ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ธรรมคติจากพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตอนที่ ๑


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 January 2006 - 02:53 PM

ธรรมคติจากพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 เมษายน 2546 14:29 น.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

มาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ โดยสมัยที่ทรงศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนจิตรลดา

ได้เสด็จฯไปสดับเทศน์มหาชาติตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ วัน

และทรงรับเป็นเจ้าภาพกัณฑ์กุมารด้วย ทรงอ่านชาดกครบทั้ง ๕๔๗ เรื่อง อีกทั้งยังทรงสามารถท่องบทอาราธนาศีล

บทอาราธนาธรรม และบทอาราธนาพระปริตร ได้อย่างชัดเจนแม่นยำ

ความที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านภาษาไทยโดยเฉพาะทางร้อยแก้วและร้อยกรองเป็นเลิศนั้น

ได้ทรงสอดแทรกหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านบทพระราชนิพนธ์ในรูปแบบต่างๆ มากมาย

ทั้งเรียงความ บทความ เรื่องสั้น และสารคดี

ดังจะขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ‘ความสุข’, ‘วัดที่ข้าพเจ้าชอบ’ และ ‘สายไปเสียแล้ว’ ที่ได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ‘สารสายใจไทย’

ฉบับพิเศษ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ และบทพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘ถ้าแม้นไม่ทำดีในแดนดิน จะถวิลถึงสวรรค์นั้นอย่าหา’

และ ‘ว่าด้วยสำเภาในการเทศน์มหาชาติ’ ที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือ ‘๓ รอบ จิตรลดารวมใจ’ ฉบับพิเศษ พ.ศ.๒๕๓๔

ซึ่งพระองค์ได้ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนจิตรลดา มาถ่ายทอดอีกวาระหนึ่ง

เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้ร่วมชื่นชมพระปรีชาสามารถและซึมซับหลักธรรมผ่านบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

‘เจ้าฟ้าหญิง’ ผู้ทรงอยู่ในหัวใจของชาวไทยตลอดกาล

ความสุข
[b]

เมื่อต้นเทอมนี้ ข้าพเจ้าได้เรียนวรรณคดีเรื่องความสุข ซึ่งผู้แต่งคือพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)

ซึ่งหนังสือเล่นนั้นกล่าวถึงความสุขในสมัยเด็กและสมัยเป็นผู้ใหญ่ ทั้งในคดีโลกและคดีธรรมตามความคิดเห็นของท่านผู้แต่ง

อาจารย์ผู้สอนยังให้ตอบคำถามท้ายบทเพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ดีลึกซึ้งขึ้น เนื่องจากเรื่องความสุขนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง

ซึ่งถ้านำมาเป็นหัวข้ออภิปรายหรือปาฐกถาแล้วคงมีผู้สนใจไปฟังมากทีเดียว

เกี่ยวกับเรื่องความสุขนั้นเคยมีผู้ถามข้าพเจ้าว่า คำว่า “ความสุข” นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าคืออะไร ขณะนั้นหลายปีมาแล้ว

ข้าพเจ้ายังไม่พร้อมที่จะตอบคำถามนี้ เพราะไม่เคยคิดเลยว่าตนเองมีความสุขหรือทุกข์อย่างไร จึงตอบเขาเพียงสั้นๆ ว่า ความสุข

คือการกระทำใดๆ ก็ได้ที่ดี และไม่บังเกิดผลเสียที่จะทำให้เกิดความทุกข์ใจ กังวลใจในการกระทำครั้งนั้น

หลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้อีกเลย จนได้เรียนในหนังสือวรรณคดี นี่แหละ

ในปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นพ้องกับพระสารประเสริฐว่า ความสุขที่แท้จริงไม่มีในโลก มีแต่เพียง “ทุกข์น้อย” เท่านั้น

ความสุขเกิดจากความกังวล ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายที่ยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ ยังมีกิเลสอยู่ย่อมมีทุกข์หรือมีความกังวลด้วยกันทั้งสิ้น เด็กๆ

ซึ่งผู้ใหญ่มักจะกล่าวว่าสบาย มีความสุข เพราะไม่มีกังวลนั้นก็มีกังวล คือมีกังวลว่าวันนี้จะได้เล่นหรือไม่ การเรียนจะเป็นอย่างไร

ถ้าเรียนไม่ดีอาจถูกคุณพ่อคุณแม่ดุหรือตีเอา ต้องคอยกังวลที่จะเอาใจผู้ใหญ่ ทำอะไรทั้งหลายต้องทำแต่สิ่งที่ผู้ใหญ่ชอบใจ

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าซึ่งยังเป็นเด็กอยู่กังวลมากที่สุดคือเรื่องอนาคต ซึ่งอาจจะกังวลมากกว่าผู้ใหญ่เสียอีก เพราะเด็กยังมีเหตุการณ์ต่างๆ

รออยู่เบี้องหน้าอีกมากมาย (ตามปรกติ) ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ซึ่งอนาคตเหลือน้อยลงทุกทีๆ

ซึ่งเมื่อมีความกังวลมากมายนี้จะมีความสุขได้อย่างไร

ท่านอาจคิดว่าข้าพเจ้าเป็นเด็กจึงคิดเข้าข้างเด็ก แต่ไม่เห็นความทุกข์ของผู้ใหญ่บ้าง

แต่ก็นั่นแหละข้าพเจ้าจะเอาความทุกข์ของผู้ใหญ่มานั่งคิดให้หนักสมอง ทำให้ความสุข

ซึ่งในที่นี้หมายถึงทุกข์น้อยให้กลายเป็นทุกข์มากไปทำไม

เมื่อกล่าวถึงความทุกข์มากมายแค่นี้จนเกือบจะขัดกับชื่อเรื่องไปแล้ว ก็ขอย้อนมากล่าวถึงความสุขที่แท้จริง อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โมกขธรรมอันเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสุข แล้วได้เสวยวิมุตติสุขอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน

ภายหลังจึงได้ทรงออกประกาศพระศาสนาเพื่อให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ต่อไป การ

ที่พระองค์ประสบความสุขที่แท้จริงแล้วยังทรงออกมาเพื่อสั่งสอนผู้อื่นนั้นมิได้เป็นความกังวล เพราะทรงใช้เมตตาธรรม

ผู้ที่มีความรู้สติปัญญาที่จะเข้าใจได้ก็จะพ้นทุกข์และมีความสุข พวกเราทั่วๆไปนั้นหาน้อยมากหรืออาจไม่ มีเลยที่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้

แต่อาจจะใช้ธรรมนั้นเป็นเครื่องปลอบใจให้ความทุกข์น้อยลงได้บ้าง

นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ ข้าพเจ้ายังมีความเห็นเฉพาะตัวข้าพเจ้าเองว่า ความสุขของข้าพเจ้านั้น คือการทำดี ทำประโยชน์

เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ต่อสิ่งหรือบุคคลที่มีพระคุณ เช่น บิดา มารดา ประเทศชาติ ดังนั้น

ความคิดของข้าพเจ้าก็ยังมีส่วนคล้ายความคิด เมื่อหลายปีมาแล้วนั้นเอง



ข้อสอบ วิชาเรียงความ ชั้น ม.ศ. ๓



#2 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 26 January 2006 - 10:41 AM

(ยิ้ม) ทรงพระปรีชามากค่ะ
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง