจตสิก และนิพพาน"
     "จิต" คือ "ดวงจิต" ส่วน "เจตสิก" คือ "การทำงานของดวงจิต" ทั้งสองมีความลึกล้ำเข้าใจยากพอๆ กับ "นิพพาน" เลยทีเดียว แสดงว่า ผู้ที่จะเข้าใจได้จริง ๆ จะต้องปฏิบัติจนบรรลุก่อน ไม่ใช่เข้าใจด้วยความคิด เหนือการอ่าน
     การจะเข้าใจด้วยสติปัญญาทั่วไป อาจด้วยการใช่ความคิดตรึกตรองและตรรกะ คนทั่วไปมักจะคุ้นเคยอย่างนั้น อธิบายอย่างไรก็ได้แค่ความรู้พื้นฐานเบื้องต้น ซึ่งเป็นเพียงเค้าโครงคร่าวๆ เท่านั้น
     การจะเข้าใจจริงๆ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัศนะ จากการทำสมาธิจนใจนิ่งถึงจุดแล้ว ถ้าพูดในเชิงปฏิบัติคือ จนกระทั่งเห็นเรียกว่า "ธรรมจักษุ"แล้วรู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไรด้วย"ญาณ-ทัศนะ"อย่างนี้ถึงจะแจ่มกระจ่าง ไม่ต้องใช้ความคิดเลย แต่ใช้"การเห็น"แล้วความรู้ก็จะผุดขึ้นมาจากการเห็นนั่นเอง นี่เป็นชั้น"ภาวนามยปัญญา"ปัญญาที่เกิดจากการภาวนาจนเห็นแจ้งซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงกว่าการนึกคิดตรึกตรอง
     เพราะฉะนั้น ถ้าเรายากรู้เรื่องใหญ่ ๆ อย่างเรื่องจักรวาลอยากรู้เรื่องกำเนิดเอกภพ หรืออยากรู้เรื่องเล็กระดับ "ควอนตัม"(Quantum)"อะตอม"(Atom) ให้เอาใจจรดเข้าที่ศูนย์กลางกายเมื่อปฏิบัติได้ถูกส่วน สิ่งเหล่านี้จะปรากฏขึ้นให้เห็นทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต
   
