ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

พี่น้องครับ กรุณาช่วยตอบนะครับ ช่วยโหวตด้วยว่า


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 20 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

แบบสำรวจ: ถ้าไม่มีศรัทธาหรือฉันทะความเพียรจะเกิดมั๊ย (26 สมาชิก ได้เข้าร่วมลงคะแนน)

ถ้าไม่มีศรัทธาหรือฉันทะความเพียรจะเกิดมั๊ย

  1. ได้ (6 ลงคะแนน [23.08%])

    อัตราส่วนของคะแนน: 23.08%

  2. ไม่ได้ (16 ลงคะแนน [61.54%])

    อัตราส่วนของคะแนน: 61.54%

  3. ไม่แน่ใจ (4 ลงคะแนน [15.38%])

    อัตราส่วนของคะแนน: 15.38%

ลงคะแนน ผู้มาเยือนไม่มีสิทธิ์ลงคะแนน

#1 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 02:30 PM

ถ้าไม่มีศรัทธาความเพียรจะเกิดขึ้นได้มั๊ย
ขอความกรุณา พหูสูตรทั้งหลายช่วยตอบด้วยครับ

กำลังคุยธรรมะเรื่องนี้กะพี่คนนึงครับ แต่ตกลงกันไม่ได้สักทีว่าใครถูก คนนึงบอก ได้ อีกคนบอก ไม่ได้

คุยในหัวข้อ ถ้าไม่มีศรัทธาหรือฉันทะความเพียรจะเกิดมั๊ย

ขอบคุณมากครับพี่ๆ ช่วยคลายข้อสงสัย และยุติข้อถกเถียงหน่อยนะครับ
*************************************************************************************

#2 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 02:57 PM

เกิดได้ แต่เป็นแบบหัวเต่า คือเป็นความเพียรที่ไม่มั่นคง ผลุบๆ โผล่ๆ จะเพียร เอาดีจนถึงที่สุดที่ควรจะเป็นนั้นในสิ่งๆ นั้น ยาก เช่น ถ้าเป็นการทำงาน ก็ยากที่จะได้เลื่อนตำแหน่งไปจนถึงระดับหัวหน้า

หลักธรรมที่เอามาจับคือ อิทธิบาท 4
1) ฉันทะ คือ มีความรัก ชอบพอที่จะทำ
2) วิริยะ คือ เมื่อมีความชอบ ก็มีความเพียรที่จะทำ โดยไม่เบื่อหน่าย
3) จิตตะ คือ เมื่อมีความเพียร ก็คือมีใจจรดจ่อในการทำงาน การกระทำนั้น
4) วิมังสา คือ เมื่อมีใจจรดจ่อ ก็จะเกิดการสังเกต พัฒนาในสิ่งที่ทำนั้น
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#3 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 03:50 PM

ถาม ทำไงจึงจะพอใจได้ (ฉันทะ)
ตอบ ต้องเห็นประโยชน์ก่อน
เมื่อทราบถึงประโยชน์ จึงเกิด ความเพียร (วิริยะ)แล้วก็รักที่จะทำสิ่งนั้นๆ ด้วยความตั้งใจรอบคอบและมีประสิทธิภาพที่สุด(จิตตะ-วิมังสา)





#4 แก้วประเสริฐ

แก้วประเสริฐ
  • Members
  • 513 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 04:08 PM

ได้ แต่ไม่บรรลุเป้าหมาย เช่นจะไปตลาดแต่ฝนตกก็เลยกลับบ้าน

#5 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 04:20 PM

ทดลองตอบดู

มีศรัทธาแล้วประกอบด้วยปัญญาหรือเปล่าล่ะ ถ้าประกอบก็เกิดความเพียรที่ถูกต้อง
ก็จะเกิด ความพอใจ ความพยายาม ตั้งใจ และ รอบคอบ เป็นอิทธิบาท 4


หยุดคือตัวสำเร็จ

#6 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 05:13 PM

ความเพียรนั้น ควรจะต้องประกอบกับปัญญา คือถ้าเพียรทำแบบผิดๆ ก็จะเกิดความเสียหายได้มากกว่าคนที่ไม่ทำครับ ดังนั้น การจะทำอะไรควรจะต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ จึงจะไม่เกิดความเสียหายครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#7 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 05:43 PM

เคยดู VCD เรื่องอาฬวกะยักษ์ ตอนที่ยักษ์ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทรัพย์อะไรหนอเป็นเลิศที่สุด

พระองค์ได้ตรัสตอบว่า"ศรัทธา"เป็นทรัพย์(ภายใน)อันเลิศ แล้วพระเดชพระคุณฯคุณครูไม่ใหญ่ ขยายอรรถว่า ศรัทธาที่ถึงพร้อม นำไปสู่ความเพียรอันเลิศ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 05:52 PM

