ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 5


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 04:20 PM

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 5
ความแตกต่างระหว่างปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี

ปัญจทวารวิถี

๑. ต้องมีอตีตภวังค์เสมอ
๒. มีวิสยัปปวัตติ ๔ คือ อติมหันตารมณ์, มหันตารมณ์, ปริตตารมณ์,อติปริตตารมณ์
๓. อาศัยเกิดได้ใน ๕ ทวาร
๔. อาศัยวัตถุ ๕ เช่น รูปเป็นต้น
๕. มีรูปธรรมเป็นอารมณ์
๖. มีอารมณ์ ๕ เช่นรูปเป็นต้น
๗. เกิดแก่กามบุคคล และรูปบุคคล ตามสมควรแก่ทวาร
๘. มีอารมณ์เป็นปัจจัยอย่างเดียว
๙. มีวิถีจิตเกิดได้มากถึง ๗ อย่างคือ อาวัชชนะปัญจวิญญาณ, สัมปฏิจฉนะ, สันตีรณะ, โวฏฐัพพนะ,ชวนะและตทาลัมพนะ
๑๐. มีเฉพาะรูปปรมัตถ์เท่านั้นเป็นอารมณ์
๑๑. มีขณะจิตเกิดขึ้นได้ ๑๔ ขณะ ถ้านับภวังคจิต ๓ เข้าด้วยกันได้ ๑๗ ขณะ
๑๒. มีเวทนา ๕ คือ สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, โสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนาและ อุเบกขาเวทนา

มโนทวารวิถี
๑. ส่วนมากไม่มี
๒. มีวิสยัปปวัตติ ๒ คือ วิภูตารมณ์ และ อวิภูตารมณ์
๓. อาศัยเกิดได้ทางมโนทวารทางเดียว
๔. อาศัยหทยวัตถุในปัญจโวการภูมิ (ภูมิที่มีขันธ์ ๕)แต่ในจตุการภูมิ (ภูมิที่มีขันธ์ ๔ คืออรูปภูมิ) ไม่อาศัยวัตถุเลย
๕. มีทั้งรูปธรรม นามธรรมและบัญญติเป็นอารมณ์
๖. มีอารมณ์ ๖ ทั้งหมด
๗. เกิดได้ทั้งกามบุคคล รูปบุคคล และอรูปบุคคล
๘. มีอารมณ์ทั้ง อดีต ปัจจุบัน และกาลวินิมุต
๙. มีวิถีจิตเกิดได้ ๓ อย่างคือ อาวัชชนะ, ชวนะ, และตทาลัมพนะ
๑๐. มีทั้งปรมัตถธรรมทั้ง ๔ และบัญญัติเป็นอารมณ์
๑๑. มีขณะจิตเกิด ๑๐ ขณะ ถ้านับภวังคจิตด้วยเป็น ๑๒ ขณะ
๑๒. มีเวทนาเพียง ๓ คือ โสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา

๓.๒ ลักษณะของความฝัน
ตามแนวความเชื่อทางพุทธศาสนา ความฝันมี ๓ ลักษณะคือ

๑. ความฝันที่เป็นกุศล คือ ความฝันที่จิตใจอยู่ในภาวะที่ดี เช่น ฝันว่าได้พบผู้ทรงศีล ได้พบผู้มีบุญ ได้ฟังธรรม ฯลฯ
๒. ความฝันที่เป็นอกุศล คือ ความฝันที่จิตใจอยู่ในสภาพไม่สบาย เช่น ฝันว่าตกต้นไม้ ถูกสัตว์ร้ายกัด ถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ
๓. ความฝันที่เป็นอพยากฤต คือ ความฝันที่ไม่อยู่ในลักษณะ กุศลหรืออกุศล

นอกจากนี้ ความฝันยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกหลายประการ ดังนี้

๑. ระยะเวลาของความฝัน ผิดกับระยะเวลาปกติเป็นอันมาก เรานอนหลับเพียง ๑๐ นาที
อาจฝันว่าไปนอนค้างแรมหลายวันหลายคืนได้ เพราะใจของเราเร็วนั่นเอง

