ไปที่เนื้อหา


* * * * * 3 คะแนน

ศีลข้อ 3


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 21 April 2005 - 07:52 PM

มีคำถามค่ะ

ในสังคมที่การเข้าพิธิแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้เป็นกฏระเบียบที่เข้มงวด
แต่การรักกันและอาศัยอยู่ด้วยกันโดยความตกลงของทั้ง 2 ฝ่ายและการสัญญาด้วยกันว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันนั้น ได้ถูกใช้แทนการเข้าพิธีแต่งงานหรือการจดทะเบียนสมรส

ในกรณีนี้ผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยานั้นถือว่าผิดศีลหรือไม่
จะเอาอะไรมาวัดว่านี่เป็นสามีหรือภรรยาของตน หรือนี่คือคู่ครองของตน และ

อย่างไรถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 3 ค่ะ
ขอบคุณค่ะ

#2 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 21 April 2005 - 08:32 PM

กาเมสุ มิจฉาจาราเวรมณี
เว้นจากประพฤติผิดในกาม หมายความว่า ไม่ประพฤติผิด
ทางประเวณี คือไม่เสพเมถุนธรรม ในหญิง ๓ ประเภท และในชาย
๒ ประเภท. ชายมีภรรยาไม่ฝืนสทารสันโดษ, หญิงมีสามีไม่นอกใจสามี,
หญิงโสดมีผู้ปกครองไม่นอกใจท่าน.

หญิง ๓ ประเภท
๑. สสฺสามิกา หญิงมีสามี คือหญิงที่อยู่กินกับชายอื่นโดยฐาน
เป็นภรรยาอย่างเปิดเผย จะแต่งงานหรือไม่แต่งก็ตาม. ส่วนหญิงที่เป็น
ภรรยาลับของชายอื่นก็สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้

๒. มาตาทิริกฺขิตา หญิงที่มารดาเป็นต้นรักษา หมายถึงหญิงผู้อยู่
ในพิทักษ์รักษาของท่าน เช่น พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อาว์ น้อง ญาติ
หรือผู้หลักผู้ใหญ่ปกครองดูแลอยู่.

๓. จาริตฺตธมฺมรกฺขิตา หญิงที่จารีตและธรรมรักษา หมายถึง
๓ จำพวก คือ:-
ก. หญิงที่เป็นเทือกเถาของตน คือ ย่าทวด - ยายทวด, ย่า
- ยาย, แม่. และหญิงที่เป็นเหล่ากอของตน คือ ลูกสาว หลานสาว
เหลนสาว. (นี้ชื่อว่า จาริตฺตรกฺขิตา หญิงที่จารีตรักษา)
ข. หญิงที่อยู่ใต้บัญญัติทรงพระศาสนา คือ ภิกษุณี สามเณรี
ชี อุบาสิกาผู้รักษาอุโบสถศีล หรือหญิงในศาสนาอื่นที่มีข้อห้ามเสพเมถุน.
ค. หญิงที่มีกฎหมายทางบ้านเมืองห้ามสมสู่.
(ทั้ง ข. และ ค. นี้ ชื่อว่า ธมฺมรกฺขิตา หญิงที่ธรรมรักษา)


ชาย ๒ ประเภท
๑. สภริโย ชายมีภรรยา หมายถึงชายที่ยังมีหญิงอื่นเป็นภรรยา
อยู่อย่างเปิดเผย เขาจะแต่งงานหรือไม่แต่งก็ตาม.

๒. จาริตฺตธมฺมรกฺขิโต ชายที่จารีต และธรรมรักษา, หมายถึงชาย
๒ จำพวก คือ:-
ก. ชายที่เป็นเทือกเถาของตนคือ ปู่ทวด - ตาทวด, ปู่ - ตา,
พ่อ. และชายที่เป็นเหล่ากอของตน คือ ลูกชาย หลานชาย เหลนชาย.
ข. ชายที่อยู่ใต้บัญญัติทางศาสนา คือ ภิกษุ สามเณร อุบาสก
ผู้รักษาอุโบสถศีล. หรือชายผู้ถือศาสนาอื่นที่มีข้อห้ามเสพเมถุนธรรม.