ศรัทธาคือความเชื่อ วิริยะคือความเพียร สติคือการระลึกได้นึกได้ สมาธิคือความแน่วแน่ ปัญญาคือตัวรู้แจ้งในสิ่งนั้นๆ
อุปมาปัญญาเหมือนสมอง ถ้าสมองดีไม่ปัญญาอ่อน ก็สามารถประกอบความเพียรได้เหมาะสมแม้จะไม่มีศรัทธาในสิ่งที่ทำ อุปมาเหมือนคนขับรถโดยสารประจำทางแม้ใจไม่รักในงานแต่ทำตามหน้าที่ก็สามารถจะขับรถไปได้แต่ถ้าเลือกงานได้ก็จะเลือกที่จะเปลี่ยนอาชีพเพราะใจไม่ศรัทธาในอาชีพขับรถ แต่ถ้าใจรักหรือศรัทธาในอาชีพก็จะทำงานขับรถไปได้ต่อไปครับ

มีตัวอย่างมาเล่าเปรียบเทียบครับ คือ
ชายคนหนึ่งมีความเชื่อว่าถ้าล่องทะเลไปจะต้องพบแผ่นดินใหม่แน่นอน แต่ถ้าเขาไม่มีความเพียรพยายามต่อ แน่นอนเขาเชื่อในสิ่งที่เขาคิดแต่ไม่สามารถลงมือทำได้ถ้าขาดความเพียรพยายาม แต่ถ้าเขาไม่เชื่อว่าที่ปลายฟ้าจะมีแผ่นดิน แต่ก็จะล่องเรือไปในทะเลทั้งที่ในใจก็บอกว่าไม่เชื่อ เขาอาจจะเจอหรือไม่เจอแผ่นดินก็ได้แต่สุดท้ายเขาก็จะพบแผ่นดินอยู่ดีแหละครับ

เหมือนคนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกหน้าว่ามีจริงหรือไม่ ถ้าเขาประกอบเหตุถูกต้องมีความเพียรทำความดีที่เหมาะสมเขายอมเข้าถึงฝั่งคือสุคติได้เช่นกันครับ แม้ในใจจะไม่เชื่อเรื่องโลกหน้าก็ตามครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#9 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 07:20 PM

อันดับ1 ต้องเกิดฉันทะก่อนทุกอย่างจึงจะเกิดตามและก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 08:46 PM


ได้นะครับ เช่น การยกตัวอย่างของคุณ xlmen เรื่อง พขร. และคุณ MiraclE...DrEaM ขยายความครับ

ขอเพิ่มนิด คือ ความเพียรเกิดได้ แม้ไม่มีศรัทธาและฉันทะ เพราะว่า
- กลัวภัย อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องเพียรดิ้นรนให้พ้นภัยนั้นๆ หรือถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ ฯล
- ได้ประโยชน์จากการกระทำนั้นๆ คือ ทำแล้วก็เป็นที่รักของเขา เช่น
แฟนชอบมาวัด แม้ตนไม่ศรัทธา ไร้ฉันทะ
ก็ต้องเพียรพาแฟนมาวัดทุกวันอาทิตย์แทนการพาแฟนไปเที่ยว
- มีความกตัญญู เช่น มารดา-บิดาชอบมาวัด แม้ตนไม่ศรัทธา ไร้ฉันทะ
ก็ต้องเพียรพามารดา-บิดามาวัด /
ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ผู้มีพระคุณ แม้งานยาก เสี่ยงภัย
อันตรายใดๆ แม้ตนไม่ศรัทธา ไร้ฉันทะ ไม่อยากทำก็ต้องทำ
เป็นความกตัญญูเพื่อตอบแทนพระคุณท่าน ( แม้งานนั้นอาจผิดศีล ธรรม )
ฯล

แต่มีข้อน่าสังเกต คือ สมาธิ ก็มีทั้ง สัมมาสมาธิ และมิจฉาสมาธิ
ศรัทธา หรือ ความเพียร ก็เช่นกัน มีทั้งศรัทธาในเรื่องผิดๆ และความเพียรในเรื่องผิดๆ
ดังนั้นหมวดธรรมหลายอย่าง ต้องมี ปัญญา เป็นตัวผู้กำกับ เพื่อให้เป็น สัมมา มิใช่เป็น มิจฉา.

แต่ถ้าปัญญาเรายังไม่แก่กล้า การมีกัลยาณมิตร คือ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกระทำของเรา อยู่กรอบศีลธรรม และประสบความสำเร็จ.

การที่ใครมีกัลยาณมิตร และทำตามคำแนะนำ สั่งสอนของท่าน แสดงว่า เรามีความก้าวหน้า
เราใกล้ประสบความสำเร็จ บนดิน ( ชีวิตในปัจจุบัน )
บนฟ้า( ปิดอบาย ไปสวรรค์ )
เหนือฟ้า ( เราใกล้การบรรลุธรรม เราใกล้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ) ไปอีกระดับ.


#11 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 09:10 PM

QUOTE
แฟนชอบมาวัด แม้ตนไม่ศรัทธา ไร้ฉันทะ
ก็ต้องเพียรพาแฟนมาวัดทุกวันอาทิตย์แทนการพาแฟนไปเที่ยว
- มีความกตัญญู เช่น มารดา-บิดาชอบมาวัด แม้ตนไม่ศรัทธา ไร้ฉันทะ
ก็ต้องเพียรพามารดา-บิดามาวัด /

ขอแย้ง ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่เห็นประโยชน์ แล้วว่าถ้าพาใครมาวัด
แล้วจะเกิดประโยชน์ คงไม่มีคัยพามาวัดหรอก แต่เพราะเราเชื่อเราศรัทธาว่าวัดทำให้เค้าดีได้เราจึงพามา เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีศรัทธาผมว่าความเพียรเกิดไม่ได้
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#12 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:35 AM

ขอแย้งน้องธรรมจักรครับ
อุปมาเหมือน ทาสหรือนักโทษที่ถูกผู้คุมบังคับให้ทำงานสร้างกำแพง หรือทำงานหนักๆ ต่างๆ ที่ตนไม่ชอบไม่ศรัทธา แต่ก็ยังต้องออกแรงวิริยะทำอยู่ดี ไม่ทำไม่ได้เพราะกลัวภัยอันตราย ดังนั้นศรัทธาไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุให้เกิดความเพียรเสมอไปครับ แม้ทาสไม่มีศรัทธาในการทำงานหนักแต่ถูกบังคับให้ออกแรงก็ต้องออกแรงทำงานจนสำเร็จได้เหมือนกันครับ

หรืออุปมาเหมือน ควายตัวหนึ่งที่ชาวนาเลี้ยงไว้ให้ไถนา ชาวนาบอกกับควายว่าไอ้ควายเอ้ยเจ้างหนะต้องช่วยข้าไถนานะแล้วต่อไปจะได้มีข้าวเต็มท้องนาเลย ถามว่าควายมีความเชื่อหรือศรัทธาในสิ่งที่ชาวนาต้องการหรือป่าวหละครับ ควายมันยินดีไถนา และเชื่อหรือสนใจหรือไม่ว่าข้าวจะเต็มท้องนา มันไถนาได้เพราะอะไรเพราะถูกบังคับ หรือเพราะควายมันเชื่อฟังชาวนาที่อธิบายบอกมันมีเหตุผลดีหละถึงยอมไถนาให้หละครับ

ทันใดนั้นชาวนาไม่รอช้า ควายยังไม่ทันคิดก็โดนแส้ตีไล่หลังให้ไถนาต่อไปครับ



#13 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 10:08 AM

ก็ขอเสนอแย้งความคิดของคุณ xlmen อีกหน่อยค่ะ

ควายมันถูกแส้ตี เลยต้องไถนา ถามว่ามันมีฉันทะ ไหม ย่อมไม่มี ถูกต้องที่สุด
เมื่อควายมันไม่มีฉันทะ แต่มีความเพียร เพราะมันเจ็บ หรือกลัวถูกแส้ตีอีก มันก็เลยต้องไถไปเรื่อย ถามว่า งานเสร็จไหม ก็เสร็จอีก อันนี้ก็ถูก
แต่ถามว่า งานที่มันทำออกมา ทำด้วยความตั้งใจไหม? งานที่ทำละเอียดละออ ปราณีตไหม? อันนี้คงต้องตอบว่า ไม่อย่างแน่นอน

เหมือนนกน้อย ทำรัง เมื่อมันต้องการจะออกไข่ มันมีฉันทะไหม ตอบว่า มีแน่นอน เพราะมันเห็นประโยชน์ของรัง เพราะต้องเอาไว้กกไข่
มันตั้งใจทำ หรือมีความเพียรในการทำไหม มีแน่นอน เพราะเห็นมันบรรจง ปราณีต สร้างรังของมันแต่พอตัว ให้สวยงาม เคยเห็นในสารคดีนะคะ บางที นกบางชนิด ถึงกับหาดอกไม้มาประดับรังของตัว เอาหินมากองๆ จัดแล้วจัดอีก เพื่อให้ตัวเมียเห็นว่าบ้านฉันสวยนะ ฉันเป็นคนที่มีความเพียร เพราะฉะนั้น ฉันเป็นผู้ชายที่เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัว

นี่ มันเป็นอย่างนี้

เพราะฉะนั้นที่คุณ xlmen บอกมา มันเป็นคนละประเด็นค่ะ ความเพียรนั้น บางทีอาจจะต้องตีความออกเป็นสองแบบ ความเพียรแบบควายตัวดังกล่าว มันไม่ใช่ความเพียรที่เกิดจากฉันทะ คือความพอใจ แต่มันเป็นความเพียรที่เกิดจากการบังคับ ซึ่งความเพียรที่เกิดจากการบังคับนั้น ไม่อาจทำให้งานที่ออกมาสำเร็จได้อย่างปราณีต ได้เลย

การที่คนเราจะมีความเพียรได้นั้น มันย่อมต้องมีความชอบก่อน เพราะเมื่อมีความชอบแล้ว ก็จะพยายามลองผิดลองถูก หาหนทางทำให้งานของตน ประสบผลสำเร็จได้อย่างปราณีต แต่ถ้าหากขาดความชอบแล้ว ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะเมื่อลองผิดลองถูกแล้ว มันก็จะเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย และท้อ และก็เลิกไปในที่สุด

