ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กลับมาแล้วครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 09:18 AM

เฉลยแบบทดสอบที่ ๑; http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=5262

ตอบข้อ ๑ ศรัทธา หมายถึง “ความเชื่อ” มาจากคำในภาษาบาลีว่า “สัทธา” (ภาษาสันสกฤตสะกดว่า “ศรัทธา”) ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือศาสนา ดังที่นักปราชญ์กล่าวว่า เมื่อมนุษย์มีศรัทธาแสดงว่า “มนุษย์มีศาสนา” เพราะความเชื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดศาสนาต่างๆ ในโลก ดังนั้นศรัทธาจึงมีความสำคัญด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ
๑. เป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือศาสนา
๒. เป็นคุณธรรมเบื้องต้นอันเป็นปัจจัยอุดหนุนให้คุณธรรมอื่นๆ เกิดตามมา ได้แก่ สติ หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และขันติ เป็นต้น
๓. เป็นคุณธรรมที่ต้องมาคู่กับปัญญาอันชอบ (สัมมาปัญญา) เสมอ มิเช่นนั้นแล้ว ย่อมจะกลายเป็นความเชื่อที่งมงาย (ศรัทธาแบบสุดโต่งโดยไม่มีเหตุและผลรองรับ) และถ้าหากปราศจากเสียซึ่ง “ศรัทธา” แล้ว ย่อมจะกลายเป็นบุคคลที่ไม่ปลงใจเชื่ออะไรเลยอีกเช่นกัน

ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้นมีอยู่ ๒ ระดับ ได้แก่

๑. ศรัทธาญาณสัมปยุต คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา รู้เหตุ รู้ผล เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลก่อนที่จะตกลงปลงใจเชื่อ
๒. ศรัทธาญาณวิปยุต คือ ความเชื่ออันเกิดจากความไม่รู้เหตุรู้ผล หรือไม่อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ซึ่งมักเป็นความเชื่อแบบหยั่งดิ่งอุทิศทุ่มเท

หากจะแสดงให้เห็นถึงมูลเหตุของการเกิดศาสนาตามวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ นับแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบันสามารถจำแนกได้ดังนี้ (เสฐียร พันธรังสี, ๒๕๑๓:๑๘)

๑. เกิดจากอวิชชา: อวิชชา คือ ความไม่รู้ ในที่นี้ได้แก่ ความไม่รู้เหตุรู้ผล
เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ทางชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆ
ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ จึงต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน ทำให้เกิดการส้รางขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดได้โดยไม่มีภัยต่อไป

๒. เกิดจากความกลัว: มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ
และสัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ ความเกรงกลัวต่อธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้
มนุษย์จะเกิดความกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา
และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าวด้วยความหวังหรือวอนขอให้สำเร็จสมความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมาเป็นความสุข ความปลอดภัย และการดำรงอยู่ได้ในโลก

๓. เกิดจากความจงรักภักดี: ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า
เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า อาทิ ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม นั้น มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมีศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) อันมีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือ ความหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่า ความเลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น ที่จะพาข้ามพ้นห้วงจตุรโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตนอันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ซึ่งเรียกกันว่า เทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตามผลที่เกิดตามมาก็คือ มนุษย์ยอมให้เครื่องเซ่นสังเวยแก่ธรรมชาตินั้นๆ ด้วย โดยนัยนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตนและยอมอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน

๔. เกิดจากปัญญา: ศรัทธาอันเกิดจากปัญญา คือ มูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือ ไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็นสำคัญ ดังเช่น พระพุทธศาสนา ซึ่งความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณหรือปัญญาชั้นสูงสุดที่ทำให้มนุษย์รู้แจ้งประจักษ์จริงและหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

๕. เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ: ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหนที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนาหรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้และเคารพบูชา

๖. เกิดจากลัทธิการเมือง :
ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่อันสืบเนื่องมาจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้น ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคนบางกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน
ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่แล้วหันมานับถือลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคมหรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์

อ้างอิง: http://www.duangden....eligious.html#2

ส่วนศรัทธาอันเป็นความเชื่อพื้นฐานของชาวพุทธนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ ได้แก่