 เวลา ในแต่ละโลก
 
     เมื่อกล่าวถึงเรื่องของกาลเวลา เวลาระหว่างโลกมนุษย์ สวรรค์และนรกนั้นต่างกัน พวกเราอยู่ในโลกที่คุ้นเคยกับวัน เดือน  ปี แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพบว่า สวรรค์มีเวลาที่ต่างออกไป
     สวรรค์ชั้นที่ 1 คือ "ชั้นจาตุมหาราชิกา"ในวันหนึ่งคืนหนึ่งบนสวรรค์ชั้นนี้ เทียบเท่ากับเวลาบนโลกมนุษย์นานถึง 50 ปี แปลว่า ในขณะที่โลกเราผ่านไปแล้ว 50ปี บนสวรรค์ชั้นนี้เพิ่งผ่านไปเพียงวันเดียว
     ส่วนสวรรค์ชั้นที่ 2 คือ "ชั้นดาวดึงส์"วันหนึ่งคืนหนึ่งเท่ากับเวลาบนโลกนานถึง 100 ปีทีเดียว มาถึงสวรรค์ชั้นที่ 3 คือ"ชั้นยามา"วันหนึ่งคืนหนึ่งบนนั้น เท่ากับเวลาบนโลกนานถึง 200ปี แล้ววันหนึ่งคืนหนึ่งบนสวรรค์ชั้นที่ 4 คือ "ชั้นดุสิต"ก็เท่ากับเวลาบนโลกนานถึง400ปีทีเดียว ยิ่งสูงไปถึงสวรรค์ชั้นพรหม เวลาก็จะยิ่งยาวนานขึ้นไปอีก
     ส่วนเวลาในนรกนั้นช้ากว่าเวลาบนสวรรค์มาก มหานรกมีทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ยกตัวอย่าง มหานรกขุมที่ตื้นที่สุด เรียกว่า"สัญชีวมหานรก" นรกขุมนี้วันหนึ่งคืนหนึ่งเท่ากับเวลาบนโลกมนุษย์ยาวนานถึง 9 ล้านปีเลยทีเดียว
     แค่สวรรค์ชั้นแรกเวลาก็ยาวนานกว่าบนโลกมนุษย์มากมายแล้วคนบนโลกอยู่กันจนอายุ 50 ปี แต่บนสวรรค์เพิ่งผ่านไปเพียงวันเดียวเท่านั้น
     สมมุติว่า พ่อแม่ใครที่เสียชีวิตไป แล้วท่านทำบุญไว้มากได้ไปอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้าพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว 25 ปี แสดงว่าท่านเพิ่งเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นนี้เพียง 6 ชั่วโมง ท่านเพิ่งจะไปถึงได้สักพัก เหมือนกับเราไปบ้านใหญ่ได้แค่ 6 ชั่วโมง กำลังเดินสำรวจบ้านใหญ่ยังไม่ทันเสร็จ เวลาบนโลกเราก็ผ่านไป 25 ปีแล้ว
     ส่วนเวลาในมหานรกนั้นนานจนลืมไปเลย เพราะวันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมที่ตื้นที่สุดยังเทียบเท่ากับเวลาบนโลกที่ผ่านไปถึง 9 ล้านปี เพราะฉะนั้น เราอย่าเผลอทำบาปเด็ดขาด เพราะมหานรกนั้นน่ากลัวมาก
     ไปเกิดในมหานรกแล้วไม่ได้นั่งเล่นนอนเล่นสบายๆ พอเกิดปุ๊บก็กลายเป็นสัตว์นรกตัวใหญ่โต แล้วนายนิบาล ยมบาลตัวเบ้อเริ่มก็จะมาจับตรึงไว้เอามีดบ้าง ขวานบ้าง เลื่อยบ้าง ทั้งเฉือนทั้งสับจนกระทั่งเนื้อและกระดูกขาดเป็นท่อน ๆ หั่นเนื้อกันเหมือนกับหั่นฟักแฟงอย่างนั้น
     สัตว์นรกต่างก็ร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวด พอทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็ขาดใจตาย พอตายปั๊บ ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่ทำไว้ก็กลับมีชีวิตขึ้นอีกครั้ง แขนขาที่ขาดไปก็ต่อขึ้นมาใหญ่ แล้วโดนทารุณซ้ำอีก ตาย ๆ เกิด ๆ ซ้ำวันละหลายล้านหนอย่างนี้ น่ากลัวมาก
     คิดดูว่า แค่เราโดนมีดบาด หรือมีดเฉือนนิ้วขาดก็เจ็บปวดแทบขาดใจแล้ว แต่ในมหานรกนั้น สัตร์นรกต้องโดนสับโดนเฉือนเป็นชิ้นๆ จนตาย แล้วต่อติดใหม่วนเวียนไปอย่างนี้ วันหนึ่งคืนหนึ่งนานเทียบเท่ากับเวลาบนโลกมนุษย์ผ่านไปถึง 9 ล้านปี แล้วรับกรรมอย่างนี้นานถึง 500ปีนรก "น่ากลัวมาก"
     ใครที่เป็นนักเลงชอบไปไล่ยิงไล่ฟันเขา ไปเข่นฆ่าคนอื่นเขาแล้วต้องไปเจออย่างนี้ในนรกยาวนาน ไม่คุ้นเลย เพราะฉะนั้น อย่าไปทำบาปกรรมอกุศลทั้งหลาย แต่ให้ตั้งใจทำความดีถึงจะคุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นคน ได้พบพระพุทธศาสนา
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197742 กฎการเดินทางของเวลาเกินกว่า 24 ชั่วโมง ตอนที่ 3

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 03:02 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