รวมความว่า
๑. ชายไม่ร่วมประเวณีในหญิง ๓ ประเภท ดังที่กล่าวแล้ว.
๒. หญิงไม่ร่วมประเวณีในชาย ๒ ประเภท ดังที่กล่าวแล้ว.
๓. ชายมีภรรยาไม่ฝืนสทารสันโดษ คือยินดีเฉพาะภรรยาของตน
เสพหญิงอื่น นอกจากหญิง ๓ ประเภท ไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร แต่
" สทารสันโดษ " จึงไม่ควรเสพแม้หญิงอื่น.
๔. หญิงมีสามีไม่นอกใจสามี. คือไม่ร่วมประเวณีกับชายอื่นนอก-
จากสามีตน.
๕. หญิงโสดมีผู้ปกครอง ไม่นอกใจท่าน คือเมื่อผู้ปกครองมิได้
ยินยอม ก็ไม่ร่วมประเวณีกับชายโสด
ทั้งหมดเหล่านี้ ชื่อว่า เป็นผู้เว้นจากประพฤติผิดในกาม.

ประพฤติผิดในกามมีองค์ ๓ คือ:-
๑. หญิง - ชาย ที่ตนไม่ควรร่วมประเวณี
๒. จิตคิดจะร่วม ฯ
๓. ทำการร่วม ฯ.

แม้การเกี้ยวพาราสี จับมือถือแขน หรือเพียงแต่เล่นหูเล่นตา หรือ
แสดงพฤติกรรมเยี่ยงชู้สาว ก็สงเคราะห์เข้ากับการประพฤติผิดในกามด้วย.
การร่วมประเวณี ศีลขาด, ถ้าไม่ร่วม, แต่เกี้ยวพาราสีเป็นต้น ศีลไม่ขาด
แต่ก็ด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรประพฤติ.

#3 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 21 April 2005 - 08:50 PM

ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร
ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป
คำว่า กาเมสุ ได้แก่ การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิต
ติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่
เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์
อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.
อคมนียฐาน ๒๐
ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง ๒๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่มารดารักษา
เป็นต้น ๑๐ จำพวกแรก คือ
๑. หญิงที่มารดารักษา
๒. หญิงที่บิดารักษา
๓. หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่ตระกูลรักษา
๘. หญิงที่มีธรรมรักษา
๙. หญิงที่รับหมั้นแล้ว
๑๐. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง
และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ
๑. ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์
๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
๓. ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ
๔. ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า
๕. ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ (จุ่มน้ำ)
๖. ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ
๗. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน
๘. ภรรยาที่จ้างมาทำงาน
๙. ภรรยาที่เป็นเชลย
๑๐. ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง
หญิง ๒๐ จำพวกนี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย หญิง ๑๒ จำพวก ที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือ หญิงที่รับ
หมั้นและกฎหมายคุ้มครองแล้วรวม ๒ จำพวก และหญิงที่เป็นภรรยา ๑๐ จำพวก
มีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น นี้ ชื่อว่า อคมนียฐาน.
ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย ก็เพราะอคมนียฐานเว้นจาก
คุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า มีโทษมาก ในเพราะอคมนียฐานถึงพร้อมด้วยคุณ
มีศีลเป็นต้น มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ
๑. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
๒. ตสมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึง
มรรค)
ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือ สาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.

#4 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 22 April 2005 - 11:07 AM

น่าสนใจดีค่ะ มี version ภาษาชาวบ้านบ้างไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ

#5 *ผ่านมา*

*ผ่านมา*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 April 2005 - 09:18 PM

มีคำถามค่ะ

ในสังคมที่การเข้าพิธิแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสนั้นไม่ได้เป็นกฏระเบียบที่เข้มงวด
แต่การรักกันและอาศัยอยู่ด้วยกันโดยความตกลงของทั้ง 2 ฝ่ายและการสัญญาด้วยกันว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันนั้น ได้ถูกใช้แทนการเข้าพิธีแต่งงานหรือการจดทะเบียนสมรส

ในกรณีนี้ผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยานั้นถือว่าผิดศีลหรือไม่

สำหรับหญิงโสด
1. ถ้าหญิงมีบิดามารดาหรือญาติรักษาอยู่ก็ผิดศีล (เพราะมีญาติรักษาอยู่ แม้ฝ่ายหญิงจะเต็มใจก็ตาม)
2.ถ้าเป็นหญิงที่จารีตและธรรมรักษา ก็ผิดเหมือนกัน (มีนักบวชแม่ชีเป็นต้น)

สำหรับหญิงมีสามี
1.จะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ตามเมื่อชายมีความสัมพันธ์ด้วยก็ผิด

จะเอาอะไรมาวัดว่านี่เป็นสามีหรือภรรยาของตน หรือนี่คือคู่ครองของตน และ

1.หญิงต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนจะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ตามก็ถือว่าเป็นคู่ครองของตัวแล้ว

อย่างไรถึงจะเรียกว่าผิดศีลข้อ 3 ค่ะ
ขอบคุณค่ะ


มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ
๑. ชายหรือหญิงที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง เพราะเขามีเจ้าของหรือผู้ปกครองดูแลอยู่
๒. มีจิตคิดจะมีเพศสัมพันธ์กัน
๓. พยายามมีเพศสัมพันธ์กัน
๔. องค์กำเนิดจรดกัน
เมื่อครบองค์ ๔ อย่างนี้ศีลขาดทันที..

แม้การเกี้ยวพาราสี จับมือถือแขน หรือเพียงแต่เล่นหูเล่นตา หรือ
แสดงพฤติกรรมเยี่ยงชู้สาว ก็สงเคราะห์เข้ากับการประพฤติผิดในกามด้วย.
การร่วมประเวณี ศีลขาด, ถ้าไม่ร่วม, แต่เกี้ยวพาราสีเป็นต้น ศีลไม่ขาด
แต่ก็ด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรประพฤติ.

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 25 April 2005 - 04:27 AM

การล่วงกาเมสุมิจฉาจาร (มาจากคำว่า "กาเมสุ" คำว่า "มิจฉา" คำว่า "จรหรือจาร" รวมเข้าด้วยกัน โดยนัยว่า กาเมสุ หมายถึง การเสพเมถุน การร่วมสังวาส การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (SEX INTERCOURSE)ฯลฯ มิจฉา แปลว่า ลามก เลวทราม อัน(เป็นการกระทำที่)บัณฑิตพึงติเตียน ส่วนคำว่า จารหรือจรนั้น แปลว่า เที่ยวไป เมื่อรวมเป็นกาเมสุมิจฉาจาร จึงแปลว่า "การเที่ยวไปประพฤติลามกด้วยเมถุนกรรมอันบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน" )นั้น ในส่วนขององค์ทั้ง ๔ ประการ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หากกระทำผิดครบองค์ทั้ง ๔ โดยบริบูรณ์ (สำเร็จด้วย "กายปโยคะ" (ความพยายามทางกาย) แต่เพียงฝ่ายเดียว มิใช่ด้วยวาจาหรือใจ) แล้วถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ ในส่วนขององค์ข้อที่ ๓ "ปโยโค" ที่แปลว่า มีความพยายามในการเสพเมถุนธรรมนั้น แม้ผู้เสพฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมิได้ใช้ความพยายาม แต่พลอยสำเร็จในกิจนั้นด้วยกัน ทั้งยังมีจิตกำหนัดยินดีร่วมด้วย ก็ถือเป็นการก้าวล่วงกาเมสุมิจฉาจารเช่นกัน สำหรับในส่วนของ "อคมนิยวัตถุหรืออคมนิยฐาน" คือ วัตถุอันไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ๒o ประเภทนั้น (ในที่นี้หมายเอา หญิงหรือชายที่ไม่ควรเกี่ยวข้องและเสพเมถุนธรรมด้วย) กระผมขออธิบายเพิ่มเติมเป็นภาษาอย่างง่าย ดังนี้

