ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

โลกียสัมมาทิฏฐิกับโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2006 - 12:52 AM

สำหรับลองตอบดูที่นี่ครับ


มีผู้แสดงความคิดเห็นเรื่องสัมมาทิฐิ แล้วก็ยกมา ๑๐ อย่าง ว่านี่คือสัมมาทิฐิ แล้วเห็นว่าทางวัดๆ หนึ่งมีครบทั้งสิบอย่าง
จึงกล่าวว่าเป็นสัมมาทิฐิที่ไม่บิดเบือน และใครกล่าวว่าอย่างนี้บิดเบือนก็ให้กลับไปศึกษาสัมมาทิฐิใหม่
แล้วก็เร่งให้ปฏิบัติกันเถิด จะได้รู้เห็นผลจริงๆ

เลยสงสัยว่า... มีสัมมาทิฐิครบทั้งสิบข้อนี้แล้วจะปฏิบัติได้ตรงทางหรอกหรือ ที่เรียกว่าสัมมาทิฐิมีแค่นี้หรือ?

มีผู้ยกพระไตรปิฎกมาอ้างอิง ซึ่งสัมมาทิฐิ ๑๐ อย่างที่เคยยกมาก็อยู่ในพระไตรปิฎกจริง

จึงต้องไปศึกษาสัมมาทิฐิตามที่แนะนำมา จากพระสูตรเดียวกันที่นั่นแหละ

ในพระสูตรนี้ [พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาจัตตารีสกสูตร ]
ต้นเรื่องคือพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พระภิกษุเรื่องสัมมาสมาธิของพระอริยะ
ขอยกเอาความเข้าใจมาแสดงเป็นตอนๆ ไป

[๒๕๒] ประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงแสดงพระธรรมแก่พระภิกษุเรื่อง สัมมาสมาธิของพระอริยะ

[๒๕๓] ทรงตรัสว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ มีเหตุ มีองค์ประกอบ ๗ อย่างคือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
... จนไปถึงสัมมาสติ จึงจะเรียกว่าสัมมาสมาธิของพระอริยะ

[๒๕๔] ทรงตรัสว่า ในองค์ทั้ง ๗ สัมมาทิฐิเป็นประธาน เป็นประธานยังไง คือต้องรู้ว่าอะไรคือมิจฉาทิฐิ อะไรคือสัมมาทิฐิ
ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นสัมมาทิฐิ

[๒๕๕] ทรงตรัสถึงมิจฉาทิฐิ ไล่ตั้งแต่ ความเห็นที่ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ฯลฯ... นี้ว่าเป็นมิจฉาทิฐิ

[๒๕๖] ทรงตรัสถึงสัมมาทิฐิ ๒ อย่าง คือสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะอย่างหนึ่ง สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะอย่างหนึ่ง

[๒๕๗] ทรงตรัสถึงสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ ไล่ตั้งแต่ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ.. เป็นสัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ พูดง่ายๆ
คือสัมมาทิฐิระดับโลกียะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์

มาถึงตอนนี้มีข้อสังเกตุ

ข้อแรก การเอาพระสูตรมาแสดง แต่ไม่อธิบายหมด แม้ในบางความเห็นก็มีส่วนที่แสดงให้เห็นว่าสัมมาทิฐินั้นมีสองอย่าง แต่
ไม่กล่าวถึงอย่างหลัง การแสดงไม่หมดแบบนี้ไม่รู้จะเรียกได้ว่า "บิดเบือน" หรือว่า "กล่าวตู่" หรือเปล่า

ข้อสอง สัมมาทิฐิที่นำมาแสดง นั้นเป็นส่วนที่เรียกว่าระดับโลกียะ ซึ่งเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ก็น่าอนุโมทนา ไม่ว่าจะเรื่อ
งทำทาน เรื่องทำความดี เรื่องทำบุญ เรื่องโลกนี้ โลกหน้า ฯลฯ

มาว่ากันต่อในพระสูตร

[๒๕๘] ทรงตรัสต่อว่า สัมมาทิฐิของพระอริยะ นั้นคือ "ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ
องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ" นอกจากนั้นยังทรงกล่าวถึงความพยายามละมิจฉาทิฐิว่าเป็น
สัมมาวายามะ ความมีสติในสัมมาทิฐิที่ละได้เป็นสัมมาสติ ธรรมสามประการคือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมภิกษุนั้นอยู่..

