ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

วันอาสาฬหบูชาตามที่มาในพระไตรปิฎก


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 July 2008 - 01:42 PM

วันอาสาฬหบูชาตามที่มาในพระไตรปิฎก



happy.gif อีกไม่กี่วันก็จะถึงวัน อาสาฬหบูชาแล้วซึ่งเป็นวันสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่งทางพระพุทธศาสนาของเรา

จึงได้นำเอาประวัติความเป็นมาเป็นไปในเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังจ้ะ happy.gif



มีประวัติความเป็นมา ตามพระไตรปิฎก (มจร.แปล) เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑-๘ หน้า๑-๑๕. ว่า

หลังจากที่ ‘พระบรมโพธิสัตว์สิทธัตถะ’ ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น ‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’

ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในคืนเพ็ญวิสขะ (๑๕ ค่ำ เดือน ๖) แล้ว

เสด็จเสวยวิมุติสุขตลอด ๗ สัปดาห์ โดยทบทวน ‘ปฏิจจสมุปบาท’ ทั้งอนุโลมและปฏิโลม

(ตามลำดับและย้อนลำดับ) ทั้งทรงเปล่ง ‘พุทธอุทาน’ อยู่เป็นระยะๆ แล้ว



ทรงเสด็จมาประทับยังต้นอชปาลนิโครธ(ต้นไทรของคนเลี้ยงแพะ)อีกครั้ง

ขณะที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความดำริขี้นในพระทัยว่า



“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต

ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้

สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย (กามคุณ ๕) เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก

กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก

กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน

ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา

ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”



อนึ่ง อนัจฉริยคาถา เหล่านี้ที่ไม่เคยทรงสดับมาก่อน

ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคว่า



“บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราได้บรรลุด้วยความลำบาก

เพราะธรรมนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำ จะรู้ได้ง่าย

แต่เป็นสิ่งพาทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต

ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้”



เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย มิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม

ครั้งนั้น ‘ท้าวสหัมบดีพรหม’ ทราบความดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาคด้วยใจตน

ได้มีความดำริว่า ท่านผู้เจริญเอ๋ย โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ

เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย

มิได้น้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม”

จึงหายไปจากพรหมโลก มาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค

เปรียบประหนึ่งบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น

แล้วห่มอุตตราสงค์(ผ้าคลุม)เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน

ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับพลางทูลว่า



“พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม

ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา*น้อยมีอยู่

สัตว์เหล่านั้นย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม (และ)เพราะจักมีผู้รู้ธรรม”



[*ธุลีในดวงตาคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ปิดบังดวงตาปัญญา - วิ.อ. ๓/๘-๙/๑๔-๑๕]



ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นประพันธคาถาต่อไปว่า



“ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อันคนมีมลทินคิดค้นไว้ประกาศในแคว้นมคธ

พระองค์ โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด

ขอเหล่าสัตว์ จงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ



ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักษุ

บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบฉันใด

พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว ก็ฉันนั้น โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรมแล้ว

จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความโศกและถูกชาติชรา(ความเกิดและความตาย)ครอบงำได้ชัดเจน



ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม ผู้นำหมู่ ผู้ไม่มีหนี้

ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม เพราะจักมีผู้รู้ธรรม



ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์

ทรงตรวจดูโลกด้วย ‘พุทธจักษุ’

เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีดในตาน้อย มีธุลีในตามาก

มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก

บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว ก็มี

บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว ก็มี



มีอุปมาเหมือนในกออุบล(บัวขาบ) ในกอปทุม(บัวหลวง) หรอในกอบุณฑริก(บัวขาว)

(๑) ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ

(๒) ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ

(๓) ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ



ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า



สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด

เราได้เปิดประตูอมตธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว

ท่านพรหม เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์”



ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบว่า “พระพุทธองค์ได้ทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว”

จึงได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ(เดินวนขวาโดยรอบ)แล้ว อันตรธาน(หายตัว)ไป ณ ที่นั้นแล



happy.gif อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก (มจร.แปล) เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๗-๙ หน้าที่ ๑๑-๑๕. happy.gif