ในกรณีที่บอกว่า คนว่ายน้ำถึงแม้จะมองไม่เห็นฝั่ง แต่ก็ยังว่ายต่อไป นั่นก็เพราะในใจเขามีความหวังไงคะ เขาคิดว่ามันต้องมีฝั่งแน่ๆต่างหาก เขาถึงว่าย จนไปเจอฝั่ง แต่ถ้าหากคนที่ไม่มี่ความหวังแล้ว ก็คงปล่อยให้ตัวเองจมน้ำตาย

#14 saowanee15

saowanee15
  • Members
  • 207 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 10:47 AM

ก็เหมือนเราชอบอะไรสักอย่างหรือยากจีบสาวสักคน มันก็ต้องมีฉันทะ(ความพึงพอใจ ความรัก)ต่อตัวผู้หญิงก่อน..ความเพียรก็จะตามมาใช่ปะค่ะ...หากฉันทะน้อยก็เพียรน้อย...หากฉันทะมากก็เพียรมาก...

#15 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 11:34 AM

สาธุกับคุณแดงดีกับคุณ xlmen ด้วยครับ คุณธรรมแห่งความสำเร็จ หรือ อิทธิบาท 4 นั้น ต้องประกอบด้วย 4 อย่างจึงจะสำเร็จคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

ด้วยเหตุผลเช่นนี้ คนเราจึงสามารถมีองค์ประกอบย่อย 1 ใน 4 อย่างได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอื่น แต่เมื่อมีเป็นบางตัว ย่อมทำการงานไม่สาเร็จครับ หรือสาเร็จได้ยากมากๆ ดังตัวอย่าง

1. สามารถมีฉันทะได้ โดยไม่ต้องมีวิริยะ จิตตะ วิมังสา ดังเช่น เด็กโง่ ขี้เกียจ ฟุ้งซ่านเก่ง แต่อยากเป็นมหาเศรษฐีชื่อดัง ความปรารถนาของเขาย่อมไม่มีทางสำเร็จ ยกเว้น เขาจะเป็นหลานของพจมาน สว่างวงค์ ที่หายตัวไปตั้งแต่ยังเด็ก เหล่าญาติตามตัวจนพบ แล้วได้เป็นเศรษฐี (มีบุญเก่ามาดี) ดังเช่น นิยายหลายเรื่องในเมืองไทย

2. สามารถมีวิริยะได้ โดยไม่ต้องมีฉันทะ จิตตะ และวิมังสา ดังเช่น คนที่เพียรไปหาร่างทรงกุมารทอง เพราะกลัวว่า ถ้าไม่ไปจะถูกกุมารทองทำร้ายเอา เป็นต้น

3. สามารถมีจิตตะได้ โดยไม่ต้องมีฉันทะ วิริยะ วิมังสา ดังเช่น คนเบื่อง่าย เวลาทำอะไรก็ตั้งใจทำออกมาดี แต่สักพักก็เบื่อสิ่งนั้น แล้วหาสิ่งอื่นทำต่อไป คนแบบนี้ก็มีเยอะ

4. สามารถมีวิมังสาได้ โดยไม่ต้องมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ ดังเช่น คนฉลาดแต่ขี้เกียจ

โดยสรุปคุณสมบัติต่างๆ นี้แยกกันเกิดได้ครับ แต่ถ้าไม่มาประกอบกัน ย่อมไม่สำเร็จ (ยกเว้นมีบุญเก่ามาดี) ดังนั้น คำว่าคุณธรรมแห่งความสำเร็จ จึงต้องมี 4 อย่างนี้ประกอบกัน
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#16 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:05 PM

ขอแย้ง เล่นมานานละ ขอลองจริงจังกับเค้าดูบ้างนะคับผิดถูกก็ขอโทษด้วย
QUOTE
แต่ถ้าเขาไม่เชื่อว่าที่ปลายฟ้าจะมีแผ่นดิน แต่ก็จะล่องเรือไปในทะเลทั้งที่ในใจก็บอกว่าไม่เชื่อ เขาอาจจะเจอหรือไม่เจอแผ่นดินก็ได้แต่สุดท้ายเขาก็จะพบแผ่นดินอยู่ดีแหละครับ