 
กฎการเดินทางของเวลาเกินกว่า 24 ชั่วโมง
ตอน นึกถึงพระอาทิตย์ ก็ไปถึงพระอาทิตย์ได้ทันที
     ทางด้านพุทธศาสตร์ เราระลึกชาติได้โดยไม่ต้องใช้รูหนอนกาลเวลา แต่ใช้จิตของมนุษย์ "นึกถึงพระอาทิตย์ ก็ไปถึงพระอาทิตย์ได้ทันที"แต่จิตที่จะไปถึงได้จิตต้องเป็นจิตที่เป็นสมาธิ ตั้งมั่นจนกระทั่งเกิดญาณทัศนะ ซึ่งในกระบวนการทำงานของจิตมีความละเอียดอ่อนมาก โดยเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บไว้ในดวงจิตนั่นเอง
     ดวงจิตไม่ได้ย้อนเวลาด้วยการอาศัยยานอวกาศวิ่งไปอย่างรวดเร็วเหนือแสงร้อยเท่าพันเท่า แต่เรื่องของดวงจิตเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ คือ ถ้าเป็นของหยาบที่เราคุ้นเคย "ของใหญ่จะอยู่ข้างนอก ของเล็กอยู่ข้างใน" เช่น ตัวเราจะอยู่ในห้องได้เราต้องเล็กกว่าห้อง เราจึงเข้ามาในห้องได้ "ข้างในเล็ก ข้างนอกใหญ่"แต่ถ้าเป็นเรื่องของดวงจิตซึ่งเป็นของละเอียด ยิ่งเข้าไปข้างใน จะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ "ของใหญ่อยู่ในของเล็ก"
.....แปลกไหม
     ในครั้งพุทธกาลมีพระภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยจึงกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าค่ะ กายของพระองค์ไม่ได้เล็กลง เมล็ดพันธุ์ผักกาดก็ไม่ได้ใหญ่ขึ้น แล้วทำไมพระองค์ถึงสามารถเดินจงกรมอยู่ในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้"
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ว่า ถ้ายังปฏิบัติไม่เข้าถึง ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไรก็เข้าใจได้ยาก จึงมอบกระจกบานหนึ่งให้แก่พระภิกษุรูปนั้นนำไปส่องพระสถูปเจดีย์ พอพระภิกษุรับกระจกบานนั้น แล้วนำไปส่องก็เห็นพระสถูปเจดีย์ทั้งองค์ปรากฏอยู่ในกระจก
     กระจกไม่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่พระสถูปเจดีย์องค์ใหญ่ไปปรากฏอยู่ในกระจกบานเล็ก ๆ นั้นได้ ถามว่า"พระสถูปเจดีย์นั้นเล็กลงหรือไม่"ตอบว่า"ไม่ได้เล็กลงเลย"
     ถ้าเรานำกระจกไปส่องมุมดี ๆ ภูเขาใหญ่ ๆ ทั้งลูกก็เห็นอยู่ในกระจกได้ ภูเขาไม่ได้เล็กลง กระจกก็ไม่ใหญ่ขึ้น ทำไมถูกเขาลูกใหญ่โตถึงไปกระจกบานเล็ก ๆ ได้ มันเป็นอย่างนั้นเอง
     สำหรับของละเอียดนั้น ยกตัวอย่างหากเราอยากไปดูให้รู้ว่า ในขณะนี้ดาวดวงอื่นที่ห่างจากโลกไปล้านปีแสงเป็นอย่างไรบ้างเราจะสามารถเดินทางดาวดวงนั้นได้ด้วยเวลาเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น เดินทางไปโดยไม่ต้องใช้ดวงจิตวิ่งไปข้างอกเลย แต่ใช้การเอาใจหยุดนิ่งเข้าไปที่ศูนย์กลางกาย ดิ่งเข้าไปภายในศูนย์กลางกายเล็กๆ เท่ากับปลายเข็ม พอใจจรดนิ่งเข้าไปตรงกลางจะพบว่าศูนย์กลางกายเดิมที่เล็กเท่ากับปลายเข็ม มันขยายใหญ่ขึ้นเหมือนกับมีกล้องขยาย
     สมมุติว่า จุดเล็ก ๆ ขนาดราว 1 มิลลิเมตร ที่ศูนย์กลางกายพอเอาใจจรดนิ่งแตะที่ศูนย์กลางของจุดนั้น จุดนั้นก็จะขยายวูบขึ้นมาจนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 วา พอเอาใจจรดไปที่จุดเล็ก ๆ ที่ศูนย์กลางของดวงนั้นอีก ก็ขยายวูบขึ้นมาอีก เชื่อหรือไม่ว่า เราสามารถดำเนินจิตเข้าไปในกลางของกลางอย่างนี้ได้ไม่มีที่สิ้นสุดเลย
     เราสามารถเดินทางเข้าไปในจุดเล็ก ๆ ไปถึงจุดที่ละเอียดแบบไม่สิ้นสุด ยิ่งเข้ากลางไปเท่าไร ถึงจุดที่เล็กมากเท่าไร จะปรากฏว่าใจเราจะขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ คลุมไปทั้งโลก คลุมไปทั้งกาแล็กซีคลุมไปทั้งเอกภพนับไม่ถ้วน อยู่ในศูนย์กลางกายที่เล็ก ๆ นั่นแหละแต่ขยายคลุมทั้งหมด"ของเล็กคลุมของใหญ่"
     เพราะฉะนั้น เวลาเราต้องการจะไปดูอะไรให้ดูในตัว ดูตรงศูนย์กลางกายนี้เอง ไม่ได้วิ่งไปดูนอกตัวเลข ถ้าจะไปดูดาวดวงอื่น ก็ดูจรดเข้าไปตรงกลาง จะไปดูอดีตชาติ ก็จรดไปตรงกลาง เรียกว่าเห็นได้หมดเดี๋ยวนั้นเลย นี่คือความหัศจรรย์ทางจิตที่ว่า
 