#2 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 July 2008 - 03:10 PM

happy.gif ต่อตอน ๒ จ้ะ happy.gif

happy.gif หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์แล้ว
ก็ทรงดำริว่าจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อน ซึ่งตอนนี้มีข้อความในพระไตรปิฎกว่า


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคดำริว่า
“เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน”
แล้วทรงดำริต่อไปว่า
“อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในตาน้อยมานาน
ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส กาลามโคตร*ก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน”


[* เป็นอาจารย์สอนสมาธิให้พระองค์ครั้งยังเป็นบรมโพธิสัตว์]

ลำดับนั้น เทวดาผู้ไม่ปรากฏกายมาทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ทำกาละ(ตาย) ๗ วันแล้ว”

แม้พระผู้มีพระภาคก็ได้เกิดญาณขึ้นว่า
“อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ทำกาละ ๗ วันแล้ว”
จึงทรงดำริว่า “อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมนานหนอ*
เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉันพลัน”


[* มีความเสื่อมนานหนอ เพราะอาฬารดาบสตายไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ซึ่งมีอายุถึง ๖๐,๐๐๐ มหากัป]
[อุกทกดาบส รามบุตร อาจารย์คนที่สอง ก็เช่นเดียวกัน ต่างกันแต่เพิ่งตายเมื่อวาน ไปเกิดเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ซึ่งมีอายุถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป]

ต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริดังนี้ว่า
“เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน”
จึงทรงดำริว่า
“ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้าปรนนิบัติเราผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญเพียรมา
ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน”


แล้วทรงดำริต่อไปว่า
“บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ”
ก็ได้ทรงเห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
ด้วยทิพยจักขุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์

ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลาตามพระอัธยาศัยแล้ว
ก็ได้เสด็จจาริกไปทางกรุงพาราณสี

(ในระหว่างนั้น) อาชีวกชื่ออุปกะได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกล
ณ ระหว่างแม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”

เมื่ออุปกาชีวกทูลถามดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาตอบอุปกาชีวกว่า

“เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ละธรรมทั้งปวงได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า

เราไม่มีอาจารย์* เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียม ในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เป็นผู้ตรัสรู้ชองเองเพียงผู้เดียว
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสได้แล้วในโลก

เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน


[* เราไม่มีอาจารย์ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตรธรรม-วิ.อ. ๓/๑๑/๑๗]

อุปกาชีวกทูลว่า
“อาวุโส ท่านสมควรเป็น พระอนันตชินะ ตามที่ท่านประกาศ”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะ(กิเลส)แล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”


เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว อุปกาชีวกทูลว่า
“อาวุโส ควรจะเป็นอย่างนั้น” โคลงศีรษะแล้วเดินสวนทางหลีกไป

happy.gif อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก (มจร.แปล) เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๐-๑๑ หน้าที่ ๑๕-๑๗.
happy.gif

#3 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 July 2008 - 05:23 PM

happy.gif ตอน ๓ ตอนจบจ้ะ happy.gif

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ
ถึงป่าอิสิปตนปฤคทายวัน เขตกรุงพราราณสี
แล้วได้เสด็จไปทางที่ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่
ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้นัดหมายกันและกันว่า

“ท่านทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก
กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์
แต่จะจัดอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง”


ครั้นเสด็จมาถึง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในกติกาของตนได้ ต่างต้อนรับพระผู้มีพระภาค
รูปหนึ่งรับบาตรและจีวร รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท
รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปวาง

พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ภิกษุปัญจวัคคีย์จัดถวายแล้ว ทรงล้างพระบาท

แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์กลับร้องเรียกพระผู้มีพระภาคโดยออกพระนาม และใช้คำว่า “อาวุโส”*