๒. ความฝันเป็นสิ่งที่ผัดผ่อน และต่ออายุได้ เช่น เรากำลังฝันดี แต่ต้องตื่น เราอาจผัดกับตัวเองว่าอย่าเพิ่งตื่น
ถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เพื่อจะฝันดี ๆ ต่อไป หรือถ้าฝันร้าย เราอาจจะชิงตื่นก่อนที่จะเห็นภาพที่น่ากลัวก็ได้

๓. ความฝันเป็นลักษณะของดวงจิต ที่ปราศจากความควบคุม เหนี่ยวรั้ง โดยไม่มีสติสัมปชัญญะ
ในเวลาฝัน ผู้ฝันยังรู้สึกผิดชอบอยู่เสมอ และมักรู้ตัวว่า สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด เช่นเดียวกับที่เราตื่นอยู่

๔. ความฝัน เป็นอาการที่ดวงจิตทำงาน เมื่อร่างกายหยุดพัก คือ หัวใจทำงาน แต่ร่างกายต้องการพัก จึงมีอยู่เสมอที่ความรู้สึกทางกายมาขัดขวางทางดำเนินของความฝัน เช่นฝันว่าไปทางไหน มักจะไปไม่ทันเวลา
ด้วยมีเหตุขัดข้องเช่น รองเท้าหาย ดังนี้เป็นต้น

๕. มีปัญหาว่า ถ้าเราไม่อยากฝันร้าย จะฝันแต่ที่ดี ๆ ได้หรือไม่ ?
ในคัมภีร์สารัตถะสังคหะ บทที่ ๔ ท่านพระนันทาจารย์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า
คนที่ฝันร้าย คือฝันเห็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเหตุที่ไม่มีสติสัมปชัญญะในเวลาหลับ
แต่ผู้ที่มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่จนกระทั่งหลับ จะฝันเห็นแต่สิ่งที่ดีเสมอ

๓.๓ สาเหตุของความฝัน
ในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ภาค ๓ หน้า ๘๖ และ
คัมภีร์สัทธัมมัปปัชโชติกา อรรถกถา ขุททกนิกาย ภาค ๓ หน้า ๑๓๓ ได้แสดงเอาไว้ว่า
ความฝันเกิดด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

๑. ธาตุโขภะ คือความวิปริตแปรปรวนของธาตุต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดความฝันขึ้น
ความฝันประเภทนี้ จึงเป็นอิทธิพลทางกายภาพ


๒. อนุภูตปุพพะ คือความฝันที่เกิดจากการที่จิตใจยังวิตกกังวลถึงสิ่งที่เคยได้เห็น ได้ฟังมาก่อน แล้วเก็บไปฝัน
บางทีเรียกว่า จิตนิวรณ์ หรือจิตวิวรณ์


๓. เทวโตสังหรณ์ อธิบายว่า จิตของผู้ฝันติดต่อกับโอปปาติกะซึ่งเป็นสภาพการเกิดแบบหนึ่ง
เช่นพวกเทวดา โดยจะมีทั้งดีและไม่ดี จึงทำให้ความฝันจากสาเหตุนี้ ก็มีทั้งไร้สาระและมีสาระ


๔. ปุพพนิมิต อธิบายว่า เกิดจากบุญหรือบาป กรรมดี กรรมชั่วที่ได้ทำไว้จะมาปรากฏเป็นสัญญลักษณ์ว่า
จะมีเหตุดี หรือเหตุร้าย ในความฝันเป็นวิบากกรรมที่สั่งสมอยู่ในภวังค์แสดงในทางการฝัน


พระพุทธศาสนา ได้จำแนกบุคคลตามระดับกิเลสที่อยู่ในจิตใจ ได้แก่
ในระดับปุถุชน โสดาบัน สกทาคามี และพระอรหันต์ (ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว)
ในเรื่องของความฝัน เป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจที่เกิดกับผู้มีกิเลสเท่านั้น

ดังนั้น บุคคลประเภทเดียวที่ไม่ฝันคือ พระอรหันต์


ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  103_0365.jpg   188.81K   236 ดาวน์โหลด


#2 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 04:37 PM

ดีจังเลยค่ะ
มีภาพสวยๆมาให้ดูทุกตอนเลย
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง