ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 12:30 AM

คัดลอกมา

พระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก


พระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในตะวันตกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฎให้ทราบชัดเจน มีแต่ข้อเขียนของนายคลีเมนต์ แห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย เคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเข้าว่า

“บรรดาชาวอินเดียที่เชื่อถือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่างพากันสรรเสริญพระพุทธเจ้าต่าง ๆ นานา และให้เกียรติยกย่องว่าเป็นเทพเจ้า”

ชาวตะวันตกเริ่มรู้จักพุทธศาสนาครั้งแรกเมื่อมีการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นภาษาตะวันตก ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ คโซมา เดอโกรอส , ชเลกินต์เวต , และรอคฮิลล์ ต่อมาก็มี ไอเดนเบอร์ก , ปิล , ชิลเดอรส์ และฟอสบอลล์ เป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญ ภายหลังได้มีแมกซ์ มุลเลอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง และดำเนินการจัดพิมพ์หนังชุด คัมภีร์ศักดิ์ของตะวันออก

และที่สำคัญ คือ ศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ และภรรยา ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีพร้อมอรรถกถาออกมาเป็นอักษรโรมัน ต่อจากนั้น ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ได้ดำเนินการในนาม “สมาคมบาลีปกรณ์” (Pali Text Society) เข้าเผยแพร่พุทธศาสนาสู่สายตาตะวันตก ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จัก กับพุทธศาสนามากขึ้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้เขียนหนังสือชื่อ ประทีปแห่งทวีปเอเซีย (Light of Asia) ได้รับการจัดพิมพ์อย่างแพร่หลาย หนังสือ เล่มนี้ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พุทธศาสนาในตะวันตก ชาวตะวันตกได้รู้จักพุทธศาสนาจากหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบันนี้หนังสือประทีปแห่งเอเซียเคยตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษกว่า๖๐ ครั้ง และในสหรัฐอเมริกาไม่ต่ำกว่า ๘๐ ครั้ง

ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษตั้งขึ้นแทนที่พุทธสมาคมสำหรับบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์ นายและนางคริสมาสฮัมเฟรย์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ และด้วยความอุปถัมภ์ของสมาคมนี้ได้มีพระภิกษุสงฆ์หลายรูปเข้าไปสอนธรรมะในประเทศอังกฤษ

ท่านอานาคาริกธรรมปาลแห่งศรีลังกา ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ เกิดมีความคิดเห็นจะสร้างพุทธวิหารขึ้นในกรุงลอนดอน เลยเริ่มทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ความใฝ่ฝันของท่านเป็นจริงขึ้นมาเมื่อวักพระพุทธศาสนาตั้งขึ้นสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสมาคมมหาโพธิ์ และได้ท่านศรัทธาติสสะแห่งศรีลังกาเป็นเจ้าอาวาส

ในขณะเดียวกัน งานแปลพระคัมภีร์ภาษาบาลีก็รุดเร่งไปเป็นอันมาก ภายหลังที่ได้ตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้น โดยศาสตราจารย์รีส เดวิดส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี โดยพิมพ์พระคัมภีร์ และอรรถกถาเหล่านั้น และโดยพิมพ์งานอื่น ๆ ประกอบการศึกษาภาษาบาลี นางสาวไอ ฮอร์เนอร์ ผู้อุทิศชีวิตให้กับงานแปลพระคัมภีร์ภาษาบาลีออกมาเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานทั้งหลาย เป็นผู้รับช่วงงานอันประเสริฐนี้ต่อจากนายและนางริส เดวิดส์

โดยที่ประเทศอังกฤษมีความสัมพันธ์กับประเทศศรีลังกา ในฐานะที่ศรีลังกาเคยเป็นอาณานิคมของตนมาก่อน อิทธิพลของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงมีมากในประเทศอังกฤษ และในระยะตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นมาได้มีพระภิกษุชาวตะวันตกที่ได้รับการอบรมศึกษามาจากประเทศไทย เช่น พระภิกษุสุเมโธ ชาวอเมริกัน เป็นต้น ได้ไปสร้างวัดเถรวาทขึ้นที่เมืองชิตเฮอสต์ และเฮมสเต็ด เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายนี้

อย่างไรก็ดี พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษมีหลายแบบหลายนิกาย คือมีทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานแบบต่าง ๆ เช่นแบบธิเบต แบบจีน และญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีองค์การพุทธศาสนาอีกหลายแห่ง ซึ่งไม่แยกนิกาย



พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ

ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในประเทศอังกฤษในตอนต้น ๆ พบว่า พุทธศาสนาได้ปรากฎในอังกฤษครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ มีชาวอังกฤษที่นับถือพุทธศาสนาคนแรกได้แสดงปาฐกถาในสวนสาธารณะรีเจนต์ ปาร์ค (Regent’s Park) ชื่อว่า อาร์. เจ. แจคสัน (R. J. Jacson)
ท่านผู้นี้ได้เปิดร้านหนังสือทางพระพุทธศาสนากับนาย เจ. อาร์. เพน (J. R. Pain) ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ทั้งสองท่านนี้ได้ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษขึ้นมา

ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มีชาวอังกฤษผู้หนึ่งที่เลื่อมใสพุทธศาสนา ชื่อ ชาร์ลส์ เฮนรี่ อัลเลน เบอร์เนตต์ (Charles Henry Allen Bernett) ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกของอังกฤษและเป็นพระภิกษุชาวตะวันตกรูปแรก มีฉายาว่า อานันทะเมตเตยยะ ท่านเมตเตยยะ สนใจพุทธศาสนาเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา มีความปรารถนาจะนำพุทธศาสนาไปเผยแผ่ที่อังกฤษ จึงบวชเป็นพระภิกษุเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่

ต่อมาท่านได้ก่อตั้ง พุทธสมาคมระหว่างชาติ (International Buddhist Society) ในแรงกูน ได้เผยแผ่พุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง โดยมีบุคคลสำคัญเข้ามาร่วมมากมาย เช่น สาสตราจารย์ริส เดวิดส์ ผู้ก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ นายคริสมาส ฮัมเฟรยส์ เป็นต้น

การเผยแผ่พุทธศาสนายังคงดำเนินไป ได้มีพระสงฆ์จากต่างประเทศเข้าไปสมทบ เช่น จากพม่า ลังกาจีนญี่ปุ่น และไทย และวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙ ได้มีการจัดตั้งคณะสงฆ์ขึ้นในอังกฤษ อันเป็นคณะสงฆ์คณะแรกในอังกฤษ ก่อตั้งโดยท่าน กบิลวัฑโฒ (W. A. Purfust) ซึ่งท่านได้อุปสมบทที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้วกลับที่ลอนดอน และกลับมาประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พร้อมกับสามเณรอีก๓ รูป เพื่อมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปากน้ำ กรุงเทพ ฯ

ส่วนทางคณะสงฆ์ไทย ได้มีการส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในตะวันตก โดยเริ่มจากประธานสังฆสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ ให้มีหนังสือขอเชิญผู้แทนสงฆ์ไทย ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในอังกฤษ ในขณะนั้น รัฐบาล โดยการนำของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมีพระธรรมทูตชุดที่ ๑ ได้แก่

1. พระราชสิทธิมุนี (โชดก ปธ. ๙)

2. พระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต เป็นพระสหจร

3. นายภานุพงษ์ มุทุกันต์ เป็นไวยาวัจกร

มีกำหนดเวลาเผยแผ่เป็นเวลา ๓ ปี โดยเริ่มปฏิบัติศาสนกิจวันแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๗
ต่อมามหาเถรสมาคมได้ประกาศแต่งตั้งให้พระราชสิทธิมุนีเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายยุโรป ครั้นต่อมาชาวพุทธไทยในอังกฤษจึงได้ตกลงกันสร้างวัดไทยในกรุงลอนดอน โดยเสนอฝ่ายรัฐบาลของไทย คระรัฐมนตรีอนุมัติ
ขณะนั้นประชาชนชาวไทยในอังกฤษมากมาย ได้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด โดยได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดพุทธประทีป”



พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน

พระพุทธศาสนาได้มีการเผยแผ่ในเยอรมัน และได้ปรากฎเป็นรูปร่างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมัน ได้ร่วมกันก่อตั้ง “สมาคมเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมัน” (Society For Buddhist Mission in Germany) ขึ้นในเมืองเลปซิก ( Leip- Zig )
โดย คาร์ล โซเดนสตือเกอร์ (Karl Seidenstuecker) พระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรกที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาชื่อ อันตอน วอลเตอร์ กือเอธ ( Anton Walter Florus Gueth ) มีฉายาว่า ญาณดิลก
ได้อุปสมบทที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นศิษย์ของท่านอานันทะ เมตเตยยะ ชาวอังกฤษ

ต่อมาได้มีผู้บรรพชาอุปสมบทอีก ๒ ท่าน คือ ท่านฟริตส์ สเตนจ์ ( Fritze Stange ) เป็นพระภิกษุมีฉายาว่า สุมโน และวอลเตอร์ มาร์คกราฟ (Walter Markgraf ) เป็นสามเณรชื่อ ธัมมนุสารี

ปี พ.ศ. ๒๔๕๒ ท่านธัมมสารี ได้ตั้งสำนักพิมพ์ขึ้นที่เบรสเลา ( Breslau) เพื่อพิมพ์วารสารเผยแผ่ ในปีเดียวกันนั้น ได้ตั้งสมาคมบาลีเยอรมันขึ้น (German Pali Society ) มีภารกิจสำคัญคือการสร้างวัดพุทธศาสนาในตะวันตกต่อไป

จนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๕ สมาคมบาลีเยอรมันได้เลิกกิจการไป เกิดมีสมาคมใหม่ชื่อ (League For Buddhist Life ) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนา เป็นสมาคมที่เผยแผ่พุทธศาสนาแบบเถรวาท

สมัยที่เกิดสงครามโลก เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้ สภาวการณ์อันเสื่อมทรามทางจิตใจทำให้เยอรมันหันเข้าหาพระพุทธศาสนา เมื่อสงครามโลกสงบลง วัดวาอารามได้มีการบูรณะซ่อมแซม ความสนใจในพุทธศาสนาก็มีมากขึ้น เมื่อมีพระสงฆ์จากเอเซียรูปหนึ่ง คือท่านถุนันทะ ( Thunanda) จากพม่า เดินทางไปประเทศเยอรมัน ชาวเยอรมันได้สนใจฟังธรรมเทศนามากมาย

ปัจจุบันชาวพุทธเยอรมันส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ประมาณการว่ามีจำนวนในระหว่าง ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ คน และนับถือนิกายโยโดชินชูของญี่ปุ่นประมาณ ๒๕ คน ส่วนที่อุปสมบทในนิกายเซ็น (Zen) ไม่ปรากฎว่ามี แม้ว่าจะมีผู้สนใจศึกษาพุทธศาสนาแบบเซ็นจากหนังสือเป็นจำนวนมากก็ตาม

ด้านการเผยแผ่พุทธศาสนาในเยอรมันของคณะสงฆ์ไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยได้รับหนังสือโดยผ่านจากกระทรวงการต่างประเทศ จากประธานสหพันธ์พุทธศาสนาในเยอรมัน เนื่องด้วยขณะนั้นคณะสงฆ์มีพระธรรมทูตไม่เพียงพอ เพราะได้ส่งไปประเทศต่าง ๆ แล้ว และก็ยังฝึกพระธรรมทูตรุ่นใหม่อยู่ จึงได้ให้พระธรรมทูตจากวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษไปช่วยก่อน

