ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วาจาสุภาษิตมีลักษณะอย่างไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 07:45 PM

ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต


[๑๙๘] ปฺจหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคตา

วาจา สุภาสิตา โหติ โน ทุพฺภาสิตา อนวชฺชา จ อนนุวชฺชา วิูน

กตเมหิ ปฺจหิ

[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน

วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ



กาเลน จ ภาสิตา โหติ

(๑) พูดถูกกาล

สจฺจา จ ภาสิตา โหติ

(๒) พูดคำจริง

สณฺหา จ ภาสิตา โหติ

(๓) พูดคำอ่อนหวาน

อตฺถสฺหิตา จ ภาสิตา โหติ

(๔) พูดคำประกอบด้วยประโยชน์

เมตฺตจิตฺเตน จ ภาสิตา โหติ ฯ

(๕) พูดด้วยเมตตาจิต



อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปฺจหิ องฺเคหิ สมนฺนาคตา

วาจา สุภาสิตา โหติ โน ทุพฺภาสิตา อนวชฺชา จ อนนุวชฺชา วิูนนฺติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล

เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน


อ้างอิงจาก-พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๙๘ หน้าที่ ๒๗๑.
อังคุตตรนิกาย, ปัญจกนิบาต, จตุตถปัณณาสก์, พราหมณวรรค ๕,วาจาสูตร ๘.


ข้อน่าสังเกตคือการเรียงลำดับข้อของท่าน

ผมว่ามีความสำคัญมากในการตัดสินใจว่าเราจะพูดถึงเรื่องนั้นๆ ดีหรือไม่นะครับ


#2 Jeabka

Jeabka
  • Members
  • 248 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 10:38 AM

สาธุคะ ^/\^

#3 glouy.

glouy.
  • Members
  • 605 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 04:43 PM

สาธุ คาบ

ลูกพระธรรม

#4 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 June 2008 - 10:28 AM

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้หลักอะไรในการที่จะพูดถึง หรือไม่พูดถึงเรื่องนั้นๆ


[๑๑๙] อตีตฺเจปิ จุนฺท โหติ
อภูต อตจฺฉ อนตฺถสฺหิต
น ต ตถาคโต พฺยากโรติ ฯ

(๑) ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต (อนาคต, ปัจุบัน)
ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น

อตีตฺเจปิ โข จุนฺท โหติ
ภูต ตจฺฉ อนตฺถสฺหิต
ตปิ ตถาคโต น พฺยากโรติ ฯ

(๒) ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตก็ไม่พยากรณ์ แม้สิ่งนั้น

อตีตฺเจปิ โข จุนฺท โหติ
ภูต ตจฺฉ อตฺถสฺหิต
ตตฺร กาลฺู ตถาคโต โหติ ตสฺส ปฺหสฺส เวยฺยากรณาย ฯ

(๓) ดูกรจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต
เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น

อิติ โข จุนฺท อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ
ตถาคโต กาลวาที สจฺจวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที
ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ฯ

ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ
ตถาคต เป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาที
ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคโต’ ด้วยประการดังนี้แล ฯ

อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๑๑๙ หน้าที่ ๑๔๘.


#5 อริย 072

อริย 072
  • Members
  • 440 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 05:37 PM

กาเลน จ ภาสิตา โหติ (๑) พูดถูกกาล
สจฺจา จ ภาสิตา โหติ (๒) พูดคำจริง
สณฺหา จ ภาสิตา โหติ (๓) พูดคำอ่อนหวาน
อตฺถสฺหิตา จ ภาสิตา โหติ (๔) พูดคำประกอบด้วยประโยชน์
เมตฺตจิตฺเตน จ ภาสิตา โหติ ฯ (๕) พูดด้วยเมตตาจิต
แปลง่ายๆ ว่าจะพูดอะไร ให้กล่าวให้ถูกเวลา ตรงกับความสนใจของผู้ฟัง หรือเห็นว่ามีความจำเป็น และเมื่อกล่าวแล้ว ให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์ ถ้าจะแนะนำก็ต้องมีแต่ความจริง ที่ปรับให้ไพเราะ ออ่นโยนก่อนทุกครั้ง