๑. กัมมสัทธา เชื่อในเรื่องของกรรมและกฎแห่งกรรม หมายถึงเชื่อว่า เมื่อลงมือทำอะไรลงไปโดยเจตนา คือ จงใจทั้งที่รู้ ย่อมสำเร็จเป็น “กรรม” อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลดีและร้ายสืบเนื่องต่อกันไปเป็นทอดๆ ฉะนั้น ทุกการกระทำไม่ว่าดี ชั่ว และไม่ดีไม่ชั่วย่อมไม่สูญเปล่าและไม่ว่างเว้นจากการให้ผล

๒. กัมมวิปากสัทธา เชื่อในเรื่องผลของกรรม ว่ากรรมที่ทำแล้วมีผลจริง เชื่อว่าผลดีย่อมเกิดแต่เหตุจากการประกอบกรรมดี ผลชั่วย่อมเกิดแต่เหตุจากการประกอบกรรมชั่ว

๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนมีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต โดยมีความเชื่อมั่นในองค์พระตถาคตเจ้าว่าเป็น “สัมมาสัมพุทธะ” ตรัสธรรมบัญญัติแลวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้ฝึกและสามารถปูลาดทางเดินแห่งมัชฌิมาปฏิปทาอันนำพาไปสู่ความวิมุตติหลุดพ้นได้ ดังนี้เป็นต้น

ตอบข้อ ๒ สำหรับคำว่า “ทุกข์ในนิทเทสแห่งอริยสัจ” นั้น ก่อนอื่นเราต้องมาดูความหมายของคำว่า “นิทเทส” กันเสียก่อนนะครับ “นิทเทส” หมายถึง คำแสดง คำจำแนกอธิบาย คำไขความ เพราะฉะนั้นจึงแปลตามตัวดังนี้ว่า ทุกข์โดยนัยแห่งอริยสัจ ซึ่งหมายถึง สภาพที่ทนได้ยาก หรือสภาพที่บีบคั้น
ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจอย่างแท้จริง ได้แก่
...............๑. ชาติ คือ ความเกิด
...............๒. ชรา คือ ความแก่
...............๓. มรณะ คือ ความตาย
...............๔. โสกะ คือ ความแห้งใจ ความเศร้าใจ
...............๕. ปริเทวะ คือ ความระทมใจ พิไรรำพัน หรือความบ่นเพ้อ
...............๖. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย
...............๗. โทมนัส คือ ความไม่สบายใจ
...............๘. อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ ความตรอมใจสิ้นหวัง
...............๙. อัปปิยสัมปโยค คือ การประสบพบเจอกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
...............๑๐. ปิยวิปปโยค คือ การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
...............๑๑. อิจฉิตาลาภะ คือ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

ซึ่งทุกข์ในนิทเทสแห่งอริยสัจนี้ เป็นทุกข์ที่ปรากฏมีอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและทุกข์ในพระไตรลักษณ์ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำ คือ ทุกข์อันเป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ ชาติ ชรา และมรณะ
๒. ปกิณณกทุกข์ หรือทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้วคราวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปปโยค และอิจฉิตาลาภะ

ส่วนทุกข์ที่เหลืออีก ๘ ประการ อันได้แก่
๑. นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เมื่อยขบ (กาย)
๒. พยาธิทุกข์ หรือทุกขเวทนา คือ ทุกข์อันเกิดแต่โรค ภัย ไข้ เจ็บ (กาย)
๓. สันตาปทุกข์ คือ ทุกข์อันเกิดจากการแผดเผาเร้ารุมอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกิเลส
๔. วิปากทุกข์ คือ ทุกข์เพราะผลแห่งอกุศลกรรม ได้แก่ วิปฏิสาร ความเดือดเนื้อร้อนใจ การถูกลงอาชญา การเสวยทุกข์ในจตุราบายภูมิทั้ง ๔
๕. สหคตทุกข์ คือ ทุกข์ที่ระคนปนเปคละเคล้าไปกับความสุข เป็นลักษณะของทุกข์ที่มักพ่วงมากับโลกธรรมอันเป็นฝ่ายอิฏฐารมณ์ (ปรารถนา) ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เช่น ได้ลาภแล้วเป็นทุกข์เนื่องจากต้องระวัง ป้องกัน และรักษา เป็นต้น
๖. อาหาเรปริเยฏฐิทุกข์ คือ ทุกข์ในการหากิน ได้แก่ “อาชีวทุกข์” คือ ทุกข์อันเนื่องด้วยการทำมาหาเลี้ยงชีพ
๗. วิวาทมูลกทุกข์ คือ ทุกข์อันเกิดแต่การวิวาท แก่งแย่ง ซึ่งมีมูลเหตุอันเกิดจากความขัดแย้ง
๘. ขันธทุกข์ คือ ทุกข์รวบยอดอันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ อันเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทุกข์เพราะการเวียนว่ายตายเกิด

ล้วนเป็นทุกข์ในพระไตรลักษณ์ทั้งสิ้น มิใช่ทุกข์ในนิทเทสแห่งอริยสัจ (ที่มา: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรมวิจารณ์, (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒o/๒๕o๑) หน้า ๑๓-๑๗.)

ตอบข้อ ๓ เนื่องจากพระวรกายมหาบุรุษสุดประเสริฐแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งที่เรียกว่า “อเภทกาย” แปลว่า กายไม่แตก (คำว่า “กายไม่แตก” ในที่นี้หมายเอาในแง่ของการอธิบายในลักษณะของ “นิรมานกาย” คือ กายเนรมิตอันสำเร็จด้วยบุญญานุภาพ นะครับ และถึงแม้ว่ากายมหาบุรุษแห่งองค์พระสัมพุทธจะไม่แตกดับทำลายด้วยน้ำมือของผู้อื่นก็ตาม แต่กายนี้ก็มิอาจทรงดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะยังคงต้องแตกดับโดยเป็นไปตามกฎแห่งพระไตรลักษณ์ทุกประการ) ด้วยอานิสงส์ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบุญบารมี ๓o ทัศมาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ฉะนั้น ตลอดหมดทั่วโลกธาตุ แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล พระองค์ย่อมไม่ดับขันธปรินิพพานด้วยน้ำมือของผู้ใดทั้งสิ้น

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#2 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 09:39 AM



ยากเหมือนกัน ขนาดนั่งค้นอยู่ตั้งนาน ( นานมากไม่ได้ ) ได้แค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์

และขออนุโมทนาบุญ ที่กลับมาเป็นกัลยาณมิตรให้เพื่อน ๆ ใน DMC เหมือนเดิม

สาธุ สาธุ สาธุ

หยุดคือตัวสำเร็จ

#3 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 11:52 AM

ความรู้ใหม่ๆเพียบเลย
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#4 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 01:38 PM

อนุโมทนาบุญครับ...สาธุ
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#5 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 03:00 PM

กลับมาพร้อมสรรสาระและธรรมะสุดยอดเช่นเคยค่ะ เห็นหายไปนาน เพื่อนๆถามหาคุณ ขุนศึกฯกันใหญ่ smile.gif
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#6 อ้วน บ่อโยก

อ้วน บ่อโยก
  • Members
  • 646 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:rayong

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 07:58 PM

อนุโมทนาบุญครับ...สาธุ


#7 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 July 2006 - 08:48 PM

อนุโมทนาด้วยครับ...สาธุ สาธุ สาธุ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#8 niwat

niwat
  • Members
  • 1420 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 16 July 2006 - 12:39 AM

อนุโมทนาบุญกับน้องขุนศึก ที่มีความตั้งใจนำธรรมะ
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ผู้มีบุญได้
ศึกษา ถือว่าเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ครับ สาธุ.


ปล. รอมีส่วนร่วมกับคำถามข้อถัดไปของน้องขุนศึก smile.gif

#9 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 16 July 2006 - 07:58 PM

welcome back and thank you for the dhamma kah . sathu x 3
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#10 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 17 July 2006 - 09:53 AM

สาธุค่ะ