การนับถือพุทธศาสนาของชาวเยอรมันในปัจจุบัน ชาวเยอรมันได้นับถือพุทธศาสนาในส่วนของเนื้อหา โดยเฉพาะด้านปรัชญาพุทธศาสนา ไม่ค่อยสนใจในด้านรูปแบบและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเท่าใดนัก เขาเข้าถึงพุทธศาสนาด้วยสติปัญญาของเขาเอง แม่จะไม่ปรากฎวัดวาอารามทางพุทธศาสนามากมายก็ตาม แต่ก็มีชาวเยอรมันไม่น้อยที่นับถือพุทธศาสนาจากหลักธรรมคำสั่งสอน


พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา

พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นพระพุทธศาสนาแบบมหายาน จากประเทศจีน และญี่ปุ่น ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอเมริกาเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่ทว่ามั่นคง ศูนย์พุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ อยู่ที่ ซานฟรานซิสโก, ลอสแองเจริส, และซีแอตเติล แถบฝั่งทะเลตะวันตก ในฮาวายมีวัด ๕ แห่ง ลอสแองเจริสมี ๑๓ แห่ง ซานฟรานซิสโกมี ๔ แห่ง และนครนิวยอร์ก ๒ แห่ง ประชาชนที่นับถือพุทธศาสนามีอยู่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน

องค์การพุทธศาสนาที่สำคัญที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา ได้แก่ พุทธสมาคมในวอชิงตัน ดี.ซี ชื่อว่า “สหายพุทธศาสนา” (Friend of Buddhism) ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนาในสหรัฐ จนเป็นที่สนใจของประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาไม่น้อย จนถึงกับได้เปิดหลักสูตรวิชาพุทธศาสตร์ในระดับปริญญาเอกขึ้นเป็นแห่งแรกในอเมริกา ในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ในแผนกวิชาภารตศึกษา

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ประเทศพุทธศาสนาต่าง ๆ ๘ ประเทศ คือ พม่า กัมพูชา ลังกา อินเดีย ลาว ไทย เวียดนาม ใต้หวัน และญี่ปุ่น ได้ร่วมกันก่อสร้างวัดพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้น โดยการประชุมกันของเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ในวัดประกอบด้วยห้องฝึกสมาธิ ห้องสมุดด้วย

พระสงฆ์ไทยเดินทางไปอเมริกา

จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีกลุ่มคณะพุทธศาสนิกชนชาวไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมใจกันก่อตั้งพุทธสมาคมไทยอเมริกันขึ้น ที่นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายของสหรัฐเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับได้แจ้งให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมการศาสนา

และมหาเถรสมาคมทราบอย่างเป็นทางการในเทศกาลเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้นเอง ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ไทย จำนวน ๓ รูป คือ พระราชโมลี (พระเทพโสภณ วัดพระเชตุพน) พระวชิรธรรมโสภณ (พระวชิรธรรมโสภณ วัดชิรธรรมสาธิต) และพระมหาสิงห์ทน (วัดพระเชตุพน) เดินทางไปจำพรรษาชั่วคราวที่นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีชาวพุทธไทย (นาเสาวภา บุตรานนท์) ได้มอบบ้านให้เป็นสำนักสงฆ์ชั่วคราว เพื่อทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาวไทยในนครลอสแอนเจลิส เป็นสถานที่เริ่มต้นแห่งแรก เพื่อจะทำการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาขยายวงกว้างไปยังรัฐอื่นในสหรัฐอเมริกาต่อไป

วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีการวางศิลาฤกษ์ เพื่อสร้างวัดไทยแห่งแรกในอเมริกา โดยสมเด็จพระวันรัต (ปุณฺณสิริมหาเถระ) เป็นประธาน และได้สร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญเสร็จ พร้อมได้ประกอบพิธีฝั่งลูกนิมิต และผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นที่เรียบร้อย.