อคมนิยวัตถุ ๒o ประกอบด้วยหญิงหรือชายที่
๑.) มีมารดาปกครอง เพราะบิดาตายและ/หรือแยกจากกันไป
๒.) มีบิดาปกครอง เพราะมารดาตายและ/หรือแยกจากกันไป
๓.) อยู่ในปกครองของทั้งบิดาและมารดา
๔.) มีพี่สาวหรือน้องสาว ดูแลรักษา
๕.) มีพี่ชายหรือน้องชาย ดูแลรักษา
๖.) มีญาติเป็นผู้ปกครอง
๗.) มีบุคคลในวงศ์ตระกูลหรือเชื้อชาติเดียวกันเป็นผู้ปกครองดูแล อาทิ คนที่ไปอยู่ต่างประเทศซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของสถานฑูต
๘.) มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง อาทิ อยู่ในเพศพรหมจรรย์ แล้วมีหัวหน้าสำนัก/เจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลรักษา
๙.) ผู้มีอำนาจจองตัวไว้
๑o.) มีผู้หมายมั่นไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือมีคู่หมั้นแล้ว
๑๑.) เป็นผู้ถูกผู้อื่นซื้อหรือถูกไถ่ตัวไว้แล้ว โดยหญิงหรือชายผู้ถูกซื้อ/ไถ่ตัวนั้น ยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครอง
๑๒.) เป็นผู้สมัครใจไปอยู่เป็นสามีภรรยากับผู้อื่นอยู่ก่อนแล้ว
๑๓.) เป็นฝ่ายยินยอมเป็นสามีภรรยาของผู้อื่น ด้วยปรารถนาทรัพย์ศฤงคาร
๑๔.) เป็นฝ่ายยินยอมเป็นสามีภรรยาของผู้อื่น ด้วยปรารถนาเครื่องนุ่งห่ม
๑๕.) แต่งงาน (โดยผ่านการประกอบพิธีแล้ว)
๑๖.) เป็นสามีภรรยาของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือให้พ้นจากความยากลำบาก
๑๗.) เป็นเชลยของผู้อื่น และตกไปเป็นภรรยา/สามีของผู้เป็นเจ้าของเชลยนั้น
๑๘.) เป็นลูกจ้าง และตกเป็นภรรยา/สามีของนายจ้าง
๑๙.) เป็นทาส และตกเป็นภรรยา/สามีของเจ้าของทาส
๒o.) เป็นภรรยา/สามีชั่วคราวของผู้ว่าจ้าง


จากอคมนิยวัตถุดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ว่า บุคคลประเภทที่ ๑-๘ หากยังมิได้เป็นภรรยา/สามีของผู้ใด ตนเองย่อมมีสิทธิในร่างกายของตน หากยินยอมมอบกายให้เป็นภรรยา/สามีแก่ผู้ใด ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ แต่ทั้งนี้อาจมีโทษถูกทางโลกตำหนิติเตียน (ที่เรียกกันเป็นภาษาพระว่า "โลกวัชชะ") ให้เป็นที่อับอายและนำมาซึ่งความโทมนัส คับแค้นใจมาสู่ตน ทำให้จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมเข้าสู่กำเนิดแห่งจตุรบายภูมิทั้ง ๔ มีอบาย (กำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉาน) ทุคติ (กำเนิดในเปตติวิสยภูมิ) วินิบาต (กำเนิดแห่งอสุรกาย) นรก (กำเนิดในนิรย/นรกภูมิ) เป็นต้น สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายล่วงเกินในบุคคลทั้ง ๘ จำพวกดังกล่าวข้างต้น โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ยินยอมนั้น ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถทั้งสิ้น

สำหรับชายหรือหญิงซึ่งเป็นบุคคลในประเภทที่ ๙-๒o ถือว่าเป็นผู้มีภรรยาและสามีแล้ว หากนอกใจคู่ครองของตนแม้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว (แม้ในสัตว์เดรัจฉานก็ให้ล่วงประเวณีไม่ได้ ดังตัวอย่างของพระนางมัลลิกาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งได้ล่วงกรรมบถข้อนี้กับสุนัขเพศผู้ในห้องน้ำ เมื่อทำกาละแล้วได้ไปบังเกิดใน "อเวจีมหานรก" เป็นเวลา ๗ วันในเมืองมนุษย์ โดยกุศลกรรมที่พระนางได้ทรงกระทำบำเพ็ญไว้อย่างมากมายเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ยังมิอาจทัดทานได้) อีกทั้งมีจิตกำหนัดยินดีและยินยอมให้ผู้อื่นล่วงเกินด้วยแล้ว ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เป็นอันได้ล่วงกาเมสุมิจฉาจารทั้งสิ้น ในกรณีที่เป็นหญิงนครโสเภณี/หญิงงามเมืองนั้น เมื่อมีผู้จองตัวโดยชำระเงินไว้ก่อนแล้ว แต่ยังมิได้ประกอบกามกิจให้สำเร็จลง และในระหว่างนั้น หากได้ไปรับสินจ้างและยินยอมให้ผู้อื่นร่วมประเวณีด้วยแล้ว ก็ถือว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจารเช่นเดียวกัน

สำหรับฝ่ายชายหากมีภรรยาหรือคู่หมั้นอยู่ก่อนแล้ว และได้นอกใจภรรยาไปล่วงกาเมสุมิจฉาจารกับหญิงอื่น โดยเฉพาะหญิงที่เป็นภรรยาหรือคู่หมั้นของผู้อื่น จัดเป็นกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนหญิง/ชายที่เสพเมถุนธรรมในระหว่างเพศเดียวกัน ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ หากแต่เป็นมิจฉาธรรมะ ถูกทางโลกตำหนิติเตียนฯลฯ อีกมากดังที่กระผมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

การพิจารณาตามโทษานุโทษ มีดังนี้
๑.) หากล่วงเกินแก่ผู้มีศีลธรรม "ที่มิได้มีความกำหนัดยินดีด้วย" ย่อมมีโทษหนัก
๒.) หากล่วงเกินแก่ผู้ไม่มีศีลธรรม แม้ไม่เต็มใจยินยอม มีโทษหนักเช่นกันแต่เบาลงมาจากประเภทแรก
๓.) หากทำการล่วงเกินด้วยวิธีการใช้กำลังข่มขู่ เบียดเบียน ทำร้าย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้มีศีลธรรมหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีโทษมาก
๔.) หากทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ล่วงละเมิดและถูกล่วงละเมิดมีความยินยอมต่อกัน ย่อมมีโทษเบา
๕.) ในระหว่างปุถุชนและพระอริยะเจ้า (ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไป) การล่วงเกินต่อปุถุชนย่อมมีโทษเบากว่า สำหรับในระหว่างพระอริยบุคคลด้วยกันนั้น โทษจะหนัก/เบานั้น ขึ้นอยู่กับลำดับของคุณธรรมที่ท่านได้บรรลุ โดยการล่วงละเมิดต่อพระอรหันต์ขีณาสพย่อมมีโทษหนักอย่างร้ายแรงเป็น "ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม" (กรรมที่ส่งผลเป็นปัจจุบันทันตาเห็น) ดังเช่น นายนันทมานพผู้ล่วงเกินต่อพระอุบลวรรณาเถรีอัครมหาสาวิกา (เบื้องซ้าย) ต้องได้รับวิบากผลถึงถูกธรณีสูบ ไปบังเกิดในอเวจีมหานรกทันที เมื่อลับคลองจักษุของพระมหาเถรีนั้นแล้ว


อย่าลืมนะครับ!!! "บาปแม้เพียงนิดอย่าคิดทำ บุญแม้เพียงหน่อยทำไปเถิดประเสริฐนัก ดีที่สุดเมื่อ "ใจหยุด" องค์พระผุดขึ้นมาทีละองค์"
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#7 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 26 April 2005 - 06:22 PM

ขอโทษนะค่ะ พออ่านที่ผู้ตอบหลาย ๆ ท่านได้กรุณาตอบมาแล้ว รู้สึกว่าตนเองมีความขัดแย้งกันในใจ อาจเป็นด้วยปัญญาที่ต่ำต้อยของดิฉัน จึงรบกวนขอความกระจ่างอีกครั้งหนึ่งค่ะ

จากคำตอบของคุณ เกียรติก้องธรณินทร์

ข้อสงสัย 1. หญิง ประเภทที่ 1 - 8

QUOTE
จากอคมนิยวัตถุดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ว่า บุคคลประเภทที่ ๑-๘ หากยังมิได้เป็นภรรยา/สามีของผู้ใด ตนเองย่อมมีสิทธิในร่างกายของตน หากยินยอมมอบกายให้เป็นภรรยา/สามีแก่ผู้ใด ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ แต่ทั้งนี้อาจมีโทษถูกทางโลกตำหนิติเตียน (ที่เรียกกันเป็นภาษาพระว่า \"โลกวัชชะ\") ให้เป็นที่อับอายและนำมาซึ่งความโทมนัส คับแค้นใจมาสู่ตน ทำให้จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมเข้าสู่กำเนิดแห่งจตุรบายภูมิทั้ง ๔ มีอบาย (กำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉาน) ทุคติ (กำเนิดในเปตติวิสยภูมิ) วินิบาต (กำเนิดแห่งอสุรกาย) นรก (กำเนิดในนิรย/นรกภูมิ) เป็นต้น สำหรับผู้ที่เป็นฝ่ายล่วงเกินในบุคคลทั้ง ๘ จำพวกดังกล่าวข้างต้น โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้ยินยอมนั้น ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถทั้งสิ้น

แสดงว่า หากชายได้เสพกามกับหญิงตามประเภทที่ 1 - 8 นั้นไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพียงแต่ด่างพร้อย หรือค่ะ