[* ในครั้งพุทธกาล คำว่า “อาวุโส” เป็นคำที่คนทั่วไปใช้กล่าวนำทักทายร้องเรียกกัน
ไม่แสดงความเคารพเป็นพิเศษ(ดังนั้น) ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับสั่งห้ามพระผู้น้อยเรียกพระผู้ใหญ่โดยใช้คำว่า “อาวุโส” และห้ามพูดกับผู้ใหญ่โดยออกชื่อท่านนั้นท่านนี้ แต่ควรเรียกพระผู้ใหญ่โดยใช้คำว่า “ภันเต” หรือ “อายัสมา” ส่วนพระผู้ใหญ่ควรเรียกพระผู้น้อยว่า “อาวุโส” หรือโดยการระบุชื่อนั้นชื่อนี้ (ดู. ที.ม. ๑๐/๒๑๖/๑๓๔)]


เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ กล่าวอย่างนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้างภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าร้องเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า อาวุโส
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้วจะสั่งสอน จะแสดงธรรม
พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น
พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ
บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก
ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถได้เล่า”


เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กาบทูลอย่างนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุปัญจวัคคีย์ดังนี้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้วจะสั่งสอน จะแสดงธรรม
พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้”


[กล่าวตอบโต้กันอย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒, แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็กล่าวตอบเช่นเดิม]

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กราบทูลอย่างนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยกล่าวในกาลก่อนแต่นี้”

ภิกษุปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า
“ถ้อยคำเช่นนี้ ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า”

"ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้วจะสั่งสอน จะแสดงธรรม
พวกเธอเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันนี้แน่แท้”

พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว
ลำดับนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค
เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง...

อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก (มจร.แปล) เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๘-๒๐.

happy.gif หลังจากนี้ก็เป็นเนื้อความเต็มๆ อย่างในบทสวดที่เรารู้จักกันในนามว่า “ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร” นั้นแหละจ้ะ
เราอาจจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว เป็นบทที่พระท่านใช้สวดบ่อยๆ ในการฉลองพระบวชใหม่
หรือที่ได้ยินบ่อยที่วัดพระธรรมกาย จะเป็นวันอาทิตย์ต้นเดือน ตอนสาธุชนถวายปัจจัยบูชาธรรมครูไม่ใหญ่นั่นละจ้ะ

happy.gif เนื้อหาในบทสวดนั้นก็กล่าวถึงเรื่อง ‘มัชฌิมาปฏิปทา’ ‘อริยสัจ ๔’
และสภาพการบรรลุธรรมของพระองค์(ประสบการณ์ภายใน)
จนสภาวะที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมตาม เป็นพระอริยะภิกษุองค์แรกของโลก(ยุคนี้)
ซึ่งข่าวอันเป็นมหามงคลยิ่งนี้ ได้รับการประกาศต่อๆ กันไปอย่างสะท้านสะเทือนทั่วเทวโลกเลยทีเดียวจ้ะ

happy.gif ส่วนรายละเอียดของพระสูตร ทั้งพากษ์ต้นฉบับบาลี และพากษ์แปลไทย
ว่ากันคำต่อคำ วรรคต่อวรรค บรรทัดต่อบรรทัดนั้น
ไว้ว่างๆ เดี๋ยวจะพิมพ์มาให้ศึกษากันนะจ๊ะ วันนี้นั่งจิ้มเมื่อยแระ ขอพักก่อน
ท้ายนี้ขออนุโมทนาสาธุการในการได้ศึกษาธรรมะร่วมกันจ้า
happy.gif

#4 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 12:29 PM

happy.gif เอ้า เราลองมาดูกันจ้ะว่า ‘เทศน์กัณฑ์แรก’ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ท่านปัญจวัคคีย์ เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่งนั้น มีนัยความหมายว่าอย่างไร

happy.gif เป็นปกติธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะทรงตรัสแสดง ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’
เป็นปฐมเทศนา และย่อมเป็นพระสูตรที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลครั้งแรกของโลกเสมอมา
ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดพระภิกษุองค์แรกในพระพุทธศาสนา ยังพระพุทธศาสนาให้ครบเป็น ‘พระรัตนตรัย’
จึงนับได้ว่าเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง

happy.gif โดยเฉพาะในหลายตอนของพระสูตรนี้ถ้าเราสังเกตุให้ดี
จะพบนัยที่มีความหมายคล้ายการฝึก ‘วิชชาธรรมกาย’ อยู่ไม่น้อย
บางที่ที่ว่ากันว่าวิชชานี้ได้สูญหายไปหลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี อาจจะยังมีเค้าหลงเหลืออยู่บ้างก็ได้
ส่วนจะมากน้อยในความเห็นท่านเป็นประการใด กัลยาณมิตรทุกท่านลองมาช่วยกันศึกษาดูกันเลยจ้ะ



ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร


เอวมฺเม สุตํ ฯ
เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย ฯ
ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ ฯ

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค รับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า

เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ฯ กตเม เทฺว ฯ
โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต
โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต ฯ

“ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ ส่วนสุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) การประกอบความใคร่หมกมุ่นใดในกามสุขทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
ซึ่งต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน เป็นอนริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
(๒) การประกอบความทรมานตนให้เดือดร้อนใด (อัตตกิลมถานุโยค)
เป็นทุกข์ เป็นอนริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

เอเตเต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี
อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ‘ทางดำเนินเฉพาะมัชฌิมา’ ไม่เข้าไปติดส่วนสุด ๒ ข้างนั้น
ตถาคตอภิสัมพุทธ(ตรัสรู้พร้อมยิ่ง)แล้ว ย่อมจักขุ(เห็น)กรณี ย่อมญาณ(รู้)กรณี
อันเป็นไปเพื่อให้สงบระงับ เพื่ออภิญญา(ความรู้อันยิ่ง) เพื่อสัมโพธิ(ความตรัสรู้) เพื่อนิพพาน

กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี
อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ก็ ‘ทางดำเนินย้อนกลับเข้ากลาง’ นั้น
ตถาคตได้อภิสัมพุทธแล้ว เห็น(เหตุ)การณ์ รู้(เหตุ)การณ์
เพื่อความสงบระงับ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธิ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน คือ

อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ฯ เสยฺยถีทํ ฯ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป
สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว
สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ ฯ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑) สัมมาทิฏฐิ (เห็นถูก) ๒) สัมมาสังกัปปะ (คิดถูก)
๓) สัมมาวาจา (พูดถูก) ๔) สัมมากัมมันตะ (ทำถูก) ๕) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพถูก)
๖) สัมมาวายามะ (เพียรพยายามถูก) ๗) สัมมาสติ (ระลึกได้ถูก) ๘) สัมมาสมาธิ (ใจตั้งมั่นถูก)

อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา
ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี
อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ก็ ‘ทางย้อนทวนเข้าเฉพาะมัชฌิมา’ นี้แล
ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วอย่างยิ่ง ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธิ เพื่อนิพพาน

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ฯ
ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา พฺยาธีปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข
ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข
ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกขํ
สํขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ฯ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อเหล่านี้แลเป็นทุกขอริยสัจจ์ (สัจจะแห่งอริยคือความทุกข์) คือ
ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์
ปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
ว่าโดยย่อ การยึดมั่นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ฯ
ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา ตตฺรตตฺราภินนฺทินี ฯ เสยฺยถีทํ ฯ
กามตณฺหา ภวตณฺหา วิภวตณฺหา ฯ

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อเหล่านี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจจ์ (สัจจะแห่งอริยคือเหตุให้เกิดทุกข์) คือ
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ใด สหรคต (ประกอบร่วม) ด้วยนันทิราคะ (ความกำหนัดยินดี) กับอภินันทะ
(ความเพลินพอใจ) ในอารมณ์นั้นๆ คือ
๑) ความทะยานอยากในกาม ๒) ความทะยานอยากในภพ ๓) ความทะยานอยากในวิภพ

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ ฯ
โย ตสฺสา เยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย ฯ

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ส่วนข้อเหล่านี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจจ์ (สัจจะแห่งอริยคือความไม่ทรงไว้ซึ่งทุกข์) คือ
ความดับตัณหานั้นใดไม่เหลือ ด้วยวิราคะ ด้วยความสละ ด้วยความสละคืน ด้วยความพ้น ด้วยความไม่อาลัย

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ฯ
อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ฯ เสยฺยถีทํ ฯ
สมฺมาทิฏฺฐิ ฯเปฯ สมฺมาสมาธิ ฯ