กาลต่อมาได้มีการสร้างวัดไทยขึ้นในสหรัฐหลายวัดด้วยกัน คือ

1. วัดไทยลอสแอนเจลิส ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิสรัฐแคลิฟอร์เนีย

2. วัดพุทธวราราม ตั้งอยู่ที่เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด (ผูกสีมาแล้ว)

3. วัดธรรมาราม ตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ (ผูกสีมาแล้ว)

4. วัดไทย กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตั้งอยู่ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. รับแมรีแลนด์

5. วัดวชิรธรรมปทีป ตั้งอยู่าที่เมืองนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก

6. วัดพุทธคยา ฮาวาย ตั้งอยู่ รัฐฮาวาย

7. วัดมงคลรัตนาราม ตั้งอยู่ที่นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

8. วัดมงคลรัตนาราม เมืองแทมปา รัฐฟลอริดา (ผูกสีมาแล้ว)

9. วัดธรรมคุณาราม ตั้งอยู่ที่เมืองโอกเดน รัฐยูทาห์

10. วัดพุทธาวาส ตั้งอยู่ที่เมืองฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส

11. วัดพุทธรังษี ตั้งอยู่ที่เมืองไมอามี่ รัฐฟลอริดา

12. วัดพุทธานุสรณ์ ตั้งอยู่ที่เมืองไดซีคอร์ท ซันนิเวล รัฐแคลิฟอร์เนีย

13. วัดพระศรีนาราม ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี

นอกจากมีการสร้างวัดไทยในสหรัฐโดยคณะสงฆ์ และฆราวาสฝ่ายมหานิกายแล้ว ยังมีวัดที่สร้างขึ้นสหรัฐโดย คณะฝ่ายธรรมยุติ รวม ๖ วัดคือ

1. วัดพุทธาราม เมืองเมอร์ฟีสโบโร รัฐเทนเนสซี่ มีพระอาจารย์เชื่อม ญาณมโย เป็นหัวหน้าคณะ

2. วัดพุทธดาลัส เมืองดาลัส รัฐเท็กซัส มีพระอมราภิรักขิต เป็นหัวหน้าคณะ

3. วัดพุทธบูชา เมืองแอตแลนต้า รัฐจาร์เจียร์ มีพระวิมลศีลาจารย์ เป็นหัวหน้าคณะ

4. วัดไทยวอชิงตัน รัฐวอชิงตัน มีระอาจารย์สุวัฒน์ สุวโจ เป็นหัวหน้าคณะ

5. วัดพุทธรัตนาราม เมืองเคลเลอร์ รัฐเท็กซัส มีพระปริยัติเมธี เป็นหัวหน้าคณะ

6. วัดธรรมรัตนาราม เมืองแซนอันโตนิโยรัฐเท็กซัส มีพระมหาสมาน สิริ-ปญฺโญ เป็นหัวหน้าคณะ

ต่อจากนั้นมา ก็ได้มีการสร้างวัดขึ้นในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา อีกมากมายหลายแห่ง วัดไทยในอเมริกา และที่อื่น ๆ นอกจากจะทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนาแก่ประชาชนคนไทยในต่างแดน และคนในท้องถิ่นแล้ว ยังได้เป็นศูนย์กลางของคนไทยในต่างแดนในการพบปะสมาคมกัน และเป็นแหล่งเผยแพร่วัฒนธรรมไทยแก่ลูกหลานคนไทยที่เกิดในต่างแดน เช่น เป็นสถานที่เรียนภาษาไทย ดนตรีไทย และอื่น ๆ อีกด้วย


พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรีย

ในประเทศออสเตรียนั้น มีประชาชนนับถือพุทธศาสนา เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป มีองค์การทางพุทธศาสนา คือ พุทธสมาคมแห่งประเทศออสเตรีย ได้ทำหน้าที่เผยแผ่พุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง สมาชิกของพุทธสมาคมส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท

เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ มร. เอฟ. ฮังเกอร์ไลเดอร์ นายกพุทธสมาคมเวียนนา เดินทางไปเยี่ยมพุทธสมาคมลอนดอน ได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับประสบการณ์ของท่านที่เคยอยู่ในเมืองไทยและลังกา ได้สนทนาธรรมกับพระภิกษุในเรื่องหลักธรรมทางพุทธศาสนา ในปาฐกถานั้น ท่านได้เล่าถึงพุทธศาสนาในในออสเตรียให้ที่ประชุมได้ฟัง

ดร.เอฟ. โอปรชาล, ดร. เจ และ ดร.เอช คลาร์ ชาวพุทธกลุ่มแรกในเวียนนาได้มาพบปะหารือกันเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๘๙ แต่ยังไม่ได้มีการจัดประชุมเป็นประจำ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๑ พุทธสมาคมเวียนนาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๙๒ โดยมี ดร. โอปรชาล เป็นนายกสมาคมคนแรก

ต่อมา ดร. เอฟ ฮังเกอร์ไลเดอร์ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเป็นคนที่ ๒ ในวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๘ ได้จัดงานวิสาขบูชาครั้งใหญ่ขึ้นโดยอาศัยความร่วมมือของสถานทูตอินเดีย และสถาบันตะวันออก-ตะวันตก ในพระราชวังเก่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเวียนนา.


อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อประเทศแถบยุโรปและอเมริกา

อิทธิพลทางสังคม

๑. สนองความต้องการของชาวตะวันตกได้ ด้วยคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นสัจธรรมที่สามารถนำไปพฤติปฏิบัติ และพิสูจน์ให้เห็นผลได้ตามหลักธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานแห่งความต้องการของชนชาวยุโรป และอเมริกาอยู่แล้ว ที่ชอบพิสูจน์ค้นคว้าหาความจริง จึงช่วยให้เกิดความต้องการความสุขสงบสุขทางจิตใจมากกว่าอย่างอื่น

๒. ลดความรุนแรงทางด้านวัตถุนิยมของชาวตะวันตกได้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาวยุโรปและอเมริกานั้นเรียบง่าย และทำให้ลดปัญหาทางสังคมลงได้มาก ตามอัตราส่วนของชาวยุโรป และอเมริกาที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนามีสังคหวัตถุธรรม เป็นต้น

๓. เป็นศูนย์กลางศึกษาวัฒนธรรมประเพณีทางพุทธศาสนา และเป็นที่พึ่งของประชาชนในยุโรปและอเมริกาได้ มีวัดไทยในฝ่ายเถรวาทตั้งอยู่หลายเมือง มีชนชาวยุโรป และอเมริกาเข้ามาบรรพชาและอุปสมบท เพื่อศึกษาเล่าเรียนทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากไม่น้อย เช่น วัดในประเทศเยอรมัน,อังกฤษ,ฝรั่งเศส และในอเมริกา เป็นต้น ทำให้เป็นที่ศูนย์รวมจิตใจของชาวยุโรป และอเมริกา อีกทั้งพุทธศาสนิกชนชาวไทย ชาวเอเซีย ที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ๆ

๔. เป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมประเพณีของศาสนา ที่ช่วยให้สังคมชาวยุโรป,อเมริกา และเอเซียมีความเป็นอยู่ผูกพันกัน โดยเฉพาะชนชาวไทยที่เข้าไปอาศัยประกอบอาชีพทำธุรกิจ และแต่งงานใช้ชีวิตร่วมกับชนชาวยุโรปและอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันมีมาก ได้นำเอาระเบียบทางสังคมพร้อมกับศิลปวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ทางศาสนาเข้าไปเผยแพร่ จึงทำให้ชนชาวยุโรป และอเมริกาได้เข้าใจว่า สังคมแห่งชาวพุทธนั้น มั่นคงในความเป็นผู้มีเมตตาธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา และมารดา อีกทั้งผู้มีพระคุณ และยังเป็นผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามทางศาสนาได้อย่าง
เหนียวแน่น และมั่นคง