ข้อสงสัย 2. ชายเสพกามกับชาย หรือ หญิงเสพกามกับหญิง

QUOTE
ส่วนหญิง/ชายที่เสพเมถุนธรรมในระหว่างเพศเดียวกัน ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ หากแต่เป็นมิจฉาธรรมะ ถูกทางโลกตำหนิติเตียนฯลฯ อีกมากดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วข้างต้น



แสดงว่าไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพียงแต่ด่างพร้อย เช่นเดียวกับข้อ 2 หรือค่ะ

ขอบคุณค่ะ


#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 April 2005 - 07:45 AM

ผมว่า คำตอบของคุณ Z ชัดเจนแล้วครับ
มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ
๑. อคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง) (ผมว่าต้องทั้ง 20 หัวข้อเลยครับ ไม่มียกเว้น)
๒. ตสมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึง
มรรค)
เพราะฉะนั้น ผิดศีลครับ ตัวอย่างจริง ในสมัยพุทธกาล ก็มีชายคนหนึ่งไปข่มขืนภิกษุณีที่เป็นอรหันต์ (ซึ่งจัดอยู่ในประเภทที่ 8) ผลแห่งการผิดศีลนั้น ดึงลงนรกทันทีครับ ต่อมาพระพุทธเจ้า จึงให้ภิกษุณีต้องมาสร้างที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดของภิกษุ เพื่อจะได้ช่วยกันดูแลครับ

ส่วนถ้าเพศเดียวกัน ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ใจเศร้าหมองครับ เมื่อใดใจหมอง อบายเป็นที่ไป
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 02:36 AM

การที่กระผมได้มาอรรถาธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของ "อคมนียวัตถุ ๒o ประการ" ในครั้งก่อนนั้น ก็เพราะเห็นว่าภาษาที่คุณ "Z" ใช้ในการบรรยายนั้น เป็นภาษาพระที่อาจทำให้ผู้อ่านบางท่าน (ที่ยังมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไม่ดีพอ) ทำความเข้าใจตามได้ยาก อาทิ คำว่า "สาหัตถิกะปโยคะ อันแปลว่า ความเพียรที่ยังให้ถึงพร้อมด้วยน้ำมือของตนเอง" (มาจากคำว่า สะ แปลว่า พร้อม หัตถะ แปลว่า มือ และปโยคะ แปลว่า ความพยายาม) "ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า และภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ" เป็นต้น เพราะคุณจะต้องไม่ลืมนะครับว่า webboard แห่งนี้ ค่อนข้างเปิดกว้างอย่างเสรี ฉะนั้น กระผมเองก็อยากจะฝากเตือนทุกๆ ท่านที่เข้ามาโพสต์ตอบกระทู้ทุกท่านว่า การตอบกระทู้โดยแสดงเหตุผลในเชิงคัดค้าน/ไม่เห็นด้วยนั้น ควรที่จะอ่านถ้อยกระทงคำถามและอ่านกระทู้ที่กัลฯ ทั้งหลายได้เข้ามาโพสต์ตอบไว้ก่อนหน้านี้ให้เข้าใจเสียก่อน และเรื่องใดที่เรายังไม่มีความชำนาญพอ และรู้/เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว การตอบกระทู้ พึงหลีกเลี่ยงคำว่า "น่าจะเป็น/คงจะเป็นเช่นนั้น" (และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอบถามความรู้เหล่านั้นกับผู้รู้แท้ ที่เป็นผู้มีความชำนาญทั้งในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ให้เข้าใจอย่างกระจ่างได้ตลอดหมดเสียก่อน) เพราะการตอบเช่นนี้ได้แสดงถึงความไม่แน่ใจของคุณ หรือถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือ ตัวคุณเองก็ยังไม่แม่นจริงในเรื่องนี้ และขอย้ำอีกครั้งว่า อกุศลกรรมบถในเรื่องของ "กาเมสุมิจฉาจาร" นั้น เน้นในเรื่องของ การประพฤติผิดประเวณีที่มีต่อคู่ครองของตนเป็นหลัก (ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า "เป็นการประพฤติผิดต่อบุคคลอันมีเจ้าของ (ในที่นี้ หมายเอาการเป็นคู่ครองของกันและกัน มิใช่เจ้าของในลักษณะ "ผู้ปกครอง") และ/หรือผู้มีอำนาจได้จองตัวเอาไว้แล้ว") ซึ่งเมื่อพิจารณาจากอคมนียวัตถุใน ๘ จำพวกแรกแล้วนั้น แม้จะเป็นบุคคลที่อยู่ในการปกครองแล้วก็ตาม แต่ทว่า ยังมิได้มีการหมั้นหมาย การจำนองจองตัว การจดทะเบียนสมรส ตลอดจนการประกอบพิธีแต่งงาน (ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็น/มีเจ้าของโดยสมบูรณ์ทั้งสองฝ่ายตามกำหนดกฎหมาย) ฉะนั้น "ตนเองย่อมมีสิทธิในร่างกายแห่งตนโดยสมบูรณ์" อีกทั้งยังมิได้เป็นภรรยา/สามีของผู้ใด ดังนั้น หากยินยอมมอบกายให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดไม่ว่าชาย/หญิง แม้จะเป็นไปในลักษณะของ "รักสนุกชิงสุกก่อนห่าม" ก็ตาม ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถแต่อย่างใด แต่หากเป็น "มิจฉาธรรมะ" คือ เป็นธรรมอันเลวทรามและเป็นบาปอกุศล (เพราะโดยปกติการประกอบเมถุนธรรมในระหว่างคู่ (สามี-ภรรยา) มนุษย์ชาย-หญิงนั้น ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เนื่องจากเป็นการธำรงค์ไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ และไม่จัดเป็นการกระทำที่สกปรกอุลามกแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะเป็นไปตามธรรมดาแห่งโลก) เพราะมิได้เป็นไปตามธรรมดาของโลก เมื่อย่างเข้าใกล้มรณาสันวิถี หากภาพเหล่านี้มาปรากฏให้เห็นเป็นกรรมนิมิตตารมณ์ ดวงจิตก็จะเศร้าหมองไม่ผ่องใส และย่อมเป็นไปตามวิถีแห่งกรรม ดังที่กระผมได้พรรณาไว้แล้วก่อนหน้านี้ (ถึงคนรุ่นหนุ่มรุ่นสาว และแขกผู้เยี่ยมชมทุกท่าน หากอ่านบทความของกระผมมาถึงตรงนี้แล้ว ก็ให้ท่องไว้ในใจเลยนะครับว่า "มันเป็นของรักนะ ไม่ใช่เป็นของลองเล่น")