ความเห็นคือ โดยทั่วไปสัมมาทิฐิในระดับโลกียะนั้นเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วไปมีอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด
ของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทางแห่งพระอริยะ ไม่ใช่ทางแห่งการหลุดพ้น
...


การได้ไปสุคติภูมิ เป็นอานิสงค์แห่งการทำทานเท่านั้น และทานนั้นไม่ควรเต็มไปด้วย โลภะและโมหะ

ว่ากันว่าสัมมาทิฐิระดับโลกียะนั้นเหมาะเอาไว้ใช้สำหรับ (ขอใช้สมัยพุทธกาล) เดียรถีย์ ด้วยซ้ำไป คือต้องให้คนเหล่านั้นมีสัมมาทิฐิระดับ
โลกียะก่อน จากนั้นจึงยกไประดับโลกุตระ

มาว่ากันต่อในพระสูตร

ตั้งแต่วรรค [๒๕๙] ไล่ไปจนถึง [๒๗๘] ทรงกล่าวถึงองค์มรรคต่อไปตามลำดับจนถึงสัมมาอาชีวะ เรียงลำดับคือ
มิจฉาในองค์มรรคนั้น สัมมาในองค์มรรคนั้นทั้งระดับสาสวะและอนาสวะ พร้อมทั้งกล่าวว่าความพยายามละมิจฉา
ในมรรคข้อนั้นเป็นสัมมาวายามะ การมีสติในองค์มรรคนั้นจากการละมิจฉาเสียได้เป็นสัมมาสติ

จะเห็นว่าทรงตรัสชัดเจนว่า การที่สัมมาทิฐิเป็นประธานนั้นจะต้องเห็นมิจฉา สัมมา ในองค์มรรคข้อนั้นๆ ความพยายามละ
เป็นสัมมาวายามะ ความละได้ มีสติอยู่ในองค์มรรคนั้น เป็นสัมมาสติ ธรรมสามประการ คือสัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมล้อมรอบอยู่

จะเห็นว่าขาดข้อใดไปก็ไม่เป็นสัมมาทิฐิเสียแล้ว

[๒๗๙] และ [๒๘๐] ทรงกล่าวสรุปเหตุปัจจัยแห่งองค์ธรรม ๘ ประการของพระเสขะ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วย
องค์ธรรม ๑๐ ประการ (สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ)

[๒๘๑] ทรงตรัสว่าใครติเตียนสิ่งที่ทรงกล่าวมานี้ ย่อมน่าตำหนิ ใครติเตียนสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นผู้บูชา สรรเสริญมิจฉาทิฐิ
ไล่ไปเรื่อยๆ จนวิมุตติ

จบพระสูตร..........



เหตุที่เขายกพระสูตรมาอธิบายเพื่อ... ป้องกันความเข้าใจผิด คิดว่าสัมมาทิฐิมีแค่ ๑๐ อย่าง เท่าที่มีผู้ยกมา ทำให้เกิด
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน เห็นว่ามีแค่สัมมาทิฐิถูกต้องในระดับโลกียะเท่านั้น แล้วการปฏิบัตินั้นจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกทางแล้ว



ดังนี้จะเห็นว่า สัมมาทิษฐิ โลกียะ ๑๐ ข้อนั้นยังไม่ใช่สัมมาทิษฐิที่แท้จริงที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ถูกหรือไม่
หยุดคือตัวสำเร็จ

#2 Prajya

Prajya
  • Admin_Article_VDO
  • 23 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2006 - 09:59 AM

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาจัตตารีสกสูตร พระสูตรนี้ประทับใจมากครับ เห็นครั้งแรกตะลึงครับ ทำให้รู้สึกว่าวิชชาธรรมกายให้คำตอบอะไรในหลายๆอย่างในปัญหาที่ตัวเองสงสัยยู่และไปหาคำตอบจากวิทยาศาตร์ไม่ได้นะครับ

http://84000.org/tip...923&pagebreak=0

happy.gif



#3 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2006 - 11:44 PM

เอ๊ะ ข้อมูลโพส หมายเลข 2 - 4 หายไปเพราะเชิฟเวอร์ตัวใหม่หรือเปล่าเนี่ย
หยุดคือตัวสำเร็จ