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ส่วนข้อเหล่านี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ (สัจจะแห่งอริยคือทางย้อนทวนเข้าไปถึงที่ไม่ทรงไว้ซึ่งทุกข์) คือ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ



#5 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 12:38 PM

อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ ฯเปฯ ปริญฺญาตนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ดวง(ธรรม)จักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขอริยสัจ’ ... (สัจจญาณ)
‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรรู้ให้รอบ’ ฯลฯ ... (กิจจญาณ)
‘ทุกขอริยสัจนี้ เรารู้รอบแล้ว’ (กตญาณ)

อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ
ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตัพฺพนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ ฯเปฯ ปหีนนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ดวงจักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ...
‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’ ฯลฯ ...
‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ เราละแล้ว’

อิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ
ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ
ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกตนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ดวงจักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย ดวงจักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’
ภิกษุทั้งหลาย ดวงจักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราทำให้แจ้งแล้ว’

อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ
ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพนฺติ
เม ภิกฺขเว ฯเปฯ ภาวิตนฺติ
เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
จกฺขุํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ฯ

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ดวงจักษุได้ผุดเกิดขึ้น ดวงญาณได้ผุดเกิดขึ้น ดวงปัญญาได้ผุดเกิดขึ้น
ดวงวิชชาได้ผุดเกิดขึ้น ดวงแสงสว่างได้ผุดเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ...
‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรทำ(ภาวนา)ให้มีให้เป็น’ ฯลฯ ...
‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราทำ(ภาวนา)ให้มีให้เป็นแล้ว’



#6 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 12:52 PM

ยาวกีวญฺจ เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทวาทสาการํ
ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ น สุวิสุทฺธํ อโหสิ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ก็ ‘การเห็นแล้วรู้ ยถาภูต* (ยถาภูตญาณทัสสนะ)
อันมีอาการ ๑๒ โดยปริวัฎฎ์(วนรอบ) ๓ ในอริยสัจ ๔ ประการนี้ของเรา ยังไม่สุวิสุทธิ์ตราบใด

(* ยถาภูต คือสิ่งที่มีที่เป็นอยู่แล้วเช่นนั้น หรือความเป็นจริงมีอยู่อย่างนั้นเอง) 

เนว ตาวาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพรหฺมเก
สสฺสมณพราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย
อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺญาสึ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย เราก็ยังไม่ปฏิญญา(ยืนยัน)ตนว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิ’
ในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ชาวประชา เทวดาและมนุษย์ ตราบนั้น

ยโต จ โข เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทวาทสาการํ
ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ อโหสิ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ ‘ญาณทัสสนะใน ยถาภูต’ นี้
อันมีอาการ ๑๒ โดยวน ๓ รอบในอริยสัจ ๔ ประการนี้ของเรา หมดจดดีแน่แล้ว

อถาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพรหฺมเก
สสฺสมณพราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย
อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺญาสึ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงปฏิญญาตนว่า ‘เป็นผู้อภิสัมพุทธ อนุตตรสัมมาสัมโพธิ’
ในเทวโลก มารและพรหม พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ หมู่สัตว์ เทวะและมนุษย์

ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ
อกุปฺปา เม วิมุตฺติ อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ฯ

ก็ทัสสนะและญาณ ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
‘วิมุตติ(ความหลุดพ้น)ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี’

อิทมโวจ ภควา ฯ อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุนฺติ ฯ
อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน
อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ
ยํกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสพจนะนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีใจชื่นชมยินดียิ่งในภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณะนี้อยู่
‘การเห็นดวงธรรม’ (ธรรมจักขุ) ที่ปราศจากมลทินธุลี ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
‘ธรรมดวงใดดวงหนึ่งผุดเกิดขึ้นมา ดวงธรรมเหล่านั้นล้วนแล้วย่อมลับดับลงไปทั้งสิ้น’



#7 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 July 2008 - 01:33 PM

ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจกฺเก ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
เอตํ ภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย
อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา
พราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ ฯ

ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงหมุน ‘ธรรมจักร’ ให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมเทวาได้ส่งเสียงประกาศว่า
‘นั่น อนุตตรธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคทรงหมุนไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ไม่อาจหมุนทวน (ปฎิวัติ) ได้’

ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหาราชิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
เอตํ ภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ ฯ

(๑) พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ครั้นได้สดับเสียงพวกภุมเทวาแล้ว ก็ส่งต่อเสียงประกาศนี้ว่า
‘นั่น อนุตตรธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคทรงหมุนไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ไม่อาจหมุนทวนได้’

จาตุมฺมหาราชิกานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา ตาวตึสา เทวา ฯ...
(๒) พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ครั้นได้สดับเสียงพวกเทพจาตุมหาราชแล้ว...

ยามา เทวา ฯ...
(๓) พวกเทพชั้นยามา...

ตุสิตา เทวา ฯ...
(๔) พวกเทพชั้นดุสิต...

นิมฺมานรตี เทวา ฯ...
(๕) พวกเทพชั้นนิมมานรดี...

ปรนิมฺมิตวสวตฺตี เทวา ฯ...
(๖) พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัสดี...

พรหฺมกายิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ
เอตํ ภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ
อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ ฯ

พวกเทพชั้น ‘พรหมกาย’ ทั้งหลาย ก็ส่งต่อเสียงประกาศนี้ว่า
‘นั่น อนุตตรธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคทรงหมุนไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ไม่อาจหมุนทวนได้’

อิติห เตน ขเณน เตน มุหุตฺเตน ยาว พรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ ฯ
อยญฺจ ทสสหัสสี โลกธาตุ สงฺกมฺปิ สมฺปกมฺปิ สมฺปเวธิ ฯ
อปฺปมาโณ จ โอฬาโร โอภาโส
โลเก ปาตุรโหสิ อติกฺกมฺเมว เทวานํ เทวานุภาวนฺติ ฯ

ขณะนั้น บัดเดียวเสียงระบือก็ลือลั่น ไปทั่วตลอดถึงพรหมโลก
เพราะเหตุนั้น หมื่นโลกธาตุก็สะเทือนเลื่อนลั่น หวั่นไหว
อีกแสงสว่างอันโอฬารหาประมาณมิได้
โดยล่วงเทวานุภาพของเหล่าเทพทั้งหลาย ได้ปรากฏขึ้นแล้วในโลก ด้วยประการฉะนี้

อถโข ภควา อุทานํ อุทาเนสิ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ
อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญติ ฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ’


อิติหิทํ อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส อญฺญาโกณฺฑญฺโญเตฺวว นามํ อโหสีติ ฯ
ด้วยเหตุนั้น คำว่า ‘อัญญาโกณฑัญญะ’ จึงได้เป็นชื่อเรียกของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล

ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ.


อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๑๖๖๔-๑๖๗๓ หน้าที่ ๕๒๘-๕๓๒.



ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว
ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น*ในคำสอนของพระศาสดา

(* ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น หมายถึงไม่ต้องอาศัยผู้อื่นคอยแนะนำพร่ำสอนในคำสอนของพระศาสดา
ไม่ได้หมายถึงว่า ไม่ต้องเชื่อใครเลย (อปรปฺปจฺโย-ไม่มีใครอื่นอีกเป็นปัจจัย) (สารตฺถ.ฎีกา ๓/๑๘/๒๒๖)

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรชา พึงได้การอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค"

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด"
แล้วตรัสต่อไปว่า "ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"

พระวาจานั้น ได้เป็นการอุปสมบทของท่านอัญญาโกณฑัญญะนั้นแล.

----------------------------------

happy.gif นี่ล่ะจ้ะ ประวัติความเป็นมาเป็นไปของวันอาสาฬหบูชาที่มีมาในพระไตรปิฎก
ท้ายที่สุดนี้ ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลจากธรรมทานอันยิ่งในครั้งนี้ แก่เทวดาทั้งหลายที่ได้เคยขอไว้ มีท้าวสักกะ(พระอินทร์)เป็นต้นนั้น และขออนุโมทนาสาธุการกับกัลยาณมิตรทุกท่านที่ได้ศึกษาธรรมะอันประเสริฐนี้ด้วยกันจ้ะ
happy.gif