๕. เป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนและศึกษาวัฒนธรรมสำหรับประชาชนจากประเทศต่าง ๆ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งยุโรป และอเมริกา รวมทั้งชาวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย, ลาว, พม่า, เขมร, เวียดนาม ที่เข้าไปถือสัญชาติของประเทศนั้น ๆ และวัดไทยยังเปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์แก่ลูกหลานชาวไทยและชาวต่างประเทศที่สนใจจะเรียนภาษาไทย, ดนตรีไทย, ศิลป-วัฒนธรรมอีกด้วย

อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ

๑. คำสอนทางพุทธศาสนามีหลักการที่ไม่ตามกระแสของวัตถุนิยม โดยสอนเรื่องการดำเนินชีวิตด้วยความพอดี มีความสันโดษ ประหยัด ใช้จ่ายตามความจำเป็น ไม่ส่งเสริมการบริโภคเพื่อตามใจอยาก ตามใจต้องการ จึงเป็นคำสอนที่หักล้างกับแนวคิดแบบวัตถุนิยม (materialism) และแนวคิดแบบบริโภคนิยม (consumerism) จึงส่งเสริมให้เกิดแนวคิดแบบพอเพียง เน้นความจำเป็นในการสนองตอบต่อความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต คำสอนพุทธศาสนาจึงได้มีอิทธิพลต่อด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

๒. การที่ชนชาวยุโรป และอเมริกา เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากจึงมีส่วนในการช่วยลดความฟุ่มเฟือยตามค่านิยมต่าง ๆ ในการดำรงชีพความเป็นอยู่ รวมถึงการแพร่หลายในคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทำให้ชนชาวยุโรป และอเมริกามีความสันโดษในการครองชีพทางด้านเครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ด้วย

๓. คำสอนทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ ได้มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้นับถือพุทธศาสนาชาวตะวันตกไม่น้อย ด้วยที่คำสอนได้เน้นถึงการเลี้ยงชีพให้สุจริต ไม่ประกอบอาชีพในทางทุจริต (สัมมาอาชีวะ) และกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็มีคำสอนที่ให้เห็นถึงประโยชน์ปัจจุบัน เช่นหลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ๔ อันได้แก่
๑. การขยันหมั่นเพียร
๒. การประหยัดอดออม
๓. การคบคนดี
๔. การใช้จ่ายทรัพย์ตามกำลังของตน เป็นต้น ล้วนเป็นคำสอนที่กล่าวถึงเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น

อิทธิพลทางด้านการเมือง

๑. การที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ อย่างเช่น ที่วัดพุทธประทีป ประเทศอังกฤษ รัฐบาลไทยได้สนับสนุนปัจจุยช่วยเหลือในการก่อสร้างวิหารฝ่ายเถรวาทแบบไทย ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

๒. สงครามศาสนาในคริสตวรรษที่ ๑๓ เรียกว่าสงครามครูเสด ทำให้พุทธศาสนาถูกทำลายจากประเทศลัทเวีย, เอสโทเนีย, โครเอเซีย โดยฝีมือของกองทหารเพื่อพระคริสต์ของเยอรมัน

๓. พระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในยุโรปและอเมริกา ทำให้เกิดความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในบรรดากลุ่มพุทธศาสนิกด้วยกัน ทำให้เกิดชมรม, สมาคมและองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์ทั่วโลก

๔. เมื่อผู้นำทางพระพุทธศาสนาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป มาพบกับผู้นำจากประเทศที่เป็นพุทธมาหลายชั่วคน เช่น ไทย พม่า ศรีลังกา จึงได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการเผยแพร่ธรรม การปฏิบัติธรรมของกันและกัน ที่อธิบายธรรมด้านประยุกต์ เพื่อให้คนหนุ่มสาวเห็นคุณค่าของศาสนา เป็นเรื่องของประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจมีวิธีการที่ทันสมัยกว่าได้

๕. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ องค์อัครศาสนูปถัมภ์ ได้เสด็จเป็นทางการเปิดวัดไทยวัดแรกในยุโรปชื่อ วัดพุทธประทีป เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ นับว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประมุขแห่งกษัตริย์ทั้งสองประเทศอีกด้านหนึ่งโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นสื่อกลาง

๖. รัฐบาลเยอรมันได้ช่วยบำรุงพระพุทธศาสนาโดยได้บริจาคปัจจัยช่วยเหลือรัฐบาลไทย ในการซ่อมแซม บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ที่พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพรารามเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นความสัมพันธไมตรีแห่งพระศาสนาระหว่างประเทศ

เอกสารอ้างอิง

1. ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๓

2. ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๑๔ พระพุทธศาสนาในอังกฤษ เยอรมัน . กรุงเทพฯ:
การศาสนา. ๒๕๓๐.

3. ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๑๕ พระพุทธ ศาสนาในสหรัฐอเมริกา . กรุงเทพฯ: การศาสนา. ๒๕๓๐.

4. อุทัย ธัมมสาโร. พุทธศาสนาในยุโรปและอเมริกา. กรุงเทพฯ: โพธิ์สามต้นการพิมพ์. ๒๕๑๘.


**** ท่าน กบิลวัฑโฒ (W. A. Purfust) ซึ่งท่านได้อุปสมบทที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗


#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 01:55 AM

เนื้อหาแน่นมากครับ ถ้าใครชอบอ่านแนวประวัติศาสตร์คงจะถูกจริตเลยนะครับ
เป็นไปได้ไหมครับว่า กั๊กเนื้อหาไว้ซักนิดนึง ขอแบบเพลินๆ วันละนิดละหน่อยผมว่าจะทำให้อ่านได้คล่องขึ้นหลายวันเชียวครับ
แบบว่าสงสารตัวเองกับน้องๆ ที่เห็นตัวหนังสือเยอะๆ แล้วใจฝ่อหนะครับ
ยังงัยก็ขอโมทนาสาธุการด้วยครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 ปาลินารี

ปาลินารี
  • Members
  • 258 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 09:22 AM

เห็นด้วยกับคนข้างบน ขอวันละไม่มาก แต่มีต่อเนื่องดีกว่า

จะได้อ่านได้วันละหลาย ๆ กระทู้

แต่เป็นสิ่งที่ดีนะคะ กับความรู้ที่หามาฝากเพื่อน ๆ

#4 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 03:57 PM

บทความนี้มีประโยชน์มาก เค้าบอกให้อ่านหนังสือเล่มใหม่อาทิตย์ละอย่างน้อยหนึ่งเล่ม แต่เข้ามาอ่านที่ www.dmc.tv นี่ เท่ากับอ่านวันละหลายๆเล่มเลยล่ะค่ะ

เห็นด้วยกับสองคนข้างบนค่ะ เหนื่อยเหมือนกัน smile.gif
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#5 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 02:12 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ

#6 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2007 - 06:22 PM

สาธุ

#7 *Jansona0*

*Jansona0*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 28 September 2011 - 10:35 AM

Don't look back, whatever you're running from might be catching up
http://spironolacton...or-women-22c52/
http://excesshairthy...ant-curly-hair/
http://www.blogtext....ngthen Regrowth
http://quizilla.teen...ith-hair-growth
http://arges212.live...l.com/1020.html
http://www.gather.co...281474980382512
http://rifraf886.ins...al.com/536.html
http://jinni173.xang...rowth-products/
http://titinius405.l...al.com/762.html
http://firegiant128....al.com/602.html

,
;
'
'
;