ถ้าใจบอกว่าไม่เชื่อจริงแล้ว ด้วยเหตุใด จึงต้องลงเรือล่องไปในทะเลเล่า เค้าล่องไปเพื่ออะไร ถ้าเค้าไม่มีความพอใจที่จะอยู่ในเรือนั้นนานๆ แล้วเค้า
จะยอมลงไปลำบากตรากตรำหรือ?
แล้วไม่ใช่ศรัทธาและความพอใจหรอกหรือ? ที่ทำให้เค้าลงเรือได้
แล้วที่พี่บอกว่าถึงเค้าจะไม่เชื่อก็ตามในที่สุดก็ต้องพบ แสดงว่า เค้าไม่ได้มีความเพียรเรยที่จะหาแผ่นดิน เพียงแต่ปล่อยให้มันไปตามเวรตามกำเท่านั้น
มันก็เหมือนกับต้นไม้ที่มันขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ในเขตบ้านเรา เราไม่ได้มีความเพียรเรยที่จะให้มันขึ้น แต่มันขึ้นเอง ก็เหมือนที่พี่บอกว่าคนที่ล่องเรือลงไปหาแผ่นดินใหม่นั้นแหละ เค้าไม่ได้มีความเพียร เป็นเพียงแต่ปล่อยไปตามเวรตามกำ ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ
ผมคิดว่า คงไม่มีคัยในโลกนี้ บ้าลงไปในเรือโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย
------------------------------------------------------
QUOTE
อุปมาเหมือน ทาสหรือนักโทษที่ถูกผู้คุมบังคับให้ทำงานสร้างกำแพง หรือทำงานหนักๆ ต่างๆ ที่ตนไม่ชอบไม่ศรัทธา แต่ก็ยังต้องออกแรงวิริยะทำอยู่ดี ไม่ทำไม่ได้เพราะกลัวภัยอันตราย ดังนั้นศรัทธาไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุให้เกิดความเพียรเสมอไปครับ แม้ทาสไม่มีศรัทธาในการทำงานหนักแต่ถูกบังคับให้ออกแรงก็ต้องออกแรงทำงานจนสำเร็จได้เหมือนกันครับ

หรืออุปมาเหมือน ควายตัวหนึ่งที่ชาวนาเลี้ยงไว้ให้ไถนา ชาวนาบอกกับควายว่าไอ้ควายเอ้ยเจ้างหนะต้องช่วยข้าไถนานะแล้วต่อไปจะได้มีข้าวเต็มท้องนาเลย ถามว่าควายมีความเชื่อหรือศรัทธาในสิ่งที่ชาวนาต้องการหรือป่าวหละครับ ควายมันยินดีไถนา และเชื่อหรือสนใจหรือไม่ว่าข้าวจะเต็มท้องนา มันไถนาได้เพราะอะไรเพราะถูกบังคับ หรือเพราะควายมันเชื่อฟังชาวนาที่อธิบายบอกมันมีเหตุผลดีหละถึงยอมไถนาให้หละครับ

ทันใดนั้นชาวนาไม่รอช้า ควายยังไม่ทันคิดก็โดนแส้ตีไล่หลังให้ไถนาต่อไปครับ

อย่างนี้ผมไม่คิดว่าเป็นความเพียร ผมคิดว่าเป็นการกลัวความตายมากกว่า ความเพียรคือสิ่งที่เกิดขึ้นเองจากจิตจัยเรา ถ้าต้องให้เค้ามาเคี้ยนตีบังคับขู่เข็ญอย่างนี้ผมไม่คิดว่าเป็นความเพียรแต่คิดว่าเป็นการกลัวความตายมากกว่า เพราะถ้ามีความเพียรจริงแล้ว ไยต้องให้เค้ามาตีมาบงคับขู่เข็ญละ

ผมคิดว่า ศรัทธา ความพอใจต้องมาก่อน ความเพียรถึงจะมาตามครับ
อิอิ หุหุหุ
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#17 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:27 PM

QUOTE
ถ้าไม่มีศรัทธาหรือฉันทะความเพียรจะเกิดมั๊ย

คุณฟ้าร้าง ผมว่าอ่านโจทย์ใหม่ดีกว่าครับ อย่างที่คุณหัดฝันชี้แจงมาหนะถูกต้องแล้วครับ เรื่องอิทธิบาท 4 ถ้าครบองค์ก็ย่อมจะสำเร็จผลอยู่แล้วตามที่พระพุทธองค์ตรัสครับ แต่ในโจทย์นี้กำลังถามว่าวิริยะต้องเกิดมาจากความพอใจหรือฉันทะหรือไม่ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าธรรมเพียงข้อเดียวคืออิทธิบาท 4 เพราะถ้ากล่าวเช่นนั้นท่านจะกล่าวอีก 3 ข้อที่เหลือทำไมหละครับคุณฟ้าร้าง โจทย์เขาถามว่าความเพียรจะเกิดได้ไหม ความเพียรก็ไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะก็ไม่ใช่ความเพียร จิตตะก็คือจิตตะ จิตตะไม่ใช่ฉันทะ จิตตะก็ไม่ใช่วิริยะ วิมังสาก็ไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะก็ไม่ได้แปลว่าวิมังสา ถ้าแปลเหมือนกันก็คงจะใช้คำๆ เดียวไปแล้วครับ

ยกตัวอย่างอีกข้อเผื่อจะเข้าใจยิ่งขึ้น
เหมือนที่คุณหัดฝันได้กล่าวมาแล้วแหละครับว่า ถ้าสมมุติมีเด็กคนหนึ่งเขาอยากจะเป็นมหาเศรษฐี มีใจสมัครรักใคร่พอใจอยากเป็นมหาเศรษฐีมากมีฉันทะเต็มเปี่ยม แต่ความเพียรต่ำ ถึงจะมีความอยากมาก แต่ความเพียรต่ำหรือปัญญาน้อยก็ใช่ว่าจะสมหวังได้ครับ กับอีกคนหนึ่ง ในใจไม่อยากเป็นเศรษฐีเลย เหม็นกลิ่นเศรษฐีตั้งแต่เด็ก แต่มีความเพียรพยายามดี รู้จักข้อผิดพลาดในการทำงานหาเงิน มีปัญญาในการหาเงิน ถึงจะไม่ได้หวังรวย เขาก็รวยได้ครับ เพียงแต่หลังจากรวยแล้วอาจจะไม่รู้สึกปลื้มในความรวยที่ตนได้มาก็เท่านั้นเอง