"จิตมนุษย์ลึกล้ำนัก"
 
ถ้าเป็นของหยาบที่เราคุ้นเคย
"ของใหญ่อยู่ข้างนอก ของเล็กอยู่ข้างใน"
แต่ถ้าเรื่องของดวงจิตซึ่งเป็นของละเอียด
"ของใหญ่อยู่ใน ของเล็กอยู่นอก"
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 



#197741 กฎการเดินทางของเวลาเกินกว่า 24 ชั่วโมง ตอนที่ 2

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 02:41 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

 
กฎการเดินทางของเวลาเกินกว่า 24ชั่วโมง
ตอน การระลึกย้อนไปรู้ไปเห็นในแบบ "ไอน์สไตน์"
 
     ถ้าถามว่า แล้วเราย้อนอดีตไปรู้ไปเห็นได้อย่างไร ในทางวิทยาศาสตร์มีการกล่าวถึงเรื่องของ "Time Machine" การระลึกย้อนแล้วนำตนเองไปในอดีตได้เริ่มต้นจาก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) โดยเขาสร้างทฤษฎีสัมพันธภาพขึ้นมา พบว่าในเชิงทฤษฎีมีรูหนอนของกาลเวลาอยู่
 
     ปกติเราจะรู้สึกว่า เวลาดำเนินไปเป็นเส้นตรง ไม่ว่าจะเป็น 1ปีที่แล้ว 3เดือนที่แล้ว หรือเมื่อวานนี้ เวลาจะค่อยๆ เคลื่อนไปเป็นเส้นตรง ย้อนไปไม่ได้ แต่จากทฤษฎีสัมพันธภาพพบว่า ทั้งเวลามวลสาร และแรงโน้มถ่วง ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันหมด เราไม่ได้เคลื่อนเป็นเส้นตรง แม้แต่แสงก็ถูกแรงดึงดูดให้เป็นเส้นโค้งได้ เพราะฉะนั้น อาจจะกลับกลายเป็นว่า มิติของกาลเวลาและอวกาศสัมพันธ์กัน เวลากับสถานที่มีความสัมพันธ์กัน ทฤษฎีนี้ทลายกรอบความคุ้นเคยเดิมๆ ของมนุษย์ ที่คุ้นกับเรื่องของ 3 มิติ คือมีความกว้าง ความยาว และความสูง เช่น ถ้าเราอยู่ในห้องก็จะบอกได้ว่า ห้องนี้กว้าง ยาว และสูงเท่าไร เรียกว่า "3 มิติ"
 
     ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะซื้อที่ดิน ก็ต้องวัดความกว้างและความยากว่ามีพื้นที่ดินกี่ตารางเมตร หรือกี่ไร่ อย่างนี้เรียกว่า "2 มิติ"แต่ถ้าเราจะขุดดินสร้างสระขนาดความกว้าง 30 ไร่ ลึก 5 เมตรเราจะคำนวณว่าต้องใช้งบประมาณในการขุดสระนี้เท่าไร เราก็ต้องคูณมิติของความลึกเข้าไปด้วย พื้นที่ขนาด 30 ไร่ เป็น 2 มิติ พอมีความลึกก็กลายเป็น 3 มิติ ในแบบที่คนทั่วไปคุ้นเคย
 
ในทางวิทยาศาสตร์ ไอน์สไตน์นำเราไปสู่มิติที่ 4 คือ เรื่องของเวลา เพราะทุกอย่างต้องมีเวลามาเกี่ยวข้อง กาลและอวกาศสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด พอรู้ว่าแสงเดินทางเป็นเส้นโค้ง ก็มีโอกาสจะมาเจอกันที่เก่า แล้วมีจุดรูหนอนของกาลเวลาเชื่อมกัน ถ้าทะลุตรงนี้ลงไปได้ เราก็น่าจะย้อนเวลาไปในอดีตได้นั่นเอง
 
     การย้อนอดีตแบบไอน์สไตน์นั้น ไม่ใช่การขึ้นขี่ยานอวกาศแล้ววิ่งแข่งกับเวลาด้วยความเร็วเหนือแสง แต่เป็นลักษณะของการทะลุไปที่รูหนอนของกาลเวลา แต่ในเชิงของความจริง "ยังไม่เคยมีใครพบปรากฏการณ์การทะลุรูหนอนกาลเวลาได้จริง" 
 
เราพบว่า หากจะย้อนเวลาไปได้ต้องใช้อนุภาคที่เล็กมาก เช่น "โฟตอน"(Photon) หรืออนุภาคของแสง เพราะรูหนอนกาลเวลาไม่เสถียร ถ้ามนุษย์เข้าไปจริงๆ อาจจะถูกย่อยสลายไปก่อนได้ แต่ถ้าเป็นอนุภาคเล็ก ก็จะมีโอกาสรอดผ่านไปได้
 
ซึ่งในทางทฤษฎี "แค่มีโอกาสเท่านั้น" ความจริงยังไม่สามารถหาวิธีการทำให้รูหนอนของกาลเวลาเสถียร จนสามารถส่งสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ให้ทะลุผ่านไปได้ สิ่งเหล่านี้ยังเป็นแค่ทฤษฎี จึงมีเพียงการนำมาสร้างภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ต่างๆ มากมายในปัจจุบันเท่านั้น
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)



#197740 กฎการเดินทางของเวลาเกินกว่า 24 ชั่วโมง ตอนที่ 1

โพสต์เมื่อ โดย Suphatra บน 26 May 2018 - 02:22 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

กฎการเดินทางของเวลาเกิดกว่า  24 ชั่วโมง
ตอน ย้อนอดีต ในทางพระพุทธศาสนา
 
     ก่อนที่เราจะเรียนรู้เรื่องการใช้เวลาให้เป็น เรามาทำความเข้าใจเรืองของ "เวลา" ทั้งทางโลกและทางธรรมในแบบเจาะลึกกันก่อน หลายท่านคงเคยชมภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ที่มีเรืองราวเกี่ยวกับการย้อนเวลาหากอดีต อย่างภาพยนตร์ที่โงดังในอดีตเรือง " Back to the Future (1985)"แล้วในทางพระพุทธศาสนา เราสามารถเดินทางย้อนกลับไปในอดีตหรือเดินทางไปสู่อนาคตได้หรือไม่
 