#4 Prajya

Prajya
  • Admin_Article_VDO
  • 23 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 May 2006 - 09:43 AM

คุณทศพลได้คำตอบหรือยังเหรอครับ
happy.gif

#5 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 May 2006 - 10:07 AM

ยอมรับว่าอันนี้ไปลอกเอาจากเวปบอร์ดอื่นมาแล้วมันมีคำโจมตีวัดอยู่เลยตัดคำพูดโจมตี
วัดออกไป อาจจะไม่ได้ใจความเหมือนเก่าทำให้ ธรรมกถึก ไม่เข้าใจเลยแสดงธรรมให้ฟัง
ไม่ถูก คิดว่าควรจะมีการปรับคำถามใหม่

ปรับคำถามใหม่ให้สั้น ๆ และได้ใจความ


โลกียะสัมมาทิษฐิ หรือ สัมมาทิษฐิ ๑๐ ที่ทางวัดสอน เป็นสัมมาทิษฐิที่สามารถทำให้
หลุดพ้นทุกข์ (กิเลส) ได้จริงหรือ หรือควรจะศึกษาโลกุตระสัมมาทิษฐิด้วยเพื่อจึงสามารถ
ปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์ได้ ถ้าไม่ศึกษาโลกุตระสัมมาทิษฐิเลยจะสามารถไปนิพพานได้หรือไม่

แบบนี้คงพอตอบได้

ยังไม่ได้คำตอบครับ
หยุดคือตัวสำเร็จ

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 01 June 2006 - 12:30 AM

QUOTE
เอ๊ะ ข้อมูลโพส หมายเลข 2 - 4 หายไปเพราะเชิฟเวอร์ตัวใหม่หรือเปล่าเนี่ย

possibly

QUOTE
โลกียะสัมมาทิษฐิ หรือ สัมมาทิษฐิ ๑๐ ที่ทางวัดสอน เป็นสัมมาทิษฐิที่สามารถทำให้
หลุดพ้นทุกข์ (กิเลส) ได้จริงหรือ หรือควรจะศึกษาโลกุตระสัมมาทิษฐิด้วยเพื่อจึงสามารถ
ปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์ได้ ถ้าไม่ศึกษาโลกุตระสัมมาทิษฐิเลยจะสามารถไปนิพพานได้หรือไม่?

เอาเป็นว่าตอนนี้เราปรับสัมมาทิฏฐิขั้นพื้นฐานให้ได้กันก่อนดีไหมครับ? เพราะหากว่าตอนนี้ ฐานเรายังไม่มั่นคงก็คงต่อยอดไม่ได้ดอกครับ แล้วสัมมาทิฏฐิขั้นพื้นฐานนี่ อย่าดูเบาเทียวหนา เพราะเหตุว่า เป็นมูลรากฝ่ายเกิดของกุศลธรรมทั้งปวง กล่าวคือ เมื่อเราคิดถูก กุศลมโนกรรมย่อมเกิด และเมื่อกุศลมโนกรรมเกิด กุศลวจีกรรม และกุศลกายกรรมย่อมเกิดตามมา และเมื่อได้มีการบ่มเพาะความคิด คำพูด และการกระทำที่ถูกต้องเช่นนี้อยู่บ่อยๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า นับภพนับชาติไม่ถ้วน กระทั่งบารมีของเราเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ย่อมจักเป็นเครื่องนำพาไปสู่ความสิ้นอาสวะกิเลสได้ในที่สุด

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#7 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 June 2006 - 05:05 AM

ขอบคุณทุกคำตอบครับ
หยุดคือตัวสำเร็จ

#8 ผู้ฝึกตน

ผู้ฝึกตน
  • Members
  • 1 โพสต์
  • Interests:ภาษาญี่ปุ่น ตอนนี้เริ่มเรียนการใช้คอมพิวเตอร์ มีอะไรเเนะนำได้ครับ

โพสต์เมื่อ 24 August 2006 - 10:52 PM


ตามที่พระสูตรที่ยกมา เเสดงว่าอริยมรรคที่ประกอบด้วยองค์เเปด เเบ่งเป็นสองขั้นคือ ขั้นโลกียะ และ โลกุตระ นั้น ผมว่าก็เป็นเรื่องที่เป็นไปตามชั้นตอนของการฝึกจิตเพื่อยกระดับบุคคล จากปุถุชน ขึ้นเป็น พระอริยะที่เป็นเสขะบุคคล(ผู้ที่ยังต้องฝึกตนเพิ่มอีก ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี) จนกระทั้งเป็นพระอริยะที่เป็นอเสขะบุคคล(ท่านที่เสร็จกิจในการกำจัดกิเลสก็หมายถึงพระอรหันต์นั่นเเหละครับ)