ตัวอย่างที่ 2
บุคคลชั้นกรรมชีพทำงานโรงงานใช้ฝีมือเพื่อแลกเงินประทังชีพไปวันๆ ถามว่าใจเขารักในงานนั้นหรือไม่ ถ้าเขาเลือกได้เขาก็อยากจะเปลี่ยนงาน เพราะทุกคนอยากเกิดมาอยากสบายเป็นธรรมดาครับ เช่น ช่างเจียรนัยพลอย มีความรู้ ความชำนาญ ลองผิดลองถูก นั่งหลังขดหลังแข็งทำงานหนักทั้งวัน เหนื่อยสุด ๆ ทรมานใจไม่รักเบื่อหน่ายแต่ต้องฝืนใจทำงานเพื่อแลกเงิน มีหรือไม่ในสังคม มีนะครับ ลุกจ้างช่างตีดาบต้องอยู่กับเตาไฟความร้อนวันละหลายชั่วโมง เหนื่อยแสนเหนื่อย มีความรู้ความชำนาญในการตีดาบ ถ้าคนไหนใจรักในงานก็แล้วไป แต่ถึงใจไม่รักแต่ถ้ามีความจำเป็นในชีวิตถามว่าเขาสามารถทนทำงานที่เขาไม่รักได้หรือไม่ คนทุกคนเมื่อถึงคราวจำเป็นต้องทำงานแลกเงินแม้ใจไม่รักก็ต้องทนทำงานนั้นไปก่อนแหละครับ

ดังนั้น ฉันทะ ไม่ใช่ วิริยะ , วิริยะ ไม่ใช่ ฉันทะ , ศรัทธา ไม่ใช่ วิริยะ ,วิริยะไม่ใช่ศรัทธา แปลความหมายให้ถูกแล้วบารมี 10 จะไม่เหลือเพียง 9 ข้อครับ

ผลโพลในนี้ไม่ถือเป็นมติที่ถูกต้องเสมอไปครับ อุปมาเหมือนขนโค กับเขาควาย บุคคลที่อยู่วัฎฎะสงสารมีมากกว่าผู้ที่จะบรรลุธรรมเห็นความจริง(ขนโค) กับผู้ที่เห็นสัจธรรมซึ่งมีเพียง 2 เขาไว้สู้สิงห์ครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#18 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:27 PM

คุณธรรมจักร ต้องเข้าใจความหมายของวิริยะในอิทธิบาท 4 ก่อนน่ะครับ ว่า หากเพียงแค่มีฉันทะ แล้วทุกอย่างจะเกิดขึ้นตามมาเอง พระพุทธเจ้าย่อมไม่ตรัส อิทธิบาทไว้ 4 ประการหรอกครับ ตรัสเพียงแค่ฉันทะ ก็ใช้ได้แล้ว แล้วคุณธรรมที่เหลือจะตามมาเองอย่างนี้ไม่ได้ครับ ดังนั้นย่อมแสดงว่า แต่ละคุณธรรมเกิดโดยตัวของมันเองได้ แต่จะยังไม่ทำให้สำเร็จหรือสำเร็จได้ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ครับ

ดังที่คุณยกมาก็ถูก การพายเรือข้ามทะเลโดยไร้จุดหมายนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะถึงฝั่ง นั้นผมก็เห็นด้วยครับ เพราะการจะทำความสำเร็จในงานใหญ่ๆ เช่น ข้ามทะเลนั้น ต้องอาศัยอิทธิบาท 4 ครบถ้วน ต้องอยากก่อน จึงจะเพียรไปถึงฝั่ง
แต่ถ้างานเล็กๆ เช่น พายเรือข้ามคลองเล็กๆ แม้ไม่มีฉันทะ แต่มีวิริยะ คือ เพียรพายไปด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ เช่นพายเล่นๆ หรือถูกบังคับ ก็ถึงอีกฝั่งได้ เพราะเป็นแค่ความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ กำลังแห่งอิทธิบาท 4 ไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 4 ประการก็ได้ ผมเห็นว่าอย่างนั้นครับ

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#19 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:39 PM

555+สนุกหลายคน หลายความคิด จิงๆมันน่าจะมีคำถามให้เกิดปะโยชน์อย่างงี้มานานแล้ว ทำบุญด้วยการสนทนาธรรม ได้ความรู้เยอะดี หุหุ

มันคงจะเหมือนที่ สิริปโภ เค้าว่าแหละ วงกลมมันไม่รู้เริ่มตรงไหน
แต่ว่า อิทธิบาทสี่ มันต้องมีครบสี่อย่างถึงจะทำทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้ เนอะ
เอาเป็นว่าไอ้สี่อย่างนี้ มันเกื้อกูลซึ่งกันและกันก็แล้วกัน
--------------------------------------------------------------------
ทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องมีอิทธิบาทสี่นะครับท่านผู้อ่าน
เอวัง.. ก็มีด้วยประการละฉะนี้
------------------------------------------------------------------
สาธุ_/ \_
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#20 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 11:07 PM

พี่ขอแยกตอบเป็น ๓ กรณีดังนี้นะครับ

กรณีที่ ๑ หากมีศรัทธาเพียงอย่างเดียว ความเพียรสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่?