สำหรับกรณีของบุคคลประเภทที่ ๘ (ผู้ประพฤติพรหมจรรย์) ดังเรื่องของพระนางอุบลวรรณาเถรีที่กระผมได้เล่าไปเมื่อครั้งที่แล้ว และคุณหัดฝันได้นำมาโพสต์ตอบเมื่อครั้งก่อน และบอกด้วยว่า "ผิดศีล" นั้น ก็เพราะบุคคลที่จัดเข้าในอคมนียวัตถุข้อ ๑-๘ นี้ การก้าวล่วงกรรมบถจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ "ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิยินยอมต่ออีกฝ่าย" ส่วนในกรณีขององค์อัครมหาสาวิกาผู้นี้ เนื่องด้วยท่านเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ย่อมมีดวงจิตอันเป็นเปรียบประดุจดั่งใบบัว ที่หยดน้ำอันเป็นประหนึ่งดั่ง "เบญจกามคุณ" มิอาจกำซาบได้ แน่นอนที่ท่านจะต้องไม่มีความอาลัย/ยินดีในเบญจกามคุณอันใดเลย ฉะนั้น กรณีของนายนันทมานพ จึงเห็นได้ชัดเลยว่า เป็นการกดขี่ ขืนใจ และใช้กำลังบังคับข่มขู่ โดยที่พระมหาเถรีนั้นมิได้ยินยอมด้วย จึงก้าวล่วงกรรมบถข้อ "กาเมสุมิจฉาจาร" อย่างเต็มที่ และได้ถูกธรณีสูบไปบังเกิดใน "อเวจีมหานรก"


"ผู้ชี้โทษ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้"

เมื่อดวงอาทิตย์อุทัย ย่อมไขแสงขึ้นก่อน เป็นบุพพนิมิตแห่งอรุณรุ่ง ฉันใด
"ความเป็นกัลยาณมิตร" ก็เป็นบ่อเกิด เป็นเบื้องต้น แห่งการบังเกิดขึ้นของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น (เพราะ กัลยาณมิตรนี้ "เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์")


