ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

นิกายมหายาน และ นิกายเถรวาท


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 21 May 2006 - 10:54 PM

ลองมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ โดยเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างนิกายมหายานกับนิกายเถรวาท กันนะครับ เพื่อที่เราจะได้ใช้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและดีงามไว้ต้อนรับพุทธบุตรจากทั่วโลกที่จะมารวมตัวกันที่บ้านเราที่วัดพระธรรมกาย อีก 9 เดือนข้างหน้าครับ จะได้ต้อนรับท่านด้วยความประทับใจครับ..

เท่าที่ผมทราบมานิกายเถรวาทมีมากกว่า นิกายมหายาน นะครับ

.............................................................................................................




ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม



#2 อาทลูกพระธัมฯ

อาทลูกพระธัมฯ
  • Members
  • 76 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 May 2006 - 11:47 PM

ว้า ผม บ่ มีความรู้เรื่องนี้เลย ต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมซะแล้ว แต่ที่รู้ๆ คือ "พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว"
พ่อ...คือแดดอุ่นในวันหนาว
พ่อ...คือเมฆขาวบนผืนฟ้าใส
พ่อ...คือริ้วคลื่นโถมซบทราย
พ่อ...คือร่มไม้บนทางฝัน
พ่อ...คือสายลมเย็นในวันร้อน
พ่อ...คือบทกลอนปลุกปลอบขวัญ
พ่อ...คือความงดงามของคืนวัน
พ่อ...คือความภาคภูมิใจของฉันทั้งชีวิต

Add มาสนทนาธรรมกันได้นะคร้าบ :--> [email protected]

#3 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 03:06 AM

โอ้ ไอเดีย เหลือล้ำจริงๆค่ะ ต้องไปค้นคว้าก่อน happy.gif
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#4 pp_072

pp_072
  • Members
  • 209 โพสต์
  • Interests:ดีครับ

โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 07:53 AM

อยากทราบมานานเเล้วครับ

อนุโมทนา สา....ธุด้วยครับ
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว

พุทธบริษัท 4 ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนตะวันที่มีดวงเดียว

#5 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 10:53 AM

ยังมีนิกายวัชรยานอีกนิกายนะคะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#6 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 09:05 PM

อาจริยวาท หรือ มหายาน เป็นชื่อนิกายทางพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง เรียกว่า นิกายอาจริยวาท

นิกายอาจริยวาท เป็นนิกายที่ถือพระธรรมวินัยตามที่อาจารย์แนะนำ คือมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อปฏิบัติบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์หรือสถานที่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัยบางประการตามที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ นิกายอาจริยวาทได้แก่พระพุทธศาสนาที่นับถือในประเทศตอนเหนือของอินเดีย คือธิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น

นิกายอาจริยวาท มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ มหายาน และอุตรนิกาย

นิกายอาจริยวาท เป็นคู่กับ นิกายเถรวาท

เถรวาท (อ่านว่า เถระวาด) หรือ หินยาน เป็นชื่อนิกายทางศาสนาพุทธนิกายหนึ่ง เรียกเต็มว่า นิกายเถรวาท เป็นคู่กับนิกายอาจริยวาท

นิกายเถรวาท เป็นนิกายที่ถือพระธรรมวินัยตามมติที่พระเถระอรหันต์สาวกได้ตกลงกันและวางเป็นหลักไว้ไม่เปลี่ยนแปลง นิกายเถรวาทได้แก่พระพุทธศาสนาที่นับถือกันในประเทศไทย ลังกา พม่า เขมร ลาว

ที่มา: คำวัด พระธรรมกิตติวงศ์ ราชบัณฑิต
ที่มาจากเวพ http://th.wikipedia.org/


************************************************************************************
นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา


๑. นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

๒. นิกายมหายาน ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการ แตกแยกทางความคิดและนิกาย

๓. นิกายวัชระยาน เกิดจากพระพุทธศาสนามหายาน ที่แยกออกเป็นนิกายประมาณ ๔ นิกาย คือ
1. นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน
2. นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ
3. นิกายจิต อมตวาท
4. นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน

นิกายเถรวาท หรือ หินยาน

เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์ เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

นิกายมหายาน
พระพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่าแค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อยเป็นเหตุให้ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการ แตกแยกทางความคิดและนิกาย แต่ไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใดไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของ มหายาน ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรม ทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ

คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่างชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดยเฉพาะคุรุนาคารชุน(ราว ค.ศ 1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 6-10 มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎกหากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุ ตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะหากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะสรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบกับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้มนุษย์ผู้โชดดีมีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียงอย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2 ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายานแตกเป็นนิกายต่างๆ มากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย

1. นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน

2. นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ

3. นิกายจิต อมตวาท

4. นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน

ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซ็นหรือฌาณ(เสี่ยมจง) นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง) นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง) นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง) แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน

ลัทธิมหายานถืออุดมคติ 3 ประการ คือ

1. หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษในพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมากพิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาทมหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฏิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะ พ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนยตา ซึ่งมี 2 ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง

2. หลักมหากรุณา ได้แก่การ ตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิ ในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยคนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมิซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมีเพื่อช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ 6 คือ

2.1 ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย

2.2 ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีล ข้อ นี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์

2.3 กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อโปรดสัตว์ได้

2.4 วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย หน่ายระอาในการช่วยสัตว์

2.5 ธยานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลน เพราะเหตุอารมณ์

2.6 ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา

3. หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมายโดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วย ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์ ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”

ที่มา : พุทธศาสนามหายาน-วัชระยานแห่งธิเบต www.mahayana.in.th
ที่มาจากเวพ http://www.dhammathai.org/

หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#7 marissa

marissa
  • Members
  • 82 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 May 2006 - 08:38 AM

กำลังอยากรู้อยู่พอดีค่ะ อนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ

#8 พฤติจิต

พฤติจิต
  • Members
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2006 - 02:30 PM

สาธุๆๆคร้าฟฟ
ดีเหลือเกิน

#9 Jengiskhan

Jengiskhan
  • Members
  • 560 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กุงเท่

โพสต์เมื่อ 26 May 2006 - 10:00 PM

ขอบคุณครับ ข้อมูลแน่นดีจริงๆ


#10 Sareochris

Sareochris
  • Members
  • 207 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:-
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 06:26 PM

จากมหาปณิธานสูตร พุทธปรัชญามหายาน ,วศิน อินทสระ

พระโพธิสัตว์จะต้องมีการตกลงใจอันแน่วแน่ มั่นคง เรียกว่า มหาปณิธาน4 ประการ คือ

1)เราจะต้องโปรดสัตว์โลกทั้งหลายให้หมดสิ้น จะช่วยสัตว์เหล่านั้นให้พ้นทุกข์ พระโพธิสัตว์กำหนดรู้ทุกข์แห่งตนแล้ว เอาตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ย่อมเห็นชัดว่า สัตว์เหล่าอื่นก็เต็มไปด้วยความทุกข์เช่นกัน เหมือนคนไข้ที่โรงพยาบาลเดียวกัน คือ โลกนี้

2)เราจะต้องทำลายทุกข์และสาเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้น ทั้งกิเลสมาร เทวบุตรมาร และช่วยผู้อื่นทำลายกิเลสด้วย เหมือนคนเป็นโรคอยู่รู้ถึง พิษ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งโรคแล้วพึงกำจัดเสีย ไม่ให้ไปก่อโรคแก่ผู้อื่นอีก

3)เราจะต้องศึกษาพระธรรมทั้งหมดให้เจนจบ และช่วยผู้อื่นได้ศึกษาด้วยเปรียบเหมือนการศึกษาวิธีป้องกันโรคและวิธีกำจัดโรค ใครศึกษาล่วงหน้าไปก่อนก็ต้องพยายามช่วยผู้อื่นที่เริ่มศึกษาภายหลัง ให้รู้ครบถ้วน ทั่วทั้งใบไม้ในป่า

4)เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิให้จงได้ และช่วยให้ผู้อื่นได้ศึกษาด้วยเปรียบเหมือนผู้ที่มุ่งการหายจากโรคด้วยตนเองแล้ว ปราถนาช่วยเหลือผู้อื่นให้หายโรค



#11 bambam

bambam
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 09:48 AM

ชอบถ้อยคำ ใต้กระทู้จัง