ตอบ ไม่ได้ครับ เพราะความเพียรจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยอิทธิบาทธรรม คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นหัวใจในการเกิดนะครับ ส่วนศรัทธานั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอยกตัวอย่างของคนที่เข้าวัดพระธรรมกายก็แล้วกัน เป็นที่แน่นอนว่า เขาต้องมีศรัทธาในพระรัตนตรัย ศรัทธาในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศรัทธาในพระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสองและคุณยายอาจารย์ก็จริงอยู่ แต่พี่ขอย้อนถามเราว่าคนเหล่านี้ จะมีสักกี่คนเล่าที่ตั้งใจปรารภความเพียร โดยเฉพาะความเพียรอย่างมุ่งมั่นในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ (พูดง่ายๆ คนเข้าวัดเราเยอะ เพราะมีศรัทธาแก่กล้าก็จริงอยู่ แต่จะมีสักกี่คนเล่าที่ขยันนั่งธรรมะอย่างเอาจริงเอาจัง) ฉะนั้น หากปราศจากเสียซึ่งอิทธิบาทธรรมแล้ว แม้ว่าจะมีศรัทธามากมายเพียงไรก็ตาม แต่หากใจไม่รัก (ไม่มีฉันทะ) ไม่มุ่งมั่น (ไม่มีวิริยะ) ไม่จรดจดจ่อ (ไม่มีจิตตะ) ไม่ใคร่ครวญพิจารณาถึงเหตุและผลไปตามสภาวะแห่งความเป็นจริง (ไม่มีวิมังสา) เสียแล้ว ความเพียรจะเกิดขึ้นนั้น เป็นไม่มี

กรณีที่ ๒ หากมีอิทธิบาทธรรมเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่มีศรัทธา ความเพียรสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่?

ตอบ ได้ครับ เพราะอิทธิบาทธรรมเป็นหัวใจหลักของความสำเร็จในทุกสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งโลกและทั้งธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการปรารภความเพียรแล้ว บอกได้เลยว่า อิทธิบาทเป็นเรื่องหลัก ศรัทธาเป็นเรื่องรอง ยกตัวอย่างเช่น ตัวของพี่เป็นคนที่นับถือศาสนาคริสต์แบบสุดโต่งเลย (เรียกได้ว่า ความเชื่ออื่นไม่ต้องมาพูดกัน) แต่อยู่มาวันหนึ่งพี่เห็นว่า การทำสมาธินั้น ก่อให้เกิดผลดีกับตัวของเราเอง จึงได้ทดลองปฏิบัติไปเรื่อยๆ ผลปรากฏว่า พอปฏิบัติไปๆ ดวงธรรมภายในผุดเกิดขึ้น พระธรรมกายภายในผุดเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่พี่เองก็เป็นคริสต์เตียนที่เคร่งครัด ไม่มีศรัทธาในพุทธศาสนา และไม่เคยรู้จักกับคำว่า “ธรรมกาย” มาก่อนหน้านี้เลย ซึ่งเมื่อถึง ณ เวลานั้น หากพี่มีความประสงค์ที่จะถามพระธรรมกายภายในว่า สิ่งที่ผมเห็นนี้คืออะไร? ท่านย่อมตอบกลับมาว่า

“เรา คือ พระธรรมกาย อันเป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม”

ดังกรณีที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่า

“แม้ไม่มีศรัทธา หากแต่มีอิทธิบาทธรรมเพียงฝ่ายเดียว
ก็สามารถยังความเพียรให้เกิดขึ้นได้”

แม้จะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ก็ตาม

กรณีที่ ๓ (ทางเลือกเสริม) หากจะเอาศรัทธาเป็นหลัก อิทธิบาทเป็นรอง โดยอาศัยคุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ประกอบกัน ความเพียรสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่?