#10 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 May 2005 - 12:48 PM

ต้องขออภัย ไม่ได้มีเจตนาจะแย้งอะไรคุณหรอกครับ คือ เป็นเพราะว่าผมไม่เคยได้ยินเรื่อง ผู้ยกเว้น 8 จำพวก จึงได้ลองไปค้นดูบ้าง เผอิญเจอในเว็บนี้นะครับ ว่าศีลข้อนี้ เว้นจากการประพฤติผิดในบุตร(รวมถึงคนในความปกครอง เช่น สมณะ) ภรรยา สามีของผู้อื่น
ซึ่งถ้าข้อมูลต่างกัน เช่นนี้ ผมว่า อาจเป็นไปได้ว่า ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี การแปลมาเป็นภาษาไทย ก็อาจจะมีข้อแตกต่างกัน แต่เดี๋ยวผมจะลองไปดูในหนังสือ จากความทรงจำ เล่ม 2 (ซึ่งว่าด้วยเรื่องศีล) ของป้าถวิล ดูบ้างนะครับ เผื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติม

http://84000.org/tip...k/bookpn02.html
การรักษาศีลข้อ ๑ คือการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ทั้งด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่าแทนตน
เป็นการให้ชีวิตแก่สัตว์ทั้งปวง
การรักษาศีลข้อ ๒ คืองดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ เป็นการให้ความ
ปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ ๓ คือการงดเว้นจากการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น เป็นการให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ ๔ คือการงดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นการให้ความจริงแก่ผู้อื่น
การรักษาศีลข้อ ๕ คือการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย และสิ่งเสพติดอันเป็นโทษทุกชนิด
เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สิน
ของผู้อื่น ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ให้ความจริงแก่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะผู้ที่มึนเมาเพราะ
สุราเป็นต้น ย่อมขาดสติ สามารถทำความชั่วได้ถึงที่สุด คือฆ่าแม่ฆ่าพ่อก็ได้ เพราะฉะนั้นการงดเว้นจาก
การเสพสิ่งเสพติด มีโทษเหล่านี้จึงเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง

ศีลข้อ ๓ มีองค์ ๔ คือ
๑. อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรถึง (คือชาย หรือหญิงที่มีเจ้าของ หรือมีผู้คุ้มครองดูแลรักษา)
๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ
๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ อธิวาสนํ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#11 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 04 May 2005 - 08:38 PM

น้อมรับไว้พิจารณาทุกกรณีขอรับ หากกระผมเองมีข้อบกพร่องและผิดพลาดประการใด ก็ต้องขอประทานอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#12 pim072

pim072
  • Members
  • 16 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 October 2005 - 11:51 PM

สวัสดีค่ะ...ขอตอบแบบภาษาชาวบ้าน กันเองกันเองนะคะ
สำหรับศีลข้อ 3 หากตีความตามสภาพสังคมในปัจจุบัน บางท่านอาจมีข้อสงสัยมากมายว่า ผิดหรือไม่ผิด ศีลขาดหรือแค่เพียงพร่อง ตีความอย่างไรจึงถูกต้อง...
ยิ่งคิดก็ยิ่งสับสน..เคยได้ฟังคำตอบจากคุณครูไม่ใหญ่ที่ตรงใจและสำคัญอย่างมากคือ ...น้อยนักที่จะไม่ผิด อย่ามัวค้นหาเลยค่ะว่ายุ่งเกี่ยวกับบุคคลประเภทใดจึงจะไม่ผิดศีล ฉะนั้นการหลีกเลี่ยงการประพฤติผิดศีลข้อ 3 ที่ดีที่สุด ชัวร์ที่สุด คือการประพฤติพรรมจรรย์ค่ะ
**กาม--มีคุณน้อย มีโทษมาก แต่ก็มีคุณเพียงอย่างเดียว คือ การให้กายมนุษย์สำหรับผู้มีบุญมาเกิด
**การละเว้นจากกามย่อมมีคุณ และเป็นหนทางในการสร้างบารมีที่ดีที่สุดค่ะ

#13 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 17 October 2005 - 12:25 PM

อาภรณ์ชุดสุดท้าย กาสายะ
ชีพสุดท้าย คือ "พระ" ผ่องแผ้ว
วิชชาสุด คือ "ธรรมะ" พุทธเจ้า
จารจดไว้ลูกแก้ว จักแคล้ว บ่วงมาร

(ตะวันธรรม : ประพันธ์)


#14 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 31 January 2007 - 11:49 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