"ย้อนอดีต" ในทางพระพุทธศาสนา
 
    ในทางพระพุทธศาสนาสามารถไปในภพอดีตและอนาคตได้แต่ไปคนละวิธีกับทางวิทยาศาสตร์ ในทางวิทยาศาสตร์นั้น พยายามเดินทางข้ามเวลาไปด้วย  "วัตถุ" แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้นไปด้วย "จิตใจ"
 
     ทางพระพุทธศาสนา การย้อนไปดูอดีตชาติตนเอง เรียกว่า "ปุบเพนิวาสานุสติญาณ" คือ มีญาณหยั่งรู้การไปเกิดมาเกิดของตนเองในอดีต บางคนสามารถระลึกไปได้ร้อยชาติล้านชาติก็มี ยกตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถระลึกชาติได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 
     การระลึกชาติเพื่อดูการไปเกิดมาเกิดของบุคคลทั้งหลาย หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมในวันวิสาขะบูชา ยามต้นพระองค์ทรงบรรลุ "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" คือ ระลึกชาติตนเอง ยามสองพรองค์ทรงระลึกชาติของสัตว์ เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ"ไม่มีที่สิ้นสุด
 
     การระลึกชาติไม่ต้องใช้เวลานาน ก็สามารถระลึกชาติไปล้านชาติได้โดยไม่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ใช้เวลาแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้นเพราะธรรมะเป็นเรื่องของ "วกาลิโท" คือ” ไม่ถูกจำกัดด้วยกาล"
 
     เปรียบว่า เราจะดาวน์โหลดข้อมูลหนังสือเป็นพันหน้าลงคอมพิวเตอร์ เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงแค่วินาทีเดียวก็เสร็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงระลึกชาติเป็นร้อยล้านชาติโดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีได้นั่นเอง
     
     อดีต คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว การระลึกชาติ คือ การไประลึกดูสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่อนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิด อนาคตไม่ได้เกิดขึ้นสำเร็จรูปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เราไม่สามารถจะเดินทางไปดักในอนาคต แล้วล่วงรู้ทั้งหมดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่สามารถบอกอนาคตได้เป็นกรณีไป เช่น พระบรมโพธิสัตว์สร้างบารมีไว้มากจนบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งว่า บุคคลผู้นี้จะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใด เป็นต้น
 
     กรณีนี้เป็นความดีที่สั่งสมไว้ยาวนานจนกระทั่งผังชีวิตแน่นอนแล้ว เปรียบเสมือนเราจะซื้อบ้านหลังหนึ่งใช้งบประมาณ 1 ล้านบาท
     
     เราออมเงินไว้ได้ 999,999 บาทแล้ว จึงกล่าวได้ว่า เราจะซื้อบ้านหลังนี้ได้สำเร็จอย่างแน่นอนเพราะขาดอีกเพียงบาทเดียวเท่านั้น
 
     แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า คนนี้อีก 10 ชาติจะเป็นอย่างไรเพราะขึ้นอยู่กับว่า เขาทำอะไรต่อไป ถ้าเขาทำดี ก็จะได้ดี ถ้าเขาทำบาป ก็จะตกนรก ขึ้นอยู่กับตนเองว่าจะทำสิ่งที่เป็นบุญกุศลหรือเป็นบาปกุศล นี่คือเรื่องของอนาคต
     นิยามวิทยาศาสตร์ที่เราเคยดูกัน บางตอนตัวละครสามารถย้อนเวลาไปอยู่ในอดีตได้ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่างกำลังเกิดขึ้นขณะนั้นแล้วตัวละครก็ลงมือแก้ไขอดีตให้ส่งผลไปเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน แต่ในโลกหน้า ความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
   
      "อดีต คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว" การระลึกชาติ คือ การไปดูว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้น ไม่ใช่นำตนเองย้อนไปอยู่ในเหตุการณ์ นั้นๆ แล้วเริ่มดำเนินการใหม่โดยไปเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นและสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ดังนั้น "การระลึกชาติ คือ การไปเห็นสิ่งเหล่านี้เท่านั้น"
 
จากหนังสือ  24ชั่วโมงที่ฉันหายใจ   
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)