ตอบ ได้ครับ แต่มีข้อแม้อันเป็นจุดบอดสำคัญของทางเลือกนี้ ที่ท่านทั้งหลายพึงสังวรณ์ระวังเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือ หากศรัทธาที่ถูกใช้เป็นปัจจัยหลักไม่มีสัมมาปัญญามาเป็นเครื่องประกอบแล้วล่ะก็ ทางเลือกนี้ก็จำต้องเข้าสู่ทางตันและปิดฉากลงแต่แรกเริ่มแล้วนะครับ เพราะอะไร? เพราะศรัทธาที่ไม่มีสัมมาปัญญาประกอบก็คือ “ความงมงาย” นั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เส้นแบ่งระหว่างคำว่า “งมงาย” กับ “ศรัทธา” นั้น ช่างเป็นเส้นแบ่งที่มีจุดต่างราวกับความกว้างของเส้นด้าย และถ้าหากตัวเราเป็นเช่นนี้แล้ว แน่นอนล่ะ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นประการต่อไปก็คือ รู้ผิด เห็นผิด สุดท้ายหากสั่งสม รู้ เห็น ในลักษณะนี้นานเข้าๆ ก็ย่อมจะกลายเป็น “มิจฉาทิฏฐิบุคคล” ได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธเช่นเรา ทั้งในฝ่ายของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ไม่ควรดูเบาและมองข้ามนะครับ ในทางกลับกัน หากศรัทธาที่เป็นปัจจัยหลักของเรามีสัมมาปัญญาเป็นเครื่องประกอบ อีกทั้งมีอิทธิบาทธรรมเป็นเครื่องหนุนเนื่องอย่างเพียบพร้อมเช่นนี้ ย่อมยังให้ความเพียรที่เกิดขึ้นสัมฤทธิ์ผลเป็น “สัมมาวายามะ” (ความเพียรชอบ) และผลที่ได้จากความเพียรอันจะเกิดขึ้นเป็นประการต่อมาเมื่อพิจารณาจากอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วก็คือ สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) ทั้ง ๒ ประการนี้ ย่อมเป็นกุญแจไขไปสู่ความรู้แจงแทงตลอดอย่างถูกต้องร่องรอยตรงไปตามความเป็นจริงทุกสิ่งทุกประการได้ในที่สุด (สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธินั้น เป็นส่วนหนึ่งของไตรสิกขา โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของ “จิตสิกขา (สมาธิ)”) ดังกรณีของทางเลือกเสริมนี้ หากจะอุปมาแล้ว อิทธิบาทธรรมอันเป็นปัจจัยรอง ย่อมเปรียบได้กับ “หัวใจ” ส่วนศรัทธาอันมีสัมมาปัญญาเป็นเครื่องประกอบอันเป็นปัจจัยหลัก ย่อมเปรียบได้กับ “น้ำเลี้ยงหัวใจ” ที่ต่างต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน

บทสรุป : ความเพียรจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีอิทธิบาทธรรมเป็นหลัก มีศรัทธาเป็นรอง (จะมีหรือไม่มีก็ได้) แต่ถ้าใช้ศรัทธากับอิทธิบาทประกอบกัน โดยให้ศรัทธาเป็นหลัก (เดินนำ) อิทธิบาทเป็นรอง (เดินตาม) ศรัทธานั้นจะต้องเป็นศรัทธาที่ประกอบไปด้วยสัมมาปัญญา (แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของไตรสิกขา โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของ “ปัญญาสิกขา (ปัญญา)”) จึงจะสามารถยังให้ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) เกิดให้ขึ้นได้โดยสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ก็ตาม “อิทธิบาทธรรม” ก็ยังคงเป็นหัวใจหลักแห่งการบังเกิดขึ้นของความเพียรเสมอ (แม้จะถูกกำหนดให้เป็นปัจจัยรองสำหรับทางเลือกเสริมดังได้กล่าวไว้กรณีที่ ๓ แล้วก็ตาม)

ปล. น้องรักบุญลองเอาเหตุผลที่พี่ได้ให้ไว้ในแต่ละกรณี ไปชี้แจงกับพี่เขาดูก่อนก็แล้วกันนะครับ และถ้าหากกัลยาณมิตรท่านใดในทีนี้มีความเห็นว่า สิ่งที่ผมได้อธิบายมาแล้วทั้งหมดยังมีจุดบกพร่องอยู่ ขอความกรุณาท่านทั้งหลายได้ท้วงติงและช่วยเติมต่อให้เต็มเปี่ยมด้วยนะครับ อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันครับ สาธุ...


#21 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 05 April 2006 - 12:48 AM

QUOTE
ตัวของพี่เป็นคนที่นับถือศาสนาคริสต์แบบสุดโต่งเลย (เรียกได้ว่า ความเชื่ออื่นไม่ต้องมาพูดกัน) แต่อยู่มาวันหนึ่งพี่เห็นว่า การทำสมาธินั้น ก่อให้เกิดผลดีกับตัวของเราเอง จึงได้ทดลองปฏิบัติไปเรื่อยๆ ผลปรากฏว่า พอปฏิบัติไปๆ ดวงธรรมภายในผุดเกิดขึ้น พระธรรมกายภายในผุดเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่พี่เองก็เป็นคริสต์เตียนที่เคร่งครัด ไม่มีศรัทธาในพุทธศาสนา และไม่เคยรู้จักกับคำว่า “ธรรมกาย” มาก่อนหน้านี้เลย

ข้อนี้เป็นเพียงการอุปมาอุปไมยแต่เพียงเท่านั้นนะครับ แท้ที่จริงแล้วผมนับถือพระพุทธศาสนาครับ