ที่นี้ที่ว่าเป็นขั้น ของการฝึกจิตนั้นเรื่องราวเป็นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจกันครับ (แต่บอกก่อนว่าไม่ได้คิดเองนะครับ มีพระอาจารย์ท่านสอนมาอีกที จริงท่านบอกไว้ละเอียดกว่านี้แต่จำได้เท่านี้ครับ) เอ้าได้เข้าเรื่องเสียที่ คือว่าเป็นอย่างนี้ อริยมรรคในขั้นโลกียะเค้าใช้ก็ใช้ฝึก ศีล สมาธิ ปํญญา ให้บริสุทธิเป็นรอบๆยิ่งขึ้นไป ของบุคคลผู้เป็นปุถุชน(ในเเปดข้อของอริยมรรค ถ้าจ้ดหมวดใหม่ก็จะเป็นการฝึกศีลสมาธิ ปัญญา) เป็นรอบๆยิ่งขึ้นไปหมายความว่า เมื่อศีลบริสุทธิ ใจก็จะเป็นสมาธิ เเล้วจึงเกิดปัญญารู้เห็นเรื่องราวต่างๆตามความเป็นจริง ซึ่งปัญญานี้ก็จะทำจะช่วยให้รักษาศีลได้บริสุทธิขึ้น มีผลทำให้ใจเป็นสมาธิได้ละเอียดขึ้น แล้วก็ทำให้ปัญญาบริสุทธิ์ขึ้นอีกเป็นรอบไปตามความชำนาญในการปฏิบัติ (ที่หลวงพ่อพูดเสมอว่าขึ้นกับชั่วโมงบินในการปฎิบัติธรรมของเเต่ละคน) เมื่อเกิดปัญญาบริสุทธิพอที่จะขจัดกิเลสให้เบาบางไประดับหนึ่งจนยกตนเองเข้าไปในขั้นของเสขะอริยบุคคลได้ คือเข้าถึงธรรมกายโสดาบันขึ้นไปเป็นขั้นๆ)
พอมาถึงขั้นนี้แล้วก็เป็นหน้าที่ของอริยมรรคขั้นโลกุตระ คือใช้ธรรมกายโสดาบันในการทำศีล สมาธิ และปัญญาในขั้นโลกุตระ(คืออริยมรรคเเปดที่สรุปลงในศีล สมาธิและปัญญา)ให้บริสุทธิยิ่งขึ้นไป ปัญญาก็จะบริสุทธิยิ่งขึ้นไปเป็นรอบๆ จนสุดท้ายบริสุทธิ์ถึงขั้น สามารถตัดกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษเข้าถึงกายธรรมอรหันตผลได้เป็นพระอรหันต์ ผู้ทำกิจในพระพุทธศาสนาจบหมดไงละครับ
เป็นข้อมูลที่นำมาเล่าให้ฟังอีกต่อหนึ่ง ผิดพลาดประการใด ช่วยเเนะนำด้วย จะได้เป็นการเสริมปัญญาซึ่งกันและกันครับ ได้ฟังแล้วจะได้มั่นใจว่า ความรู้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านค้นพบเข้ากันได้พอดีกับความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เเสดงว่าเรามาไม่ผิดทางหรอกครับ เเต่ที่ยังมืดตี้อมีดมิดอยู่ก็น่าจะเป็นเพราะนักเรียนเกเรมากกว่าครับ ซ้อมบินให้มากขึ้นจนชั่วโมงบินมากพอเดี๋ยวก็จะรู้เองครับไม่ต้องลังเลครับ ต้องไปตามขั้นตอนครับ แต่ช้าก็ไม่ได้นะครับ หลวงพ่อท่านรอต่อวิชชาให้อยู่ครับ
ปลาเป็นว่ายทวนน้ำ ปลาตายลอยตามน้ำ

ผู้ฝึกตนที่ดีจึงต้องเป็นผู้ทวนกระแสกิเลส